ประกันสุขภาพ

“ประกันโรคร้ายแรง”...อีกสินทรัพย์ที่ขาดไม่ได้สำหรับ “แผนเกษียณ” !!!


หลายคนอาจมองข้าม “ประกันโรคร้ายแรง” ไป เพราะคิดว่ามีประกันสุขภาพอยู่แล้วก็เพียงพอ


จากข้อมูลทางสถิติพบว่าในปัจจุบันการเกิดโรคร้ายแรงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดสมองที่มีอัตราการพิการเป็นอันดับ 1 และอัตราการตายเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย(1) เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดโรคเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น จึงทำให้คนวัยเกษียณมีความเสี่ยงการเกิดโรคเหล่านี้ มากกว่าคนในวัยอื่นๆ และในปัจจุบันพบว่าอัตราการเกิดโรคเหล่านี้ เริ่มพบในคนที่มีอายุน้อยลงมาเรื่อยๆ


คำถามคือ แล้ว “ประกันสุขภาพ” ที่มีอยู่ไม่เพียงพอหรือ คำถามนี้เกิดจากความไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ประกันสุขภาพ” และ “ประกันโรคร้ายแรง” รวมถึงอาจจะลืมคำนึงผลสืบเนื่องต่างๆ ที่ตามมาหลังจากเจ็บป่วย โดยก่อนอื่นควรทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างประกัน 2 แบบนี้ และผลสืบเนื่องจากการเจ็บป่วย


ความแตกต่างระหว่าง “ประกันสุขภาพ” และ “ประกันโรคร้ายแรง”


1.“ประกันสุขภาพ” จะเป็นประกันที่จะจ่ายค่ารักษาให้กับโรงพยาบาลเมื่อคุณเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยนอก ทั้งนี้ขึ้นกับเงื่อนไขแบบประกันที่เลือก แต่เมื่อออกจากโรงพยาบาลมา จะไม่สามารถเบิกเคลมในส่วนนี้ได้อีกต่อไป


2.“ประกันโรคร้ายแรง” จะเป็นประกันที่จะจ่ายสินไหมเป็นเงินสด เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงและตรงกับเงื่อนไขในกรมธรรม์


ผลสืบเนื่องจากการเป็นโรคร้ายแรง


1. ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลจำนวนมากขณะพัก รพ. รวมถึงค่ารักษาต่อเนื่องหลังจากออก รพ.


2. อาจจะตกงานและสูญเสียรายได้


3. อาจจะต้องมีค่าจ้างคนดูแล หรือค่าใช้จ่ายสถานดูแลผู้ป่วย


“จะเห็นได้ว่า เมื่อเจ็บป่วยจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจำนวนมากพร้อมกับรายได้ที่หายไป ซึ่งหากต้องเจ็บป่วยช่วงก่อนเกษียณ หรือช่วงเกษียณโดยที่ไม่ได้มีการวางแผนหรือเตรียมตัวในส่วนนี้ไว้ให้ดีก่อนแล้ว ก็จะกระทบกับเงินเก็บทั้งหมดทันที ดังนั้น สิ่งที่สำคัญและจำเป็นไม่แพ้ไปกว่าการเก็บออมเงินเพื่อเกษียณ คือ การมีแผนปกป้องเงินเก็บยามเกษียณ ด้วยการทำ ‘ประกันโรคร้ายแรง’ เอาไว้”




ปัจจัยที่ควรนำมาคำนวณ “วงเงินคุ้มครองโรคร้ายแรง”


1. อายุปัจจุบันและอายุขัยเฉลี่ยคาดการณ์


2. รายได้และรายจ่ายต่อเดือนในปัจจุบัน


3. รายจ่ายสืบเนื่องขั้นต่ำจากค่ารักษาและดูแลในอนาคต


3.1 ค่าคนดูแลหรือค่าบริการสถานดูแลผู้ป่วย 20,000-30,000 บาท/เดือน


3.2 ค่ายา ค่ากายภาพ ค่ารักษาสืบเนื่อง 20,000-30,000 บาท/เดือน


หมายความว่า หากต้องเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 40,000-60,000 บาท/เดือน ทีเดียว


คำนวณ


ค่าใช้จ่ายคนดูแล 30,000 บาท/เดือน คิดเป็น 360,000 บาท/ปี


ค่าใช้จ่ายการรักษาต่อเนื่อง 30,000 บาท/เดือน คิดเป็น 360,000 บาท/ปี


“หมายความว่า ค่าใช้จ่ายรวมที่เพิ่มขึ้นต่อปีทั้งหมด เป็นจำนวนเงิน 720,000 บาท/ปี ไม่รวมค่าใช้จ่ายปกติประจำเดือน (ในกรณีเป็นคนโสดไม่มีคนช่วยแบ่งเบา) หรือภาระค่าใช้จ่ายครอบครัว (ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นหัวหน้าครอบครัว) และหากเป็นเร็วเกินไป หมายความว่าระยะเวลาการใช้เงิน จนกว่าจะหมดอายุขัยก็มากขึ้นไปอีกทีเดียว หากคิดว่าอยู่ได้อีก 10 ปีหลังจากป่วย จำนวนเงินที่ต้องใช้เพิ่มขึ้นจากเดิม อย่างน้อยก็คือ 7.2 ล้านบาท ไม่รวมภาวะเงินเฟ้อ”


จะเห็นได้ว่า ภาระด้านค่าใช้จ่ายต่อปีหลังเจ็บป่วยเป็น “โรคร้ายแรง” ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ตัวอย่างข้างบนกรณี ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะมีภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่สามารถทำงานอาชีพเดิมได้อีกต่อไป ซึ่งค่าใช้จ่ายจริงอาจจะมากกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ และในความเป็นจริงอาจจะมีปัจจัยเกี่ยวกับเรื่อง “เงินเฟ้อ” ค่ารักษาพยาบาลร่วมด้วย


ที่มา


  •  กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564, หน้า 76.


แหล่งที่มาข่าวและภาพต้นฉบับ wealthytha
https://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/wealth-ez/23693
X