ข่าวการเงิน
บทความโดย “อภิเชษฐ เอกวัฒนพันธ์”
ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
วันที่ 12 กันยายน 2566 ในปีที่ผ่านมา
คงจะมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยเลยที่ปวดหัวกับผลตอบแทนที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสักเท่าไหร่
บางท่าอาจจะต้องถึงขึ้นปรับกลยุทธ์ในการลงทุนเสียใหม่กันเลยทีเดียว
ซึ่งก็เป็นจังหวะที่ดีสำหรับการทบทวนความเสี่ยงของตนเองด้วยเช่นกัน
เชื่อว่าทุกท่านคงได้เคยผ่านหูผ่านตากับแบบประเมินความเสี่ยง (Suitability
Test) กันมาบ้างแล้ว อย่างน้อย ๆ
ก็ต้องเคยได้ทำแบบประเมินชุดนี้เมื่อครั้งเปิดบัญชีธุรกรรมด้านการลงทุน
เช่น เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวม เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น
และก็เชื่อเหลือเกินว่า
หลายท่านยังไม่เคยกับกลับไปทำแบบประเมินฉบับนี้ใหม่อีกครั้ง
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแบบประเมินชุดนี้เป็นตัวช่วยสำคัญให้ผู้ลงทุนหลายท่านสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมได้
มาถึงตรงนี้หลายต่อหลายท่านก็คงมีคำถามผุดขึ้นมาในหัวแล้วว่า
จะทำยังไงถึงจะใช้แบบประเมินความเสี่ยงชุดนี้ช่วยในการบริหารพอร์ตการลงทุนได้ล่ะ
จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องกลับไปทำความเข้าใจก่อนว่า ชุดคำถามในแบบประเมิน
มีไว้เพื่อให้ทราบข้อมูลใน 2 แง่มุม นั่นก็คือ
1. ความสามารถในการรับความเสี่ยง (Ability to Take Risk) หมายถึง
ความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงและผลขาดทุนจากการลงทุน โดยหลัก ๆ พิจารณาจาก
ช่วงวัย (ยิ่งอายุน้อย ยิ่งรับความเสี่ยงได้มาก) สถานะทางการเงิน
(ยิ่งสถานะทางการเงินดี ยิ่งรับความเสี่ยงได้มาก
โดยดูได้จากความเพียงพอของเงินสดสำรองเผื่อฉุกเฉิน
สินทรัพย์เทียบกับภาระหนี้สิน เป็นต้น) รวมถึงระยะเวลาการลงทุน
(ยิ่งระยะเวลาการลงทุนยาว ยิ่งสามารถรับความเสี่ยงได้มาก)
2. ความยินดีที่จะรับความเสี่ยง (Willingness to Take Risk) โดยพิจารณาจาก
ทัศนคติต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
ความวิตกกังวลใจและวิธีการรับมือเมื่อพอร์ตการลงทุนติดลบ
เมื่อต้องการเริ่มทบทวนความเสี่ยงปัจจุบัน
ท่านสามารถติดต่อขอรับแบบประเมินได้จาก สถาบันการเงินที่ท่านใช้บริการอยู่
หรือจากนักวางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน ผู้วางแผนการลงทุน (IP)
หรือผู้แนะนำการลงทุน (IC) ที่ดูแลท่านอยู่
โดยในแบบสอบถามจะประกอบไปด้วยชุดคำถามเพียง 12 ข้อ
ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน ใช้เวลาในการตอบแบบประมินไม่นาน
เพียงแค่ต้องตอบคำถามในแบบประมินตามความเป็นจริง
และเมื่อทำแบบประเมินเรียบร้อยแล้ว
จะสามารถนำผลรวมคะแนนทั้งหมดมาวิเคราะห์ได้ว่า ณ ขณะนี้
ท่านเองมีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ระดับใด
ดังรายละเอียดตามตารางด้านล่าง
30/04/2024
30/04/2024
30/04/2024
30/04/2024
30/04/2024