คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ประกันภัย

ทางเลือกควรรู้ เมื่อไม่มีเงินจ่ายเบี้ยประกัน-กรมธรรม์ช่วยได้เมื่อขัดสน

30/04/2024

บทความโดย “ทศพร อิศรางกูร ณ อยุธยา”นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 กรมธรรม์ประกันชีวิตจะมีมูลค่าในตัว ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์ จำนวนปีและจำนวนเบี้ยประกันที่ได้ส่งไปก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีในท้องตลาด ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวประกันหลักและสัญญาเพิ่มเติม (ส่วนของสัญญาเพิ่มเติมอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)ในบทความนี้ จะพูดถึงส่วนของประกันหลัก เช่น ทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งไว้ จ่ายเบี้ยปีละ 30,000 บาท ในกรมธรรม์จะมีประกันหลักเป็นเบี้ยประกัน 10,000 บาทเมื่อเราจ่ายเบี้ยประกันไปเรื่อย ๆ ทุกปี ปีละ 10,000 บาท กรมธรรม์จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รู้ว่ามีมูลค่าเท่าใด และใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง (พิจารณาตาราง)หากนาง ข ทำประกันชีวิตแบบนี้ ที่ทุนประกัน 400,000 บาท มูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์จะเป็นตัวเลข ดังนี้ตัวอย่างมูลค่ากรมธรรม์ แบบทุนประกัน 400,000 บาทมูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์ หมายความว่าอย่างไร ควรเลือกแบบไหนความหมายของตาราง : สิ้นปีกรมธรรม์ที่ซื้อประกันครั้งแรกจ่ายเบี้ยไป ผ่านไป 1 ปี ครบกำหนดกำลังจะจ่ายเบี้ยปีที่สอง คือ จุดที่เรียกว่า สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 หากกำลังจ่ายเบี้ยปีที่ 6 หมายความว่าทำกรมธรรม์มาครบรอบ 5 ปีเต็ม ถือเป็นสิ้นปีกรมธรรม์ปีที่ 5 วิธีนับจำนวนสิ้นปีกรมธรรม์คือ ถ้าจ่ายเบี้ยกรมธรรม์นั้น ๆ ไปกี่ปี ให้ลบออก 1 ปี ก็จะเป็นสิ้นปีกรมธรรม์นั้น ๆเช่น จ่ายเบี้ย 10 ครั้ง ก็คาดได้ว่าถ้าจะดูมูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์ ให้ดูที่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 9ความหมายของตาราง : เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การยกเลิกกรมธรรม์ เมื่อเลือกวิธีนี้กรมธรรม์จะไม่มีผลคุ้มครองอีกต่อไป แต่จะได้เงินจากมูลค่ากรมธรรม์ที่เหลืออยู่กลับมาจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 คือ 68,400 บาท [(400,000/1,000) *171] ก็จะได้เงินก้อนนี้มา กรมธรรม์สิ้นผลความคุ้มครองความหมายของตาราง : มูลค่าเงินสำเร็จ วิธีการนี้กรมธรรม์จะมีความคุ้มครองไปจนครบสัญญาของกรมธรรม์ เพียงแต่ทุนประกันจะลดลงตามมูลค่าที่ปรากฏอยู่ในตารางจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท มูลค่าเงินสำเร็จ ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 9 คือ 226,000 บาท หมายความว่าเมื่อเลือกวิธีใช้เงินสำเร็จ ทุนประกันลดเหลือ 226,000 บาท (จากเดิม 400,000) คุ้มครองไปตลอดชีพ (ตามชื่อแบบ) และไม่ต้องชำระเบี้ยประกันแล้วความหมายของตาราง : ขยายระยะเวลา วิธีการนี้จะนำมูลค่ากรมธรรม์ที่มีอยู่ ไปคำนวณว่าจะสามารถคุ้มครองที่ทุนประกันเดิม ไปได้อีกวัน กี่ปี โดยไม่ต้องจ่ายเบี้ยอีกจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท ขยายระยะเวลา ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 คือ 21 ปี 14 วัน หมายความว่า หากเลือกจะใช้แบบขยายระยะเวลา หยุดจ่ายเบี้ย จะมีความคุ้มครอง 400,000 บาท ต่อไปอีก 21 ปีกับอีก 14 วัน3 ทางออกหลักสมมุติว่าหากประสบปัญหาทางการเงิน ไม่มีเงินจ่ายเบี้ยต่อ มี 3 ทางออกหลักการเวนคืนกรมธรรม์มีข้อดี คือ ได้เงินคืนทันที แต่ความคุ้มครองที่มีอยู่ก็หมดไปด้วย หากเลือกวิธีนี้ควรชั่งน้ำหนักดูว่าความคุ้มครองที่หายไปจากยกเลิกกรมธรรม์จะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง กับเงินที่ได้มาในทันที ข้อสำคัญควรระมัดระวังหากระยะเวลาของกรมธรรม์ยังไม่ถึง 10 ปีเต็มหากใช้สิทธิ์ลดหย่อนไป จึงไม่แนะนำที่จะเวนคืนกรมธรรม์เอง ควรปรึกษานักวางแผนการเงินสำหรับทางออกที่ 2 และ 3 เหมาะสำหรับผู้ที่ยังมีความจำเป็นด้านประกันชีวิต แต่ไม่สามารถหาเบี้ยประกันมาจ่ายได้นอกจาก 3 วิธีข้างต้น ยังสามารถมีวิธีพิเศษโดยการที่มีเงินก้อนหมุนมาใช้ และขณะเดียวกันความคุ้มครองยังมีอยู่ด้วยการกู้กรมธรรม์การกู้กรมธรรม์ โดยใช้มูลค่าเงินสดที่มีอยู่ในกรมธรรม์จำนวนเงินที่จะกู้ได้เท่าไร คิดเป็นประมาณ 80% ของมูลค่าเงินสดในตาราง ณ ปีกรมธรรมนั้น ๆ อัตราดอกเบี้ยรายปีที่ใช้คิดกับเงินกู้ก้อนนี้สามารถเปิดดูจากเล่มกรมธรรม์และคำนวณ ดังนี้จากตัวอย่าง การประกันชีวิตใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.0 ต่อปี ในการคำนวณเบี้ยประกันภัย เงินที่กู้ออกมาจะถูกคิดด้วยร้อยละของอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันภัย + 2 ซึ่งก็คือ 5.0+2 = 7% ต่อปีดอกเบี้ยดังกล่าวมักจะมีอัตราต่ำกว่าสินเชื่อแบบอื่น ๆ หรือกู้นอกระบบ ที่สำคัญการคืนหนี้สินจะคืนเมื่อไรก็ได้ แต่อย่าลืมว่ายังต้องจ่ายเบี้ยประกันเช่นเดิม จึงควรระมัดระวังว่าหากไม่มีการจ่ายเบี้ยประกันต่อไป เลยระยะเวลาผ่อนผัน ซึ่งมูลค่ากรมธรรม์อาจมีไม่มากพอที่จะกู้ชำระเบี้ยอัตโนมัติ กรมธรรม์อาจขาดอายุได้ หมายความว่า ความคุ้มครองที่ต้องการก็จะหมดไปด้วยกรมธรรม์ นอกจากจะทำหน้าที่มอบความคุ้มครองให้กับตัวเองโดยตรงแล้ว อาจช่วยในทางอ้อมได้เมื่อเกิดขัดสน อย่าทิ้งขว้างกรมธรรม์ เพราะนึกว่าไม่มีเงินแล้วก็ไม่ต้องสนใจอีก อย่าลืมหยิบกรมธรรม์ขึ้นมาดูว่าจะช่วยอะไรได้บ้างแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1359438

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาษี

6 กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี

30/04/2024

ทุกคนทำงานหนักก็อยากจะได้ผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่สิ่งที่หลีกหนี้ไม่ได้นั่นก็คือการที่จะต้องเสียภาษี การวางแผนเรื่องภาษีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เรามาทำความเข้าใจกับ 6 กลยุทธ์ในการการวางแผนภาษี เพื่อช่วยประหยัดภาษีกัน มีอะไรบ้าง กว่าจะได้รายได้มา มักจะต้องลงทุนลงแรงไปพอสมควร ครั้นเมื่อได้มาแล้ว ก็ใช่ว่าเงินนั้นจะเข้ากระเป๋าเราทั้งหมด เพราะมีบางส่วนที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย แต่จะทำอย่างไร ที่จะเสียภาษีน้อยๆ โดยไม่ผิดกฎหมาย  วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ 6 กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี ตามหลักการของการวางแผนการเงิน แต่ก่อนที่จะไปดูว่ามีกลยุทธ์อะไรบ้างที่ช่วยประหยัดภาษีได้ มาดูกันก่อนว่าภาษีคำนวณมาจากอะไร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณมาจาก รายได้หรือเงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน เงินบริจาค เหลือเป็น เงินได้สุทธิ แล้วนำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าเรามีตัวเลขที่เป็นเงินได้พึงประเมินน้อย หรือ หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้มาก เงินได้สุทธิจะลดลง เราก็จะเสียภาษีน้อยลง   กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี มีดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 : การกระจายหน่วยภาษี และ การกระจายรายได้ ถ้าเราสามารถกระจายหน่วยภาษี หรือกระจายรายได้ ฐานเงินได้ที่นำไปคำนวณภาษีก็จะลดลง ภาษีก็จะน้อยลง กลยุทธ์ที่ 2: การแปลงประเภทเงินได้ เพื่อหักค่าใช้จ่าย รายได้บางประเภทอาจจะมีเพดานของการหักค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี บางประเภทอาจจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 30% หรือ 60% โดยไม่มีเพดานกำหนด ถ้าเราเลือกรับเงินได้เป็นประเภทที่หักค่าใช้จ่ายได้มาก เราก็จะเสียภาษีน้อยลง กลยุทธ์ที่ 3: การลดเงินได้สุทธิ เราสามารถทำให้เงินได้สุทธิลดลง โดยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ซึ่งปัจจุบันมีรายการลดหย่อนมากมาย บางรายการเป็นสิทธิ์ที่ได้รับอยู่แล้ว บางรายการสามารถทำได้โดยการย้ายเงินจากแหล่งอื่นมาออมหรือลงทุน เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น การลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF การทำประกันชีวิต ประกันบำนาญ ฯลฯ ถ้าเราใช้สิทธิ์ได้เต็มที่ตามความเหมาะสม ก็จะทำให้เงินได้สุทธิลดลง และประหยัดภาษีได้ กลยุทธ์ที่ 4: การบริหารเงินได้จากแหล่งนอกประเทศ กรณีมีการรับเงินได้จากแหล่งภายนอกประเทศในปีภาษีใด ถ้าเราไม่นำเงินที่ได้รับเข้ามาในประเทศในปีเดียวกัน หรืออยู่ในเมืองไทยน้อยกว่า 180 วัน ในปีนั้น เงินได้ส่วนนั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย กลยุทธ์ที่ 5: การกำหนดเวลาการรับเงินได้ หากจะมีรายได้ก้อนใหญ่เข้ามาในปีใดปีหนึ่ง หรือมีรายได้ช่วงปลายปีจำนวนมาก เราอาจจะขอทยอยการรับรายได้เป็นปีถัดไป หรือทยอยการรับเงินได้เป็นงวดๆ เพื่อให้ฐานเงินได้ที่นำไปคำนวณภาษีลดลง ภาษีก็จะน้อยลง กลยุทธ์ที่ 6: การเลือกรวม หรือไม่รวมภาษีปลายปี เงินได้บางประเภท เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณภาษีปลายปี โดยใช้สิทธิ์ภาษีสุดท้าย (Final Tax) หรือ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตอนที่ได้รับเงินแล้วจบ ไม่ต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณในการยื่นภาษีปลายปีก็ได้ เราอาจจะต้องลองคำนวณเปรียบเทียบดูว่า ระหว่างการนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณยื่นภาษีปลายปี แล้วนำภาษีที่ถูกหักไปมาเครดิตภาษีออก เทียบกับการไม่นำเงินได้นั้นมารวมคำนวณตอนปลายปี อย่างไหนจะทำให้เสียภาษีน้อยกว่ากัน ก็เลือกวิธีนั้น ถ้าเราเลือกกลยุทธ์เหล่านี้ไปใช้ให้เหมาะสม เราก็จะเสียภาษีอย่างประหยัดและถูกต้อง ทำให้เหลือเงินเข้ากระเป๋ามากขึ้น หรือสามารถนำเงินไปออมหรือลงทุน เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งในอนาคตได้มากขึ้น ที่มา: หลักสูตร CFP Module 5 การวางแผนภาษีและมรดก สมาคมนักวางแผนการเงินไทย www.tfpa.or.th แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับฐานเศรษฐกิจhttps://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/572134

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ประกันปรับพอร์ต 4 ล้านล้าน โยกลงทุน ESG-คปภ. จ่อออกเกณฑ์หนุน

30/04/2024

“คปภ.” ถกภาคธุรกิจประกันภัย เตรียมออกเกณฑ์ปรับพอร์ต 4.2 ล้านล้านบาท โยกลงทุนด้าน ESG “กรีนบอนด์-กรีนฟันด์-หุ้นยั่งยืน” รับลูกนโยบายกระทรวงการคลัง ฟาก “เอกชน” เสนอควรลดเงินสำรองกันความเสียหายลง ด้าน “เมืองไทยประกันชีวิต” ลุยศึกษาพัฒนาแบบประกัน-ลงทุน แย้มผลตอบแทนดีนายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากการหารือผู้บริหารระดับสูงของภาคธุรกิจประกันภัยในการขับเคลื่อนนโยบาย ESG ตามแนวทางกระทรวงการคลังนั้น มีหัวใจหลัก 2 ส่วนคือ 1. การลงทุน 2. ความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยโดยในส่วนการลงทุนปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัย มีสินทรัพย์ลงทุนรวมกันประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท ถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของประเทศ จึงอยากให้เข้าไปลงทุนในธุรกิจที่เชื่อมโยงกับนโยบาย ESG ในกลุ่มสิ่งแวดล้อม โดยให้บริษัทประกันภัยลงทุน เช่น กรีนบอนด์, หุ้นยั่งยืนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย, กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน, ธุรกิจที่ส่งเสริมลดคาร์บอน เป็นต้น“ตอนนี้ถือว่าซัพพลายกองทุนรวมต่าง ๆ ยังค่อนข้างน้อย และรีเทิร์นอาจไม่สูงมาก ภาคธุรกิจประกัน จึงเสนอว่าควรลดเงินสำรองกันความเสียหาย (risk charge) ลงด้วย ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.จะต้องไปออกกฎระเบียบประเภทการลงทุน ESG เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน คงจะต้องมีการกำกับดูแลผู้ให้บริการตามระดับความเสี่ยง (risk proportionality) เพื่อทำให้บริษัทประกันภัยมีความแข็งแรงขึ้นกว่าเดิมด้วย โดยมีตัวชี้วัดทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ”ขณะที่ในส่วนความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัย พบว่าเกือบทั้งหมดสามารถตอบสนองนโยบาย ESG ในกลุ่ม Social ได้พอสมควรอยู่แล้ว เพราะการประกันภัยเป็นการช่วยบริหารความเสี่ยง ที่ช่วยบรรเทาความเสียหาย แต่ชัดที่สุดคือ การประกันสุขภาพและการประกันบำนาญ ซึ่งจะช่วยดูแลสถานภาพทางการเงินของผู้สูงอายุที่ประเทศกำลังประสบอยู่โดยการจะผลักดันให้การประกันภัยเติบโตอย่างรวดเร็ว กรณีประกันสุขภาพ ก็คุยกันถึงแนวทางที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่แท้จริง (risk based pricing) ซึ่ง คปภ. รับไปพิจารณา เพราะฐานการประกันสุขภาพของไทยโตพอสมควรแล้ว มีเบี้ยเกิน 1 แสนล้านบาทต่อปี และโตเกิน 10% แต่คงจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์อย่างละเอียดออกมาก่อน เพื่อไม่ให้ผู้เอาประกันภัยที่ถูกชาร์จเบี้ยแพงหลุดออกจากระบบไปส่วนประกันบำนาญ ยังมีมาร์เก็ตแชร์อยู่แค่ 0.6% ของการประกันภัยทั้งหมด ในขณะที่ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ต้องผลักดันประกันบำนาญให้โตขึ้น จึงมีรายละเอียดที่ต้องทำอีก เช่น หารือกรมสรรพากรเรื่องสิทธิทางภาษี เป็นต้นนางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการด้านตรวจสอบ สำนักงาน คปภ.กล่าวว่า การกำกับดูแลของ คปภ. จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ มากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงดาต้านายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันขีวิต (MTL) ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การขับเคลื่อน ESG ของเมืองไทยประกันชีวิต ขณะนี้อยู่ในช่วงเฟสแรกคือ ศึกษาสโคปที่ 1-2 ซึ่งทำได้ง่าย เพราะเกี่ยวข้องกับตัวเอง เช่นทำเรื่อง zero waste, ลดคาร์บอน, การดำเนินธุรกิจแบบ paperless, การใช้ EV และการใช้โซลาร์รูฟ เป็นต้นแต่ตัวที่สร้างก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดอยู่ในสโคปที่ 3 คือการลงทุน โดยปัจจุบันบริษัทประกันภัยมีสินทรัพย์ลงทุนรวมกันกว่า 90% ของสินทรัพย์รวม หรือมีมูลค่ากว่า 4.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเน้นลงทุนอยู่ในพันธบัตรรัฐบาล, ตราสารหนี้, หุ้นกู้ระดับลงทุน (investment grade) เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ถ้าจะให้ธุรกิจประกันภัยให้น้ำหนักการลงทุน เช่น กรีนบอนด์ หรือลงทุนในองค์กรที่ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเองในเรื่องพวกนี้ ก็มองว่ามีความเป็นได้มากน้อยแค่ไหนที่จะลด risk charge ลงมา“เรื่องของ ESG ถือว่ามีความสำคัญมาก จะไม่ใช่เป็นการปันงบฯ มาทำ CSR เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมหรือสังคม แต่ต้องล้อไปกับการทำธุรกิจ เพราะเป็นเรื่องของการแข่งขันในนานาประเทศไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การทำเรื่องพวกนี้เราคงต้องดูให้ดีว่าอีโคซิสเต็มในประเทศไทยมีความพร้อมขนาดไหน รวมถึงเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย” นายสาระกล่าวส่วนการพัฒนาแบบกรมธรรม์ที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน ปัจจุบันแบบประกันชีวิตควบลงทุน (ยูนิตลิงก์) และยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ก็เริ่มเข้าไปแตะพวกกองทุนกรีนฟันด์, กรีนบอนด์ มากขึ้น เช่น กองทุนบางกองมีการลงทุนในเรื่องพลังงานทดแทน เป็นต้น ซึ่งผลตอบแทนก็ถือว่าดี“วันนี้ก็มีแบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองจนถึงอายุ 99 ปีแล้ว โดยสามารถซื้อได้ตอนอายุสุดท้ายคือ 90 ปี และก็มีการพูดคุยกันถึงการพัฒนากรมธรรม์สุขภาพผู้สูงวัย หรือกลุ่มคนที่เป็นโรคมาก่อนแล้ว ซึ่งเรื่องพวกนี้ทำได้ เพียงแต่ในหลักการของความยั่งยืน “ถ้าทำแล้วเจ๊ง” ก็จะไม่ยั่งยืน พูดแบบแฟร์ ๆ ฉะนั้น ต้องทำแบบบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะกับทางบริษัทรับประกันภัยต่อ” นายสาระกล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1360761

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวทั่วไป

มีเท่าไหร่ ใช้เท่านั้น ชีวิตจริง หรือแค่คำปลอบใจ

30/04/2024

บทความโดย “ณัฐศรันย์ ธนกฤตภิรมย์” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ปัจจุบันการดำรงชีวิตของคน ๆ หนึ่งในสังคม พยายามขับเคลื่อนชีวิตให้ดีขึ้นจากชีวิตความที่เป็นอยู่ผ่านหน้าที่การงานและรายได้ที่หามาได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจหรือสายอาชีพใดก็ตาม ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบกับสภาวะการเงินส่วนบุคคล จนทำให้บางคนเริ่มเหนื่อยกับการหารายได้ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย เมื่อเกิดความท้อแท้และเหนื่อยล้ากับการหารายได้ อาจมีคำพูดผุดขึ้นมา เช่น 1.หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น 2.หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย 3.หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก เชื่อว่าหลาย ๆ ครั้งที่เกิดความท้อแท้ หาเงินไม่ทันจะบอกตัวเองว่า “มีเท่าไหร่ ก็ใช้เท่านั้น” และเป็นคำพูดติดปากของใครหลายคนไปแล้ว แต่คำกล่าวนี้จะสามารถเป็นนิยามในการใช้ชีวิตที่ดี หรือเป็นเพียงแค่คำปลอบใจในการใช้ชีวิตกันแน่ และแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ในการสร้างชีวิตที่ดี เราลองมาหาคำตอบและทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยกำหนดตัวเลขขึ้นมาเพื่อใช้แทนค่าในวิธีคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ได้เห็นวิธีคิดที่แตกต่างไปจากเดิม บริบทที่ 1 หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 100 บาท ใช้ 100 บาท สมการ  100-100 = 0 คำตอบที่ได้ คือ 0 หรือเรียกว่า ความพอดี บริบทที่ 2 หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 100 บาท ใช้จ่าย 99 บาท สมการ 100-99 = 1 คำตอบที่ได้ คือ 1 หรือเรียกว่า ความมั่งมี บริบทที่ 3 หาเงินให้น้อย ใช้ให้มาก ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 99 บาท ใช้จ่าย 100 บาท สมการ 99-100 = -1 คำตอบที่ได้ คือ -1 หรือเรียกว่า ความลำบากเปรียบเทียบความสามารถในการหายรายได้แต่ละบริบทวิเคราะห์ผลของแต่ละบริบท 1. หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น หมายถึง สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ในช่วงเวลานั้น ๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ อาจส่งผลเสียในการดำรงชีวิตในระยะยาว เพราะไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ล่วงหน้า 2. หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย หมายถึงสามารถใช้ชีวิตได้แบบปกติและไร้กังวล ในทุกช่วงเวลาของการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ ก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างที่เป็น 3. หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก หมายถึงจะดำรงชีวิตแบบวันต่อวัน และมีแต่ความกังวลใจในการใช้ชีวิต และหากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ ก็จะได้รับผลกระทบเร็วที่สุดสรุปผลกระทบต่อการดำรงชีพของแต่ละบริบท ในระยะเวลาที่ต่างกันแนวทางในการจัดการที่ทำได้ง่ายที่สุด สำหรับ บริบทที่ 1 (หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น) กับบริบทที่ 3 (หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก) ก็คือ ต้องลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง และต้องสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง อย่าพยายาม “อดมื้อ กินมื้อ” เพื่อให้มีชีวิตแบบวันต่อวัน ถ้ายังทำแบบเดิมต่อไป อาจจะไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1359444

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

สมาคมประกันวินาศภัยไทย แนะแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับความเสียหาย กรณีเหตุการณ์โกดังเก็บพลุ-ประทัดระเบิดกลางตลาดมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

30/04/2024

2 สิงหาคม 2566 : ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์โกดังเก็บพลุ-ประทัดระเบิดอย่างรุนแรงกลางตลาดมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บรวมถึงบ้านเรือนประชาชน รถยนต์ และทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมานั้นสมาคมประกันวินาศภัยไทย ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากการประสบเหตุการณ์ในครั้งนี้ และเพื่อให้ประชาชนได้รับการเยียวยา บรรเทาความความสูญเสีย และความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมฯ ขอแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับความเสียหาย ดังต่อไปนี้1. หากท่านมีประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือประกันภัยสุขภาพ หรือรถยนต์ของท่านทำประกันภัยประเภท 1 หรือประเภท 2 (รถยนต์ไฟไหม้) ไว้ หรือบ้าน/อาคารของท่านทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย/ ประกันอัคคีภัย (กรณีมีความคุ้มครองภัยระเบิด)/ ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risks) ไว้ ให้แจ้งเหตุกับบริษัทประกันวินาศภัยที่ท่านได้ทำประกันภัยไว้2. หากท่านไม่ได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล/ ประกันภัยสุขภาพ หรือทรัพย์สินของท่านไม่ได้ทำประกันภัยไว้ ให้รอผลการสอบสวนของพนักงานสอบสวนว่าสาเหตุของการเกิดระเบิดในครั้งนี้เกิดจากการกระทำหรือความประมาทของผู้ใด เพื่อจะได้ดำเนินการเรียกร้องความเสียหายจากผู้รับผิดชอบต่อไป โดยดำเนินการในเบื้องต้น ดังนี้2.1 กรณีที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและการบาดเจ็บต่อร่างกาย ให้ดำเนินการและจัดเตรียมเอกสารเบื้องต้นดังต่อไปนี้1) ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจรักษา2) ขอใบรับรองแพทย์และใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล3) ในกรณีเสียชีวิต ให้เตรียมใบมรณบัตรที่ระบุสาเหตุการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเอกสารแสดงการเป็นทายาทตามกฎหมาย2.2 กรณีที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ อาคาร บ้านพักอาศัย ให้ดำเนินการและจัดเตรียมเอกสารเบื้องต้นดังต่อไปนี้1) ถ่ายภาพของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายโดยละเอียด เพื่อให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด จัดทำรายการความเสียหายของทรัพย์สินทั้งหมด2) ให้ช่างหรือผู้รับเหมาประเมินราคาค่าเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด3) หากมีการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย ให้เก็บใบเสร็จรับเงินไว้ให้ครบถ้วน4) เตรียมเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย“ท่านที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ สามารถตรวจสอบที่อยู่และเบอร์ติดต่อของบริษัทประกันวินาศภัยได้ที่เว็บไซต์ www.tgia.org สมาคมประกันวินาศภัยไทยขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและห่วงใยต่อการบาดเจ็บและความสูญเสียของประชาชนที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว สมาคมฯ และธุรกิจประกันวินาศภัยไทยขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ครั้งนี้” นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวในตอนท้ายแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=150133

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวทั่วไป

ภาวะ “นาฬิกาหรูราคาถดถอย” เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ยิ่งหรูยิ่งราคาร่วงมาก

30/04/2024

“นาฬิกาหรู” เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ดีสำหรับการลงทุน ยิ่งเก็บยิ่งเก่ายิ่งมีมูลค่าสูงขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นเรือนเวลาสุดหรูที่พ่วงความเป็น Limited Edition ผลิตออกมาเพียงน้อยนิด ชนิดที่ว่าอาจจะมีแค่ไม่ถึง 10 เรือนในโลก จากข้อเท็จจริงที่เคยเป็นมา ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรมาทำให้มูลค่าของนาฬิกาหรูลดลงไปได้ง่าย ๆ แต่ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา นาฬิกาหรูราคาลดลงมาก อาจจะเรียกว่าเป็นภาวะ “นาฬิกาหรูราคาถดถอย” เลยก็ได้ “Watch Market Index” ดัชนีตลาดนาฬิกาหรูของ WatchCharts ซึ่งติดตามราคานาฬิกาหรู 60 รุ่น จากแบรนด์นาฬิกาชั้นนำ เช่น โรเล็กซ์ (Rolex), ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek Philippe) และโอเดอมาร์ส ปิเกต์ (Audemars Piguet) ลดลง 32% จากจุดสูงสุดในเดือนมีนาคม 2022 และดัชนีแยกเฉพาะแบรนด์โรเล็กซ์ ลดลง 27% ในช่วงเวลาเดียวกัน   การใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วง 5 ไตรมาสที่ผ่านมา ถูกมองว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคานาฬิกาหรูตกต่ำลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้ผู้คนเกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำ กระตุ้นให้นักลงทุนลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และเก็บออมเงินสดมากขึ้น ข้อมูลของ WatchCharts เผยให้เห็นว่า นาฬิกากลุ่มที่ราคาสูงที่สุดยิ่งราคาลดลงมากที่สุด โดยนาฬิการุ่นที่อยู่ในช่วงราคา 50,001-100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาร่วงลงมากกว่า 15% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน นาฬิการุ่นที่อยู่ในช่วงราคา 10,001-20,000 ดอลลาร์ ราคาลดลง 10.4% ส่วนนาฬิกาในช่วงราคา 5,001-10,000 ดอลลาร์ ราคาลดลง 6.8%นาฬิกาแบรนด์ Rolex/ขอบคุณภาพประกอบจากงาน “Horological Society of Gaysorn” โดย เกษรวิลเลจ/หมายเหตุ : ภาพประกอบไม่ได้เจาะจงนาฬิการุ่นที่อยู่ในดัชนีราคานาฬิกาตามเนื้อหาข่าวปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเป็นเพียงไม่กี่ครั้งในช่วงเวลาหลายปี ที่เมื่อเทียบกันระหว่างนาฬิกาหรูกับหุ้นแล้ว นาฬิกาหรูให้ผลตอบแทนต่ำกว่าหุ้น โดยนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 ที่เฟดเริ่มขึ้นดอกเบี้ยรอบปัจจุบันนี้ ดัชนี S&P500 (ดัชนีหุ้นขนาดใหญ่ที่สุด 500 ตัวในตลาดหุ้นสหรัฐ) เพิ่มขึ้นประมาณ 8%   ข้อมูลของ WatchCharts เผยให้เห็นว่า นาฬิกาโครโนมิเตอร์บางแบรนด์สูญเสียมูลค่าไปมากกว่าแบรนด์อื่น ๆ เห็นได้จาก Rolex Market Index ดัชนีราคานาฬิกาโรเล็กซ์ที่ราคาสูงสุด 30 อันดับแรก ลดลง 12.5% จากปีที่แล้ว ขณะที่ Patek Philippe Index ลดลง 18% ส่วน Audemars Piguet ราคาลดลงหนักที่สุดเกือบ 20%  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สวนทางกับในช่วงสองสามปีก่อนหน้านี้ที่โควิด-19 ระบาด ซึ่งผู้คนนำเงินส่วนเกินไปลงทุนในการลงทุนทางเลือก เช่น NFT และหุ้นมีม และนาฬิกาหรู ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่ได้รับความนิยมมากในช่วงนั้น อิงตามข้อมูลจากรายงานของบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ Boston Consulting Group ยอดขายนาฬิกาหรูมือสองในปี 2021 มีมูลค่าสูงถึง 22,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของตลาดนาฬิกาหรูที่มีมูลค่า 75,000 ล้านดอลลาร์  ราคาของนาฬิกาโรเล็กซ์, ปาเต็ก ฟิลิปป์ และโอเดอมาร์ส ปิเกต์ พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงต้นปี 2022 ก่อนจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและธนาคารกลางสำคัญ ๆ ทำให้ราคาร่วงลงมากราฟ Watch Market Index โดย WatchCharts ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ดัชนีสูงสุด ณ วันที่ 11 มีนาคม 2022จากข้อมูลที่ว่ามานี้ ไม่รู้ว่าทำให้หลายคนที่สะสมนาฬิกาอยู่ หรือคนที่คิดอยากลงทุนในนาฬิการู้สึกหวั่นใจหรือไม่  แต่มาถึงตรงนี้ ขอบอกว่าไม่ได้มีแต่ข่าวร้ายสำหรับคนสะสมนาฬิกาหรู เพราะหากพิจารณาจากกราฟดัชนี “Watch Market Index” ของ WatchCharts ย้อนหลังไปสองสามปี (ดังภาพข้างบน) จะเห็นว่าดัชนีที่ลดลงนั้นเพียงแต่เป็นการลดลงหลังจากที่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดในเดือนมีนาคม 2022 เท่านั้น แต่ไม่ได้ลดลงต่ำถึงระดับจุดเริ่มต้นที่ดัชนีเริ่มไต่ขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2021  และถึงแม้ว่าราคานาฬิกาหรูลดลงมากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แต่ถ้ามองถึงการลงทุนและผลตอบแทนในระยะยาว นาฬิกาหรูก็ยังให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดหุ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะดัชนีราคานาฬิกาโรเล็กซ์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 55% จาก 5 ปีที่แล้ว  รายงานของ Boston Consulting Group ที่เผยแพร่เมื่อต้นปี 2023 บอกว่า นาฬิกาหรูทำผลงานได้ดีเมื่อเทียบกับการลงทุนแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาว ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2018 ถึงมกราคม 2023 ราคาเฉลี่ยในตลาดมือสองของนาฬิการุ่นท็อปจากแบรนด์หรูที่ใหญ่ที่สุดสามแบรนด์ ได้แก่ โรเล็กซ์, ปาเต็ก ฟิลิปป์ และโอเดอมาร์ส ปิเกต์ เพิ่มขึ้นในอัตรา 20% ต่อปี แม้ว่าจะมีการชะลอตัวของตลาดในวงกว้างในช่วงที่เกิดโรคระบาด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทน 8% ต่อปี อ้างอิง : แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/world-news/news-1360277#google_vignette

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

คนไทยกว่า 61% ไม่มีประกันชีวิต คนที่ทำอยู่ก็มีอัตราลดลง เพราะอะไร?

30/04/2024

อัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อประชากรไทย จนถึงสิ้นไตรมาส 2 ปีนี้ พบว่ามีสัดส่วน 38-39% ลดลงจากสิ้นปี 2565 และกว่า 61% ของคนไทยยังไม่มีประกันชีวิตเพราะอะไร?วันที่ 2 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เกี่ยวกับตัวเลขของจำนวนประชากรไทยที่มีการทำประกันชีวิตนั้นพบว่ามีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ GDP (Insurance Penetration) ประมาณ 3.51% และมีอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อประชากร (Density Rate) ประมาณ 40.36% มีเบี้ยประกันชีวิตต่อจำนวนประชากรต่อราย 9,235 บาท“คิดง่าย ๆ ก็คือ คนไทย 100 คน มีประกันชีวิตแค่ 40 คนเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ อาจจะน้อยกว่านี้ก็ได้ เพราะบางคนมีหลายกรมธรรม์”มาดูกันต่อว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 (ม.ค.-มี.ค.) ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง สำนักงาน คปภ.รายงานไว้ว่า สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ GDP (Insurance Penetration) อยู่ที่ประมาณ 3.45% และมีอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อประชากร (Density Rate) ประมาณ 39.89% ดังนั้น จะเท่ากับว่ามีสัดส่วนที่ลดลงจากสิ้นปีที่แล้ว ถามว่าเกิดอะไรขึ้น?นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต (MTL) ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตัวเลขอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อประชากรจนถึงสิ้นไตรมาส 2 (ม.ค.-มิ.ย. 2566) มีสัดส่วนประมาณ 38-39% มีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของ GDP ประมาณกว่า 3% มีค่าเบี้ยประกันชีวิตเฉลี่ยต่อรายประมาณ 9,000 บาท ซึ่งอาจจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากแบบประกันสะสมทรัพย์ที่หายไปนอกจากนี้ โดนกดดันจาก paid-up และ maturity (กรมธรรม์ครบกำหนด) จากแบบประกันตลอดชีพในส่วนของเบี้ยปีต่ออายุ ซึ่งติดลบไปประมาณ 4.56% อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการขอยกเลิกกรมธรรม์ (surrender) ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ“วันนี้การเข้าถึง และแบบประกันที่ใช่ และราคาที่ใช่ จะสำคัญมาก ๆ เพราะอาจจะมีบางกลุ่มเซ็กเมนต์ที่ต้องการประกันชีวิต แต่ยังเข้าไม่ถึง ดังนั้น เชื่อว่าการประกันชีวิตยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมากในอนาคต” นายสาระกล่าวผู้สื่อข่าวรายงานอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยถือกรมธรรม์ประกันชีวิตมีสัดส่วนใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซีย ส่วนประเทศที่เจริญแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นพบว่ามีกรมธรรม์ถึง 322 ฉบับ เฉลี่ยมีกรมธรรม์ถึง 3 ฉบับต่อคน และประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่ 267 ฉบับเฉลี่ยแล้วก็เกือบ 3 ฉบับต่อคนแล้วตั้งคำถามว่าทำไมคนไทยไม่ชอบทำประกันชีวิต มุมมองส่วนตัวอาจจะยังมีรายได้น้อยเกินจะจ่ายเบี้ยประกันหรือเปล่า?แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1361206

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หุ้น

หุ้นแตกพาร์ คืออะไร? นักลงทุนมือใหม่ห้ามพลาด

30/04/2024

หุ้นแตกพาร์ คืออะไร? จะเกิดผลดีหรือผลเสียอะไรบ้าง และผู้ถือหุ้นควรจะทำอย่างไรต่อไป นักลงทุนมือใหม่ห้ามพลาด หุ้นแตกพาร์ คืออะไร หุ้นแตกพาร์ หรือ การแตกหุ้น (Stock Split) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ปรับแผนโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาหุ้นและจำนวนหุ้นในตลาด คำถามคือเมื่อหุ้นที่เราถืออยู่มีการแตกพาร์ จะเกิดผลดีหรือผลเสียอะไรบ้าง และผู้ถือหุ้นควรจะทำอย่างไรต่อไป ? ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจก่อนว่า ราคาพาร์ (Par Value) คือ มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ณ วันเริ่มแรก โดยนำทุนจดทะเบียนหารด้วยจำนวนหุ้นที่บริษัทออก เช่น บริษัท A เริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 100 ล้านหุ้น ราคาพาร์ของหุ้น A จึงเท่ากับ 10 บาท พูดง่าย ๆ ว่าราคาพาร์เปรียบเสมือนต้นทุนเริ่มแรกของผู้ก่อตั้งบริษัทก็ได้ เมื่อบริษัทดำเนินกิจการไปสักพัก หากต้องการจะปรับโครงสร้างการเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ซื้อขายหุ้นได้ง่ายขึ้น วิธีที่มักจะใช้ก็คือการลดราคาพาร์และเพิ่มจำนวนหุ้น หรือที่เรียกกันว่า ‘การแตกพาร์’ นั่นเอง โดยเป็นการเพิ่มจำนวนหุ้นด้วยการแตกหุ้นออกเป็นหลาย ๆ ส่วน ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นลดลงตามสัดส่วน แต่มูลค่าโดยรวมยังเท่าเดิม เทียบให้เห็นภาพขึ้น หุ้นบริษัทก็เหมือนพิซซ่า 1 ถาดที่หั่นขายออกเป็นชิ้น ๆ เดิมแบ่งขายออกเป็น 4 ชิ้น ราคาชิ้นละ 100 บาท แปลว่าราคารวมของพิซซ่าถาดนี้อยู่ที่ 400 บาท แต่เมื่อขายไปสักพัก เรารู้สึกว่าราคาต่อชิ้นแพงเกินไป จึงหั่นให้ชิ้นเล็กลงเพื่อให้จำนวนพิซซ่าเพิ่มเป็น 8 ชิ้น ซึ่งก็จะทำให้ราคาขายต่อชิ้นถูกลงเหลือชิ้นละ 50 บาท ทำให้ขายง่ายขึ้น แต่พิซซ่าทั้งถาดยังมีขนาดเท่าเดิม และมูลค่ารวมไม่ได้เปลี่ยนแปลง จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อหุ้นแตกพาร์? ยกตัวอย่าง หุ้น A ราคาพาร์ 10 บาท มีจำนวนหุ้นในตลาด 100 ล้านหุ้น ราคาหุ้น 200 บาท คิดเป็น Market Cap. 20,000 ล้านบาท ต่อมาบริษัทแตกพาร์เหลือ 1 บาท จำนวนหุ้นในตลาดจึงเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านหุ้น ราคาหุ้นลดลงเป็น 20 บาท คิดเป็น Market Cap. 20,000 ล้านบาท เห็นแบบนี้เราจึงพอสรุปได้ว่าการแตกพาร์ จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหุ้น ดังนี้ 1. จํานวนหุ้นมากขึ้น เพิ่มสภาพคล่องการลงทุน เป้าหมายหลักของการแตกพาร์ คือ การเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นในตลาด เมื่อราคาพาร์ลดลง จํานวนหุ้นเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้หุ้นตัวนั้นซื้อขายง่ายขึ้น เป็นการขยายฐานผู้ถือหุ้นรายย่อยทำให้ Free Float สูงขึ้น และอาจมีแรงเก็งกำไรเข้ามาจากนักลงทุนรายย่อยมากขึ้น 2. ราคาหุ้นลดลง เปิดโอกาสให้ซื้อขายง่ายขึ้น หากราคาหุ้นสูงเกินไป ก็ยากที่นักลงทุนรายย่อยจะเอื้อมถึง เพราะจะซื้อแต่ละทีต้องใข้เงินทุนจำนวนมาก แต่เมื่อแตกพาร์แล้วจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น และราคาหุ้นก็จะลดลงตามสัดส่วนเช่นกัน จึงเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยซื้อหุ้นได้ง่ายขึ้น โดยใช้เงินลงทุนที่น้อยลง เช่น เดิมหุ้นมีราคาพาร์ 10 บาท และราคา 200 บาทต่อหุ้น แปลว่าซื้อหุ้นขั้นตํ่า 1 Board Lot (100 หุ้น) ต้องใช้เงิน 20,000 บาท (100 หุ้น x 200 บาทต่อหุ้น) แต่เมื่อแตกพาร์เป็น 1 บาท ราคาลดลงเหลือ 20 บาทต่อหุ้น แบบนี้มีเงินเพียง 2,000 บาท (100 หุ้น x 20 บาทต่อหุ้น) ก็เริ่มลงทุนได้แล้ว 3. มูลค่าหลักทรัพย์ (Market Cap.) ยังคงเท่าเดิม การแตกพาร์ไม่มีผลต่อมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) เหมือนที่อธิบายไปว่าการแตกพาร์ คือ การหั่นพิซซ่าเป็นชิ้นเล็กลงเพื่อให้ได้จำนวนชิ้นมากขึ้น แต่ไม่ว่าเราจะหั่นชิ้นเล็กแค่ไหน ขนาดของพิซซ่าทั้งถาดก็ยังเท่าเดิมอยู่ดี ควรทำอย่างไร? เมื่อหุ้นแตกพาร์ สรุปอีกครั้งว่าจุดประสงค์ของการแตกพาร์ หรือ แตกหุ้น เพื่อต้องการเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขาย จึงไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับพื้นฐานธุรกิจและงบการเงินของบริษัท ดังนั้น หากเรายังเชื่อมั่นในพื้นฐานของหุ้นที่ถือ ก็สามารถลงทุนตามกลยุทธ์เดิมที่วางไว้ได้เลย นอกจากนี้ การแตกพาร์ไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อมูลค่าของหุ้นที่ถือ (Dilution Effect) และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้น เพียงแค่จำนวนหุ้นในพอร์ตจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่แตกพาร์เท่านั้น แต่มูลค่ารวมยังเท่าเดิม จึงไม่ควรใช้การแตกพาร์มาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์พื้นฐานธุรกิจ แต่จุดสังเกตที่ควรระวังหลังหุ้นแตกพาร์ คือ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่มีความเกี่ยวข้องกับ “จำนวนหุ้น” เช่น กำไรต่อหุ้น (Earning per share) และเงินปันผลต่อหุ้น (Dividend per share) รวมทั้งที่เกี่ยวข้องกับ  “ราคาหุ้น”  เช่น P/E และ P/BV เพราะอัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้จะมีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแตกพาร์ ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบระหว่างงวด เราควรปรับการคำนวณให้เป็นราคาพาร์เดียวกันก่อน เพื่อให้การวิเคราะห์เป็นไปอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี อาจจะมีผลในเชิงจิตวิทยาอยู่บ้าง เพราะในวันแรกที่มีการแตกพาร์ ราคาหุ้นจะปรับลดลงตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากนักลงทุนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารของหุ้นตัวนั้น อาจเกิดความเข้าใจผิดได้ว่าหุ้นลงจากปัจจัยทางธุรกิจ จึงนำมาสู่ความผันผวนของราคาหุ้นระยะสั้น แต่สุดท้ายในระยะยาว ราคาหุ้นก็จะวิ่งเข้าหามูลค่าที่เหมาะสมอยู่ดี ดังนั้น ขอแนะนำให้หมั่นติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ และให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ข้อมูลจาก www.setinvestnow.com ตลาดหลักทรัพย์แห่งประทศไทย (SET) แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1360586

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

สาระไม่กังวลเศรษฐกิจ-การเมือง มั่นใจ “ประกันชีวิต” โต 2% ครึ่งปีเบี้ย 3 แสนล้าน

30/04/2024

สาระ ล่ำซำ ไม่กังวล “เศรษฐกิจชะลอ-ความไม่แน่นอนทางการเมือง-ภาวะเงินเฟ้อกระทบกำลังซื้อ” ย้ำไม่ใช่แฟกเตอร์ใหม่ ธุรกิจประกันชีวิตอยู่มานานกว่า 70-90 ปี ผ่านวัฏจักรเหล่านี้มาหมดแล้ว-ค่อนข้างอนุรักษนิยม มั่นใจสิ้นปี’66 เบี้ยรวมโต 2%วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต (MTL) ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่าช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย. 2566) ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยรับรวมอยู่ที่ 300,005 ล้านบาท เติบโต 3.78% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) มาจากเบี้ยประกันชีวิตรายใหม่ 86,802 ล้านบาท เติบโต 8.93% แยกเป็นเบี้ยปีแรก 56,456 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.44% และเบี้ยซิงเกิลพรีเมี่ยม 30,346 ล้านบาท ลดลง 0.03% ขณะที่เบี้ยปีต่ออายุ 213,203 ล้านบาท เติบโต 1.82% โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ 82%โดยการเติบโตของเบี้ยปีแรก หลัก ๆ มาจากแบบประกันสะสมทรัพย์ เติบโต 24.97% แบบประกันตลอดชีพ เติบโต 23.71% สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและโรคร้ายแรง เติบโต 7.8% ซึ่งถือเป็นตัวชูโรงของภาคธุรกิจในปัจจุบัน และแบบประกันบำนาญ เติบโต 48.89% ทั้งนี้แม้ดูเหมือนจะโตมาก แต่ยังมาจากฐานที่ต่ำส่วนการลดลงของเบี้ยซิงเกิลพรีเมี่ยม จะมาจากแบบประกันชีวิตควบการลงทุน (unit-linked) ที่ติดลบ 81.55% ตามภาวะตลาดทุนที่มีความผันผวนสูง และจากแบบประกันสะสมทรัพย์ ที่ติดลบ 26.03% ภายใต้เส้นอัตราผลตอบแทน (yield curve) ที่ลดลงมาตลอด กดดันแบบประกันสะสมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง (high yield) ลดลงไปสำหรับเบี้ยต่ออายุถือว่ายังโตดีที่ 1.82% แต่อาจจะโดนกดดันจาก paid-up และ maturity (กรมธรรม์ครบกำหนด) จากแบบประกันตลอดชีพ ซึ่งติดลบ 4.56% อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการขอยกเลิกกรมธรรม์ (surrender) ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ“จนถึงสิ้นไตรมาส 2/2566 มีอัตราการถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิต (penetration rate) คิดเป็นสัดส่วน 38-39% ของจำนวนประชากรไทย หรือมีค่าเบี้ยเฉลี่ยต่อหัวประมาณ 9,000 บาท ซึ่งอาจจะลดลงเล็กน้อยจากแบบประกันสะสมทรัพย์ที่หายไปโดยถือว่ามีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของ GDP กว่า 3% อย่างไรก็ตาม วันนี้การเข้าถึงและแบบประกันที่ใช่ และราคาที่ใช่ จะสำคัญมาก อาจจะมีบางกลุ่มเซ็กเมนต์ที่ต้องการเรื่องประกันชีวิตแต่ยังเข้าไม่ถึง” นายสาระกล่าวทั้งนี้คาดการณ์ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในปีนี้ จะมีเบี้ยรับรวมอยู่ที่ 612,500-623,500 ล้านบาท เติบโตกว่า 2% YOY โดยในช่วงครึ่งปีหลังภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวจากภาคท่องเที่ยว และคาดหวังแนวโน้มกระแสรักสุขภาพ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการผ่อนคลายกฎระเบียบส่วนปัจจัยความท้าทายที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลต่อระดับอัตราดอกเบี้ย ที่ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีทิศทางที่ปรับสูงขึ้น แต่ยังต้องมีความระมัดระวังในการเลือกลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทและความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมือง ที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนได้ รวมถึงสงครามการค้าสหรัฐ-จีน และสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ-ราคาสินค้าแพง ซึ่งจะกดดันต่อกำลังซื้ออย่างไรก็ตาม ปัจจัยความท้าทายดังกล่าวไม่ใช่แฟกเตอร์ใหม่ในแง่การบริหารจัดการของธุรกิจประกันชีวิต เนื่องจากเคยผ่านวัฏจักรเศรษฐกิจและเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มาหมดแล้ว หลายบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยมีอายุกว่า 70-90 ปีขณะเดียวกันธุรกิจประกันชีวิตเองก็ค่อนข้างอนุรักษนิยม (conservative) เพราะต้องผูกสัญญาระยะยาวกับผู้เอาประกัน และถูกควบคุมโดยสำนักงาน คปภ. ซึ่งกำหนดให้ลงทุนเน้นหนักในตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ และลงทุนในบริษัทต้องอยู่ในระดับ investment grade“เราเป็นคนที่บริหารเรื่องความเสี่ยง (risk) และเราเองก็ต้องบริหารความเสี่ยง (risk management) ให้ดีกับตัวเราด้วย” นายกสมาคมประกันชีวิตไทยกล่าวผู้สื่อข่าวรายงานว่า จนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 2566 พบว่า 10 บริษัทประกันชีวิตมีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) รวมกัน 92.58% ของเบี้ยรับรวม จากทั้งหมด 22 บริษัท และเฉพาะ 5 บริษัทแรก มีมาร์เก็ตแชร์รวมกันสูงถึง 72.12% ของเบี้ยรับรวมโดย 10 อันดับแรกที่มีเบี้ยรับรวมสูงสุด ประกอบด้วย 1.เอไอเอ 2.เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต 2.ไทยประกันชีวิต 4.เมืองไทยประกันชีวิต 5.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต 6.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต 7.กรุงเทพประกันชีวิต 8.พรูเด็นเชียลประกันชีวิต 9.ไทยสมุทรประกันชีวิต และ 10.โตเกียวมารีนประกันชีวิตแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1360242

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

อย่าเผลอใช้เกินตัว! เปิด 5 วิธีคิดผิดๆ เสี่ยงไม่มี 'เงินเก็บ' หลังเกษียณ

30/04/2024

เงินหาใหม่ได้..ตอนนี้ขอใช้จ่ายให้มีความสุขก่อน? ใครกำลังคิดแบบนี้อาจต้องคิดใหม่! เพราะถ้าไม่ระวัง อาจจะไม่มี "เงินเก็บ" ไว้ใช้หลัง "เกษียณ"     •  ไม่ใช่แค่หาเงินเก่ง แต่ต้องฝึกวินัยการ “เก็บเงิน” และรู้จักบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลให้เหมาะสม เพื่อเป้าหมายการมีอิสรภาพทางการเงินหลัง “เกษียณอายุ”     •  กลุ่มคนอาชีพอิสระก็สามารถ “ออมเงิน” เพื่อการเกษียณได้ โดยในประเทศไทยมี “กองทุนการออมแห่งชาติ” เพื่อให้กลุ่มอาชีพอิสระมีเงินก้อนไว้ใช้หลังเกษียณ ได้เหมือนกับกลุ่มข้าราชการ (กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) และพนักงานบริษัท (มีกองทุนประกันสังคม)     •  ผู้คนยุคดิจิทัลมักหลงทางไปกับ “ภาวะเงินเฟ้อจากไลฟ์สไตล์ฟุ่มเฟือย” ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ลืมคิดไปว่า ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า/เครื่องประดับ ฯลฯ ที่มากเกินจำเป็น ก็ทำให้แผนการเก็บเงินสำหรับเกษียณผิดพลาดได้ ใครๆ ก็อยากมีอิสรภาพทางการเงินหลังเกษียณ แต่ใช่ว่าทุกคนจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้อย่างราบรื่น เพราะแต่ละคนก็มีปัจจัยด้านรายได้ รายจ่าย ค่าครองชีพ และภาระหนี้สินที่แตกต่างกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป หากคุณรู้จัก “ออมเงิน” ให้เหมาะสม และมีการบริหารจัดการเงินที่ดี ที่สำคัญ.. ต้องไม่ติดกับดัก 5 ความผิดพลาดด้านการเงิน ที่สุ่มเสี่ยงทำให้ “ไม่มีเงินเก็บ” จนนำไปสู่การ “ขาดอิสรภาพทางการเงินหลังเกษียณ” โดยเราสรุปมาให้รู้กันดังนี้ ความผิดพลาดที่ 1 : ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่รีบเก็บเงินตั้งแต่อายุยังน้อย บางคนอาจยังมัวแต่รีๆ รอๆ อยู่นานเกินไปกว่าจะเริ่มออมเงิน สุดท้ายก็เก็บเงินไม่ทันใช้หลังเกษียณ รู้หรือไม่? ยิ่งออมเงินเร็วก็ยิ่งได้ดอกเบี้ยทบต้นสูงขึ้น ทั้งนี้ต้องออมเงินในสถาบันการเงินที่ให้อัตราผลตอบแทน 5% ต่อปีขึ้นไป ดังนั้น ไม่ควรมองข้ามเรื่องการออมเงินตั้งแต่อายุยังน้อย แนะนำว่าให้เริ่มออมไม่เกินช่วงวัย 25 ปีความผิดพลาดที่ 2 : ไม่มีความรู้เรื่องกองทุนการออมเพื่อเกษียณ หรือมองว่าเป็นการออมระยะยาวเกินไปจึงไม่สนใจ ในรัฐบาลของหลาย ๆ ประเทศ จะมีมาตรการสนับสนุนให้ประชาชนออมเงินเพื่อการเกษียณ โดยตั้งขึ้นมาเป็นกองทุนต่างๆ อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา ก็จะมีมาตรการ “แผนการลงทุนเพื่อการเกษียณ 401(k)” โดยผู้ลงทุนสามารถหักเงินเดือนเพื่อสะสมเข้ากองทุนนี้ได้ อีกทั้งยังสามารถเลือกแผนการลงทุนที่สนใจได้เอง โดยต้องหักเงินสะสมไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 59 ปี จึงจะสามารถถอนเงินออกมาได้ ส่วนในประเทศไทย ใครที่เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33, 39 รัฐก็มีข้อบังคับให้หักเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคมอยู่แล้ว (ส่วนข้าราชการก็มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) และสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระรัฐบาลไทยก็มีระบบการออมภาคสมัครใจรองรับเช่นกัน โดยสามารถส่งเงินออมผ่าน “กองทุนการออมแห่งชาติ” หรือกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 40 โดยเงินดังกล่าวก็จะเป็นการสะสมไว้เพื่อใช้หลังเกษียณ ทั้งนี้ ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของวัยทำงานหนุ่มสาวที่ทำอาชีพอิสระบางคน คือ อาจไม่มีความรู้เรื่องนี้ หรือไม่ใส่ใจที่จะสมัครเข้าร่วมกองทุนการออมฯ จึงทำให้พลาดโอกาสในการมีเงินเก็บก้อนใหญ่ไว้ใช้หลังเกษียณความผิดพลาดที่ 3 : ตกเป็นเหยื่อภาวะเงินเฟ้อจากไลฟ์ไตล์ฟุ่มเฟือย “ภาวะเงินเฟ้อจากไลฟ์สไตล์ฟุ่มเฟือย (Lifestyle Inflation)” มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้คนเริ่มมองว่า การใช้ชีวิตที่หรูหราในอดีตที่ผ่านมาเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีต่อไปในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งมักถูกกระตุ้นด้วยสื่อสังคมออนไลน์ ยิ่งหนุ่มสาววัยทำงานเล่นโซเชียลมีเดียมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีความปรารถนาที่จะใช้ชีวิตตามคนอื่นๆ บนโลกออนไลน์ (ที่มักโพสต์ไลฟสไตล์การใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย) มากเท่านั้น พวกเขามักจะชะล่าใจเกินไปว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ส่งผลกระทบกับเงินออมหลังเกษียณ ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดพลาด! และบางคนอาจไม่เคยรู้ว่า การจ่ายค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า/เครื่องประดับ ฯลฯ ที่มากเกินจำเป็น ก็มีส่วนทำให้แผนการเงินอื่นๆ หยุดชะงักได้ ในความเป็นจริงแล้ว คุณควรจ่ายค่าเช่าที่พักในอัตราไม่เกิน 25% ของเงินเดือน และควรจ่ายค่าอาหารไม่เกิน 15% ของเงินเดือน เพื่อให้สะสมเงินออมได้มากขึ้นความผิดพลาดที่ 4 : มีเงินออมฉุกเฉินไม่เพียงพอ รู้หรือไม่? กองทุนฉุกเฉินสามารถช่วยชีวิตคุณได้หากคุณตกงาน หรือป่วยจนทำงานไม่ได้ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม บางครั้งคนหนุ่มสาวอาจมีความมั่นใจมากเกินไปและไม่สนใจความเสี่ยงเรื่องนี้ ทั้งนี้ เงินออมฉุกเฉินจะเก็บในจำนวนเท่าใดก็ได้ หากเริ่มเก็บแล้วก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่โดยทั่วไปแล้ว คนโสดจำเป็นต้องกันเงินฉุกเฉินไว้ให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในระยะเวลา 6 เดือนสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ความผิดพลาดที่ 5 : เก็บสินทรัพย์ที่ผันผวนมากเกินไป เช่น Crypto, NFT ที่มีความผันผวนสูง หากคุณยังมองข้ามการลงทุนที่มีความผันผวนสูงเหล่านี้ ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพทางการเงินได้ เพราะการลงทุนกับสิ่งเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงและอันตรายมาก พวกมันสามารถริบเงินลงทุนทั้งหมดของคุณไปได้ในชั่วพริบตา ดังนั้น ควรหันมาลงทุนให้เหมาะสม เลือกลงทุนความเสี่ยงต่ำหรือปานกลาง (ระดับความเสี่ยงในการลงทุนให้คำนวณตามอายุและรายได้ของผู้ลงทุน) จะดีกว่าการไล่ตามผลตอบแทนสูงแบบสุดโต่ง  ------------------------------------- อ้างอิง : CNN Business, Thaigov แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/finance/1078980

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X