Everyday knowledge for you
ประกันภัย
30/04/2024
คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงินผู้เขียน : พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่ แอคชัวรี)จากที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ของคุณศิริกัญญา ตันสกุล หรือคุณไหม ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากรายการลงทุนแมน การให้สัมภาษณ์ในช่วงแรกพูดถึงนโยบายของพรรคที่พวกเรารู้กันอยู่แล้ว แต่ช่วงหลังเป็นการถาม-ตอบประเด็นต่าง ๆ ที่หลายคนสงสัย ว่าถ้านำนโยบายเหล่านี้มาใช้จริง ธุรกิจประกันภัยจะมีผลกระทบในทิศทางไหนบ้างอย่างแรก ถ้าสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ ก็มีแนวโน้มที่คนจะสนใจซื้อประกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันวินาศภัย เพราะก่อนที่คนจะตัดสินใจซื้อประกัน จะต้องจัดการเรื่องปากท้อง ชีวิตความเป็นอยู่ ณ เวลานั้นให้ดีเสียก่อน ถึงจะให้ความสนใจเรื่องความมั่นคงในระยะยาวให้กับคนรอบข้าง ซึ่งส่วนนี้ผมมองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยบริหารความเสี่ยง และลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในครอบครัวได้อย่างยั่งยืนอย่างที่สอง เนื่องจากธุรกิจประกันภัย เป็นอุตสาหกรรมภาคบริการ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ผมมองว่ามันไม่ได้มีผลกระทบกับธุรกิจประกันภัยโดยตรง แต่อาจจะมีผลกระทบในทางอ้อม ที่เกิดจากอัตราเงินเฟ้อ (ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ยิ่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อัตราเงินเฟ้อจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น)มีผลให้ทุนประกันที่มีอยู่ไม่เพียงพอ เนื่องจากทุนประกันของกรมธรรม์เดิมมีอัตราคงที่ จำเป็นต้องซื้อทุนประกันเพิ่มเพื่อชดเชยเรื่องเงินเฟ้อ จึงจำเป็นต้องซื้อประกันที่มีความคุ้มครองเพิ่มมากขึ้นอย่างที่สาม ในกรณีที่อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวสูงขึ้น ส่งผลให้เป้าหมายเงินเก็บสะสมยามเกษียณ เริ่มห่างไกลออกไปอีก โดยเฉพาะกรมธรรม์สะสมทรัพย์ที่ให้เงินก้อนตอนอายุ 60 ปี หรือครบกำหนดสัญญา หรือประกันบำนาญ ที่มีการจ่ายเงินก้อนอัตราคงที่ในแต่ละงวด ก็จะสู้สภาวะเงินเฟ้อไม่ไหว หรือไม่ก็ต้องขายประกันตัวใหม่ที่คุ้มครองเรื่องอัตราเงินเฟ้อไปด้วยอย่างที่สี่ การเก็บภาษีจากกำไรเงินลงทุน Capital Gains Tax (CGT) ได้มีการพูดคุยกันหลายครั้ง ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะทำให้ตลาดทุนที่เป็นตลาดหุ้นเกิดผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ธุรกิจประกันที่อยู่ภายใต้กฎหมายธุรกิจเฉพาะ Specific Business Tax (SBT) ซึ่งต้องตามกันต่อว่าจะมีผลกระทบหรือไม่แต่ในความคิดส่วนตัวของผม ผมมองว่าไม่มีผลกระทบ ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบของบริษัทประกันในการลงทุนมากขึ้น และในอีกมุมหนึ่งก็อาจจะทำให้เม็ดเงินที่หนีจากตลาดหุ้น จะมาอยู่ที่ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และประกันบำนาญเพิ่มมากขึ้นและอย่างสุดท้าย ภาษีความมั่งคั่ง Wealth Tax จากผู้ที่มีสินทรัพย์ (รวมถึงหุ้นที่ถือด้วย) หักลบกับหนี้สิน หากเกิน 300 ล้านบาท จะต้องถูกเก็บภาษีที่อัตรา 0.5% แต่ต้องเข้าใจกันก่อนว่า สินทรัพย์ในที่นี้ รวมถึงมูลค่าของประกันชีวิตหรือประกันบำนาญด้วยหรือไม่ ซึ่งจะต้องให้บริษัทประกันคุยกันแต่ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าไม่ควรรวมเข้าไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับภาษีมรดก ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยจะไม่ถูกนับรวมส่วนเรื่องอื่น ๆ เช่น เรื่องทลายนายทุนผูกขาด โดยเฉพาะธุรกิจน้ำเมา ส่วนนี้ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรง ซึ่งถ้านโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุรา แล้วโปรโมตเรื่องเมาแล้วไม่ขับให้มากขึ้น ตรงนี้ก็จะไม่มีผลกระทบกับประกันอุบัติเหตุแต่อย่างใดครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1316401
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวทั่วไป
30/04/2024
ทุกวันนี้ เราทุกคน (โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง) ต่างรู้ดีว่า “คน” คือ “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” ที่สำคัญที่สุดขององค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของต้นทุนสูง รายได้ต่ำ ของเสียมาก ผลผลิตไม่ได้ตามเป้า และอื่นๆ อีกมากมายที่มีผลกระทบต่อองค์กร จนกลายเป็น “ปัญหาซ้ำซาก” ในการบริหารจัดการตลอดมา ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อ “กำไรขาดทุน” ของกิจการ โลกของธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงมากในวันนี้ จึงเป็นโลกของการแย่งชิง “บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่น” หรือ “คนเก่ง” (Talent People) พูดง่ายๆ ว่า ทุกองค์กรต่างแย่ง “คนเก่ง” กันเพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตขององค์กร ทั้งที่มีปัจจัยต่างๆ มากมายที่แต่ละองค์กรจะสามารถดึงรั้งและสงวนรักษาไว้ซึ่งคนเก่งที่มีอยู่แล้วให้อยู่กับองค์กรนานๆ สิ่งที่นิยมทำกันในปัจจุบัน ก็คือ “การซื้อตัว” คนเก่งจากองค์กรอื่นๆ ทั้งๆ ที่เราก็สามารถบ่มเพาะและสร้างคนเก่งจากภายในองค์กรของเราเองก็ได้ แต่เห็นว่าการซื้อตัวเป็นการลงทุนน้อยกว่าและใช้เวลาไม่มาก เรื่องนี้จึงอยู่ที่ “ผู้บริหารระดับสูง” หรือ CEO ของแต่ละองค์กรโดยแท้ “ผู้บริหารระดับสูง” ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่ง เพราะทุกกิจการจะอยู่รอด เจริญรุ่งเรือง หรือ จะล่มสลายต้องปิดกิจการ ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้บริหารในความเป็นผู้นำองค์กร การกำหนดวิสัยทัศน์ วิธีการบริหารจัดการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมตลอดถึงเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรม ผู้บริหารจะเป็นผู้กำหนดทิศทาง และตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การตลาด การผลิต การบุคคล การขยายกิจการ ตลอดจนเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ว่าไปแล้ว หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ “ผู้บริหารมืออาชีพ” ก็คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (ทั้งที่มีอยู่และที่จะแสวงหาเพิ่มเติม) ด้วยการบริหารจัดการ เพื่อให้การปฏิบัติการต่างๆสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดตรงประเด็น ซึ่งหนีไม่พ้น “การบริหารคน” เป็นสำคัญ การประเมินผลการปฏิบัติงาน หรือ “การวัดผลงาน” (Performance Management) ของบุคลากรในองค์กร จึงมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของทุกองค์กร การสงวนรักษาไว้ซึ่ง “คนเก่ง” จึงต้องอาศัย “การวัดผลงาน” ที่ชัดเจน เป็นธรรม และรวดเร็วทันการ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานและสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง ที่จริงแล้ว คำว่า “Performance” เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดในศตวรรษที่สิบห้า อันหมายถึง การละคร และการมหรสพต่างๆ ซึ่งเรียกผู้เล่นละครว่า Performer แต่ในปัจจุบันคำนี้มีความหมายกว้างขวางมากขึ้นอีก คือไม่เพียงแต่ความหมายทางวัฒนธรรมดังกล่าว ยังครอบคลุมถึงการแสดงคอนเสิร์ต และการแข่งขันกีฬาด้วย ในการแข่งขันกีฬานั้น นอกจากจะรู้ว่าใครชนะใครแพ้ (ทีมชนะ และทีมแพ้) ในทันทีที่จบเกมส์การแข่งขันแล้ว การวัดผลการแข่งขัน ยังแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่อยู่เบื้องหลังการแข่งขันกีฬาด้วย เช่น สุขภาพและความแข็งแรงของนักกีฬา กฎกติกามารยาท เป็นต้น ดังนั้น การแข่งขันกีฬาใดๆ ไม่ว่านักกีฬาจะวิ่งแข่ง ยกน้ำหนัก ว่ายน้ำ ตีเทนนิส เล่นฟุตบอล หรือการแข่งขันใดๆ ก็จะต้องมีการวัดผลงาน เพื่อหานักกีฬาหรือทีมที่เก่งกว่า ดีกว่า โดยวัดด้วยการจับเวลา ระยะทาง ประตูที่ยิงได้ แต้ม คะแนน หรือตัวแสดงผลอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าการวัดผลงาน นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหลัก (แพ้ชนะ) ยังแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่อยู่เบื้องหลัง (สุขภาพ) ควบคู่กันไปด้วย การแข่งขันกีฬาสามารถให้ผลลัพธ์เป็นคะแนนตอบสนองกลับมาอย่างชัดเจนได้ทันทีว่า ใครแพ้ใครชนะ ใครเก่งกว่าใครแค่ไหนเพียงใด และอย่างไรบ้าง รวมตลอดถึงการแสดงให้เห็นว่า ใครมีร่างกายที่แข็งแรง ใครเหมาะสมกว่า ความมีน้ำใจนักกีฬา และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนอื่นๆ แต่ในการทำงานนั้น เรามักจะไม่ได้รับรู้ผลลัพธ์ของ “การวัดผลงาน” ที่ตอบกลับมาอย่างรวดเร็ว และตรงเป้าตรงประเด็นว่า เราทำงานได้ดีมากน้อยเพียงใดตามเป้าหมาย และไม่ได้บอกชัดเจนว่า เราเหมาะสมกับงานที่ทำหรือไม่ อย่างไรบ้าง เรามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไรในงานที่ทำ เราจะต้องปรับปรุงตัวเองในเรื่องใดอย่างไรบ้างจึงจะทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย เป็นต้น ซึ่งควรรวมอยู่ในวิธีการประเมินหรือวัดผลงานอย่างครอบคลุมทั้งเป้าหมายหลักและเป้าหมายเบื้องหลังเช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬาที่กล่าวข้างต้น ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เพียงต้องการเน้นย้ำว่า การวัดผลงานที่ดี จะต้องชัดเจน เป็นธรรม และรวดเร็ว เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ความพึงพอใจ และสร้างความฮึกเฮิมที่จะทำงานบรรลุเป้าหมายต่อไปได้ (เช่นเดียวกับการรู้ผลของการแข่งขันกีฬาในทันทีที่จบเกมส์) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการวัดผลงานของคนเก่ง ที่ต้องการรู้ว่าเขาเก่งแค่ไหน และเขาเหมาะที่จะอยู่กับองกรค์ต่อไปหรือไม่ ทุกวันนี้ เราต่างรู้ดีว่า “คน” มีความสำคัญยิ่งยวดต่อองค์กร แล้วเราได้ทำการพัฒนาคนตามที่บอกว่าสำคัญ จริงหรือไม่และมากน้อยเพียงใด ครับผม ! แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ https://www.bangkokbiznews.com/health/labour/1071751
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
Where2put Ur Money: เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในแนวทางการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งเป็นตัวเลขจากงบการเงินเพื่อนำมาช่วยในการตัดสินใจลงทุนค้นหาหุ้นที่ดีในราคาที่เหมาะสม (Good Stock at Good Price) ก็คือ “การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)” แต่ก่อนที่จะลงมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากงบการเงิน พอจะทราบกันไหมครับว่า ลักษณะของ “งบการเงินที่ดี” ตามแม่บทบัญชีเป็นอย่างไรบ้าง เชื่อว่า หลายๆ คนคงยังไม่ทราบกัน โดยลักษณะของงบการเงินที่ดีควรเป็นดังนี้ครับ • ความเข้าใจได้ (Understandability) โดยอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามสมควรในเรื่องบัญชี และกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ ดังนั้น เมื่อมีการใช้ข้อมูลในงบการเงินดังกล่าว จึงสามารถทำความเข้าใจในข้อมูลได้ในทันที • ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ข้อมูลในงบการเงินต้องมีประโยชน์ สามารถช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินประเมินสถานการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยัน หรือชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงิน เพื่อที่จะได้นำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่เกิดให้ดีขึ้น • ความมีนัยสำคัญ (Materiality) ข้อมูลในงบการเงินต้องมีความเกี่ยวข้อง และมีประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน • ความเชื่อถือได้ (Reliability) ข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นข้อเท็จจริง มีแหล่งที่มาชัดเจน มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในสาระสำคัญอันจะไม่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดได้ และถ้าเป็นการคาดการณ์ก็ต้องสมเหตุสมผล สอดคล้องกับความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น • การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Faithful Presentation) ข้อมูลในงบการเงินต้องทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเชื่อได้ว่า ข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการที่ต้องการให้แสดง และปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ • ความเป็นกลาง (Neutrality) เนื่องจากงบการเงินถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับกลุ่มคนหลายฝ่าย ดังนั้นข้อมูลในงบการเงินต้องถูกนำเสนอด้วยความเป็นกลาง และปราศจากซึ่งความลำเอียง • เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance Over Form) ข้อมูลในงบการเงินต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียงแค่จัดทำตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว • ความระมัดระวัง (Prudence) เนื่องจากการจัดทำงบการเงินดำเนินการภายใต้ความไม่แน่นอน จึงต้องมีการใช้ดุลพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบในการประมาณการเพื่อไม่ให้รายการบางรายการสูง หรือต่ำเกินไป จนทำให้ขาดความเป็นกลาง และไม่น่าเชื่อถือ • ความครบถ้วน (Completeness) หากข้อมูลในงบการเงินไม่ครบถ้วน ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน และนำไปสู่ความผิดพลาดได้ • การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) ผู้ใช้งบการเงินไม่เพียงแต่ต้องสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงินระหว่างกิจการได้ หากยังต้องสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาที่ต่างกันได้ด้วย เพื่อที่จะประเมินการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการที่เกิดขึ้น • ทันต่อเวลา (Timelines) ต้องมีการปิดงบการเงินให้ทันเวลาก่อนที่จะมีการตัดสินใจใดๆ เนื่องจากการรายงานข้อมูลที่ล่าช้าอาจส่งผลให้การตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินผิดพลาดได้ • ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป (Balance Between Benefit and Cost) โดยทั่วไป ประโยชน์ที่ได้รับจากข้อมูลในงบการเงินควรมากกว่าต้นทุนในการจัดหาข้อมูลนั้นๆ • การแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร (Appropriate Display of Information) เพียงพอ และมีสาระสำคัญทั้งในด้านฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงาน แน่นอนว่า “งบการเงิน” จะให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งบการเงิน ก็ต่อเมื่องบการเงินนั้นมี “ลักษณะที่ดี” ตามแม่บทบัญชีที่ได้กำหนดไว้ข้างต้นนั่นเองครับ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythai https://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/where-to-put-your-money/18247
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
บทความโดย "สิรภัทร เกาฏีระ"นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ในปัจจุบันความรู้ทางการเงิน มีความจำเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิต เนื่องจากเราทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงิน ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยเกษียณ ไม่ว่าจะเป็น การเก็บออมเงิน การซื้อประกัน การจ่ายภาษี หรือ การวางแผนเกษียณ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละคน จะมีความรู้และทัศนคติในเรื่องการเงินที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะใน 3 เรื่องการเงิน ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดเรื่องที่ 1 : จะออมทั้งที ต้องเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง ๆ ถึงจะดีในความเป็นจริง การออมเงินไม่จำเป็นต้องเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงเสมอไป โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์การเงินให้สอดคล้องกับ “เป้าหมายการออม” และ “ระยะเวลาการออม” ที่เหมาะสม เช่น– จะเก็บออมเงินระยะสั้น ควรใช้ผลิตภัณฑ์ออมเงินระยะสั้น เช่น เงินฝากธนาคาร หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ เพราะมีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง– จะเก็บออมเงินระยะยาว ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ออมเงินแบบระยะยาว เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น หรือ ประกันบำนาญ เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์การเงินชนิดอื่น ๆยกตัวอย่าง หากเรามีเป้าหมายเก็บออมระยะสั้น (1 ปี) แต่ไปเลือกใช้ผลิตภัณฑ์การเงินระยะยาว คือ กองทุนรวมหุ้น โดยคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี อาจจะทำให้เงินออมของเราขาดทุน และทำให้พลาดเป้าหมายการออมนี้ไปความเข้าใจที่ถูกต้องคือ การออมเงินไม่ควรมองเฉพาะเรื่องผลตอบแทนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ออมเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายและระยะเวลาการออมเรื่องที่ 2 : วางแผนเกษียณ เป็นเรื่องของคนแก่หนุ่มสาวที่อยู่ในช่วงเริ่มทำงานมักมองว่า เรื่องวางแผนเกษียณ เป็นเรื่องที่ไกลตัว ยังไม่จำเป็นต้องรีบวางแผนเก็บเงิน เพราะยังมีเวลาอีกเยอะ แต่ในความเป็นจริง คนทำงานทุกคนต้องมีวันที่เกษียณจากการทำงาน การเริ่มเก็บเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้สามารถวางแผนเก็บเงินได้เพียงพอ สำหรับค่าใช้จ่ายตลอดช่วงเกษียณอายุ ในทางกลับกัน หากเริ่มวางแผนเก็บเงินเกษียณช้า ก็จะทำให้มีโอกาสเก็บเงินไม่เพียงพอ ตลอดการใช้ชีวิตหลังเกษียณยกตัวอย่าง หากเราเริ่มวางแผนเก็บเงินเกษียณตอนอายุ 50 ปี ตั้งใจว่าจะเกษียณอายุจากการทำงานตอนอายุ 60 ปี ซึ่งวางแผนใช้ชีวิตช่วงหลังเกษียณอายุ 61-80ปี จะสังเกตว่ากรณีนี้เรามีระยะเวลาเก็บเงินเหลืออีกประมาณ 10 ปี เพื่อให้มีเงินพอใช้ต่อไปอีก 20 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และอาจจะเก็บเงินไม่พอสำหรับการใช้จ่ายช่วงหลังเกษียณความเข้าใจที่ถูกต้องคือ วางแผนเกษียณ เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ควรเริ่มวางแผนตั้งแต่ช่วงที่เริ่มทำงานเรื่องที่ 3 : การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ คือ การจ่ายเบี้ยทิ้งหลายคนมักมองว่าการซื้อประกันสุขภาพ เป็นการจ่ายเบี้ยทิ้ง ถ้าหากเราไม่ป่วยจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป แต่ในความเป็นจริง การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพคือ การซื้อคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตยกตัวอย่าง ในวันที่ใกล้เกษียณอายุจากการทำงาน หากว่าเราเก็บเงินก้อน เพื่อเกษียณได้ตามเป้าหมายสำเร็จแล้ว แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น คือ เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก และต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องถอนเงินก้อนที่เราเตรียมไว้ใช้สำหรับเกษียณ มาจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ทำให้เราแผนที่เราเตรียมเงินไว้ใช้ ช่วงหลังเกษียณอายุผิดพลาดไปความเข้าใจที่ถูกต้องคือ ประกันสุขภาพ คือการวางแผนความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เป็นการใช้ “เงินก้อนเล็ก เพื่อปกป้องเงินก้อนใหญ่”จะเห็นได้ว่า 3 เรื่องการเงินนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คนมักเข้าใจผิดกัน อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเงินอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เรามีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น ดั่งคำว่า “สุขภาพการเงินดี ชีวิตดี”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1314818
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
นักลงทุนแต่ละคน ก็คงมีเป้าหมายใหญ่ๆ ในแง่ความมั่งมี ซึ่งอาจจะวัดจากขนาดของพอร์ตหุ้น กองทุน อสังหาฯ ที่ดิน พระเครื่อง ฯลฯ ที่เรียกรวมๆมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ เป้าหมายจะกี่ล้านก็ตามแต่ ... ที่แน่ๆใช้เวลานาน กว่าจะไปถึงต้องใช้เวลา 10 - 20 - 30 ปี ซึ่งระหว่างทางก็ต้องลงแรง ลงสมอง ลงใจ และใช้ความอึด อดทน พยายาม กล้าตัดสินใจร่วมกันไปด้วย ด้วยระยะเวลาสร้าง Wealth ที่ยาวนาน ก็จะเจอกับวิกฤตการณ์สารพัด แบบเล็กๆมาทุก 3 ปี แบบใหญ่ๆมาทุก 10 ปี ต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ ปิดถนน กีฬาสี น้ำมันโลก สงครามการค้า โควิด การเมือง ฯลฯ ความผันผวนมันมีมาตลอด ไม่หยุดหย่อน เราจึงต้องเรียนรู้ ที่จะหาความสุขในแต่ละวันไปด้วย จั่วผิด ติดดอย ขายหมู คัทแล้วเด้งใส่หน้า ไม่คัทแล้วดิ่งShipหาย .... อะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของเกม ผิดไปแล้วก็ช่างมัน อย่าไปซึม เชิดหน้าแล้วเดินหน้าต่อไป เป็นกำลังใจให้นักลงทุนที่รู้สึกว่าหุ้นช่วงนี้เล่นยากมากกก ตัดสินใจผิดซ้ำซาก คร่อมจังหวะไปหมด ตอนนี้หุ้นถูกๆมีไม่น้อย ถ้ามั่นใจซื้อแล้ว ก็ลองขยาย time frame ระยะเวลาหวังผล จากรายวัน รายสัปดาห์ เป็นงบไตรมาส 3 ออกเจอกัน หรือ สิ้นปีเจอกัน บางทีอาจจะให้ผลที่ดีกว่าก็ได้ หุ้นที่งบ Q3 จะดีกว่า Q2 แล้ว Q4 จะดีกว่า Q3 รายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม ปันผลเพิ่ม แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับstock2morrow https://stock2morrow.com/article/5462
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสังคม
30/04/2024
อัพเดตสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ประจำปี 2566 สิทธิประกันสังคมเป็นหนึ่งในสวัสดิการของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลผู้มีรายได้ คล้ายกับการทำประกัน โดยผู้เอาประกันถูกเรียกว่าผู้ประกันตน จะต้องจ่ายเบี้ยประกันซึ่งในที่นี้เรียกว่าเงินสมทบ ให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือน และจะได้รับความคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ แล้วแต่มาตราประเภทผู้ประกันตน ม.33-39-40ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างอายุ 15-60 ปี หรือผู้ที่เกิน 60 ปีแต่นายจ้างยังคงจ้างต่อ และเป็นผู้ที่ทำงานประจำหรือไม่ได้ทำงานประจำก็ได้ เช่น ฟรีแลนซ์ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฯลฯ ด้วยช่วงอายุที่กว้าง ความแตกต่างและความต้องการที่หลากหลายของผู้ประกันตน ประกันสังคมจึงมีแผนรองรับหลายแบบ ทั้งคนทำงานที่อยู่ในระบบและไม่อยู่ในระบบ แบ่งออกเป็น 3 มาตรา ดังนี้ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จ่ายเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีคลอดบุตร– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิต– กรณีสงเคราะห์บุตร– กรณีชราภาพ– กรณีว่างงานมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม จ่ายเงินสมทบ 432 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีคลอดบุตร– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิต– กรณีสงเคราะห์บุตร– กรณีชราภาพมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถเลือกสมัครได้ 3 ทางเลือก ดังนี้ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 3 กรณี– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิตทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิต– กรณีชราภาพทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 5 กรณี– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิต– กรณีชราภาพ– กรณีสงเคราะห์บุตร11 สิทธิประโยชน์ที่หลายคนไม่รู้1. สิทธิประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฟรีผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39 และ 40) รักษาพยาบาลฟรีตามโรงพยาบาลที่เลือกไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากอาการเจ็ป-ป่วยฉุกเฉินและจำเป็นจ้องไปรักษาที่โรงพยาบาลนอกเหนือจากที่เลือกไว้ ต้องสำรองจ่ายก่อน และทำเบิกทีหลังกรณีรักษาโรงพยาบาลรัฐบาล ที่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่เลือกไว้ ผู้ป่วยในเบิกได้ตามที่จ่ายจริง แต่สำหรับค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาทกรณีรักษาโรงพยาบาลเอกชน ต้องสำรองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมง รวมทั้งเบิกค่ารักษาได้ตามที่จ่ายจริง แต่จำกัดวงเงินต่างกันไปตามการรักษา ที่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่เลือกไว้ เบิกค่าห้องและค่าอาหารได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท (ICU 4,500)นอกจากนี้หากแพทย์ให้หยุดงานเพื่อรักษาตัว ยังได้รับเงินชดเชย จากการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วันโรคที่ไม่มีสิทธิใช้ประกันสังคม ได้แก่ • โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด • การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไต ด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนด • การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ • การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง • การรักษาภาวะมีบุตรยาก • การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ • การตรวจใด ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น • การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ • การเปลี่ยนเพศ • การผสมเทียม • การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น • แว่นตาทั้งนี้ ประกันสังคมได้เพิ่มสิทธิการเข้าถึงสิทธิการรักษา 5 โรค โดยผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับบริการ เฉพาะโรงพยาบาลที่กำหนดเท่านั้น คือ1. โรคมะเร็งเต้านม2. ก้อนเนื้อที่มดลูก3. โรคนิ่วในไต หรือถุงน้ำดี4. โรคหลอดเลือดสมอง5. โรคหัวใจและหลอดเลือด2. สิทธิทันตกรรมฟรีสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันรักษาสามารถใช้สิทธิด้านทันตกรรมข้างล่างนี้รวมกันไม่เกิน 900 บาท/ปี • รักษาโรคฟัน • ขูดหินปูน • ถอนฟัน • อุดฟัน • ใส่ฟันเทียมหรือฟันปลอม (สูงสุดไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม3. ตรวจสุขภาพฟรีสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 รับสิทธิตรวจสุขภาพฟรี 14 รายการต่อปี จากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจร่างกายตามระบบ • การคัดกรองการได้ยิน FInger Rub Test อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี • การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ อายุ 40-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง, อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี • การตรวจสายตาด้วย Snellen Eye Chart อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปีตรวจทางห้องปฏิบัติการ-เลือด • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC อายุ 18-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง และอายุ 55-70 ปี ตรวจ 1 ครั้งต่อปี • น้ำตาลในเลือด FBS อายุ 35-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี และอายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้งต่อปี • ไขมันในเส้นเลือดชนิด Total Cholesterol & HDL อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ปี • การทำงานของไต Cr อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปีตรวจทางห้องปฏิบัติการ-ปัสสาวะ • ปัสสาวะ UA อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปีการตรวจอื่น ๆ • เชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg สำหรับผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ. 2535 ตรวจ 1 ครั้ง • เลือดในอุจจาระ FOBT อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี • Chest X-ray อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งเพศหญิงตรวจเพิ่มฟรี 2 รายการ • มะเร็งเต้านม อายุ 30-39 ปี ตรวจทุก 3 ปี, อายุ 40-54 ปี ตรวจทุกปี, อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง • ปากมดลูกตรวจมะเร็งปากมดลูก มี 2 วิธีดังนี้ 1. Pap Smear ตรวจเซลล์บริเวณปากมดลูกมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติหรือไม่ อายุ 35-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี และอายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง 2. VIA ตรวจการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูกที่รู้ผลรวดเร็ว อายุ 35-54 ปี ตรวจทุก 5 ปี และอายุ 55 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจ Pap Smear4. ฉีดวัคซีนฟรีวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรช่วงอายุที่มีความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรง สำนักงานประกันสังคมได้จัดให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้ประกันตน กำหนดปีละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ซึ่งในปี 2566 จะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม-31 สิงหาคม 2566วัคซีนรักษาไวรัสพิษสุนัขบ้าสิทธิประกันสังคมให้ความคุ้มครองสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนรักษาหลังจากได้รับไวรัสพิษสุนัขบ้าโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (แต่หากเป็นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค จะไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้)เข็มแรก : กรณีฉุกเฉิน (หลังสัมผัสโรค) หากไม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมอยู่ได้ ก็สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสถานพยาบาลอื่น ๆ ได้โดยให้ผู้ประกันตนสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินพร้อมกับใบรับรองแพทย์ไปยื่นเรื่องเบิกเงินคืนจากสำนักงานประกันสังคม ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาทเข็มต่อไป : เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากผู้ประกันตนไม่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองและเบิกไม่ได้5. ค่าคลอดบุตรสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร จะได้รับเงินสมทบค่าทำคลอดบุตรให้ครั้งละ 15,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งรวมทั้งได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ในช่วงระหว่างลาคลอด โดยไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี (สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงาน) ทั้งนี้ต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงิน)6. สงเคราะห์บุตรสำหรับผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39 และ 40) ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน จะได้รับเงินสมทบสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน แต่ต้องไม่เกินครั้งละ 3 คน โดยจะหมดสิทธิรับเงินนี้เมื่อบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ต้องเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น)7. ทุพพลภาพสำหรับผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39 และ 40) กรณีทุพพลภาพร้ายแรงจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต รวมทั้งได้รับสิทธิจ่ายตามจริงเมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ หากรักษาที่เอกชน กองทุนจะจ่ายให้เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท สำหรับผู้ป่วยนอก ส่วนผู้ป่วยในได้เดือนละไม่เกิน 4,000 บาท ทั้งนี้เมื่อชราภาพแล้วผู้ทุพพลภาพยังคงได้รับสิทธิบำเหน็จเหมือนคนทั่วไป8. เงินชราภาพสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 (มาตรา 40 เฉพาะแผน 2 และ 3)เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เลือกรับเงินสมทบชราภาพได้ 2 รูปแบบบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต กรณีจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครบ 180 เดือน/15 ปี ได้ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากผู้ประกันตนจ่ายสมทบมากกว่า 180 เดือน/15 ปี จะได้ค่าสมทบรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือนบำเหน็จชราภาพ รับเงินก้อนครั้งเดียว กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน เงินบำเหน็จจะจ่ายตามจริงตรงกับจำนวนเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเท่านั้น ส่วนผู้ที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป บำเหน็จจะได้ทั้งในส่วนเงินของตัวเองและที่นายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมผลตอบแทนอื่น ๆ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด9. ค่าทำศพสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 หากเสียชีวิตผู้ประกันตนจะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท บวกกับเงินสมทบ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36-120 เดือน ส่วนผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 120 เดือน จะได้รับเงินสมทบ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือนสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 เฉพาะแผน 1 และ 2 จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท พร้อมรับเงินเพิ่มอีก 8,000 บาท กรณีจ่ายสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต สำหรับแผน 3 จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท10. เงินว่างงานสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน, มีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป และต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อตกงานทั้งเกิดจากการถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะได้รับเงินชดเชย ดังนี้ • ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 180 วัน คำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท) • ในกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน ได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 90 วันคำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท)11.ลดหย่อนภาษีเงินได้เงินที่จ่ายสบทบเข้ากองทุนประกันสังคม สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีได้ตามการจ่ายจริง เช่น หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทครบ 12 เดือน จะขอลดหย่อนภาษีได้ 9,000 บาทแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/csr-hr/news-1313134
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย "ณัฐลักษณ์ กาญจนวิโรจน์" นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย หลายคนเมื่อพูดถึงการวางแผนมรดกจะจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่แน่ใจว่าอะไรคือการวางแผนมรดก เราจำเป็นต้องวางแผนหรือไม่ และต้องวางแผนในส่วนไหนบ้าง เลยอยากจะชวนเริ่มต้นโดยการลองคิดก่อนว่าหากเราตายไปโดยไม่มีการวางแผนมรดกอะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าในส่วนไหนที่เราสามารถเตรียมไว้ก่อนได้ และจะเป็นประโยชน์กว่าปล่อยให้คนอื่นมาทำแทนเรา สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อใครคนหนึ่งจากไปและไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า 1. บุคคลที่จากไปจะกลายเป็นเจ้ามรดก 2. ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดก 3. ผู้จัดการมรดกจะทำหน้าที่รวบรวมสินทรัพย์และชำระหนี้สินทั้งหมดของผู้ตาย เพื่อนำส่วนที่เหลือไปแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม 4. ทายาทที่ได้รับมรดกเกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีมรดกตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จากกระบวนการข้างบนนี้ เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เราต้องเตรียมและวางแผนทั้งหมดจะมีดังนี้ 1. รวบรวมสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดที่เป็นของเรา 2. จัดทำพินัยกรรม กำหนดผู้รับพินัยกรรม 3. กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดก 4. วางแผนเรื่องภาษีมรดก ในบางครอบครัวที่ไม่ซับซ้อนมีเพียงพ่อแม่ลูก ทรัพย์สินก็ไม่เยอะ ญาตพี่น้องก็ไม่ค่อยมี อาจจะมองว่าไม่จำเป็นต้องวางแผนมรดก เพราะถ้าพ่อหรือแม่ตายก็ให้คนที่เหลือในครอบครัวเป็นผู้จัดการมรดก และทรัพย์สินหนี้สินก็ไม่ได้เยอะจนต้องรวบรวมอะไรมาก นอกไปจากนั้นการปล่อยให้ผู้รับมรดกเป็นทายาทโดยธรรมไปเลยก็ไม่ได้ติดขัดแต่อย่างใด ภาษีมรดกก็คงไม่มีใครต้องเสีย แต่ในความเป็นจริง เราก็ไม่อาจทราบได้ว่าใครจะตายก่อนใคร ลำดับการตายก่อนหลังแน่นอนว่าย่อมมีผลต่อการจัดลำดับของทายาทโดยธรรม ดังนั้นจะดีจริง ๆ หรือที่เราจะปล่อยให้กฎหมายมาเป็นคนกำหนดว่าใครจะเป็นผู้รับมรดก สู้เรากำหนดผู้รับมรดกเอง รวบรวมทรัพย์สินหนี้สินของตัวเราเองไว้ กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของเราไว้ล่วงหน้าก็จะทำให้กระบวนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และการจัดแบ่งกองมรดกเป็นไปอย่างราบรื่นและตรงวัตถุประสงค์ของเราที่สุด แนวทางการวางแผนมรดกแบบเป็นขั้นตอน 1. จัดทำบัญชีทรัพย์สินทั้งหมดที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สิน รวมถึงระบุด้วยว่าปัจจุบันอยู่ในชื่อของใคร ได้มาก่อนแต่งหรือหลังแต่ง ถือเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว เพื่อที่จะได้นำมาคำนวณได้ถูกว่าในส่วนที่เป็นของเราจริง ๆ นั้นมีมูลค่ารวมอยู่ที่เท่าไหร่ 2. เลือกแบบของพินัยกรรมที่ต้องการจะทำ โดยพินัยกรรมมีทั้งหมด 5 แบบดังนี้ • แบบเขียนเองทั้งฉบับ • แบบธรรมดา • แบบเอกสารฝ่ายเมือง • แบบเอกสารลับ • แบบด้วยวาจา ซึ่งแบบที่ได้รับความนิยมจะเป็นแบบเขียนเองทั้งฉบับและแบบธรรมดา เพราะสะดวกและไม่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น แต่อย่างไรก็ดี การเขียนพินัยกรรมเอง ผู้เขียนจำเป็นต้องศึกษาวิธีการเขียนในแต่ละแบบให้ถูกต้อง เช่น แบบเขียนเองทั้งฉบับต้องเขียนด้วยลายมือ ห้ามพิมพ์ หรือแบบธรรมดาต้องมีพยานที่ไม่มีส่วนได้เสียอย่างน้อย 2 คน หากพินัยกรรมฉบับใดไม่ทำให้ถูกต้องตามแบบ พินัยกรรมฉบับนั้นจะตกเป็นโมฆะและทำให้ไม่สามารถใช้บังคับตามกฎหมายได้ 3. กำหนดผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดก ระบุผู้รับพินัยกรรมในแต่ละทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เหลือจากการชำระหนี้แล้ว 4. คำนวณภาษีมรดกที่ผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนจะได้รับ โดยตามกฎหมายภาษีมรดก ผู้ที่ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิเกิน 100 ล้านบาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก โดยในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีตามเงื่อนไขที่สรรพากรวางไว้ อย่างไรก็ดี หากเรามีความรู้เกี่ยวกับมรดกที่ต้องเสียภาษี เราอาจจะวางแผนการเสียภาษีมรดกไว้ล่วงหน้าได้ โดยอาจจะ • จัดสรรเงินสดเพื่อเตรียมจ่ายภาษีให้กับทายาทที่ต้องเสียภาษีมรดก • เลือกเก็บสินทรัพย์ในรูปแบบที่ไม่ต้องเสียภาษีมรดก อาทิ ประกันชีวิต เครื่องประดับ ทองคำ จะเห็นได้ว่าหากมีความเข้าใจในกระบวนการที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่คนคนหนึ่งได้จากไปแล้ว การวางแผนมรดกก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป และก็ทำให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการที่มีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่จากไป รวมถึงลดภาระให้กับผู้รับมรดกและช่วยปกป้องมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะหายไปจากภาษีมรดกอีกด้วย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1307905
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
ธปท.เปิดข้อแตกต่าง “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย” และ “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์” แนะผู้บริโภคศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจวันที่ 3 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อธิบายความแตกต่างระหว่าง “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย” และ “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์”ทั้งนี้ ถึงจะมีคำว่า “ทรัพย์” เหมือนกันแต่มีข้อดีต่างกันอย่าให้คำว่า “ทรัพย์” ทำให้สับสนควรศึกษาเงื่อนไขผลิตภัณฑ์การเงินทั้ง 2 ประเภทให้ดีก่อนตัดสินใจ– ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ความคุ้มครอง : มีความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต (ผู้รับผลประโยชน์ได้รับเงิน)สภาพคล่อง : มีเงื่อนไข ถ้ายกเลิกกรมธรรม์ก่อนกำหนดจะได้รับเงินน้อยกว่าที่จ่ายไปแล้วผลตอบแทน : เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ หากผู้เอาประกันภัยไม่ยกเลิกกรมธรรณ์ก่อนกำหนด จะได้รับเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยส่วนใหญ่จะได้รับอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 2% ต่อปี– บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ความคุ้มครอง : ไม่มีความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตสภาพคล่อง : ฝาก-ถอนเงินได้ตลอดผลตอบแทน : อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 0.1-2% ต่อปีแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1311365
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
สำนักงาน ก.ล.ต.เผย จะทำอย่างไรถ้า “หุ้นกู้” ซื้อไว้ ผิดนัดชำระหนี้ วันที่ 2 มิถุนายน 2566 นายทยากร จิตรกุลเดชา ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารหนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า หนึ่งในความเสี่ยงสำคัญของการลงทุนหุ้นกู้ คือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยได้ตามกำหนด รวมทั้งกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้จากการถูกเรียกให้ชำระหนี้โดยพลัน (call default) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้ ผู้ถือหุ้นกู้จะมี “ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้” เป็นเหมือนตัวแทนของผู้ถือหุ้นกู้ในแต่ละรุ่นมีหน้าที่เรียกร้องให้ชำระหนี้ บังคับหลักประกัน และเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลต่าง ๆ กับผู้ลงทุนด้วย โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อาจจำเป็นจะต้องมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขออนุมัติในการดำเนินการต่าง ๆเช่น ขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ หรือบังคับหลักประกัน ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกู้ควรติดตามข่าวสารจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และต้องใช้สิทธิเข้าร่วมประชุมเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองด้วย รวมถึงควรศึกษาเอกสารการประชุมอย่างละเอียด และเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองเพื่อซักถามผู้ออกหุ้นกู้ และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบก่อนการตัดสินใจลงมติเสมอ เพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเองอย่างดีที่สุด 1. จะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นกู้รุ่นไหน ใครเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้สามารถดูข้อมูลของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จากสรุปข้อมูลสำคัญของตราสาร (factsheet) ในส่วนลักษณะตราสาร หรือหน้าปกแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (filing) ทั้งนี้ ผู้ลงทุนค้นหา factsheet และ filing ของหุ้นกู้รุ่นที่ลงทุน ได้จากทางแอปพลิเคชั่น SEC Bond Check หรือเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. http://https//market.sec.or.th/public/idisc/th/Product/Filing 2. เมื่อต้องมีการบังคับชำระหนี้ ผู้ลงทุนควรต้องเตรียมการอย่างไร เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้มีมติ หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ใช้ดุลพินิจตัดสินใจที่จะดำเนินการบังคับชำระหนี้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะเป็นบุคคลที่ช่วยดำเนินการในการฟ้องร้องบังคับหลักประกัน (กรณีหุ้นกู้มีประกัน) หรือบังคับชำระหนี้ให้แทนผู้ถือหุ้นกู้ทุกราย และจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ออกหุ้นกู้ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ โดยชื่อของผู้ถือหุ้นกู้ทุกรายจะปรากฏในทะเบียนรายชื่อล่าสุด และผู้ถือหุ้นกู้ควรจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการถือครองหุ้นกู้ไว้ให้พร้อม หากมีความจำเป็นจะต้องมีการยืนยันสถานะการเป็นผู้ถือหุ้นกู้ 3. หุ้นกู้มีประกันและหุ้นกู้ไม่มีประกันจะมีการดำเนินการที่แตกต่างกันไปหรือไม่ หากเป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่มีหลักประกันจะมีสิทธิเรียกร้องในการได้รับชำระหนี้จากสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกัน โดยจะมีกระบวนการบังคับหลักประกัน เช่น การขายทอดตลาด และสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ที่ไม่มีประกัน โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นกู้ในกลุ่มนี้จะมีสิทธิเทียบเท่าเจ้าหนี้ทั่วไปของบริษัท ซึ่งจะมีกระบวนการในการฟ้องบังคับชำระหนี้ ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้กลุ่มนี้จะมีสิทธิเรียกร้องในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ปลอดภาระของบริษัท โดยต้องแบ่งสินทรัพย์กับเจ้าหนี้รายอื่นตามสิทธิและสัดส่วนของหนี้ ทั้งนี้ ในด้านการดำเนินการบังคับหลักประกันหรือบังคับชำระหนี้ของผู้ถือหุ้นกู้ ไม่ว่าหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ทั่วไป ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะเป็นผู้ดำเนินการให้กับผู้ถือหุ้นกู้ 4. ผู้ถือหุ้นกู้แต่ละประเภทจะได้รับชำระหนี้ในลำดับไหน ผู้ลงทุนในหุ้นกู้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัท มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญที่มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นอันดับสุดท้าย สำหรับผู้ถือหุ้นกู้มีประกัน จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ และหุ้นกู้ไม่มีประกัน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบลำดับการชำระหนี้ของหุ้นกู้รุ่นที่ตนถือครองได้จากสรุปข้อมูลสำคัญของตราสาร (factsheet) ของหุ้นกู้รุ่นนั้น ๆ 5. ผู้ลงทุนจะติดตามความคืบหน้าการบังคับหลักประกันหรือบังคับชำระหนี้ได้อย่างไร ผู้ถือหุ้นกู้สามารถติดตามความคืบหน้าของผลการบังคับชำระหนี้จาก “ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้” ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลต่าง ๆ กับผู้ลงทุน แม้ว่าการลงทุนหุ้นกู้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นทุน และนอกจากมีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้แล้ว ยังมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความเสี่ยงด้านราคาอีกด้วย ก.ล.ต.จึงขอให้ผู้ลงทุนหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลเพื่อพิจารณาทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและผลตอบแทน และจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่สามารถรับได้ หมายเหตุ : ข้อคิดเห็นที่ปรากฏเป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสำนักงาน ก.ล.ต. แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์http://https//www.prachachat.net/finance/news-1310364
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
บทความโดย "ดร.กลางใจ แสงวิจิตร" ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทยคุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า ถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน แล้วคุณจะซื้อประกันสุขภาพไปทำไม การเป็นมนุษย์เงินเดือนทำให้คุณมีรายได้เป็นประจำทุกเดือน และคุณก็ยังมีประกันสังคมที่คุ้มครองคุณเมื่อคุณเจ็บป่วย อีกทั้งหลายบริษัทยังช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมให้คุณอีกหรือหากคุณรับข้าราชการ คุณจะมีสวัสดิการการรักษาพยาบาลจากกรมบัญชีกลางให้ความคุ้มครองคุณอยู่แล้ว ทำไมคุณจะต้องมานั่งจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันสุขภาพแสนแพงทุกปี ๆ ด้วย ทั้ง ๆ ที่สุขภาพก็แข็งแรงถ้าคุณถามตัวเองแบบนี้อยู่ในใจละก็ บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้คุณได้ ประกันสุขภาพมีความสำคัญกับมนุษย์เงินเดือนอย่างคุณอย่างไร1. คุณเคยคิดหรือไม่ว่า สวัสดิการของคุณมีการกำหนดวงเงินคงที่ ในขณะที่ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยเฉลี่ยของโรคมะเร็ง คือ 300,000-2,000,000 บาท โรคทางสมอง 100,000-800,000 บาท โรคหัวใจ 200,000-700,000 บาท เป็นต้น2. หากคุณอยู่ในองค์กรของรัฐ คุณจะมีสวัสดิการรักษาพยาบาลตลอดชีวิตของคุณ และญาติสายตรงของคุณ (คู่สมรส บิดา มารดา บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ก็จะได้รับความคุ้มครองตามอายุของคุณด้วย แต่ถ้าคุณทำงานในหน่วยงานเอกชนแล้ว สวัสดิการต่าง ๆ จะสิ้นสุดลงพร้อมกับสภาพการเป็นพนักงานของคุณ ซึ่งหมายถึงเมื่อเกษียณอายุหรือลาออกจากงาน3. สุขภาพคนเราเสื่อมลงตามวัย ไม่ว่าจะเป็นเพราะโรคที่เกิดขึ้นตามกรรมพันธุ์ หรือความเจ็บป่วยเพราะปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภค ความเครียด การออกกำลังกาย เป็นต้น4. การทำประกันสุขภาพ คือหนึ่งในวิธีที่ช่วยปกป้องความมั่งคั่ง หรือ wealth protection เนื่องจากเรื่องไม่คาดฝันเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน แต่หากคุณมีปัญหาสุขภาพแล้วประกันสุขภาพจะช่วยโอนความเสี่ยงโดยการชำระค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินจากสวัสดิการของคุณ ซึ่งจะทำให้คุณไม่ต้องจ่ายเงินโดยที่คุณไม่ได้วางแผนไว้เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้ คุณอาจจะกำลังคิดว่าไว้เกษียณค่อยซื้อประกันสุขภาพก็ได้ เป็นจริงอย่างที่คุณคิด ตอนนี้คุณยังมีสวัสดิการต่าง ๆ คุ้มครองอยู่ รอไว้เกษียณเมื่อมีอายุ 60 ปีก็ยังซื้อทัน แต่คุณต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงโรคภัยที่คุณอาจจะมีก่อนที่คุณมีอายุ 60 ปีด้วยเพราะถ้าคุณซื้อประกันตอนนี้มีโรคบางอย่างมาแล้ว ประกันสุขภาพที่คุณซื้อ นอกจากจะมีเบี้ยประกันภัยสูงตามอายุของคุณแล้ว ความคุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนและความเจ็บป่วยเกี่ยวเนื่อง ก็จะถูกยกเว้นไปด้วย นั่นหมายถึงประกันจะไม่คุ้มครองนั่นเอง เช่น หากวันนี้นางสาวกอไก่มีอายุ 35 ปี มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีประกันสุขภาพ อยู่มาวันหนึ่งเธอตรวจพบถุงน้ำในรังไข่และได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดด้วยสวัสดิการที่เธอมีอยู่ปัจจุบัน หมายความว่าเธอต้องรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง (กรณีนัดผ่าตัดล่วงหน้า) หรือโรงพยาบาลที่เธอมีสิทธิในการประกันตนอยู่หากเธอใช้สิทธิประกันสังคม เธอจะมีค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ในขณะเดียวกัน หากเธอเป็นข้าราชการ เธอจะมีสิทธิเบิกค่าห้องพิเศษได้วันละ 1,000 บาท แต่ค่าห้องพิเศษในปัจจุบันมีราคาเริ่มต้นประมาณ 1,500 บาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เธออาศัยอยู่ และขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่เธอเลือกเข้าไปรักษา ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่รวมถึงค่าหัตถการ ค่ายา ค่าอุปกรณ์ ค่าหมอ และอื่น ๆ ที่จำเป็น ท้ายที่สุดแล้วเธออาจจะต้องชำระเงินส่วนเกินบางส่วนก็ได้อย่างไรก็ตาม เมื่อเธอมีประวัติการเข้ารักษาพยาบาลแล้ว เธอตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพหลังจากเกษียณอายุ บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองเธอ อย่างมีเงื่อนไข ในกรณีตัวอย่างนี้ นางสาวกอไก่จะมีประกันสุขภาพที่มีเงื่อนไขว่าไม่ความคุ้มครองอาการและภาวะแทรกซ้อนจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ทันทีจากตัวอย่างนี้ยังไม่รวมถึงโรคที่อาจจะเป็นก่อนเกษียณอายุของนางสาวกอไก่ เมื่อเธอมีอายุเพิ่มขึ้น อันได้แก่ ความดันโลหิต ไขมันในเลือด โรคไต เป็นต้น นอกจากนี้ หากนางสาวกอไก่ซื้อประกันสุขภาพในวันนี้ตอนที่เธอมีอายุ 35 ปี จะทำให้เบี้ยประกันที่เธอต้องจ่ายอาจจะเริ่มต้นเพียงหมื่นต้น ๆ แต่หากเธอตั้งใจซื้อประกันสุขภาพเมื่อเกษียณอายุนั้น เธออาจจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเริ่มต้นที่หลักแสนบาทเลยก็เป็นได้จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการรอซื้อประกันสุขภาพเมื่อเกษียณอายุจะทำให้คุณเสียประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อยกเว้นความคุ้มครองของโรคที่เป็นมาก่อนหน้า เบี้ยประกันเริ่มต้นที่สูงขึ้น รวมถึงสิทธิการลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพที่มีสิทธิลดหย่อนถึง 25,000 บาทต่อปีอีกด้วยการเลือกซื้อประกันสุขภาพสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีสวัสดิการด้านสุขภาพอยู่แล้ว ควรเริ่มจากการพิจารณาโอกาสที่จะเกิดโรคที่มีทางพันธุกรรมของตัวคุณเอง ต่อจากนั้นคือการตรวจสอบงบประมาณที่คุณมีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันได้ต่อปี แล้วนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณารูปแบบความคุ้มครองเบื้องต้นได้ 2 รูปแบบ ได้แก่1. ประกันแบบเหมาจ่ายตามจริง คือประกันที่เราสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามค่ารักษาพยาบาลจริง โดยมีการกำหนดวงเงินความคุ้มครองต่อปีไว้ และ 2. ประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา คือประกันที่บริษัทประกันระบุรายการค่ารักษาพยาบาลและกำหนดวงเงินคุ้มครองสูงสุดไว้เป็นหมวดหมู่ทั้งนี้ คุณอาจจะแล้วมองหาประกันที่มีค่าใช้จ่ายที่คุณต้องรับผิดชอบส่วนแรก (deduct) โดยสามารถตัดความรับผิดชอบส่วนแรกของการรักษาพยาบาลแต่ละครั้งกับสวัสดิการที่คุณมีในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีประกันสุขภาพที่คุณสามารถเลือกปรับความคุ้มครองได้ตามสวัสดิการที่คุณมีให้เลือกมากมาย เช่น เลือกแบบต้องรับผิดชอบส่วนแรกในปัจจุบันเมื่อยังมีสวัสดิการอยู่ แล้วเปลี่ยนเป็นแบบไม่ต้องรับผิดชอบส่วนแรกเมื่อคุณเกษียณอายุก็ได้ การเลือกประกันสุขภาพที่มี deduct นั้น จะทำให้คุณประหยัดเบี้ยประกันภัยต่อปีได้นั่นเองแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1303486
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
30/04/2024
30/04/2024
05/11/2024
29/04/2024
30/04/2024