คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ประกันสังคม

เช็กตัวเองอยู่ 'ระบบประกันรายได้'รูปแบบไหน หลังเกษียณเงินพอใช้

30/04/2024

ผู้สูงอายุไทย เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย คนไทยมีการออมเพียง 26 % ขณะที่ระบบประกันรายได้เมื่อสูงวัย ครอบคลุมทุกกลุ่ม แต่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ เกิน 50 % ไม่มีการออมเพื่อใช้หลังเกษียณ●   ปี 2564 มีผู้สูงอายุ 13.4 ล้านคน ต้องการทำงาน 33 % เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย อีก 3 %  แยกเป็นหางาน 1 %และ2 % รอฤดูกาลในการทำงาน●   ระบบประกันรายได้หลังเกษียณในคนไทย 3 กลุ่ม ข้าราชการ ลูกจ้างเอกชน  และแรงงานนอกระบบ มีความครอบคลุมแต่ยังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ●   รูปแบบกองทุนบำเหน็ญบำนาญข้าราชการ(กบข.)ของข้าราชการ มีเงินราว 1.2 ล้านล้านบาท และกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ชาวบ้านสมทบร่วมกับรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาทเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2566 มีเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ “ไทยพร้อมยัง... ที่จะมีหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ”  ร่วมจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ(IHPP)วรวรรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กล่าวว่า สังคมสูงวัยคือทุกกลุ่มอายุอยู่ในสังคมดียวกัน เพียงแต่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากกว่าวัยเด็กและวัยแรงงาน  โดยปี 2566 มีผู้สูงอายุแตะ 20 % จึงเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ มีวัยแรงงาน 63 % และวัยเด็ก 16 % แต่อีก 20 ปีข้างหน้า ปี 2583 ผู้สูงอายุแตะ 30 % วัยแรงงาน 55 % วัยเด็ก  12 % เข้าสู่สังคมสูงวัยสุดยอด จึงเป็นโจทย์ว่าถึงตอนนั้นประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในส่วนรายได้และค่าใช้จ่าย มีช่วงวัยเดียวที่ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ต่ำกว่ารายได้จากการทำงาน แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ รายได้ไม่สามารถชดเชยกับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคได้อย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้น ผู้สูงอายุต้องมีรายได้เพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจากการสำรวจรายได้ผู้สูงอายุมาจากบุคคลอื่น ลูกหลาน  การทำงานและเบี้ยยังชีพ เพราะฉะนั้น ต้องทำให้ผู้สูงอายุที่เป็น Active Aging เข้าสู่การทำงานให้มีรายได้ ทั้งนี้ ผลการสำรวจเมื่อปี 2564 พบว่า มีผู้สูงอายุ 13.4 ล้านคน ในจำนวนนี้ต้องการทำงาน 33 % เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย อีก 3 % ในนี้เป็นการหางาน 1 %และ2 % รอฤดูกาลในการทำงาน จึงเป็นโจทย์ว่า 3 %จะทำอย่างไรให้มีงานทำและอีก 30 % ให้มีงานที่เหมาะสมและชดเชยกับค่าใช้จ่ายในส่วนของการออม คนไทยมีการออมเพียง 26 % มีบัญชีการออมต่ำกว่า 50,000 บาท อายุเริ่มออมช้าเมื่อ 40 ปีขึ้นไป ครัวเรือนมีการลงทุนเพียง 2.2 %ของครัวเรือนทั้งหมด แต่หนี้สินต่อจีดีพี 79.9 % และเพิ่มมาตลอด  จนไตรมาส 3 ของปี 2565 อยู่ที่ 86.8 %สภาพัฒน์มีแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาวในปี 2565-2580 โดยมีแนวคิด เกิดดี อยู่ดี แก่ดี ซึ่งเกิดดีต้องอาศัยครอบครัวในการบ่มเพาะคนให้มีคุณภาพ อยู่ดียกระดับพัฒนาศักยภาพของประชากรเริ่มตั้งแต่การศึกษาเข้าสู่ตลาดงานเป็นแรงงานคุณภาพ พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ยกระดับความมั่นคงทางการเงิน สภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนมีคุณภาพที่ดี และแก่ดี สร้างเสริมสุขภาวะลด ระบบการดูแลระยะยาว ระยะกลาง ดูแลประคับประคอง และระบบคุ้มครองพิทักษ์ทรัพย์สินของผู้สูงวัยหลักประกันรายได้หลังเกษียณนวพร วิริยานุพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้ายดุลยภาพการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิขการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวถึงการสร้างหลักประกันรายได้เพื่อพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุว่า หลักประกันรายได้หลังเกษียณของคนไทยมีหลากหลายรูปแบบทั้งสวัสดิการชราภาพ การออมภาคบังคับและการออมภาคสมัครใจ ภายใต้หลัก 3 ส่วน ได้แก่ 1. ครอบคลุม  ทุกกลุ่ม คือ กลุ่มข้าราชการมีบำเหน็จบำนาญ การออมภาคบังคับ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ  กลุ่มลูกจ้างเอกชน  มีกองทันประกันสังคมที่เป็นการออมภาคบังคับ มีสิทธิประโยชน์เป็นบำนาญชราภาพ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เป็นการออมภาคสมัครใจ ซึ่งกองทุนนี้ช่วยอย่างมากที่จะทำมีรายได้เพียงพอหลังเกษียณแบบมีความมั่นคงมากขึ้นและกลุ่มแรงงานอิสระ มีประกันสังคมมาตรา 40 รองรับที่จะได้บำเหน็จเงินก้อนเมื่อครบ 65 ปี  และกองทุนการออมแห่งชาติ ที่จะมีบำนาญรายเดือนตลอดชีวิตหากมีการออมตามเกณฑ์ โดยในปี 2566 มีการปรับเพิ่มให้สามารถจ่ายเงินสมทบได้สูงสุด 30,000 บาทต่อปี และรัฐจะสมทบให้สูงสุดปีละ 1,800 บาทเสี่ยงรายได้หลังเกษียณไม่พอ2. เพียงพอ ซี่งตามมาตรฐานสากลรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอคงคุณภพาชีวิตใกล้เคียงก่อนเกษียณจะต้องมีไม่น้อยกว่า 50 % ของรายได้ก่อนเกษียณ  กลุ่มข้าราชการจะมีรายได้ 60-70%ของรายได้ก่อนเกษียณ กลุ่มลูกจ้างเอกชน  ถ้าส่งเข้าประกันสังคม 15 ปีขึ้นไป จะมีรายได้ 3,000-5,000 บาทต่อเดือน  หากมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มจะมีเงินก้อนอีกส่วนหนึ่ง แต่หากมีเพียงเงินประกันสังคมน้อย ไม่ออมเพิ่ม เสี่ยงรายได้หลังเกษียณก็จะไม่เพียงพอ “กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ กลุ่มอิสระ /แรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่พึ่งพาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและรายได้ของลูกหลานเป็นหลักราว 20 กว่าล้านคน และเกิน 50 % ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ”นวพรกล่าว 3. ความยั่งยืนทางการคลัง ภาครัฐมีแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณ ภาระผูกพันระยะยาวเพื่อที่จะจ่ายในเรื่องสวัสดิการและเงินสมทบเข้ากองทุนต่างๆให้เพียงพอที่จะจ่ายได้ในระยะยาว และกองทุนต่างๆต้องมีความมั่นคงและยั่งยืนด้วย จะได้ไม่กลับมาเป็นภาระทางการคลังในอนาคตกบข. รูปแบบออมข้าราชการในส่วนของกลุ่มข้าราชการ  บุญเลิศ อันประเสริฐพร รองเลขาธิการกลุ่มงานปฏิบัติการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)  กล่าวถึงระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุสำหรับข้าราชการว่า กบข.เป็นระบบการออมภาคบังคับที่ให้ข้าราชการมีส่วนร่วมในการออม ภาพรวมมีสมาชิก 1.2 ล้านคน มีเงินกองทุน 1.2 ล้านล้านบาท  มีภารกิจ 3 เรื่อง คือ  1. สร้างหลักประกันให้ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุ 2. ส่งเสริมการออมของข้าราชการ เป็นการออมเพื่อการเกษียณอายุ และ 3. การจัดสิทธิประโยชน์ สวัสดิการแก่สมาชิก จากภารกิจแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการลงทุน  ซึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างหลักประกันให้ข้าราชการที่นำเงินเข้ามาออมกับกบข. จะต้องมีวิธีการสร้างผลตอบแทนเมื่อเกษียณที่มีเงินเพียงพอ แนวทางที่ดำเนินการเป็นการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆให้มีความเหมาะสมเพื่อกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป้าหมายสำคัญ ต้องการเอาชนะเงินเฟ้อระยะยาวและ 2. สนับสนุนกระตุ้นให้สมาชิกมีการออม ซึ่งภาคบังคับข้าราชการออมประมาณ 3 % ซึ่งไม่เพียงพอ จะต้องมีการออมภาคสมัครใจ โดยตั้งแต่ 20 มี.ค.2566 สมาชิกสามารถออมเพิ่มได้สูงสุดจากเดิม 12 % เป็น 27 % เมื่อรวมกับภาคบังคับ 3 % จะเป็น 30 % โดยรัฐไม่มีสมทบให้แต่สมาชิกต้องดูและเรื่องการเงินของตัวเองในการออมเพิ่ม ขณะนี้มีข้าราชการสมัครใจออมเพิ่มราว 20 %นอกจากนี้  เรื่องทักษะการเงิน และวินัยการออม เพื่อออมให้เณ้ว ให้มากและให้เป็น ซึ่งข้าราชการแต่ละคนจะมีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงต่างกัน กบข.จึงมีการออกแนวทางการลงทุนให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนได้ มีข้าราชการที่เลือกแผนการลงทุนเองราว 14 % รวมถึง จัดแผนการลงทุนที่สมดุลกับอายุ โดยอายุน้อยเสี่ยงมาก อายุมากเสี่ยงน้อย โดยกบข.จะดำเนินการเปลี่ยนแผนการลงทุนให้ตามอายุกองทุนสวัสดิการชุมชน 1.9 หมื่นล้านขณะที่ กฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือพอช. กล่าวถึงระบบกองทุนสวัสดิการชุมชนกับการดูแลผู้สูงวัยในพื้นที่ว่า  รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสวัสดิการของตัวเองตั้งแต่ปี 2553เป็นต้นมา เรียกว่า ระบบสวัสดิการชุมชน เป็นระบบสวัสดิการที่ประชาชนลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของคนในชุมชน เช่น การรักษาพยาบาล รับขวัญเด็กแรกเกิด ทุนการศึกษา/อุปกรณ์การเรียน ทุนประกอบอาชีพ เสียชีวิต/จัดงานศพ ผู้ด้อยโอกาส/ผู้ยากไร้ สาธารณะประโยชน์ และช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น ระบบสวัสดิการชุมชนหรือกองทุนวันละบาท ปัจจุบันมีอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) 5,915 กองทุน  มีสมาชิก 6,486,679 คน  ตั้งเป้าหมายไว้ 15 ล้านคนเพราะจะเท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ จะเป็นฐานรองรับเรื่องนี้ได้ วัยทำงาน  48% ผู้สูงอายุ 35 % เด็ก/เยาวชน 15 % และผู้ด้อยโอกาส 2 % มีเงินกองทุนสะสม 19,396 ล้านบาท เป็นเงินที่ได้มาจากประชาชนเก็บไว้วันละบาทแล้วนำเงินมาสมทบ ไม่ใช่ออม โดยหากออมจะเป็นเงินของชาวบ้านสามารถเอาคืนได้ แต่สมทบเข้ากองทุนจะไม่สามารถเอาคืนได้ แต่เอาไปทำสวัสดิการให้กับสมาชิกและผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกแต่ควรได้รับการดูแล เช่น กลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ  ผู้สูงอายุ เป็นต้น“เงินในกองทุน 19,396 ล้านบาท ชาวบ้านสมทบราว 12,000 ล้านบาท  รัฐบาลสมทบมา 3,400 ล้านบาท แปลว่า ชาวบ้านสมทบมา 1 บาท รัฐบาลสมทบมา 1 สลึง  และอปท.สมทบประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตั้งแต่ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”กฤษดากล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/health/social/1060341

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

แต่ละอาชีพต้องยื่นภาษีแบบไหน หักค่าใช้จ่ายอย่างไร ?

30/04/2024

บทความโดย “มานพ รัตนะ” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 10 เมษายน 2566 ในยุคสมัยที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ก็จะมีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หลายครั้งผู้มีเงินได้อาจเริ่มสับสนว่าแต่ละอาชีพต้องยื่นภาษีแบบไหน หักค่าใช้จ่ายอย่างไรและวิธีการใดที่ทำให้ประหยัดภาษีได้มากที่สุด ในเบื้องต้นผู้มีเงินได้จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องการ แบ่งแยกประเภทของเงินได้ก่อน เพื่อที่จะสามารถวางแผนการประหยัดภาษีได้อย่างถูกต้องต่อไป 8 ประเภทเงินได้กับการหักค่าใช้จ่าย เงินได้ตามตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีกฎเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยงโบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เงินได้ประเภท 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เบี้ยประชุม บำเหน็จ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว จะเห็นว่าเงินได้ประเภทที่ 1 กับประเภทที่ 2 คล้ายคลึงกันมากและมีประเด็นสำคัญที่เหมือนกัน คือ ใช้แรงกายและความสามารถของตัวเองในการทำงาน ซึ่งแทบไม่มีต้นทุนหรือมีต้นทุนน้อยมาก สรรพากรจึงให้นำเอาเงินได้ทั้ง 2 ประเภทนี้มารวมกันเป็นก้อนเดียว แล้วให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เงินได้ประเภท 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น รวมถึงเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ซึ่งเงินได้ประเภทนี้ เฉพาะค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทก็ได้ เงินได้ประเภท 40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล และคริปโตเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้ที่ไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใด ๆ เงินได้ประเภทนี้ จึงไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ เงินได้ประเภท 40(5) ได้แก่ การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้โดยกรณีเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา จะมีข้อกำหนดตามลักษณะของทรัพย์สิน ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(6) ได้แก่ ค่าวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรมสถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้ โดยกรณีเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา จะมีข้อกำหนดตามลักษณะของกลุ่มวิชาชีพ ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เงินได้ประเภท 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1)-(7) แล้ว ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 40% และ 60% เนื่องจากเงินได้ประเภทที่ 8 เป็นเงินได้ที่มีหลากหลายประเภทมาก ซึ่งแต่ละประเภทก็มีต้นทุนธุรกิจแตกต่างกัน จึงไม่ใช่ว่าผู้ที่มีเงินได้ประเภทที่ 8 จะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ทุกราย ดังนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่าตัวเอง อยู่ในอาชีพที่สามารถใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้หรือไม่ ซึ่งมีกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 ดังตารางที่ 1 ตัวอย่างการวิเคราะห์ นายมานพ ทำอาชีพขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป รายได้ปีละ 1,000,000 บาท และยังมีการทำช่อง Youtuber ของตัวเองให้ความรู้เกี่ยวกับภาษี มีรายได้จากค่าโฆษณาปีละ 300,000 บาท เมื่อคนเริ่มติดตามช่องเยอะขึ้น จึงมีบริษัทหลักทรัพย์ติดต่อเข้ามาขอให้ช่วยโฆษณากองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF, RMF ให้ด้วย โดยได้รับค่าตอบแทนจำนวน 15,000 บาท จากข้อมูลเบื้องต้น สามารถวิเคราะห์แหล่งที่มาของรายได้ของนายมานพ ได้ดังนี้ 1.เงินได้จากการขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป จำนวน 1,000,000 บาท : เงินก้อนนี้ถือเป็นเงินจากการธุรกิจ การพาณิชย์ จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เนื่องจากอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) 2.เงินได้จากค่าโฆษณาที่แทรกขึ้นมาในระหว่างดูคลิป จำนวน 300,000 บาท โดยเงินก้อนนี้ไม่เข้าพวก 40(1)-(7) ดังนั้น จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8) และเมื่อพิจารณาการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาดังตารางที่ 1 จึงต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น 3.เงินได้จากการรับโฆษณากองทุนให้กับบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 15,000 บาท โดยถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีนี้จึงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 7,500 บาท ดังนั้น นายมานพ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษี โดยระบุข้อมูลประเภทเงินได้และการหักค่าใช้จ่ายดังนี้ ตารางที่ 1 อัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) หากเงินได้ประเภทใดไม่ปรากฏบนตารางดังกล่าว ต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น ตัวอย่างการวิเคราะห์ นายมานพ ทำอาชีพขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป รายได้ปีละ 1,000,000 บาท และยังมีการทำช่อง Youtuber ของตัวเองให้ความรู้เกี่ยวกับภาษี มีรายได้จากค่าโฆษณาปีละ 300,000 บาท เมื่อคนเริ่มติดตามช่องเยอะขึ้น จึงมีบริษัทหลักทรัพย์ติดต่อเข้ามาขอให้ช่วยโฆษณากองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF, RMF ให้ด้วย โดยได้รับค่าตอบแทนจำนวน 15,000 บาท จากข้อมูลเบื้องต้น สามารถวิเคราะห์แหล่งที่มาของรายได้ของนายมานพ ได้ดังนี้ 1.เงินได้จากการขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป จำนวน 1,000,000 บาท : เงินก้อนนี้ถือเป็นเงินจากการธุรกิจ การพาณิชย์ จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เนื่องจากอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) 2.เงินได้จากค่าโฆษณาที่แทรกขึ้นมาในระหว่างดูคลิป จำนวน 300,000 บาท โดยเงินก้อนนี้ไม่เข้าพวก 40(1)-(7) ดังนั้น จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8) และเมื่อพิจารณาการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาดังตารางที่ 1 จึงต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น 3.เงินได้จากการรับโฆษณากองทุนให้กับบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 15,000 บาท โดยถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีนี้จึงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 7,500 บาท ดังนั้น นายมานพ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษี โดยระบุข้อมูลประเภทเงินได้และการหักค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.เงินได้ 40(8) จากการขายของออนไลน์จำนวน 1,000,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 600,000 บาทเป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 400,000 บาท 2.เงินได้ 40(8) จากเงินได้อื่น ๆ (ค่าโฆษณาใน Youtube) จำนวน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายตามจริง 0 บาท เป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 300,000 บาท 3.เงินได้ 40(2) จากเงินได้จากการรับทำงานให้ จำนวน 15,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 7,500 บาทเป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 7,500 บาท รวมเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 400,000 + 300,000 + 7,500 = 707,500 บาท จะเห็นได้ว่า การแยกประเภทเงินได้ให้ถูกประเภทนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสำคัญมาก เพราะมีความสัมพันธ์กับการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งหากมีการยื่นผิดประเภทก็จะทำให้การหักค่าใช้จ่ายผิดไปด้วย ส่งผลให้เสียภาษีไม่ตรงตามความเป็นจริงและอาจทำให้ถูกเรียกตรวจสอบภายหลังพร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่มที่แสนแพงอีก ดังนั้น ผู้เสียภาษีจึงควรใส่ใจและศึกษาประเภทของเงินได้ให้ถ่องแท้ หรือสามารถติดต่อนักวางแผนการเงินที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการวางแผนภาษี เพื่อช่วยวิเคราะห์และวางแผนภาษีได้อย่างรัดกุมและปลอดภัย ข้อมูลอ้างอิง : ประมวลรัษฎากร มาตรา 40, มาตรา 42 ทวิ, มาตรา 42 ตรี พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1257869

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ประกันภัยญี่ปุ่น เตรียมเปิดขายกรมธรรม์คุ้มครองการถูก “บูลลี่”

30/04/2024

“โตเกียวมารีนฯ” บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เตรียมคลอดกรมธรรม์ประกันภัยการถูกบูลลี่ ต.ค.นี้ วงเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 เยน หลังการบูลลี่กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นวันที่ 7 เมษายน 2566 รายงานข่าวอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Japan Times เปิดเผยว่า Tokio Marine & Nichido Fire Insurance บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเตรียมเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยป้องกันการถูกรังแก หรือกรมธรรม์ประกันภัยการถูกบูลลี่สำหรับเด็กนักเรียนที่ถูกรังแกต่อหน้าหรือทางออนไลน์ ในชื่อ “ijime” แปลว่า “กลั่นแกล้ง” ตั้งแต่ในเดือนตุลาคมนี้สืบเนื่องจากการบูลลี่กันกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยจากสถิติปี 2564-2565 ในประเทศญี่ปุ่นพบตัวเลขผู้ที่ถูกบูลลี่ทั่วประเทศสูงถึง 615,351 ราย และส่วนใหญ่กว่า 500,562 ราย มาจากเคสที่เกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียนประถม อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าตัวเลขนี้ยังน้อยกว่าความเป็นจริงมากทั้งนี้ ในปี 2561 มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในลักษณะนี้ 414,378 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีแค่ 91,000 ครั้ง โดยมีผู้ป่วยทั้งหมด 474 ราย ที่จัดอยู่ในประเภทร้ายแรง ในขณะที่ 55 ราย ได้รับการพิจารณาว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยทางการตัดสินว่าเด็ก 10 คน จาก 250 คน ที่ปลิดชีวิตตัวเองจากการถูกรังแกต่อหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เหยื่อทิ้งกระดาษโน้ตไว้และล่าสุดเมื่อปี 2565 รัฐสภาของญี่ปุ่นได้กำหนดให้ “การดูหมิ่นออนไลน์” มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือโดนปรับ 300,000 เยนสำหรับเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ดังกล่าว จะให้วงเงินสูงสุดประมาณ 200,000 เยน (หรือราว 50,000 บาท) โดยจะครอบคลุมค่าให้คำปรึกษาสำหรับนักเรียนที่ถูกรังแก ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนโรงเรียน หรือค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียนและเครื่องแบบโดยในเบื้องต้นทางบริษัทประกันภัยนี้จะเสนอให้โรงเรียนและสมาคมที่มีนโยบายกับบริษัทอยู่แล้วก่อน โดยผู้ปกครองต้องมีรายงานเอกสารเกี่ยวกับความเสียหายที่แจ้งความไว้กับตำรวจ และเอกสารการปรึกษากับทางโรงเรียนเพื่อยื่นเรียกร้องขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1257099

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

เมื่อใช้ AI ช่วยเทรดหุ้น จนชนะบัฟเฟตต์! ตลาดหุ้นจะพลิกโฉมอย่างไร?

30/04/2024

เมื่อ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ประมวลข้อมูลได้มหาศาล และรวดเร็วยิ่งกว่ามนุษย์ อีกทั้งกองทุน Renaissance Technologies ใช้ AI เป็นหนึ่งในตัวช่วยเทรดหุ้นแล้ว ก็สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงกว่าบัฟเฟตต์ จึงน่าสนใจว่าหาก AI เล่นหุ้นแล้ว จะเอาชนะตลาดหุ้นได้หรือไม่ และมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง Key Points ● การเข้ามาของ AI ที่สามารถรวบรวมข้อมูลอันมหาศาลมาประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะอย่างยิ่งกับ “การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)” ● จิม ไซมอนส์ ผู้ก่อตั้งกองทุน Renaissance Technologies ใช้ AI เป็นหนึ่งในเครื่องมือทั้งหมดที่สำคัญช่วยเทรดหุ้น สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 39% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ที่ทำได้ 20% ต่อปี ● อย่างไรก็ตาม AI ก็กำลังเผชิญความท้าทายด้านอารมณ์ของมนุษย์ในตลาดหุ้น เหตุการณ์ไม่คาดฝัน และการขาดมิติการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โลกปัจจุบันกำลังตื่นตาตื่นใจกับ AI อย่างมาก โดยเฉพาะในระยะหลังที่เราได้เห็นการตอบปัญหาได้เกือบทุกอย่างของ AI ChatGPT รวมถึงความสามารถของ AI ที่สามารถวาดรูปราวกับศิลปินด้วย AI Midjourney  ความสามารถอันน่าทึ่งเหล่านี้ มาจากการที่ AI สามารถประมวลผลข้อมูลอันมหาศาลภายในเสี้ยววินาที จึงไม่น่าแปลกใจว่า จากความทึ่งก็ได้เปลี่ยนเป็นความกังวลเข้ามาแทนที่ว่า ความสามารถเหล่านี้จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้หรือไม่ โดยในแวดวงการลงทุนเองก็มีการถกเถียงอย่างมากในประเด็นนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” จะพาไปดูกันว่า บทบาทของ AI ต่อตลาดทุนมีมากน้อยแค่ไหน และจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงตลาดหุ้นไปจากเดิม สู่ลักษณะใดบ้าง ● การวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลอย่างรวดเร็ว ข้อมูลในตลาดหุ้นนั้นมีมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขงบการเงินบริษัท สถิติ ราคาหุ้น อัตราเงินเฟ้อ ตัวเลขผู้ว่างงาน ฯลฯ ซึ่งการรวบรวมโดยมนุษย์นั้นใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่การเข้ามาของ AI จะสามารถรวบรวมข้อมูลอันมหาศาลเหล่านี้ มาประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับ "การวิเคราะห์เชิงปริมาณ" (Quantitative Analysis) ข้อมูลเหล่านี้ AI จะวิเคราะห์จากข้อมูลในอดีตเป็นเวลาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต มูรัท โอเนน (Murat Onen) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัย MIT ให้ความเห็นด้าน AI ว่า “คุณกำลังฝึกเครือข่าย AI ที่ซับซ้อนอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีสิ่งใดเทียบได้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ นี่ไม่ใช่รถที่เร็วขึ้น แต่นี่คือจรวดอวกาศ” - ความทรงพลังของ AI (เครดิต: shutterstock) - เคสตัวอย่างของผู้ที่นำ AI มาปรับใช้ในการเทรดจนประสบความสำเร็จ คือ จิม ไซมอนส์ (Jim Simons) ศาสตราจารย์นักคณิตศาสตร์ ผู้ก่อตั้งกองทุน Renaissance Technologies และเป็นนักเทรดสาย Quant ที่ใช้เครื่องมือสำคัญอย่าง AI อันเป็นหนึ่งในเครื่องมือทั้งหมดช่วยเทรดหุ้น โดยนับตั้งแต่ปี 2541 สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 39% ต่อปี  ในขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ยของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) อยู่ที่ 20% ต่อปี และผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นสหรัฐ S&P 500 อยู่ที่ 11.88% ต่อปี - จิม ไซมอนส์ ผู้ก่อตั้งกองทุน Renaissance Technologies ใช้ AI ช่วยเทรดหุ้น (เครดิต: Gert-Martin Greuel จาก Oberwolfach Photo Collection) ● ตัวช่วยการเทรดที่ไวกว่ามนุษย์ และทำพร้อมกันได้ โดยปกติในวงการเทรดหุ้น จะต้องใช้หลายจอในการเทรด เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของแท่งเทียนแต่ละช่วงเวลา 1 นาที 5 นาที 10 นาที ฯลฯ พร้อมกัน ซึ่งสายตามนุษย์อาจพลาดได้ แต่ AI กำลังทำให้การติดตามหลายจอนี้เปลี่ยนเป็นเวลาอันสั้น และไม่จำเป็นต้องเฝ้าจอ เนื่องจาก AI จะจัดการแทนมนุษย์ตามระบบที่เตรียมไว้ โดย AI จะเรียนรู้จากรูปแบบการเคลื่อนไหวกราฟในอดีต และจำลองภาพความเป็นไปได้ในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น จากระบบซื้อขายหุ้นความเร็วสูง (High Frequency Trading) ที่สามารถวาง Bid และกวาด Offer ของหุ้นได้รวดเร็ว และทำได้หลายคำสั่งในชั่วพริบตาก่อนมนุษย์จะขยับมือ ดังจะเห็นจากราคาหุ้นของหลายบริษัทที่เมื่อถึงจังหวะขาขึ้น ก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่หยุดยั้งจนมนุษย์ตามซื้อไม่ทัน เมื่อนำมาใช้ร่วมกับ AI ก็จะทำให้การประมวลผลซื้อขายหุ้นมีมิติมากขึ้น เพราะอาศัยข้อมูลหลายส่วนมาประมวล แทนการรับคำสั่งซื้อขายง่าย ๆ แบบเดิม ● เครื่องมือจับการเคลื่อนไหวราคาหุ้นที่ผิดปกติ ราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวผิดปกติมาจากปริมาณซื้อขายหุ้นที่ผิดไปจากเดิม รูปแบบการเคลื่อนไหวแท่งเทียนไม่เหมือนดังที่เคยพบเห็น สำหรับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดหุ้น หากอาศัยเฉพาะมนุษย์ในการเฝ้ามองหลายล้านธุรกรรม หุ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ก็คงไม่ทันการณ์ ดังนั้น ด้วยจุดแข็งของ AI ที่รองรับข้อมูลอันมหาศาลได้ คล้ายกับเครื่องคิดเลขที่คำนวณตัวเลขหลักล้านล้านในเสี้ยววินาที เพียงแต่ AI รองรับความซับซ้อนทางข้อมูล ประมวลผลได้หลายมิติ หลายเหลี่ยมมุม จึงสามารถนำมาตรวจจับความผิดปกติของราคาหุ้นได้ โดยเทียบกับข้อมูลในอดีตไม่ว่าจะเป็นตัวเลขซื้อขายในแต่ละวัน การเคลื่อนไหวของ Bid Offer ที่เปลี่ยนไป ความผันผวนของราคา ฯลฯ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระมนุษย์ ในประเทศไทยเอง ก็มีโครงการที่จะนำเอา AI มาใช้ในตลาดหุ้น โดยเมื่อปี 2564 เอนก อยู่ยืน ผู้ช่วยเลขาธิการหน่วยงานดูแลตลาดหุ้นไทยหรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ทางก.ล.ต.กำลังพัฒนาโครงการ E-enforcement ซึ่งเป็นระบบ AI ในการช่วยตรวจสอบความผิดปกติของการซื้อขายหุ้นด้วย - AI กับวงการหุ้น (เครดิต: shutterstock) - อย่างไรก็ตาม แม้ AI จะประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มี "ข้อจำกัดในวงการตลาดหุ้น" ดังนี้ ● การตัดสินใจที่ใช้อารมณ์ของมนุษย์ ตัวขับเคลื่อนราคาหุ้นขึ้นลงปัจจุบัน ล้วนมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญคือ การอยู่ใต้อิทธิพลของอารมณ์มนุษย์  ไม่ว่าจะเป็น “ความโลภ” ก็จะทุ่มซื้อ จนลดการพิจารณาถึงความเสี่ยง  “ความกลัว” ก็จะแห่เทขาย โดยลดการคำนึงถึงคุณค่าบริษัท สิ่งเหล่านี้เป็นความยากของ AI ในการประเมิน เนื่องจากบางครั้ง มนุษย์ก็ตัดสินใจโดยไร้เหตุผล ไม่ได้คำนึงถึงตรรกะ หรือแบบแผนที่ควรจะเป็น ● เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ในตลาดหุ้นมักมีศัพท์หนึ่งที่เรียกว่า “Black Swan” ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น การระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา ไม่คาดฝันว่าจะต้องมีการปิดประเทศ และสวมหน้ากากเป็นกิจวัตร เหตุการณ์ 9/11 ปี 2544 ที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ของสหรัฐถูกเครื่องบิน 2 ลำพุ่งชน ซึ่งไม่มีใครคาดคิดว่ามหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก จะถูกท้าทายในใจกลางนครนิวยอร์กเช่นนี้ - เหตุการณ์ 9/11  ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ของสหรัฐ (เครดิต: AFP) - รวมไปถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครนในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถคาดการณ์การจบสงครามได้ ว่าจะออกมาในลักษณะไหน สิ่งเหล่านี้สร้างความปั่นป่วนในตลาดหุ้นอย่างมาก  และเป็นความท้าทายต่อ AI ยังไม่รวมการเกิดขึ้นของสิ่งประดิษฐ์บางอย่างที่จะเข้ามาเปลี่ยนประวัติศาสตร์ อย่างในอดีตที่เคยเกิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โลกอินเทอร์เน็ต ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ● ขาดการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ การจะเข้าใจบริษัทหุ้นอย่างแจ่มแจ้งนั้นต้องอาศัยจิ๊กซอว์ 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์เชิงปริมาณควบคู่กับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วย เพราะนอกจากเรื่องตัวเลข สถิติ งบการเงินซึ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ “การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ” (Qualitative Analysis) ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมบริษัท การสำรวจคู่แข่ง การใช้ผลิตภัณฑ์บริษัทว่าประทับใจหรือไม่ การวิเคราะห์ผู้บริหารต่อการรักษาคำพูด เหล่านี้เป็นสิ่งที่ AI กำลังขาด และไม่ได้ผ่านประสบการณ์ตรงเช่นเดียวกับมนุษย์ เพราะในบางครั้ง ข้อมูลตัวเลขที่ผู้บริหารรายงานมา อาจจะดูน่าประทับใจ แต่เมื่อเราเข้าไปเยี่ยมชมบริษัท คุยกับลูกค้าบริษัท และลองใช้สินค้าจริง อาจไม่เป็นไปอย่างที่คิดก็เป็นได้ โดยสรุป ความมหัศจรรย์ของ AI ที่สามารถจัดการข้อมูลที่มากเกินจินตนาการของมนุษย์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว กำลังเป็นเขี้ยวเล็บใหม่ที่ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น อีกทั้งการซื้อขายหุ้น ตรวจจับความผิดปกติในตลาดหุ้นก็ยังไวกว่ามนุษย์ด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระวังคือ คุณภาพข้อมูลที่ใช้ฝึก AI เพราะหากข้อมูลผิดพลาด ก็จะทำให้ผลลัพธ์ที่ออกผิดพลาดตามมาได้ รวมไปถึงผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณจาก AI ก็จำเป็นต้องวิเคราะห์เชิงคุณภาพควบคู่ตามไป เพื่อให้เห็นภาพรวมความเป็นจริงของธุรกิจ อ้างอิง: infoquest builtin forbes cnbc sciencealert investopedia แหลางที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจออนไลน์https://www.bangkokbiznews.com/finance/1061576

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ประกันวินาศภัยปี’66 เบี้ยฟื้นแตะ 2.8 แสนล้าน โต 4-5%

30/04/2024

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินทิศทางธุรกิจประกันวินาศภัยปี 2566 เบี้ยรับฟื้นตัวแตะ 2.85-2.88 แสนล้านบาท เติบโต 4-5% แต่ยังมีแรงสะเทือนจากการรับประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบวันที่ 4 เมษายน 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยภาพรวมการเติบโตของธุรกิจประกันวินาศภัยในปี2566 เบี้ยประกันภัยรับตรงมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น โดยปัจจัยสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการแข่งขันด้านราคาลดลง ทั้งจากจำนวนบริษัทประกันลดลงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนการเอาประกันภัยต่อที่สูงขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเบี้ยรับรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยในปี 2566 จะอยู่ที่ 285,000-288,000 ล้านบาท จะเติบโตได้ต่อเนื่องที่ระดับ 4-5% จากปีก่อน โดยคาดการณ์เบี้ยประกันภัยแต่ละประเภท และอัตราการเติบโตเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ดังนี้●  เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 165,500-166,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.8-7.5%●  เบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด 103,000-104,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5-2%●  เบี้ยประกันอัคคีภัย 10,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1-1.5%●  เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 6,500-6,800 ล้านบาท ลดลง 3-7%ทั้งนี้เบี้ยรับที่เป็นตัวนำในการสนับสนุนการเติบโตของภาพรวมธุรกิจประกันวินาศภัยในปีนี้มาจากการรับประกันภัยรถยนต์เป็นหลัก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเบี้ยรับตรงจากการรับประกันภัยรถในปีนี้จะขยายตัวจากปีก่อนที่ 6.8-7.5% ตามผลบวกด้านยอดขายรถใหม่ การท่องเที่ยวและการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีผลของอัตราเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นตามการแข่งขันที่ลดลงต้นทุนการรับประกันที่สูงขึ้นตามอัตราการทำประกันภัยต่อ รวมถึงประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอัตราเบี้ยประกันเฉลี่ยสูงกว่ารถทั่วไปในประเภทเดียวกันประมาณ 20% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลสะท้อนจากตลาดที่ยังไม่สมบูรณ์ ทั้งในมุมปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าที่ยังอยู่ในหลัก 10,000 คัน (เทียบกับจำนวนการทำประกันภัยรถภาคสมัครใจที่มีกว่า 11 ล้านคันต่อปี)และข้อมูลสถิติการเคลมสินไหมยังไม่ชัดเจน รวมทั้งมีประเด็นเรื่องความเสียหายของแบตเตอรี่จากอุบัติเหตุทั่วไปที่อาจถึงขั้นคืนทุน ประกอบกับจำนวนผู้ให้บริการที่ยีงมีน้อย อย่างไรก็ดีในช่วงปลายปีนี้คงมีความชัดเจนในเรื่องอัตราเบี้ยประกันและเงื่อนไขเฉพาะของการรับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ประกอบกับปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าที่ออกสู่ตลาดและผู้ให้บริการประกันที่เพิ่มขึ้น น่าจะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้ามีความเหมาะสมและสามารถสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ดีขึ้นสำหรับแรงดึงรั้งภาพรวมธุรกิจในปีนี้มาจากการรับประกันภัยทางทะเลและขนส่งที่รับผลกระทบจากทิศทางการส่งออกที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยด้านฐานที่สูง รวมถึงการประกันภัยสุขภาพที่บริษัทประกันต้องใช้ความรอบคอบในการรับประกันเพิ่มขึ้น เนื่องจากสัญญาสุขภาพมาตรฐานใหม่มีเงื่อนไขไม่ให้ยกเลิกการต่ออายุกรมธรรม์ของลูกค้า ท่ามกลางความเสี่ยงที่สูงขึ้นทั้งจากวัย โรคภัย และค่าบริการทางสาธารณสุขขณะเดียวกันผลกระทบที่เกิดจากการรับประกันภัยโควิดในช่วงปี 2563-2565 ซึ่งมีค่าสินใหม่ทดแทนสูงเป็นอันดับสองที่ประมาณ 150,000 ล้านบาทรองจากเหตุมหาอุทกภัยในปี 2554 ที่มีค่าสินใหม่กว่า400,000 ล้านบาท เป็นอีกบทเรียนสำคัญที่กระตุ้นเตือนภาคธุรกิจประกันภัยและหน่วยงานผู้กำกับดูแลให้ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิงช่องว่างทางการตลาดในการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ ที่ไม่มีฐานข้อมูลสถิติรองรับเพียงพอโดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทขนาดเล็กที่มีขนาดทุนและสินทรัพย์ต่ำซึ่งแบบประกันโควิดประเภทเจอจ่ายจบเป็นภาพสะท้อนการดำเนินงานที่ก่อความเสี่ยงเชิงระบบ รวมทั้งบ่งชี้ให้เห็นจุดเปราะบางของการรับประกันภัยและการกำกับดูแลด้านอัตราการเคลมสินไหมจากการรับประกันภัยโควิดที่สูงกว่าเบี้ยประกันภัยรับไม่น้อยกว่า 5 เท่าตัวทำให้บริษัทประกันภัยปิดตัวลง 4 แห่ง และอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ 1 แห่ง ขณะที่กองทุนประกันวินาศภัย มีเงินกองทุนสะสม ณ สิ้นปี 2564 จำนวน 6,178 ล้านบาท ต้องตกอยู่ในสถานะหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ เนื่องจากยังติดค้างการชำระบัญชีแก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ณ สิ้นปี 2565 อีกกว่า 6.7 แสนคำขอ คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 54,500 ล้านบาทโดยรายรับหลักของกองทุนที่มาจากเงินนำส่งของบริษัทประกันภัยต่อปีมีจำนวนเพียงหลักพันล้านบาท(อัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนประกันวินาศภัยตามกฏหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 0.5% ของเบี้ยประกันภัยรับ) ดังนั้นกองทุนประกันวินาศภัยคงต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยในการฟื้นตัวผู้รักษาความสามารถเสมือนเป็นหลักประกันหรือกันชนให้เก็บผักประกันวินาศภัยและผู้เอาประกันภัยทั้งนี้ในปี 2565 อัตราความเสียหาย (Loss Ratio) รวมทุกประเภทการรับประกันภัยอยู่ที่ 88.51% จากเบี้ยรับรวม 274,216 ล้านบาทสำหรับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) ของบริษัทประกันวินาศภัยทั้งระบบในช่วงปี2563-2565 จากฐานข้อมูลสมาคมประกันวินาศภัยไทย ณ 26 ธ.ค.2565 พบว่ายังคงรักษาระดับค่าเฉลี่ยไว้ได้ที่ระดับประมาณ 440% อย่างไรก็ดีจากบทเรียนของการรับประกันภัยโควิดสะท้อนว่าไม่อาจพึ่งพิงระดับเงินกองทุนที่สูงได้โดยลำพัง แต่จำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมการเปิดรับความเสี่ยงอย่างรัดกุมโดยสถานะเงินกองทุนของบริษัทสามารถพลิกกลับจากระดับเงินกองทุนสูงกว่า 400% เป็นติดลบ 400% ได้ภายในปีเดียว“ ดังนั้นแนวโน้มธุรกิจประกันวินาศภัยมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในมิติด้านเบี้ยประกันภัยโดยปัจจัยสนับสนุนจากความเข้าใจและความตื่นตัวระดับปัจเจกบุคคลที่เห็นความสำคัญของการทำประกันภัยเพื่อบรรเทาความเสี่ยง ขณะที่ความสามารถในการเป็นหลักประกันที่ดีที่เชื่อถือได้ของบริษัทประกันภัยควรเป็นประเด็นที่นำเสนอเพื่อสร้างการตระหนักรู้มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาลงซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควบคู่กับความมั่นคงของบริษัทขณะเดียวกันยังต้องติดตามบทบาทของผู้กำกับดูแลภาคธุรกิจประกันภัยในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนและเงินกู้ให้แก่กองทุนประกันวินาศภัย เพื่อให้สามารถจ่ายเงินสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันภัยโควิดแทนบริษัทประกันภัยที่ล้มละลายและปิดกิจการไปนอกจากนี้ยังต้องติดตามกรอบมาตรการที่เกี่ยวข้องในการให้ความเห็นชอบแบบประกันใหม่ ๆ ให้อยู่ภายใต้การประเมินความเสี่ยงที่รอบคอบและคำนึงถึงความสามารถในการรับประกันภัยของแต่ละบริษัททั้งนี้เพื่อเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในระยะยาวและร่วมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการรับประกันภัยอันเป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งต่อผู้เอาประกันและความยั่งยืนของบริษัทประกันภัย”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1254025

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

อย่าเพิ่งตัดสินใจซื้อ ประกันสุขภาพ ถ้ายังไม่อ่าน 4 ข้อสำคัญนี้!

30/04/2024

ปัจจุบันการเลือกประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมได้ว่าเราจะเจ็บป่วยตอนไหน การมีประกันสุขภาพจึงเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด แต่การเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเองก็เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากมีหลายปัจจัยให้พิจารณาอย่างละเอียด วันนี้ GEN HEALTHY LIFE จึงได้นำเสนอข้อมูลแนวทางการเลือกประกันสุขภาพฉบับมือใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาก่อนเลือกซื้อ มาดูกันว่าแนวทางการเลือกประกันสุขภาพที่ดีและเหมาะกับเรามีอะไรบ้าง!ข้อแรก "ต้องการให้คุ้มครองอะไร" แน่นอนว่าหากกำลังมองหาประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเรา ควรพิจารณาประเภทความคุ้มครองที่ต้องการในอนาคตก่อนเลือกซื้อแพ็คเกจประกัน ตัวอย่างเช่น บางกรมธรรม์อาจไม่รวมการรักษาบางอย่าง เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การตั้งครรภ์ ทันตกรรม หรือความคุ้มครองเกี่ยวกับกายภาพบำบัด หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬาผาดโผน สิ่งเหล่านี้มักจะไม่รวมอยู่ในแพ็คเกจพื้นฐาน ดังนั้นควรระบุความต้องการให้ชัดเจน หรือค้นหาข้อมูลแพ็คเกจประกันที่เหมาะสมกับตัวเราหรือบุคคลที่เราต้องการซื้อประกันให้ลำดับต่อมา "ต้องการให้คุ้มครองใคร" หากเราต้องการทำประกันสุขภาพคุ้มครองใครสักคน อย่าลืมระบุชื่อและรายละเอียดของผู้ที่เราต้องการคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ เช่น พ่อ-แม่ คู่สมรส หรือ บุตรของเราเอง เพื่อที่จะไม่พลาดการคุ้มครองคนที่เรารัก และปกป้องสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา“ค่าใช้จ่ายเท่าไร” ในส่วนของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับประกันสุขภาพจะแตกต่างกันไปตามประเภทของประกันสุขภาพที่เราเลือกซื้อ และระดับความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพนั้น ๆ รวมถึงปัจจัยด้าน อายุ เพศ ประวัติสุขภาพ ดังนั้นการคำนึงถึงค่าใช้จ่ายก่อนซื้อประกันสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เราได้เลือกแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมและไม่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไปในระยะยาวสุดท้าย “ต้องการความคุ้มครองมากขนาดไหน” จำนวนความคุ้มครองด้านสุขภาพที่จำเป็นนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน อาทิ ภาวะสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาในพื้นที่นั้น ๆ และปัจจัยทางกรรมพันธุ์ต่างๆ เป็นต้นสุดท้ายนี้การเลือกประกันที่ถูกต้อง จะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ซื้อเป็นหลัก และประกันที่ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องแพงที่สุด หากใครมีข้อสงสัย และ ต้องการคำแนะนำก่อนเลือกซื้อประกันทุกประเภท สามารถติดตามบทความและเกร็ดเคล็ดลับดี ๆ ได้ที่ Gen Healthy Life เพราะเรามีเรื่องราวดี ๆ มาเสิร์ฟตลอด 24 ชั่วโมงแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=143322

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

สมาคมประกันชีวิตไทย เตือนภัย! SMS อ้างเป็นบริษัทประกันชีวิตให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมแนะนำตรวจสอบก่อนหลงเชื่อ

30/04/2024

29 มีนาคม 2566 : นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นบริษัทประกันชีวิต ลวงชวนให้ผู้เอาประกันภัยหลงเชื่อ โดยใช้อุบายแจ้งให้ผู้ที่ได้รับข้อความสั้น (SMS) โดยนำเรื่องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ หรือเกี่ยวกับบริษัทประกันชีวิตมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น คุณคือผู้โชคดีที่ได้รับเงินปันผลจากกรมธรรม์ประกันชีวิต เงินค่าสินไหมทดแทน หรือ รับคูปองเติมน้ำมัน เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบที่บริษัทก่อตั้งขึ้น เป็นต้น พร้อมแนบลิงก์ให้กดเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรับสิทธิ์สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเตือนให้ผู้เอาประกันภัย อย่าหลงเชื่อ กดลิงก์หรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ เมื่อได้รับข้อความสั้น (SMS) รวมถึงตอบรับคำเชิญคนที่ไม่รู้จักบนแพลตฟอร์ม LINE ทั้งนี้โปรดสังเกตเบอร์โทรศัพท์ที่ส่งข้อความ มักเป็นหมายเลขที่มาจากต่างประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัว และ ข้อความดังกล่าวมักไม่มีการระบุชื่อผู้รับ ไม่มีเบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่อกลับที่ชัดเจน หรือเป็นข้อความที่มีเนื้อหาที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือเกิดความดีใจเป็นอย่างมาก จนทำให้ผู้รับข้อความสั้น (SMS) ไม่ได้ระมัดระวังในการตั้งข้อสงสัยนอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกจุดหนึ่งที่สำคัญ คือ ลิงก์หรือเว็บไซต์ที่แนบผ่านข้อความสั้น (SMS) มักจะเลียนแบบให้ดูเหมือนเป็นลิงก์ของบริษัทประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยคุ้นเคย ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าข้อความที่ได้รับมาจากบริษัทประกันชีวิตหรือไม่ โปรดสังเกตที่ URL โดยที่ลิงก์ไม่ปลอดภัยมักจะขึ้นต้นด้วย http:// ส่วนลิงก์ที่ปลอดภัยมักขึ้นต้นด้วย https:// โดยจะต้องมีตัว s ต่อท้าย ซึ่งหมายถึง ‘Secure' (ความปลอดภัย)ดังนั้น หากผู้เอาประกันภัยได้รับข้อความสั้น (SMS) ที่มีลักษณะข้างต้น สามารถตรวจสอบหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าของบริษัทประกันชีวิต เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อความสั้น (SMS) ที่ได้รับเป็นของบริษัทประกันชีวิตใช่หรือไม่ ทั้งนี้อย่ากดลิงก์ หรือ กรอกข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ เช่น ชื่อ นามสกุลเลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด ก่อนการตรวจสอบโดยเด็ดขาด เพราะเท่ากับให้ข้อมูลส่วนบุคคลให้มิจฉาชีพหรือกลุ่มคนผู้ไม่หวังดี เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเงินเป็นจำนวนมากโดยที่คาดไม่ถึงแหล่งที่มาข่าวต้นฉับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=143643

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

ประกันสังคม ม.33-39-40 ผู้ประกันตนแต่ละประเภท มีสิทธิต่างกันอย่างไร?

30/04/2024

ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33, 39, 40 เคยรู้บ้างไหมว่า เงินสมทบที่เราจ่ายไปทุกเดือนนั้นจะได้อะไรกลับมาบ้าง ? วันนี้ “ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนทุกมาตรามาไว้ให้แล้วในบทความนี้รู้จักหลักการของระบบประกันสังคม“ประกันสังคม” หรือระบบกองทุนประกันสังคม เป็นโครงการที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงและเป็นหลักประกันให้กับสมาชิก โดยออกเงินสมทบเข้าเป็นกองทุนกลางที่มีผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ออกเงินสมทบร่วมกัน เพื่อเป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขในกลุ่มสมาชิกภาพจากสำนักงานประกันสังคมทำไม ? คนวัยทำงานต้องมีประกันสังคม“ประกันสังคม” ถือเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิตของคนทำงาน ช่วยลดภาระความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย การรักษาพยาบาล การคลอดบุตร ทุพพลภาพ ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต ซึ่งผู้ประกันตนที่มีประกันสังคมจะได้รับการดูแลและทดแทนรายได้เมื่อเจ็บป่วยหรือต้องการไปหาหมอ หรือได้รับการทดแทนค่าใช้จ่ายตามเหตุ สอดคล้องกับข้อกำหนดในการใช้สิทธิประกันสังคมทั้งหมดประกันสังคม มีผู้ประกันตน 3 ประเภทผู้ประกันตนภาคบังคับ มาตรา 33 พนักงานเอกชนทั่วไปหรือมนุษย์เงินเดือน ต้องจ่ายเงินประกันสังคมทุกเดือน โดยถูกหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ (สูงสุดหักไม่เกิน 750 บาท) นอกจากนั้น นายจ้างต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมในอัตราเดียวกันด้วยซึ่งมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี คือ เจ็บป่วย, อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, เสียชีวิต และว่างงานผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 39 เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก หรือบุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย, อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และเสียชีวิตผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 40 เป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ผู้สมัครสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ ซึ่งมีให้เลือก 2 ทางเลือก ประกอบด้วยทางเลือกที่ 1 (จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิตทางเลือกที่ 2 (จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพทางเลือกที่ 3 (จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และการสงเคราะห์บุตรแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/general/news-1241574

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

คปภ. เพิกถอนไลเซนส์ “นายหน้าแสบ” หลอกขายประกันภัยโควิด “เจอจ่ายจบ”

30/04/2024

คปภ. เพิกถอนใบอนุญาต “นายหน้าแสบ” หลอกขายประกันภัยโควิด “เจอจ่ายจบ” เลขาธิการ คปภ. สั่งสายกฎหมายและคดี ประสานพนักงานสอบสวนขอหลักฐานเอาผิดเข้าข่ายฉ้อฉลประกันภัยวันที่ 23 มีนาคม 2566 จากกรณีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล ชุดปฏิบัติการ 5 เข้าจับกุมนายหน้าประกันวินาศภัยรายหนึ่ง โดยถูกจับกุมตัวได้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ตามหมายจับศาลแขวงชลบุรี ที่ 292/2565 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ในความผิดฐานฉ้อโกง กระทำการโดยเจตนาทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง และกระทำการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งในเบื้องต้นนายหน้าประกันวินาศภัยรายดังกล่าว ได้ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี ว่าได้กระทำความผิดจริง ด้วยการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 แบบเจอ จ่าย จบ ให้แก่ผู้เอาประกันภัยผ่านแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊ก แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแต่อย่างใดดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ.เป็นหน่วยงานของรัฐมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมถึงการให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยกับประชาชน ซึ่งการกระทำของบุคคลดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการนำระบบประกันภัยเข้าไปบริหารความเสี่ยงภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมากจึงได้สั่งการให้สายตรวจสอบคนกลางประกันภัย สำนักงาน คปภ.ทำการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตของผู้ถูกจับกุม พบว่า มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและมีใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตและใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ จึงได้สั่งการให้สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ. ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายหน้าประกันภัยรายนี้ ได้ยอมรับกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงาน คปภ. ว่าได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยและไม่ได้นำส่งให้บริษัทประกันภัยจริงประกอบกับได้รับสารภาพกับเจ้าพนักงานตำรวจตามบันทึกการจับกุมของสถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี ลงวันที่ 8 มีนาคม 2566 แล้ว การกระทำดังกล่าวของนายหน้าประกันภัยรายนี้ จึงเป็นการดำเนินงานที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือประชาชน อันอาจเป็นความผิดตามมาตรา 76/1 (6) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562นายทะเบียนจึงได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตแล้ว ทั้งนี้ผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตรายดังกล่าวจะไม่สามารถกระทำการเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัยหรือขอรับใบอนุญาตใหม่ได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับความผิดที่เข้าข่ายการฉ้อฉลประกันภัย ตามมาตรา 108/3 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ที่ระบุว่า ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นนั้นทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้น และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยอยู่ระหว่างประสานพนักงานสอบสวนเพื่อขอเอกสารหลักฐานเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป“ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าสำนักงาน คปภ. จะไม่นิ่งเฉยต่อบุคคลใด ๆ ที่สร้างความเสียหายและบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบประกันภัยไทย โดยจะดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัดในทุกมิติ นอกจากนี้หากมีตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัยมาเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ขอให้ประชาชนตรวจสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัยได้ที่ www.oic.or.th และหากมีการชำระเบี้ยประกันภัยจะต้องได้รับเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัททุกครั้ง”ทั้งนี้ หากพบเห็นพฤติกรรมการหลอกลวงด้านประกันภัยให้รีบแจ้งข้อมูลไปยังสำนักงาน คปภ. โดยตรงผ่านสายด่วน คปภ. 1186แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1241412

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

ประกาศใหม่ ผลประโยชน์ตอบแทนบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33,39

30/04/2024

อัตราการจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทน หลังมีประกาศสำนักงานประกันสังคมเรื่องอัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นมา20 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานประกันสังคม อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตน ม.33, 39 ซึ่งมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นมา โดยประกาศฉบับนี้มีสาระสำคัญระบุว่า ผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพให้คำนวณจ่ายใน อัตราร้อยละ 3.46 ต่อปี จากเดิมในปี 2565 ให้คํานวณจ่ายในอัตรา ร้อยละ 2.83 ต่อปีของเงินสมทบสุทธิและผลประโยชน์ตอบแทนสะสมรวมกันเมื่ออายุครบ 55 ปี อย่าลืมเช็กสิทธิในกรณีที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีอายุครบ 55 ปี และปัจจุบันมีสถานะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ให้ตรวจสอบสิทธิการได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จชราภาพ พร้อมกับยื่นขอรับเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสำหรับช่องทางการตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ หากไม่สะดวกเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ของ สปส. www.sso.go.th, แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android และ LINE Official Account ของ สปส. @ssothaiทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส.2-01 หรือ SSO.2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงินอย่างไรก็ตาม หากผู้ประกันตนมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ไปพร้อมการยื่นคำร้องได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ไม่สามารถใช้ได้)สิทธิผู้ประกันตนกรณีชราภาพแยกเป็น 2 กรณี1. กรณีรับบำเหน็จชราภาพ ได้แก่ ผู้จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี2. กรณีรับบำนาญชราภาพ ได้แก่ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง (ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่จ่ายเกินกว่า 180 เดือนจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือนนอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตลงระหว่างรับบำนาญชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน ที่ทายาทสามารถติดต่อเพื่อรับบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนได้ โดยสามารถดูข้อเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สายด่วน สปส.1506 ตลอด 24 ชั่วโมงแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/general/news-1237384

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X