Everyday knowledge for you
ประกันภัย
30/04/2024
ระวังแค่ไหนก็อาจจะหลบไม่พ้น เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นกับเราได้ได้ในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเจ็บเล็กๆ อย่าง หกล้ม ตกฟุตบาท ไปจนถึงเจ็บใหญ่ ๆ อย่าง รถชน ขาหัก บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เป็นต้น หากมีการทำประกันอุบัติเหตุ เอาไว้ก็หมดห่วงได้เลยว่ามีผู้ที่เข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้เราแล้วโดยที่ไม่ต้องควักกระเป๋าเอง แต่ถ้าไม่ได้ทำไว้ละ งานนี้ก็ต้องมาลุ้นกันว่าเงินในกระเป๋าเราพอที่จะจ่ายค่ารักษาหรือไม่ และจะมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปได้นานแค่ไหนก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับ “ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล” กันก่อนว่าคืออะไร และมีประโยชน์กับเรายังไงกันบ้าง สำหรับ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นสัญญาเพิ่มเติมประกันภัยที่จะมาช่วยดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลเนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุโดยผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือก ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบของเงินก้อนที่ชดเชยให้เมื่อต้องสูญเสียรายได้จากการพักรักษาตัว หรือเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายหลังการรักษาพยาบาลที่ต้องติดตามอาการ หรือค่ากายภาพบำบัด โดยแผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะเป็นทำหน้าที่ในการดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันเลือกไว้ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองอะไรบ้าง?????สำหรับความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันจะได้รับเมื่อทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ดังนี้ㆍอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ บาดแผล กระดูกหัก การผ่าตัด ภาวะโคม่า แผลไฟไหม้ การสูญเสียแขนขา และการเสียชีวิตㆍค่าใช้จ่ายในการเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินㆍค่าใช้จ่ายเมื่อต้องมีการเอ็กซ์เรย์, CT หรือ CAT scan, MRIs และ EEGs ที่มีสาเหตุมาจากการเกิดอุบัติเหตุㆍค่ารักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น ต้องเข้าห้อง ICUㆍค่ารักษาพยาบาลหากต้องทำกายภาพบำบัด เช่น การทำแขนขาเทียม การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ หรือการทำฟันที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ7 ข้อก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ 1. ควรเลือกบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ 2. อ่านเงื่อนไข ศึกษาผลประโยชน์ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด 3. อัตราเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล 4. สอบถามตัวแทนหรือบริษัทประกันทุกครั้ง ถึงเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหลังเกิดอุบัติเหตุ ก่อนทำประกันว่าเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นแบบใด บริษัทจะอนุมัติการจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในกี่วัน 5. แผนประกันมีความยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้เอาประกันและความคุ้มครองหลากหลาย 6. เมื่อต้องนอนโรงพยาบาลขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสารการเคลมรวดเร็วหรือไม่ 7. ความคุ้มครองครอบคลุมสถานพยาบาลทุกที่ทั่วโลกหรือไม่แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับการเงินธนาคารhttps://moneyandbanking.co.th/2023/33241/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
เปิด 8 นิสัยการใช้เงินที่เป็น “อันตราย” ซึ่งขัดขวางความเจริญรุ่งเรืองทางการเงินของคุณ ตั้งแต่การฝากเงินบัญชีออมทรัพย์อย่างเดียวไปจนถึงแนวคิด ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง 1. การฝากเงินในบัญชีเงินฝากเพียงอย่างเดียว การฝากเงินในบัญชีเงินฝากอย่างเดียวนั้นเป็นอันตรายและเป็นตัวทำลายความมั่งคั่งของคุณเพราะอัตราดอกเบี้ยที่ได้โตไม่ทันเงินเฟ้อและประเด็นเรื่องการลดค่าเงิน 2. โอบกอด “คุณค่าและความสูงส่ง” ของเงินมากเกินไป คุณควรท้าทายความคิดที่ว่าเงินเป็นสิ่งที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ โดยให้ตระหนักถึงบทบาทของเงินในการให้ความปลอดภัยเสรีภาพและโอกาสเท่านั้น โดยคุณควรเปลี่ยนความคิดของคุณและชื่นชมคุณประโยชน์ที่เงินนํามาให้เราเท่านั้น 3. เป็นผู้บริโภคประเภทซื้อก่อนจ่ายที่หลัง การซื้อก่อนผ่อนที่หลังเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เสียวินัยทางการเงิน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางการเป็นหนี้ในลักษณะนี้ และควรทำตามแนวคิดที่ว่า "ถ้าคุณไม่สามารถจ่ายเงินสดได้อย่าซื้อเลย" 4. ไม่เห็นคุณค่าของเครื่องมืออัตโนมัติทางการเงิน หากคุณไม่ใช้เครื่องมืออัตโนมัติเพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงินของคุณ เช่นการลงทุนอัตโนมัติเพื่อจัดลําดับความสําคัญของการสะสมความมั่งคั่ง อาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการสร้างวินัยทางการเงินที่มีประสิทธิภาพไป 5. รอจังหวะลงทุนเพื่อเอาชนะตลาด คุณควรเรียนรู้ “ความไร้ประโยชน์” ของจังหวะเวลาตลาดและยอมรับแนวคิดของการลงทุนเดี๋ยวนี้ตอนนี้ เพราะตามข้อเท็จจริงแล้ว เวลาในตลาดมีมากกว่าความพยายามที่ไร้ประโยชน์ในการทํานายความผันผวนแบบที่หลายคนทำอยู่ ดังนั้นควรลงมือตอนนี้ เพื่อสร้างความมั่งคั่งแทนการทำนายว่าตลาดจะขึ้น-ลงตอนไหน เพราะสถิติก็ชี้ให้เห็นแล้วว่านักเก็งกำไรไม่สามารถชนะตลาดได้ในระยะยาว 6. หลีกหนีจากภาพลวงตาชีวิตอันหรูหรา หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตที่หรูหราซึ่งไม่สมฐานะของเงินตัวเอง เพียงเพราะต้องเข้าสังคมหรือต้องมีในสิ่งที่เพื่อนมี ไม่งั้นคุณอาจตกหลุมพรางภาพลวงตาเหล่านั่นแหละทำให้คุณไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้เสียที 7. เน้นทักษะ โดยไม่เข้มงวดเรื่องงบประมาณในการพัฒนาทักษะจำเป็น เปลี่ยนโฟกัสจากการลดค่าใช้จ่าย ไปเป็นการเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ของคุณ โดยลงทุนในการพัฒนาศักยภาพของตัวเองและวิชาชีพเพื่อเพิ่มทักษะเพื่อหารายได้เพิ่มในอนาคต 8. เพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดภาษี สํารวจกลยุทธ์เพื่อลดภาระภาษีของคุณอย่างถูกกฎหมาย ขอคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาโอกาสทางธุรกิจ และใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษี แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1082014
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
หลายๆ คนคงมีคำถามในใจเกี่ยวกับการซื้อ “ประกันสุขภาพ” ว่าควรจะซื้อเมื่อไหร่ และซื้อเท่าไหร่ดี ให้เพียงพอเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ็บป่วย หรือเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมาจริงๆ บางคนที่ทำงานประจำอยู่ บ้างก็มีสวัสดิการประกันกลุ่มแล้ว จะทำอย่างไร หรือ กลุ่มข้าราชการ ที่ก็มีสวัสดิการภาครัฐที่ครอบคลุม แล้วควรจะซื้อประกันสุขภาพหรือไม่ อย่างไรดี แล้วกลุ่มคนที่มีอาชีพอิสระ ควรเลือกประกันสุขภาพแบบไหน วันนี้เรามาดูความคุ้มครอง ความคุ้มค่า และความเหมาะสมกับแต่ละไลฟ์สไตล์และกลุ่มอาชีพกันค่ะ“กลุ่มมนุษย์เงินเดือน” ที่มีสวัสดิการประกันกลุ่มอยู่แล้ว และก็มีประกันสังคมอยู่ด้วย ถามว่าจำเป็นหรือไม่ ในการซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม ก่อนอื่นต้องมาดูว่า หากเราเจ็บป่วย เราจะเลือกเข้าโรงพยาบาลไหน ค่าห้องประมาณเท่าไหร่ สิ่งที่สวัสดิการของบริษัทมีให้มีความคุ้มครองมากพอไหม ถ้าเราเจ็บป่วยแล้วเลือกเข้าโรงพยาบาลเอกชนที่ค่าห้องสูง เราก็ควรซื้อประกันสุขภาพเก็บเอาไว้“เพราะนิยามความสำคัญของประกันสุขภาพ คือคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุเจ็บป่วย และหลุมพรางสำคัญของมนุษย์เงินเดือนที่คิดว่าตัวเองมีสวัสดิการที่มากพอแล้ว แต่นั้นคือ ‘สวัสดิการติดโต๊ะ ไม่ใช่สวัสดิการติดตัว’ หากเราเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา หรือเกิดอุบัติเหตุเป็นทุพพลภาพ ไม่สามารถทำงานได้ บริษัทก็คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสียเงินจ้างเราอีกต่อไป ในขณะที่สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เคยมีอยู่ ก็มีโอกาสที่จะหมดลงไปด้วยเช่นกัน”หรือบางคนอาจจะไปเริ่มทำประกันสุขภาพตอนที่สายไป เพราะได้เกิดโรคบางอย่างขึ้นกับตัวเองแล้ว เช่นอาจจะเป็นโรคเนื้องอกในบริเวณต่างๆ หรือโรคร้ายแรงยอดฮิต เช่น มะเร็ง ก็เท่ากับว่า หากไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพเตรียมเอาไว้ ก็ต้องพึ่งสวัสดิการประกันกลุ่มและประกันสังคมยาวไป แต่หากเรามีประกันสุขภาพคุ้มครองแบบพอเพียง ก็จะทำให้เราสามารถเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการได้ เวลาเจ็บป่วยจริงๆ และไม่ว่าในอนาคตจะเกิดเป็นโรคอะไรขึ้นมา เราก็ยังมีค่ารักษาพยาบาลที่คุ้มครองเราอยู่ไปจนแก่“แต่สำคัญอย่าลืมเลือกแบบ ‘ประกันชีวิตหลัก’ ที่คุ้มครองยาวๆ ไปจนอายุ 85 ปี หรือ 90 ปี และสามารถซื้อประกันสุขภาพต่อสัญญาคุ้มครองได้ แต่ละบริษัทก็มีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ควรศึกษาเรื่องนี้ให้ดี”หรือถ้ามองว่าปกติเราจะเข้า “โรงพยาบาลประกันสังคม” ในเครือเป็นหลัก ก็อาจจะทำ “ประกันโรคร้ายแรงเพิ่ม” เพื่อให้ได้เงินก้อนมารักษาตัว อย่างน้อยให้มีสวัสดิการไว้สักหน่อย สำหรับกลุ่มมนุษย์เงินเดือนทั่วๆ ไป ที่หากเกิดเจ็บป่วยก็มีเงินก้อนมาดูแลรักษาตัวเอง และยังคงใช้สิทธิประกันสังคมได้ แต่นิยามความแตกต่างของการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนกับโรงพยาบาลในส่วนของประกันสังคมก็แตกต่างกันด้วย บางทีเราอาจจะไม่ได้รับความสะดวกสบายมากนัก บางครั้งต้องรอคิว เข้าคิวนาน หรือต้องเป็นเคสหนักหรือจำเป็นและเร่งด่วนจริงๆ ถึงจะใช้สิทธิประกันสังคมได้ ถ้าเรายอมรับได้ในเรื่องนี้ ก็ถือประกันสังคมเอาไว้และต่อสิทธิ์อย่าได้ขาด แม้จะเกษียณไปแล้วก็ตามส่วน “ข้าราชการ” ที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลติดตัวตลอดยาวๆ ไปตั้งแต่เริ่มทำงาน แต่ในยุคปัจจุบันก็อาจจะไม่ได้สิทธิเท่าข้าราชการรุ่นก่อนๆ ดังนั้น หากเราเป็นหนึ่งคนที่อยากได้ความรู้สึกสะดวกสบายชอบบริการจากโรงพยาบาลเอกชน ก็ควรซื้อ “ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” เก็บไว้ให้อุ่นใจ แต่หากไม่ซีเรียสก็สามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐบาลได้ และไม่จำเป็นต้องมีประกันสุขภาพ แต่ก็ยังควรจะมี “ประกันโรคร้ายแรง” เก็บเอาไว้ เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน เป็นโรคร้ายแรงขึ้นมาก็ยังได้เงินก้อนมารักษาตัวเองยามเจ็บป่วย หรือจะเป็นเงินสำรองที่เอาไว้ใช้ในส่วนของค่าใช้จ่ายประจำอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่เข้ารับการรักษาตัว ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากๆแต่หากเราเป็น “อาชีพอิสระ” เราควรมีประกันสุขภาพไหม อาชีพอิสระนี่เข้าข่ายเสี่ยงเลย เพราะไม่มีสวัสดิการใดๆ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เราต้องเอาเงินออมที่เก็บไว้มารักษาตัวเอง คงจะดีกว่ามาก ถ้าหากมี “ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” ที่มีความคุ้มครองเพียงพอ และหากมีวงเงินค่ารักษาผู้ป่วยนอกด้วยก็จะมีความครอบคลุมที่ครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันในตลาดก็มีหลายบริษัทที่ออกแพคเกจประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มอาชีพอิสระ ที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นๆ ในทุกๆ ปี ยิ่งหากเราเป็นอาชีพที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะเดินทางบ่อย หรือกิจวัตรไม่เป็นประจำ ถ้าอยากใช้ชีวิตแบบสุดๆ และเลือกไลฟ์สไตล์แบบลุยๆ หน่อยก็ต้องซื้อประกันสุขภาพให้เพียงพอและครอบคลุมด้วยข้อสรุป 8 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ “ประกันสุขภาพ”1. เวลาเข้าโรงพยาบาลจริงๆ จะเข้าโรงพยาบาลไหน ดูค่าห้องที่เหมาะสมและได้ใช้จริง2. ประกันสุขภาพเป็นเบี้ยจ่ายทิ้งทุกปีเหมือนประกันรถยนต์ แต่ต่างกันตรงที่ ประกันรถหากเคลมเยอะ เปลี่ยนบริษัทในปีถัดๆ ไปได้ แต่ประกันสุขภาพ เป็นโรคร้ายแรง เคลมเยอะ ไม่สามารถเปลี่ยนบริษัทได้ เพราะฉะนั้นเวลาตัดสินใจเลือกต้องดูให้ครอบคลุมกับการใช้งานจริงของเรา3. สำรวจว่าเรามีสวัสดิการอยู่แล้วเท่าไหร่ และพอเพียงหรือไม่ หากไม่พอ ก็หาซื้อประกันสุขภาพคุ้มครองเอาไว้แบบยาวๆ ที่สามารถจ่ายไปได้จนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี4. การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ ตามความเสี่ยงของวัยที่พออายุมากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงขึ้นด้วยจึงต้องคำนึงถึงเงินที่จะนำมาจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในยามเกษียณ อาจจะตั้งขึ้นเป็นกองทุน Medical Fund หรือ Long Term Care Fund เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลในอนาคตว่าจะหารายได้มาจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นยามเกษียณแล้ว แต่เตรียมเงินไว้ตั้งแต่ตอนยังหนุ่มสาวที่ยังสามารถทำงานหารายได้ได้5. ประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 25,000 ต่อปี และยังถือเป็นเครื่องมือปกป้องเงินออมที่สำคัญ เพราะมีหลายๆ คนบอกไว้ว่า หาเงินมาทั้งชีวิต สุดท้ายต้องเอาเงินนั้นมารักษาตัวตอนแก่ชราจนหมด แต่จะดีกว่าไม๊ หากเรามีประกันสุขภาพคุ้มครองไปนานๆ6. ปัจจุบันมี “แบบประกันสุขภาพ” ให้เลือกหลากหลาย เราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ก่อนการตัดสินใจซื้อ เลือกแบบที่เหมาะกับตัวเอง ถ้าสุขภาพแข็งแรงไม่ค่อยได้หาหมอบ่อยนัก ก็เลือกแบบผู้ป่วยในอย่างเดียว เบี้ยประกันก็จะถูกหน่อย“แต่หากเจ็บป่วยเล็กน้อยบ่อยๆ ก็ควรเลือกแบบที่มีผู้ป่วยนอกรองรับไว้ ก็จะรู้สึกว่าคุ้มค่า ระหว่างทางหากเจ็บป่วย ก็สามารถไปหาคุณหมอเบิกค่ารักษาเป็นแบบผู้ป่วยนอก ก็ได้ใช้วงเงินระหว่างปีแบบไม่รู้สึกเสียเปล่า”7. คำนึงถึง “ระยะเวลารอคอย” ในการเริ่มต้นทำประกันสุขภาพครั้งแรก ทุกบริษัทจะมีเงื่อนไขเหมือนกัน คือคุ้มครองอุบัติเหตุทันทีหลังจากกรมธรรม์อนุมัติ แต่ความคุ้มครองในส่วนค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยต้องรอ 30 วันนับจากวันเริ่มสัญญา จึงจะสามารถใช้สิทธิได้“และมี 8 โรค ที่จะมีระยะเวลารอคอยของโรค 120 วัน ได้แก่ เนื้องอก ถุงน้ำ มะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อน ต้อเนื้อ ต้อกระจก การตัดทอนซิล นิ่ว เส้นเลือดขอด เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พึงรู้ก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ”8. คำนึงถึง “เงื่อนไขที่เราต้องแถลง” ก่อนการทำประกันสุขภาพ เพราะหากปกปิดสาระสำคัญ อาจจะทำให้กรมธรรม์ถูกบอกล้างสัญญาเป็นโมฆียะได้ในอนาคต ดังนั้นเราควรแถลงทุกเรื่องอันเป็นสาระสำคัญลงในใบคำขอ ไม่ควรปกปิดเพราะสัญญาประกันสุขภาพเป็นสัญญาปีต่อปี หากบริษัทตรวจพบประวัติการรักษาสำหรับบางโรคที่เป็นก่อนการทำประกัน โดยที่เราไม่ได้แถลงลงไปในใบคำขอ ก็อาจจะทำให้บริษัทบอกล้างสัญญาและเป็นผลเสียกับเราในอนาคต“ให้นึกถึงความสำคัญและจำเป็นในคราวที่ต้องใช้งานจริงๆ ว่าสิ่งที่เรามีอยู่เพียงพอหรือไม่ หากลูกเราป่วย สิ่งแรกที่เราจะนึกถึงคืออะไร ระหว่าง ‘โรงพยาบาลที่ดีที่สุด’ หรือ ‘โรงพยาบาลที่ถูกที่สุด’ โดยคุณจะเป็นคนเลือกประกันในวันที่คุณสุขภาพดี แต่หากเกิดเป็นโรคใดๆ ขึ้นมาแล้ว คุณก็อาจจะไม่สามารถทำประกันได้อีกตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นให้รีบทำไว้ตั้งแต่วันที่คุณยังสุขภาพดี เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือปกป้องความเสี่ยง ปกป้องเงินออมของตัวคุณเองและครอบครัว เพื่อความมั่นคงในอนาคต”ได้เวลามาสำรวจตัวเองกันแล้ว ในวันที่ยังสุขภาพดี เพราะหลายๆ คน ตกหลุมพรางของสวัสดิการบริษัท โดยลืมคำนึงว่า หากเราเกษียณและไม่มีสวัสดิการค่ารักษาจากบริษัทอีกต่อไป นั่นหมายความว่า เราจะต้องเตรียมเงินเพื่อค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สามารถควบคุมได้ต่อปีด้วยตัวเอง หลายๆ คนที่ลืมมองจุดนี้และจะคิดไปหาซื้อประกันสุขภาพตอนเกษียณ แต่กลับเป็นโรคเรื้อรังเสียแล้ว เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เท่ากับว่าหลังจากนี้เป็นต้นไป พวกเขาจะต้องเตรียมเงินก้อนไว้รักษาตัวเอง เมื่อสวัสดิการบริษัทหมดลงหากเตรียมพร้อมได้ก่อน ก็ควรหาซื้อประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่ยังวัยหนุ่มสาว เพื่อให้ครอบคลุมและคุ้มครอง ซื้อหาตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วยความสามารถในการจ่ายเบี้ยที่ไม่มากเกินความจำเป็น “การวางแผนด้านประกันสุขภาพ” จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการจัดการความเสี่ยงของชีวิต สำหรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกๆ อาชีพแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythaihttps://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/wealth-ez/12911
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย “ศุทธวีร์ มงคลสินธุ์นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมและวางแผนการเงินไทยสำหรับแนวคิดแบบ Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบนั้น เป็นแนวความคิดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาในลักษณะที่เป็น Human-Centered Design หรือเป็นปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งได้มีการนำมาใช้ในมากมายในการวางแผนพัฒนาธุรกิจ ออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงการวางแผนในชีวิตส่วนบุคคล หากได้ลองนำวิธีคิด (Mindset) ของ Design Thinking มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนการเกษียณก็อาจช่วยให้ตอบโจทย์ความต้องการของบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพราะ Design Thinking เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ “อนาคต”ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อนสำหรับชีวิตของเราทุกคน ซึ่งบางครั้งการเก็บเงินเพื่อการเกษียณเพื่อรอไปใช้ชีวิตหลังจากสิ้นสุดการทำงานอาจทำให้เราไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เป็นเป้าหมายเหล่านั้นเป็นชีวิตที่เราต้องการจริงหรือไม่ดังนั้นหากได้ลิ้มลองประสบการณ์ที่ตัวเองต้องการ ด้วยวิธีคิดต่าง ๆ จากหลักการ Design Thinking มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณได้ก็เป็นสิ่งที่จะตอบสนองประสบการณ์ในวัยเกษียณได้ดีขึ้นสิ่งสำคัญของ Design Thinking คือ วิธีการที่เรียกว่า IterativeProcess นั่นคือ กระบวนการทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ตามกระบวนการขั้นตอนดังต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายละเอียด แง่มุมในแผนเกษียณของแต่ละท่านได้มากขึ้น ทำได้ด้วยประยุกต์หลักการดัง 3 อย่างดังนี้การเข้าใจอย่างลึกซึ้งและกำหนดปัญหา1. การเข้าใจอย่างลึกซึ้งและกำหนดปัญหา (Empathize & Define Problem) สำหรับขั้นตอนนี้เป็นการทำความเข้าใจปัญหา ทำความเข้าใจความต้องการตนเองว่า เกษียณแล้วต้องการใช้ชีวิตแบบไหน มีไลฟ์สไตล์อย่างไรโดยอาจเริ่มพิจารณาจาก (1) ด้านรายได้ ส่วนใหญ่เมื่อเข้าถึงวัยเกษียณจะมีรายได้ลดน้อยลง อาจต้องเริ่มพิจารณาว่า ผลกระทบจากการมีรายได้ที่น้อยลงอาจทำให้ต้องปรับพฤติกรรมการใช้เงิน (2) ด้านรายจ่าย พิจารณาไล่เรียงไปตามปัจจัยสี่ อาจต้องมีรายจ่ายบางอย่างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ด้านการปรับปรุงบ้านที่ต้องเหมาะสมกับวัยที่ต้องมีความปลอดภัยมากขึ้น มีอุปกรณ์ที่เสริมอำนวยความสะดวกในการใช้ห้องน้ำ ห้องนอน เป็นต้นการระบุปัญหาให้ได้ว่า รายได้จะลดลงเป็นเท่าใด ไลฟ์สไตล์ที่ต้องการนั้นใช้เงินเท่าใด ตั้งโจทย์ขั้นมาให้ชัดเจน แล้วต้องสรุปว่าจะกำหนดแนวทางอย่างไร เช่น สรุปว่าต้องหารายได้เพิ่ม โดยมีเงื่อนไขการใช้เวลาและพลังงานในแต่ละวันให้เหมาะสมกับร่างกายและจิตใจ หรือการระบุให้ได้ว่ารายจ่ายรายการใดที่จะต้องลดลงเพื่อทำให้มีฐานะทางการเงินมั่นคงได้ในระยะยาว เป็นต้นการสร้างสรรค์ไอเดีย2. การสร้างสรรค์ไอเดีย (Ideate) เป็นการคิด โดยอาจตั้งคำถามว่าเมื่อเกษียณแล้วสามารถทำอย่างไรได้บ้างที่จะมีชีวิตอย่างเติมเต็ม ภายใต้เป้าหมายและข้อจำกัดในขั้นตอนก่อนหน้านี้ โดยอาจจะสร้างทางเลือกไว้อย่างน้อย 3 ทางเลือก เพื่อที่จะพิจารณาข้อดี ข้อเสียในแต่ละทางเลือกตัวอย่างการแก้ปัญหาการเกษียณจากต่างประเทศ ในกรณีที่มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไม่เพียงพอ อาจทำได้ด้วยการจัดการทรัพย์สินเพื่อเพิ่มรายได้ในการเกษียณ โดยอาจจะขายบ้านหลังใหญ่เพื่อนำเงินไปซื้อบ้านหลังเล็กลง (Downsizing) เพื่อที่จะประหยัดค่าส่วนกลางหรือค่าบำรุงรักษา และบ้านที่อยู่อาศัยที่เล็กลงนี้ก็สามารถที่จะเลือกว่าจะเลือกซื้อ เลือกเช่า หรือเลือกไปอยู่ บ้านพักผู้สูงอายุ ที่เหมาะสมกับแต่ละท่าน โดยสร้างสามารถสร้างตาราง ลิสต์ประเด็นต่าง ๆ ขั้นมาหรือจะทำความเข้าใจความต้องการของตนเอง และเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนทางการเงิน และประโยชน์ที่จะได้รับจากทางเลือกนั้น ๆบางครั้งไอเดียใหม่ ๆ ไม่เกิดถ้าบังคับให้คิด ต้องคอยสังเกต หลักการคือต้องสร้างทางเลือกเยอะ ๆ (Divergent Thinking) ก่อนแล้วจากนั้นวิเคราะห์ทางเลือก (Convergent Thinking) เพื่อตัดสินใจเลือกการทดลองสร้างแบบจำลองและทดสอบ3. การทดลองสร้างแบบจำลองและทดสอบ (Prototype & Test) ขั้นตอนสร้างแบบจำลอง และทดสอบ หาเวลาทดลองใช้ชีวิตในรูปแบบการเกษียณที่ต้องการเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเองให้ได้ตรงจุด โดยบางท่านอาจมีความประทับใจในการใช้ชีวิตในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ตัวเองชื่นชอบ แต่ก็ไม่แน่ว่าอาจมีประเด็นปัญหาอะไรต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่เช่น ข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ความสะดวกสบายในการเดินทาง สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึงเนื่องจากหากพิจารณาว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ แต่ก็อาจจะทำให้ชีวิตไม่ได้รับความสะดวกสบาย ลงมือทดสอบชีวิตใช้ที่ต้องการใช้ ชีวิตในแบบที่เกษียณแล้วเช่น การไปใช้ชีวิตอยู่ใน Home Stay เพื่อที่จะสามารถเข้าใจความรู้สึก เข้าใจบทบาทการที่ไม่ต้องทำงานอีกต่อไป เพื่อเรียนรู้ว่าเราสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างดีมีความสุขในรูปแบบใด สิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้คือได้รู้ Feedback เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคำตอบสำหรับการเกษียณของตัวเองสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือในกระบวนการ Design Thinking ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คือกระบวนการทำซ้ำหลาย ๆ รอบ (Iterative Process) โดยแต่ละรอบสามารถที่จะพัฒนาปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการได้ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเรากำลังสร้างทางที่เดินไปข้างหน้าในทุก ๆ วันแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1374569
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
21/09/2023
เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมด้วย นายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด และนางสาวอรรัตน์ ชุติมิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ เป็นตัวแทนรับรางวัล Best Life Insurance Company Thailand 2023 จากนิตยสาร International Business พร้อมทั้ง Insurance Asia Awards 2023 ในสาขา International Life Insurer of the Year จากนิตยสาร Insurance Asia และ Asia Responsible Enterprise Awards 2023 for Health Promotion (AIA Healthiest Schools Program) จาก Enterprise Asia ซึ่งทั้ง 3 รางวัลถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติจากเวทีระดับโลก และเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จของเอไอเอ ประเทศไทย ตลอดระยะเวลากว่า 85 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังตอกย้ำถึงมาตรฐานระดับสูงในการให้บริการ การดูแล และช่วยคนไทยในการวางแผนความคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และการเงินในระยะยาว เพื่อมุ่งมั่นสนับสนุนคนไทยให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น สอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives’
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 นายอธิวัฒน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 53 ปี นักธุรกิจชาว อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร นำเอกสารหลักฐานการสนทนาของหญิงสาวรายหนึ่งชื่อว่า มิ้น และหลักฐานการโอนเงินไปยังชื่อบัญชีต่างๆ อยู่หลายคน โดยคาดว่าจะเป็นบัญชีม้า มาร้องต่อสื่อช่วยเป็นกระบอกเสียงเตือนเป็นอุทาหรณ์ของกลโกงมิจฉาชีพ ที่ในทุกวันนี้มีการหาเล่ห์เหลี่ยมกลโกงต่างๆ มาหลอกประชาชนผ่านทางออนไลน์ นายอธิวัฒน์กล่าวว่า ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ตนนั้นถูกหญิงสาวชื่อมิ้น ทักแชตมาหาในเฟซบุ๊กและไลน์ ตอนแรกแนะนำตัวว่าเป็นเจ้าของร้านขายกระเป๋าและรองเท้าที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ที่ กทม. ทำทีชวนพูดคุยตีสนิท ต่อจากนั้นหญิงสาวได้ชักชวนลงทุน ซื้อทองคำเก็งกำไรผ่านแอพพลิเคชั่น โดยอ้างว่ามีคนวงในรู้จักราคาขึ้นลงทองคำ หากลงทุนจะได้กำไรดี อ้างสารพัดมีคนทำได้จริง เลยหลงกลเชื่อ ต่อจากนั้นหญิงสาวรายนี้แนะนำวิธีการสมัครผ่านแอพพ์ชื่อว่า OANDA จึงสมัครไป วันที่ 30 สิงหาคมสมัครไป 40,000 บาท ภายใน 5 นาที เขาโอนกลับมา 47,000 บาท ได้กำไร 7,000 บาท จากนั้นเติมเงินเข้าไปอีก 300,000 บาท เพื่ออัพเกรดเป็น VIP ระหว่างนั้นมีการพูดคุยกับหญิงสาวชื่อมิ้น ซึ่งได้โน้มน้าวพูดคุยตลอดเพื่อให้ปักใจเชื่อว่าที่ลงทุนไปจะได้เงินคืน ต่อมาเขาอ้างว่าเงินยังโอนคืนไม่ได้คุณต้องเสียภาษีก็โอนไปอีกกว่า 200,000 บาท และต่อมาก็บอกว่าบัญชีของตนมีปัญหาไม่ปลอดภัยที่จะโอนเงินกลับ ต้องมีค่ามัดจำอีก ตรงนี้เอะใจแล้วว่าน่าจะโดนหลอกจึงหยุดโอนหยุดติดต่อ สุดท้ายมีแต่ตัวเลขในแอพพ์ที่เติมเงินเข้าไป สรุปตั้งแต่ 30 สิงหาคม-12 กันยายน โอน 7 ครั้ง รวมเงิน 1,274,978 บาท นายอธิวัฒน์กล่าวอีกว่า เบื้องต้นได้แจ้งความไว้แล้วที่ สภ.สว่างแดนดิน ซึ่ง จนท.ได้ทำการอายัดบัญชีทั้งหมดคาดว่าน่าจะเป็นบัญชีม้า และทราบมาอีกว่าในพื้นที่ อ.ส่องดาว ก็มีผู้เสียหายรวมกับของตนก็น่าจะ 3 ล้านกว่าบาท จึงอยากให้เป็นอุทาหรณ์เตือนประชาชน ว่าใครที่โดนในลักษณะตนอยู่ผ่านแอพพ์ OANDA และติดต่อหญิงสาวชื่อมิ้น ให้หยุดโอนเงินทันที เชื่อว่าทำเป็นกระบวนการ ตั้งแต่คนพูดคุยหน้าม้าที่โอนเงินมาและบัญชีที่โอนเงินไป 7 ครั้ง ชื่อบัญชีไม่ซ้ำกันเลย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับมติชนออนไลน์https://www.matichon.co.th/region/news_4189366
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
การทำประกันชีวิต หลายๆ คนอาจเคยได้ยินเป็นประโยคขำขันว่า “ซื้อประกันชีวิตเท่ากับแช่ง” แต่ในความเป็นจริงแล้วประกันชีวิตนั้นไม่ได้เกี่ยวกับดวงชะตาชีวิตเลยซักนิดเดียว แต่ประกันชีวิตกลับเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันล่วงหน้าเพื่อสานต่อความปรารถนาดีให้กับคนที่เรารักในวันที่เราไม่ได้อยู่ข้างๆ เขาได้อย่างเบาใจ ซึ่งก็เป็น 1 ในเหตุผลสำคัญที่คนส่วนใหญ่เลือกทำประกันชีวิตนอกเหนือจากเทคนิคในการซื้อประกันชีวิตที่ตอบโจทย์แล้ว การเคลมประกันชีวิตก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราไม่ควรพลาดที่จะถ่ายทอดให้ผู้รับผลประโยชน์ได้รับรู้ว่า “การเคลมประกันชีวิต” นั้นมีการเคลมอย่างไรหลังเจ้าของประกันเสียชีวิต1. แจ้งตาย เรื่องง่าย ไม่วุ่นหลังจากการเสียชีวิตของผู้เอาประกัน สิ่งแรก เราต้องทำการ “แจ้งตาย” ให้ถูกต้องครับ การแจ้งตาย มี 2 กรณีหลักๆ จำง่ายๆ เลยกรณี 1. เสียชีวิตในสถานพยาบาลหลังจากที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต แพทย์จะออก หนังสือรับรองการตาย หรือที่เรียกว่า ใบ ท.ร.4/1 ให้แก่ญาติกรณี 2. เสียชีวิตนอกสถานพยาบาลแบ่งย่อยเป็น 2 กรณีㆍเสียชีวิตในบ้านและนอกบ้าน การเสียชีวิตในบ้าน ผู้แจ้งตายซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของบ้านที่มีคนเสียชีวิต ผู้พบศพ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้แจ้งตาย จะต้องแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เสียชีวิต หรือพบศพㆍการเสียชีวิตนอกบ้าน ผู้พบศพ จะต้องรีบแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมงหลังพบศพส่วนเรื่องสถานที่แจ้งตาย กรณีอยู่ในเขตเทศบาล สามารถแจ้งที่สำนักงานเขตเทศบาลได้เลยอันนี้จะไม่ได้รับ ท.ร. 4 ตอนหน้า หรือหลักฐานรับแจ้งตาย ถ้ากรณีอยู่ในเขตท้องที่ที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งไปที่ผู้ใหญ่บ้าน และเราก็จะได้หนังสือ ท.ร. 4 ตอนหน้า หรือหลักฐานรับแจ้งตาย หลังจากนั้นเราก็ไปแจ้งที่นายทะเบียน ณ เทศบาล หรืออำเภอ เพื่อขอใบมรณบัตรเอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นขอใบมรณบัตร ได้แก่1. บัตรประชาชนผู้แจ้งตาย2. บัตรประชาชนผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)3. หลักฐานรับแจ้งตาย4. ทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)5. พยานรู้เห็นการเสียชีวิต (กรณีเสียชีวิตในบ้าน)สุดท้ายจะได้ใบมรณะบัตรพร้อมจำหน่ายชื่อผู้เสียชีวิตออกจากทะเบียนบ้านเรียบร้อย2. เตรียม & เช็คเอกสาร ก่อนเคลมประกันชีวิตการเตรียมเอกสารสำหรับยื่นเคลมประกันชีวิตจะต้องประกอบไปด้วยเอกสาร 2 ส่วนส่วนแรก คือ เอกสารของผู้เสียชีวิต ได้แก่1. สำเนาใบมรณบัตร2. สำเนาทะเบียนบ้านประทับตรา “ตาย”3. สำเนาบัตรประชาชน (ผู้รับผลประโยชน์รับรองสำเนาถูกต้อง)4. กรมธรรม์ประกันภัยหรือหนังสือรับรองการประกันภัย5. แบบเรียกร้องสินไหมมรณกรรม (ฟอร์มบริษัท)6. สำเนาบันทึกประจำวัน รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ)7. สำเนารายงานการชนสูตรพลิกศพ (กรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ)8. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)ส่วนที่สอง คือ เอกสารของผู้รับผลประโยชน์ ได้แก่ㆍสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้แทนโดยชอบธรรมㆍสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้แทนโดยชอบธรรมㆍสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)3. ยื่นเอกสารเคลมประกันชีวิตหลังจากเตรียมเอกสารต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถยื่นเคลมประกันชีวิตได้เลยโดยอาจจะติดต่อไปที่ตัวแทนขายประกันที่ดูแลเจ้าของประกันอยู่ หรือติดต่อไปที่บริษัทประกันก็ได้4. รอรับเงินสินไหมจากประกันชีวิตเมื่อยื่นเอกสารแก่บริษัทประกันชีวิตเรียบร้อยแล้วก็รอการดำเนินการจากบริษัทประกันชีวิตนั้น เพื่อจ่ายเงินสินไหมประกันชีวิตให้ผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิตอาจดูเหมือนเป็นมรดกลมที่เราจับต้องไม่ได้ ณ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ แต่เชื่อเถอะในวันหนึ่งมรดกชิ้นนี้จะช่วยดูแลคนที่เรารักอย่างที่เราวาดฝันไว้ได้ ค้นหา และเปรียบเทียบแบบประกันชีวิตที่ใช่ได้ที่ noon.in.thแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับnoonhttps://www.noon.in.th/blog/how-to-claim-life-insurance/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย “อภิเชษฐ เอกวัฒนพันธ์” ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 12 กันยายน 2566 ในปีที่ผ่านมา คงจะมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยเลยที่ปวดหัวกับผลตอบแทนที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสักเท่าไหร่ บางท่าอาจจะต้องถึงขึ้นปรับกลยุทธ์ในการลงทุนเสียใหม่กันเลยทีเดียว ซึ่งก็เป็นจังหวะที่ดีสำหรับการทบทวนความเสี่ยงของตนเองด้วยเช่นกัน เชื่อว่าทุกท่านคงได้เคยผ่านหูผ่านตากับแบบประเมินความเสี่ยง (Suitability Test) กันมาบ้างแล้ว อย่างน้อย ๆ ก็ต้องเคยได้ทำแบบประเมินชุดนี้เมื่อครั้งเปิดบัญชีธุรกรรมด้านการลงทุน เช่น เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวม เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น และก็เชื่อเหลือเกินว่า หลายท่านยังไม่เคยกับกลับไปทำแบบประเมินฉบับนี้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแบบประเมินชุดนี้เป็นตัวช่วยสำคัญให้ผู้ลงทุนหลายท่านสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมได้ มาถึงตรงนี้หลายต่อหลายท่านก็คงมีคำถามผุดขึ้นมาในหัวแล้วว่า จะทำยังไงถึงจะใช้แบบประเมินความเสี่ยงชุดนี้ช่วยในการบริหารพอร์ตการลงทุนได้ล่ะ จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องกลับไปทำความเข้าใจก่อนว่า ชุดคำถามในแบบประเมิน มีไว้เพื่อให้ทราบข้อมูลใน 2 แง่มุม นั่นก็คือ 1. ความสามารถในการรับความเสี่ยง (Ability to Take Risk) หมายถึง ความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงและผลขาดทุนจากการลงทุน โดยหลัก ๆ พิจารณาจาก ช่วงวัย (ยิ่งอายุน้อย ยิ่งรับความเสี่ยงได้มาก) สถานะทางการเงิน (ยิ่งสถานะทางการเงินดี ยิ่งรับความเสี่ยงได้มาก โดยดูได้จากความเพียงพอของเงินสดสำรองเผื่อฉุกเฉิน สินทรัพย์เทียบกับภาระหนี้สิน เป็นต้น) รวมถึงระยะเวลาการลงทุน (ยิ่งระยะเวลาการลงทุนยาว ยิ่งสามารถรับความเสี่ยงได้มาก) 2. ความยินดีที่จะรับความเสี่ยง (Willingness to Take Risk) โดยพิจารณาจาก ทัศนคติต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ความวิตกกังวลใจและวิธีการรับมือเมื่อพอร์ตการลงทุนติดลบ เมื่อต้องการเริ่มทบทวนความเสี่ยงปัจจุบัน ท่านสามารถติดต่อขอรับแบบประเมินได้จาก สถาบันการเงินที่ท่านใช้บริการอยู่ หรือจากนักวางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน ผู้วางแผนการลงทุน (IP) หรือผู้แนะนำการลงทุน (IC) ที่ดูแลท่านอยู่ โดยในแบบสอบถามจะประกอบไปด้วยชุดคำถามเพียง 12 ข้อ ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน ใช้เวลาในการตอบแบบประมินไม่นาน เพียงแค่ต้องตอบคำถามในแบบประมินตามความเป็นจริง และเมื่อทำแบบประเมินเรียบร้อยแล้ว จะสามารถนำผลรวมคะแนนทั้งหมดมาวิเคราะห์ได้ว่า ณ ขณะนี้ ท่านเองมีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ระดับใด ดังรายละเอียดตามตารางด้านล่างจากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง แต่ในส่วนที่ว่าหน้าตาของพอร์ตการลงทุนในแต่ละระดับความเสี่ยงหน้าตาเป็นอย่างไรนั้น ใคร่เชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่านได้ลองย้อนกลับไปอ่านบทความ “All Season Portfolio กลยุทธ์การลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในทุกวิกฤต” และ “Asset Allocation ง่ายนิดเดียว” ซึ่งได้เขียนอธิบายกระบวนการและขั้นตอนการจัดพอร์ตการลงทุนไว้แล้วอีกครั้งหนึ่ง โดยสรุป แบบประเมินความเสี่ยง (Suitability Test) เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราทราบถึงระดับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้ในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงควรทบทวนความเสี่ยงของตนเองโดยผ่านการทำแบบแบบประเมินความเสี่ยงอย่างน้อย ๆ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้เราทราบถึงระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ในปัจจุบัน และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม ด้วยขั้นตอนเพียงเท่านี้เราก็จะสามารถบริหารพอร์ตลงทุนได้แบบกินอิ่ม นอนหลับสบาย กันแล้วครับ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1389893
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
หลังจากประชาชนจำนวนมากซื้อประกันภัยสัตว์เลี้ยง แต่ไม่สามารถเบิกค่าเคลมสินไหมได้ ร้อนถึง สมาคมประกันวินาศภัยไทย ต้องออกมาเตือนให้ระมัดระวัง พร้อมตรวจสอบพบว่า เป็นบริษัทประกันภัยเถื่อนจากต่างชาติรวมถึงยังพบว่ามีการลักลอบขายประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวในประเทศไทยด้วย ล่าสุด มีความคืบหน้าที่ตรวจสอบ พบว่า ขบวนการนี้มีคนไทยเกี่ยวข้องด้วยเปิดเครือข่ายขายประกันเถื่อน“ประสิทธิ์ คำเกิด” ประธานคณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ สมาคมประกันวินาศภัยไทย (TGIA) กล่าวว่า ได้ตรวจสอบแกะรอยการโกงในครั้งนี้ พบว่า เมื่อปี 2564 ประมาณเดือน มิ.ย. มีบริษัทจดทะเบียนอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ (แทนชื่อว่า IS) เสนอตัวทำการตลาดขายประกันภัยสัตว์เลี้ยงให้กับบริษัทประกันภัยจากประเทศอังกฤษ (แทนชื่อว่า IU) โดยวางขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (แทนชื่อว่า IP)ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 บริษัท IS มีการทำสัญญานายหน้าร่วม โดยอ้างว่าบริษัท IU มีใบอนุญาตนายหน้าประกันภัยและประกันภัยต่ออยู่ที่อังกฤษ จนถึงเดือน ก.ค. 2565 เริ่มเสนอขายประกันภัยสัตว์เลี้ยงบนหน้าเว็บไซต์ IP“เมื่อลูกค้าคนไทยชำระเงินค่าเบี้ยประกันไปแล้ว ทาง IP จะนำส่งค่าเบี้ยให้ IU โดย IU จะจ่ายค่าคอมมิชชั่นกลับมาให้กับ IP ผ่าน IS ตรวจพบครั้งล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค. 2566 กล่าวคือ IS กับ IP คือกลุ่มคนเดียวกัน”โดยพบว่าบริษัทดังกล่าวมีการรับประกันไปมากกว่า 4,000 กรมธรรม์ คิดเป็นเบี้ยประกันราว 10-20 ล้านบาท ซึ่งกรมธรรม์ฉบับสุดท้ายจะหมดอายุความคุ้มครอง วันที่ 29 มิ.ย. 2567“จากการรับประกันที่มีจำนวนมากนั้น ประมาณเดือน พ.ค. 2566 เริ่มส่งสัญญาณไม่ดีคือ ทาง IU ขอให้ IP เอาโปรดักต์ตัวนี้ออกจากหน้าเว็บไซต์ และถูกร้องขอให้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไขบางอย่าง และประมาณวันที่ 27 มิ.ย. 2566 เริ่มเกิดปัญหา ลูกค้าเคลมไม่ได้”ดอดเจรจาลูกค้าขอคืนเบี้ย“กัลยา จุกหอม” ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารอาวุโส สายงานวิชาการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า จากการพูดคุยกับผู้เสียหาย พบว่าเป็นการทำประกันที่ง่ายมาก ไม่มีการขอข้อมูลตรวจสอบความเป็นตัวตนของสัตว์เลย นอกจากนั้นหลาย ๆ คลินิกสัตว์มีการแนะนำให้ลูกค้าซื้อประกันสัตว์เลี้ยงกับบริษัทนี้ด้วย เนื่องจากเห็นว่า ช่วงแรกเคลมง่ายจ่ายหมด จนมาระยะหลังค้างชำระค่าสินไหมเป็นจำนวนมาก ตอนนี้มีประมาณ 180 ราย ที่ยื่นเคลมแต่ยังไม่ได้รับเงิน“ลูกค้ายังมีความหวังที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทน และส่วนหนึ่งมองว่าค่าสินไหมไม่สูง จึงยังไม่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดี โดยล่าสุดทาง IS ที่สิงคโปร์ มีการเจรจากับผู้เสียหายขอคืนเบี้ย 40% ให้ลูกค้า ซึ่งในทางปฏิบัติ ประกันในไทยจะไม่มีรูปแบบนี้ แต่จะมีถ้าจะยกเลิกต้องคืนเบี้ยตามส่วนที่มีระยะเวลาคุ้มครองเหลืออยู่”แอบขายประกันสุขภาพต่างชาติจากการสืบค้นยังพบว่า บริษัท IU มีการรับประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวอยู่ในประเทศไทยด้วย โดยขายบนเว็บไซต์มานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันก็ยังขายอยู่ เนื่องจากไม่ผิดกฎหมายไทย ซึ่งมีบุคคลเสมือนเป็นนายหน้า ทำหน้าที่รับประกันและต่ออายุ มีออฟฟิศตั้งอยู่ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีคนไทยที่มีไลเซนส์นายหน้าจริงแต่ปัจจุบันได้ลาออกไปแล้ว และให้ข้อมูลว่ามีชาวรัสเซียเป็นผู้จัดการที่นี่ และจะมีบริษัทที่ทำหน้าที่ประสานงาน-แจ้งเคลม ออฟฟิศอยู่แถวรามอินทรา เชื่อมโยงกับบริษัทที่ซอยศูนย์วิจัย 4 ที่เป็นบริษัทรับทำเคลมและจ่ายสินไหม“ตามกฎหมายไทยกำหนดให้ชาวต่างชาติที่เดินทางมาพำนักระยะยาวในไทย จะยื่นขอวีซ่าต้องมีประกันสุขภาพ 2 แบบคือ 1.Visa Non O-A (ไม่เกิน 1 ปี) วงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งจะซื้อผ่านบริษัทในไทยมีอยู่ 12 บริษัท หรือจากต่างประเทศก็ได้และเมื่อจะขอต่อวีซ่าต้องติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และประสานกรมการกงสุลเพื่อตรวจสอบข้อมูลประกันสุขภาพ และ 2.Visa Non O-X พำนักระยะยาวตลอดที่อยู่ในไทย ต้องมีวงเงิน OPD ไม่น้อยกว่า 40,000 บาท และ IPD ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท ซื้อได้เฉพาะบริษัทในไทย ซึ่งมีอยู่ 7 ราย”ตะลึงลูกเจ้าของโรงพยาบาลดังมีเอี่ยวทั้งนี้ จากที่สมาคมได้ตรวจสอบข้อมูล ตามที่กล่าวอ้างว่า จดทะเบียนเป็นนายหน้าประกันภัยและประกันภัยต่ออยู่ที่อังกฤษ ก็พบว่าไม่ปรากฏรายชื่อนี้อยู่ในลิสต์ของ คปภ. อังกฤษ (FCA) และสมาคมประกันภัยอังกฤษ (ABI) โดยพบเพียงหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทเป็น “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” มีชาวอังกฤษเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 1 ราย และในโครงข่ายพันธมิตร มีคนไทยร่วมถือหุ้นด้วย 2-3 ราย ซึ่งหนึ่งรายในนั้น ถือหุ้นใน IS ที่สิงคโปร์ด้วย“ประสิทธิ์” กล่าวว่า กลุ่มคนไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า มีนามสกุลดัง เป็นลูกเจ้าของโรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทย และอีกรายเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทให้บริการบริหารจัดการค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่ถูกต้องตามกฎหมายในไทย อ้างอิงจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ แต่ไม่พบว่าได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยแต่อย่างใดโดยบริษัทตั้งอยู่ในซอยศูนย์วิจัย 4 กทม. จะรับทำหน้าที่ดำเนินการจ่ายเคลมและรับชำระเบี้ยประกันภัยในกรณีเมื่อลูกค้าจ่ายเป็นเงินสดและเงินโอน แต่หากลูกค้าจ่ายค่าเบี้ยผ่านบัตรเครดิต เงินจะเข้าบัญชีโดยตรงในบริษัท IU ที่อังกฤษDSI โยน คปภ. ตรวจสอบเอาผิดเบื้องต้นทาง ตม. และกงสุล ได้รับทราบแล้วว่า บริษัท IU ไม่มีตัวตน และได้มีการแจ้งเตือนเอกสารของบริษัท IU ว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการยื่นขอวีซ่าโดยจากข้อมูลล่าสุดที่ชาวต่างชาติยื่นขอวีซ่าประมาณกว่า 30,000 ราย แต่ในระบบประกันของสมาคม มีแค่กว่า 8,000 รายเท่านั้น ส่วนที่เหลือยังไม่แน่ใจว่า ซื้อประกันที่ไหน หรือใช้สวัสดิการของรัฐที่มีอยู่แทนการซื้อประกันได้“ประสิทธิ์” กล่าวว่า หลังจากที่มีผู้เสียหายกลุ่มหนึ่งจากประกันภัยสัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจเข้าข่ายกรณีฉ้อโกง สมาคมจึงได้ทำหนังสือไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แต่เบื้องต้นดีเอสไอได้ประสานส่งเรื่องไปยังสำนักงาน คปภ. เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแล“หลังจากนี้การดำเนินการตามกฎหมายจะอยู่ที่ คปภ. จะเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับความมั่นใจในการรวบรวมพยานหลักฐานที่ชัดเจน”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1391597
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
แม่กลุ้มใจ ! ประกันไม่อนุมัติ ลูกสาวติดเชื้อ RSV แจ้งเหตุผลชวนอึ้ง ! เคลมประกันถี่เกินไปคุณแม่รายหนึ่งได้แชร์ประสบการณ์การเป็นลูกค้าประกันของบริษัทหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ได้อ่านเรื่องราวต้องถึงกับอึ้ง เนื่องจากลูกสาวติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก) ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถเคลมประกันได้ โดยบริษัทประกันให้เหตุผลว่าเคลมต่อเนื่องเกินไป จึงขอพิจารณาเอกสารอย่างละเอียดคุณแม่รายนี้เล่าว่าได้ซื้อประกันสุขภาพให้ลูกสาว ซึ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันปีละ 48,XXX บาท โดยเงื่อนไขของประกันดังนี้1. จ่ายค่ารักษาแบบ OPD ให้ 1,500 บาท/ครั้ง จำนวนไม่เกิน 30 ครั้ง/ปี2. จ่ายค่ารักษาแบบ IPD ให้ครั้งละ 50,000 บาท แต่ต้องไม่ใช่โรคเดียวกันในแต่ละครั้ง (หากเป็นการรักษาโรคเดียวกันให้นับรวมในยอด 50,000 บาท ซึ่งจำกัดระยะเวลารักษาภายใน 3 เดือน ไม่รวมค่าห้อง)คุณแม่ยังเล่าต่อว่าในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ได้ใช้ประกันเพื่อจ่ายค่ารักษา OPD ไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยในวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ได้ใช้ประกัน เพื่อจ่าย IPD ครั้งที่ 1 แพทย์ระบุว่าลูกสาวปอดอักเสบ ตรวจแล้วไม่พบเชื้ออะไร เคลมยอดเงินจำนวน 18,xxx บาทวันที่ 8 กันยายน 2566 ได้ใช้ประกัน เพื่อจ่าย IPD ครั้งที่ 2 แพทย์ระบุว่าลูกสาวเชื้อไวรัส RSV เคลมยอดเงินจำนวน 32,xxx บาท แต่ไม่สามารถเคลมเงินประกันได้ ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวน โดยตัวแทนประกันแจ้งว่า “ฝ่ายพิจารณาขอตรวจเอกสารการรักษาอย่างละเอียด เนื่องจากมีการเคลมที่ต่อเนื่องกันเกินไป”เหตุที่เกิดขึ้นสร้างความเดือดร้อนและไม่สบายใจให้กับคุณแม่รายนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกสาวต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นสิทธิ์ของผู้เอาประกันที่จะใช้ประกันของตัวเอง“เรามีสิทธิ์ที่จะเคลมไหม ตลอดระยะเวลา 1 ปี การเคลมแต่ละครั้งเราต้องมานั่งเกรงใจประกันเหรอคะ ต้องมาคอยมานั่งกังวลว่าเคลมถี่เกินไปหรือเปล่า ประกันจะเมตตาอนุมัติให้เราหรือเปล่า ถ้าวันนี้เราไม่มีเงินเหลือติดตัวอยู่เลย เราต้องทำยังไงคะ เรากับลูกจะต้องอยู่ในโรงบาลจนกว่าประกันจะพิจารณา ซึ่งไม่รู้ว่าจะอนุมัติให้เราหรือไม่อนุมัติให้เราเลย วันนี้ตัวแทนประกันแจ้งให้เราเขียนจดหมายแนบขอความเห็นใจจากฝ่ายพิจารณา เขียนร้องขอรอบที่ 2 จากการโดนปฏิเสธรอบแรก สุดท้ายก็โดนปฏิเสธอีกรอบที่ 2 เข้าเนื้อไม่พอต้องมาเจ็บใจอีก รู้สึกเหมือนขอทานขอเศษบุญเลยค่ะ”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับamarintvhttps://www.amarintv.com/news/detail/187738
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
10/09/2024
30/04/2024
09/05/2025
30/04/2024
29/04/2024