Everyday knowledge for you
ข่าวการเงิน
30/04/2024
นางพรอนงค์ บุษราตระกูล หัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำ “ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ” (NRRI) เพื่อหาเครื่องมือวัดระดับความพร้อมหรือไม่พร้อมของคนในประเทศไทยหลังเกษียณ โดยพบว่าตัวเลขความพร้อมด้านการเงินค่าเฉลี่ยของประเทศมีความพร้อมต่ำกว่า 40% ขณะที่ความพร้อมด้านสุขภาพมีความพร้อมในระดับที่สูงกว่ามิติด้านการเงิน ซึ่งการมีความพร้อมจากการมีความสุขด้านสุขภาพสูงกว่าความพร้อมจากความสุขด้านการเงิน ทำให้ต้องมีเงินเท่าใดถึงจะพอจึงเป็นอีกโจทย์หนึ่ง ซึ่งการสำรวจการใช้จ่ายของคนสูงวัย พบว่าจำนวนเงินที่จะเพียงพอที่จะอยู่รอดได้หลังเกษียณคือ 3 ล้านบาทต่อคน และต้องทยอยนำเงินมาใช้จ่ายต่อเดือนในระดับ 6,000-7,000 บาท แต่ปัจจุบันมีการใช้จ่ายกันที่ระดับ 10,000 บาทต่อเดือน หมายความว่ามีการใช้เงินมากกว่าที่มีอยู่นางพรอนงค์ กล่าวว่า ผู้ที่มีส่วนด้านการออมที่สำคัญที่สุด อันดับแรกคือ ประชาชนทุกคนต้องมีความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของการออม รองลงมาคือภาครัฐต้องมีบทบาทในการสนับสนุนทักษะทางการเงินของประชาชน ต้องมีนโยบายส่งเสริมให้คนมีทักษะและความรู้ทางการเงิน เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ว่าต้องออม และจะนำไปสู่ความรู้ว่าจะออมอย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้ถูกหลอกทางการเงิน รวมทั้งส่งเสริมให้มีเครื่องมือการลงทุน ระบบการออมภาคบังคับ รวมถึงฝั่งนายจ้าง ที่ควรมองว่าการดูแลพนักงานไม่ใช่ดูแลเฉพาะเวลาที่ทำงานกับองค์กร แต่มองไปถึงว่าหลังเลิกทำงานกับนายจ้างแล้วควรมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย“แรงงานในระบบสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้สูงสุด 15% ไม่เกิน 500,000 บาท จึงอยากให้ทุกคนออมผ่านรูปแบบใดก็ได้ ในสัดส่วน 15% ของรายได้ ซึ่งหากออมต่ำกว่า 10% ต่อไปชีวิตลำบากแน่ ทำให้ขั้นต่ำต้อง 15% หากใครทำได้ระดับ 30% เรียกว่าดี อยู่ได้ แต่หากสูงกว่า 30% ถือว่าดี ซึ่งการออมต่ำกว่า 10% อนาคตต้องพึ่งพาการถูกลอตเตอรี่ ได้มรดก หรือมีลูกหลานเลี้ยงดู ถือเป็นปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ สิ่งที่เราควบคุมได้คือการออมจากประโยชน์ที่ได้จากทางภาษี และหากใครมีการออมเกิน 15% อยู่แล้วให้ใส่ความรู้ด้านการลงทุนเข้าไปด้วย” นางพรอนงค์ กล่าวนางพรอนงค์ กล่าวว่า สำหรับแรงงานนอกระบบ ขอให้มีวินัยด้านการออม หากระบบที่มีอยู่ยังไม่เอื้อจะต้องขวนขวายด้วยตัวเอง อาทิ การเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 40 รวมถึงเข้าสู่การออมในกองทุน โดยขอให้ปรับพฤติกรรมใหม่ คือ สร้างวินัยการออม โดยเฉพาะอาชีพอิสระไม่ควรลงทุนในสิ่งที่เสี่ยง ควรปรับสัดส่วนการออมและความสม่ำเสมอ จากที่เคยพบพฤติกรรมการออมคือ ออมจำนวนมากในครั้งเดียวแล้วหายไป 3 ปี หลังจากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ใหม่จึงจะออมอีกครั้งหนึ่งทั้งนี้ หวังว่าตัวเลขค่าเฉลี่ยการออมของประเทศไทยจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งจากการเริ่มทำวิจัยเมื่อ 10 ปีก่อน ได้พบว่าระบบบำนาญครอบคลุมในสัดส่วน 40:60 แต่ปัจจุบันกลับหัวเป็นสัดส่วน 60:40 หมายความว่าตัวเลขดีขึ้น แต่ยังไม่เร็วพอกับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสุดยอด ดังนั้น ต้องตระหนักรู้ให้เร็วและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนางพรอนงค์ กล่าวว่า อุปสรรคการออมหลังเกษียณที่ทำให้การเกษียณไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ประชาชนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าอุปสรรคคือ ความเสี่ยง อาทิการเข้ามาของโควิด แต่อยากบอกว่าแม้โควิดไปเชื้อโรคตัวใหม่ก็จะเข้ามา ต่อไปอุปสรรคคือ ความเสี่ยงจะมาเร็วและมาแรงขึ้น อาทิ โควิด หรือสงคราม ทุกอย่างจะเข้ามาเรื่อย ๆ อย่าให้เรื่องเหล่านี้มากระทบวินัยการออมแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับมติชนออนไลน์https://www.matichon.co.th/economy/news_3545355
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาษี
30/04/2024
ขึ้นชื่อว่าภาษีก็เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นะคะ โดยเฉพาะคนที่อยากสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง ก็ต้องจ่าย “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ดังนั้นเจ้าของที่ดินจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีดังกล่าวและอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับได้อย่างถูกต้อง วันนี้เราจึงสรุปภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565 พร้อมแนะนำวิธีการคำนวณภาษี เพื่อนๆ คนไหน อยากจะสร้างบ้าน ต้องอ่านเลยค่ะภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไรภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า ภาษีที่ดิน คือภาษีที่จัดเก็บรายปีตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยมีหน่วยงานผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบจัดเก็บภาษี โดยอัตราภาษีจะคำนวณตามประเภทการใช้ประโยชน์ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง • เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง แต่ถ้าเจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเป็นคนละคนกัน ก็ให้เจ้าของที่ดินเสียภาษีเฉพาะส่วนมูลค่าที่ดิน ส่วนเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเสียภาษีเฉพาะส่วนของมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง • ผู้ครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ • เจ้าของหรือครอบครองที่ดิน สิ่งปลูกสร้างในช่วงวันที่ 1 มกราคม ของปีภาษีนั้น จะต้องเป็นผู้เสียภาษีในปีถัดไปที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีโดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษีโดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดินมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) - ค่าเสื่อมราคาห้องชุดห้องชุดสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษีโดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยหลักแล้ว อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะจำแนกตามประเภทการใช้ประโยชน์และตัวผู้เสียภาษี ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ทั้งนี้ อัตราภาษีจะใช้คำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีแต่ละขั้น ดังนี้1. ที่ดินประกอบเกษตรกรรมการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ต้องเป็นการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และกิจการตามกำหนด หากทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ โดยบุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษีอัตราภาษีตามมูลค่าทรัพย์สิน • 0 – 75 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.01% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 7,500 บาท • 75 – 100 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.03% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 30,000 บาท • 100 – 500 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.05% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 250,000 บาท • 500 – 1,000 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.07% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 700,000 บาท • 1,000 ล้านขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.1% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป2. ที่อยู่อาศัยที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัย โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้จะแบ่งออกเป็น2.1 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอัตราภาษีตามมูลค่าทรัพย์สิน • 0 – 25 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.03% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 7,500 บาท • 25 – 50 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.05% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 25,000 บาท • 50 ล้านขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.1% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 50,000 บาทขึ้นไป2.2 สิ่งปลูกสร้าง ที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)อัตราภาษีตามมูลค่าทรัพย์สิน • 0 – 40 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.02% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 8,000 บาท • 40 – 65 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.03% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 19,500 บาท • 65 – 90 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.05% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 45,000 บาท • 90 ล้านขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.1% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี 90,000 บาทขึ้นไป2.3 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย (บ้านหลังอื่นๆ) นอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม 2.1 และ 2.2อัตราภาษีตามมูลค่าทรัพย์สิน • 0 – 50 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.02% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 10,000 บาท • 50 – 75 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.03% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 22,500 บาท • 75 – 100 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.05% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 50,000 บาท • 100 ล้านขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.1% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี 100,000 บาทขึ้นไป*สำหรับข้อ 2.1 และ 2.2 บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นทรัพย์สินมูลค่า 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและภาษีสิ่งปลูกสร้าง3. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก ข้อ 1 และ 2สำหรับการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างข้อนี้ จะไม่ใช่เพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัย แต่จะเป็นที่ดินในเชิงพาณิชย์อัตราภาษีตามมูลค่าทรัพย์สิน • ไม่เกิน 50 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.3% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 150,000 บาท • 50 – 200 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.4% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 800,000 บาท • 200 – 1,000 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.5% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 5 ล้าน บาท • 1,000 – 5,000 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.6% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 30 ล้าน บาท • 5,000 ล้านขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.7% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 35 ล้าน บาทขึ้นไป4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่รกร้างหรือไม่ได้ทำประโยชน์และกลุ่มสุดท้ายที่จะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแพงที่สุด คือที่ดินที่ปล่อยทิ้งให้รกร้างโดยไม่ได้ทำประโยชน์อัตราภาษีตามมูลค่าทรัพย์สิน • ไม่เกิน 50 ล้าน คิดอัตราภาษี 03% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 150,000 บาท • 50 – 200 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.4% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 800,000 บาท • 200 – 1,000 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.5% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 5 ล้าน บาท • 1,000 – 5,000 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.6% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 30 ล้าน บาท • 5,000 ล้านขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.7% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 35 ล้าน บาทขึ้นไป*ทุก 3 ปีที่มีการปล่อยที่ดินให้รกร้าง จะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 0.03% โดยอัตราภาษีรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 3%บทลงโทษหากชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเกินกำหนดเบี้ยปรับ คือ ค่าปรับที่เกิดจากการชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด มีรายละเอียดคือ ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด จะได้รับหนังสือแจ้งเตือน และเสียเบี้ยปรับตั้งแต่ 10-40% ของจำนวนภาษีค้างชำระชำระภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างได้ที่ไหนในส่วนของช่องทางการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กรุงเทพมหานครได้เพิ่มทางเลือกและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการชำระภาษีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ดังนี้1. สำนักงานเขต2. ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ3. เครื่องเอทีเอ็ม (ATM) ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ4. บัตรเครดิตประเภท Visa และ Master ของธนาคารและสถาบันการเงินทุกแห่ง หรือบัตรกรุงไทยวีซ่าเดบิต5. ทำรายการชำระเงินข้ามธนาคารด้วย Barcode หรือ QR Codeเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เพื่อน ๆ คนไหนที่มีแพลนคิดจะปลูกสร้างบ้านเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อย่าลืมที่จะศึกษารายละเอียดเกี่ยวภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อที่จะไม่พลาดการคำนวณภาษีกันนะคะแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับBaanBaanhttps://baanbaan.co/story/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93-2565
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
26/04/2023
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินเศรษฐกิจจีนในปี 65 มีแนวโน้มเติบโตลดลงจากที่เคยประเมินเดิม โดยคาดขยายตัวอยู่ที่ 3.7-4.2% มีปัจจัยหนุนจากมาตรการภาครัฐ ขณะที่ยังมีความเสี่ยงสำคัญคือนโยบายโควิดเป็นศูนย์ที่จะยังฉุดรั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ และสถานการณ์ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่คลี่คลายในไตรมาส 2/65 เศรษฐกิจจีนขยายตัวเพียง 0.4%YoY ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 1.5%YoY โดยช่วงครึ่งปีแรกเติบโตเพียง 2.5% เนื่องจากในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. 65 จำนวนผู้ติดเชื้อในจีนเร่งตัวสูงขึ้นทำให้ จีนมีการล็อกดาวน์เมืองสำคัญ เช่น เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่งโดย GDP ของเซี่ยงไฮ้ และปักกิ่งในไตรมาสที่ 2 หดตัวลงอยู่ที่ -13.7% และ 2.9% YoYการล็อกดาวน์ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ชะลอตัวลง ทั้งในส่วนของการผลิตสินค้า การขนส่งต่าง ๆ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบสำคัญของตัวเลข GDP ตัวเลขยอดค้าปลีกในช่วงครึ่งแรกของปีหดตัวลง -0.7% YoY ซึ่งหดตัวทั้งในเขตชนบทและเขตเมืองสะท้อนถึงความเชื่อมั่นและกำลังซื้อที่เปราะบางจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงจากการปิดเมืองนอกจากนี้ การส่งออกและการนำเข้าได้รับปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ปิดเมืองเช่นเดียวกัน โดยในเดือนเม.ย.65 การส่งออกเติบโตเพียง 3.9% จาก 14.7% ในเดือนมี.ค.65 ขณะที่ภาคการนำเข้าชะลอตัวลงไปในทิศทางเดียวกับตัวเลข PMI ภาคการผลิตที่อยู่ต่ำกว่าระดับขยายตัว (เดือนเม.ย. 65 อยู่ที่ 47.4)อย่างไรก็ดี หลังจีนเริ่มเปิดเมืองเมื่อเดือนมิ.ย.65 ตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้น สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการในเดือนมิ.ย.65 ที่เริ่มกลับมาอยู่ในระดับขยายตัวที่ 51.7 และ 54.5 ขณะที่ปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจีนในปีนี้คาดว่าจะมาจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Investment in Fixed Asset) ที่ครึ่งปีแรกเติบโตสูงถึง 6.1%YoYหลังเผชิญการปิดเมืองจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุด จีนได้มีการออก 33 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เสียหายจากการปิดเมืองเมื่อวันที่ 31 พ.ค.65 ทั้งในส่วนการคลัง เช่น การขยายเวลาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการเลื่อนจ่ายประกันสังคมของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงในด้านการลงทุนผ่านการออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจจำนวนประมาณ 3.45 ล้านล้านหยวนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจีนในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ขณะที่ในส่วนนโยบายการเงินจีนยังมีช่องว่างในการผ่อนคลายนโยบาย เนื่องจากระดับเงินเฟ้อยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3% (ล่าสุดอยู่ที่ 2.5% ในเดือนมิ.ย.65) โดยคาดว่าอาจมีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์แม้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐฯ แต่เศรษฐกิจจีนยังเผชิญความเสี่ยงอีกหลายด้าน ทั้งในเรื่องที่จีนยังคงยืนยันที่จะใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ เมื่อมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นก็อาจทำให้การล็อกดาวน์เกิดขึ้นได้อีก โดยล่าสุดจีนได้มีประกาศล็อกดาวน์เมืองซีอานเป็นเวลา 7 วัน หลังพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจำนวน 18 คน แม้จะไม่ใช่เมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอย่างเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง แต่การที่จีนยังคงใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์จะกระทบความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ และครัวเรือนต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะยิ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้ยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้เต็มที่ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวของจีนที่แม้ว่าจีนจะมีการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศโดยลดวันกักตัวลง แต่ก็ยังถือว่าเข้มงวดกว่าประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัดส่วนใน GDP จีนค่อนข้างสูง (การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ 12.9% ต่อ GDP ในปี 64) ยังเผชิญความเปราะบางต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ที่จีนเผชิญกับการผิดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ สถานการณ์ดังกล่าวยังคงสืบเนื่องมาจนปัจจุบันและยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายลง โดยอัตราส่วนการผิดนัดชำระหนี้ (Default Rate) ของหุ้นกู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ 40%ล่าสุด รายงานของ Moody?s ระบุว่า ได้มีการปรับอันดับเครดิตหุ้นกู้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจีนลงถึง 91 แห่งในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ในอดีต Moody?s มีปรับอันดับเครดิตหุ้นกู้เอกชนที่มีเพียง 56 แห่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา) ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนค่อนข้างมาก นอกจากนี้ล่าสุดสถานการณ์การก่อสร้างบ้านที่เป็นไปอย่างล่าช้าได้ส่งผลให้ทางผู้ลงทุน/ผู้ซื้อบ้านเริ่มปฎิเสธที่จะจ่ายเงินผ่อนชำระต่อ ซึ่งหากสถานการณ์ลุกลามจะส่งผลกระทบไปยังความเชื่อมั่นในภาพอสังหาริมทรัพย์และภาคธนาคาร ขณะที่สถานการณ์การระดมทุนหรือขอกู้ใหม่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นไปได้อย่างยากลำบาก โดยยังมีกฎ Three Red Lines ที่จำกัดการกู้เงินของภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการกำหนดเพดานในการปล่อยกู้ของภาคธนาคาร แม้ว่าทางการจีนจะมีเข้ามากระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์บางส่วนผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR 5 ปีและผ่อนคลายกฎต่าง ๆ แต่สถานการณ์ปัจจุบันและความเชื่อมั่นที่ยังไม่กลับมาจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังเป็นปัจจัยฉุดรั้งการเติบโตของภาคเศรษฐกิจในระยะต่อไปแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับryt9https://www.ryt9.com/s/iq03/3339414
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
การวางแผนทางการเงิน
26/04/2023
1) ดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติการดำรงชีวิตในแต่ละวันของทุกๆคนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ค่าใช้จ่ายบางส่วนก็อาจมากบ้างน้อยบ้างไม่ได้คงที่เท่ากันทุกวัน บางคนอาจยังไม่เคยรู้เลยว่าแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าเท่าไร ดังนั้นหากไม่มีการวางแผนการเงินในการจัดการรายได้ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า อาจส่งผลทำให้บางช่วงเวลาต้องมานั่งก่ายหน้าผากหาทางออกไม่เจอว่าจะหารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งไหนให้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตประจำวันตาม lifestyle ที่เป็นวิถีปกติ2) ตอบสนองความความสะดวกสบายและเป้าหมายเฉพาะเพิ่มเติมทุกๆคนย่อมคาดหวังว่าชีวิตในวันพรุ่งนี้จะดีขึ้น บางคนอาจวาดฝันถึงอนาคตที่มีความสะดวกสบายเพิ่มเติมจากเครื่องอำนวยความสะดวก gadget technology IT พร้อม accessorites ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Notebook ทรงพลัง มือถือพร้อมกล้องหลักละเอียดทะลุร้อยล้านพิกเซล นาฬิกา Smart Watch ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังอินเทรนด์ หรือบ้านหลังใหม่ที่ใหญ่และมีห้องสำหรับสมาชิกตัวเล็กที่เป็นของขวัญจากฟากฟ้า เป้าหมายเฉพาะเพิ่มเติมเหล่านี้ไม่ใช่เงินจำนวนน้อยอย่างแน่นอน และถ้าหากไม่มีการวางแผนการเงินที่ดีพอคุณก็อาจจะต้องตื่นจากฝันดีมาพบว่าฝันสลายไปกับชีวิตจริงที่ยังอาจไม่สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติ3) สร้างความมั่นคงในชีวิตเมื่อชีวิตของแต่ละคนผ่านการเดินทางมาครึ่งค่อนชีวิต หลายคนก็จะเริ่มมองถึงความมั่นคงในชีวิต อยากมีบั้นปลายชีวิตที่สุขสบาย และสามารถผ่านวันร้ายๆกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยไม่ทำให้ความมั่งคั่งที่สะสมมาต้องสูญเสียไปจนทำให้ชีวิตต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ความมั่นคงในชีวิตจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการวางแผนการเงินอย่างรอบด้านที่บูรณาการทุกๆมิติของแผนการเงินเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นแผนสภาพคล่อง แผนบริหารหนี้ แผนการลงทุน แผนการประกัน แผนเพื่อวัยเกษียณ และแผนภาษีและ นี่ก็คือ 3 เหตุผลง่ายๆที่เป็นคำตอบว่า ทุกคนต้องมีการวางแผนทางการเงินวันนี้ เพื่อสร้างชีวิตที่ดีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ให้ชีวิตมีความมั่งคั่ง มั่นคง และ ยั่งยืน!!!แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับThaiPFAhttps://thaipfa.co.th/news/view/156
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
22/11/2024
29/04/2024
22/01/2025
06/09/2024
30/04/2024