ข่าวการเงิน
"หนี้เรื้อรัง" ใครเข้าข่ายบ้าง มีลักษณะอย่างไร
และต้องรุนแรงแค่ไหน แบงก์ชาติถึงต้องเร่งแก้ไข
แนวทางเบื้องต้นเป็นแบบไหนก่อนจะเริ่มใช้จริง 1 เม.ย. 67
จากความคืบหน้าแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนของธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) หรือแบงก์ชาติ
ซึ่งกำลังจะทยอยออกแนวทางและมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้
โดยสิ่งที่แบงก์ชาติเป็นห่วงมี 4 ด้าน หนี้ที่ต้องเร่งแก้ไข คือ หนี้เสีย
หนี้เรื้อรัง หนี้ใหม่เพิ่มขึ้นเร็ว และหนี้นอกระบบ
เพราะล้วนเป็นต้นตอของปัญหาหนี้ครัวเรือน จากปัจจุบันหนี้ครัวเรือนมีอยู่
16 ล้านล้านบาท หรือ 90.6% ต่อจีดีพี
โดยเฉพาะหนี้เรื้อรังที่แบงก์ชาติจะเริ่มแก้ไขก่อนเป็นอย่างแรก
ซึ่งเป็นหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียและมีโอกาสเห็นทางปิดจบหนี้ได้
แล้วใครบ้างที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง ลักษณะของหนี้เรื้อรังเป็นอย่างไร
ลักษณะของหนี้เรื้อรัง คือ
1. กู้หนี้ใหม่ไปจ่ายหนี้เก่า
2.จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
3.จ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสด ไม่จบไม่สิ้น
4.หมุนเวียนหนี้ ปิดจบหนี้ไม่ได้
5.กู้สหกรณ์เพิ่มตามเงินเดือนที่เพิ่มจนเกษียณ
6.หนี้เกษตรกรที่ชำระดอกเบี้ยเป็นหลัก
สำหรับแนวทางแก้ไขหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) เป็นลูกหนี้ Revolving
Personal Loan หรือเป็นหนี้ส่วนบุคคลหมุนเวียน
แม้จะจ่ายหนี้ได้แต่ปิดจบหนี้ไม่ได้หรือต้องใช้เวลานานมากเกินไป
ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตามแนวทางเบื้องต้นของแบงก์ชาติ
– ลูกหนี้เรื้อรังปกติ จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
เป็นระยะเวลา 3 ปี วิธีคือ
ต้องให้สถาบันการเงินส่งแจ้งให้ลูกหนี้ปรับพฤติกรรมก่อนกลายเป็นหนี้เรื้อรังรุนแรง
โดยแจ้งว่าเป็นหนี้เรื้อรัง เพราะจ่ายดอกเบี้ยมาก
ควรเพิ่มการจ่ายชำระเพื่อปิดหนี้ไวขึ้น
และอธิบายลูกหนี้ว่าหากต้องจ่ายแต่ขั้นต่ำต่อเนื่องกว่าจะปิดหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยมากเท่าไร
– ลูกหนี้เรื้อรังรุนแรง จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น
เป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี วิธีคือ ให้ทางเลือกลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้
ให้จบหนี้ภายใน 5 ปี ค่างวดต่อเดือนต้องให้ลูกหนี้สามารถจ่ายชำระได้
และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง หรืออาจกำหนดเงื่อนไขการเข้ามาตรการ เช่น
ปิดวงเงินโดยอาจมี room สำหรับกรณีฉุกเฉิน
หรือมีระบบบันทึกประวัติการได้รับความช่วยเหลือ
30/04/2024
30/04/2024
11/10/2024
29/04/2024
30/04/2024