ประกันภัย
รู้หรือไม่? การพลัดตกหกล้ม หรืออุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานมักเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ต้องสูญเงินในกระเป๋าไปอย่างน่าเสียดาย จากรายงานสถิติตัวเลขของการแจ้งเหตุผู้ป่วยฉุกเฉินผ่านสายฉุกเฉิน 1669 ของประชาชนในวัยแรงงานตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2561 –จนถึงวันที่ 30 เมษายน 61 มีการแจ้งเหตุการพลัดตกหกล้ม หรืออุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานเข้ามามากถึง 42,127 คน
noon know สถิติการแจ้งเหตุผู้ป่วยฉุกเฉินของวัยแรงงาน 3 อันดับแรก ได้แก่
• อุบัติเหตุจากยานยนต์
• อาการป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง
• อาการปวดท้อง, หลัง, เชิงกราน
จากข้อมูลสถิติที่ได้กล่าวมาในข้างต้นยิ่งช่วยย้ำเตือนให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่าอุบัติเหตุไม่เคยเป็นเรื่องไกลตัว ถึงแม้ว่าเราจะทำสิ่งนั้นอยู่เป็นประจำ หรือจนเคยชิน แต่อุบัติเหตุก็ไม่เคยปราณีใคร ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจึงอาจกลายเป็นอีกหนึ่งหลักประกันสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินของเราไว้แม้ในยามที่ต้องล้มหมอนนอนเสื่อ
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) คือ
การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ โดยบริษัทประกันภัยจะเข้ามารับผิดชอบเรื่องภาระค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล หรือจ่ายค่าชดเชยให้ในกรณีทุพพลภาพ สูยเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตโดยมีผลประโยชน์ความคุ้มครองพื้นฐานมีให้เลือก 2 แบบ ดังนี้
ประกันอุบัติเหตุแบบอบ.1
1. จ่ายเงินก้อนเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
2. จ่ายเงินชดเชยเมื่อผู้เอาประกันสูญเสียอวัยวะ/สายตาจากอุบัติเหตุ
3. จ่ายเงินชดเชยเมื่อผู้เอาประกันทุพลภาพถาวร/ชั่วคราว สิ้นเชิงจากอุบัติเหตุ
4. จ่ายเงินชดเชยเมื่อผู้เอาประกันทุพลภาพชั่วคราวบางส่วนจากอุบัติเหตุ
5. จ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนผู้เอาประกัน
ประกันอุบัติเหตุแบบอบ.2
1. จ่ายเงินก้อนเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
2. จ่ายเงินชดเชยเมื่อผู้เอาประกันสูญเสียอวัยวะ/สายตาจากอุบัติเหตุ
3. จ่ายเงินชดเชยเมื่อผู้เอาประกันทุพลภาพถาวร/ชั่วคราว สิ้นเชิงจากอุบัติเหตุ
4. จ่ายเงินชดเชยเมื่อผู้เอาประกันทุพลภาพชั่วคราวบางส่วนจากอุบัติเหตุ
5. จ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนผู้เอาประกัน
6. จ่ายเงินชดเชยในกรณีที่สูญเสียนิ้ว/การฟัง/การพูด และทุพลลภาพถาวรบางส่วน
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) จำเป็นแค่ไหนที่ต้องมี
ตอบ หากมีเงินสำรองมากพอที่จะครอบคลุมค่ารักษาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หรือมีหลักประกันสุขภาพอื่นๆที่แข็งแรงมากพอก็อาจไม่จำเป็นต้องมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเพิ่มอีก แต่ถ้าไม่มี “ประกันอุบัติส่วนบุคคล” ก็อาจเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ควรมีติดตัวไว้ เพราะเบี้ยประกันไม่สูงมากนัก แต่ได้รับความคุ้มครองเกือบครอบคลุมทุกเหตุไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเราในอนาคตได้
ใครบ้างที่ควรมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ไว้ในครองครอง
• คนที่มีไลฟ์สไตล์โลดโผน อาทิเช่น ชอบเล่นกีฬา เดินทางท่องเที่ยวบ่อย
เด็กเล็ก เนื่องจากความซุกซนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ
• คนที่ต้องการเครื่องมือช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน
• คนที่ต้องการขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมมากขึ้นจากหลักประกันสุขภาพที่มีอยู่ในปุจจุบัน
• คนที่มีลักษณะการทำงานเอื้อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อาทิเช่น พนักงานเช็ดกระจนบนตึกสูง
• คนที่ไม่สามารถทำประกันชีวิตได้ เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : assurity.com, aar-insurance.ke, oic.or.th/th
แหล่งที่มาข่าว noon
30/04/2024
15/08/2024
30/04/2024
29/04/2024
22/10/2024