ข่าวการเงิน
บทความโดย “ณัฎฐ์วัฒน์ วรพุทธาฉัตร”
AFPTTM, IP สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
วันที่ 16 มกราคม 2567 ปัจจุบันการขอใช้สินเชื่อมีความสะดวก รวดเร็ว
โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล และยิ่งมีการอนุมัติวงเงิน Microfinance
เป็นไปโดยง่าย ประกอบกับขั้นตอนการตรวจสอบไม่เคร่งครัดนัก
ส่งผลให้มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาการใช้จ่ายเกินตัวค่อนข้างสูง เช่น
การใช้สินเชื่อผ่านบัตรกดเงินสดหรือบัตรเครดิต
ซึ่งเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า
ประกอบกับถ้าผู้ใช้แยกไม่ออกว่าอะไรคือ ความจำเป็น (Need) อะไรคือ
ความต้องการ (Want) เปรียบเสมือนการขาดวินัยทางการเงิน
ย่อมส่งผลกระทบในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นการขาดสภาพคล่อง
การกู้เงินในระบบและนอกระบบ การใช้สินเชื่อผิดประเภท
เช่น การกู้หนี้ระยะสั้นเพื่อมาเคลียร์หนี้ระยะยาว
และท้ายสุดก็จะเป็นดินพอกหางหมู เกิดหนี้สินล้นพ้นตัว ผลที่ตามมาคือ
การถูกฟ้องคดีแพ่ง (ถ้ากู้ในระบบ) หรือโดนทวงหนี้โหด (ถ้ากู้นอกระบบ)
อย่างไรก็ตาม หากเข้าใจกฎ 72 จะไม่เลือกทำวิธีนี้
กฎ 72 สามารถใช้หาระยะเวลาว่าเงินที่กู้มาจะเพิ่มเป็น 2
เท่าใช้เวลากี่ปี หรือถ้ารู้เวลาก็สามารถหาอัตราดอกเบี้ยได้เช่นกัน โดยเอา
72 เป็นตัวตั้ง หารด้วยอัตราดอกเบี้ยที่กู้มาต่อปี
ก็จะได้ระยะเวลาที่เงินจะกลายเป็น 2 เท่า หรือเอาระยะเวลาที่กู้ต่อปีหาร
ก็จะได้อัตราดอกเบี้ยที่กู้มา จะได้อัตราดอกเบี้ยที่กู้มาต่อปีเช่นกัน
นอกจากนี้ควรจะรู้ต้นทุนของสินเชื่อว่ามีกี่แบบ แต่ละแบบคิดอย่างไร
จะได้วางแผนว่าควรจะกู้แบบไหนที่เหมาะสมกับสิ่งที่จำเป็นและต้องการ
และเกิดผลกระทบต่อตัวผู้กู้น้อยที่สุด โดยต้นทุนของสินเชื่อ (Cost of
Credit) มีวิธีการคำนวณดอกเบี้ย 3 วิธี
1.แบบลดต้นลดดอก (Simple Interest Method) เช่น การกู้บ้าน
เจ้าหนี้จะคิดอัตราดอกเบี้ยจากมูลหนี้ที่เหลืออยู่
ซึ่งจะเท่ากับดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate)
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
2.แบบหักดอกล่วงหน้า (Discount Method) เช่น แชร์หักดอก หรือจำนองบ้าน
จะโดนหักดอกเบี้ยล่วงหน้า ตัวอย่างกู้เงิน 1 ล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ย 10%
ต่อปี แต่หัก 1 เดือนล่วงหน้าจะได้เงินจริง 9 แสนบาท
ซึ่งดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับ 11.11%
3.แบบเงินต้นคงที่ (Add-on Method หรือ Flat Rate) เช่น
การผ่อนรถหรือสินค้าเงินผ่อน หรือการกู้เงินเพื่อการบริโภค
เจ้าหนี้จะบวกดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องชำระทั้งหมดเข้าไปกับเงินต้นแล้วเฉลี่ยเป็นงวด
ๆ ตามจำนวนที่ลูกหนี้ต้องชำระ
ยิ่งชำระนานดอกเบี้ยจะยิ่งแพงเนื่องจากเงินต้นลดลง
ปกติดอกเบี้ยต้องลดตาม แต่ในความเป็นจริงวิธีนี้
จะคิดจากเงินต้นที่กู้มาครั้งแรก
ทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากับดอกเบี้ยในงวดแรกเท่านั้น ส่วนงวดต่อ ๆ
ไปจะสูงกว่าดอกเบี้ยที่กำหนด ยิ่งการผ่อนรถมือสอง
นอกจากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงแล้ว ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7% ทุก ๆ
งวดที่มีการผ่อน ซึ่งผู้เช่าซื้อรถมือสองถือว่าเสียเปรียบทุกประเด็น
การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก่อนตัดสินใจก่อหนี้ควรถามตัวเองก่อนว่า
ก่อหนี้เพื่ออะไร มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน
มีรายได้เพียงพอจ่ายหนี้คืนหรือไม่
เพื่อทำให้การเป็นหนี้ไม่กลับมาสร้างปัญหาให้ตัวเอง
แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/finance/news-1479970
29/04/2024
30/04/2024
30/04/2024
30/04/2024
30/04/2024