ข่าวการเงิน
บทความโดย "กชจุฑา เพียรวนิช"
ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
วันที่ 29 เมษายน 2567
คำว่าเกษียณอาจฟังดูน่าเบื่อและห่างไกลจากความคิดในหลาย ๆ คน
คำว่าเกษียณในอดีตอาจหมายถึง
คนสูงวัยที่เลิกทำงานและใช้ชีวิตทั้งวันอยู่กับบ้านเป็นส่วนใหญ่
ด้วยคำนิยามเหล่านี้อาจทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สนใจในเรื่องวางแผนเกษียณ
เพราะยังรู้สึกว่าไกลตัว
แต่ถ้านิยามคำว่าเกษียณใหม่ในยุคนี้ คำว่าเกษียณหมายถึง “อิสระ”
อิสระในการเลือกใช้ชีวิตที่ต้องการและงานเป็นแค่ทางเลือกว่าจะทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้
เพราะมีเงินเก็บเพียงพอ อาจจะเกษียณตอนอายุ 40 ปี 50 ปี
หรืออาจจะทำงานไปจนถึง 70 ปี เพราะยังสนุกและมีความสุขกับการทำงาน
ถ้าอยากจะมีอิสระในการใช้ชีวิตและตั้งใจเริ่มวางแผนเกษียณวันนี้มีหลักการเลือกใช้เครื่องมือวางแผนเกษียณ
ดังนี้
ตรวจสอบเครื่องมือสำหรับเก็บเงินเกษียณ
เชื่อว่าหลายคนมีแผนในใจว่าอยากจะมีรายได้เท่าไหร่หลังเกษียณ
บางคนอาจจะเริ่มคำนวณเงินก้อนที่จำเป็นต้องมีในวันเกษียณ เช่น 10 ล้านบาท
20 ล้านบาท
แต่หลายคนอาจสงสัยหรือไม่รู้ว่าจะเก็บเงินเกษียณไว้ที่ไหนเพื่อให้ได้เงินเกษียณอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้
ดังนั้น การเลือกเครื่องมือเก็บเงินและลงทุนเพื่อเกษียณ จึงมีความสำคัญ
โดยมี 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้
อาชีพ
เครื่องมือเก็บเงินเพื่อการเกษียณ
ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรสามารถลงทุนได้ทั้งหมด
ยกเว้นบางเครื่องมือที่มีเงื่อนไขเรื่องอาชีพที่ต้องพิจารณาเพิ่ม
1. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เฉพาะข้าราชการที่สามารถลงทุนใน กบข.
2. ประกันสังคมมีทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1548147
– มาตรา 33 (ภาคบังคับ)
สำหรับลูกจ้างในระบบเป็นภาคบังคับต้องส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม 5%
ของเงินเดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
– มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับลูกจ้างที่เคยประกันตนมาตรา 33
นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12
เดือนและต้องการรับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องจากประกันสังคม โดยส่งเงิน 432
บาท/เดือน... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1548147
– มาตรา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับลูกจ้างนอกระบบหรืออาชีพฟรีแลนซ์
มีทางเลือกส่งเงิน 3 ทาง ทางเลือกที่หนึ่ง 70 บาท/เดือน ทางเลือกที่สอง 100
บาท/เดือน ทางเลือกที่สาม 300 บาท/เดือน
ซึ่งแต่ละมาตราจะได้รับผลประโยชน์ที่แตกต่างกันไป
3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) สำหรับพนักงานบริษัททั่วไป
เก็บเงินจากการหักเงินเดือนตามสัดส่วนที่เราต้องการ (2%-15%ของรายได้)
และได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง (2%-15%ของรายได้)
อย่างไรก็ตามเงินสมทบจากนายจ้างขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละบริษัทว่าจะสมทบเท่าไหร่
นอกจากนี้ Provident Fund ยังมีสิทธิประโยชน์เรื่องภาษี
สามารถนำส่วนเงินสะสมไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15%
ของเงินเดือนและสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
4. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
เหมาะสำหรับอาชีพอิสระที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐ นักเรียน
นักศึกษา ชาวไร่ชาวนา พ่อค้าแม่ค้า ฯลฯ สามารถออมเงินผ่าน กอช. ขั้นต่ำ 50
บาท/เดือน สูงสุด 1,100 บาท/เดือน และได้รับเงินสมทบจากรัฐบาล
เงินออมสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30,000 บาทต่อปี
เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับรายได้
มีบางเครื่องมือที่ต้องพิจารณาเรื่องเกณฑ์รายได้ที่ต้องเสียภาษี
จึงจะเลือกเก็บเงินผ่านเครื่องมือนี้ได้ เนื่องจากมีเงื่อนไขในการลงทุน
ดังนั้น ถ้ารายได้ไม่ต้องเสียภาษีก็ไม่ควรใช้เครื่องมือเหล่านี้
กองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี (RMF / SSF)
– กองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มีเงื่อนไขการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี คือ
ซื้อสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000
บาทเมื่อรวมกับเงินออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ( กบข. / กอช. /
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ประกันบำนาญ / SSF)
– กองทุนการออมระยะยาว (SSF) เงื่อนไขการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี คือ
ซื้อสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000
บาทเมื่อรวมกับเงินออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ไม่เกิน 500,000 บาท ( กบข. /
กอช. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ประกันบำนาญ / RMF)
นอกจากนี้ยังมีเครื่องอื่นๆ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้และไม่มีบทลงโทษกรณีซื้อเกินเงื่อนไข
– ประกันบำนาญ ลดหย่อนสูงสุดสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน
200,000 บาท เมื่อรวมกับเงินออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ไม่เกิน 500,000 บาท (
กบข. / กอช. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / SSF / RMF)
ประกันชีวิต/ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท
อายุ
อายุมีส่วนสำคัญในการเลือกเครื่องมือ บางเครื่องมือสามารถซื้อได้ถึงอายุ 55
ปี หรือ 60 ปี เช่น ประกันบำนาญหรือประกันสะสมทรัพย์บางแบบ
นอกจากนี้สำหรับคนอายุมาก เช่น อีก 45 ปี 50 ปี ใกล้เกษียณในอีก 5 -10 ปี
ต้องเลือกลงทุนในเครื่องมือที่ความเสี่ยงไม่สูงมากเพื่อไม่ให้เงินต้นขาดทุน
เครื่องมือที่กล่าวมามีการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายและมีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
ดังนั้น ต้องเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับอายุและความเสี่ยงที่รับได้
ทำความเข้าใจสินทรัพย์การลงทุน
เครื่องมือวางแผนเกษียณแต่ละอย่างมีการลงทุนที่แตกต่างกัน ดังนั้น
ต้องเรียนรู้สินทรัพย์ลงทุน (Asset Class) โดยสินทรัพย์พื้นฐานที่ควรรู้มี 5
ประเภท
1. เงินสด หรือเงินฝากธนาคาร ใช้เก็บเพื่อเป็นสภาพคล่องหรือใช้เป็นเงินฉุกเฉิน ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ธนาคาร โดยเงินฝากจะได้รับผลตอบแทนคือดอกเบี้ย
2. ตราสารหนี้ ถ้าให้รัฐบาลกู้ยืมเงิน เรียกว่า พันธบัตรรัฐบาล
ตั๋วเงินคลัง ถ้าให้บริษัทกู้ยืมเงิน เรียกว่า หุ้นกู้
ส่วนใหญ่แล้วตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง
ความผันผวนต่ำถึงปานกลาง
ใช้ลงทุนเพื่อสร้างสภาพคล่องหรือลงทุนเพื่อเน้นกระแสเงินสดรับอย่างต่อเนื่อง
ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ คือ ดอกเบี้ยและส่วนต่างราคา
3. หุ้น มีความเสี่ยงสูง และมีความผันผวนสูง
ลงทุนเพื่อเน้นเติบโตสูงและโอกาสได้ผลตอบที่ชนะเงินเฟ้อ ผลตอบแทน คือ
กำไรส่วนต่างจากราคาหุ้นและเงินปันผล
4. อสังหาริมทรัพย์ มีความเสี่ยงสูง สภาพคล่องต่ำ
ลงทุนเพื่อการเติบโตของเงินลงทุนหรือสร้างกระแสเงินสดประจำจากค่าเช่า
โดยสามารถลงทุนทางตรงโดยการซื้อบ้าน
คอนโดหรือลงทุนทางอ้อมผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)
ได้เช่นกัน ผลตอบแทน คือ ส่วนต่างราคาและค่าเช่า
5. สินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ
สินทรัพย์ที่หลายคนนิยมและมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (safe heaven)
มักลงทุนเพื่อไว้กระจายความเสี่ยงเพราะให้ผลตอบแทนที่ดีสวนทางกับเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี
มีสภาพคล่องสูง ผลตอบแทน คือ ส่วนต่างราคา
หากรู้จักเครื่องมือให้เหมาะสมกับอาชีพ รายได้ และระยะเวลาของตัวเอง
รวมถึงการเข้าใจสินทรัพย์ลงทุน
จะทำให้การบริหารเงินเพื่อการเกษียณเป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากขึ้น
ย่อมส่งผลให้การวางแผนเพื่อการเกษียณมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นเช่นกัน
แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์
30/04/2024
29/04/2024
06/03/2024
30/04/2024
30/04/2024