สุขภาพ

นักวิจัยเผย อัตราการเกิดมะเร็งจะสูงขึ้นในกลุ่มคนมิลเลนเนียล และ Gen X สาเหตุจากการรับประทานอาหาร


การศึกษาชี้ให้ถึงการเกิดมะเร็งหลายประเภทที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง มิลเลนเนียล และ Gen X เมื่อเทียบกับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ เชื่อว่าสาเหตุมาจากการใช้ชีวิต โรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น และอาหารแปรรูปที่อาจก่อให้เกิดโทษ


ปัจจุบันด้วยปัจจัยต่างๆ บนโลกของเราทั้งมลภาวะ พฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารทางเลือก และอีกมากมายที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากโรคระบาดที่ผ่านมา ทำให้ความน่าจะเป็นที่จะเกิดมะเร็งเกือบ 20 ชนิดเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลและเจเนอเรชัน X เมื่อเทียบกับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ โดยนักวิจัยเชื่อว่ามาจากอัตราโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น การบริโภคอาหารแปรรูปพิเศษมากขึ้น และพฤติกรรมการใช้ชีวิตในกลุ่มคนรุ่นใหม่ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุได้


นักวิจัยพบว่าอัตราการเกิดของโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในกลุ่มคนเจเนอเรชัน X และคนรุ่นมิลเลนเนียล เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราในกลุ่มคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ตามการศึกษา Lancet study โดย The American Cancer Society


ทั้งหมดคือการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเก็บสถิติจากชาวอเมริกัน 23.6 ล้านคน โดยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ทั้งหมด 34 ชนิด และเสียชีวิต 7.4 ล้านคน จากมะเร็ง 20 ชนิด โดยผู้เข้าร่วมนี้มีอายุระหว่าง 25 ถึง 84 ปี ในปี 2000 ถึง 2019 


ปัจจุบันแม้ว่าอัตราการเสียชีวิตของมะเร็งส่วนใหญ่จะคงที่ หรือลดลงในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่ก็มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นสำหรับมะเร็งมดลูก ตับ (เฉพาะในผู้หญิง) ถุงน้ำดี อัณฑะ และมะเร็งลำไส้ใหญ่


จากสถิติเมื่อเทียบกับคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ โดย 12% ของโรคมะเร็งที่เกิดสูงขึ้น คือ มะเร็งรังไข่ ไปจนถึง 169% ที่สูงขึ้นสำหรับมะเร็งมดลูก




มะเร็งชนิดใดที่เพิ่มขึ้นใน คนกลุ่ม Gen X และมิลเลนเนียล


มะเร็งที่เพิ่มขึ้นในคนรุ่นใหม่ และพบได้บ่อยมีถึง 15 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งมดลูก มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งเต้านมชนิดรับฮอร์โมนเอสโตรเจน มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับของผู้หญิง  มะเร็งช่องปากและลำคอที่ไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อ HPV ในเพศหญิง  มะเร็งทวารหนักชาย, มะเร็งคาโปซิซาร์โคมาชายและคาร์เดียในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารคาร์เดียที่ไม่ใช่กระเพาะอาหาร


นอกจากนี้การศึกษาพบว่า คนรุ่นมิลเลนเนียลมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ไต และกระดูกเชิงกรานไตมากกว่าคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ถึง 2-3 เท่า และ Gen X มีอัตราสูงสุดในกลุ่มมะเร็งช่องปาก และลำคอที่ไม่เกี่ยวข้องกับ HPV เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีอายุมากกว่า




ทำไมอัตราการเป็นมะเร็ง จึงเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่


นักวิจัยจาก Lancet study เชื่อว่าอัตราการเกิดมะเร็งที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ว่าคนรุ่นใหม่มีความเสี่ยงต่อสารก่อมะเร็งที่แฝงมาในชีวิตช่วงแรกๆ มากกว่าคนรุ่นเก่าในบรรดามะเร็ง 15 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้น


นอกจากนี้โรคอ้วน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็มีส่วนเช่นกัน เกี่ยวเนื่องจากอัตราคนที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นมานานหลายทศวรรษ และเกือบครึ่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะเป็นโรคอ้วนภายในปี 2573 ตามการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine


การเพิ่มขึ้นของมะเร็งในทางเดินอาหารอาจชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอมในลำไส้ เนื่องจากการรับประทานอาหารที่คนรุ่นใหม่กินตามที่นักวิจัยของ Lancet การศึกษาหลายชิ้นได้เชื่อมโยงการรับประทานอาหารที่มีอาหารแปรรูปเป็นพิเศษและยาปฏิชีวนะในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีการพบว่าคนรุ่นใหม่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแปรรูปพิเศษในหมู่ชาวอเมริกันเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2544


อย่างไรก็ตาม “มะเร็งปากมดลูก” นั้นลดลงอย่างมาก สวนทางในกลุ่มคนรุ่น Millennial และ Gen X โดยเฉพาะในผู้หญิงรุ่น Millennial นักวิจัยกล่าวว่าสิ่งนี้อาจเชื่อมโยงกับวัคซีน HPV ที่ได้รับการอนุมัติครั้งแรกในปี 2549 สำหรับเด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 9 ถึง 26 ปี หรือห้าปีก่อนที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้กับผู้ชาย


Ahmedin Jemal ผู้เขียนอาวุโสของการศึกษา Lancet และรองประธานอาวุโสของ การเฝ้าระวังและความเสมอภาคด้านสุขภาพของ American Cancer Society กล่าวเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ว่า “อดีตวัคซีน HPV นี้ถูกมองว่าเป็นวัคซีนสำหรับผู้หญิงเพียงอย่างเดียว แม้ว่าผู้ชายจะได้รับประโยชน์จากวัคซีนก็ตาม แต่ปัจจุบันมีการส่งต่อความรู้ที่สำคัญ ซึ่งส่งผลให้เกิดผลกระทบในทิศทางบวก รวมทั้งสถิติการเพิ่มขึ้นของอัตราการเป็นมะเร็งในกลุ่มคนอายุน้อยนี้ อาจบ่งชี้ถึงวิธีการป้องกัน เทคโนโลยี และความรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตในกลุ่มคนรุ่นต่อไป เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่มีโอกาสเพิ่มขึ้น แต่ก็สามารถป้องกันเพื่อให้อัตราส่วนนี้ลดลงได้ในเวลาเดียวกัน"


ข้อมูล : Forbes


ภาพ : istock


แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับไทยรัฐออนไลน์
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2805005
X