Everyday knowledge for you
ภาษี
30/04/2024
บทความโดย “ยุทธภูมิ เกียรติอุ้มสม” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 การวางแผนทางการเงินเป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเงินของแต่ละบุคคล ทำให้เกิดความมั่นคงในชีวิตและตอบสนองต่อความต้องการและเป้าหมายเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ ซึ่งประกอบไปด้วย แผนการลงทุน แผนการประกัน แผนเพื่อวัยเกษียณ และแผนทางภาษี ภาษีถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของการประกอบกิจการ นอกจากการเพิ่มรายได้เพื่อให้มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นแล้ว การลดต้นทุนด้วยการวางแผนทางภาษีก็เป็นการเพิ่มรายได้สุทธิด้วยเช่นกัน ดังนั้นแผนทางภาษีจึงมีความสำคัญและการวางแผนภาษีได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดจะช่วยลดภาระทางภาษีได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาโดยกรมสรรพากร ซึ่งรัฐบาลนำภาษีที่จัดเก็บได้ไปใช้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ จัดบริการสาธารณะที่เอกชนไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระจายความมั่งคั่งอย่างยุติธรรม โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถูกจัดเก็บตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ด้วยการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ 91 และวันที่ 1 กรกฎาคมถึงวันที่ 30 กันยายน ด้วยการยื่นแบบภ.ง.ด. 94 ของทุกปี หากผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ย่อมทำให้เกิดความรับผิดทางแพ่งและทางอาญา กรณีต่าง ๆ ดังนี้ บทกำหนดโทษทางแพ่ง เป็นความรับผิดที่ต้องถูกบังคับให้ชำระหนี้ กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน้าที่ของผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีความรับผิดดังต่อไปนี้ 1. กรณีผู้ต้องเสียภาษีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจะออกหมายเรียกมาไต่สวน หรือสั่งให้นำพยาน บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบ และประเมินให้ถูกต้องตามพยานหลักฐานที่ปรากฎหรือประเมินตามที่รู้ว่าถูกต้อง ซึ่งผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ 2. กรณีผู้ต้องเสียภาษีเงินได้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี เจ้าพนักงานประเมินจะออกหมายเรียกมาไต่สวน หรือสั่งให้นำพยาน บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบ และประเมินให้ถูกต้องตามพยานหลักฐานที่ปรากฎหรือประเมินตามที่รู้ว่าถูกต้อง ซึ่งผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ นอกจากนี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาทจากการไม่ยื่นแบบเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ 3. นอกจากเบี้ยปรับตามแต่กรณีที่กล่าวมาแล้ว ผู้ต้องเสียภาษีเงินได้ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องเสียโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แต่เงินเพิ่มนั้นไม่เกินจำนวนภาษีทั้งหมดที่ต้องเสีย ตัวอย่างเช่น ผู้ต้องเสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบและมีหมายเรียกให้นำพยานหลักฐานต่าง ๆ มาแสดงเพื่อตรวจสอบ ณ วันที่ 15 มิถุนายน และปรากฎว่ามีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องเสียจำนวน 100,000 บาท ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีที่ต้องชำระจากการไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีจำนวน 200,000 บาท และต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม โดยนับจากวันที่ 31 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ต้องยื่นเสียภาษีประจำปีถึงวันที่ 15 มิถุนายน เป็นเวลา 2 เดือน กับอีก 15 วัน ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนจากภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย 100,000 บาท เป็นจำนวน 1,500 บาทต่อเดือน รวมทั้งสิ้น 3 เดือน เป็นจำนวน 4,500 บาท และต้องระวางโทษปรับจากการไม่ยื่นแบบเสียภาษีภายในกำหนดเวลาอีก 2,000 บาท ดังนั้นผู้ต้องเสียภาษีต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและค่าปรับจากการไม่ยื่นแบบเสียภาษีภายในกำหนดเวลาจำนวนทั้งสิ้น 306,500 บาท บทกำหนดโทษทางอาญา เป็นความรับผิดที่มีลักษณะผูกพันต่อตัวบุคคลไม่ใช่ทรัพย์สิน ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน้าที่ของผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีความรับผิดดังต่อไปนี้ 1. กรณีจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังต่อไปนี้ 1.1. เจ้าพนักงานประเมินเรียกให้มาชำระภาษีเงินได้ที่คงค้าง หรือเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี และเรียกให้นำพยาน บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอันจำเป็นในการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่คงค้าง ซึ่งต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน 1.2. เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกผู้ต้องเสียภาษีมาไต่สวน กรณียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง และให้นำพยาน บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาแสดง ซึ่งต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน 1.3. เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกผู้ต้องเสียภาษีมาไต่สวน กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีและให้นำพยาน บัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาแสดง ซึ่งต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน 1.4. คณะกรรมการอุทธรณ์ออกหมายเรียกผู้ต้องเสียภาษีที่ทำการอุทธรณ์มาไต่สวน และให้นำพยานบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาแสดง ซึ่งต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน 2. กรณีเจตนาแจ้งข้อความเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ นำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง หรือโดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือขอคืนภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปีและปรับตั้งแต่สองพันถึงสองแสนบาท 3. กรณีเจตนาไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้การหลีกเลี่ยงไม่แสดงรายการเสียภาษี หรือยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้องที่มีจำนวนตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขี้นไป รวมทั้งการขอคืนเงินภาษีอากรที่มีจำนวนตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป โดยกระทำในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย และมีพฤติกรรมปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้ถือเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ตรี อย่างไรก็ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 8/2564 มีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติดังกล่าวเพิ่มภาระและจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกินสมควรแก่เหตุจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้นประมวลรัษฎากรมาตรา 37 ตรี ที่ให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจึงไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป การวางแผนภาษีมีความจำเป็นต่อการบริหารกระแสเงินสดและความมั่งคั่งของบุคคล เพื่อให้เกิดความมั่นคงและตอบสนองต่อความต้องการและเป้าหมายในชีวิต แต่อย่างไรก็ตามการวางแผนภาษีต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่วางแผนด้วยการหลบหลีก (Avoidance) คืออาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยง (Evasion) คือใช้วิธีที่ผิดกฎหมาย เพราะนอกจากจะมีบทลงโทษทางแพ่งด้วยการเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้ว ยังมีบทลงโทษทางอาญาที่มีโทษจำคุก ส่งผลต่อความมั่นคงและกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการในชีวิตอย่างแน่นอน ดังนั้นการวางแผนภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดจึงมีความสำคัญและเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1355436
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
25/07/2023
กรุงเทพฯ 25 กรกฎาคม 2565 - เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด และ นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ เอไอเอ ประเทศไทย รับรางวัลอันทรงเกียรติ “Marketeer No.1 Brand Thailand 2023” ติดต่อกันเป็นปีที่ 12 โดยในปีนี้เอไอเอ ประเทศไทย ได้รับรางวัลแบรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ของประเทศไทย ถึง 2 รางวัล ได้แก่ สาขาประกันชีวิต และสาขาประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นรางวัลที่มาจากการวิจัยของนิตยสารมาร์เก็ตเธียร์ (Marketeer) ร่วมกับ บริษัท มาร์เก็ตติ้ง มูฟ จำกัด สำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวนถึง 5,500 ตัวอย่าง จากผู้บริโภคทั่วประเทศ รางวัลดังกล่าว จึงนับเป็นอีกหนึ่งรางวัลแห่งความภาคภูมิใจและเป็นเครื่องตอกย้ำถึงความสำเร็จของเอไอเอ ในฐานะบริษัทประกันชีวิตและสุขภาพอันดับ 1 ที่อยู่เคียงข้างคนไทยมานานกว่า 85 ปี อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของผู้บริโภคทั่วประเทศที่มีต่อแบรนด์ ทั้งนี้ เอไอเอยังคงมุ่งมั่นที่จะดูแลลูกค้าทุกท่านอย่างดีที่สุด ควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นมากกว่าบริษัทประกันชีวิต เพื่อสร้างสรรค์โซลูชันด้านผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีนวัตกรรม พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกช่วงชีวิต ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives - เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’ ซึ่งพิธีมอบรางวัลดังกล่าวจัดขึ้น ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
คอลัมน์ : ระดมสมองผู้เขียน : สถาบันพัฒนาโรงพยาบาล สมาคมโรงพยาบาลเอกชนเมื่อ 60 ปีก่อน ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีเศรษฐกิจเติบโตไว เรียกว่า 5 เสือแห่งเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และไทย จากปี 2508 ประเทศทั้งห้ามีรายได้ต่อหัวประชากร แบ่งเป็นมีรายได้ราว 3,000 บาท/คน/ปี สำหรับไทย ไต้หวัน และเกาหลีใต้ และราว 9,000 บาท/คน/ปี ของฮ่องกงและสิงคโปร์มาถึงปี 2563 ประเทศอื่นทุกประเทศมีรายได้ต่อหัวเพิ่มกว่า 200 เท่า คือ รายได้ต่อหัวขึ้นไป 1-2 ล้านบาท/คน/ปี ในขณะที่ไทยที่เราพูดกันถึงติดกับดักรายได้ปานกลาง เพิ่มไม่ถึง 100 เท่า หรือยังอยู่ที่ 200,000 บาท/คน/ปี ในระยะเวลาราว 60 ปีเท่ากันทางตัวแทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชนได้รับเชิญไปดูงานในไต้หวัน ติดต่อกันทุกปีในช่วง 5-7 ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสศึกษาทำความเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของไต้หวัน อยากมาเล่าให้ฟังเผื่อระบบที่ไทยใช้อยู่ถึงทางตันจะได้มีทิศทางแก้ไข เราต้องถือว่าระบบหลักประกันสุขภาพที่ใช้ในไต้หวันเป็นระบบที่ดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่งที่ว่าดีคือ คนใช้บริการในระบบเยอะ 100% เป็นระบบเปิดและมีความยืดหยุ่น มีความมั่นคง ยั่งยืน เศรษฐกิจไต้หวันจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร สมาชิกก็สามารถดูแลกองทุนนี้ได้เองระบบที่นี่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยใครคนใดคนหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับประชาชนทุกคนตามฐานะ และอาชีพของแต่ละคน เขาถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศ GDP ต่อประชากรเพิ่มขึ้นสูง จึงจะสามารถส่งเสริมระบบหลักประกันสุขภาพที่ดีและมั่นคงได้ ทำให้ทุกคนสูงเท่าเทียมได้ ความเท่าเทียมไม่ใช่การสร้างนโยบายไม่ให้คนรวยรวยขึ้น แต่ต้องทำให้ “คนจนเลิกจน”รัฐต้องเปิดโอกาสชี้นำทาง คนจนจะต้องขยัน และรู้จักออม ประชาชนทุกคนจะมีรายได้มั่นคง เขาจึงให้ทุกคนมีร่วมจ่าย copayment เพราะการร่วมจ่ายที่เหมาะสมจะทำให้ทุกคนขยันทำงานและอดออมเพื่อสร้างตัวเอง และสร้างความมั่นคงของระบบทุกอย่าง รวมทั้งหลักประกันสุขภาพแต่การออกแบบของไทยเป็นระบบพึ่งพาตลอดไป ทำให้ประชาชนก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะมีพรรคการเมืองหาเสียงพูดถึงการสร้างรัฐสวัสดิการที่สุดโต่งไปกว่านี้อีก ไม่ใช่ไม่ดี แต่เราไม่มีเงินพอขนาดนั้นในตอนนี้ การทำให้สมาชิกนิยมมาใช้บริการที่ไม่ร่วมจ่ายของเรา คนมาใช้ในระบบแค่ 50% จำนวนใช้บริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 4-5 ครั้ง/คน/ปี เทียบกับของไต้หวันที่คนมาใช้เกือบ 100% จำนวนใช้บริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 15 ครั้ง/คน/ปีคนจะใช้สะดวกอยู่ที่การสร้างเครือข่ายการเข้าถึงในทุกโอกาส หากโรงพยาบาลเอกชนไทยไม่สามารถทนอยู่ในระบบได้ก็หายไป 30% แล้ว คลินิกก็อีก 20-30% เพราะเงินงบประมาณและรายได้ GDP ของประเทศไม่เติบโตพอที่จะหล่อเลี้ยงระบบไต้หวันมีประชาชนราว 24 ล้านคน เกือบทุกคน (99.9%) อยู่ภายในระบบประกันสุขภาพระบบเดียว ซึ่งแบ่งสมาชิกออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ 6 หมวด สมาชิกทั้งหมดยกเว้นคนจน 2.5 ล้านคน (10%) มีหน้าที่นำส่งเงินสมทบค่าประกันสุขภาพ (premium) ต่อ National Healthcare Insurance (NHI) นายจ้างอาจรวมถึงรัฐบาลด้วย กรณีคนจนรัฐบาลจ่ายเงินสมทบแทนทั้งยอด สมาชิกทุกคนสามารถรับการรักษากับสถานพยาบาลใด ๆ ก็ได้ ผู้ประกันตนต้องร่วมจ่าย (copay) ทุกครั้งที่ไปรับบริการในแต่ละระดับสถานบริการ ชำระกับสถานพยาบาลและ 4) การร่วมจ่ายนี้สูงสุดต่อปีต้องไม่เกิน 64,000 เหรียญไต้หวัน อันนี้ไม่รวมการร่วมจ่ายให้สถานพยาบาลในกรณีตามรสนิยม เช่น อยากใช้ห้องดีขึ้น ของใช้อุปกรณ์ดีขึ้น อยากได้…ต้องจ่ายเพิ่ม ซึ่งไม่เกี่ยวกับ copayment เช่น อยากรักษาด้วยการฉายแสงโปรตอน ต้องจ่ายเองคอร์สละ 1-1.8 ล้านเหรียญไต้หวัน เป็นต้นกองทุนมีความยืดหยุ่นในเชิงนโยบาย หากเงินไม่พอก็อาจออกมาตรการร่วมจ่ายบางอย่าง เช่น ปีแรก ๆ ที่ไปไม่เห็นร่วมจ่ายค่ายา ไปครั้งหลังสุดเห็นให้ร่วมจ่ายค่ายาผู้ป่วยนอกเพิ่มเติม หากมีเงินเหลืออาจเพิ่มสิทธิประโยชน์ กองทุนแบบนี้ยั่งยืน ดูแลตัวเอง ไม่เหมือนของเราอยากใช้อะไรก็ขอหมด ตกลงประชานิยมตั้งแต่พรรคการเมืองถึงคนบริหารกองทุนระบบร่วมจ่ายเป็นระบบร่วมกันทำงาน ที่ส่งเสริมให้คนทุกคนรวมทั้งคนจนทำงาน ส่งผลให้ GDP ต่อคนต่อปีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสัดส่วนคนจนไต้หวันลดลงจาก 10% ของประชากรในราวปี 2552 ลดลงเหลือ 1% ในปี 2562 โดยไต้หวันมีรายจ่ายด้านสุขภาพ 1,500-2,000 เหรียญสหรัฐ/คน/ปี (คิดเป็นประมาณ 6% ของ GDP) ด้วยเงื่อนไขการจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับผู้ให้การรักษาที่เป็นระบบ ทำให้โรงพยาบาลเอกชนสามารถเข้าร่วม ส่งผลให้มีโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้นเป็น 80-90% ของโรงพยาบาลทั่วประเทศ และอยู่ในระบบทั้งหมดนอกจากนี้ ระบบร่วมจ่ายทำให้สมาชิกซื้อประกันมาเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการร่วมจ่าย จนมีการซื้อประกันสุขภาพเอกชนราว 20% ของประชากรทั้งหมดระบบของไทยเป็นระบบปิด หรือ All or None กล่าวคือ หากมีสิทธิบัตรทอง ถ้าต้องการจะรักษาบางรายการโดยใช้สิทธิบัตรทอง ส่วนเพิ่มเติมจะชำระเองต่างหากไม่สามารถทำได้ การใช้สิทธิต้องใช้ตามเงื่อนไขเท่านั้น กรณีใช้ไม่ตรงตามเงื่อนไขจะไม่สามารถใช้สิทธิได้ ระบบของไทยมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชนออกเกือบหมดแล้ว เหลือจำนวนไม่มากในระบบประกันสังคม หน่วยบริการจึงลดลง ขาดความหลากหลาย ทำให้คนใช้บริการไม่สะดวกผลคืออัตราการใช้บริการไม่สูงเท่าที่ควร มีคนใช้บริการเพียง 50% จำนวนใช้บริการผู้ป่วยนอก 4-5 ครั้ง/คน/ปี เมื่อเทียบกับไต้หวันแล้วถือว่าการเข้าใช้ประโยชน์จากระบบหลักประกันสุขภาพของไทยยังถือว่าต่ำ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ คิดเป็นราว 300 เหรียญสหรัฐ/คน/ปี (คิดเป็นราว 4-5% ของ GDP) และด้วยเงื่อนไขที่ไม่สามารถจ่ายเฉพาะส่วนเพิ่มได้ ส่งผลให้มีคนซื้อประกันสุขภาพเอกชนของไทยมีอัตราต่ำมากเพียง 5-10% ของประชากรทั้งหมดสุดท้ายจึงอยากสรุปว่า หลักประกันสุขภาพต้องเริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนร่วมจ่าย ในประเทศที่ยังไม่มีรายได้ต่อหัวสูง รัฐต้องให้น้ำหนักกับการสร้างชาติให้เข้มแข็ง มั่งคั่ง ต้องส่งเสริมให้คนขยันทำงาน เก็บออม ร่วมรับผิดชอบสร้างชาติ เพราะประเทศไทยไม่ได้มีทรัพยากรแบบสำเร็จรูปขายได้เลย เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ แต่ทุกอย่างที่เราจะสร้างรายได้ เช่น เกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ล้วนต้องใช้แรงงาน ใช้ความอดทน มานะบากบั่น สร้างผลผลิตขึ้นมาจึงขายได้ถ้าเราไม่ขยันใช้แรงงานของเราเอง ผลได้เราก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่วนรายได้ของแรงงานต่างชาติที่มารับจ้างเราทำ เขาก็ส่งเงินกลับบ้านเขาหมด ไม่มี multiplier effect อย่างนักเศรษฐศาสตร์อยากได้นั่นคือ ประเทศมั่งคั่งขึ้นจึงจะทำให้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นอย่างที่เราต้องการได้ เราคงไม่ต้องการความเท่าเทียมที่ขาดแคลน เพราะคนก็คงแย่งชิงสิ่งที่มีจำกัด ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างที่เราต้องการคือ มีเงินพอ (งบฯบวกที่จ่ายเอง) มีบุคลากรการแพทย์พอ มีโรงพยาบาลเข้าร่วมพอ คนรับบริการไม่ใช้นอกระบบ โรงพยาบาลนอกระบบก็หายไป ส่วนจ่ายเพิ่ม คนทำงานมีเงินก็ไปซื้อระบบประกันสุขภาพเอกชนเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะไม่มีเงินจ่ายสิ่งที่เราอยากได้เพิ่มพูดง่าย ๆ คือช่วยกันสร้างระบบประกันสุขภาพของทุกคนขึ้นมา ขยันพึ่งพาตนเอง สร้างระบบที่ต้องการขึ้นมาด้วยมือของตนเองเหมือนตัวอย่างของไต้หวัน ไม่ใช่คนจำนวนน้อยสร้างและล้มไปเมื่อประเทศไม่มีเงินแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/columns/news-1353751
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2566 เราทุกคนก็ต่างคาดหวังว่าการเมืองจะเข้าที่เข้าทางภายใต้รัฐบาลใหม่ เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นจากครึ่งปีแรก และตลาดการลงทุนจะกลับมาคึกคักสดใสขึ้น แต่ไม่ว่าสิ่งที่เราคาดหวังจะเกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน ‘การวางแผนลงทุน’ ยังควรเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีติดอยู่ในหลักคิดของเราเสมอ โดย ‘มนุษย์เงินเดือน’ อย่างเรา ๆ ที่ต้องการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Fund : SSF) เพื่อรับสิทธิในการลดหย่อนภาษี สามารถทยอยลงทุนได้ตั้งแต่ตอนนี้ และไม่ต้องรอถึงช่วงปลายปี เพราะนั่นอาจเป็นภาระหนักเกินไป หากต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ในรอบเดียว แถมต้องไปลุ้นราคาหน่วยลงทุนในตอนนั้นอีกว่าจะแพงไปหรือไม่ แล้วเงื่อนไขในการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF มีอะไรบ้าง? บทความนี้เราจะบรีฟให้คุณฟัง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุน RMF สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องถือครองหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และขายคืนได้เมื่อเราอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (ตามวันเกิด) นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขอีกเล็กน้อย คือ เราต้องซื้อกองทุน RMF ต่อเนื่องทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี และการนับต่อเนื่องจะนับเฉพาะปีที่ซื้อเท่านั้น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุน SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยจะขายคืนได้ เมื่อถือครองหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งการลงทุนในกองทุน SSF ไม่มีเงื่อนไขการซื้อต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะเลือกลงทุนในกองทุน RMF หรือกองทุน SSF หรือแม้แต่ลงทุนในกองทุนทั้งสองแบบ ข้อสำคัญที่ควรรู้ คือ เมื่อนับรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน รวมถึงประกันแบบบำนาญ จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี มนุษย์เงินเดือนคนไหนที่กำลังวางแผนซื้อกองทุน RMF หรือ SSF อาจใช้วิธี DCA (Dollar Cost Average) ซึ่งเป็นการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยเงินลงทุนจำนวนเท่า ๆ กัน ทำให้เราได้ต้นทุนถัวเฉลี่ยอย่างสม่ำเสมอ โดยเราสามารถสร้างวินัยการลงทุนได้ง่าย ๆ ด้วยการตั้งค่าหักอัตโนมัติผ่านบัญชีธนาคารเข้ากองทุนในทุกเดือน หรือทุกไตรมาส สำหรับประโยชน์ของการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีด้วยวิธี DCA นั้น นอกเหนือจากจะสร้างวินัยการลงทุนให้เราแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถทำตามเงื่อนไขการลงทุนได้โดยไม่หลงลืม และได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยทบต้น เนื่องจากเงินที่ออมและลงทุนก่อนจะเริ่มทำงานออกดอกออกผล ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับก็จะขึ้นอยู่กับการรับความเสี่ยงและภาวะตลาดด้วย วิธีการลงทุนแบบ DCA ยังมีประโยชนอื่น ๆ อีก เนื่องจากเป็นการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่สนใจว่าในเวลานั้นราคาของสินทรัพย์จะเป็นเท่าไร ทำให้ได้ต้นทุนถัวเฉลี่ยที่ไม่ถูกไม่แพง และไม่ต้องจับจังหวะการลงทุน ซึ่งช่วยลดปัญหาการตัดสินใจลงทุนที่ผิดพลาด จึงเหมาะกับการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีที่การลงทุนระยะยาว เพราะไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้แน่นอนนั่นเอง นอกจากนี้ การลงทุนแบบ DCA ยังถือเป็นเพื่อนซี้ของมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่ เนื่องจากสามารถเริ่มต้นลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก เรียกว่า “มีน้อยออมน้อย มีมากออมมาก” ขอแค่รักษาวินัยการลงทุน เงินออมก็เติบโตขึ้นได้ และไม่พลาดสิทธิลดหย่อนภาษีด้วย ที่มา : SET Invest Now แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับbeartaihttps://www.beartai.com/brief/1282071
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
กรุงเทพฯ 22 กรกฎาคม 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย ฉลองในวาระครบรอบ 85 ปี จับมือ สโมสรฟุตบอล ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ จัดกิจกรรม ‘เอไอเอ ฟุตบอล คลินิก 2023 (AIA Football Clinic 2023)’ ครั้งพิเศษ โดยได้โค้ชผู้ฝึกสอนจากทีมสเปอร์ส ‘แชนนอน โมโลนีย์’ มาถ่ายทอดความรู้ในการลงสนามเตะ พร้อมฝึกทักษะและเทคนิคบอลต่างๆ ให้กับเยาวชนอายุระหว่าง 8-12 ปี นอกจากนี้ ยังสร้างความประทับใจให้กับเด็กๆ ด้วยกิจกรรม Meet the Players ที่เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้กระทบไหล่ตัวแทนนักเตะชื่อดังจากทีมสโมสรฟุตบอลท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ไม่ว่าจะเป็น แฮรี่ เคน, แบรนดอน ออสติน, จาเฟ็ต แทงกังกา, อัลฟี เดวีน, อัลฟี ไวท์แมน เพื่อให้เยาวชนทั้ง 60 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษด้านกีฬาฟุตบอลกับนักเตะในดวงใจ พร้อมเรียนรู้เทคนิคและพัฒนาทักษะเพื่อต่อยอดสู่การเป็นนักฟุตบอลอาชีพในอนาคต โดยกิจกรรม AIA Football Clinic 2023 จัดขึ้น ณ สนามเอสทีบี อะคาเดมี่นางสาวญดา วงศ์ทองคำ รองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารสิทธิพิเศษและกิจกรรมลูกค้า เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “กิจกรรม เอไอเอ ฟุตบอล คลินิก ครั้งนี้ นับเป็นปีที่ 10 ที่กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อมุ่งสานฝันเยาวชนที่รักในกีฬาฟุตบอล อีกทั้งยังเป็นการสานต่อความมุ่งมั่นของเอไอเอ ในการสนับสนุนให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ด้านกีฬาฟุตบอล พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนรักในการเล่นกีฬา เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมในปีนี้ ถือว่าพิเศษสุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะเป็นปีที่เอไอเอ ครบรอบ 85 ปีในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เราจึงถือโอกาสเอาใจคนไทยโดยการพาทีมสโมสรฟุตบอลท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ซึ่งเราเป็นผู้สนับสนุนหลักมาตั้งแต่ปี 2557 มาเยือนไทยเป็นครั้งแรกแบบครบทีม เรายังได้พาตัวแทนนักเตะมาร่วมทำกิจกรรมฟุตบอล คลินิก กับเยาวชนกว่า 60 คน ถือเป็นการสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้ฝึกซ้อมและเรียนรู้เทคนิคในการเตะฟุตบอลกับนักเตะมืออาชีพ พร้อมกับโค้ชมากประสบการณ์จากทีมสโมสรฟุตบอลระดับโลก ที่ได้วางแผนการฝึกซ้อมอย่างเข้มข้นสำหรับเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อได้รับความรู้ และนำประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกทักษะไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ตอกย้ำถึงพันธกิจของเอไอเอ ที่ต้องการส่งเสริมให้เยาวชนไทยและคนไทยทั่วประเทศมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นตามคำมั่นสัญญา Healthier, Longer, Better Lives”นอกจากนี้ เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 60 คน ยังมีโอกาสได้พบปะกับตัวแทนนักเตะชื่อดังจากทีมไก่เดือยทอง ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ไม่ว่าจะเป็น แฮรี่ เคน, แบรนดอน ออสติน, จาเฟ็ต แทงกังกา, อัลฟี เดวีน,อัลฟี ไวท์แมน ซึ่งมาร่วมถ่ายทอดเคล็ดลับในการก้าวสู่การเป็นนักเตะอาชีพของสโมสรสรฟุตบอลระดับโลก รวมถึงพูดคุยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการผลักดันให้เด็กๆ ได้สานฝันสู่การเป็นนักฟุตบอลในอนาคต โดยเอไอเอ และสโมสรท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ พร้อมสนับสนุนทุกโอกาสของเยาวชนไทย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
"หนี้เรื้อรัง" ใครเข้าข่ายบ้าง มีลักษณะอย่างไร และต้องรุนแรงแค่ไหน แบงก์ชาติถึงต้องเร่งแก้ไข แนวทางเบื้องต้นเป็นแบบไหนก่อนจะเริ่มใช้จริง 1 เม.ย. 67 จากความคืบหน้าแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ซึ่งกำลังจะทยอยออกแนวทางและมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ โดยสิ่งที่แบงก์ชาติเป็นห่วงมี 4 ด้าน หนี้ที่ต้องเร่งแก้ไข คือ หนี้เสีย หนี้เรื้อรัง หนี้ใหม่เพิ่มขึ้นเร็ว และหนี้นอกระบบ เพราะล้วนเป็นต้นตอของปัญหาหนี้ครัวเรือน จากปัจจุบันหนี้ครัวเรือนมีอยู่ 16 ล้านล้านบาท หรือ 90.6% ต่อจีดีพี โดยเฉพาะหนี้เรื้อรังที่แบงก์ชาติจะเริ่มแก้ไขก่อนเป็นอย่างแรก ซึ่งเป็นหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้เสียและมีโอกาสเห็นทางปิดจบหนี้ได้ แล้วใครบ้างที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง ลักษณะของหนี้เรื้อรังเป็นอย่างไร ลักษณะของหนี้เรื้อรัง คือ 1. กู้หนี้ใหม่ไปจ่ายหนี้เก่า 2.จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น 3.จ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสด ไม่จบไม่สิ้น 4.หมุนเวียนหนี้ ปิดจบหนี้ไม่ได้ 5.กู้สหกรณ์เพิ่มตามเงินเดือนที่เพิ่มจนเกษียณ 6.หนี้เกษตรกรที่ชำระดอกเบี้ยเป็นหลัก สำหรับแนวทางแก้ไขหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) เป็นลูกหนี้ Revolving Personal Loan หรือเป็นหนี้ส่วนบุคคลหมุนเวียน แม้จะจ่ายหนี้ได้แต่ปิดจบหนี้ไม่ได้หรือต้องใช้เวลานานมากเกินไป ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตามแนวทางเบื้องต้นของแบงก์ชาติ – ลูกหนี้เรื้อรังปกติ จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น เป็นระยะเวลา 3 ปี วิธีคือ ต้องให้สถาบันการเงินส่งแจ้งให้ลูกหนี้ปรับพฤติกรรมก่อนกลายเป็นหนี้เรื้อรังรุนแรง โดยแจ้งว่าเป็นหนี้เรื้อรัง เพราะจ่ายดอกเบี้ยมาก ควรเพิ่มการจ่ายชำระเพื่อปิดหนี้ไวขึ้น และอธิบายลูกหนี้ว่าหากต้องจ่ายแต่ขั้นต่ำต่อเนื่องกว่าจะปิดหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยมากเท่าไร – ลูกหนี้เรื้อรังรุนแรง จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น เป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี วิธีคือ ให้ทางเลือกลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ ให้จบหนี้ภายใน 5 ปี ค่างวดต่อเดือนต้องให้ลูกหนี้สามารถจ่ายชำระได้ และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง หรืออาจกำหนดเงื่อนไขการเข้ามาตรการ เช่น ปิดวงเงินโดยอาจมี room สำหรับกรณีฉุกเฉิน หรือมีระบบบันทึกประวัติการได้รับความช่วยเหลือด้าน “ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า แนวทางเบื้องต้นแก้หนี้เรื้อรังซึ่งเป็นคนที่กู้หนี้หมุนเวียนมาโปะหนี้เก่า ปิดจบหนี้ไม่ได้ จ่ายดอกเบี้ยสะสมมากกว่าเงินต้น มีรายได้น้อย จะมีเกณฑ์ให้เหมาะสมกับระดับรายได้ และจะให้ แปลงหนี้ก้อนนี้มาเป็นเทอมโลนแบบมีระยะเวลาภายใน 5 ปี ดอกเบี้ยน้อยกว่า 15% ต่อปี โดยให้ธนาคารเสนอมาตรการแก่ลูกหนี้ และเป็นความสมัครใจลูกหนี้ รวมทั้งจะต้องถูกบันทึกในเครดิตบูโรด้วย คาดว่าจะเริ่มต้นได้ในวันที่ 1 เม.ย. 67 นอกจากนี้ ธปท. จะออกแนวทางปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบในไตรมาส 3 ปีนี้ และจะออกใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 67 เพื่อเป็นการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน หลักการจะให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เปลี่ยนพฤติกรรมคนกู้และคนให้กู้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ ตอนเป็นหนี้ หนี้ที่เป็นปัญหา หนี้ที่ถูกโอนออกไป และเกี่ยวกับการโฆษณากระตุ้นการกู้ บอกข้อมูลไม่ครบ บางโฆษณาไม่บอกดอกเบี้ย ไม่บอกระยะเวลาการผ่อน โดยหวังว่าจะให้สถาบันการเงินต้องบอกข้อมูลลูกหนี้อย่างครบถ้วน ปรับพฤติกรรมไปในทางที่ถูก เปรียบเทียบให้เห็นดอกเบี้ย เป็นต้น แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับเดลินิวส์ ออนไลน์https://www.dailynews.co.th/news/2551479/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
21/07/2023
บทความโดย “ธนภัทร จินดาหลวง”ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทยวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ถ้าให้ยกตัวอย่างชื่อโรคร้ายแรงมาสักหนึ่งชื่อ หลายท่านอาจจะนึกถึงโรคมะเร็ง มาเป็นอันดับต้น ๆ แต่ในปัจจุบันมีโรคร้ายแรงอีกมากมาย บางชื่อโรคก็คุ้นหู หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน ที่สำคัญโรคร้ายแรงบางโรคอาจรักษาหายในเวลาไม่นาน แต่บางโรคอาจจะต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ค่ารักษารวมทั้งหมดอาจเป็นหลักแสนหรือทะลุหลักล้านบาทอย่างไรก็ตาม คนไทยแต่ละคนมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแตกต่างกันไป เช่น สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือได้วางแผนทำประกันสุขภาพส่วนบุคคล กับบริษัทประกันภัยหรือบริษัทประกันชีวิตซึ่งสิทธิการรักษาพยาบาลข้างต้น อาจครอบคลุมค่ารักษาโรคร้ายแรงบางส่วนหรือทั้งหมด บางคนเลือกไปรักษานอกสิทธิที่มีอยู่ เพราะต้องการความรวดเร็วหรือความสะดวกสบายกว่า แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการใช้เงินค่อนข้างสูงนอกเหนือจากค่ารักษาแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก เช่น ค่ายานอกบัญชีที่ใช้ในการรักษา ค่าเครื่องมือแพทย์ วิธีการรักษาด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยกว่าเดิมหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของผู้ป่วยเอง รวมถึงคนในครอบครัวที่ต้องดูแลผู้ป่วย อาทิ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่ากิน เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ ล้วนต้องใช้เงินทั้งสิ้นผู้เขียน มีเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งคุณแม่ของเพื่อนท่านนี้ตรวจพบว่าเป็นโรคไต ต้องทำการฟอกไตสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี โดยขับรถเดินทางจากบ้านที่อำเภอเชียงแสนไปโรงพยาบาลเอกชน เป็นระยะทางไปและกลับเกือบ 130 กม.โดยจ่ายค่าฟอกไตด้วยตนเอง ครั้งละ 1,500 บาท คิดเป็นต่อสัปดาห์ละ 3,000 บาท เดือนละ 12,000 บาท ปีละ 144,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี สุดท้ายเพื่อให้มีเงินมารักษา จึงต้องแบ่งขายที่นา แต่เพื่อลดค่าใช้จ่าย ปัจจุบันต้องเปลี่ยนมาฟอกไตโดยใช้สิทธิจากบัตรทอง ที่โรงพยาบาลของรัฐอีกตัวอย่างหนึ่งของการมีวงเงินรักษาพยาบาล กรณีเกิดโรคร้ายแรง คือ การทำประกันภัยโควิด-19 แบบ เจอ จ่าย จบ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีหลายคนได้เคลมสินไหมฯ จากการทำประกันภัยโควิด-19 แบบ เจอ จ่าย จบ ไว้ ได้รับวงเงินเป็นจำนวน หลักหมื่นหรือหลักแสนบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ได้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและการขาดรายได้จากการทำงานหากติดโควิดประกันภัยโรคร้ายแรงก็เช่นเดียวกัน หากผู้เอาประกันภัยตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรง ก็จะสามารถเคลมสินไหมฯ เป็นเงินก้อน (คล้ายประกันโควิด แบบเจอ จ่าย จบ) ซึ่งเงินที่ได้จากประกันภัยโรคร้ายแรงจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตต่อไปได้ หากผู้เอาประกันภัยต้องหยุดทำงาน เช่น อาชีพค้าขาย หรือต้องลาออกจากงานประจำเพื่อไปรักษาตัวเอง ทำให้ไม่มีรายได้หรือรายได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายประจำในครอบครัวยังคงมีเช่นเดิมในระยะยาว หากการรักษาโรคร้ายแรงยังไม่หายหรือต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีรายได้เข้ามาหรือรายได้ลดลง หลายครอบครัวจำเป็นจะต้องขายทรัพย์สินที่มี เช่น แบ่งขายที่ดิน ขายบ้าน คอนโดมิเนียม ทองคำ ขายหุ้น ขายกองทุน หรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีมูลค่ากรมธรรม์ ทำให้ความมั่งคั่งที่เคยเป็นอยู่ลดลง หรือบางครอบครัวอาจจะต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่าย กลายเป็นภาระที่ตามมาในการคืนชำระหนี้3 วิธี วางแผนทำประกันโรคร้ายดังนั้น การวางแผนประกันภัยโรคร้ายแรง เป็นการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึ่งสามารถวางแผนทำทุนประกันที่เหมาะสมได้ 3 วิธี1. คำนวณจากรายได้ใน 1 ปี แล้วประมาณการระยะเวลาไปอีก 10 ปี หรือ 20 ปี หากไม่เป็นโรคร้ายแรงเสียก่อนจะสามารถทำงานมีรายได้ เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เช่น นายเอ ปัจจุบันมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ใน 1 ปีจะมีรายได้ 240,000 บาท และหาก 10 ปีจะมีโอกาสทำงานได้เงินถึง 2,400,000 บาท ซึ่งเรียกว่า ค่าความสามารถในการทำงาน2. คำนวณทุนประกันภัยจากค่าใช้จ่ายต่อเดือน แล้วประมาณการรวมเป็น 1 ปี, 10 ปี หรือ 20 ปี ถ้าหากต้องหยุดทำงานและไม่มีรายได้ควรจะมีเงินจำนวนหนึ่งเป็นจำนวนเท่าไหร่ ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เช่น นายเอ มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท รวมปีละ 120,000 บาท หาก 10 ปี เป็นเงิน 1,200,000 บาท3. วางแผนทำทุนประกัน โดยอ้างอิงกับค่ารักษาโรคร้ายแรงในปัจจุบัน เช่น โรคมะเร็ง ค่ารักษาโดยประมาณ 500,000–2,000,000 บาท เป็นต้น ดังนั้น นายเอ สามารถวางแผนประกันภัยโรคร้ายแรงด้วยทุนประกัน แนะนำเบื้องต้นที่ 500,000–2,400,000 บาทปัจจุบัน บริษัทประกันมีผลิตภัณฑ์ประกันภัยโรคร้ายแรงให้เลือกหลากหลาย ซึ่งมีรายละเอียดที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน จึงควรเลือกพิจารณา ดังนี้1. ชนิดหรือจำนวนโรคร้ายแรงที่ระบุในความคุ้มครอง บางบริษัทประกัน คุ้มครอง 30 โรคร้ายแรง บางบริษัทประกันคุ้มครอง 36 โรคร้ายแรง หรือ 50 โรคร้ายแรงตัวอย่าง รายการโรคร้ายแรง ได้แก่ 1.โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ 2.โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต 3.โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย 4.เนื้องอกในสมอง ชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง 5.ตาบอด 6.โรคมะเร็ง 7.โรคกล้ามเนื้อหัวใจ 8.ตับวาย9.โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง/โรคปอดระยะสุดท้าย 10.ภาวะโคม่า 11.การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 12.กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 13.การผ่าตัดลิ้นหัวใจ 14.ไตวายเรื้อรัง 15.การสูญเสียการได้ยิน 16.การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง17.การสูญเสียความสามารถในการพูด 18.แผลไหม้ฉกรรจ์ 19.การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง 20.การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก 21.โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว 22.โรคระบบประสาทมัลติเพิลสะเคลอโรสิส 23.โรคกล้ามเนื้อเสื่อม 24.โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง 25.อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา 26.โรคพาร์กินสัน 27.โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ 28.โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 29.การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า 30.ไตอักเสบลูปูส จากโรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส 31.สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส 32.ภาวะอะแพลลิก 33.โรคโปลิโอ 34.โรคถุงน้ำในไต 35.โรคหนังแข็งชนิดลุกลาม 36.การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย 2. เงื่อนไขการเคลมสินไหมฯ อาจแบ่งเป็นช่วงระยะของโรค เช่น โรคร้ายแรงระยะเริ่มต้นจ่าย 25% โรคร้ายแรงระยะกลางจ่าย 50% โรคร้ายแรงระยะรุนแรงจ่าย 100% ของทุนเอาประกัน หรือบางบริษัทคุ้มครองเฉพาะระยะรุนแรงจ่าย 100% ของทุนเอาประกัน เป็นต้นสมมุติ นายเอทำประกันโรคร้ายแรงด้วยทุนประกัน 2,000,000 บาท หากตรวจพบเป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะลุกลาม บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมฯให้นายเอ 2,000,000 บาท3. เงื่อนไขการพิจารณารับประกัน บางบริษัทอาจจะพิจารณาจากประวัติสุขภาพที่ผ่านมา หรือบางบริษัทต้องตรวจสุขภาพใหม่ ประกอบด้วย4. เบี้ยประกันภัย มีปัจจัยเรื่องเพศ อายุ อาชีพ ในการคำนวณเบี้ยประกันภัยแต่ละบุคคล บางบริษัทมีส่วนลดหรือโปรโมชั่นในการทำประกันหากสนใจวางแผนและออกแบบประกันภัย โรคร้ายแรงให้เหมาะสมกับตนเองและครอบครัว การเลือกขอรับคำปรึกษาจากตัวแทนประกันหรือนักวางแผนการเงินมืออาชีพจะทำให้ท่านได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมตามความจำเป็น และสอดคล้องกับความสามารถในการชำระเบี้ยที่เหมาะสมที่สุดท้ายสุดนี้ มีประกันแล้วไม่ได้เป็น (โรคร้ายแรง) ก็ดีกว่าเป็น (โรคร้ายแรง) แล้วไม่มีประกัน เพราะโรคร้ายแรง (อาจ) รักษาหาย แต่เงิน (อาจ) มลายหายเกลี้ยงไปด้วยเช่นกันแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1352927
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวทั่วไป
30/04/2024
ยุคสมัยที่โลกกำลังเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว โฆษณาและการตลาดที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นตาม ไม่ว่าจะหารายได้มามากเท่าไหร่ แต่กลับไม่รู้สึกรวยขึ้นสักที ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงพฤติกรรมทางการเงินที่เรียกว่า ‘เฮนรี่’ (High Earners but Not Rich Yet: HENRY) ที่มีรายได้สูง แต่กลับยังไม่รวย คำว่า HENRY ถูกกล่าวถึงในนิตสาร ‘ฟอร์ชูน’ (Fortune) โดยนักเขียน ‘ฌอน ทูลลี่’ (Shawn Tully) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้สูง แต่ก็มีการใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน จึงไม่รวยสักที ในสหรัฐฯ นั้นจะตีความว่ากลุ่ม HENRY คือคนที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 250,000-500,000 ดอลลาร์ต่อปี (เฉลี่ยประมาณ 700,000-1,400,000 บาทต่อเดือน) แต่สำหรับประเทศไทย อาจครอบคลุมถึงกลุ่มคนที่มีรายได้ประมาณ 100,000-300,000 บาทต่อเดือน คิดตามค่าครองชีพที่ต่ำกว่า ในหนังสือพิมพ์ ‘เดอะนิวยอร์กโพสต์’ (The New York Post) ได้เคยมีการกล่าวถึงพฤติกรรมของคนกลุ่ม HENRY ไว้ให้สำรวจกันว่าเข้าข่ายหรือไม่ โดยสามาถสังเกตได้จาก ‘นิสัยแพงๆ’ (Expensive Habits) Expensive Habits มีตัวอย่างคร่าวๆ เช่น ความรู้สึกว่าต้องใช้เงินเพื่อความสุข การนอนในโรงแรม 5 ดาวเท่านั้น การขึ้นเครื่องบินชั้นธุรกิจเท่านั้น การไปชิมอาหารตามร้านมิชลินสุดหรูทุกๆ สุดสัปดาห์ หรือการสมัครฟิตเนสหรูราคาแพง เป็นต้น กลุ่ม HENRY ถูกกล่าวถึงหลายครั้ง และในยุคนี้ก็ถูกกล่าวถึงอีกเช่นกัน ตามลักษณะของผู้คนที่ต่างถูกขับเคลื่อนให้หารายได้ให้ได้เยอะๆ เพื่อจะนำไปสร้างไลฟสไตล์ที่หรูหราให้เหมือนกับภาพที่เห็นในโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้นักการตลาดต่างหมายมั่นปั้นมือที่จะทำแคมเปญต่างๆ โดยเจาะกลุ่มคนเหล่านี้เป็นพิเศษ เพราะมีแรงจูงใจต่อการจับจ่ายใช้สอยมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ จนทำให้กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการเงินดังกล่าว มักไม่มีเงินเหลือเก็บออม หรือเงินลงทุนเพื่อนำไปใช้ในวัยเกษียณ หรือในอีกนัยหนึ่ง บางคนก็เรียกคนกลุ่มนี้ว่า Working Rich ที่รวยจากการทำงาน แต่เมื่อถึงคราวเจ็บป่วย หรือโดนไล่ออกจากงานก็จะไม่มีเงินเพียงพอ จากการไม่มีเงินเก็บหรือเงินลงทุนเพื่อมาหล่อเลี้ยง เพราะหมดไปกับค่าใช้จ่ายมหาศาลไปเรียบร้อยแล้ว แต่ทั้งนี้ หากกลุ่ม HENRY ต้องการปรับเปลี่ยนแนวทางชีวิตเพื่อการเกษียณ ก็สามารถทำได้ไม่ยากเลย ด้วยรายได้ที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว หากแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาเพื่อเก็บออมแล้วนำไปลงทุนเพื่อต่อยอด การมีอิสรภาพทางการเงินก็อาจอยู่ไม่ไกลเช่นกัน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับworkpointtodayhttps://workpointtoday.com/what-are-henrys/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวทั่วไป
30/04/2024
ส่อง 8 แนวคิดเรื่องความเป็นผู้นำ (Leadership) ของ “บิลล์ เกตส์” ตั้งแต่การให้ความสำคัญของเวลา ไปจนถึงการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดระหว่างทางและไม่ยอมแพ้ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในยุคปัจจุบัน และรู้จักกันดีในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ (Microsoft) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐ จนกลายเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก วันนี้ กรุงเทพธุรกิจ แบ่งปันบทเรียนทางธุรกิจและความเป็นผู้นำที่คุณอาจนำไปปรับใช้ได้จากเกตส์ 8 ข้อคิดความเป็นผู้นำ ของ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) 1. คิดล่วงหน้า – หากคุณต้องการนําหน้าคู่แข่งไม่ว่าคุณจะทํางานในสาขาใด จำเป็นต้องเตรียมตัวและคาดการณ์อนาคตที่จะเกิดขึ้น เกตส์มีวิสัยทัศน์ในการคาดการณ์อนาคตและนำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ ทั้งหมดทำให้ไมโครซอฟท์ยังคงนําหน้าคู่แข่งในระดับใกล้เคียงกันอยู่เสมอ 2. ให้ความสำคัญกับเวลา - เวลาเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่สําคัญที่สุดที่เรามีในชีวิต เกตส์ระบุว่าไม่ว่าคุณจะมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่สามารถซื้อเวลากลับคืนมาได้ ดังนั้นอย่าเสียเวลาทํางานไปอย่างเปล่า ๆ และวางแผนเวลาในชีวิตและการทำงานให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม 3. สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลง – ในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และในโลกที่เต็มไปด้วยสตาร์ทอัพใหม่ๆ คุณต้องเคลื่อนที่เร็วกว่าคู่แข่งของคุณเสมอ นี่คือวิธีที่ทำให้เกตส์ประสบความสําเร็จในโลกธุรกิจ เขามักจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งแสดงออกเชิงประจักษ์ผ่านธุรกิจของเขา 4. ลองเสี่ยง - เกตส์แนะนําเสมอว่าผู้ประกอบการควรคิดนอกกรอบและพยายามหาโอกาสใหม่อยู่เสมอ ท่ามกลางการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ธุรกิจใหม่ ๆ เพราะความสำเร็จมีอยู่ทุกที่ เพียงแต่คุณจะหาความสำเร็จเหล่านั้นเจอหรือไม่ 5. เรียนรู้จากความล้มเหลว – ความผิดพลาดถือเป็นบทเรียนสำหรับทุกคนและ เกตส์เชื่อในหลักการดังกล่าวอย่างมาก แทนที่จะนั่งอารมณ์เสียกับข้อผิดพลาด แต่จงเรียนรู้จากความผิดพลาดเหล่านั้นและก้าวต่ออย่างมั่นคง ทั้งนี้ มีคำกล่าวหนึ่งของเกตส์ที่โด่งดังคือ "การเฉลิมฉลองความสําเร็จเป็นเรื่องดี แต่การเอาใจใส่บทเรียนจากความล้มเหลวเป็นสิ่งสําคัญกว่า" 6. ความพากเพียร – ข้อคิดหนึ่งที่สำคัญมากคือคุณต้องมีความอดทนมหาศาลเพื่ออดทนผ่านช่วงเวลาที่ทั้งดีและไม่ดีในชีวิตไปให้ได้ โดยบรรดาคนใกล้ชิดของเกตส์ยกย่องความอุตสาหะของเขาเสมอว่า “มักไม่ยอมแพ้จนกว่าเขาจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ” 7. ให้ความสำคัญลูกค้าที่ไม่มีความสุข - แม้ว่าจะเป็นเรื่องง่ายที่จะพูดคุยกับลูกค้าที่มีความสุข แต่เกตส์มักชอบให้พนักงานและเพื่อนร่วมงานใช้เวลาทําความเข้าใจและรับฟังลูกค้าที่วิจารณ์สินค้าของเขาในเชิงลบมากกว่า โดยแทนที่จะพยายามโต้เถียงและโยนความผิดให้ลูกค้า แต่พวกคุณสามารถเรียนรู้หลายบทเรียนจากลูกค้าที่ไม่พอใจเหล่านั้นได้ บรรดาข้อเสนอแนะหรือคำวิจารณ์เหล่านั้นถือเป็นวิธีที่ประหยัดและง่ายที่สุดในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทในอนาคต 8. อย่ายอมแพ้ – หากคุณต้องการประสบความสําเร็จในธุรกิจ คุณต้องไม่ยอมแพ้ในอุปสรรคระหว่างทาง เพราะความล้มเหลวและความผิดพลาดถือเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางในโลกของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ รู้หรือไม่ว่าก่อนที่ไมโครซอฟท์เปิดตัว เกตส์และเพื่อนของเขาก่อตั้ง บริษัท Traf-O-Data ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่และทําให้เกิดหนี้มากมายในพอร์ตของเกตส์ แต่ด้วยความพากเพียรและไม่ยอมแพ้ ท้ายที่สุดเขาก็สามารถสร้างไมโครซอฟท์ขึ้นมาได้จนมีมูลค่ามหาศาลในปัจจุบันอ้างอิง Linkedin แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1073897
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
กรุงเทพฯ, 17 กรกฎาคม 2566 – เอไอเอ ประเทศไทย บริษัทประกันชีวิตและสุขภาพอันดับ 1 ของประเทศไทย เตรียมฉลองในโอกาสครบรอบปีที่ 85 กับกิจกรรมสุดพิเศษ Tottenham Hotspur Pre-Season Asia Pacific Tour 2023 ฟุตบอลแมตช์อุ่นเครื่องนัดสำคัญระหว่าง Tottenham Hotspur vs Leicester City ซึ่งเอไอเอ ในฐานะผู้สนับสนุนหลักระดับโลกของสโมสรฟุตบอลท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ได้ถือโอกาสพิเศษนี้ ยกทัพนักเตะสเปอร์สมาเยือนไทยครั้งแรกแบบครบทีม นำทีมโดย เอไอเอ แอมบาสเดอร์ ‘แฮร์รี เคน’ กองหน้าเบอร์ 1 ของทีม และกัปตันทีมชาติอังกฤษ รวมถึงดาวยิงคนดังชาวเกาหลีใต้อย่าง ‘ซน ฮึง-มิน พร้อมด้วยกุนซือทีมคนใหม่ ‘อังเก้ ปอสเตโคกลู’ ซึ่งนอกจากทีมไก่เดือยทองจะมาร่วมฟาดแข้งในแมตช์การแข่งขันนัดพิเศษที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์นี้ เอไอเอ ยังได้เตรียมความพิเศษชวนเหล่าบรรดานักเตะมาร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ AIA Football Clinic ที่จะมีตัวแทนนักเตะและทีมโค้ช มาสร้างแรงบันดาลใจและร่วมฝึกทักษะด้านฟุตบอลให้กับเยาวชนไทยกว่า 50 คน กิจกรรม Golden Circle สิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้าเอไอเอที่จะได้ใกล้ชิดนักเตะในวันฝึกซ้อม รวมถึงกิจกรรมสุดเอ็กซ์คลูซีพอย่าง Tottenham Hotspur Meet & Greet โอกาสที่จะได้พบปะกับนักเตะในดวงใจครบทีมอีกด้วย ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะเกิดขึ้นในวันที่ 22-23 ก.ค. นี้ นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “เอไอเอ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เราจะได้นำทีมสโมสรฟุตบอลท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ซึ่งเรามีความสัมพันธ์อันดีมายาวนานกว่า 10 ปี มาเยือนประเทศไทยครั้งแรก เพื่อมาลงสนามเตะนัดกระชับมิตรกับทีมสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ โดยการมาเยือนไทยแบบครบทีมของสเปอร์สในครั้งนี้ ยังถือเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่เอไอเอ ประเทศไทย ครบรอบ 85 ปีอีกด้วย เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเอไอเอ ในการสนับสนุนและส่งเสริมด้านสุขภาพให้กับคนไทย ให้ทุกคนได้ตื่นตัวในเรื่องสุขภาพ และหันมาเริ่มทำกิจกรรมที่กระฉับกระเฉงอย่างการเล่นกีฬาฟุตบอล ซึ่งนับเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นกีฬาที่ส่งเสริมความสามัคคีและทีมเวิร์ก ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแฟนฟุตบอลชาวไทยจะสนุกกับฟุตบอลแมตช์นี้ และเริ่มต้นดูแลสุขภาพ เพื่อการมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น”ล่าสุด ซน ฮึง มิน นักเตะซุปเปอร์สตาร์แห่งแดนโสม ผู้ทำประตูได้สูงสุดในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ได้ส่งคลิปมาทักทายแฟนไก่เดือยทองชาวไทยให้เตรียมความพร้อมรอชมการแข่งขันแมตช์พิเศษในครั้งนี้ โดยทางซน ฮึง มิน และทีมสเปอร์สก็มั่นใจว่าพวกเขาจะสามารถสร้างความตื่นเต้นและประทับใจให้กับแฟน ๆ ในลงเตะครั้งนี้ได้อย่างแน่นอน นับถอยหลังกับแมตช์ใหญ่ครั้งสำคัญ ครั้งแรกในประเทศไทย Tottenham Hotspur vs Leicester City ใครยังไม่มีบัตร รีบไปกดซื้อกันได้แล้วที่ Ticket Melon www.ticketmelon.com/event/THFCLCFC ราคาบัตรเริ่มต้นที่ 1,500 บาท 2,500 บาท 3,500 บาท 4,500 บาท และ 5,500 บาท สำหรับลูกค้าเอไอเอ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่เอไอเอเตรียมไว้ให้ได้ที่ AIA iService คลิก http://bit.ly/aiaiserviceapp หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรม ดี ๆ ได้ที่ https://fb.watch/lF2XyCMJYi/?mibextid=Nif5oz
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
29/04/2024
29/04/2024
30/04/2024
17/12/2024
30/04/2024