คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ข่าวการเงิน

หนุ่มใหญ่นักธุรกิจสุดเซ็ง ถูกสาวแชตชวนลงทุนซื้อทองคำเก็งกำไร สุดท้ายสูญเงินกว่าล้านบาท

30/04/2024

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 นายอธิวัฒน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 53 ปี นักธุรกิจชาว อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร นำเอกสารหลักฐานการสนทนาของหญิงสาวรายหนึ่งชื่อว่า มิ้น และหลักฐานการโอนเงินไปยังชื่อบัญชีต่างๆ อยู่หลายคน โดยคาดว่าจะเป็นบัญชีม้า มาร้องต่อสื่อช่วยเป็นกระบอกเสียงเตือนเป็นอุทาหรณ์ของกลโกงมิจฉาชีพ ที่ในทุกวันนี้มีการหาเล่ห์เหลี่ยมกลโกงต่างๆ มาหลอกประชาชนผ่านทางออนไลน์ นายอธิวัฒน์กล่าวว่า ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ตนนั้นถูกหญิงสาวชื่อมิ้น ทักแชตมาหาในเฟซบุ๊กและไลน์ ตอนแรกแนะนำตัวว่าเป็นเจ้าของร้านขายกระเป๋าและรองเท้าที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ที่ กทม. ทำทีชวนพูดคุยตีสนิท ต่อจากนั้นหญิงสาวได้ชักชวนลงทุน ซื้อทองคำเก็งกำไรผ่านแอพพลิเคชั่น โดยอ้างว่ามีคนวงในรู้จักราคาขึ้นลงทองคำ หากลงทุนจะได้กำไรดี อ้างสารพัดมีคนทำได้จริง เลยหลงกลเชื่อ ต่อจากนั้นหญิงสาวรายนี้แนะนำวิธีการสมัครผ่านแอพพ์ชื่อว่า OANDA จึงสมัครไป วันที่ 30 สิงหาคมสมัครไป 40,000 บาท ภายใน 5 นาที เขาโอนกลับมา 47,000 บาท ได้กำไร 7,000 บาท จากนั้นเติมเงินเข้าไปอีก 300,000 บาท เพื่ออัพเกรดเป็น VIP ระหว่างนั้นมีการพูดคุยกับหญิงสาวชื่อมิ้น ซึ่งได้โน้มน้าวพูดคุยตลอดเพื่อให้ปักใจเชื่อว่าที่ลงทุนไปจะได้เงินคืน ต่อมาเขาอ้างว่าเงินยังโอนคืนไม่ได้คุณต้องเสียภาษีก็โอนไปอีกกว่า 200,000 บาท และต่อมาก็บอกว่าบัญชีของตนมีปัญหาไม่ปลอดภัยที่จะโอนเงินกลับ ต้องมีค่ามัดจำอีก ตรงนี้เอะใจแล้วว่าน่าจะโดนหลอกจึงหยุดโอนหยุดติดต่อ สุดท้ายมีแต่ตัวเลขในแอพพ์ที่เติมเงินเข้าไป สรุปตั้งแต่ 30 สิงหาคม-12 กันยายน โอน 7 ครั้ง รวมเงิน 1,274,978 บาท นายอธิวัฒน์กล่าวอีกว่า เบื้องต้นได้แจ้งความไว้แล้วที่ สภ.สว่างแดนดิน ซึ่ง จนท.ได้ทำการอายัดบัญชีทั้งหมดคาดว่าน่าจะเป็นบัญชีม้า และทราบมาอีกว่าในพื้นที่ อ.ส่องดาว ก็มีผู้เสียหายรวมกับของตนก็น่าจะ 3 ล้านกว่าบาท จึงอยากให้เป็นอุทาหรณ์เตือนประชาชน ว่าใครที่โดนในลักษณะตนอยู่ผ่านแอพพ์ OANDA และติดต่อหญิงสาวชื่อมิ้น ให้หยุดโอนเงินทันที เชื่อว่าทำเป็นกระบวนการ ตั้งแต่คนพูดคุยหน้าม้าที่โอนเงินมาและบัญชีที่โอนเงินไป 7 ครั้ง ชื่อบัญชีไม่ซ้ำกันเลย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับมติชนออนไลน์https://www.matichon.co.th/region/news_4189366

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

“รู้ไว้ไม่งง…Step เคลมประกันชีวิตหลังเสีย (ชีวิต)”

30/04/2024

การทำประกันชีวิต หลายๆ คนอาจเคยได้ยินเป็นประโยคขำขันว่า “ซื้อประกันชีวิตเท่ากับแช่ง” แต่ในความเป็นจริงแล้วประกันชีวิตนั้นไม่ได้เกี่ยวกับดวงชะตาชีวิตเลยซักนิดเดียว แต่ประกันชีวิตกลับเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันล่วงหน้าเพื่อสานต่อความปรารถนาดีให้กับคนที่เรารักในวันที่เราไม่ได้อยู่ข้างๆ เขาได้อย่างเบาใจ ซึ่งก็เป็น 1 ในเหตุผลสำคัญที่คนส่วนใหญ่เลือกทำประกันชีวิตนอกเหนือจากเทคนิคในการซื้อประกันชีวิตที่ตอบโจทย์แล้ว การเคลมประกันชีวิตก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราไม่ควรพลาดที่จะถ่ายทอดให้ผู้รับผลประโยชน์ได้รับรู้ว่า “การเคลมประกันชีวิต” นั้นมีการเคลมอย่างไรหลังเจ้าของประกันเสียชีวิต1. แจ้งตาย เรื่องง่าย ไม่วุ่นหลังจากการเสียชีวิตของผู้เอาประกัน สิ่งแรก เราต้องทำการ “แจ้งตาย” ให้ถูกต้องครับ การแจ้งตาย มี 2 กรณีหลักๆ จำง่ายๆ เลยกรณี 1. เสียชีวิตในสถานพยาบาลหลังจากที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต แพทย์จะออก หนังสือรับรองการตาย หรือที่เรียกว่า ใบ ท.ร.4/1 ให้แก่ญาติกรณี 2. เสียชีวิตนอกสถานพยาบาลแบ่งย่อยเป็น 2 กรณีㆍเสียชีวิตในบ้านและนอกบ้าน การเสียชีวิตในบ้าน ผู้แจ้งตายซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของบ้านที่มีคนเสียชีวิต ผู้พบศพ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้แจ้งตาย จะต้องแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เสียชีวิต หรือพบศพㆍการเสียชีวิตนอกบ้าน ผู้พบศพ จะต้องรีบแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมงหลังพบศพส่วนเรื่องสถานที่แจ้งตาย กรณีอยู่ในเขตเทศบาล สามารถแจ้งที่สำนักงานเขตเทศบาลได้เลยอันนี้จะไม่ได้รับ ท.ร. 4 ตอนหน้า หรือหลักฐานรับแจ้งตาย ถ้ากรณีอยู่ในเขตท้องที่ที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งไปที่ผู้ใหญ่บ้าน และเราก็จะได้หนังสือ ท.ร. 4 ตอนหน้า หรือหลักฐานรับแจ้งตาย หลังจากนั้นเราก็ไปแจ้งที่นายทะเบียน ณ เทศบาล หรืออำเภอ เพื่อขอใบมรณบัตรเอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นขอใบมรณบัตร ได้แก่1. บัตรประชาชนผู้แจ้งตาย2. บัตรประชาชนผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)3. หลักฐานรับแจ้งตาย4. ‎ทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)5. ‎พยานรู้เห็นการเสียชีวิต (กรณีเสียชีวิตในบ้าน)สุดท้ายจะได้ใบมรณะบัตรพร้อมจำหน่ายชื่อผู้เสียชีวิตออกจากทะเบียนบ้านเรียบร้อย2. เตรียม & เช็คเอกสาร ก่อนเคลมประกันชีวิตการเตรียมเอกสารสำหรับยื่นเคลมประกันชีวิตจะต้องประกอบไปด้วยเอกสาร 2 ส่วนส่วนแรก คือ เอกสารของผู้เสียชีวิต ได้แก่1. สำเนาใบมรณบัตร2. สำเนาทะเบียนบ้านประทับตรา “ตาย”3. สำเนาบัตรประชาชน (ผู้รับผลประโยชน์รับรองสำเนาถูกต้อง)4. กรมธรรม์ประกันภัยหรือหนังสือรับรองการประกันภัย5. แบบเรียกร้องสินไหมมรณกรรม (ฟอร์มบริษัท)6. สำเนาบันทึกประจำวัน รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ)7. สำเนารายงานการชนสูตรพลิกศพ (กรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ)8. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)ส่วนที่สอง คือ เอกสารของผู้รับผลประโยชน์ ได้แก่ㆍสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้แทนโดยชอบธรรมㆍสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับผลประโยชน์ทุกคน หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้แทนโดยชอบธรรมㆍสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)3. ยื่นเอกสารเคลมประกันชีวิตหลังจากเตรียมเอกสารต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถยื่นเคลมประกันชีวิตได้เลยโดยอาจจะติดต่อไปที่ตัวแทนขายประกันที่ดูแลเจ้าของประกันอยู่ หรือติดต่อไปที่บริษัทประกันก็ได้4. รอรับเงินสินไหมจากประกันชีวิตเมื่อยื่นเอกสารแก่บริษัทประกันชีวิตเรียบร้อยแล้วก็รอการดำเนินการจากบริษัทประกันชีวิตนั้น เพื่อจ่ายเงินสินไหมประกันชีวิตให้ผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิตอาจดูเหมือนเป็นมรดกลมที่เราจับต้องไม่ได้ ณ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ แต่เชื่อเถอะในวันหนึ่งมรดกชิ้นนี้จะช่วยดูแลคนที่เรารักอย่างที่เราวาดฝันไว้ได้ ค้นหา และเปรียบเทียบแบบประกันชีวิตที่ใช่ได้ที่ noon.in.thแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับnoonhttps://www.noon.in.th/blog/how-to-claim-life-insurance/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

แค่ประเมินความเสี่ยง ก็ลงทุนได้อย่าง “กินอิ่ม-นอนหลับสบาย”

30/04/2024

บทความโดย “อภิเชษฐ เอกวัฒนพันธ์” ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 12 กันยายน 2566 ในปีที่ผ่านมา คงจะมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยเลยที่ปวดหัวกับผลตอบแทนที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสักเท่าไหร่ บางท่าอาจจะต้องถึงขึ้นปรับกลยุทธ์ในการลงทุนเสียใหม่กันเลยทีเดียว ซึ่งก็เป็นจังหวะที่ดีสำหรับการทบทวนความเสี่ยงของตนเองด้วยเช่นกัน เชื่อว่าทุกท่านคงได้เคยผ่านหูผ่านตากับแบบประเมินความเสี่ยง (Suitability Test) กันมาบ้างแล้ว อย่างน้อย ๆ ก็ต้องเคยได้ทำแบบประเมินชุดนี้เมื่อครั้งเปิดบัญชีธุรกรรมด้านการลงทุน เช่น เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวม เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น และก็เชื่อเหลือเกินว่า หลายท่านยังไม่เคยกับกลับไปทำแบบประเมินฉบับนี้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแบบประเมินชุดนี้เป็นตัวช่วยสำคัญให้ผู้ลงทุนหลายท่านสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมได้ มาถึงตรงนี้หลายต่อหลายท่านก็คงมีคำถามผุดขึ้นมาในหัวแล้วว่า จะทำยังไงถึงจะใช้แบบประเมินความเสี่ยงชุดนี้ช่วยในการบริหารพอร์ตการลงทุนได้ล่ะ จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องกลับไปทำความเข้าใจก่อนว่า ชุดคำถามในแบบประเมิน มีไว้เพื่อให้ทราบข้อมูลใน 2 แง่มุม นั่นก็คือ 1. ความสามารถในการรับความเสี่ยง (Ability to Take Risk) หมายถึง ความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงและผลขาดทุนจากการลงทุน โดยหลัก ๆ พิจารณาจาก ช่วงวัย (ยิ่งอายุน้อย ยิ่งรับความเสี่ยงได้มาก) สถานะทางการเงิน (ยิ่งสถานะทางการเงินดี ยิ่งรับความเสี่ยงได้มาก โดยดูได้จากความเพียงพอของเงินสดสำรองเผื่อฉุกเฉิน สินทรัพย์เทียบกับภาระหนี้สิน เป็นต้น) รวมถึงระยะเวลาการลงทุน (ยิ่งระยะเวลาการลงทุนยาว ยิ่งสามารถรับความเสี่ยงได้มาก) 2. ความยินดีที่จะรับความเสี่ยง (Willingness to Take Risk) โดยพิจารณาจาก ทัศนคติต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ความวิตกกังวลใจและวิธีการรับมือเมื่อพอร์ตการลงทุนติดลบ เมื่อต้องการเริ่มทบทวนความเสี่ยงปัจจุบัน ท่านสามารถติดต่อขอรับแบบประเมินได้จาก สถาบันการเงินที่ท่านใช้บริการอยู่ หรือจากนักวางแผนการเงิน ที่ปรึกษาการเงิน ผู้วางแผนการลงทุน (IP) หรือผู้แนะนำการลงทุน (IC) ที่ดูแลท่านอยู่ โดยในแบบสอบถามจะประกอบไปด้วยชุดคำถามเพียง 12 ข้อ ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน ใช้เวลาในการตอบแบบประมินไม่นาน เพียงแค่ต้องตอบคำถามในแบบประมินตามความเป็นจริง และเมื่อทำแบบประเมินเรียบร้อยแล้ว จะสามารถนำผลรวมคะแนนทั้งหมดมาวิเคราะห์ได้ว่า ณ ขณะนี้ ท่านเองมีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ระดับใด ดังรายละเอียดตามตารางด้านล่างจากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง แต่ในส่วนที่ว่าหน้าตาของพอร์ตการลงทุนในแต่ละระดับความเสี่ยงหน้าตาเป็นอย่างไรนั้น ใคร่เชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่านได้ลองย้อนกลับไปอ่านบทความ “All Season Portfolio กลยุทธ์การลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในทุกวิกฤต” และ “Asset Allocation ง่ายนิดเดียว” ซึ่งได้เขียนอธิบายกระบวนการและขั้นตอนการจัดพอร์ตการลงทุนไว้แล้วอีกครั้งหนึ่ง โดยสรุป แบบประเมินความเสี่ยง (Suitability Test) เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราทราบถึงระดับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้ในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงควรทบทวนความเสี่ยงของตนเองโดยผ่านการทำแบบแบบประเมินความเสี่ยงอย่างน้อย ๆ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้เราทราบถึงระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ในปัจจุบัน และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม ด้วยขั้นตอนเพียงเท่านี้เราก็จะสามารถบริหารพอร์ตลงทุนได้แบบกินอิ่ม นอนหลับสบาย กันแล้วครับ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1389893

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

ไล่บี้ตรวจสอบ “ประกันเถื่อน” ตะลึง ! ลูกเจ้าของโรงพยาบาลดังมีเอี่ยว

30/04/2024

หลังจากประชาชนจำนวนมากซื้อประกันภัยสัตว์เลี้ยง แต่ไม่สามารถเบิกค่าเคลมสินไหมได้ ร้อนถึง สมาคมประกันวินาศภัยไทย ต้องออกมาเตือนให้ระมัดระวัง พร้อมตรวจสอบพบว่า เป็นบริษัทประกันภัยเถื่อนจากต่างชาติรวมถึงยังพบว่ามีการลักลอบขายประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวในประเทศไทยด้วย ล่าสุด มีความคืบหน้าที่ตรวจสอบ พบว่า ขบวนการนี้มีคนไทยเกี่ยวข้องด้วยเปิดเครือข่ายขายประกันเถื่อน“ประสิทธิ์ คำเกิด” ประธานคณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ สมาคมประกันวินาศภัยไทย (TGIA) กล่าวว่า ได้ตรวจสอบแกะรอยการโกงในครั้งนี้ พบว่า เมื่อปี 2564 ประมาณเดือน มิ.ย. มีบริษัทจดทะเบียนอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ (แทนชื่อว่า IS) เสนอตัวทำการตลาดขายประกันภัยสัตว์เลี้ยงให้กับบริษัทประกันภัยจากประเทศอังกฤษ (แทนชื่อว่า IU) โดยวางขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (แทนชื่อว่า IP)ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 บริษัท IS มีการทำสัญญานายหน้าร่วม โดยอ้างว่าบริษัท IU มีใบอนุญาตนายหน้าประกันภัยและประกันภัยต่ออยู่ที่อังกฤษ จนถึงเดือน ก.ค. 2565 เริ่มเสนอขายประกันภัยสัตว์เลี้ยงบนหน้าเว็บไซต์ IP“เมื่อลูกค้าคนไทยชำระเงินค่าเบี้ยประกันไปแล้ว ทาง IP จะนำส่งค่าเบี้ยให้ IU โดย IU จะจ่ายค่าคอมมิชชั่นกลับมาให้กับ IP ผ่าน IS ตรวจพบครั้งล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค. 2566 กล่าวคือ IS กับ IP คือกลุ่มคนเดียวกัน”โดยพบว่าบริษัทดังกล่าวมีการรับประกันไปมากกว่า 4,000 กรมธรรม์ คิดเป็นเบี้ยประกันราว 10-20 ล้านบาท ซึ่งกรมธรรม์ฉบับสุดท้ายจะหมดอายุความคุ้มครอง วันที่ 29 มิ.ย. 2567“จากการรับประกันที่มีจำนวนมากนั้น ประมาณเดือน พ.ค. 2566 เริ่มส่งสัญญาณไม่ดีคือ ทาง IU ขอให้ IP เอาโปรดักต์ตัวนี้ออกจากหน้าเว็บไซต์ และถูกร้องขอให้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไขบางอย่าง และประมาณวันที่ 27 มิ.ย. 2566 เริ่มเกิดปัญหา ลูกค้าเคลมไม่ได้”ดอดเจรจาลูกค้าขอคืนเบี้ย“กัลยา จุกหอม” ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารอาวุโส สายงานวิชาการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า จากการพูดคุยกับผู้เสียหาย พบว่าเป็นการทำประกันที่ง่ายมาก ไม่มีการขอข้อมูลตรวจสอบความเป็นตัวตนของสัตว์เลย นอกจากนั้นหลาย ๆ คลินิกสัตว์มีการแนะนำให้ลูกค้าซื้อประกันสัตว์เลี้ยงกับบริษัทนี้ด้วย เนื่องจากเห็นว่า ช่วงแรกเคลมง่ายจ่ายหมด จนมาระยะหลังค้างชำระค่าสินไหมเป็นจำนวนมาก ตอนนี้มีประมาณ 180 ราย ที่ยื่นเคลมแต่ยังไม่ได้รับเงิน“ลูกค้ายังมีความหวังที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทน และส่วนหนึ่งมองว่าค่าสินไหมไม่สูง จึงยังไม่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดี โดยล่าสุดทาง IS ที่สิงคโปร์ มีการเจรจากับผู้เสียหายขอคืนเบี้ย 40% ให้ลูกค้า ซึ่งในทางปฏิบัติ ประกันในไทยจะไม่มีรูปแบบนี้ แต่จะมีถ้าจะยกเลิกต้องคืนเบี้ยตามส่วนที่มีระยะเวลาคุ้มครองเหลืออยู่”แอบขายประกันสุขภาพต่างชาติจากการสืบค้นยังพบว่า บริษัท IU มีการรับประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวอยู่ในประเทศไทยด้วย โดยขายบนเว็บไซต์มานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันก็ยังขายอยู่ เนื่องจากไม่ผิดกฎหมายไทย ซึ่งมีบุคคลเสมือนเป็นนายหน้า ทำหน้าที่รับประกันและต่ออายุ มีออฟฟิศตั้งอยู่ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีคนไทยที่มีไลเซนส์นายหน้าจริงแต่ปัจจุบันได้ลาออกไปแล้ว และให้ข้อมูลว่ามีชาวรัสเซียเป็นผู้จัดการที่นี่ และจะมีบริษัทที่ทำหน้าที่ประสานงาน-แจ้งเคลม ออฟฟิศอยู่แถวรามอินทรา เชื่อมโยงกับบริษัทที่ซอยศูนย์วิจัย 4 ที่เป็นบริษัทรับทำเคลมและจ่ายสินไหม“ตามกฎหมายไทยกำหนดให้ชาวต่างชาติที่เดินทางมาพำนักระยะยาวในไทย จะยื่นขอวีซ่าต้องมีประกันสุขภาพ 2 แบบคือ 1.Visa Non O-A (ไม่เกิน 1 ปี) วงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งจะซื้อผ่านบริษัทในไทยมีอยู่ 12 บริษัท หรือจากต่างประเทศก็ได้และเมื่อจะขอต่อวีซ่าต้องติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และประสานกรมการกงสุลเพื่อตรวจสอบข้อมูลประกันสุขภาพ และ 2.Visa Non O-X พำนักระยะยาวตลอดที่อยู่ในไทย ต้องมีวงเงิน OPD ไม่น้อยกว่า 40,000 บาท และ IPD ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท ซื้อได้เฉพาะบริษัทในไทย ซึ่งมีอยู่ 7 ราย”ตะลึงลูกเจ้าของโรงพยาบาลดังมีเอี่ยวทั้งนี้ จากที่สมาคมได้ตรวจสอบข้อมูล ตามที่กล่าวอ้างว่า จดทะเบียนเป็นนายหน้าประกันภัยและประกันภัยต่ออยู่ที่อังกฤษ ก็พบว่าไม่ปรากฏรายชื่อนี้อยู่ในลิสต์ของ คปภ. อังกฤษ (FCA) และสมาคมประกันภัยอังกฤษ (ABI) โดยพบเพียงหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทเป็น “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” มีชาวอังกฤษเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 1 ราย และในโครงข่ายพันธมิตร มีคนไทยร่วมถือหุ้นด้วย 2-3 ราย ซึ่งหนึ่งรายในนั้น ถือหุ้นใน IS ที่สิงคโปร์ด้วย“ประสิทธิ์” กล่าวว่า กลุ่มคนไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า มีนามสกุลดัง เป็นลูกเจ้าของโรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทย และอีกรายเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทให้บริการบริหารจัดการค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่ถูกต้องตามกฎหมายในไทย อ้างอิงจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ แต่ไม่พบว่าได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยแต่อย่างใดโดยบริษัทตั้งอยู่ในซอยศูนย์วิจัย 4 กทม. จะรับทำหน้าที่ดำเนินการจ่ายเคลมและรับชำระเบี้ยประกันภัยในกรณีเมื่อลูกค้าจ่ายเป็นเงินสดและเงินโอน แต่หากลูกค้าจ่ายค่าเบี้ยผ่านบัตรเครดิต เงินจะเข้าบัญชีโดยตรงในบริษัท IU ที่อังกฤษDSI โยน คปภ. ตรวจสอบเอาผิดเบื้องต้นทาง ตม. และกงสุล ได้รับทราบแล้วว่า บริษัท IU ไม่มีตัวตน และได้มีการแจ้งเตือนเอกสารของบริษัท IU ว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการยื่นขอวีซ่าโดยจากข้อมูลล่าสุดที่ชาวต่างชาติยื่นขอวีซ่าประมาณกว่า 30,000 ราย แต่ในระบบประกันของสมาคม มีแค่กว่า 8,000 รายเท่านั้น ส่วนที่เหลือยังไม่แน่ใจว่า ซื้อประกันที่ไหน หรือใช้สวัสดิการของรัฐที่มีอยู่แทนการซื้อประกันได้“ประสิทธิ์” กล่าวว่า หลังจากที่มีผู้เสียหายกลุ่มหนึ่งจากประกันภัยสัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจเข้าข่ายกรณีฉ้อโกง สมาคมจึงได้ทำหนังสือไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แต่เบื้องต้นดีเอสไอได้ประสานส่งเรื่องไปยังสำนักงาน คปภ. เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแล“หลังจากนี้การดำเนินการตามกฎหมายจะอยู่ที่ คปภ. จะเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับความมั่นใจในการรวบรวมพยานหลักฐานที่ชัดเจน”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1391597

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

แม่กลุ้มใจ ! ลูกสาวติดเชื้อ RSV ประกันไม่อนุมัติ เพราะเคลมถี่เกินไป

30/04/2024

แม่กลุ้มใจ ! ประกันไม่อนุมัติ ลูกสาวติดเชื้อ RSV แจ้งเหตุผลชวนอึ้ง ! เคลมประกันถี่เกินไปคุณแม่รายหนึ่งได้แชร์ประสบการณ์การเป็นลูกค้าประกันของบริษัทหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ได้อ่านเรื่องราวต้องถึงกับอึ้ง เนื่องจากลูกสาวติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก) ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถเคลมประกันได้ โดยบริษัทประกันให้เหตุผลว่าเคลมต่อเนื่องเกินไป จึงขอพิจารณาเอกสารอย่างละเอียดคุณแม่รายนี้เล่าว่าได้ซื้อประกันสุขภาพให้ลูกสาว ซึ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันปีละ 48,XXX บาท โดยเงื่อนไขของประกันดังนี้1. จ่ายค่ารักษาแบบ OPD ให้ 1,500 บาท/ครั้ง จำนวนไม่เกิน 30 ครั้ง/ปี2. จ่ายค่ารักษาแบบ IPD ให้ครั้งละ 50,000 บาท แต่ต้องไม่ใช่โรคเดียวกันในแต่ละครั้ง (หากเป็นการรักษาโรคเดียวกันให้นับรวมในยอด 50,000 บาท ซึ่งจำกัดระยะเวลารักษาภายใน 3 เดือน ไม่รวมค่าห้อง)คุณแม่ยังเล่าต่อว่าในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ได้ใช้ประกันเพื่อจ่ายค่ารักษา OPD ไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยในวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ได้ใช้ประกัน เพื่อจ่าย IPD ครั้งที่ 1 แพทย์ระบุว่าลูกสาวปอดอักเสบ ตรวจแล้วไม่พบเชื้ออะไร เคลมยอดเงินจำนวน 18,xxx บาทวันที่ 8 กันยายน 2566 ได้ใช้ประกัน เพื่อจ่าย IPD ครั้งที่ 2 แพทย์ระบุว่าลูกสาวเชื้อไวรัส RSV เคลมยอดเงินจำนวน 32,xxx บาท แต่ไม่สามารถเคลมเงินประกันได้ ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวน โดยตัวแทนประกันแจ้งว่า “ฝ่ายพิจารณาขอตรวจเอกสารการรักษาอย่างละเอียด เนื่องจากมีการเคลมที่ต่อเนื่องกันเกินไป”เหตุที่เกิดขึ้นสร้างความเดือดร้อนและไม่สบายใจให้กับคุณแม่รายนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกสาวต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นสิทธิ์ของผู้เอาประกันที่จะใช้ประกันของตัวเอง“เรามีสิทธิ์ที่จะเคลมไหม ตลอดระยะเวลา 1 ปี การเคลมแต่ละครั้งเราต้องมานั่งเกรงใจประกันเหรอคะ ต้องมาคอยมานั่งกังวลว่าเคลมถี่เกินไปหรือเปล่า ประกันจะเมตตาอนุมัติให้เราหรือเปล่า ถ้าวันนี้เราไม่มีเงินเหลือติดตัวอยู่เลย เราต้องทำยังไงคะ เรากับลูกจะต้องอยู่ในโรงบาลจนกว่าประกันจะพิจารณา ซึ่งไม่รู้ว่าจะอนุมัติให้เราหรือไม่อนุมัติให้เราเลย วันนี้ตัวแทนประกันแจ้งให้เราเขียนจดหมายแนบขอความเห็นใจจากฝ่ายพิจารณา เขียนร้องขอรอบที่ 2 จากการโดนปฏิเสธรอบแรก สุดท้ายก็โดนปฏิเสธอีกรอบที่ 2 เข้าเนื้อไม่พอต้องมาเจ็บใจอีก รู้สึกเหมือนขอทานขอเศษบุญเลยค่ะ”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับamarintvhttps://www.amarintv.com/news/detail/187738

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ร่วมงานสัมมนาวิชาการ “เคล็ดลับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยหลักการ ESG” ในงาน Thailand InsurTech Fair 2023

30/04/2024

นายตัน ฮาค เลห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาค กลุ่มบริษัทเอไอเอ ร่วมบรรยายในงานสัมมนาวิชาการ Thailand InsurTech Fair 2023 ในหัวข้อ ‘ESG - เครื่องมือสำคัญในขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน’ โดยได้ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการธุรกิจโดยประยุกต์ใช้หลักการ ESG (Environmental, Social and Governance) ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ซึ่งเป็นปรัชญาที่เอไอเอยึดถือในการดำเนินธุรกิจมาตลอดกว่าศตวรรษ ตอกย้ำถึงการเป็นผู้นำด้าน ESG ในภูมิภาคเอเชีย สอดคล้องตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ที่มุ่งมั่นดูแลผู้คนทั่วเอเชียให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น - ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ณ ห้องฟินิกซ์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

สมาคมประกันวินาศภัยไทย สะกดไทม์ไลน์ โบรกเกอร์เถื่อนขายประกันสัตว์เลี้ยง ประกันสุขภาพ เบี้ยวเคลมเชิดเบี้ยประกัน

30/04/2024

11 กันยายน 2566 : นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ เลขาธิการสมาคมประกันวินาศภัยไทย เป็นประธานในการประชุมชี้แจงบริษัทสมาชิกของสมาคมฯ พร้อมด้วยนายประสิทธิ์ คำเกิด ประธานคณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบ และนางสาวกัลยา จุกหอม ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารอาวุโส สายงานวิชาการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมในการชี้แจงถึงการดำเนินการของสมาคมฯ ถึงประเด็นปัญหาและผลกบระทบที่เกิดขึ้นจากกรณีที่มีกลุ่มบุคคล/บริษัทต่างชาติ ขายประกันภัยในประเทศไทย ทั้งประกันภัยสัตว์เลี้ยง และประกันภัยสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนายประสิทธิ์ อธิบายว่า ทางสมาคมฯ ได้ไปตามสืบค้นว่าบริษัทฯ ที่รับประกันภัยนี้ทางบริษัทแจ้งว่า รับประกันสุขภาพเท่านั้น และเป็นบริษัทต่างชาติ แต่เมื่อปี 2565 บริษัทฯประเทศสิงคโปร์ มาเสนอโปรดักส์ประกันสุขภาพ จึงมีการแตกไลน์ให้คนไทยขายประกันสัตว์เลี้ยง สุนัข-แมว ซึ่งริเริ่มตั้งแต่มิถุนายน และขายจริงจังในเดือนกรกฎาคม 2565โดยในกระบวนการนี้ ขอสมมุตตัวละครมี 3 ฝ่าย ทั้งชาวต่างชาติและคนไทย คือ T1, T2 และ T3 โดยคนไทย ที่มีหน้าที่ดูแลด้านสินไหมทดแทน ในเบื้องต้นมีผู้ทำประกันภัยจำนวน 4,000 ฉบับ (เป็นตัวเลขที่ไม่แน่ชัดเนื่องจากสุ่มประเมินจากผู้ที่เสียหาย) คิดเป็นเบี้ยประกันภัย 20 ล้านบาท เนื่องจากไม่ยุ่งยากต่อการทำประกัน ไม่ดูรายละเอียดของสัตว์มากมายนัก เช่น ให้ชี้แจงเพียงแค่พันธ์ุของสุนัข และอายุเท่านั้น และที่น่าสังเกตุคือ คนไทยที่ดำเนินการในประเทศไทยนั้น มีนามสกุลดัง และเป็นลูกเจ้าของโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง  เป็นผู้การันตีและให้ความสนับสนุนบริษัทดังกล่าวโดยมีการคิดอัตราเบี้ยประกัน 3 แบบ ได้แก่ อัตรา 2,500 บาท 4,900 และสูงสุด 7,500 บาท โดยซื้อผ่านช่องทางเว็ปไซต์ ชำระผ่านบัตรเครดิต เงินก็จะโอนไปยังประเทศอังกฤษ แต่หากชำระเงินสด ทางบริษัทฯ คนไทยก็รับชำระเบี้ยประกัน ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีผู้ถือหุ้น 3 คน ชื่อเดียวกันกับที่จัดห้างหุ้นส่วนที่ประเทศอังกฤษ แต่บริษัทนี้ไม่ได้มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าในประเทศไทย ขณะนี้ปิดรับประกันภัยแล้ว ซึ่งกรมธรรม์ฉบับสุดท้ายคาดว่าหมดอายุเดือนมิถุนายน 2567โดยหลังจากนั้นเรื่องมาเกิดว่าเคลมไม่ได้ประมาณเดือน พฤษภาคม 2566 ซึ่งช่วงแรกก็มีการจ่ายสินไหมทดแทนอย่างต่อเนื่อง วิธีการคือนำสัตว์เข้าไปรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หลังจากนั้นให้นำใบเสร็จมาเบิกค่ารักษาพยาบาลกับ T3 เพื่อพิจารณาจ่ายเงินต่อไป ซึ่งในช่วงแรกก็มีการจ่ายสินไหมอย่างต่อเนื่องไม่ได้มีปัญหา จนกระทั่งเดือนมิถุนายน 2566 จำนวนการเคลมสูงมากจนผิดสังเกตุว่า ทำประกันสุขนัขเพียงตัวเดียวแต่เคลมบ่อยครั้ง ทาง T3 จีงตรวจสอบและขอให้เจ้าของสุนัขส่งเอกสารเพิ่มเติมนางสาวกัลยา จุกหอม ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารอาวุโส สายงานวิชาการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย อธิบายว่า ทางสมาคมฯ ได้ติดตามตรวจสอบไปยังหน่วยงานกำกับทางประเทศอังกฤษ ว่าบริษัทดังกล่าวมีตัวตนหรือไม่ เนื่องจากทางบริษัทฯ แจ้งว่า ส่งงานให้กับบริษัทประกันภัยต่อด้วย แต่ทางหน่วยงานกำกับของประเทศอังกฤษแจ้งกลับมาว่า บริษัทดังกล่าวไม่มีใบนุญาตประกอบธุรกิจรับประกันหรือนายหน้าแต่อย่างใด แต่บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน และมีชื่อของคนไทยร่วมหุ้นด้วย 2-3 คน พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ 1 คน ส่วนอีก 2 คนอยู่ประเทศไทย โดยทางประเทศไทยมีหน้าที่รับบริการด้านสินไหมทดแทน โดยทางชาวต่างชาติที่ถือหุ้นใหญ่ที่อังกฤษจะทำหน้าที่จ่ายค่าสินไหมทดแทน"ต่อมาระยะหลังมีจำนวนเคลมมากขึ้น เริ่มจ่ายเคลมล่าช้าและไม่จ่ายสินไหมทดแทน จนมีผู้เสียหายร้องเรียนจำนวนมากจนทำให้สมาคมประกันวินาศภัย จึงต้องเร่งดำเนินการติดตาม และเรื่องดังกล่าวรายละเอียดต่างๆ ได้ส่งเรื่องทั้งหมดต่อให้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ.ดำเนินการต่อไป เพื่อให้เกิดการป้องกัน ป้องปรามบริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาหาประโยชน์จากการหลอกขายประกันภัยในประเทศไทยโดยไม่มีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง รวมถึงหลอกชาวต่างชาติให้ซื้อประกันสุขภาพ เพื่อเอื้อต่อการมีวีซ่า อยู่ในประเทศไทยได้ระยะยาวมากขึ้นด้วย "นางสาวกัลยา กล่าว แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=152266

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

บ้านคือวิมาน! คุณพร้อมเป็น “หัวหน้าครอบครัว” เพื่อความมั่งคั่งแล้วหรือยัง

30/04/2024

บทความโดย “กมล กระจ่างวงศ์ชัย”  นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย   วันที่ 11 กันยายน 2566 เคยได้ยินคำว่า “บ้าน คือ วิมานของเรา” เพราะองค์ประกอบสำคัญของบ้าน คือ ครอบครัว หากคุณเป็นหัวหน้าครอบครัว บทบาทหนึ่งที่สำคัญ คือ การบริหารการเงินในครอบครัว (Family Finances) และต่อจากนี้ คือ คำถามที่อาจทำให้คุณและครอบครัว “มั่งคั่ง มั่นคง และมีความสุข” เหมือนอยู่ในวิมานของเรา มีเป้าหมายชีวิตของครอบครัวที่สามารถแปลงเป็นแผนการเงินเพื่อปฏิบัติให้ถึงเป้าหมาย ใช่หรือไม่ ถ้าตอบ “ใช่” คุณมีความรู้ มีเหตุมีผล และเชื่อว่าเป้าหมายที่ปราศจากแผน เป็นเพียงแค่ความฝัน แน่นอนว่าหลายคนอาจวางแผนการเงินเบื้องต้นด้วยการอ่านหนังสือ สื่อออนไลน์จากการเรียน การอบรม แต่บางคนอาจอาศัยผู้รู้หรือใช้บริการนักวางแผนการเงิน แปลงเป้าหมายชีวิตให้เป็นเป้าหมายและแผนการเงินที่สมบูรณ์แผนการเงินที่สมบูรณ์ของครอบครัว ประกอบด้วย แผนด้านรายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน แผนประกันความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สิน แผนการเกษียณ แผนจัดการมรดก รวมถึงแผนเฉพาะต่าง ๆ เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้าน แต่งงานมีบุตร แผนการศึกษา เป็นต้น ใช้ “งบประมาณ” ในการควบคุมค่าใช้จ่ายของสมาชิกในครอบครัว ใช่หรือไม่ ถ้าตอบ “ใช่” คุณเชื่อในความพอเพียง อาจให้สมาชิกทำบันทึกการใช้จ่ายเพื่อควบคุมไม่ให้จ่ายเกินกว่างบประมาณของแต่ละคน สมาชิกจะเรียนรู้การใช้จ่ายตามความลำดับ ความจำเป็น (Needs) ความต้องการ (Wants) และใช้จ่ายไม่เกินกว่าฐานะ (living within your means) อันเป็นกฎทองของการสร้างความมั่งคั่ง เงินสำรองฉุกเฉิน มีเงินสำรองฉุกเฉิน สำหรับครอบครัวใช้จ่ายอย่างน้อย 6 เดือน ใช่หรือไม่ ถ้าตอบ “ใช่” คุณเชื่อในเรื่องการมีภูมิคุ้มกันความเสี่ยง ถึงแม้อาจทำประกันชีวิตและทรัพย์สิน สำหรับครอบครัวตามแผนเป้าหมายชีวิตของครอบครัวแล้วก็ตาม แต่กรณีที่ไม่มีประกันหรือท่านรับความเสี่ยงไว้เอง เช่น ค่าบำรุงรักษาซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงบ้านและอุปกรณ์ การขาดรายได้จากการออกจากงานหรือกรณีที่สมาชิกในครอบครัวมีจำนวนมาก (อาจเกิดเหตุไม่คาดคิดมากตามจำนวนคน) และ/หรือ อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน วัยชรา (ที่ไม่มีประกัน) คุณจึงควรกำหนดจำนวนเงินสำรองให้เหมาะสมกับครอบครัว ข้อพึงระวัง ไม่ควรคิดว่าวงเงินบัตรเครดิตหรือวงเงินสินเชื่อระยะสั้นดอกเบี้ยสูงเป็นวงเงินสำรองฉุกเฉิน หรือคิดเสมือนว่าเป็นแหล่งรายได้พิเศษ สามารถสื่อสารเชิงบวกและสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการปฏิบัติตามแผนการเงิน ใช่ หรือไม่ ถ้าตอบ “ใช่” คุณได้สร้างครอบครัวคุณธรรม เนื่องจากการสื่อสารเชิงบวกหรือการสื่อสารเชิงคุณธรรมมีผลให้ครอบครัวมีความสุขสามัคคีและเข้มแข็ง สมาชิกมีความเข้าใจ มีความสัมพันธ์ที่ดีและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว มีผลโดยตรงให้สมาชิกร่วมกันปฏิบัติตามแผนการเงิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สร้างความตระหนักรู้ให้ครอบครัวไม่ตกเป็นเหยื่อกลโกงทั้งทางออนไลน์และทางอื่น ๆ ใช่หรือไม่ ถ้าตอบ “ใช่” คุณกำลังบูรณาการความรู้ด้านการเงิน (Money Literacy) ร่วมกับความรู้ด้านสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อรู้ทันกลโกงรูปแบบเก่าและใหม่ของมิจฉาชีพ แล้วสื่อสารด้วยการพูดคุยกับครอบครัวผ่านสื่อออนไลน์ เช่น line group โดยเชื่อว่าการเตือนสติพร้อมกับให้ความรู้ก่อให้เกิดสติปัญญา และสติปัญญาก่อให้เกิดความไม่ประมาท ดังนั้น จึงถ่ายทอดทัศนคติ ความรู้และ mindset การเงินการลงทุนแก่สมาชิกในครอบครัวพร้อมกันไปด้วยเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันทางการเงิน   เป็นบุคคลต้นแบบ (Role Model) ด้านการเงินการลงทุนแก่สมาชิกในครอบครัว ใช่หรือไม่ ถ้าตอบ “ใช่” คุณเชื่อว่า “ทำสิ่งที่ถูก ไม่ใช่เพราะพูดให้ฟัง แต่เพราะทำให้ดู” จึงเป็นบุคคลต้นแบบที่ถ่ายทอดทัศนคติและความรู้การเงินด้วยการทำให้ดูด้วย แต่ผลวิจัยโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนมกราคม 2565 เรื่อง “พฤติกรรมเชิงลึกและไลฟ์สไตล์ทางการเงินของคนรุ่นใหม่” พบว่า บุคคลต้นแบบในการตัดสินใจทางการเงินและการลงทุนของกลุ่มประชากร คือ พ่อแม่และบุคคลในวงการบันเทิง แต่ถ้าเป็นกลุ่มประชากรออนไลน์ผู้ใกล้ชิดบริการของตลาดหลักทรัพย์ฯ บุคคลต้นแบบกลับกลายเป็น นักธุรกิจต่างประเทศและกูรูด้านการลงทุน จึงเป็นข้อที่ท่านควรเข้าใจพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ในครอบครัวด้วย อนึ่ง บางกรณี เช่น เมื่อบุตรเรียนจบ (และน่าจะทำงานแล้ว) ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาก็จะไม่มีแต่อาจเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น บุตรไม่ทำงาน ออกจากงาน ขาดรายได้ ขอเงินลงทุน ลงทุนผิดพลาดหรือก่อหนี้สิน อาจจะมาขอความช่วยเหลือด้านการเงิน จึงควรเฝ้ามองหาทางป้องกันหรือหาทางออกให้ด้วยเช่นกัน เฉลยและสรุป ถ้าคุณตอบ “ใช่” ทุกข้อ คุณและครอบครัวดำเนินชีวิตตามหลักการ 5 ข้อของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี  มีความรู้และคุณธรรม อย่างไรก็ตาม ในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อความมั่งคั่ง ต้องติดตามสถานการณ์การเงิน ทบทวนแผนการเงิน และหาช่องทางใหม่ ๆ ในการบริหารการเงินในครอบครัว (Family Finances) เพื่อบรรลุเป้าหมายการเงินและเป้าหมายชีวิต แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1389887

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย จัดทัพนวัตกรรมโซลูชันส์ด้านสุขภาพและการเงิน ตอบโจทย์ลูกค้าแบบครบวงจร ในงาน Thailand InsurTech Fair 2023

30/04/2024

กรุงเทพฯ 8 กันยายน 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำด้านประกันชีวิต สุขภาพ และยูนิต ลิงค์ จัดทัพนวัตกรรมโซลูชันส์ที่พร้อมดูแลคนไทยทั้งในด้านสุขภาพ โรคร้ายแรง และด้านการวางแผนการเงิน ร่วมงาน Thailand InsurTech Fair 2023 มหกรรมเทคโนโลยีประกันภัยยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี ซึ่งมีผู้บริหารเอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี (ที่ 6 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายโยฮัน ดีทอย (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน นายดำรงศักดิ์ ขุนทอง (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายขายภูมิภาค 2 นางสลักจิต นิลประเสริฐศักดิ์ (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนช่องทางการขาย นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ นายสุวิรัช พงศ์เสาวภาคย์ (ขวาสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภายนอก นางสาวธีรนุช ทำนุพันธุ์ (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และบริหารสำนักงานตัวแทนประกันชีวิต และ นพ.ประมุกข์ ทรงจักรแก้ว ที่ปรึกษาอาวุโส ฝ่ายปฏิบัติการ (ซ้ายสุด) เป็นตัวแทนร่วมในพิธีเปิดบูธเอไอเอ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พร้อมด้วยคณะ เป็นประธานในพิธีสำหรับงานครั้งนี้ เอไอเอ ได้นำนวัตกรรมโซลูชันส์ที่ครบวงจรมานำเสนอแก่ลูกค้า เพื่อส่งมอบการดูแลที่ดีที่สุดให้กับคนไทย กับแบบประกันที่ได้รับความนิยม อาทิ ‘AIA Health Saver’ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ และ‘AIA Multi-Pay CI’ ประกันโรคร้ายแรงแบบจ่ายผลประโยชน์หลายครั้ง พร้อมด้วยประกันรูปแบบใหม่ที่ให้เงินคืนจากการดูแลสุขภาพคุ้มถึง 3 ต่อ[1] อย่าง ‘AIA Vitality Unit Linked’ ซึ่งมาพร้อมความคุ้มครองครบทั้งชีวิต สุขภาพ และโรคร้ายแรง อีกทั้งยังได้รับโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนได้สนุกกับทุก Content ของชีวิต พิเศษสำหรับผู้ที่ซื้อแบบประกันเอไอเอภายในงาน จะได้รับโปรโมชันแบ่งจ่าย 0% นาน 7 เดือน[2] เมื่อชำระเงินผ่านบัตรเครดิตในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ หรือบัตรเครดิต KTC และสมัครบริการหักบัญชีอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง (AUTOPAY) หรือสามารถเลือกรับโค้ด Shopee มูลค่าสูงสุด 500 บาท[3] ต่อกรมธรรม์[4] เมื่อสมัครบริการหักบัญขีอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง (AUTOPAY) ผ่านบัตรเครดิตทุกธนาคาร หรือผ่านการหักบัญชีธนาคาร  นอกจากนี้ เอไอเอ ยังขอเชิญชวนมาร่วมสนุกกับกิจกรรมมากมายภายในบูธ เช่น ถ่ายรูปสุดชิคที่ Photo Booth เพื่อรับกระเป๋า Amenity สีสันสดใส กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นฟรี และปรึกษาด้านโภชนาการ เพื่อรับคะแนนเอไอเอ ไวทัลลิตี้ สูงสุด 5,000 คะแนน[5] พร้อมของที่ระลึกสุดเก๋ อีกทั้งยังจะได้พบกับโชว์พิเศษจาก ‘ไมค์ ภัทรเดช สงวนความดี’ AIA Health Saver Ambassador ในวันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 14.15 น. เป็นต้นไปงาน Thailand InsurTech Fair 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 10 กันยายน 2566 ณ อิมแพ็คเอ๊กซิบิชัน ฮอลล์ 7 เมืองทองธานี ผู้ที่สนใจสามารถมาเลือกแบบประกันที่ตรงกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ พร้อมรับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการเงินมืออาชีพได้ที่บูธเอไอเอ  หมายเหตุ: [1] เงินคืนจากค่าการประกันภัยซื่งคิดเป็นอัตราร้อยละของค่าการประกันภัยมาตรฐานในแต่ละปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระแล้วโดยค่าการประกันภัยมาตรฐานหมายถึงค่าการประกันภัยมาตรฐานสำหรับระดับภัยมาตรฐานหลังหักส่วนลดค่าการประกันภัยตามบันทึกสลักหลังใด ๆ (ถ้ามี) โดยไม่รวมถึงค่าการประกันภัยเพิ่มสำหรับภัยต่ำกว่ามาตรฐานเนื่องจากสุขภาพและหรืออาชีพ ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าการประกันภัยที่ได้รับการยกเว้นจากผลประโยชน์ตามกรมธรรม์และหรือสัญญาเพิ่มเติมและหรือบันทึกสลักหลังใด ๆ (ถ้ามี)ทั้งนี้ รายละเอียดและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์ [2] เฉพาะกรมธรรม์ที่มีงวดการชำระเบี้ยประกันภัยแบบรายปี ที่เข้าร่วมรายการเท่านั้น ยกเว้นแบบประกันชีวิตแบบชำระเบี้ยประกันภัยแบบครั้งเดียว แบบประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตในกลุ่มยูนิต ลิงค์   [3] สงวนสิทธิ์เฉพาะกรมธรรม์ที่ซื้อผ่านช่องทางตัวแทนที่ได้รับการอนุมัติ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 และยังไม่เคยสมัครบริการหักบัญชีอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง (AUTOPAY) เท่านั้น เงื่อนไขเป็นไปตามที่เอไอเอกำหนด และไม่รวมกรมธรรม์ใหม่ที่ร่วมแคมเปญผ่อนชำระ 0% นาน 7 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ [4] ไม่รวมแบบประกันยูนิต ลิงค์ แบบประกันอุบัติเหตุ แบบประกันชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว และแบบประกันที่มีงวดการชำระเบี้ยแบบรายเดือน [5] สิทธิประโยชน์ของสมาชิกเอไอเอ ไวทัลลิตี้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของเอไอเอ ซึ่งเอไอเอขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ โดยท่านสามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่แอปพลิเคชัน AIA+ หรือเว็บไซต์ https://www.aia.co.th/th/health-wellness/vitality/rewards คำเตือน:  ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย รับรางวัล “บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2565” อันดับที่ 1 ควบรางวัล ‘บริษัทประกันชีวิตที่มีความยั่งยืนดีเด่น’ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากงาน Prime Minister’s Insurance Awards 2023

30/04/2024

กรุงเทพฯ, 8 กันยายน 2566 –  เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายโยฮัน ดีทอย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน รับรางวัล ‘บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2565’ อันดับที่ 1 พร้อมควบอีกหนึ่งรางวัลอันทรงคุณค่า ได้แก่ ‘บริษัทประกันชีวิตที่มีความยั่งยืนดีเด่น ประจำปี 2565’ ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 จาก นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ประธานในพิธี ภายในงานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร ประจำปี 2566 (Prime Minister’s Insurance Awards 2023) ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยทั้ง 2 รางวัลถือเป็นความภาคภูมิใจและสะท้อนถึงการบริหารงานที่โดดเด่น มีประสิทธิภาพ และดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงแสดงให้เห็นว่าเอไอเอ เป็นบริษัทประกันภัยที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ตามหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งเป็นปรัชญาที่เอไอเอยึดถือในการดำเนินธุรกิจมาตลอด 85 ปี ภายใต้คำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’นอกจากนี้ ตัวแทนประกันชีวิตเอไอเอ ประเทศไทย จำนวน 10 ท่าน ยังได้เข้ารับรางวัล ‘ตัวแทนประกันชีวิตคุณภาพดีเด่น ประจำปี 2565’ ซึ่งประกอบด้วย นางรสรินทร์ ไทยประดิษฐ์ (หน่วยโกรเวอร์ เวลธ์) นายสุปวัจน์ กุฏเงิน (หน่วยฟินแมฟ) นางเกศิณี เพ็ชรแสนงาม (หน่วยทองล้านนา 19) นางสาวชุติมา คันธิก (หน่วยนำทอง 1151) นายชนพัฒน์ มะโนนึก (หน่วยชนพัฒน์) นายสุทธิรักษ์ เถาอั้น (หน่วยประทานชัย 10) นางสาววลัยกร วิชัย (หน่วยวายน์กรุ๊ป 6) นายฑิตถากร ชูเพชร (หน่วยเหรียญทอง 3 บีดี 3) นางสาวสิณีค์ แสงณรงค์ไชย (หน่วยทองล้านนา ยูนีค) และนางสาวทยิดา ฮาวกันทะ (หน่วยครีเอทเวลธ์ 12 ทีที)นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในนามของเอไอเอ ประเทศไทย ผมขอแสดงความยินดีกับตัวแทนทั้ง 10 ท่านที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้ และขอขอบคุณ คปภ. ที่มอบรางวัลอันทรงคุณค่าถึง 2 รางวัลให้แก่เอไอเอ ประเทศไทย ซึ่งรางวัลทั้งหมดที่เราได้รับในครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องย้ำเตือนให้เอไอเอต้องรักษามาตรฐานในการดำเนินงาน พร้อมกับมุ่งพัฒนาองค์กรต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อส่งมอบความคุ้มครอง การบริการ และการดูแลที่ดีเยี่ยมให้แก่คนไทยทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากการพัฒนาภายในองค์กรแล้ว เราไม่เคยละเลยที่จะพัฒนาสังคมและชุมชนที่เราอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งเราทำมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 85 ปีที่เอไอเอดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทย โดยเรายังคงมุ่งมั่นที่จะดูแลและตอบแทนสังคมไทยต่อไป เพื่อร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยให้ยั่งยืน พร้อมกับส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X