คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ข่าวการเงิน

รู้จักบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศ ตัวช่วยออม – บริหารเงินยุคดอกเบี้ยสูง

30/04/2024

หลายคนคงเริ่มได้รับผลกระทบจากดอกบี้ยเงินกู้ที่ปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านที่คิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ยิ่งหันมาดูบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ก็อาจยิ่งท้อแท้กับดอกเบี้ยรับเพียงหยิบมือเดียว ดังนั้น บัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ หรือ FCD จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการออมเพื่อรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับเงินฝากออมทรัพย์แบบปกติที่เราคุ้นเคย แล้วบัญชีเงินฝาก FCD คืออะไร? บทความนี้จะ BRIEF ให้คุณฟัง FCD หรือ Foreign Currency Deposit เป็นบัญชีเงินฝากสำหรับผู้ที่ต้องการฝากเงินเป็นสกุลต่างประเทศ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทเช่นเดียวกันบัญชีเงินฝากสกุลเงินบาท คือ บัญชีออมทรัพย์, บัญชีกระแสรายวัน และบัญชีฝากประจำ ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ แข่งขันกันออกเงินฝาก FCD กันมากขึ้น และดึงดูดผู้ฝากเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ตามแนวโน้มดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลก เช่น บัญชี FCD สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เป็นเงินฝากประจำให้ดอกเบี้ยขั้นต่ำสูงถึง 5% ต่อปี โดยปัจจุบันธนาคารต่าง ๆ ในไทยเปิดรับเงินฝาก FCD มากกว่า 15 สกุลเลยทีเดียว ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์เน้นให้บริการเงินฝาก FCD กับลูกค้าธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ส่งออกและนำเข้า รวมถึงผู้ประกอบการที่มีธุรกรรมด้านต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน จนกระทั่งในปี 2563 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผ่อนคลายเกณฑ์บัญชี FCD ครั้งใหญ่ และเป็นการปลดล็อกให้คนไทยทุกคนสามารถใช้บัญชี FCD ได้ง่ายขึ้นเหมือนการใช้บัญชีเงินบาท กล่าวคือ เปิดง่ายขึ้น ไม่จำกัดวงเงิน และโอนเงินในประเทศระหว่างบัญชี FCD ของคนไทยด้วยกันได้อย่างเสรีขึ้นอีกด้วย ทำให้บัญชีเงินฝาก FCD ได้รับความสนใจมากขึ้น บัญชี FCD มีดีอะไร ? สำหรับบุคคลทั่วไปหรือนักลงทุนรายย่อย สามารถใช้ประโยชน์จากบัญชี FCD เป็นเครื่องมือในการบริหารเงิน ออมเงิน และลงทุน เช่น พ่อแม่ที่กำลังวางแผนส่งลูกไปเรียนต่อประเทศอังกฤษ อาจเปิดบัญชีเงินฝาก FCD สกุลเงินปอนด์ เพื่อเป็นทุนการศึกษา หรือเป็นค่าใช้จ่ายให้ลูกเมื่อถึงเวลาเดินทาง ในขณะที่คนรุ่นใหม่ที่วางแผนบินไปสหรัฐอเมริกาเพื่อ Work and Travel ก็สามารถเปิดบัญชี FCD สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เตรียมการไว้ก่อนได้ สำหรับผู้ฝากเงินที่ต้องการผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น บัญชีเงินฝาก FCD ก็เป็นทางเลือกการออมที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ผู้ฝากเงินที่ยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้นก็อาจต่อยอดด้วยการนำเงินฝาก FCD ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ อาทิ ตราสารหนี้ หรือหุ้นต่างประเทศเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนของนักลงทุนก็อาจใช้ประโยชน์จากบัญชี FCD ในการบริหารเงินออมและเงินลงทุนได้เช่นกัน บัญชี FCD มีความเสี่ยงหรือไม่ ? โดยพื้นฐานแล้วเงินฝากเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำสุด แต่เงินฝาก FCD จะมีความเสี่ยงสูงกว่าเงินฝากสกุลเงินบาท เพราะมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ บัญชีเงินฝาก FCD ยังไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเปิดบัญชีประเภทนี้จึงควรศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขของบัญชีให้ชัดเจน บัญชี FCD มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ? แม้ ธปท. จะผ่อนคลายกฎระเบียบบัญชีเงินฝาก FCD ลงมามาก รวมถึงการเปิดเสรีในหลาย ๆ เงื่อนไข เพื่อให้ผู้ฝากเงินรายย่อยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการเงินฝากประเภทนี้ก็มีข้อกำหนดในการเปิดบัญชีที่แตกต่างกันออกไป โดยเงื่อนไขหลัก ๆ ได้แก่ วงเงินฝากขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการฝาก – ถอนเงิน ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน ค่าธรรมเนียมในการรักษาบัญชี กรณีที่เงินฝากไม่มีการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ สินทรัพย์ทางการเงินทุกประเภทมีทั้งโอกาสและความเสี่ยงอยู่ในตัวเสมอ เช่นเดียวกับบัญชีเงินฝาก FCD ที่สามารถช่วยคุณบริหารเงินออม และวางแผนทางการเงินได้สะดวกขึ้น พร้อมโอกาสรับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น แต่เรื่องนี้ก็มีความเสี่ยงที่ต้องระวังเช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้อย่างรอบด้านก่อนเปิดใช้บริการ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับbeartaihttps://www.beartai.com/brief/1326496

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย จัดงานมอบรางวัลเชิดชูเกียรติโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ผู้ชนะเลิศในโครงการ ‘สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี AIA Healthiest Schools’ ปีที่ 1

30/04/2024

น่าน, 6 พฤศจิกายน 2566 – เอไอเอ ประเทศไทย เดินทางเยือนจังหวัดน่าน จัดงานมอบรางวัลแก่โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ผู้ชนะในโครงการสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี AIA Healthiest Schools ปีที่ 1 โดยสามารถคว้ารางวัลในระดับประเทศ และได้ไปสร้างชื่อให้กับประเทศไทย ด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศในระดับภูมิภาคมาครองซึ่งถือเป็นโรงเรียนต้นแบบในการส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียน คุณครู ผู้ปกครอง รวมถึงชุมชนรอบข้าง ให้ตื่นตัวในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจ โภชนาการ ตลอดจนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน ด้วยการพัฒนาโครงการที่เป็นรูปธรรม เช่น โครงการโรงเรียนสร้างสุข ที่มุ่งเน้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนและคนในชุมชน อาทิ ปลูกผักอินทรีย์ โภชนาการปลอดภัย เก็บขยะ (Zero Waste) ออกกำลังกายอย่างสร้างสรรค์ สวดมนต์นั่งสมาธิ และธนาคารความดี ซึ่งนับเป็นการเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงบวกให้กับนักเรียน และเป็นรากฐานการศึกษาที่นอกเหนือจากแค่ในห้องเรียนอีกด้วยในงานได้รับเกียรติจาก นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วย นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ร่วมด้วยผู้บริหารเอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ รวมถึงนางสาวนวพรรณ อินต๊ะวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)โดยรางวัลที่ทางโรงเรียนดรุณวิทยาได้รับ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2.16 ล้านบาท ซึ่งเอไอเอ ได้ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ พร้อมมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และจอมอนิเตอร์ จำนวน 30 ชุดและแทบเล็ต 30 เครื่องให้แก่โรงเรียน เพื่อใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียน รวมทั้งมอบเครื่องปรับอากาศสำหรับใช้ในห้องเรียนเพื่อร่วมสนับสนุนโครงการโรงเรียนปลอดฝุ่น และมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนจำนวน 10 ทุน นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมเวิร์กช็อปให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหาร และคณะครู โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ในหัวข้อ ‘เส้นทางสู่สุดยอดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดี’ ตอกย้ำถึงคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’ ของคนไทยทั่วประเทศนายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในนามของเอไอเอ ประเทศไทย ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) เป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการการแข่งขันสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี AIA Healthiest Schools ปีที่ 1 ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค ซึ่งวันนี้ทางเอไอเอ ได้เดินทางมามอบรางวัลให้แก่โรงเรียน และเป็นโอกาสดีที่ได้มาเยี่ยมชมโรงเรียนพร้อมร่วมทำกิจกรรมกับคณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง รวมถึงคนในชุมชน เพื่อแสดงให้เห็นเป็นต้นแบบถึงการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนสุขภาพดีแบบยั่งยืน โดยยึดหลักสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง การมีสุขภาพใจที่ดี และการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน“สำหรับในปีนี้ เอไอเอ ได้เปิดรับสมัครโรงเรียนทั่วประเทศเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันโครงการสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี AIA Healthiest Schools ปีที่ 2 ไปแล้วตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมกับการจัดสัมมนาออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการในปีนี้อีกด้วยซึ่งนับเป็นความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของกลุ่มบริษัท ที่ต้องการผลักดันให้เยาวชนทั่วภูมิภาคเอเชีย ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เริ่มต้นใส่ใจด้านสุขภาพร่างกาย รวมถึงสุขภาพใจ พร้อมกับตระหนักถึงการรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกชีวิตดำเนินไปได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน ซึ่งการเริ่มปลูกฝังเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่วัยเด็ก ย่อมช่วยให้เด็กนักเรียนเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และพร้อมช่วยพัฒนาสังคม และประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป “จึงอยากขอเชิญชวนโรงเรียนทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี AIA Healthiest Schools ปีที่ 2 ซึ่งนอกจากรางวัลที่โรงเรียนจะได้รับหากชนะในโครงการแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด คือความภาคภูมิใจ และการได้เห็นนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงผู้คนในชุมชน มีสุขภาพที่ดีแบบรอบด้าน สอดคล้องกับเป้าหมายของเอไอเอ ที่ต้องการสนับสนุนทุกคนให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น - Healthier, Longer, Better Lives”สำหรับโรงเรียนระดับประถมและมัธยมที่สนใจ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันและดาวน์โหลดสื่อการเรียนการสอนทั้งหมดโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บไซต์ ahs.aia.com/th/th/ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อชิงรางวัลมูลค่ารวมสูงสุดถึง 2 ล้านบาท พร้อมทั้งอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา และคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียน อีกทั้งยังได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในระดับภูมิภาคเอเชียเพื่อชิงรางวัลใหญ่มูลค่าถึง 3.5 ล้านบาท โดยสามารถส่งผลงานเพื่อเข้าร่วมแข่งขันได้ภายในวันที่ 8 มีนาคม 2567 โดยโครงการจะประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับรางวัลผ่านทางเว็บไซต์ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 สอบถามข้อมูลโครงการเพิ่มเติมได้ที่คุณพิมพ์สิรินุช บ่อทรัพย์ (เจ้าหน้าที่โครงการ) อีเมล pimsirinuch.borsub@aia.com

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

คปภ.เพิกถอนใบอนุญาตแล้ว ไม่ใช่บริษัทโบรกเกอร์ ที่แท้นายหน้าบุคคลธรรมดา ยันไม่เชื่อขายข้อมูลลูกค้านับล้านรายชื่อ

07/11/2023

คปภ.สั่งเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว ไม่ใช่บริษัทโบรกเกอร์  ที่แท้นายหน้าบุคคลธรรมดา  ยันไม่เชื่อขายข้อมูลลูกค้านับล้านรายชื่อ                   จากกรณีพล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์  ผู้ช่วยผบ.ตร. รรท.รองผบ.ตร. พร้อมด้วยพล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ร่วมกันแถลงผลจับกุมนายพศิน (สงวนนามสกุล)  โบรกเกอร์ของบริษัทประกันภัยชื่อดัง ลักลอบนำข้อมูลส่วนบุคคลนับล้านรายชื่อขายให้มิจฉาชีพ  พร้อมจับกุมโปรแกรมเมอร์สร้างแอปพลิเคชั่น สแกนใบหน้าปลอมให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ถอนเงินตามที่มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้นแหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เปิดเผยว่า  ขณะนี้คปภ.กำลังรวบรวมหลักฐานการกระทำผิด และดำเนินคดีในส่วนที่กฎหมายประกันภัยให้อำนาจดำเนินการได้ โดยลำดับแรกก็คือ การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตใบอนุญาตการเป็นบริษัทนายหน้าบุคคลธรรมของผู้ต้องหารายนี้ ตามมาตรา 73 วรรคหนึ่ง วงเล็บ 6  ซึ่งให้อำนาจนายทะเบียน สั่งเพิกถอนใบอนรุญาตตัวแทน หรือนายหน้า   เมื่อพบว่าตัวแทนหรือนายหน้าดำเนินงานก่อหรืออาจก่อความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัย  ขณะเดียวกันขณะนี้เจ้าหน้าที่คปภ.ได้อยู่ระหว่างขอข้อมูลหลักฐานการกระทำผิดจากทางตำรวจ  ซึ่งเท่าที่พบเบื้องต้น นายหน้ารายดังกล่าวเพิ่งขายประกันให้กับลูกค้าไปเพียง 10 กว่ารายเท่านั้น  กรณีที่ปรากฎข่าวว่า มีการนำข้อมูลลูกค้าไปแชร์ถึงจำนวนล้านรายชื่อ  คงจะเป็นเรื่องเกินกว่าข้อเท็จจริงไป   ซึ่งคงจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลกับทางตำรวจ เพราะอาจเป็นไปได้ว่า ผู้กระทำผิดรายนี้ได้มีการนำเอาข้อมูลอื่นๆมาผสมกับรายชื่อของคนทำประกันภัย  ประกอบกับกรณีนายหน้าบุคคลธรรมดามีความเป็นไปได้ยาก ที่จะมีลูกค้าถึงล้านราย   หากเป็นนายหน้านิติบุคคลน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า    แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับสยามรัฐออนไลน์https://siamrath.co.th/n/490599

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หุ้น

คุณสมบัติ 8 ประการ ของหุ้นปันผลที่ดี

30/04/2024

บทความโดย "ฐิติเมธ โภคชัย"  ผู้บริหารงาน ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เมื่อใกล้ถึงปลายปี นักลงทุนที่ชื่นชอบการลงทุนในหุ้นปันผลเริ่มจับตามองและประเมินกันแล้วว่า หุ้นตัวไหนจะจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นกี่บาท (EPS) มีอัตราปันผลตอบแทน (Dividend Yield) กี่เปอร์เซ็นต์ และนี่คือคุณสมบัติที่ดีของหุ้นปันผล เลือกบริษัทที่เต็มใจและมีความพร้อมที่จะจ่ายเงินปันผล โดยให้ดูบริษัทที่สร้างผลกำไรที่สม่ำเสมอมั่นคง (ไม่ใช่เป็นบริษัทที่มีกำไรไม่แน่นอน ปีนี้กำไรมาก ปีหน้ากำไรน้อย ปีถัดไปขาดทุน) ดังนั้น เวลาดูว่าบริษัทมีผลประกอบการ ผลกำไรมั่นคงแน่นอน ต้องกลับไปดูผลการดำเนินงานในอดีตว่าเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะดูย้อนหลัง 5 ปีขึ้นไป โดยดูว่าผลกำไรที่ทำได้สม่ำเสมอ หรือว่าขึ้นๆ ลงๆ เลือกบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่ไม่ผันผวน โดยเวลาเลือกหุ้นปันผลต้องมองข้ามหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่แน่นอน หากเป็นช่วงที่ธุรกิจเป็นวัฎจักรขาลง การซื้อหุ้นเพื่อรอรับปันผลไปเรื่อยๆ คงไม่เหมาะสมมากนัก เนื่องจากเมื่อธุรกิจมีความผันผวน ย่อมทำให้ผลการดำเนินงานมีความผันผวนตามไปด้วย สำหรับหุ้นกลุ่มที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอและน่าจับตามอง ได้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, หุ้นกลุ่มธุรกิจให้บริการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า บริษัทมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งเพียงพอที่จะจ่ายเงินปันผลมากน้อยแค่ไหน โดยให้ดูที่โครงสร้างหนี้ว่า มีหนี้สินต่อทุนสูงเกินไปหรือไม่ และโครงสร้างหนี้เป็นหนี้ระยะสั้นหรือระยะยาว (ถ้ามีหนี้ระยะสั้นมากๆ ความพร้อมในการจ่ายเงินปันผลอาจจะมีน้อย) กระแสเงินสด ซึ่งนักลงทุนรายย่อยให้ความสนใจน้อยมาก เพราะหลักๆ จะดูแค่กำไรขาดทุนเป็นหลัก แต่ความจริงแล้วกระแสเงินสดมีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีความสามารถจ่ายเงินปันผลหรือไม่ โดยให้ไปดูที่งบกระแสเงินสดว่า บริษัทนั้นๆ มีกระแสเงินสดเป็น “บวก” หรือ “ลบ” เนื่องจากเมื่อทำธุรกิจและมีรายได้เข้ามา จะเป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ซึ่งผู้บริหารของบริษัทจะไปจัดสรรเงินดังกล่าวว่าจะนำไปทำอะไรบ้าง เช่น นำไปลงทุน นำไปจ่ายหนี้ หรือเป็นเงินปันผล ดังนั้น หากกระแสเงินสด “ติดลบ” หากคิดจะจ่ายปันผล ก็คงต้องไปกู้เงินมาจ่ายปันผล ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ดีนัก ดูราคาหุ้น โดยให้ดูที่ Low Beta ถ้าเป็นหุ้นปันผลจะต้องมี Beta ต่ำๆ หมายความว่า ลงทุนไปแล้วและหวังเงินปันผล ก็ไม่ต้องไปกังวลกับความผันผวนด้านราคามากจนเกินไป เลือกลงทุนหุ้นปันผลที่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย (อย่าเลือกลงทุนหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง) โดยเลือกหุ้นปันผลที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่พอสมควร แต่ถ้าเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปน้อยๆ ต้องเลือกหุ้นที่มีการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด ดู Pay-out Ratio ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ โดยอาจจะเลือกหุ้นที่มี Pay-out Ratio มากกว่า 50% ขึ้นไป เพราะเป็นระดับที่บ่งชี้ว่ามีการดำเนินงานที่นิ่ง เพราะบริษัทไหนที่อยู่ในช่วงขยายกิจการ ก็ต้องเก็บเงินเอาไว้ขยายกิจการ ทำให้ระดับการจ่ายเงินปันผลลดลงตามไปด้วย ให้ลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงกว่าระดับเงินเฟ้อ เพราะถ้าต่ำกว่าเงินเฟ้อก็ไม่มีประโยชน์ และถ้าจะให้ดีที่สุดเงินปันผลจะต้องสูงกว่าระดับเงินเฟ้อบวกกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากหมายเหตุ: บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1431308

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

ผู้ประกันตนควรรู้! เช็กสิทธิรักษาพยาบาลกลุ่ม 8 โรคยกเว้น ไม่เข้าข่ายรักษา มีอะไรบ้าง ?

30/04/2024

ในชีวิตประจำวันของผู้ประกันตนอาจประสบเหตุอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างคาดไม่ถึงได้ทุกขณะ โดยผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมได้ทันทีจนสิ้นสุดกระบวนการรักษา ดังนั้นสำนักงานประกันสังคม จึงคำนึงถึงการพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่าในสิทธิการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมจะมีโรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการการทางการแพทย์ (กลุ่ม 8 โรคยกเว้น)นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ (จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย) โดยสถานพยาบาลต่าง ๆ จะให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาแก่ผู้ประกันตนตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมถึงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกรณีที่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า โดยผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลที่มีสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆโดยล่าสุด สำนักงานประกันสังคมได้พัฒนาสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลได้ทุกโรค แต่ยกเว้นโรคและบริการที่ไม่มีสิทธิรับบริการทางการแพทย์ในกลุ่ม 8 โรค ดังนี้1. การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์2. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้า3. การรักษาภาวะมีบุตรยาก4. การตรวจใด ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น5. การเปลี่ยนเพศ6. การผสมเทียม7. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้นและ  8. แว่นตา แต่สามารถให้ได้ในกรณีที่ผู้ประกันตนผ่าตัดเลนส์แก้วตาแล้วไม่สามารถใส่เลนส์แก้วตาเทียมได้ทั้งนี้ สำหรับกรณีที่ไม่มีสถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาล ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีเจ็บป่วยครบตามเงื่อนไขแล้วแต่ยังไม่มีสถานพยาบาลตามสิทธิ สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ และหากประสบอันตรายจากอุบัติเหตุสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยกรณีอุบัติเหตุ ส่วนการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้ในอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยกรณีฉุกเฉิน หากเป็นกรณีผู้ประกันตนจำเป็นต้องรับการรักษาตัวประเภทผู้ป่วยในให้ผู้ประกันตนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แจ้งสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่เกิดเหตุได้รับทราบทันที เพื่อให้สำนักงานประกันสังคมได้แนะนำและกำหนดสถานพยาบาลให้ผู้ประกันตนได้ใช้บริการทางการแพทย์ต่อไปเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเพิ่มเติมว่า สิทธิการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ประกันตน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับความสะดวกและสามารถใช้บริการในสิทธิรักษาพยาบาลได้อย่างครอบคลุม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกันตนได้กลับมาใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างเป็นปกติสุขมากที่สุดหากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง หรือ Line@ssothai และทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.thแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์https://mgronline.com/qol/detail/9660000097909

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

อึ้ง! สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เผย คนไทยมีแค่เศษเงินติดบัญชีมากถึง 81 ล้านบัญชี

30/04/2024

อึ้ง! สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เผยข้อมูล คนไทยมีแค่เศษเงินติดบัญชีมากถึง 81 ล้านบัญชี ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีเงินฝากไม่ถึง 5,000 บาท 2 พ.ย. 2566 – นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) กล่าวว่า สิ้นเดือน ส.ค. 2566 มีจำนวนผู้ฝากเงินที่ได้รับความคุ้มครอง อยู่ที่ 93.46 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 0.05 ล้านราย คิดเป็นการเติบโต 3.37% โดยปัจจุบันวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามที่กฎหมายกำหนดที่ 1 ล้านบาท ยังคงสามารถคุ้มครองผู้ฝากเงินได้เต็มจำนวน ครอบคุลมผู้ฝากเงินรายย่อยส่วนใหญ่ของประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 98.08% ของผู้ฝากเงินที่ได้รับความคุ้มครองทั้งระบบ ขณะที่จำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง อยู่ที่ 15.96 ล้านล้านบาท ลดลง 1.32% ซึ่งเกิดจากปัจจัยความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยในรายละเอียด พบว่า จำนวนผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท หรือส่วนมากไม่เกิน 5,000 บาท ในเดือน ส.ค. 2566 อยู่ที่ 81 ล้านราย จากทั้งหมด 93.46 ล้านราย เติบโต 4.45% ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีเงินฝากไม่ถึง 5,000 บาท แต่จำนวนเงินฝากกลับเริ่มมีการหดตัวตั้งแต่ปี 2565 ที่ ติดลบ 0.63% และในเดือน ส.ค. 2566 ติดลบ 3.61% ทั้งนี้ ผู้มีเงินฝากมากกว่า 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท มีการปรับตัวลดลง ทั้งจำนวนเงินฝากและจำนวนผู้ฝากตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ฝากที่มีเงินฝากไม่มากนักจึงต้องนำเงินออมมาใช้จ่าย จนอาจทำให้สุขภาวะที่ดีทางการเงินอ่อนแอลงได้ เช่นเดียวกับผู้มีเงินฝากตั้งแต่ 1,000,000-5,000,000 บาท ก็เริ่มมีตัวเลขเงินฝากลดลงในปีนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แรงกดดันจากภาวะสงคราม ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น และการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่าง ๆ ของโลก ต่างกำหนดนโยบายการเงินที่เข้มงวด เพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูง ส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและการลงทุน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับข่าวสดออนไลน์https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7945228

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ร่วมงานประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี 2566

03/11/2023

นายโยฮัน ดีทอย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน เอไอเอ ประเทศไทย และนายดันคัน ลี ผู้อำนวยการฝ่าย Investment Environmental, Social & Governance กลุ่มบริษัทเอไอเอ ร่วมบรรยายในงานประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ประจำปี 2566 ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในหัวข้อ “เส้นทางการดำเนินงานตามหลัก ESG อย่างยั่งยืน” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการผนวกแนวความคิดด้านความยั่งยืนตามหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) เข้ากับกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรประกันภัย ภายในงานมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของคปภ. ผู้บริหารจากบริษัทประกัน อาจารย์มหาวิทยาลัย ตลอดจนสื่อมวลชน ร่วมงานในรูปแบบ Hybrid กว่า 350 คน ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ให้การต้อนรับ พร้อมร่วมรับฟังการบรรยาย โดยเอไอเอ มุ่งมั่นอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจภายใต้กรอบนโยบาย ESG ด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ภายในปี 2593 ทั้งนี้ยังเป็นการตอกย้ำถึงคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ที่จะมุ่งมั่นดูแลให้ทุกคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น - ‘Healthier, Longer, Better Lives’

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย ผนึกกำลังร่วมทำความดี ในกิจกรรม “เอไอเอ แชร์ริ่ง อะไลฟ์” ครั้งที่ 10 ภายใต้ธีม “Better Environment, Better Health – เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดีขึ้น”

30/04/2024

กรุงเทพฯ, 31 ตุลาคม 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้าน ESG (Environmental, Social, Governance) จัดกิจกรรม “เอไอเอ แชร์ริ่ง อะไลฟ์” (AIA Sharing A Life) ครั้งที่ 10 หรือ “วันทำความดีร่วมกัน ประจำปี 2566” กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมครั้งยิ่งใหญ่ประจำปีของชาวเอไอเอ โดยในปีที่ 10 นี้จึงได้จัดกิจกรรมทำความดีขึ้นพร้อมกัน 10 แห่งทั่วประเทศ ภายใต้ธีม “Better Environment, Better Health – เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดีขึ้น” เพื่อต้องการมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรงยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเราทุกคน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยและความยั่งยืนของสังคมไทยต่อไป ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives’ โดยกิจกรรมในปีนี้มีเพื่อนพนักงาน พลังตัวแทน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงพันธมิตรธุรกิจ รวมกว่า 50,000 คน ได้ออกมาร่วมทำความดีพร้อมกันในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งกิจกรรมได้จัดขึ้นพร้อมกัน 10 แห่ง ใน 7 จังหวัด ประกอบด้วยAIA สำนักงานใหญ่•  กรุงเทพมหานคร :      o  พื้นที่เขตบางรัก ได้จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ส่งเสริมทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กิจกรรมเก็บขยะและทำความสะอาด ณ บริเวณคลองหัวลำโพงเก่า กำจัดวัชพืช และทาสี เพื่อสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น      o  พื้นที่สวนลุมพินี ได้จัดกิจกรรมวิ่งเพื่อการกุศล ตรวจสุขภาพฟรี ตัดผม และนวดโดยผู้พิการทางสายตา รวมไปถึง ปลูกต้นไม้ ทาสีเก้าอี้ และปรับปรุงทัศนียภาพพื้นที่โดยรอบทั้งในสวนลุมและโรงเรียนสวนลุมพินี      o  พื้นที่เขตดอนเมือง ได้ร่วมใจกันนำสิ่งของจำเป็นมาบริจาคให้แก่ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ บ้านพักฉุกเฉิน ดอนเมือง ปลูกต้นไม้ ปรับปรุงทัศนียภาพ บริจาคเงิน พร้อมเลี้ยงอาหารกลางวัน      o  พื้นที่เขตดินแดง ได้จัดบริการตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมถึงการเย็บเต้านมเทียมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ณ อาคารเอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์บางรัก•  จังหวัดน่าน : ได้จัดกิจกรรมบริจาคอุปกรณ์การแพทย์ และเลี้ยงอาหารกลางวันผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลจังหวัดน่าน •  จังหวัดเพชรบุรี : ได้จัดบริการตรวจสุขภาพให้แก่นักเรียนผู้พิการทางสายตา บริจาคคอมพิวเตอร์ เลี้ยงอาหารกลางวัน และปลูกต้นไม้เพิ่มร่มเงา ณ โรงเรียนธรรมิกวิทยา •  จังหวัดลพบุรี : ได้ร่วมกันปรับปรุงทัศนียภาพรวมถึงทาสี ซ่อมแซมอาคารเรียน และเลี้ยงอาหารกลางวัน ณ โรงเรียนซอย 19 สาย 2 ขวาบางรัก•  จังหวัดเชียงใหม่ : ได้ร่วมกันทำความสะอาดและปรับปรุงทัศนียภาพบริเวณวัด ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญต่อชาวเชียงใหม่ •  จังหวัดอุบลราชธานี : ได้ร่วมกันปรับปรุงอาคารเรียน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เอไอเอ ประเทศไทย (บ้านบ๋าฮี) •  จังหวัดจันทบุรี : ได้จัดกิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ และบริการตรวจสุขภาพฟรี ณ สวนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชAIA Capital Centerนายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “เป็นเรื่องน่ายินดีและภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่โครงการ “เอไอเอ แชร์ริ่ง อะ ไลฟ์” (AIA Sharing A Life) ได้ดำเนินมาถึงปีที่ 10 แล้ว โดยทุก ๆ ปี ได้เห็นเพื่อนพนักงาน พลังตัวแทน หน่วยงานทุกภาคส่วน รวมถึงพันธมิตรธุรกิจของเอไอเอ ได้ออกมาร่วมแรงร่วมใจทำความดีร่วมกันเพิ่มมากขึ้นทุกครั้ง โดยในปีนี้มีจิตอาสาที่เข้าร่วมในกิจกรรม “เอไอเอ แชร์ริ่ง อะ ไลฟ์ ครั้งที่ 10” รวมทั้งสิ้นกว่า 50,000 คน ทุก ๆ คนนับเป็นพลังที่มีคุณค่า และมีสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแก่ชุมชน สังคม ผู้คน และประเทศชาติ ซึ่งเอไอเอ เรายึดหลัก ESG ในการดำเนินธุรกิจมาตลอด 85 ปีที่เราอยู่ในประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่ต้องการดูแลคนไทยให้มีสุขภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน” “ผมขอขอบคุณอย่างจริงใจสำหรับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงพันธมิตรธุรกิจของเอไอเอ อาทิ สำนักงานเขตบางรัก โดยคุณธราพร อำนวยสาร ผู้อำนวยการเขตบางรัก และสำนักงานเขตดินแดง โดยคุณชูชาติ พุ่มน้อย ผู้อำนวยการเขตดินแดง ที่ได้สละเวลามาร่วมทำกิจกรรมกับเราในครั้งนี้ คณะแพทย์และพยาบาลในเครือบางปะกอก-ปิยะเวท ที่มาร่วมออกหน่วยบริการตรวจสุขภาพฟรีให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งบริการตรวจวัดสายตาฟรีโดยหอแว่น ตลอดจนบริษัทกรีนสปอต ดีเคเบเกอร์รี่ ส.ขอนแก่น และทิปโก้ ที่ได้ส่งอาหารและเครื่องดื่มมาดูแลเหล่าจิตอาสาและประชาชนทั่วไป โดยเอไอเอหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมเอไอเอ แชร์ริ่ง อะไลฟ์ ครั้งที่ 10 นี้จะมีส่วนช่วยสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมสุขภาพดีและน่าอยู่ตลอดไป”AIA Capital Centerจันทบุรีเพชรบุรีดอนเมืองดอนเมืองโรงเรียนสวนลุมพินีสวนลุมพินี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

น่าสลดเงินหมดแล้ว ยังไม่ตาย จัดการอย่างไร เงินเก็บหลังเกษียณหมดก่อน

30/04/2024

บทความโดย “กชจุฑา เพียรวนิช” ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย “น่าเสียดายตายแล้ว ยังใช้เงินไม่หมด น่าสลดเงินหมดแล้ว ยังไม่ตาย” หลายคนคงเคยได้ยินประโยคดังกล่าว และก็คงไม่มีใครอยากให้คำพูดนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนที่เรารัก และเพื่อไม่ให้เงินที่ตั้งใจเก็บเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณหมดก่อนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ต้องเตรียมตัวรับมือก่อนที่เหตุการณ์ร้ายจะเกิดขึ้น 1. ความเสี่ยงเก็บเงินไม่พอใช้ ในวัยเกษียณ หลายคนอาจจะคิดว่าตอนเกษียณต้องใช้จ่ายน้อยกว่าตอนทำงาน อาจไม่จริงเสมอไป ลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายวันธรรมดากับวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุด วันไหนใช้เงินมากกว่ากัน ถ้าคำตอบ คือ เสาร์อาทิตย์ แสดงว่ามีแนวโน้มที่ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะมากกว่าก่อนเกษียณ เนื่องจากในวันธรรมดาอาจมีแค่ค่าใช้จ่ายจำเป็น ค่าเดินทาง ค่าข้าว ค่าน้ำชากาแฟหรือขนม แต่ในวันเสาร์อาทิตย์มีแนวโน้มที่จะทานข้าวนอกบ้าน เดินทางท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง คำถามต่อมา คือ ควรเก็บเงินเท่าไหร่เพื่อให้เพียงพอเกษียณคำตอบ คือ ไม่มีสูตรตายตัว อาจใช้หลักการง่าย ๆ คือ เลือกระหว่างจะเก็บเงินให้เท่ากับ 1. รายได้หลังเกษียณเท่ากับรายได้ปัจจุบัน 2. รายได้หลังเกษียณเท่ากับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตัวอย่าง 1. ปัจจุบันอายุ 35 ปี มีรายได้ 50,000 บาท และคิดว่าหลังเกษียณตั้งใจมีรายได้เดือนละ 50,000 บาทใช้จ่ายไปจนอายุ 90 ปีและต้องการเกษียณ 60 ปี คำนวณตัวเลขเงินเก็บที่ต้องมีเพื่อใช้จ่ายตั้งแต่อายุ 60 – 90 ปี ต้องมีเงินจำนวน 15.6 ล้านบาท เพื่อให้มีเงินใช้ปีละ 600,000 บาท หรือเดือนละ 50,000 บาท และเงินก้อนนี้ต้องลงทุน (หลังเกษียณ) ให้ได้อย่างน้อย 1% ต่อปี วิธีคำนวณ หาเงินที่ต้อง ณ อายุ 60 ปี (PV) เท่ากับเท่าไหร่? ถอนเงินปีละ (PMT) = 600,000 ผลตอบแทน (Rate) 1% ต่อปี   ระยะเวลาใช้เงิน (Period) 30 ปีตัวอย่าง 2. ปัจจุบันอายุ 35 ปี มีรายได้ 50,000 บาท วางแผนเก็บเงินก้อนให้มีรายได้หลังเกษียณ 30,000 บาททุกเดือนไปจนอายุ 90 ปี ต้องมีเงินก้อนจำนวน 9.38 ล้านบาท เพื่อให้มีเงินใช้ปีละ 360,000 บาท หรือเดือนละ 30,000 บาท และเงินก้อนนี้ต้องลงทุน (หลังเกษียณ) ให้ได้อย่างน้อย 1% ต่อปี วิธีคำนวณ หาเงินที่ต้อง ณ อายุ 60 ปี (PV) เท่ากับเท่าไหร่? ถอนเงินปีละ (PMT) = 360,000 ผลตอบแทน (Rate) 1% ต่อปี   ระยะเวลาใช้เงิน (Period) 30 ปี จำนวนเงินที่เก็บนี้ยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพและค่าพยาบาลอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเงินเกษียณอย่างแน่นอน) 2. ความเสี่ยงอายุยืนกว่าที่คาดไว้ หลายคน มักคาดว่าตัวเองอายุไม่ยืนยาวมากนัก แต่ความจริง คือ สิ่งไม่แน่นอน เพราะข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พบว่าตลอด 6 ทศวรรษที่ผ่านมา คนไทยมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 4.4 เดือนต่อปี ผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 80.4 ปี ผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 73.2 ปี นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยที่เกิดในปี 2559 จะมีอายุยืนถึง 80 – 98 ปี หรือเกือบ 100 ปี ดังนั้น ต้องเตรียมเงินให้เพียงพอสำหรับใช้หลังเกษียณอย่างน้อยถึงอายุ 80 ปี หรือดูจากอายุขัยเฉลี่ยของปู่ย่าตายายของตัวเองยืนแค่ไหนและเสียชีวิตตอนอายุเท่าไหร่ จากนั้นคาดการณ์อายุตัวเองที่คิดว่าน่าจะเสียชีวิตบวกเพิ่มไปอีก 5 ปี เช่น ปัจจุบันปู่ย่าอายุยืนถึง 90 ปี หมายความว่าอาจจะมีแนวโน้มอายุยืนเช่นกัน ดังนั้น ควรเตรียมเงินให้สามารถใช้ได้ถึงอายุ 95 ปี 3.ความเสี่ยงเงินเฟ้อ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก๋วยเตี๋ยวชามละ 40 บาท แต่ปัจจุบันก๋วยเตี๋ยวชามละ 60 –80 บาท พูดง่าย ๆ เงิน 100 บาทที่เคยกินก๋วยเตี๋ยวได้ 2 ชาม ปัจจุบันกินได้แค่ 1 ชาม โดยผลกระทบจากเงินเฟ้อทำให้อำนาจการซื้อลดลง และ เงิน 100 บาทอีก 10 ปีข้างหน้า อาจไม่สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เลย สำหรับอัตราเงินเฟ้อในไทยเฉลี่ย 3% ต่อปี ดังนั้น เงิน 50,000 บาทต่อเดือนที่ใช้ในปัจจุบัน อีก 20 ปีจะกลายเป็น 90,305 บาท ถ้าเก็บเงินเกษียณ จำเป็นต้องนำเงินเฟ้อมาคำนวณในแผนเกษียณด้วย นอกจากนี้ ต้องศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนเพื่อสามารถนำเงินไปลงทุนและให้ผลตอบแทนเท่ากับเงินฟ้อ 3% ต่อปี เพื่อให้มีเงินใช้เพียงพอตอนเกษียณ 4. ความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาล สุขภาพถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด จึงมีโอกาสกระทบกับเงินเกษียณ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดหลังเกษียณ โดยประเมินว่าค่ารักษาพยาบาลในไทย เพิ่มขึ้นประมาณ 5% – 7% ต่อปี นอกการนี้รายงานจากทีดีอาร์ไอในหัวข้อการเตรียมความพร้อม ด้านการเงินและสุขภาพ ในสังคมอายุยืน พบว่าคนไทยเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น อาจจะเริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเส้นเลือด สมองตีบ แตก ตัน โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องใช้เงินรักษาในระดับสูง ดังนั้น ควรเตรียมตัวดูแลสุขภาพ รวมถึงพิจารณาทำประกันสุขภาพและกันเก็บเงินอีกส่วนแยกจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อเตรียมไว้ใช้กรณีเกิดเจ็บป่วยเมื่อเกษียณ 5. ใช้จ่ายมากเกินไปหลังเกษียณ ปัญหาส่วนใหญ่ของคนเกษียณ คือ ไม่สามารถบริหารเงินก้อนใหญ่ที่ได้รับหลังจากเกษียณได้ เช่น เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือเงินบำเหน็จที่ได้รับเมื่อออกจากข้าราชการ เพราะปกติก่อนเกษียณได้รับเงินรายเดือน ทำให้เมื่อได้เงินก้อนมาจึงไม่รู้จะเอาไปลงทุนตรงไหน นำไปใช้จ่ายซื้อรถ ซื้อบ้านใหม่ หรือให้ลูกหลานยืม ดังนั้น ถ้ารู้ตัวเองว่ามีแนวโน้มไม่สามารถบริหารเงินก้อนใหญ่ได้ควรกระจายเงินไปลงทุนไปในทรัพย์สินที่สร้างรายได้ประจำเป็นรายเดือนให้เราได้ในอนาคต เช่น ทำประกันบำนาญเพื่อรอรับเงินคืนเป็นรายเดือนหรือรายปี ซื้ออสังหาเพื่อเก็บค่าเช่า แบ่งเงินลงทุนในหุ้นปันผล หรือนำเงินก้อนไปลงทุนกับกองทุนส่วนบุคคล เพื่อให้ผู้ที่เชี่ยวชาญบริหารเงินแทน สรุป จงเตรียมตัววางแผนเก็บเงินเกษียณและนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้ออย่างน้อย 3% ต่อปี รวมถึงดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย กินอาหารที่ดี เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง วางแผนเตรียมเงินสำรองให้พร้อมสำหรับค่ารักษาพยาบาล และที่สำคัญที่สุดศึกษาหาความรู้และเรียนรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้เราสามารถบริหารเงินก้อนให้พอใช้หลังเกษียณ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1405774

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ควรมีหรือไม่?

30/04/2024

บทความโดย “เกศิณี เพ็ชรแสนงาม2นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันยังมีคำถามว่า “จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพ” ในความคิดเห็นของผู้เขียนให้ความสำคัญกับการทำทุนประกันชีวิตและประกันสุขภาพเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะ เจ้าของธุรกิจ ซึ่งไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และประกันสังคมดังนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมคือแผนประกันชีวิต ที่ครอบคลุมภาระ  ที่ตนเองรับผิดชอบ  และประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล แบบระยะยาว ยาวถึงอายุ 85 ปี หรือ 99 ปี (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแบบประกัน)ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ถ้ามีเงินแต่สุขภาพไม่ดี หากสมัครทำประกัน บริษัทประกันจะคุ้มครองแบบมีเงื่อนไข  คือ “ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน” หรืออาจ “เพิ่มเบี้ยประกันเนื่องจากสุขภาพที่มีประวัติการเป็นโรคถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป ดังนั้น เบี้ยประกันจะถูกปรับเพิ่ม ดังนั้น การวางแผนการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ควรทำตอนที่มีเงินและมีสุขภาพดีหลายคนมองว่าถ้าไม่ป่วยก็ไม่คุ้มค่า เสียดายเบี้ยประกันที่จ่ายทิ้งไป  แต่ในหลักการวางแผนโอนย้าย ความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ ของการวางแผนชีวิต อย่าลืมว่า “เบี้ยประกันส่วนน้อยไม่ได้ทำให้จนลง แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีโอกาสทำให้เราจนลง และอนาคตคนในครอบครัวจบลงได้” โลกใบนี้มีความผันผวนและจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมรับมือหากเกิดความผันผวนรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องโอนความเสี่ยง เช่น มีประกันชีวิตและประกันสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19ถึงแม้ว่านวัตกรรมทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า  แพทย์ดีมีความสามารถ สามารถรักษาโรค โรคร้ายรักษาหายได้ แต่ก็แลกมาด้วยค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูง ทางออกที่น่าสนใจเพื่อลดค่าใช้จ่าย คือ การทำประกันสุขภาพ ที่สำคัญควรทำประกันตั้งแต่สุขภาพแข็งแรง เพราะหากทำเมื่อเจ็บป่วยก็จะมีเงื่อนไขจากบริษัทประกันเยอะมากขึ้น และเบี้ยประกันจะสูงตามไปด้วยโดยทั่วไป ช่วงชีวิตที่พบกับความท้าทายมากที่สุด มักจะอยู่ในช่วงอายุ 35 – 45 ปี  เพราะเป็นช่วงที่กำลังสร้างฐานะ และเป็นช่วงสะสมทรัพย์สินและความมั่งคั่ง  แต่ในขณะเดียวกันก็มีภาระทางการเงินที่ต้องรับผิดชอบรอบด้าน ซึ่งความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดสำหรับวัยนี้คือ ปรากฏการณ์ “แก่ก่อนรวย” “ป่วยก่อนใช้” เนื่องจากอาจเจอภาระค่าใช้จ่ายรอบด้าน ทั้งค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูครอบครัว อีกทั้งภาระหนี้สินที่ยังต้องผ่อน รวมถึงความจำเป็นที่ต้องเก็บเงินตามเป้าหมายส่วนตัวในขณะที่การงานและรายได้เพิ่งเริ่มมั่นคงและเติบโต ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะมีเงินไม่พอใช้จ่าย หรือมีเงินเก็บไม่พอกับเรื่องที่จำเป็นต้องใช้ หากไม่ได้วางแผนเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า และหากต้องเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงเรื้อรัง หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรง ต้องใช้เงินจำนวนมาก ในการรักษาพยาบาล ช่วงเจ็บป่วยก็ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมดังนั้น เพื่อความมั่นคงของชีวิต  เราจึงควรเตรียมตัวรับมือและมองหาวิธีการจัดการกับภาระทางการเงินที่พร้อมจะให้แบกภาระเพิ่มมากขึ้น ด้วย 4 แนวทางแนะนำ ดังนี้บริหาร ควบคุมค่าใช้จ่ายสอดคล้องฐานะต้องมีวินัยในการใช้จ่าย  โดยใช้วิธีทำงบการเงิน หรือทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองให้อยู่ในงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้อย่างไม่มีปัญหาวางแผนเก็บออมเงินเป็นเงินเกษียณตัวเอง ใช้เครื่องมือการออมหรือการลงทุนที่ช่วยสร้างวินัยการออม เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF ที่มีเงื่อนไขบังคับให้เราต้องออมเงินหรือลงทุนในระยะยาว โดยต้องออมหรือลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกปี และไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ระหว่างทาง ต้องรอจนกว่าจะเกษียณจึงจะได้รับเงินที่ออมหรือลงทุนไว้ ควรมีแบบประกันที่มีความคุ้มครองชีวิตสูง เพื่อเพียงพอกับภาระต่าง ๆ  วางแผนค่าใช้จ่ายลูกครอบคลุมจนสำเร็จการศึกษาโดยการสำรวจค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาที่วางแผนจะส่งบุตรไปเรียน ตั้งแต่ปัจจุบัน จนจบระดับชั้นที่ต้องการ ว่ารวมแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ โดยสำหรับค่าเล่าเรียนในระดับชั้นสูง ๆ ที่ยังมีเวลาอีกหลายปีกว่าจะถึงเวลาต้องจ่าย อาจจะใช้วิธีการลงทุน หรือออมเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยเตรียมเงินให้เพียงพอกับค่าเล่าเรียนในอนาคตได้ในส่วนนี้ เรานำยอดรวมค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่คำนวณได้ นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของทุนประกันชีวิต ที่หัวหน้าครอบครัวควรมีหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับหัวหน้าครอบครัว ทุนประกันนี้จะใช้ส่งเสียค่าเล่าเรียนบุตรได้อย่างเพียงพอ จนจบการศึกษาวางแผนทำประกัน โอนย้ายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมควรทำประกันชีวิตให้มีความคุ้มครองหรือจำนวนเงินเอาประกันภัยเพียงพอกับ “ภาระทางการเงิน” ในชีวิตทั้งหมดที่เรามีอยู่ ได้แก่ “ภาระหนี้สินคงค้าง ค่าเลี้ยงดูผู้อยู่ในอุปการะจนกว่าจะเลี้ยงดูตัวเองได้ (รวมไปถึงค่าเล่าเรียน และค่าประกันชีวิตบุตร ตั้งแต่ปัจจุบันจนเรียนจบ)บวกเงินที่ต้องการทิ้งไว้ในช่วงปรับตัว มูลค่าเงินเก็บทั้งหมดที่เรามีอยู่ ”ยกเว้นบ้าน หรือรถ (เพราะคนในครอบครัวยังต้องใช้ ) เพื่อให้แน่ใจว่าหากจากไปกะทันหัน ภาระค่าใช้จ่ายที่ดูแลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือธุรกิจ จะสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุดและไม่เดือดร้อนยิ่ง ด้วยสภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น ควรทำประกันสุขภาพ ดังนี้– ค่าคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ต่อรอบปีกรมธรรม์ แต่เบี้ยประกันก็จะค่อนข้างสูง ที่สุด เมื่อเทียบกับแบบประกันค่ารักษาแบบ package– ค่ารักษาพยาบาลแบบ package (New Health Standard) คุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) คุ้มค่า แบบนี้เบี้ยประกันก็จะสูงกว่า ค่ารักษาแบบไม่มีOPD– โรคร้ายแรง ซึ่งเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงก็จะได้รับเงินก้อนช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวในด้านอื่นๆด้วย เพราะคนที่ป่วยเป็นโรคร้ายมักจะไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม และเพิ่มเติมด้วยค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นหากต้องรับประทานอาหารเสริม เพื่อช่วยให้อาการเจ็บป่วยทุเลาลงยิ่งถ้ามีค่าผ่อนต่าง ๆ ยังคงค้างอยู่ไม่ว่าจะผ่อนบ้านผ่อนรถหรือแม้แต่ค่าเล่าเรียนลูกเงินก้อนที่ได้หลักล้านหรือหลายล้านบาท  ก็อาจจะช่วยทดแทนแหล่งรายได้เดิมที่ตนเองไม่สามารถจะทำต่อได้การเตรียมความพร้อม ทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพจะทำให้การเงินของครอบครัวไม่สะดุด เป้าหมายชีวิตที่วางไว้ยังสามารถไปต่อได้ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันสิ่งที่หนักก็จะกลายเป็นเบาและที่สำคัญในระหว่างที่ได้วางแผนชีวิตเราจะเกิดความสงบสุขทางใจ ว่าตลอดเส้นทางของการดำเนินชีวิตที่ได้เตรียมแผนรองรับไปแล้วแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1425840

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X