ประกันสังคม

ทำไม จึงไม่พบเหตุการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิต


นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการประกันและอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (APFinSA) ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ค​"บรรยง​ วิทยวีรศักดิ์"ความว่า​


ทำไม จึงไม่พบเหตุการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิต


Bank Run คือ ปรากฏการณ์ที่ลูกค้าจำนวนมาก แห่กันมาถอนเงินออกจากธนาคารพร้อมๆกัน ด้วยความกังวลว่าธนาคารกำลังขาดสภาพคล่อง หรือมีเงินไม่พอจ่าย  


แต่ผมไปหาคำว่า Insurance Run ในพจนานุกรมทางการเงิน หรือใน Google ไม่พบคำนี้ ครั้นไปค้นหาคำว่า Bank run ในธุรกิจประกันชีวิตก็ไม่พบ แสดงว่ามีปรากฏการณ์คนแห่ถอนเงินจากบริษัทประกันชีวิตพร้อมๆกันมีน้อย หรือแทบไม่มีเลย 


เป็นเพราะอะไร วันนี้มีคำตอบมาเฉลยครับ


ไม่เกิน 25% และในสินทรัพย์เสี่ยงนี้ ก็ยังมีกำหนดลึกลงไปอีกว่า การลงทุนในหุ้นก็ต้องกระจายไม่เกินบริษัทละกี่เปอร์เซ็นต์ ปล่อยกู้ได้ไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ เงินส่วนใหญ่ให้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ที่มีหลักประกัน


ใช่ครับ ลงทุนก้อนใหญ่ที่สุดของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ในพันธบัตรระยะยาวถึง 50%  พวกเราอาจจะกลัวว่า ในภาวะที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ตราสารหนี้ระยะยาวพวกพันธบัตรและหุ้นกู้จะมีราคาลดลง และไปกระทบต่อสถานะของบริษัทประกันชีวิตหรือเปล่า คำตอบคือไม่กระทบ เพราะบริษัทประกันชีวิตมักจะถือตราสารหนี้เหล่านั้นไว้จนครบสัญญา และดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้ลูกค้าเสมอ (cover liabilities) จึงสามารถครอบคลุมภาระผูกพันธ์ที่มีต่อลูกค้าตลอดสัญญาแน่นอน


อาจจะมีคนถามว่า แล้วถ้าหากลูกค้ามาถอนพร้อมๆกัน ทำให้บริษัทต้องขายตราสารหนี้ส่วนนี้ออกมาในราคาขาดทุน จะกระทบต่อบริษัทเหมือนกับที่เกิดกับธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ไหม คำตอบคือกระทบน้อย เพราะถ้าลูกค้าถอนก่อนกำหนด ลูกค้าก็จะได้รับเงินเวนคืนค่อนข้างน้อย เช่น ถ้าถอนใน 10 ปีแรกของสัญญากรมธรรม์แบบ 20 ปี ก็อาจจะขาดทุนถึง 20% ของเงินต้นทำให้บริษัทประกันชีวิตที่ขายตราสารหนี้ออกมาถึงแม้ขาดทุน แต่ก็ขาดทุนน้อยกว่าที่จ่ายให้ลูกค้า ซึ่งเรื่องเหล่านี้บริษัทประกันชีวิตได้คิดไว้ล่วงหน้า และตกลงกับลูกค้าแล้วว่า เงินนี้เป็นการลงทุนระยะยาว หากลูกค้าผิดสัญญาก็จะมีข้อกำหนดลงโทษ ให้ได้เงินน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ (หากถือจนครบสัญญา) 


6. มีกองทุนประกันชีวิตรับประกันในวงเงินหนึ่งล้านบาท 


ธุรกิจประกันชีวิตก็มีกองทุนประกันชีวิต ที่ทำหน้าที่เหมือนสถาบันประกันเงินฝาก กล่าวคือในกรณีที่มีบริษัทประกันชีวิตล้มหายตายจากไป กองทุนประกันชีวิตจะทำหน้าที่ เข้ามาดูแล โดยจะชดเชยให้ผู้ถือกรมธรรม์ทุกคนในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท ตามมูลค่าเงินสดที่เรามีสะสมอยู่กับบริษัทประกันชีวิตนั้นๆ ซึ่งตั้งแต่ตั้งกองทุนนี้มา ผมก็ยังไม่เคยได้ยินว่าต้องไปชดเชยเงินให้กับลูกค้าของบริษัทไหน เพราะธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่มีกำไรค่อนข้างแน่นอน หากจะขาดทุนก็เกิดจากการที่มียอดขายน้อยเกินไป ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย แต่ไม่ได้เกิดจากการที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้มีนักธุรกิจที่พร้อมจะเข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทประกันชีวิตอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ไปกระทบจนต้องไปขอความคุ้มครองจากกองทุนประกันชีวิต  โดยลูกค้าส่วนใหญ่ในประเทศไทย กว่า 90% มีเงินออมในบริษัทประกันชีวิตไม่เกินหนึ่งล้านบาท คนส่วนใหญ่จึงมั่นใจได้ว่าได้รับการคุ้มครองโดยกองทุนประกันชีวิตอยู่แล้ว หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น 


ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้น เราจึงไม่พบเห็นปรากฏการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิต แม้แต่ตอนที่บริษัท AIG มีปัญหานั้น อาจจะมีคนบางส่วนแห่กันมาถอนเงินที่บริษัท AIA โดยเข้าใจว่าบริษัท AIG จะสามารถดึงเงินจากบริษัท AIA ไปทั้งหมดได้ แต่ตามกฎหมาย ผู้ถือหุ้นต้องดำรงเงินกองทุนให้เพียงพออยู่เสมอ ไม่สามารถถอนเงินลงทุนตามกฎหมายของตนออกไปได้ นี่ไม่ต้องพูดถึงเงินเบี้ยประกันส่วนของลูกค้าที่คปภ.ควบคุมใกล้ชิด โดยระบุว่าต้องนำไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร แล้วต้องนำตราสารที่ลงทุนไปฝากไว้ที่คัสโตเดียนหรือผู้รักษาหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อีกแห่ง ที่เป็นคนกลางคอยดูแลความมีอยู่จริงของสินทรัพย์ เช่น ซิตี้แบงค์หรือธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น จึงมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันตลอดเวลา ผู้เอาประกันภัยจึงมั่นใจได้ว่าได้รับการคุ้มครองดูแลจากคปภ.เป็นอย่างดี


หวังว่าบทความนี้ จะทำให้ผู้เอาประกันชีวิตสบายใจได้ว่า เงินของท่านที่เก็บออมไว้ในบริษัทประกันชีวิต เพื่อหวังไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต หรือจะส่งต่อไปให้ลูกหลานนั้น ได้รับการปกป้องอย่างดี มีความมั่นคงสูง ไม่เกิดเหตุการณ์ Bank Run อย่างที่ปรากฏในสหรัฐแน่นอนครับ


แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับสยามรัฐออนไลน์

https://siamrath.co.th/n/430406

X