ข่าวการเงิน

ว่าด้วย…เรื่อง สินทรัพย์ VS ทรัพย์สิน


คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงิน
ผู้เขียน : Actuarial Business Solutions [ABS]

เริ่มต้นจากตรงนี้กันก่อนว่า สินทรัพย์กับทรัพย์สินนี้ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วมันต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมมองทางการเงินจากแอ็กชัวรี่ หรือจะเป็นมุมมองการใช้เงินในชีวิตประจำวันของคนเราก็ตาม

ผมเชื่อว่าเหตุผลที่เราต้องทำงานนั้นมีอยู่ 2 อย่าง

อย่างแรก คือ ความกลัว กลัวไม่มีจะกิน กลัวจะไม่มีบ้าน กลัวจะไม่มีรถขับ กลัวไปต่าง ๆ นานา

และ อย่างที่สอง คือ ความโลภ โลภที่อยากจะได้ โลภที่อยากจะมี และโลภไปต่าง ๆ นานา แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าความกลัวและความโลภจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่เราต้องควบคุมให้อยู่ในความพอเหมาะพอดี และสิ่งที่จะควบคุมความกลัวกับความโลภได้นั้น คือ “ความรู้” หรือที่ในภาษาธรรมเราเรียกว่า “ปัญญา” นั่นเอง

สามารถจำแนก “ทรัพย์สิน” โดยแบ่งตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

จับต้องได้ VS จับต้องไม่ได้

A. ทรัพย์สินบางอย่างนั้นสามารถจับต้องได้ทันที อาจจะเป็นชิ้น เป็นวง เป็นคัน หรือเป็นใบ

B. ทรัพย์สินบางอย่าง กลับไม่สามารถจับต้องได้ เพราะไม่มีรูปร่าง และเพราะมันอยู่ในแผ่นกระดาษ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หุ้น หรือพันธบัตร เป็นต้น

เพิ่มมูลค่า VS เสื่อมมูลค่า

A. ทรัพย์สินเพิ่มมูลค่า คือ ทรัพย์สินที่ได้มาแล้วจะเพิ่มมูลค่า หรือความคาดหวังว่ามูลค่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เพราะมันได้รับการคาดหวังว่าจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การทำบ้านจัดสรรเพื่อปล่อยให้เช่า การลงทุนอื่น ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมไปถึงการซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ เป็นต้น
B. ทรัพย์สินเสื่อมมูลค่า คือ ทรัพย์สินที่ได้มาแล้วมูลค่ามีแต่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น ซื้อรถยนต์มาในราคา 3,000,000 บาท ขับไป 1 ปี ขายได้เหลือ 2,000,000 บาท ซึ่งก็แปลว่ามูลค่าลดลง 1,000,000 บาทภายใน 1 ปี แถมยังต้องจ่ายค่าที่
จอดรถและค่าน้ำมันอีก หรือซื้อโทรศัพท์มาในราคา 20,000 บาท ผ่านไป 1 ปีขายคืนได้เพียง 5,000 บาท เป็นต้น

B. ทรัพย์สินเสื่อมมูลค่า คือ ทรัพย์สินที่ได้มาแล้วมูลค่ามีแต่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น ซื้อรถยนต์มาในราคา 3,000,000 บาท ขับไป 1 ปี ขายได้เหลือ 2,000,000 บาท ซึ่งก็แปลว่ามูลค่าลดลง 1,000,000 บาทภายใน 1 ปี แถมยังต้องจ่ายค่าที่
จอดรถและค่าน้ำมันอีก หรือซื้อโทรศัพท์มาในราคา 20,000 บาท ผ่านไป 1 ปีขายคืนได้เพียง 5,000 บาท เป็นต้น
B. ทรัพย์สินเสื่อมมูลค่า คือ ทรัพย์สินที่ได้มาแล้วมูลค่ามีแต่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น ซื้อรถยนต์มาในราคา 3,000,000 บาท ขับไป 1 ปี ขายได้เหลือ 2,000,000 บาท ซึ่งก็แปลว่ามูลค่าลดลง 1,000,000 บาทภายใน 1 ปี แถมยังต้องจ่ายค่าที่
จอดรถและค่าน้ำมันอีก หรือซื้อโทรศัพท์มาในราคา 20,000 บาท ผ่านไป 1 ปีขายคืนได้เพียง 5,000 บาท เป็นต้น
B. ทรัพย์สินเสื่อมมูลค่า คือ ทรัพย์สินที่ได้มาแล้วมูลค่ามีแต่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น ซื้อรถยนต์มาในราคา 3,000,000 บาท ขับไป 1 ปี ขายได้เหลือ 2,000,000 บาท ซึ่งก็แปลว่ามูลค่าลดลง 1,000,000 บาทภายใน 1 ปี แถมยังต้องจ่ายค่าที่
จอดรถและค่าน้ำมันอีก หรือซื้อโทรศัพท์มาในราคา 20,000 บาท ผ่านไป 1 ปีขายคืนได้เพียง 5,000 บาท เป็นต้น

ได้จากหนี้สิน VS ได้จากเงินทุน

A. ทรัพย์สินที่ได้มาจากการมีหนี้สิน คือ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการซื้อหาสิ่งของ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของ โดยการไปขอกู้ หรือขอทำสินเชื่อมา ไม่ว่าจะเป็นการกู้มาเพื่อลงทุน หรือกู้มาซื้อรถป้ายแดงคันใหม่

B. ทรัพย์สินที่ได้มาจากเงินทุนของตัวเอง คือ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการซื้อหาสิ่งของ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของโดยการใช้เงินของตัวเอง

คนเราส่วนใหญ่จะใช้คำว่า “สินทรัพย์” ในภาษาของนักบัญชี ซึ่งจะเข้าใจกันว่า “สินทรัพย์” คือ ผลรวมของหนี้สินและเงินทุน

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งมีหนี้สินอยู่ทั้งหมด 9,000,000 บาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นที่ถือว่าเป็นเงินทุนของบริษัทอยู่ 1,000,000 บาท เราก็จะบอกได้ว่าบริษัทนี้มีสินทรัพย์อยู่ทั้งหมด 10,000,000 บาท เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็ต้องขึ้นกับวิธีประเมินมูลค่าในทางบัญชีว่าเป็นแบบไหน และใช้มาตรฐานอะไรเป็นข้อกำหนดในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในแต่ละอย่าง

แต่สำหรับการทำความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อใช้กับชีวิตประจำวันแล้ว “สินทรัพย์” คือ ทรัพย์สินที่มี บุคคลเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการเป็นหนี้สิน หรือได้มาจากเงินทุนของตัวเอง ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้จะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ทั้งนั้น

และการจะวิเคราะห์ว่าใครรวยหรือไม่นั้น เราต้องมองให้ลึกถึงสินทรัพย์ของคนคนนั้นก่อนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินประเภทไหน

แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์
https://www.prachachat.net/finance/news-1381527
X