อสังหาริมทรัพย์
ผลสำรวจชี้ คนไทยส่วนใหญ่ยังอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง
แต่รายได้ไม่พอซื้อ – ผ่อนระยะยาว ยอมจ่ายค่าเช่าเท่าราคาซื้อ
กลัวอนาคตไม่มั่นคง
การมี “บ้าน” ของตัวเองคงเป็นความฝันของคนส่วนใหญ่ แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเป็นเจ้าของได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เศรษฐกิจมีความผันผวนตลอดเวลา
ล่าสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้เปิดเผยบทวิเคราะห์ “กำลังซื้อที่อยู่อาศัย” ในกลุ่มรายได้ปานกลางลงมา ในเดือน มี.ค. 2566
จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 1,479 คน พบว่า ค่านิยมในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แต่ “งบประมาณที่ไม่เพียงพอ” เป็นข้อจำกัดให้ต้องเช่าแทนการซื้อ
โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ระดับปานกลางลงมา พบกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาท/เดือน มีกำลังไม่พอซื้อบ้านต้องเช่าอยู่
เมื่อย้อนไปดูข้อมูลจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี
(2560-2579) พบว่า จากจำนวนครัวเรือนในประเทศไทย 21.32 ล้านครัวเรือน
มีมากถึง 5.87 ล้านครัวเรือน ที่ “ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง”
ในจำนวนนี้เป็นครัวเรือนรายได้สูง 0.8670 ล้านครัวเรือน
รายได้ปานกลาง 1.4112 ล้านครัวเรือน และรายได้น้อยมากเกือบ 3.6
ล้านครัวเรือน นอกนั้นเป็นครัวเรือนไร้ที่พึ่ง 0.06612 ล้านครัวเรือน ค่าใช้จ่ายครัวเรือนพุ่งเกิน 79% ของรายได้ ต้นตอไม่มีเงินออม ซื้อบ้านไม่ไหว
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าในปี 2564 ครัวเรือนไทยที่มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาท/เดือน คิดเป็นสัดส่วนใหญ่ 89% ของจำนวนครัวเรือนไทยโดยรวม
ขณะที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 79%
จนไปกดดันการออมอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ปานกลาง
และกลุ่มเปราะบางทางการเงิน
ทั้งนี้ หากพิจารณาผู้เช่าที่อยู่อาศัยแทนการซื้อ จะพบว่าส่วนใหญ่ 73%
มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาท/เดือน
หรือเป็นกลุ่มที่มีรายได้ระดับปานกลางลงมา
72% ของผู้เช่าที่อยู่อาศัยแทนการซื้อ มองหาที่พักที่มีค่าเช่าไม่เกิน
10,000 บาท/เดือน รองลงมา 21% มองหาที่พักค่าเช่า 10,001-20,000 บาท/เดือน
ซึ่งเป็นระดับค่าเช่าที่สามารถผ่อนบ้านราคาปานกลางลงมาได้ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะเงินออมไม่พอสำหรับดาวน์บ้าน ความมั่นใจทางด้านรายในอนาคต และสภาพคล่องที่จะสามารถผ่อนในระยะยาวได้
แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับข่าวสดออนไลน์