การวางแผนทางการเงิน
"ทองคำ" ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังสงคราม
เริ่มย่อตัวลงหลังรับข่าวไปพอสมควร ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ
ยังคงสนับสนุนราคาต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงนี้มีโอกาสจะแกว่งตัวผันผวน
นับเป็นเวลากว่า 1 เดือนที่สงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสปะทุขึ้น ราคาทองคำในตลาดโลกดีดตัวขึ้นราว 10% และเริ่มทรงตัว การลงทุนในทองคำช่วงนี้อาจไม่ง่ายนัก เมื่อสงครามยังไม่ยุติ ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อทองคำยังคงผันผวน
การลงทุนในทองคำผ่านกองทุนประเภท
Structured Fund
จะสามารถช่วยลดโอกาสการขาดทุนเงินต้นพร้อมกับเปิดโอกาสรับผลตอบแทนทั้งกรณีราคาทองคำปรับตัวขึ้นและปรับตัวลงได้
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนมักนึกถึงเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบหรือสงคราม ซึ่งข้อมูลในอดีตสะท้อนว่าราคาทองคำปรับตัวขึ้นราว
5-10% ในช่วง 1 เดือนก่อนสงคราม
แม้สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในรอบนี้จะต่างจากในอดีตเล็กน้อยที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เป็นสัญญาณเตือนถึงสงครามล่วงหน้า
แต่ราคาทองคำดีดตัวขึ้นเช่นเดียวกันราว 10% ซึ่งใกล้เคียงกับในอดีต อย่างไรก็ตาม สถิติในอดีตชี้ว่า สงครามเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้นเท่านั้นที่ผลักดันราคาทองคำ
ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ จะมีผลต่อราคาทองคำมากกว่าหลังรับข่าวสงคราม
โดยเฉพาะในมุมของความต้องการทองคำ ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำในระยะยาว
โดย World Gold Council รายงานว่า ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อสะสมทองคำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยปริมาณการซื้อทองคำในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
และปริมาณการซื้อทองคำในช่วงไตรมาส 3/2023 เพิ่มขึ้นถึง 120%
เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2023
หากนับรวมตั้งแต่ต้นปีธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำสุทธิราว 800 ตัน
สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2022 ราว 14%
ส่วนนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางจะมีผลกับราคาทองคำเช่นกัน
โดยพบว่าราคาทองคำจะเคลื่อนไหวในกรอบ +/-5% หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)
หยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธนาคารกลางสหรัฐ
(Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน 2 รอบการประชุม
และตลาด (CME FedWatch Tool) ประเมิณว่ามีโอกาสถึง 97.4% ที่ Fed
จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบหน้า (เดือนธ.ค.) ซึ่งหาก
Fed ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก
นั่นหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยระดับปัจจุบันที่ 5.25-5.50%
มีโอกาสเป็นอัตราดอกเบี้ยระดับสูงสุดแล้ว
และราคาทองคำมีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ +/-5%
นอกจากนั้น ข้อมูลจาก TISCO ESU พบว่า
ปัจจัยทางด้านอัตราเงินเฟ้อ มีผลกับราคาทองคำเช่นกัน
โดยทองคำจะให้ผลตอบแทบเฉลี่ย 8% ในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในกรอบ 2-5% ซึ่ง
อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI) ล่าสุดอยู่ที่ 3.2% ปัจจัยเหล่านี้
ชี้ว่าราคาทองคำที่ตอบรับประเด็นสงครามไปในช่วงที่ผ่านมา
มีโอกาสปรับขึ้นค่อนข้างจำกัด
ในขณะที่ต้นทุนของทองคำ ณ ปัจจุบัน
เมื่อรวมต้นทุนหน้าเหมืองและส่วนต่างของราคาทองคำแล้ว จะอยู่ที่ประมาณ
1,600 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์
ทำให้ความเสี่ยงที่ราคาทองคำจะปรับตัวลงต่ำกว่าระดับดังกล่าวค่อนข้างจำกัดเช่นกัน
ราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังสงคราม
เริ่มย่อตัวลงหลังรับข่าวไปพอสมควรแล้ว ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ
ยังคงสนับสนุนราคาทองคำอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ราคาทองคำในช่วงนี้นับจากนี้มีโอกาสจะแกว่งตัวผันผวน
การลงทุนในทองคำในสถานการณ์นี้สามารถใช้ความได้เปรียบของกองทุนประเภท
Structured Fund ที่นำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ
เช่น พันธบัตรรัฐบาล เพื่อลดโอกาสการการขาดทุนเงินต้น
และแบ่งส่วนที่เหลือลงทุนในสัญญา Option
เพื่อเปิดโอกาสรับผลตอบแทนทั้งกรณีราคาทองคำปรับตัวขึ้นและปรับตัวลง
หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง
สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th I บทความโดย ณัฐพร
ธรวงศ์ธวัช AFPTTM Wealth Manager
แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจ
30/04/2024
01/11/2024
25/10/2024
29/10/2024
06/09/2024