ภาษี
ปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของผู้มีรายได้
จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้กรมสรรพากรสามารถทราบรายได้ของคุณได้
จากการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากโดยสถาบันการเงินส่งให้กับกรมสรรพากร
และหากมีรายได้ผิดปกติมีผลให้ถูกตรวจสอบ ตลอดจนถูกเรียกเก็บภาษีได้
โดยทั่วไปบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จะคิดดอกเบี้ยให้ผู้ฝากทุกวัน
แต่จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม
ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดก็จะมารวมเป็นเงินต้นสำหรับคิดดอกเบี้ยในแต่ละวันต่อไปด้วย
ซึ่งในปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของผู้มีรายได้
จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้กรมสรรพากรสามารถทราบรายได้ของคุณได้
จากการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากโดยสถาบันการเงินส่งให้กับกรมสรรพากร
และหากมีรายได้ผิดปกติมีผลให้ถูกตรวจสอบ ตลอดจนถูกเรียกเก็บภาษีได้
หากรายได้และดอกเบี้ยของคุณถึงเกณฑ์ที่กำหนด
ซึ่งในครั้งนี้จะขออธิบายเรื่องของดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มเติมดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แบบคร่าวๆ
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้แจกแจงรายละเอียดการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์โดยยกตัวอย่างดังนี้
เมื่อวันที่ 1 มกราคม นาย A ฝากเงินธนาคารไว้ 20,000 บาท
โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี มี 6 เดือนระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน ถึง 31
ธันวาคมของทุกปี ดังนั้น นาย A จึงฝากเงิน 20,000 บาทไว้ทั้งปี
และไม่ถอนออกหรือฝากเพิ่ม ซึ่งดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่นาย A
จะได้รับในปีนี้สามารถคำนวณได้ดังนี้
เงินฝาก (ณ วันที่ 1 มกราคม) เงินต้น 20,000 บาท
เงินฝาก+ดอกเบี้ย (ณ วันที่ 30 มิถุนายน) เงินต้น 20,197.26 (คิดดอกเบี้ย 2%)
เงินฝาก+ดอกเบี้ย (ณ วันที่ 31 ธันวาคม) เงินต้น 20,203.63 (คิดดอกเบี้ย 2%)
ระยะเวลาในการคำนวณจำนวนวันในการฝากเงินจะคำนวณถึงวันก่อนวันที่จ่ายดอกเบี้ย คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 29 มิถุนายน รวม 180 วัน
ระยะเวลาในการคำนวณจำนวนวันในการฝากเงินจะคำนวณถึงวันก่อนวันที่จ่ายดอกเบี้ย
คือ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ถึง 31 ธันวาคม รวม 184 วัน
ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ นาย A จะได้รับในปีนี้จะเท่ากับมูลค่าของเงิน ณ
วันที่ 31 ธันวาคม ลบด้วยมูลค่าของเงินฝาก ณ วันที่ 1 มกราคม = 20,203.63
บาท ลบด้วย 20,000.00 บาท หรือเท่ากับ 203.63 บาท
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม หาก นาย A ไม่ได้ถอนเงินต้นและดอกเบี้ยออกมา
แต่ฝากเงินจำนวนดังกล่าวต่อเนื่องไป
เงินต้นที่ถูกใช้ในการคำนวณดอกเบี้ยในปีถัดไปจะเท่ากับ 20,203.63 บาท
ดอกเบี้ยออมทรัพย์แบบไหนที่ได้รับการยกเว้นภาษี
จากตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้กล่าวไปแล้ว
จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยประจำปีที่ผู้ฝากได้รับคือ 203.63 บาท
ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้รับนี้
ทางสถาบันการเงินของผู้ฝากจะต้องส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร
นอกจากนี้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ยังอาจจะต้องถูกหักภาษีด้วย
แต่มีบางกรณีที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หากเข้าเงื่อนไงดังนี้
- ดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝากทุกบัญชีรวมกัน มีจำนวนไม่เกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษี
-
ชื่อบัญชีเงินฝากและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ใช้ในการเปิดบัญชีเงินฝาก
ต้องเป็นของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝาก
- ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝาก
ว่าไม่ให้นำส่งข้อมูลดอกเบี้ย และผลตอบแทนเงินฝากให้กับกรมสรรพากร
ดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ต้องเสียภาษี
เชื่อว่าหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ภาษีของกรมสรรพากร
หากมีเงินอยู่ในบัญชีของผู้มีรายได้ไม่ว่าจะเป็นรายได้เงินฝากหรือเงินผ่านช่องทางบัตรเครดิต
จากสถาบันการเงินต่างๆ มีหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังกรมสรรพากร
ซึ่งมีเงื่อนไขในการส่งข้อมูลคือ
- เงินที่ฝากเข้าบัญชี 3,000 ครั้ง/ปี/บัญชี โดยไม่คำนึงถึงมูลค่าของแต่ละครั้ง
- จำนวนการฝาก 400 ครั้ง/ปี/บัญชี และยอดรวม (เฉพาะฝาก) เกิน 2 ล้านบาท
และทางกรมสรรพากรยังได้กำหนดให้ธนาคารส่งข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยออมทรัพย์แก่กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ
โดยผู้มีเงินได้ที่ไม่ประสงค์ให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรจะต้องแจ้งให้ธนาคารทราบ
พร้อมกับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับดอกเบี้ยในอัตรา 15%
โดยทางธนาคารจะดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย
และให้ธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝาก
นำส่งข้อมูลดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากของผู้ที่มีเงินได้ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
และเก็บหลักฐานการยินยอมไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
ระยะเวลาในการนำส่งภายในกำหนดเวลา ดังนี้
- ข้อมูลการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากทั้งปี ซึ่งได้จ่ายก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม ให้นำส่งภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
- ข้อมูลที่เกี่ยวกับการคำนวณเพื่อจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากทั้งปี
โดยคำนวณถึงวันที่ 15 พฤศจิกายนให้นำส่งภายในวันที่ 20 พฤศจิกายนของปีนั้น
-
ข้อมูลที่เกี่ยวกับการคำนวณเพื่อจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากในครึ่งปีแรก
โดยคำนวณถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ให้นำส่งภายในวันที่ 20 พฤษภาคมของปีนั้น
- ข้อมูลการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากในครึ่งปีแรก
ซึ่งได้จ่ายเงินก่อนหรือในวันที่ 30 มิถุนายน
ให้นำส่งภายในเดือนกรกฎาคมของปีนั้น
30/04/2024
31/07/2024
30/04/2024
11/03/2024
30/04/2024