คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ข่าวการเงิน

เปิดแผนสำรองเมื่อรู้ว่าเงินเกษียณไม่พอ

13/05/2024

บทความโดย "ทศพร อิศรางกูร ณ อยุธยา"  นักวางแผนการเงินCFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย เมื่อวางแผนการเงินเพื่อเกษียณเอาไว้ โดยส่วนใหญ่ก็จะประเมินได้ว่าจะมีเงินใช้หลังเกษียณเท่าไหร่หรือมีเงินใช้ไปได้อีกกี่ปี อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เงินไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตหลังเกษียณ ไม่คำนวณเงินเฟ้อ ตัวอย่าง นาย ก ตั้งใจว่าเกษียณอายุ 60 ปี และจะใช้ชีวิตถึงอายุ 80 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท ปีละ 240,000 บาท หากคิดจากยอดที่ต้องใช้ชีวิตเกษียณแบบไม่ได้เผื่อเงินเฟ้อ จะต้องมีเงินเก็บ 240,000 x 20 ปี = 4.8 ล้านบาท ซึ่งในปีแรก ๆ ของการเกษียณข้าวของอาหารราคาจากเงินเฟ้อยังไม่ส่งผลมาก ก็ยังพอที่จะใช้ชีวิตได้ แต่เมื่อผ่านไป อาจทำให้ราคาข้าวจากจานละ 60 บาท เป็นจานละ 100 บาท ก็จะทำให้ช่วงท้ายของการเกษียณมีเงินไม่พอได้ 1. ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำกว่าเป้าหมาย ตัวอย่าง นางสาวเอ ตั้งใจมีเงินเกษียณแบบคิดเผื่อเงินเฟ้อในอนาคตที่ 8 ล้านบาท ลงทุนในกองทุนเกษียณอายุ โดยเก็บเงินทุกเดือนแบบ DCA เดือนละ 8,000 บาท 30 ปี (ตั้งแต่อายุ 30 ปี ไปจนถึงอายุ 60 ปี) ซึ่งมีการจัดพอร์ตผลตอบแทนคาดหวังไว้ 6% เนื่องจากไม่มีการปรับ การดูแลพอร์ต เมื่อเกษียณอายุ ผลตอบแทนที่ทำได้จริงได้เพียง 4% จากเงินคาดการณ์ 8  ล้านบาท จะได้เพียง 5.9 ล้านบาท ขาดเงินเกษียณไป 2.1 ล้านบาท 2. มีเหตุฉุกเฉิน ตัวอย่าง นายสมชาย สะสมเงินไว้ได้จำนวน 5 ล้านบาทที่จะเอาไว้ใช้ยามเกษียณ แต่นายสมชายไม่ได้โอนความเสี่ยงภัยด้านสุขภาพ โดยการซื้อประกันสุขภาพและไม่มีสวัสดิการสุขภาพใด ๆ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยไม่สบาย จึงต้องนำเงินเกษียณ 5 ล้านบาทออก ไปใช้ 2 ล้านบาท ทำให้เงินเหลือเพียง 3 ล้านบาท เป็นต้น 3. อายุยืนกว่าที่คาดการณ์ไว้ การวางแผนเงินเกษียณ ควรเผื่ออายุสุดท้ายไว้เนื่องจากวิทยาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้น ทำให้คนมีแนวโน้มอายุยืนมากขึ้น โดยยึดว่า หากเสียชีวิตแล้วเงินยังเหลืออยู่ ดีกว่าเงินหมดแล้วยังต้องใช้ชีวิตแบบลำบาก ตัวอย่าง นางสาวสมร มีเงินเกษียณเผื่อเงินเฟ้อแล้วไว้ที่ 10 ล้านบาท โดยคาดการณ์ว่าจะใช้ชีวิตถึงอายุ 85 ปี แต่เมื่อตอนอายุ 82 ปี ก็พบว่าตัวเองสุขภาพยังแข็งแรงดี แต่เงินเกษียณเหลือเพียง 2 ล้านบาท หากนางสาวสมมีอายุถึง 90 ปี ต้องใช้อีก 3 ล้านบาท หากสถานการณ์เป็นแบบนี้ก็จะทำให้นางสมรเจอปัญหาเงินเกษียณไม่พอ เป็นต้น เมื่อเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ข้างต้น หากเกษียณไปแล้วและเงินเก็บออมไม่เพียงพอ ก็ต้องหาทางออก พิจารณายืดอายุเกษียณออกไป ตัวอย่าง ตั้งใจจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี แต่เมื่อคำนวณเงินเกษียณแล้วยังไม่พอ ในยุคนี้สามาถทำงานได้ต่อเนื่อง และหลายบริษัท ก็ยินดีที่จะจ้างต่อไปจนถึงอายุ 65-70 ปี ซึ่งจะทำให้มีรายได้ต่อไปอีก 5-10 ปี ก็จะทำให้มีกระแสเงินสดรับเพิ่มและสามารถสะสมเงินเพื่อเกษียณเพิ่มขึ้นได้ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต อาจจำเป็นที่ต้องพิจารณาการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต รวมถึงการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้เงินที่พอจัดการได้ จะสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยดูจากบันทึกการใช้จ่าย งบกระแสเงินสด  แยกประเภทค่าใช้จ่ายคงที่ เช่น ค่าน้ำไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเน็ต ค่าอาหาร เป็นต้น ประเภทไหนเป็นส่วนค่าใช้จ่ายผันแปร เช่น ท่องเที่ยว กินข้าวนอกบ้าน ทำบุญ เป็นต้น สร้างรายได้พิเศษ การเกษียณไม่ได้หมายความว่าจะต้องหยุดเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถใช้เวลาว่างในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองทำ เช่น ทักษะในการทำงานออนไลน์ อ่านหนังสือ เข้ากิจกรรมทางสังคม การออกกำลังกาย งานอาสา เป็นต้น เพื่อไปใช้ในการสร้างรายได้ อินเทอร์เน็ตก็เปิดโอกาสให้คุณสร้างรายได้ออนไลน์ โดยการเริ่มธุรกิจออนไลน์ขายสินค้า หรืออาจใช้บริการผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้โอกาสในการหางานรับจ้าง Upwork, Freelancer, Fiverr และ TaskRabbit ก็สามารถรับงานตามความสามารถและความถนัด  ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนบทความ, การออกแบบกราฟิก, การแปลภาษา, หรืองานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่ก็ต้องระมัดระวังมิจฉาชีพที่อาจจะมาหลอกลวง ปรับการลงทุนใหม่เพิ่มผลตอบแทน หากมีเงินเกษียณที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งมีเวลาลงทุนในระยะยาว 7-10 ปี หรือมีทรัพย์สินที่สามารถนำมาลงทุนได้อาจหาโอกาสในการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงกว่าเดิม เพื่อเป็นโอกาสสะสมเงินเกษียณได้เพิ่มในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ควรเพิ่มความระมัดระวังการลงทุน เพราะเมื่อต้องการผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงก็สูงตามไปด้วย ขายทรัพย์สินเพื่อเป็นกระแสเงินสด หากมีทรัพย์สินอะไรที่คุณไม่ได้ใช้ ก็อาจจำเป็นต้องตัดใจนำออกมาขาย ข้อสำคัญอยู่ที่ควรสำรวจราคาที่เหมาะสม โดยทยอยขายไปเรื่อย ๆ  โดยไม่กระชั้นชิดจนขาดสภาพคล่อง เพราะผู้ซื้ออาจกดราคาทรัพย์สินของเรา จนต้องขายถูกกว่าราคาตลาด ใช้วิธี Reverse Mortgage Reverse Mortgage จะเป็นเหมือนการขายบ้านให้กับธนาคารและธนาคารผ่อนเงินให้ทุก ๆ เดือน โดยเป็นการจำนองที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้สูงอายุที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แต่ไม่อยากขาย เพราะต้องใช้อยู่อาศัยในบั้นปลายชีวิต และต้องการรายได้เป็นแบบรายเดือน เพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยนำบ้านหรือคอนโดมิเนียม ไปจำนองกับธนาคาร แล้วให้ธนาคารจ่ายเงินให้ผู้กู้เป็นรายเดือนแทน การหาที่อยู่ใหม่ หากขายทรัพย์สินบางอย่าง เช่น บ้านออกไป อาจต้องการพิจารณาการย้ายไปอยู่ในที่อยู่ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำลง ที่อยู่ใหม่อาจเปลี่ยนเป็นเช่าแทน หรือคุณภาพและราคาที่เหมาะสมกับสภาพการเงินของคุณในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ครั้ง ผู้สูงอายุก็อาจจะขายบ้านออกไป เพื่อไปเช่าอยู่ในบ้านพักผู้สูงอายุที่เป็นสวัสดิการรัฐ ที่มีการดูแลที่ดี ราคาไม่แพงก็ได้เช่นกัน เมื่อเงินเกษียณไม่เพียงพอก็มีทางออกหลากหลาย แต่สิ่งสำคัญ คือ การทำการวางแผนอย่างรอบด้านก่อนการเกษียณอายุ ที่ต้องคำนวณเงินค่าใช้จ่ายพื้นฐานบวกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการเผื่อเงินเฟ้อในอนาคตที่จะส่งผลกับเงินเกษียณ ในกรณีที่ไม่มั่นใจในการจัดการเงินหลังเกษียณ คุณยังสามารถปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1556166

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ภัยพิบัติพุ่ง คปภ. เตือน ปชช.-เกษตรกร ใช้ประกันบริหารความเสี่ยง

13/05/2024

ภัยพิบัติพุ่ง สำนักงาน คปภ. เตือน ประชาชน-เกษตรกร ใช้ประกันภัยบริหารความเสี่ยงวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) รายงานว่า จากกรณีที่ประเทศไทยตอนบนได้เกิดพายุฤดูร้อน เนื่องจากมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยสร้างความเสียหายให้กับอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่นั้นสำนักงาน คปภ. ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และมีความห่วงใยต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน รวมถึงเกษตรกรที่ปลูกพืชผลทางการเกษตร จึงขอให้ประชาชนและเกษตรกรให้ความสำคัญในการทำประกันภัยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติทั้งนี้ การทำประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับอาคารนั้น มีทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับตามกฎหมาย โดยในส่วนของอาคารอยู่ภายใต้กฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งบังคับให้เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการ สำหรับอาคารชนิดหรือประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและจำนวนเงินเอาประกันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดในกฎกระทรวงโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารสำหรับอาคารของเอกชนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าว ประกอบไปด้วย อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ รวมถึงป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไปหรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงขอฝากให้เจ้าของอาคารหรือผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัยในทรัพย์สินดังกล่าวด้วย เพราะหากไม่ทำประกันภัยภาคบังคับนอกจากจะได้รับความเสียหายเมื่อเกิดอัคคีภัยแล้ว ยังอาจได้รับโทษถึงจำคุกและปรับในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองหรือความเกี่ยวเนื่องกับไฟไหม้ เช่น ประกันอัคคีภัย จะให้ความคุ้มครองตัวอาคาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน สต๊อกสินค้า เครื่องจักร และเครื่องตกแต่งที่ติดตั้งไว้กับตัวอาคาร โดยให้ความคุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้ทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยส่วนการประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะให้ความคุ้มครอง สิ่งปลูกสร้างหรือตัวอาคารใช้เป็นที่อยู่อาศัย (ไม่รวมฐานราก) ทรัพย์สินภายในบ้าน สิ่งที่ติดกับตัวอาคาร หรือเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยให้ความคุ้มครอง ไฟไหม้ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำที่เกิดจากการรั่วซึมภายในอาคาร (ไม่รวมน้ำท่วม)รวมถึงภัยธรรมชาติ 4 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ และภัยแผ่นดินไหว ในขณะที่ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) จะให้ความคุ้มครองกว้างกว่าอัคคีภัย เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยน้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ การโจรกรรมและอุบัติเหตุจากสาเหตุที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อยกเว้น เป็นต้นสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชผลทางการเกษตร สามารถจัดทำประกันภัย ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน ลำไย เป็นต้น เพื่อนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติได้อีกด้วยทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเรื่องประกันภัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.thแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1562727

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ห้องแสดงนิทรรศการ

15 ศิลปินอาเซียนพาสำรวจวิญญาณข้ามมหาสมุทร มหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ 2024

14/05/2024

ความเป็นจริงที่ซับซ้อน เรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อันหลากหลายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกนำมาถ่ายทอดสู่สายตาชาวโลกให้ตะลึง ผ่านผลงานศิลปะกว่า 40 ชิ้น จาก 15 ศิลปินทัพหน้าของอาเซียน ที่ผนึกกำลังกันไปโชว์ไกลถึงเมืองเวนิส เพื่อร่วมสร้างสีสันให้งาน “มหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60” (The 60 th Inter national Art Exhibition, La Biennale di Venezia) ณ Palazzo Smith Mangilli Valmarana ประเทศอิตาลี ตั้งแต่วันนี้ ถึง 24 พฤศจิกายน 2024งานนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง “มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่” ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์” และ “บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)” พร้อมเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วน เพื่อนำเสนอผลงานของศิลปินจากเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ที่ได้สำรวจเรื่องราวการย้ายถิ่น, การพลัดถิ่น และการล่าอาณานิคมข้ามทะเล ผ่านนิทรรศการ “The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร” ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน “มหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60” (The 60th International Art Exhibition, La Biennale di Venezia)ภายในนิทรรศการ “The Spirits of Maritime Crossing” ประกอบด้วยสื่อหลากหลายประเภท ทั้งภาพวาด, ประติมากรรม, สื่อผสม และวิดีโอจัดวาง โดยศิลปิน 15 คน จากกัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, เมียนมา, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และประเทศไทย ร่วมนำเสนอความเป็นจริงที่ซับซ้อนชวนพิศวงทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียน ควบคู่ไปกับคำบอกเล่าของชาวตะวันตกและเมืองเวนิสที่มีอัตลักษณ์แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงในฐานะประธานอำนวยการ และผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ และภัณฑารักษ์นิทรรศการครั้งนี้ “ศ.ดร.อภินันท์” บอกเล่าว่า เรามีความยินดีที่ได้นำเสนอผลการสำรวจของศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แก่ผู้ชมนานาประเทศในซีกโลกเหนือ ก่อนที่งาน เบียนนาเล่ของกรุงเทพฯ จะโหมโรงขึ้นในเดือนตุลาคม 2024 และถือเป็นเกียรติที่ภาพ ยนตร์สั้นเรื่องใหม่นำแสดงโดย “มารีนา อบราโมวิช” ศิลปินชื่อก้องโลก ผู้ชนะรางวัลโกลเด้น ไลออน จากเทศกาลเวนิส เบียนนาเล่ ปี 1997 ได้ร่วมอยู่ในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย โดยเนื้อหาภาพยนตร์และนิทรรศการเป็นเรื่องราว การเดินทางทางทะเล, การย้ายถิ่น และการพลัดถิ่น สัมพันธ์โดยตรงกับนิทรรศการหลักจนถึงศิลปินหน้าใหม่มากพรสวรรค์ นำโดย “มารีนา อบราโมวิช” (เซอร์เบีย-สหรัฐอเมริกา), “พิเชษฐ กลั่นชื่น” (ไทย), “ปรียากีธา ดีอา” (สิงคโปร์), “จิตติ เกษมกิจวัฒนา” (ไทย), “นักรบ มูลมานัส” (ไทย), “จอมเปท คุสวิดานันโต” (อินโดนีเซีย), “บุญโปน โพทิสาน” (ลาว),“อัลวิน รีอามิลโล” (ฟิลิปปินส์), “คไว สัมนาง” (กัมพูชา), “โม สัท” (เมียนมา-เนเธอร์แลนด์), “จักกาย ศิริบุตร” (ไทย), “เจือง กง ตึง” (เวียดนาม), “นที อุตฤทธิ์” (ไทย), “กวิตา วัฒนะชยังกูร” (ไทย) และ “หยี่ อิ-ลาน” (มาเลเซีย)ถือเป็นการเดินทางจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเวนิส ผ่านประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและการพลัดถิ่นในมุมมองของผู้อยู่ห่างไกลทั้งกายและใจจากบ้านเกิดของตน ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือแม้ศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ แต่ขณะเดียวกันก็มีความแตกต่างในด้านชาติพันธุ์, ศาสนา และภาษาด้วย ก่อให้เกิดมรดกทางวัฒนธรรมแบบลูกผสม ซึ่งปรากฏให้เห็นในลักษณะของผู้ลี้ภัย, ผู้อพยพ และคนไร้สัญชาติร่วมติดตามข่าวสาร และตารางกิจกรรมของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ (Bangkok Art Biennale) ได้ทาง Facebook และ Instagram : Bkkartbiennaleแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับไทยรัฐออนไลน์https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2784613

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ท่องเที่ยว

หาชมยาก! ปรากฏการณ์ “แสงเหนือ” โดดเด่นกลางฟ้าซินเจียง

13/05/2024

หาชมยากปรากฏการณ์ “แสงเหนือ” สุดตื่นตาที่น่านฟ้าเมืองอาเล่อไท่ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดยสาเหตุหลักมาจากอิทธิพลของพายุสนามแม่เหล็กโลกมีความรุนแรงมากเป็นพิเศษภาพจากในคลิปของสำนักข่าวซินหัวสำนักข่าวซินหัวเผยภาพและคลิปวิดีโอสุดตื่นตา ที่หาได้ชมยากมาก หลังเกิดปรากฏการณ์ ”แสงเหนือ“ ในน่านฟ้าเมืองจีน เหตุจากอิทธิพลของพายุสนามแม่เหล็ก โดยระบุรายงานว่าภาพจากในคลิปของสำนักข่าวซินหัวชวนชมความงดงามของปรากฏการณ์แสงเหนือหรือแสงออโรราสีม่วงสลับแดงและสีเหลืองสลับเขียว ท่ามกลางฟากฟ้าที่เต็มไปด้วยหมู่ดาวในเมืองอาเล่อไท่ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนภาพจากในคลิปของสำนักข่าวซินหัวรายงานระบุว่าปรากฏการณ์แสงเหนือครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้ามืดของวันเสาร์ (11 พ.ค.) และถือเป็นเรื่องหายากที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ในซินเจียง โดยสาเหตุหลักมาจากอิทธิพลของพายุสนามแม่เหล็กโลกมีความรุนแรงมากเป็นพิเศษภาพจากในคลิปของสำนักข่าวซินหัวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์https://mgronline.com/travel/detail/9670000041004

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวทั่วไป

อยากเป็น ‘หัวหน้าที่ดี’ ต้องเลิกคิดเรื่องงาน หลังเลิกงานให้ได้ก่อน

10/05/2024

ตำแหน่งที่สูงขึ้น มักมาพร้อมกับความรับผิดชอบและความกดดันที่เพิ่มขึ้น เพราะการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จาก ‘ลูกน้อง’ สู่ ‘หัวหน้า’ ไม่ใช่เรื่องง่าย ความคิดที่วนเวียนกับเรื่องงานตลอดทั้งวันจนสลัดไม่ออก เพราะความตั้งใจที่อยากทำให้งานออกมาดี กลายเป็นเรื่องปกติที่หัวหน้าหลายคนต้องเผชิญแต่รู้หรือไม่ว่า มีงานวิจัยในวารสารด้านจิตวิทยาระบุไว้ว่า การคิดเรื่องงานตลอดเวลาส่งผลเสียมากกว่าที่คิด ไม่เฉพาะกับประสิทธิภาพงาน แต่ยังรวมไปถึงจิตใจของคนเป็นหัวหน้าที่อาจเข้าสู่ภาวะ ‘แบตหมด’ ได้โดยพลัน เป็นสาเหตุที่นำไปสู่หายนะของการเป็น ‘Leader’ ในระยะยาวได้[ ‘หัวหน้ามือใหม่’ ชอบคิดเรื่องงานตอนกลางคืน ถึงเวลาจริงก็หมดแรงจะสู้ ]เมื่องานของหัวหน้าไม่ได้มีแค่การปิดจ็อบให้จบในแต่ละวัน แต่ยังมีเรื่องของการบริหารจัดการทีม วิธีรับมือกับแผนกอื่นๆ ที่ต้องทำงานร่วมกัน โปรเจกต์สารพันที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วม ปริมาณงานที่เยอะกว่าตำแหน่งคนทำงานทั่วไป ทำให้พวกเขารู้สึกว่า ต้องคิดเรื่องงานบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น การคิดทบทวนเรื่องที่ต้องทำในวันรุ่งขึ้นทันที่ที่ก้าวเท้าออกจากออฟฟิศช่วงหัวค่ำ จึงกลายเป็นวิถีปกติของคนกลุ่มนี้ไปแล้วแต่การคิดถึงเรื่องงานบ่อยๆ ไม่ได้ช่วยให้หัวหน้าทำงานได้ดีขึ้น กลับให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม เรื่องนี้มีงานวิจัยชื่อว่า ‘The importance of leader recovery for leader identity and behavior’ ที่เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร ‘Journal of Applied Psychology’ ชี้ให้เห็นว่า การคิดเรื่องงานอยู่ตลอดเวลาสร้างผลกระทบเชิงลบกับประสิทธิภาพการทำงานในฐานะผู้นำองค์กรการทำงานที่ต่อเนื่องยาวนานจะยิ่งทำให้กลุ่มคนนี้สูญเสียพลังงานที่เรียกว่า ‘Mental Resources’ หรือทรัพยากรทางจิตใจ ตรงกันข้ามกับหัวหน้าที่ไม่นำเรื่องงานกลับมาคิดต่อ คนกลุ่มหลังจะมีประสิทธิภาพการทำงานในเช้าวันรุ่งขึ้นได้ดีกว่ามากเพื่อทำความเข้าใจงานศึกษาชิ้นนี้ให้ดียิ่งขึ้น เราลองมาดูรายละเอียดคร่าวๆ กันสักหน่อย งานชิ้นนี้ทำการศึกษาผู้นำหรือหัวหน้าจำนวน 73 คน ด้วยการให้พวกเขาจดบันทึกประจำวันของตนเองติดต่อกันเป็นเวลา 10 วันโดยให้หัวหน้าเหล่านี้ทบทวนไตร่ตรองถึงประสบการณ์ของพวกเขาในยามค่ำคืน รวมถึงความรู้สึกในห้วงสุดท้ายก่อนเข้าสู่โหมดปิดสวิตช์เรื่องการทำงาน เพื่อดูว่า กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้มีความคิดเชิงลบเกี่ยวกับการทำงานมากน้อยแค่ไหน และในระหว่างวันพวกเขายังมีพลังงานเหลือล้นในการทำงานด้วยรึเปล่าผลสรุปจากงานศึกษาชิ้นนี้บอกว่า หัวหน้าหรือผู้นำที่เลิกคิดเรื่องงานในตอนเย็น รู้สึกมีชีวิตชีวา พร้อมทำงานในวันรุ่งขึ้น ส่วนกลุ่มที่เก็บเรื่องงานมาคิดต่อหลังเลิกงานไปแล้ว รู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าในเช้าวันรุ่งขึ้น บทบาทของหัวหน้าที่มี ‘Task’ ให้จัดการมากมาย ทำให้กลุ่มที่ชอบเก็บเรื่องงานมาคิดต่อไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ กลายเป็นหัวหน้าที่เพลีย เหนื่อยล้า เข้าสู่โหมด ‘Lack of productivity’ ที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือภาวะหยุดคิดเรื่องงานหลังเลิกงานไม่ได้ มักเกิดขึ้นกับ ‘หัวหน้ามือใหม่’ หรือคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในงานเชิงบริหารมาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ความท้าทายที่พวกเขาต้องรับมือคงจะเป็นเรื่องใหม่และนักหนา จนยากที่จะจัดการให้จบได้ภายใน 5 โมงเย็นซึ่งเรื่องนี้นักจิตวิทยาบอกว่า อย่างไรเสีย ไม่ว่าคุณจะเป็นหัวหน้ามือฉมัง หรือหัวหน้ามือใหม่ ก็ต้องฝึกจัดการกับภาวะดังกล่าวให้อยู่ในที่ทางที่เหมาะสม หากทำได้จะดีกับทั้งตัวหัวหน้าและลูกน้องในทีม กลุ่มคนที่ต้องรับมือกับความเหนื่อยล้าของหัวหน้าโดยตรง[ งานคืองาน ชีวิตคือชีวิต ฝึกวางให้เป็น ]มายด์เซ็ตของหัวหน้าหลายคน มักคิดว่า ต้องทำงานหนักและเตรียมพร้อมสำหรับปัญหาที่จะเข้ามาอยู่เสมอ วิธีคิดเช่นนี้ทำให้ชีวิตส่วนตัวกับการทำงานถูกหลอมรวมเข้าด้วยกัน แม้ในยามว่าง วันหยุด ใช้เวลาพักผ่อนอยู่กับครอบครัวก็ยังรู้สึกว่า ต้องเตรียมพร้อมเสมอ บางคนสแตนบายตอบลูกน้องที่ทักมาในวันหยุดอย่างรวดเร็วแม้ไม่ใช่เรื่องด่วน บ้างก็พกแลปท็อปติดตัว เพราะไม่ต้องการเป็นหัวหน้าที่ไร้ประสิทธิภาพทว่า วิธีคิดเช่นนี้ออกจะเกินตัวไปสักหน่อย เพราะแม้คุณจะสวมหมวก ‘หัวหน้า’ หรือ ‘ผู้นำ’ ก็ไม่ได้แปลว่า มีหมวกอยู่ใบเดียวเสียเมื่อไร เรียนรู้พาร์ทอื่นในชีวิตบ้าง การพักผ่อนไม่ได้ทำให้ขี้เกียจหรือดูเกียจคร้านลง แต่งานอดิเรกเหล่านี้ต่างหากที่จะช่วย ‘บูสต์เอเนอจี้’ ให้วันทำงานของคุณกลับมามีประสิทธิภาพได้งานวิจัยชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า กิจกรรมนอกเวลางานมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวหน้าอย่างไร พลังงานดีๆ ที่ได้รับจากกิจกรรมที่หัวหน้าได้เป็นผู้เลือกเอง เชื่อมโยงกับบทบาทการทำงานในแต่ละวัน ทำให้เป็นหัวหน้าที่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ลดความเหนื่อยล้า การแบ่งอาณาเขตที่ชัดเจนระหว่างงานและการพักผ่อนมีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทำให้หัวหน้าเป็น ‘Better Leader’ ได้ในที่สุดที่มา psycnet, hbrแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับเวิร์คพอยท์ทูเดย์https://workpointtoday.com/leader-need-rest-and-balance/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

เจาะลึกสิทธิลดหย่อน “เบี้ยประกันสุขภาพ” !!!

10/05/2024

เมื่อพูดถึงเรื่อง “ภาษี” ใครๆ ก็อยากจะหาวิธีที่จะเสียภาษีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งถ้าไม่เสียเลย ยิ่งดี แต่ในความเป็นจริง การเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีการเก็บโดยยึดตามเงินได้สุทธิ ตามมาตรา 48(1) หรือเก็บโดยยึดตามเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 48(2) ซึ่งผู้เสียภาษีต้องเสียด้วยวิธีที่มากกว่า และโดยทั่วไป วิธีคำนวณจากเงินได้สุทธิ มักจะเสียภาษีสูงกว่าวิธีคำนวณจากเงินได้พึงประเมินการคำนวณภาษีโดยยึดตามเงินได้สุทธิ ตามมาตรา 48(1) มีหลักการคือ นำเอาเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 1-8 มาหักด้วยค่าใช้จ่ายซึ่งจะแบ่งตามประเภทของเงินได้แต่ละประเภท จากนั้นจึงนำมาหักด้วยค่าลดหย่อนและเงินบริจาค จะเหลือเป็น “เงินได้สุทธิ” ซึ่งจะนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา“เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี รัฐจึงจัดให้มีค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 ออกมาหลายรายการ เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิ หรือวางแผนการใช้ค่าลดหย่อนเพื่อลดภาษีให้น้อยลง ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้ คู่สมรส บุตร บิดามารดา เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ กองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ฯลฯ”สำหรับค่าลดหย่อนในส่วน “เบี้ยประกันสุขภาพ” เนื่องจากในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้นมาก การทำประกันสุขภาพจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรจะมีไว้ เพื่อเป็นการป้องกันความมั่งคั่ง และผลกระทบทางการเงิน เพราะเราไม่รู้ว่าการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินค่ารักษาเท่าไหร่ แต่ประกันสุขภาพจะมาช่วยจัดมีไว้ เพื่อเป็นการป้องกันความมั่งคั่ง และผลกระทบทางการเงิน เพราะเราไม่รู้ว่าการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินค่ารักษาเท่าไหร่ แต่ประกันสุขภาพจะมาช่วยจัดการค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ เบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายไป ยังสามารถนำมาใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้นิยามของ “ประกันสุขภาพ”“การประกันสุขภาพ” หมายถึง  •  การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชย การทุพพลภาพและการสุญเสียอวัยวะ เนื่องจากกการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ  •  การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก  •  การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)  •  การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)“จะเห็นว่า เบี้ยประกันสุขภาพที่จะนำมาใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องซื้อแนบกับกรมธรรม์ประกันชีวิตเท่านั้น แต่หากซื้อกับบริษัทประกันภัย ที่จ่ายเบี้ยแบบปีต่อปี ก็สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน”“สิทธิในการลดหย่อน” ประกันสุขภาพสิทธิลดหย่อนประกันสุขภาพของตนเองและคู่สมรสผู้เสียภาษีสามารถนำเอาเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่จ่ายจริง “ไม่เกิน 25,000 บาท” และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้ว “ไม่เกิน 100,000 บาท”กรณีคู่สมรสจดทะเบียน ไม่มีเงินได้ ผู้เสียภาษีไม่สามารถนำเอาเบี้ยประกันสุขภาพของคู่สมรสมาลดหย่อนได้สิทธิลดหย่อนประกันสุขภาพของบิดามารดาผู้เสียภาษีสามารถนำเอาเบี้ยประกันสุขภาพที่ซื้อให้บิดามารดาของตนเอง รวมถึงบิดามารดาคู่สมรส (กรณีจดทะเบียนสมรส และคู่สมรสไม่มีเงินได้) มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทโดยบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท (ไม่จำกัดเรื่องอายุ)การนับสิทธิของประกันสุขภาพบิดามารดาสามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพ โดยใช้วิธีพิจารณา 2 ขั้นตอนคือ1. เบี้ยประกันของกรมธรรม์แต่ละเล่ม ใช้สิทธิได้สูงสุด 15,000 บาท2. ผู้เสียภาษีแต่ละคน ใช้สิทธิได้สูงสุด 15,000 บาทตัวอย่าง พี่น้อง 2 คน รวมกันซื้อประกันสุขภาพให้คุณแม่ เป็นประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย เบี้ยประกันปีละ 35,000 บาท การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของ 2 พี่น้อง สามารถพิจารณาได้ ดังนี้1. เบี้ยประกันของกรมธรรม์เล่มนั้น จ่ายจริง 35,000 บาท แต่ใช้สิทธิได้สูงสุด 15,000 บาท2. นำเบี้ย 15,000 มาหารครึ่ง เนื่องจากว่าทั้งคู่ช่วยกันจ่ายเบี้ยประกันให้กับคุณแม่สรุป แต่ละคนจะใช้สิทธิได้คนละ 7,500 บาทนั่นเอง“การใช้สิทธิในการลดหย่อน” ประกันสุขภาพหากต้องการ “ใช้สิทธิลดหย่อน” เบี้ยประกันสุขภาพ ต้องแจ้งบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยทราบ เพื่อให้ส่งข้อมูลเข้าสู่กรมสรรพากรด้วย ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ยื่นภาษี คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลเบี้ยประกันที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ที่ MyTax Account ของกรมสรรพากรโดยตรง“การเลือกประกันสุขภาพ” ควรเลือกให้เหมาะสมกับความจำเป็นและงบประมาณที่มีอยู่ นอกจากจะได้ประโยชน์โดยตรงจากความคุ้มครองที่มีให้แล้ว ก็ยังได้ประโยชน์จากการนำเบี้ยประกันมา “ลดหย่อนภาษี” อีกด้วย เหนือสิ่งอื่นใด ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีข้อมูลอ้างอิง :ประมวลรัษฎากร มาตรา 47 : ค่าลดหย่อนประมวลรัษฎากร มาตรา 48(1),(2) : การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 162 : การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดากฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(76) : ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทกฎกระทรวง ฉบับที่ 365 : ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาทแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythaihttps://www.wealthythai.com/en/updates/stock/stock-of-the-day/25308

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ห้องแสดงนิทรรศการ

นิทรรศการเชิดชูเกียรติ 90ปี“อินสนธิ์ วงค์สาม และ ทวี รัชนีกร”

10/05/2024

กรมศิลปากรโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส “From orbit to Conversation 90 ปี อินสนธิ์ วงค์สาม และ ทวี รัชนีกร”นิทรรศการครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ ที่จะนำพาทั้ง 2 จักรวาล และ 2 วงโคจร ร้อยเรียงเข้าด้วยกัน เพื่อสร้าง “บทสนทนาของวงโคจร” ผ่านผลงานของ 2 ศิลปินแห่งชาติที่มีความโดดเด่นในวงการศิลปะไทย ซึ่งผลงานของ อินสนธิ์ วงค์สาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ. 2542 และ ทวี รัชนีกร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2548 ต่างมีอัตลักษณ์ชัดเจน แต่มีสิ่งหนึ่งที่สอดคล้องกันคือการนำ “รูปทรง” มาสร้างสรรค์และเล่าเรื่องในแบบของตนเอง เพื่อขับเคลื่อนวงการศิลปะไทยสมัยใหม่ รูปทรงบริสุทธิ์แห่งความนิ่งขรึม สง่างาม มีชีวิตที่เคลื่อนไหวอย่างแผ่วเบาอ้อยอิ่ง และมีความสมบูรณ์แบบ เป็นการถ่ายทอดบอกเล่าเรื่องราวและความรู้สึกของอินสนธิ์ ส่วนทวีมุ่งใช้รูปทรงแห่งการสำแดงพลังอารมณ์ เคลื่อนไหวอย่างรุนแรง มีอารมณ์ขัน เสียดสีแดกดัน อันมีแรงส่งมาจากสภาพสังคม การบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนนี้เอง แสดงให้เห็นถึงการมีจักรวาลและวงโคจรของตนเองนิทรรศการ From orbit to Conversation 90 ปี อินสนธิ์ วงค์สาม และ ทวี รัชนีกร จะเป็นการนำเอาผลงานของทั้งคู่มาเกี่ยวร้อยเชื่อมโยงกัน เปรียบเสมือนบทสนทนาระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่สมัยเรียน ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้อยู่ในจักรวาล ท่ามกลางวงโคจรของกลุ่มสี แสง ธาตุ และฝุ่นผง ที่ประกอบร่างเป็นดาวดวงใหญ่เคลื่อนลอยอย่างเป็นระบบในจักรวาล ผ่านผลงานประเภทภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพปะติดด้วยสมุดข่อย ประติมากรรมไม้ และภาพจิตรกรรมที่บรรจุสีสัน เปรียบเสมือนแสงดาวระยิบระยับท่ามกลางจักรวาลที่ทั้งสองศิลปินสร้างขึ้นนอกจากนี้ยังมีกิจกรรม "Artist Talk บทสนทนาของวงโคจร" โดยอินสนธิ์ วงค์สาม และ ทวี รัชนีกร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิกร คงคา ภัณฑารักษ์ ดำเนินรายการโดย ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ในวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2567 เวลา 14.00 น. สามารถลงทะเบียนทางออนไลน์เพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทาง https://forms.gle/y9HPAJnfkAuRdBED7 และมีพิธีเปิดนิทรรศการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในเวลา 15.00 น. ณ อาคารนิทรรศการ 5 (ห้องอเนกประสงค์) สำหรับนิทรรศการจัดแสดงถึง 30 มิถุนายน 2567 เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับสยามรัฐออนไลน์https://siamrath.co.th/n/535139

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ท่องเที่ยว

"หินตา-หินยาย" หินประหลาดธรรมชาติน่าทึ่ง สัญลักษณ์อันโดดเด่นแห่ง "เกาะสมุย"

10/05/2024

"เกาะสมุย" นอกจากจะมีหาดทรายชายทะเลที่สวยงามมีชื่อเสียงระบือไกลในระดับโลก จนกลายเป็นเกาะท่องเที่ยวอันดับ 1 ของทะเลฝั่งอ่าวไทยในบ้านเราแล้ว บนเกาะสมุยยังมีปรากฏการณ์ธรรมชาติน่าอัศจรรย์ของ "หินตา-หินยาย" ที่เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์อันโดดเด่นแห่งเกาะสมุย ซึ่งทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภูมิภาคภาคใต้ และ ททท.สำนักงานเกาะสมุย ชูเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ไม่ควรพลาดสำหรับผู้มาเยือนเกาะสมุย"หินตา-หินยาย" ตั้งอยู่ที่บริเวณหาดละไม ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทางธรณีวิทยา เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเล ฝน ลม และแสงแดด รวมถึงการผุกร่อนของหน้าผาชายฝั่งทะเลเนื่องจากถูกคลื่นกัดเซาะ เป็นเวลายาวนาน จนก่อเกิดเป็นโขดหินรูปร่างประหลาดที่ดูคล้ายอวัยวะเพศชาย-หญิง ซึ่งชาวบ้านเรียกขานกันว่า "หินตา-หินยาย"หินตา“หินตา” เป็นหินแกรนิตขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายอวัยวะเพศชายตั้งตระหง่านชี้ขึ้นฟ้าริมชายฝั่งส่วน “หินยาย” มีลักษณะเป็นโพรงหินชายฝั่งที่เกิดจากการผุกร่อนของหน้าผาชายฝั่งทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะจนเกิดเป็นแนวหินขนาดใหญ่ที่ดูคล้ายอวัยวะเพศหญิงตั้งโดดเด่นอยู่ริมชายฝั่งรับคลื่นลมที่ซัดสาดเข้ามาหินยายตามตำนานนิทานท้องถิ่นเกาะสมุย เล่าถึงตำนานของหินตา-หินยาย ว่า ในอดีต มีตายายคู่หนึ่ง ชื่อ "ตาเครง" และ "ยายเรียม" เป็นชาวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เดินทางโดยเรือใบเพื่อจะไปสู่ขอลูกสาวของตาม่องล่าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้กับลูกชายชื่อคง โดยมีนายท้ายเรือ คือนายปราบเพื่อนของลูกชายครั้นเรือแล่นมาถึงบริเวณแหลมละไม เกาะสมุย เกิดพายุใหญ่ทำให้เรือล่ม สินสอดทองหมั้นที่เตรียมมาจมน้ำหายไปจนสิ้น ส่วนญาติสนิทมิตรสหายที่เดินทางมาร่วมกัน จมน้ำเสียชีวิตกลายเป็นเกาะเล็กเกาะน้อย รายรอบเกาะ สมุยหินตาหลาย ๆ คนถูกน้ำพัดไปกลายเป็นหมู่เกาะอ่างทอง นายคงถูกน้ำซัดไปทางหาดเชิงมนเสียชีวิตกลายเป็นเกาะกง ด้านนายปราบนั้นเกาะเรือสำเภาของตัวเองลอยไปทางอ่าวบ้านดอน จนก่อนจะเข้าอ่าวบ้านดอนเรือสำเภาจมลงจนกลายเกาะนกเภา ส่วนนายปราบนั้นเสียชีวิตกลายเป็นเกาะปราบ อยู่บริเวณอ่าวบ้านดอนนั่นเองเรือล่มครั้งนี้คงเหลือรอดชีวิตแค่เพียงตาเครงและยายเรียม ที่ถูกน้ำทะเลพัดเข้าหาดละไม ทั้งตาและยายเสียใจมาก และกลัวว่าตาม่องล่ายจะคิดว่าเป็นคนไม่รักษาคำพูด จึงพากันกลั้นใจกระโดดน้ำตาย กลายเป็นหินตา-หินยาย ที่ภายหลังได้กลายเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของเกาะสมุยในเวลาต่อมาหินยายวันนี้หินตา-หินยาย เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมบนเกาะสมุย แต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาถ่ายรูปเช็กอินบริเวณหินตา-หินยายกันเป็นจำนวนมากสำหรับหินรูปร่างประหลาดคู่นี้ ยิ่งเมื่อมองแล้วใส่จินตนาการเข้าไป ก็จะยิ่งให้ความรู้สึกว่ามีความเหมือนจริงไม่น้อยเลยภาพโดย : อโนทัย งานดีหินตานักท่องมาเที่ยวกันไม่ได้ขาดหินยายในมุมสูงแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์https://mgronline.com/travel/detail/9670000039843

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

อสังหาริมทรัพย์

จำนอง Vs ขายฝาก ได้เงินไม่เท่ากัน แต่มีเงื่อนไขและภาษีต้องรู้ก่อนเลือก

09/05/2024

ทราบหรือไม่ว่า ระหว่าง "จำนอง" และ "ขายฝาก" ได้เงินไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่ การจำนองจะได้วงเงินประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน ส่วนการขายฝาก จะได้วงเงินประมาณ 40-70% แต่จะเลือกแบบไหน ต้องดูเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติมด้วยเชื่อว่าเป็นที่สงสัยกันมาตลอด หากถึงเวลาที่เราต้องนำทรัพย์สินไปแลกเปลี่ยนเป็นเงิน ควรเลือกวิธี "จำนอง" หรือ "ขายฝาก" ดีกว่ากัน? เพราะต้องยอมรับว่าทั้ง 2 วิธี มีข้อกำหนดและเงื่อนไขค่อนข้างคล้ายกันมาก จนทำให้หลายๆ คนอาจเผลอหรือพลาดเลือกวิธีที่ไม่เอื้อประโยชน์กับตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และที่สำคัญยังมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยดังนั้น โอกาสผิดพลาดทั้งผู้นำทรัพย์สินไปจำนองหรือขายฝาก และผู้รับจำนองหรือซื้อฝากย่อมมีสูง แถมยังส่งผลถึงเรื่องการเสียภาษีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมาทำความเข้าใจกับวิธี "จำนอง" และ "ขายฝาก" รวมถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกัน ดังสามารถอธิบายได้ดังนี้  •  ลักษณะของการ "จำนอง"จำนอง คือการนำทรัพย์สินมาเป็นประกันในการชำระหนี้เมื่อมีการกู้ยืมเงิน ซึ่งสามารถนำทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัย์และสังหาริมทรัพย์ ที่มีทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดว่านำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ ที่ดิน บ้าน คอนโด โดยจะต้องนำสัญญาจำนองไปจดทะเบียนด้วยแต่ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนอง และมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองได้ต่อไป แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคลีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย รวมถึงในการจำนองหากมีข้อตกลงจะชำระหนี้จนครบเมื่อถึงกำหนดแต่กลับชำระไม่ครบ ผู้จำนองต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้แก่ผู้รับจำนองจนกว่าจะครบ แม้จะถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินที่จำนองแล้วก็ตาม  •  ลักษณะของการ "ขายฝาก"ขายฝาก คือการนำทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์มาขายให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยต้องทำสัญญาเอกสารขายฝาก และมีข้อตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝาก และได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝากทั้งนี้ ในกรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน เช่น ที่ดินจะต้องทำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจ การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โดยหากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืน และผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝากอีก  •  กิจการรับจำนอง & ขายฝาก เข้าข่ายต้องเสียภาษีอะไรบ้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีบุคคลธรรมดารับจำนองจากนิติบุคคล ผู้จ่ายเงิน (ดอกเบี้ย) ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้อัตรา 15% ผู้รับดอกเบี้ยจำนองสามารถเลือกไม่นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีประจำปีได้ แต่ถ้าหากไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ไว้ จะต้องนำมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 มาตรา 40(4) กลุ่มของดอกเบี้ย โดยไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ส่วนกรณีขายฝาก ค่าสินไถ่ตอนไถ่ถอนได้ถูกเก็บภาษีเเล้ว จึงไม่ต้องนำมารวมเพื่อเสียภาษีอีกภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้รับจำนอง หากประกอบกิจการให้กู้ยืมเงินในนามนิติบุคคล จะเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคาร กิจการต้องนำรายรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งยังไม่ได้รับชำระดอกเบี้ยเงินกู้ มาถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อนำไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี นับจากวันที่ทำสัญญาจดจำนองที่กรมที่ดิน จนกว่าจะบอกเลิกสัญญากู้ยืมด้วยการบังคับจำนองโดยดอกเบี้ยในส่วนที่กิจการยังไม่ได้ชำระทั้งจำนวนนั้น หากมีการยกหนี้ กิจการต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย เว้นแต่มีเหตุอันสมควรนอกจากนี้ยังต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจำนอง ในอัตรา 1% จากวงเงินจำนองสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝาก จะต้องเสียในอัตรา 2% ของราคาประเมินอากรแสตมป์นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าอากรแสตมป์ ในกรณีการจำนองเพื่อเป็นประกันในการกู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนกรณีขายฝาก จะเสียค่าอากรแสตมป์ในอัตรา 0.5% ของราคาประเมิน หรือราคาขายฝาก แล้วแต่ราคาใดสูงกว่าภาษีธุรกิจเฉพาะการนำทรัพย์สิน ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปจำนอง หรือขายฝากให้กับบริษัทที่ประกอบกิจการให้กู้ยืมเงิน จะเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคาร ซึ่งบริษัทที่รับจำนองดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะโดยรายรับค่าดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินที่เป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ของเดือนภาษีก่อนที่ผู้ประกอบกิจการจะจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้ยื่นแบบ ภ.ธ.40 เป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับจากการประกอบกิจการหรือไม่ก็ตาม โดยคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของรายรับ พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือเป็นเงิน 1,000 บาท แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า แต่ถ้าเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์อีกสรุป...ภาษีที่เกี่ยวกับกิจการที่รับจำนอง & ขายฝากโดยทั่วไปการจำนองส่วนใหญ่ ผู้จำนองจะได้วงเงินประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน ส่วนการขายฝาก จะได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน ซึ่งจะมากกว่าการจำนอง แต่ต้องประเมินกำลังในการไถ่ถอนทรัพย์สินคืนให้ดี เพราะหากไม่สามารถไถ่ถอนคืนได้ตามเวลากำหนด ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืนทันที ทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากไปโดยปริยายส่วนผู้ที่ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากผู้นำทรัพย์สินมาจำนำหรือขายฝากนั้น ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดด้วยอ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่ Source : Inflow Accountingแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1125351

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ห้องแสดงนิทรรศการ

คลังสกัดซ้ำรอยประกันเจ๊งโควิด คุมออกโปรดักต์ใหม่-เพิ่มอำนาจ คปภ

09/05/2024

ปลัดคลังเซ็นออกประกาศ คปภ. คุมเข้มบริษัทประกันภัยออกโปรดักต์รับประกัน “สกัดเจ๊ง” ซ้ำรอยโควิด คปภ.เผยเข้มงวดตั้งแต่ต้นทาง กำหนดให้ต้องมี “คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัย” พิจารณาออกกรมธรรม์ ภาคธุรกิจต้องมีการทดสอบภาวะวิกฤต-ทำแผนเชิงลึก-เสนอแนวทางแก้ปัญหาให้บอร์ดรับทราบ พร้อมเพิ่มอำนาจ “เลขาฯ คปภ.” สั่งให้บริษัทระงับการเสนอขายชั่วคราวหรือตลอดไปได้ ฟาก “ผู้บริหารประกัน” ชี้เป็นการถอดบทเรียนจากวิกฤตโควิดนายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ลงนามเห็นชอบประกาศคณะกรรมการ คปภ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำกับการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม และการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศเป็นต้นไปนายอาภากร ปานเลิศ รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ประกาศดังกล่าวหลักการคือ กำหนดให้บริษัทจัดให้มีคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยยกระดับจากแนวปฏิบัติที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2562 (ช่วงขายประกันภัยโควิด) ขึ้นเป็นอนุบัญญัติตามกฎหมาย เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยอย่างครบวงจรและรัดกุมอาภากร ปานเลิศทั้งนี้ คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัยต้องมีอย่างน้อย 5 คน โดยเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัยอย่างน้อย 1 คน ต้องเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และผู้บริหารของบริษัท ซึ่งทั้งหมดต้องได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท“ในช่วงโควิดระบาด เกิดความผิดพลาดจากการขายประกันภัยโควิด จนทำให้บริษัทประกันวินาศภัยต้องปิดตัวไป 4 บริษัท เราก็เลยวางแนวปฏิบัติโดยการเพิ่มคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้พิจารณาโปรดักต์ทั่วไปทั้งหมด พร้อมดูถึงความสมบูรณ์ของเอกสารและเงื่อนไขของกรมธรรม์ รวมทั้งการเสนอขาย คือดูให้ครบวงจรของการออกผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่แนวความคิด ข้อมูล การวิเคราะห์ จนออกมาเป็นกรมธรรม์ และอัตราเบี้ย นอกจากนี้ พอใช้ไปแล้วต้องติดตามเรื่องของเกณฑ์ การบริหารหลังการขายด้วย”โดยในกรณีที่บริษัทต้องการจะออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีความเสี่ยงสูง หรือบริษัทยังไม่มีความชำนาญ หรือที่คุ้มครองความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) ให้คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัยพิจารณาจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และมีคณะคณิตศาสตร์ประกันภัยมาช่วยวิเคราะห์สถานการณ์การรับประกันภัยของบริษัทในเชิงลึกร่วมด้วยเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงรัดกุมมากยิ่งขึ้น และเสนอแนวทางในการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้คณะกรรมการบริษัทได้รับทราบ พร้อมทั้งประเมินความสามารถในการเผชิญต่อภาวะวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (Stress Test)นอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ที่อาจจะไปกระทบผู้เอาประกัน หรือประชาชน หรืออุตสาหกรรมประกันภัย ประกาศฉบับนี้ให้อำนาจนายทะเบียน (เลขาธิการ คปภ.) สั่งให้บริษัทดำเนินการตามที่เห็นสมควร เช่น ทบทวนการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย, ทบทวนอัตราเบี้ยประกันภัย, ทบทวนการบริหารความเสี่ยงจากการรับประกันภัย, จำกัดปริมาณหรือระงับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยเป็นการชั่วคราวหรือตลอดไปได้“เรามองเห็นภาพตอนโควิดที่มีปัญหา ซึ่งตอนนั้นนายทะเบียนมีเครื่องมือเดียวคือ มาตรา 29 และมาตรา 30 ของ พ.ร.บ.ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ในการเปลี่ยนแปลงยกเลิก แต่กว่าที่จะดำเนินการได้ค่อนข้างมีหลายกระบวนการ ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขในการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว”ส่วนกรณีความกังวลในการรับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ที่มีการเคลมสินไหม (Loss Ratio) ค่อนข้างสูงนั้น ทางคณะกรรมการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยรถอีวี ได้มีการพูดคุยตั้งแต่แรกไว้แล้วว่า บริษัทที่จะรับประกันภัยรถอีวีจะต้องมีแผนบริหารความเสี่ยง มีการทำ Stress Test ที่จะกำหนดว่า การรับประกันภัยในระดับไหนที่บริษัทจะต้องให้ความสำคัญ เช่น Loss Ratio ถึงระดับไหนที่จะหยุดรับประกัน หรือที่จะกระทบต่อเงินกองทุน“การรับประกันภัยรถอีวี ประเมินแล้วคงไม่เลวร้ายเหมือนการรับประกันภัยโควิด เพราะเป็นการเคลมจากอุบัติเหตุ ซึ่งคงไม่ได้เกิดพร้อมกัน ๆ อย่างไรก็ตาม แต่ละบริษัทต้องบริหารความเสี่ยงที่ดี ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่แค่รู้เรื่องการรับประกันรถอีวีเท่านั้น แต่ยังต้องรู้เรื่องของการชดเชยค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถด้วย”แหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูงบริษัทประกันภัยกล่าวว่า การออกประกาศฉบับนี้ถือเป็นแนวทางที่ดีที่จะสร้างมาตรฐาน โดยหากความเสี่ยงภัยสูง บริษัทต้องมีการจำกัดการรับประกัน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่จะตามมาได้ตั้งแต่ต้นทาง“ถือเป็นการถอดบทเรียนจากวิกฤตโควิด ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น” แหล่งข่าวกล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1558271

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X