Everyday knowledge for you
ประกันชีวิต
30/04/2024
วันที่ 24 ต.ค.66-นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการประกันและอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (APFinSA) ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ค"บรรยง วิทยวีรศักดิ์"ความว่า กฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ใครบริษัทประกันชีวิต หรือลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ตอนที่มีข่าวอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ถูกสืบประวัติสุขภาพย้อนหลัง หลังแฟกซ์เคลมไม่ผ่าน ผมได้ชี้แจงว่า บริษัทใช้สิทธิตรวจสอบ หากมีการปกปิดข้อมูลที่สำคัญ บริษัทประกันชีวิตมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาประกันชีวิตได้ผู้อ่านบางคนถึงกับพูดว่า ไม่ยุติธรรม กฎหมายเอื้อประโยชน์ให้บริษัทประกันชีวิต วันนี้ ผมจึงขอมาเปรียบเทียบว่า กฎหมายกำหนดให้ใครได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรบ้างข้อเสียเปรียบของลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์1. ถ้าลูกค้าปกปิดข้อเท็จจริง และเสียชีวิตใน 2 ปีแรก บริษัทประกันชีวิตมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาให้เป็นโมฆียะกรรม คือไม่มีผลแต่ต้น บริษัทไม่ต้องจ่ายสินไหมข้อสังเกต : ถึงแม้บริษัทจะไม่จ่ายสินไหม แต่ต้องคืนเบี้ยประกันให้ลูกค้า และถ้าลูกค้าบริสุทธิ์ใจ แจ้งข้อมูลตามความเป็นจริง ก็ไม่ต้องกังวลข้อนี้เลย2. ลูกค้าป่วยหนัก บริษัทมีสิทธิตรวจสอบว่า มีประวัติการรักษามาก่อนหรือไม่ จึงไม่ได้สิทธิ์แฟกซ์เคลมข้อสังเกต : บริษัทไม่ได้ปฏิเสธสิทธิ์ในการเรียกร้องสินไหม ลูกค้ายังสามารถยื่นเรียกร้องสินไหมได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องจ่ายค่ารักษาไปก่อน เพื่อให้เวลาบริษัทหาข้อเท็จจริงครับ3. ลูกค้าแถลงปัญหาสุขภาพตามจริง แต่ตัวแทนไม่กรอกข้อมูลนั้นลงในใบสมัคร ทำให้กรมธรรม์ถูกบอกล้างข้อสังเกต : กรมธรรม์เป็นเสมือนสัญญาระหว่างลูกค้ากับบริษัท ก่อนลงนามหรือเมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว ต้องตรวจสอบสัญญาอีกครั้งเสมอ เพื่อมั่นใจว่าสัญญาถูกเขียนไว้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในประเด็นการแถลงปัญหาสุขภาพซึ่งเราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เราจะอ้างว่าตัวแทนเป็นคนกรอก โดยที่เราไม่ได้อ่านไม่ได้4. ลูกค้าจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพมาหลายปี พอหยุดจ่าย เกิดป่วยหนักขึ้นมาบริษัทไม่ผ่อนผันเลยข้อสังเกต : เป็นข้อตกลงตามสัญญาครับ แต่อย่างไรก็ตาม ในสัญญาได้ระบุระยะผ่อนผันให้ แต่ถ้ายังเลยระยะผ่อนผัน ก็ต้องดูว่ากรมธรรม์หลัก มีมูลค่าเงินสด ที่สามารถกู้มาจ่ายเบี้ยประกัน ซึ่งจะทำให้กรมธรรม์คุ้มครองต่อไปได้อีกระยะหนึ่งครับ5. ลูกค้าแถลงข้อเท็จจริงในการทำประกันสุขภาพ แต่ยังมีระยะรอคอย 30 วันสำหรับโรคทั่วไป และ 120 วันสำหรับโรคบางโรคข้อสังเกต : อันนี้เป็นจุดอ่อนของกรมธรรม์ประกันสุขภาพทุกบริษัท ที่ไม่สามารถเริ่มคุ้มครองทันทีสำหรับการเจ็บป่วย แต่สำหรับอุบัติเหตุจะเริ่มคุ้มครองทันทีที่กรมธรรม์อนุมัติ วิธีแก้ปัญหาคือ พยายามซื้อประกันให้เร็วที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย อย่ารอให้มีอาการป่วยแล้วรีบซื้อ เพื่อหวังว่าจะได้เบิกสินไหมทันทีข้อเสียเปรียบของบริษัทประกันชีวิต1. ถ้าลูกค้าฆ่าตัวตายหลังกรมธรรม์มีผลบังคับแล้วหนึ่งปี บริษัทต้องรับผิดชอบ จ่ายสินไหมตามปกติข้อสังเกต : ตามสถิติพบว่าลูกค้าที่คิดสั้น แล้วหวังเงินสินไหมจากการฆ่าตัวตายนั้น ส่วนใหญ่ เมื่อเลยระยะเวลาหนึ่งปีไปแล้ว มักจะคิดตก เปลี่ยนความตั้งใจ ไปทำมาหากินตามปกติ2. ถ้าลูกค้าปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพ แล้วเสียชีวิตหลังสองปี บริษัทยังต้องรับผิดชอบเรื่องสินไหมตามปกติข้อสังเกต : เป็นหน้าที่ของบริษัทที่ต้องสืบให้ทราบว่า ลูกค้ามีการปกปิดข้อเท็จจริงหรือเปล่า ถ้าเลยสองปี ถือเป็นการละเลยของบริษัทเอง จึงต้องรับผิดชอบตามทุนประกันชีวิตที่ลูกค้าซื้อเอาไว้ทุกประการ3. ถ้าลูกค้าถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าโดยเจตนา หากมีผู้รับประโยชน์หลายคน และคนอื่นไม่ได้ร่วมลงมือด้วย บริษัทต้องรับผิดชอบจ่ายสินไหมให้ผู้รับประโยชน์คนอื่นตามปกติ ตามสัดส่วนที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ ส่วนสินไหมของผู้ลงมือไม่ต้องจ่าย แต่ต้องคืนเบี้ยประกันส่วนนี้ให้กับกองมรดกของผู้เอาประกันข้อสังเกต : ผู้รับประโยชน์คนอื่นที่ไม่รู้เรื่อง ต้องได้รับการปกป้องตามสิทธิ์ที่เขาพึงมี บริษัทไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้4. เมื่อลูกค้าซื้อประกันชีวิตและมีผลคุ้มครองไปแล้ว ต่อมาไม่ว่าลูกค้าจะเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุใด (ที่ไม่ใช่การฆ่าตัวตายหรือถูกฆาตกรรม) บริษัทต้องรับผิดชอบค่าสินไหมตามปกติ ถึงแม้ดูเหมือนว่าลูกค้าจะทำให้เกิดความเสี่ยงเหล่านั้นขึ้นเอง เช่น ลูกค้าถูกประหารชีวิตจากการทำความผิดตามกฏหมาย หรือลูกค้าเข้าร่วมทะเลาะวิวาทแล้วถูกแทงเสียชีวิตข้อสังเกต : คำว่าประกันชีวิตคือ ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกค้าหยุดหายใจ ไม่ว่าเสียชีวิตจากสาเหตุใด บริษัทต้องรับผิดชอบทั้งหมด5. ตามมาตรฐานของการประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่เริ่มมีผลสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2565 เมื่อซื้อไปและกรมธรรม์มีผลคุ้มครองแล้ว ไม่ว่าลูกค้าจะป่วยด้วยโรคร้ายแรงอะไร และป่วยต่อเนื่องขนาดไหน บริษัทต้องรับผิดชอบลูกค้า ตามวงเงินและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ไม่สามารถยกเลิกได้ไปตลอดสัญญา เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ลูกค้ามีการปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพ หรือเรียกร้องสินไหมโดยทุจริตเท่านั้นข้อสังเกต : กฎหมายใหม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของประกันสุขภาพในอดีต ที่มีบางบริษัท(ส่วนน้อย) ฉวยโอกาสยกเลิกกรมธรรม์ของลูกค้า เมื่อพบว่าลูกค้าป่วยหนัก ต้องเบิกสินไหมต่อเนื่อง ถือเป็นความกล้าหาญของคปภ. ที่ออกมาปกป้องลูกค้าผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการทำประกันสุขภาพ6. ตามมาตรฐานของการประกันสุขภาพแบบใหม่ บริษัทไม่สามารถเลือกขึ้นเบี้ยประกันสำหรับคนบางคนที่เรียกร้องสินไหมมากเป็นพิเศษ เนื่องจากการที่มีสุขภาพแย่ลงหลังการซื้อประกันสุขภาพ เว้นแต่บริษัทจะพิสูจน์ได้ว่าพอร์ตโฟลิโอของการประกันสุขภาพทั้งพอร์ต ขาดทุนต่อเนื่องหลายปี ก็ให้ยื่นเรื่องมาที่คปภ. เพื่อพิจารณาปรับเบี้ยประกันสำหรับลูกค้าในพอร์ตนั้นทั้งหมดข้อสังเกต : คปภ. เข้ามากำกับดูแลมากขึ้น ไม่ให้บริษัทประกันภัยเลือกปฏิบัติต่อลูกค้าตามอำเภอใจ ไม่ว่าจะยกเลิกกรมธรรม์ เพิ่มค่าเบี้ยประกันโดยพลการ แน่นอนว่า บริษัทประกันภัยย่อมไม่ชอบข้อกำหนดนี้ แต่ต้องปฏิบัติตาม ผมคิดว่า ถ้าเราอ่านข้อมูลทั้งหมดด้วยใจที่เป็นธรรม ผมเชื่อว่าหน่วยงานของรัฐคือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้ออกกฏหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนมากกว่า ในเรื่องข้อเสียเปรียบของประชาชนนั้น ถ้าเพียงแต่ประชาชนสมัครทำประกันด้วยความสุจริตใจ เปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน ก็จะได้รับการปกป้องอย่างเต็มที่ และถึงแม้ประชาชนผิดเงื่อนไขเสียเอง เช่น ปกปิดข้อเท็จจริง กฎหมายยังปกป้องโดยการคืนเบี้ยประกันชีวิตให้ (แต่หักค่าใช้จ่ายเล็กน้อย เช่นค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น)ขณะที่ฝั่งบริษัทประกันชีวิต มีหลายเรื่องที่ไม่ได้เกิดจากข้อบกพร่องของตนเองเลย แต่ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ไม่ว่าการที่ลูกค้าฆ่าตัวตาย ลูกค้าถูกฆาตกรรม หรือการที่ลูกค้าปกปิดข้อเท็จจริง แล้วเสียชีวิตหลัง 2 ปีไปแล้ว บริษัทต้องรับผิดชอบทั้งหมดขอให้พวกเรามั่นใจว่า หน่วยงานของรัฐและกฎหมายที่ออกมากำกับดูแล เกี่ยวกับระบบประกันชีวิตของไทยนั้น ได้มาตรฐานและคุ้มครองผู้บริโภคดีพอ หากพบการกระทำใดที่เรารู้สึกว่าไม่เป็นธรรม เราสามารถร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ของคปภ.ได้ตลอดเวลา สะดวกและรวดเร็วครับมีสำนวนหนึ่งในธุรกิจประกันชีวิตคือ “คนมีเหตุผล หนีประกันไม่พ้น” ผมคิดว่าหลักการของประกันสุขภาพและประกันชีวิตก็เหมือนกัน ล้วนผ่านการขบคิด ทดสอบ และนำมาใช้เป็นร้อยปี จนเป็นหลักการที่อยู่ตัวแล้ว เราจึงไม่แปลกใจที่ ประเทศที่ยิ่งเจริญ ธุรกิจประกันชีวิต ประกันสุขภาพยิ่งโตตาม มันคงเป็นดัชนีชี้วัดที่ดีได้ตัวหนึ่ง เห็นด้วยไหมครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับสยามรัฐออนไลน์https://siamrath.co.th/n/487257
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
อสังหาริมทรัพย์
30/04/2024
ผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ในทางปฏิบัติมีรายละเอียดต่าง ๆ มากมายตลอดกระบวนการซื้อหรือขาย ตั้งแต่การเลือกโครงการ ทำเล เจ้าของบ้านหรือผู้พัฒนา ราคา ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมจิปาถะ ไปจนถึงการทำเรื่องธุรกรรมต่าง ๆ ส่วนในฝั่งของผู้ขายก็ต้องการขายให้ได้เร็วที่สุด เพื่อลดภาระดอกเบี้ยหรือคืนทุนให้เร็วที่สุด ดังนั้นจึงทำให้แนวโน้มการใช้เอเจนต์อสังหาฯ มาทำหน้าที่จุกจิกเหล่านี้แทนกำลังได้รับความนิยม DDproperty เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 54% ในเมืองไทย ออกบทความ ไขข้อสงสัยขายบ้านเอง VS ขายผ่านเอเจนต์ แบบไหนเหมาะ เลือกอย่างไรไม่ให้ว้าวุ่นระบุว่า การซื้อ ขาย หรือเช่าบ้านให้ได้ตรงใจถ้าไม่มีประสบการณ์มาก่อนก็อาจเป็นเรื่องปวดหัวมากถึงมากที่สุด เพราะกว่าจะพบที่อยู่อาศัยที่ถูกใจต้องผ่านหลายกระบวนการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้เช่า หรือผู้ปล่อยเช่าอสังหาฯ สามารถให้เอเจนต์ทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่มีรายละเอียด ข้อมูล การติดต่อประสานงานและขั้นตอนที่จุกจิกแทนได้ การเลือกใช้เอเจนต์ที่มีคุณภาพและได้รับการรับรอง จึงกลายเป็นอีกตัวช่วยที่จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้เวลา สมอง และงบประมาณกับเรื่องสำคัญนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความท้าทายที่ถูกมองข้ามเมื่อคิดขายบ้านเอง ได้แก่ จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคที่วางแผนซื้อบ้านในเวลานี้มีความกังวลใจต่อภาระค่าใช้จ่ายและเลือกชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อน โดยหันมาเลือกเช่าที่อยู่อาศัยแทน ขณะที่โครงการรีเซลหรือโครงการมือสอง ซึ่งมีต้นทุนราคาที่ถูกกว่าบ้านใหม่ กลายเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่มีงบประมาณจำกัดและมีความจำเป็นต้องซื้อที่อยู่อาศัยในเวลานี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้มีสินค้าบ้าน/คอนโดฯ มือสองจะนำออกมาขายสู่ตลาดเพื่อตอบรับความต้องการที่มีในตอนนี้ อย่างไรก็ดี ภายใต้โอกาสนั้นก็ยังมีความท้าทายซ่อนอยู่ เนื่องจากการขายอสังหาฯ มีความแตกต่างจากการขายสินค้าทั่วไปพอสมควร อันดับแรกผู้ที่ต้องการขายที่อยู่อาศัยมือสองต้องทำความเข้าใจก่อนว่า แม้ที่อยู่อาศัยจะมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่ถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ ก่อนตัดสินใจซื้อจึงต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แม้การประกาศขายบ้านเองนั้นมีข้อดีตรงที่ผู้ขายได้รับเงินเต็มจำนวนทั้งหมดโดยไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นเหมือนการขายผ่านเอเจนต์ แต่ในทางตรงกันข้าม การประกาศขายที่อยู่อาศัยมือสองไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ หากไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน ความท้าทายที่ถูกมองข้ามเมื่อคิดขายบ้านเอง ได้แก่ ㆍตั้งราคาขายตามใจ ไม่สนราคาตลาด ขั้นตอนการตั้งราคาขายบ้านมือสองนั้นถือว่ามีความสำคัญอันดับต้น ๆ เนื่องจากถือเป็นปัจจัยแรกที่ดึงดูดผู้ซื้อ ผู้ขายมือใหม่หลายคนมักจะเลือกตั้งราคาตามที่ต้องการ โดยลืมพิจารณาปัจจัยสำคัญคือราคาขายของสินค้าประเภทเดียวกันในทำเลนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งโดยตรงที่ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบได้ทันที ผู้ขายควรจะศึกษาราคาขายเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยมือสองประเภทเดียวกันในทำเลนั้น ๆ ก่อน หากเป็นบ้าน/คอนโดฯ ที่ผ่อนชำระอยู่ก็ต้องตั้งราคาให้ครอบคลุมภาระหนี้ที่เหลือ โดยหักค่าเสื่อมของอสังหาฯ ออก และต้องไม่ลืมรวมค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องซ่อมแซมจุดชำรุดแล้วตกแต่งบ้านให้สวยงามพร้อมเข้าอยู่ ค่าทำการตลาดเมื่อประกาศขาย รวมทั้งบวกค่าใช้จ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบด้วย โดยราคาขายควรเหมาะสมกับสภาพอสังหาฯ ไม่แพงเกินไปจนผู้ซื้อเมินตั้งแต่ครั้งแรก และไม่ถูกจนทำให้เกิดข้อสงสัยว่าที่อยู่อาศัยนั้นมีปัญหาซ่อนอยู่ หรือผู้ขายร้อนเงิน ซึ่งจะทำให้เสี่ยงโดนกดราคาเพิ่ม ㆍไม่เข้าใจการวางแผนการตลาด การประกาศขายอสังหาฯ นั้นมีทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ให้เลือก ปัจจัยสำคัญคือต้องเริ่มต้นวางแผนทำการตลาดให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ซื้อมากที่สุด ใช้ข้อความให้ดึงดูดใจจากราคาและความคุ้มค่าจากของแถมที่มอบให้ เลือกใช้รูปถ่ายที่สวยงามในมุมที่ทำให้บ้านดูกว้างขวาง ไม่อึดอัด ข้อควรคำนึงคือการประกาศขายผ่านช่องทางออนไลน์นั้นแม้จะมีความสะดวกและเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า แต่ในทางกลับกันก็มีการแข่งขันที่สูงไม่น้อย ดังนั้นการประกาศฟรีตามเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสหรือโซเชียลมีเดียอาจไม่เพียงพอ บางครั้งจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการเพิ่มยอดผู้เข้าชม หรือให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย ขณะเดียวกันผู้ขายอาจไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่าต้องใช้ระยะเวลานานเพียงใดกว่าจะปิดการขายได้ หากไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอเพื่อวางแผนการตลาด อาจทำให้ไม่สามารถขายออกได้ง่ายหรืองบส่วนนี้บานปลาย ㆍไม่มีเวลาเพียงพอในการพาผู้ซื้อเยี่ยมชม เมื่อมีผู้สนใจซื้อและขอนัดหมายเยี่ยมชมที่อยู่อาศัยที่ประกาศขายจริง ผู้ขายต้องเป็นคนดำเนินการเอง ซึ่งปกติแล้วจะมีการขอเยี่ยมชมเรื่อย ๆ จากหลากหลายลูกค้าที่สนใจ ซึ่งผู้ขายต้องทำใจว่าอาจต้องใช้เวลาในการเปิดบ้านและพาไปเยี่ยมชมและให้ข้อมูลหลาย ๆ ครั้งจนกว่าจะขายได้ หรือบางกรณีที่ผู้สนใจซื้อสะดวกนัดหมาย แต่อาจจะไม่ตรงกับช่วงเวลาที่ผู้ขายว่าง ซึ่งหากเกิดกรณีที่ต้องเลื่อนนัดหรือปฏิเสธนัดบ่อย ๆ ก็เป็นการลดโอกาสที่จะขายได้ตามไปด้วย เนื่องจากผู้ซื้ออาจสนใจโครงการอื่นที่ไปดูแทนหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนในการหาบ้านใหม่ นอกจากนี้ผู้ขายยังต้องเผชิญความท้าทายในการพิจารณาว่าผู้ที่สนใจซื้อนั้นเป็นลูกค้าจริง หรือเป็นแค่มิจฉาชีพที่แฝงตัวมา ㆍขาดทักษะในการต่อรอง ผู้ขายต้องมีทักษะในการสื่อสารและวาทศิลป์ที่ดีในการดึงดูดใจเมื่อให้ข้อมูลบ้านที่จะขาย เพื่อให้สามารถปิดการขายได้ภายในเวลาที่รวดเร็วและขายได้ตามราคาที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้ขายมือใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการขายบ้าน/คอนโดฯ มาก่อน มักเผชิญความท้าทายเมื่อผู้ซื้อต้องการให้ลดราคาลง หรือต่อรองราคาโดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ขอลดราคาโดยไม่เอาเฟอร์นิเจอร์ หรือหาจุดชำรุดมากดดันขอลดราคาเพิ่ม นอกจากนี้ ระหว่างการสื่อสารกันนั้น ผู้ขายไม่ควรบอกเหตุผลการขายในเชิงลบที่อาจเสี่ยงต่อการถูกกดราคา หรือยกเลิกการซื้อในภายหลังเช่นกัน ㆍขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเอกสารสัญญา การซื้อขายที่อยู่อาศัยมือสองนั้นมีรายละเอียดที่แตกต่างจากการซื้อขายทรัพย์สินอื่น ๆ และซับซ้อนกว่า ผู้ขายต้องศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องการทำสัญญาการขายให้รอบคอบและครอบคลุม รายละเอียดในสัญญาต้องชัดเจนทั้งในเรื่องราคา เงื่อนไข เวลาในการดำเนินงานต่าง ๆ หรือค่าเสียเวลาหากผู้ซื้อเปลี่ยนใจยกเลิกสัญญาในภายหลัง นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้เรื่องสินเชื่อ การเตรียมเอกสารในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ขณะเดียวกันยังต้องศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อทำความเข้าใจว่าส่วนไหนบ้างที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบเอง ซึ่งควรคำนวณค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ในราคาขายบ้านตั้งแต่แรก รายละเอียดเหล่านี้ต้องใช้เวลาศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนจะประกาศขาย เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในภายหลัง“เอเจนต์” สะพานเชื่อมผู้ขายและผู้ซื้อ มีดีมากกว่าแค่ขายบ้าน บางคนอาจมีความเชื่อผิด ๆ มองว่าเอเจนต์ทำได้แค่ขายเพียงอย่างเดียว จึงเสียดายเงินหากต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น ซึ่งแท้จริงแล้วเอเจนต์มืออาชีพนั้นมีบทบาทอยู่ในทุกขั้นตอนของเส้นทางการซื้อขายที่อยู่อาศัย ดังนี้ ㆍเป็นที่ปรึกษา คอยดูแลในทุกขั้นตอน เอเจนต์มีประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในการซื้อขายอสังหาฯ เป็นอย่างดี จากการศึกษาตลาด เรียนรู้ทักษะที่เกี่ยวข้อง และติดตามข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ ตลอดเวลา เอเจนต์จะช่วยดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการตั้งราคาขายบ้าน/คอนโดฯ ที่เหมาะสม ตรวจสอบจุดบกพร่องที่ควรซ่อมแซม ให้คำปรึกษาเพื่อปรับปรุงตกแต่งบ้าน/คอนโดฯ ให้สวยงามขึ้น เพื่อช่วยให้ขายบ้านได้ราคาดีและดึงดูดใจผู้ซื้อ นอกจากนี้ เอเจนต์ยังมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา การขอสินเชื่อในฝั่งผู้ซื้อ และการโอนกรรมสิทธิ์ ถือเป็นที่ปรึกษาที่ช่วยเตรียมการ อำนวยความสะดวก และแก้ไขปัญหาในการขายที่อยู่อาศัยให้ราบรื่น ประหยัดเวลาของผู้ขายมากขึ้น และลดความยุ่งยากในขั้นตอนที่ไม่คุ้นชินออกไป ㆍเป็นทั้งนักวิเคราะห์และนักวางแผนการตลาด การประกาศขายที่อยู่อาศัยให้ได้รับผลตอบรับที่ดีนั้น เอเจนต์ต้องทำการวิเคราะห์ในทุกขั้นตอน เพื่อนำมาวางแผนขายบ้าน/คอนโดฯ มือสองให้มีประสิทธิภาพที่สุด โดยต้องศึกษาจุดเด่นของอสังหาฯ ที่ต้องการขาย นำมาวิเคราะห์โอกาสในทำเลนั้นๆ โดยเปรียบเทียบกับที่อยู่อาศัยประเภทเดียวกันที่ประกาศขายในทำเลนั้น ๆ ว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับราคาเท่าไร ผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักคือใคร มีการติดตามสื่อผ่านช่องทางไหนบ้าง และนำข้อมูลทั้งหมดมาวางแผนว่าจะประกาศขายในสื่อออฟไลน์และออนไลน์ที่ใดบ้าง ใช้ระยะเวลาเท่าไร และมีกลยุทธ์ใดบ้างที่จะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้ปิดการขายะสกรีนผู้ซื้อ เอเจนต์จะมีประสบการณ์การซื้อ-ขายในได้ไวขึ้น ㆍสวมบท Matchmaker ช่วยจับคู่แลตลาดมากกว่าผู้บริโภคทั่วไป จึงมีความเข้าใจความต้องการที่ต่างกันทั้งของผู้ซื้อและผู้ขาย และมีเครือข่ายของเอเจนต์เองหรือฐานข้อมูลลูกค้าของบริษัทที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เชื่อมโยงให้ผู้ขายได้พบกับผู้ซื้อที่มีความต้องการที่ตรงกัน ขณะเดียวกัน เอเจนต์ยังมีประสบการณ์ที่จะช่วยประเมินว่าผู้สนใจซื้อคนไหนมีศักยภาพในการซื้อมากเพียงพอ นอกจากจะเป็นตัวแทนในการพาผู้สนใจซื้อมาเยี่ยมชมโครงการแล้ว ยังมีเทคนิคและทักษะที่ดีในการเจรจา เป็นเสมือนคนกลางที่ลดความร้อนแรงเมื่อมีการต่อรองราคา ช่วยหลีกเลี่ยงการโดนกดราคาจากผู้สนใจซื้อโดยตรง และโน้มน้าวให้เห็นความคุ้มค่าของบ้าน เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อในราคาที่ตั้งไว้หรือใกล้เคียง ㆍเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเอกสารและสัญญา เอเจนต์ต้องมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม เพื่อให้สามารถช่วยผู้ขายได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่าที่อยู่อาศัยอยู่ในเงื่อนไขที่สามารถขายได้ มีหนี้ค้างชำระหรือพันธะกับทางธนาคารหรือไม่ ซึ่งจะไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านที่ติดจำนองได้ จนกว่าจะเคลียร์หนี้กับธนาคารและทำเรื่องปลอดจำนองก่อน รวมทั้งแนะนำการไถ่ถอนหลักทรัพย์กรณีที่ที่อยู่อาศัยนั้นยังติดผ่อนธนาคาร ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องจัดการให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีปัญหาภายหลังเมื่อมีการตกลงซื้อขาย นอกจากนี้ เอเจนต์ยังสามารถช่วยเตรียมเอกสารในการทำสัญญาต่าง ๆ ครอบคลุมตั้งแต่การทำสัญญาจะซื้อจะขาย การวางเงินมัดจำ การช่วยลูกค้าขอสินเชื่อ การเตรียมสัญญาซื้อขายและเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์ ลดเวลาในการดำเนินการเอง และช่วยให้มั่นใจในความถูกต้อง เลือกเอเจนต์อย่างไรให้ปลอดภัย ไร้กังวลเรื่องโดนหลอก ก่อนตัดสินใจเลือกเอเจนต์ ผู้ขายควรตรวจสอบประวัติและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย ซึ่งมีการสอบวัดความรู้ทางด้านการเป็นตัวแทนและสอบวัดจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งขอดูผลงานการขายที่ผ่านมาก่อน เพื่อพิจารณาคุณภาพและความรู้ความสามารถของเอเจนต์เบื้องต้น จากนั้นจึงตกลงรายละเอียดในสัญญาว่าจ้างเอเจนต์ให้เรียบร้อยว่า ภายใต้ค่านายหน้านั้นครอบคลุมบริการอะไรบ้าง เช่น ค่าทำการตลาด ค่าเดินทางพาลูกค้าเยี่ยมชมโครงการ เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายแฝงที่อาจเพิ่มมาในภายหลังโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนในการขาย ㆍหากเอเจนต์สามารถขายบ้านในราคาสูงกว่าที่ตกลงไว้ในตอนต้น เจ้าของบ้านจะตกลงให้จำนวนเงินส่วนที่เกินเป็นของเอเจนต์หรือไม่ ㆍเมื่อตกลงว่าจ้างแล้ว ค่านายหน้าจะต้องจ่ายในทุกกรณีที่ขายบ้าน/คอนโดฯ นั้นสำเร็จ แม้เจ้าของบ้านจะขายได้เองหรือไม่ ㆍบางครั้งสัญญาจะระบุว่าเจ้าของต้องแต่งตั้งให้เอเจนต์นั้น ๆ เป็นตัวแทนขายแต่เพียงผู้เดียว ห้ามมิให้เอเจนต์ผู้อื่นเป็นตัวแทนขายเป็นอันขาด ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด ซึ่งถือเป็นวิธีป้องกันให้เอเจนต์ไม่มีความเสี่ยงที่จะถูกเจ้าของบ้านหรือเอเจนต์คนอื่นขายตัดหน้า โดยทั่วไปแล้วการขายที่อยู่อาศัยผ่านเอเจนต์จะต้องเสียค่านายหน้าหรือค่าคอมมิชชั่นประมาณ 3% ของราคาซื้อขาย และเอเจนต์จะเก็บค่านายหน้าเมื่อลูกค้าทำสัญญาซื้อขายเรียบร้อยแล้วหรือปิดการขายได้แล้วนั่นเอง ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาข้อดีและข้อจำกัดอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจว่าการเลือกขายบ้านด้วยตนเอง หรือผ่านเอเจนต์ วิธีไหนที่เหมาะสมกับความต้องการและตอบโจทย์มากที่สุดข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด พบว่า เหตุผลที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาฯ ผ่านเอเจนต์อสังหาฯ นั้น 2 ใน 3 (68%) มองว่า เอเจนต์ช่วยให้ประหยัดเวลาจากการทำธุรกรรมได้มากขึ้น ตามมาด้วย 51% มองว่าเอเจนต์อสังหาฯ มีความรู้และความเชี่ยวชาญมากกว่าตนเอง และ 45% ยอมจ่ายเงินใช้เอเจนต์เพื่อลดความยุ่งยากในกระบวนการซื้อขายลง ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกเอเจนต์นั้น มากกว่า 2 ใน 3 (71%) พิจารณาจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของเอเจนต์ ตามมาด้วยประสบการณ์ของเอเจนต์ 63% และชื่อเสียงของบริษัทที่เอเจนต์สังกัดอยู่ 55% ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าเอเจนต์นั้นมีความสามารถเพียงพอและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ 8 ใน 10 ของผู้บริโภค (81%) เผยว่าให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เอเจนต์ที่ได้รับการยืนยันตัวตน (Agent Verification) เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงหรือเจอมิจฉาชีพแฝงตัวมา อย่างไรก็ดี หากผู้บริโภคยังไม่มั่นใจเมื่อต้องใช้เอเจนต์อสังหาฯ ก็สามารถเลือกใช้ “เอเจนต์ที่ได้รับการยืนยันตัวตน (Agent Verification)” ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ที่มีการแสดงข้อมูลการติดต่อที่ชัดเจน และความเชี่ยวชาญเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าเอเจนต์ที่ผ่านการลงทะเบียนในโครงการนี้ และได้ป้ายสัญลักษณ์สีเขียว "ยืนยันตัวตน" หรือ "Verified" บนเว็บไซต์ http://www.ddproperty.com/ตรงปก มีความน่าเชื่อถือ และไว้ใจได้ ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าทุกการซื้อ-ขาย-เช่าบนเส้นทางอสังหาฯ นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น และไร้กังวล แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับamarintvhttps://www.amarintv.com/spotlight/personal-finance/detail/53543
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
“บรรยง วิทยวีรศักดิ์” กูรูวงการการเงินและประกันภัย เฉลยสาเหตุ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังผ่าไส้ติ่ง แต่เคลมประกันไม่ได้วันที่ 22 ตุลาคม 2566 นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการการเงินและประกันภัย และอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (APFinSA) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุข้อความว่า อินฟลูชื่อดังผ่าไส้ติ่ง แต่เคลมประกันไม่ได้ อ้างรอสืบประวัติ วันนี้มีเฉลยข่าวจากทีวีพูล พาดหัวว่า “ชาวเน็ตงง! อินฟลูชื่อดังผ่าไส้ติ่ง แต่เคลมประกันไม่ได้ อ้างรอสืบประวัติ สรุปเป็นหนี้เกือบ 2 แสน”เนื้อข่าวบอกว่า อินฟลูเอนเซอร์ท่านนี้ป่วยเป็นไส้ติ่ง ก่อนเข้ารักษา ได้โทรถามตัวแทนประกัน ก็บอกว่าไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถเข้าแอดมิดได้เพราะการเป็นไส้ติ่ง ไม่ใช่โรคติดต่อ การเป็นไส้ติ่งคล้ายกับอุบัติเหตุที่อยู่ ๆ ก็เป็นได้อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 3 กันยายน 2566 ลูกค้ามีอาการเท้าบวมซึ่งแพทย์ก็ระบุว่า เป็นเรื่องปกติ สำหรับคนที่ใช้เท้าบ่อยและใส่ส้นสูงทั้งวัน ทางลูกค้าก็ส่งบัตรประกันไปและสำรองจ่ายเงินตามปกติ ซึ่งค่ารักษาครั้งนั้นประมาณ 2,000 บาทผมในฐานะที่ทำงานในธุรกิจประกันชีวิตมายาวนาน พออ่านเนื้อข่าวก็พอจับประเด็นได้ว่าเกิดอะไรขึ้น จึงขอใช้ความรู้ในธุรกิจประกันชีวิต มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนี้ธุรกิจประกันชีวิตวางอยู่บนหลักการ ที่ทั้งบริษัทประกันชีวิตและลูกค้าต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกันอย่างยิ่งยวด หมายความว่าถ้าลูกค้าแถลงข้อเท็จจริงทั้งหมด ไม่ปกปิดข้อมูลเรื่องสุขภาพ หากมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากทำประกันชีวิตไปแล้ว บริษัทก็พร้อมจะรับผิดชอบทุกอย่าง นี่คือหลักการที่เหมือนกันทุกประเทศอย่างไรก็ดี ในการทำประกันสุขภาพนั้น บริษัทไม่สามารถตรวจสุขภาพทุกรายโดยละเอียด หรือไปตรวจสอบประวัติของลูกค้าจากทุกโรงพยาบาล ซึ่งเป็นไปไม่ได้ จึงใช้หลักการว่า ให้ลูกค้าเป็นผู้แถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ และถ้าไม่มีอะไรน่าสงสัย บริษัทจะเชื่อถือสิ่งที่แถลงมา (ถ้ามีอะไรสงสัย เช่นอ้วนไป ผอมไป หรือเคยผ่าตัดเนื้องอก อาจมีการเรียกตรวจสุขภาพเพิ่ม) แต่มีเงื่อนไขว่าถ้าลูกค้าปกปิดข้อเท็จจริงที่มีนัยสำคัญ บริษัทมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้ โดยเฉพาะในสองปีแรกที่ทำประกันในทางกฎหมายเรียกว่าสัญญาเป็นโมฆียะ กล่าวคือถ้าไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน บริษัทมีสิทธิ์บอกล้างสัญญา และมีผลให้สัญญาไม่มีผลบังคับ ย้อนหลังไปถึงวันที่เริ่มทำสำหรับโรคที่มีนัยสำคัญต่อสุขภาพในอนาคต ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การพบก้อนเนื้อในร่างกาย เป็นต้น แต่ไม่ใช่พวกโรคไข้หวัด ตาแดง หรืออาการอื่นๆ ที่เป็นแล้วหายขาด อันนั้นถือว่าไม่มีนัยสำคัญต่อสุขภาพ ไม่ต้องแถลงก็ได้อย่างไรก็ตาม หากบริษัทมีการบอกล้างสัญญาเนื่องจากลูกค้าปกปิดข้อเท็จจริง บริษัทจะคืนเงินที่เรียกว่า “ค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัย” เป็นเบี้ยประกันทั้งหมดที่ลูกค้าจ่ายมา หักด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินบางส่วน เช่น ค่าใช้จ่ายในการพิจารณารับประกันและค่าอากรแสตมป์ เป็นต้นหลายคนอาจจะสงสัยว่า ก็ในข่าวบอกว่าลูกค้าเป็นไส้ติ่ง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วบริษัทจะบอกเลิกสัญญาดื้อๆได้อย่างไรคำตอบคือ ได้ ถ้าลูกค้าป่วยด้วยโรคที่มีนัยสำคัญก่อนทำประกันชีวิต แล้วไม่ได้แจ้ง บริษัทมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาได้ถ้าสังเกตุดีๆ ในเนื้อข่าวบอกว่า ก่อนหน้าที่จะผ่าตัดไส้ติ่งหนึ่งเดือน ลูกค้าได้ไปพบแพทย์ด้วยอาการเท้าบวม ถึงแม้แพทย์จะบอกว่าเดินมากและใส่รองเท้าส้นสูง แต่ในทางการแพทย์ สามารถมองในอีกแง่หนึ่งคือ อาจจะเกิดจากโรคหัวใจหรือโรคไตได้ถ้าเท้าบวมจากการเดินมาก อันนี้ไม่ถือเป็นการปกปิดข้อเท็จจริง แต่ถ้าเท้าบวมจากโรคหัวใจ และมีประวัติว่าลูกค้าเป็นมาก่อน อันนี้เป็นประเด็น ที่จะทำให้บริษัทบอกเลิกสัญญาได้ แต่ถ้าลูกค้าไม่มีประวัติการรักษามาก่อน บริษัทต้องรับผิดชอบครับหลายคนอาจจะสงสัยว่า ต่อให้ลูกค้ามีประวัติโรคหัวใจมาก่อน แต่เรื่องที่ลูกค้าต้องการจะเคลม มันเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ไม่มีประวัติมาก่อน ไม่ได้เกี่ยวกับหัวใจ จะหาเรื่องไม่จ่ายได้อย่างไรกลับมาที่หลักการความซื่อสัตย์ต่อกันอย่างยิ่งยวด หมายความว่า ถ้าในวันแรกที่ลูกค้าสมัครทำประกันชีวิต แล้วแจ้งบริษัทประกันตามตรงว่า มีประวัติรักษาโรคหัวใจมาก่อน หากบริษัททราบ ย่อมต้องตอบปฏิเสธ ไม่รับเข้าเป็นลูกค้า สัญญาก็คงจะไม่เกิดขึ้นตั้งแต่วันนั้น แต่เมื่อรู้ภายหลัง บริษัทก็มีสิทธิ์บอกล้างสัญญาได้ภายในสองปีนับ จากวันที่อนุมัติกรมธรรม์ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก)ดังนั้น หากมีการปกปิดข้อเท็จจริงแล้ว ต่อมาลูกค้าเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ถ้าบริษัทสืบย้อนหลังแล้วพบว่า ลูกค้ามีประวัติป่วยด้วยโรคที่มีนัยสำคัญต่อสุขภาพ เช่น โรคมะเร็ง เอดส์หรือโรคไต บริษัทมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาได้ และหลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้กันทั่วโลกครับการที่ตัวแทนประกันชีวิตไปบอกลูกค้าว่า โรคไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ไม่มีประวัติมาก่อน น่าจะเบิกได้ ก็ต้องใส่หมายเหตุว่า “ถ้าก่อนทำประกันชีวิต คุณไม่มีประวัติสุขภาพที่มีนัยสำคัญมาก่อนด้วย”โดยทั่วไป หลังสมัครทำประกันชีวิตไปแล้วสองปี บริษัทมักไม่สืบแล้วว่า คุณมีประวัติเป็นโรคอะไรมาก่อน อย่างไรก็ตาม ถ้าแพทย์ผู้รักษา เขียนในใบเคลมไว้อย่างชัดเจนว่าลูกค้าเป็นโรคนี้ก่อนทำประกันสุขภาพ บริษัทก็มีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาประกันสุขภาพได้ แต่ไม่สามารถบอกล้างสัญญาประกันชีวิตหลังสองปีได้ ถึงแม้ว่าลูกค้าปกปิดข้อเท็จจริงในเนื้อข่าวบอกว่า อินฟลูเอนเซอร์ท่านนี้ ตัดพ้อว่าถ้าทำประกันแล้วเบิกไม่ได้ จะทำไปทำไม ขอชี้แจงเรื่องนี้ ดังนี้1. ในกรณีนี้ บริษัทยังไม่ได้ปฏิเสธการจ่ายสินไหม แต่ขอตรวจสอบประวัติสุขภาพให้ชัดเจนก่อน เพียงแต่ยังไม่สามารถใช้สิทธิ์แฟกซ์เคลม (Cashless service)ได้ ลูกค้าต้องสำรองเงินไปก่อน2. ทุกบริษัทประกันชีวิต จะแจ้งว่าสิทธิ์แฟกซ์เคลมเป็นบริการเสริม ที่ไม่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ ในกรมธรรม์จะเขียนเพียงว่า หากเจ็บป่วย หลังจากบริษัทตรวจ สอบข้อเท็จจริงว่าถูกต้องตามเงื่อนไขแล้ว บริษัทจะจ่ายสินไหมนั่นหมายความว่า ถ้าข้อเท็จจริงชัดเจนทันที บริษัทก็จะจ่ายสินไหมผ่านไปที่โรงพยาบาลโดยตรง แต่ถ้ายังไม่ชัดเจน ลูกค้าต้องออกเงินไปก่อน เมื่อบริษัทได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว บริษัทค่อยจ่ายเงินค่ารักษาคืนให้ลูกค้า ตามสิทธิ์ที่พึงมีในกรมธรรม์ในเคสนี้ ก็ขอให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ถ้าเราไม่ได้ปกปิดข้อเท็จจริง บริษัทไม่สามารถหาหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่า เราเคยป่วยมาก่อนได้ บริษัทต้องรับผิดชอบในการจ่ายสินไหมครับแต่ถ้าบริษัทไปเจอหลักฐานว่า เราเคยรักษาโรคหัวใจมาก่อน หรือแพทย์เขียนในประวัติผู้ป่วยก่อนหน้านี้ว่า มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ถึงแม้จะยังไม่ได้ให้ยาโรคหัวใจมา ก็อาจเป็นเหตุให้บริษัทประกันบอกล้างสัญญาได้ ดังนั้น ตอนทำสัญญาประกันภัย ถ้ามีประวัติสุขภาพในโรงพยาบาลแล้ว ต้องบอกผู้ขายให้หมดครับการทำประกันสุขภาพ จึงต้องรีบทำในขณะที่มีสุขภาพแข็งแรง หากป่วยหลังจากทำประกันแล้ว บริษัทไม่มีสิทธิ์บิดพลิ้ว ต้องรับผิดชอบสุขภาพของเราไปตลอดชีวิต แต่ถ้าเรารอให้เจ็บป่วยมาก่อน แล้วมาสมัคร และไม่บอกความจริงกับบริษัท ก็เท่ากับไม่สุจริตต่อกัน แล้วจะให้บริษัทรับผิดชอบการเจ็บป่วยของเราไปตลอดชีวิต ก็คงจะไม่ถูกต้องที่ผ่านมา พอมีข่าวลบเกี่ยวกับเรื่องประกันชีวิต ประกันสุขภาพ มักไม่ค่อยมีคนกล้าออกมาเคลียร์ มาตอบข้อสงสัย อาจเป็นเพราะยังไม่รู้ข้อมูลทางการแพทย์ หรือบางเรื่องขึ้นกับเอกสารที่มาแสดง จึงทำให้ประชาชน มีทัศนคติลบ หรือตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกันชีวิตขอให้เชื่อว่า คงไม่มีบริษัทไหน ที่ตั้งใจตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อโกงโดยเฉพาะ ถ้าทำอย่างนั้น ก็คงจะอยู่ได้ไม่นาน โดยเฉพาะบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย ล้วนแต่มีอายุมา 50 ปีขึ้นไปแล้วทั้งสิ้น แต่เขาต้องมีหลักการบางอย่างที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของเขาขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือ คปภ. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ หากมีเรื่องที่จะร้องเรียน คปภ.มักจะยืนอยู่ข้างประชาชนเสมอครับ หากยังไม่พอใจคำตัดสินของคปภ. ก็ยังมีศาลสถิตยุติธรรมให้ชี้ขาดอีกชั้นหนึ่งวันนี้ ผมก็ขอทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ฝ่าคมหอกคมดาบ ออกมาชี้แจงตามหลักวิชาการ เพื่อความเข้าใจร่วมกันของสังคมไทยครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1420996
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
“สินมั่นคงฯ” อลหม่าน คปภ.ยื่นคำร้องคัดค้านนับคะแนนโหวตแผนฟื้นฟูกิจการใหม่ เผยศาลล้มละลายกลางนัดไต่สวน 25 ต.ค.นี้ ชี้หากศาลไม่ยอมรับแผนฟื้นฟู คปภ. ต้องเข้าแทรกแซง สั่งหาเงินเพิ่มทุน ไปจนถึงให้ หยุดรับประกันภัยชั่วคราว ฟากผู้สนใจร่วมทุน 2 ราย ลั่นแผนฟื้นฟูต้องผ่านเท่านั้นจึงจะใส่เงินผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 มีมติไม่ยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ด้วยสัดส่วน 52.72% และต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ผู้ทำแผน ซึ่งคือบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการนับคะแนนการลงมติของเจ้าหนี้ต่อศาลล้มละลายกลางต่อมาในวันที่ 29 กันยายน 2566 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ลูกหนี้ผู้ทำแผน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร่วมกันตรวจสอบกระบวนการ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องในการลงมติล่วงหน้าของเจ้าหนี้ การบันทึกผลคะแนน ระบบการประมวลผล และกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยในการตรวจสอบดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน คปภ. เจ้าหนี้ทั้งที่ลงมติเห็นชอบและไม่เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ได้ทราบรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานหรือสังเกตการณ์ได้ และในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ศาลล้มละลายกลางจะมีการพิจารณาตัดสินว่า จะยอมรับแผนหรือไม่ยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการล่าสุด แหล่งข่าวสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สำนักงาน คปภ.มีความจำเป็นต้องยื่นคำร้องคัดค้านการนับคะแนนใหม่ต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่งได้ยื่นไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 เหตุผลเพราะว่ากระบวนการโหวตแผนฟื้นฟูกิจการ ได้นับคะแนนจริงไปแล้ว 1 รอบ ซึ่งการนับคะแนนใหม่ โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงคงไม่มากแต่เนื่องจากศาลล้มละลายกลางได้รับคำร้องของบริษัทสินมั่นคงประกันภัยในการขอนับคะแนนใหม่ไปแล้ว ดังนั้นทางศาลล้มละลายกลางจึงได้มีการนัดสำนักงาน คปภ. และบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ในวันที่ 25 ตุลาคม 2566 เพื่อไต่สวนคำร้องเรื่องสมควรจะให้กระบวนการรันใหม่หรือไม่ แต่ระหว่างทางตอนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็เริ่มมีการนับคะแนนใหม่ไปแล้ว“ประเมินว่าในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 มีความเป็นไปได้ว่าศาลล้มละลายกลางจะมีการเลื่อนพิจารณาตัดสินออกไป เพราะอาจจะต้องพิจารณาผลคะแนน และกระบวนการที่เกี่ยวข้องก่อน โดยถ้าผลคะแนนออกมายอมรับแผน ทางบริษัทสินมั่นคงประกันภัยจะมีกระบวนการที่จะต้องดำเนินการกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนศาลจะตัดสิน แต่ถ้าผลออกมาไม่ยอมรับแผนคาดว่าศาลอาจจะมีคำสั่งตามขั้นตอนกระบวนการ แม้ว่ากฎหมายจะระบุว่า เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการไม่ผ่าน จะมีเวลา 6 เดือน ในการยื่นแผนใหม่ได้ แต่ว่า 6 เดือนนั้น จะไม่ได้อยู่ในภาวะพักการชำระหนี้ (automatic stay) แล้ว ฉะนั้นสภาวะนั้น สำนักงาน คปภ.คงจะต้องเข้าแทรกแซง” แหล่งข่าวกล่าวสุดท้ายแล้วถ้าแผนไม่ได้รับการอนุมัติ จะเป็นกระบวนการตามกฎหมายของสำนักงาน คปภ. ที่จะให้เวลาบริษัทสินมั่นคงประกันภัยในการหาเงินเพิ่มทุน และหากไม่สามารถดำเนินการได้ จะบังคับให้หยุดรับประกันภัยชั่วคราว ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย และระหว่างนี้จะมีเวลาให้หาเงินเพิ่มทุนอีกรอบ ถ้าทำไม่ได้จะใช้มาตรการลงโทษสูงสุดตามมาตรา 59 สั่งเพิกถอนใบอนุญาต“ส่วนกรณีแผนฟื้นฟูผ่าน สำนักงาน คปภ.ก็จะต้องนำแผนมาเสนอคณะกรรมการ คปภ.พิจารณา และประเมินว่าส่วนไหนที่สำนักงาน คปภ.จะบริหารจัดการให้แผนรันต่อไปได้ และอาจจะมีการเพิ่มหรือผ่อนเกณฑ์การกำกับบางอย่าง ภายใต้ภาวการณ์นั้น เพื่อให้เกิดความสมดุลที่ธุรกิจจะพอไปได้ ซึ่งตอนนั้นจะต้องหารือบอร์ดอีกรอบ เพราะเป็นอำนาจของบอร์ดในการตัดสิน”ทั้งนี้ ความคืบหน้าการหาผู้ร่วมทุน ทางบริษัทสินมั่นคงประกันภัย กล่าวไว้ก่อนการโหวตแผนฟื้นฟูว่า ยังมีความมั่นใจเพราะดีลผู้เพิ่มทุนไว้แล้ว 2 ราย คือ 1. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)และ 2. บริษัท พรีฟอร์มม่า จำกัด ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีเงื่อนไข คือ แผนฟื้นฟูกิจการต้องผ่านก่อน“ทางกรุงเทพประกันภัยกำหนดเงื่อนไขไว้ 3 อย่าง คือ 1. ผ่านแผนฟื้นฟู 2. ถ้าผ่านแล้วมูลค่ากิจการของสินมั่นคงประกันภัยเหลืออยู่เท่าไร 3.ต้องขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนพรีฟอร์มม่ากำหนดเงื่อนไข คือ 1. ใส่เงินลงทุน 5,000-10,000 ล้านบาท 2. แผนฟื้นฟูต้องผ่านก่อน” แหล่งข่าวกล่าวดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI กล่าวว่า บริษัทยังสนใจเพิ่มทุนสินมั่นคงฯอยู่เหมือนเดิม หากแผนฟื้นฟูผ่าน แต่จะใส่เงินเท่าใดก็คงต้องดูพอร์ตงานก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้างแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1419886
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
วันที่ 21 ตุลาคม 2566 นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้ให้บริการกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth เปิดเผยว่า ไม่น่าเชื่อว่าในช่วง 2 ปีมานี้ เราเจอกับเหตุการณ์สงครามติดต่อกันปีต่อปีเลยทีเดียว เมื่อต้นปีก่อนสงครามรัสเซียยูเครน สร้างความผันผวนให้กับเศรษฐกิจและตลาดการลงทุนทั่วโลก มาช่วงปลายปีนี้สงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธฮามาส ก็ทำให้นักลงทุนปั่นป่วนกันอีกรอบ แม้ตอนนี้สถานการณ์สงครามยังไม่ได้รุนแรงมาก แต่ก็ชะล่าใจไม่ได้ เพราะความไม่แน่นอนหมุนอยู่รอบตัวเราเสมอ ดังนั้นหน้าที่ของนักลงทุนจึงต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ปรับพอร์ตลงทุนให้เท่าทันกับสถานการณ์อยู่เสมอ ที่สำคัญ ‘Stay Invest’ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เรายังต้องลงทุนต่อไป เช็คราคาสินทรัพย์หลังสงคราม เห็นข่าวในเช้าวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เมื่อกลุ่มติดอาวุธฮามาส (Hamas) ชาวปาเลสไตน์ ยิงจรวดจากฉนวนกาซาเข้าโจมตีหลายพื้นที่ของอิสราเอล และอิสราเอลก็ตอบโต้กลับทันที โดยการโจมตีทางอากาศไปยังพื้นที่ฉนวนกาซา เปิดฉากสงครามรอบใหม่จากปัญหาความขัดแย้งเดิม ที่ยืดเยื้อต่อเนื่องมายาวนานนับร้อยปี เรามาดูกันครับว่า สงครามที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ส่งผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์อะไรบ้าง ที่ถูกกระทบหนักสุดคงหนีไม่พ้นราคาน้ำมัน หลังข่าวการโจมตีของทั้ง 2 ฝ่ายเผยแพร่ออกมา ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นไปทันทีที่ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะตลาดกังวลว่าภาวะสงครามอาจทำให้น้ำมันขาดตลาดได้ โดยราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent ปรับตัวขึ้นมากกว่า 5% มาอยู่ที่ 86 ดอลลาร์ และ 89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ซึ่งก่อนหน้านี้ราคาน้ำมันดิบลดลงสู่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 เพราะความต้องการที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ตึงตัวทั่วโลก อีกหนึ่งสินทรัพย์หลักที่ได้รับผลกระทบ นั่นก็คือทองคำ โดยเช้าวันที่ 9 ตุลาคม ที่ผ่านมา ราคา Gold Spot พุ่งขึ้น 0.9% มาอยู่ที่ 1,843.83 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพราะนักลงทุนพากันหลบภัยสงครามสู่ Safe Haven ซึ่งทองคำเป็นหนึ่งในสินทรัพย์กลุ่มปลอดภัยสูงนั่นเอง ส่วนผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนยังมีไม่มากนัก โดยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลหลักอื่นๆ อย่างยูโรและปอนด์ เงินเยนยังคงเป็นแหล่งพักเงินและช่องทางเก็งกำไรสำหรับนักลงทุน และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทางด้านหุ้น ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ สูง แน่นอนครับ ปรับลดลงกันแทบทุกตลาดทั่วโลก โดยเมื่อวันศุกร์ ที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา ดัชนี Down Jones -0.12% ทางด้านยุโรป STOXX600 -0.98% Nikkei225 -0.55% และตลาดหุ้นจีน CSI300 -1.05% อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามยังคงดำเนินต่อไปและเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ของการปะทะระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ปัจจัยเสี่ยงนี้เริ่มส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นของคู่พิพาทชัดเจนขึ้น โดยตลาดหุ้น Tel Aviv (TA) ของอิสราเอล ดัขนี TA-125 ซึ่งเป็นดัชนีอ้างอิง และ TA-35 ซึ่งเป็นกระดานหุ้นบลูชิป ลดลงทั้งคู่ประมาณ 3.6% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยซึ่งปิดทำการในวันหยุดสำคัญ ศุกร์ที่ 13 ตุลาคม และเปิดทำการซื้อขายอีกครั้งในวันจันทร์ ที่ 16 ตุลาคม SET Index ของเราก็ร่วงลงทันทีตาม Sentiment ตลาด โดยระหว่างวันตลาดหุ้นไทยปรับลดลงกว่า 30 จุด เพราะตลาดตกใจทั้งเรื่องสงคราม และกลัวว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อเพื่อคุมเงินเฟ้อ หลังจากราคาน้ำมันทะยานขึ้นจากสถานการณ์สงคราม ตามรอย ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ลงทุนช่วงสงคราม เมื่อพูดถึง ‘สงคราม’ เราคงนึกถึงความโหดร้ายและสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ต้องยอมรับนะครับว่า ช่วงหลัง ๆ มานี้ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งกรณีความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ Trade War และ Tech War ของ 2 ขั้วมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลกระหว่างจีน-สหรัฐ สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน มาถึงสงครามล่าสุดระหว่างมหากาพย์คู่ขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ท่ามกลางความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายคนอาจถอดใจกับการลงทุน เน้นถือครองเงินสดเพื่อเพลย์เซฟที่สุด โดยเฉพาะในสถานการณ์สงครามแบบนี้ แต่อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้เสมอ ๆ นะครับว่า การไม่ลงทุนก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เพราะจะทำให้เราพลาดโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับการกอดเงินสดไว้เฉยๆ โดยเฉพาะในภาวะเงินเฟ้อสูงแบบนี้ และผมก็ขอยกตัวอย่างการลงทุนของบรมครูปู่ ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ในภาวะสงครามกันอีกครั้ง เผื่อเป็นความหวังให้ทุกท่านในภาวะหดหู่ของสงคราม ให้มีกำลังใจเดินหน้าลงทุนกันต่อไป หลายคนอาจจะทราบกันแล้วนะครับว่า คุณปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้นตัวแรกในชีวิตตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 แถมยังเคยแนะนำให้ลงทุนในช่วงสงคราม ซึ่งปู่เองยังเคยซื้อหุ้นตอนที่รัสเซียกำลังเข้ายึดไครเมียในปี 2557 มาแล้ว แถมบอกว่ารู้สึกดีที่หุ้นที่เล็งไว้ราคาตก แต่ถ้าใครยังไม่รู้ ผมจะขอแชร์ประสบการณ์การลงทุนในภาวะสงครามของคุณปู่ให้ทราบกันอีกครั้ง ย้อนอดีตกลับไปเมื่อต้นปี 2557 ช่วงที่รัสเซียกำลังเข้ายึดคาบสมุทรไครเมียจากยูเครน เหตุการ์เหมือน ‘แดจาวู’ ใช่มั้ยล่ะครับ สงครามครั้งนั้นทำให้ตลาดหุ้นถูกครอบงำไปด้วยความกลัว นักลงทุนพากันเทขายจนหุ้นตกเป็นใบไม่ร่วงในช่วง Fall season แต่ปู่กลับให้สัมภาษณ์แบบสวนกระแสว่า “ผมอยากบอกนักลงทุนที่กำลังตกใจว่า ตอนที่ผมตื่นขึ้นมาตอนเช้า แล้วเห็นหุ้นที่ผมกำลังไล่ซื้อราคาตกลงมา ผมกลับรู้สึกดีนะ” หลายคนคงตั้งคำถามว่า ตลาดหุ้นปั่นป่วนขนาดนี้ และไม่มีใครรู้ว่าเหตุการณ์จะจบแบบไหน เมื่อไหร่ แล้วทำไมปู่บัฟเฟตต์ถึงแนะนำแบบนี้ ซึ่งปู่บอกว่า “ถ้ามัน (วิกฤตไครเมีย) กลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือสงครามเย็นรอบใหม่ ผมก็ยังจะซื้อหุ้นอยู่ดี เพราะในช่วงสงคราม เงินเฟ้อจะสูง ทำให้กำลังซื้อลดลง (จากการถือเงินสด)” และย้ำว่า “สิ่งสุดท้ายที่คุณควรทำตอนเกิดสงครามคือการถือเงินสด” สิ่งที่ปู่ต้องการจะบอกก็คือ เมื่อสงครามมาถึง ค่าของเงินก็จะลดลงอยู่ดี หมายความว่า เมื่อก่อนมีเงิน 10 บาทคุณอาจจะซื้อน้ำได้ 1 ขวด แต่ 10 บาท ในภาวะสงครามคุณอาจจะซื้อไม่ได้สักขวดด้วยซ้ำ การลงทุนนี่ล่ะ ที่จะช่วยให้ค่าของเงินที่คุณมี ไม่ลดน้อยหายไปตามภาวะสงคราม แต่ปู่ก็ไม่ได้บอกให้ซื้อหุ้นแค่อย่างเดียวนะครับ เราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ได้อีกด้วย โดยบอกว่า “คุณจะลงทุนอย่างอื่นก็ได้ เช่น ฟาร์ม อะพาร์ตเมนต์ ขอแค่เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ ย่อมดีกว่าการกอดเงินสดเอาไว้แน่ ๆ” “ยิ่งถ้าเป็นการลงทุนระยะยาวด้วยแล้ว การมีสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ (ปู่ใช้คำว่า Productive asset) ไปอีก 50 ปี ย่อมดีกว่าการถือแผ่นกระดาษ (เงินสด) หรือบิตคอยน์เอาไว้แน่นอน” คำพูดเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้ในยามสงครามคุณปู่ก็ยังยึดมั่นในหลักการที่จะซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเสมอ เพราะในตอนเกิดวิกฤตไครเมีย ราคาหุ้นก็ตกลงมาพอสมควร ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นในเวลาไม่ถึงเดือน เงินเฟ้อกับสงคราม ความสัมพันธ์ที่แนบแน่น ถ้าเราย้อนไปดูตัวเลขเงินเฟ้อช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง เราจะเข้าใจสิ่งที่ปู่พูดมากขึ้น เพราะตอนสงครามโลกครั้งที่ 1 (ปู่ยังไม่เกิด) เงินเฟ้อเฉลี่ยในสหรัฐฯ อยู่ที่ 9.7% ต่อปี โดยมีช่วงที่เงินเฟ้อสูงเป็นเลขสองหลักติดต่อกันยาวนานถึง 26 เดือน ส่วนตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เงินเฟ้อเฉลี่ยในสหรัฐฯ อยู่ที่ 4.3% ต่อปี โดยมีถึง 9 เดือนที่เงินเฟ้อในสหรัฐฯ เป็นเลขสองหลัก ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติ ที่เงินเฟ้อสูงในช่วงสงครามโลก เพราะรัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อจ้างเอกชนให้ผลิตเสบียงที่ต้องใช้ในสงคราม เช่น เสื้อผ้า อาหาร ยา อาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่แหละที่ปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ในวัยเด็กทุบกระปุก เอาเงินเก็บมาซื้อหุ้นตัวแรกตั้งแต่อายุ 11 ปี แถมเป็นการซื้อก่อนเกิดเหตุการณ์ Pearl Harbor ไม่นานด้วย และถ้าได้ศึกษาหลักการลงทุนแบบ VI ของปู่จะทราบดีว่า เขาพยายามซื้อหุ้นของบริษัทที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้อยู่เสมอ จากสงครามครั้งนั้น วอร์เรน บัฟเฟตต์ ยังให้ข้อคิดกับนักลงทุนว่า “ผมอยากบอกว่ามัน (วิกฤตไครเมีย) จะไม่ทำให้ผมต้องขายหุ้นหรือต้องเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ในสหรัฐฯ ทำไมคุณถึงจะขายมันเพราะเรื่องที่เกิดขึ้นในยูเครน? หรือถ้าคุณเป็นเจ้าของฟาร์มที่ให้ผลผลิตตลอด เป็นเจ้าของอะพาร์ตเมนท์ที่มีคนเช่าเต็ม มีเหตุผลอะไรที่คุณจะขายมันเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครน?” ‘ความไม่แน่นอน เป็นอนิจจา’ ที่เกิดขึ้นได้เสมอนะครับ และเราไม่สามารถควบคุมได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้คือ ‘สติ’ ของตัวเอง อย่าปล่อยให้หวั่นไหวไปกับอารมณ์ของตลาด อย่างที่ปู่เคยพูดไว้ “ถ้าเราควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เราก็ควบคุมเงินของเราได้” ถ้านักลงทุนสาย VI อย่างเรา ๆ ยึดหลักการลงทุนแบบปู่ ก็มั่นใจได้ในระดับหนึ่งเลยครับว่า เราจะสามารถเอาชนะในทุกสงครามการลงทุนได้ ปรับพอร์ตอย่างไรในภาวะสงคราม ผมเขียนบทความเรื่องนี้ช่วงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ของสมครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ซึ่งสินทรัพย์อย่างหุ้น เริ่มปรับตัวลงมากขึ้นแต่ยังไม่ถือว่ารุนแรงนัก ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากสงครามลุกลามไปถึงตะวันออกกลางซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก อาจส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง หรือความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะคว่ำบาตรประเทศในตะวันออกกลางที่ให้การสนับสนุนกลุ่มฮามาสในการทำสงครามครั้งนี้ โดยเฉพาะอิหร่านที่ฮามาสยืนยันว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง หากสงครามลุกลาม ยืดเยื้อ หรือบานปลาย เป็นปัจจัยลบที่จะกดดันราคาน้ำมันให้เพิ่มสูงขึ้น และแน่นอนครับผลกระทบที่ตามมาคือเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และที่จะกระทบต่อไปเป็นโดมิโนก็คือ โอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเพื่อคุมเงินเฟ้อซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของธนาคารกลางสหรัฐฯ และจะกระทบต่อราคาสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกให้ปรับตัวลดลงอีกครั้ง เหมือนปีที่แล้ว เมื่อเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยแบบหนักหน่วง สินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะหุ้นก็ถูกเทขายออกมาอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์สงคราม ณ ตอนนี้ ผมยังมองว่า การปรับลดลงของราคาสินทรัพย์เสี่ยงไม่น่าจะรุนแรงเท่าปีที่แล้ว นอกจากสงครามจะรุนแรงขึ้นและประเทศที่เข้าร่วมสงครามเพิ่มจำนวนมากขึ้น ดังนั้น ในการกระจายสินทรัพย์ลงทุน ผมจึงแนะนำว่าให้ Safe Haven เป็นหลุมหลบภัยจากสงครามในตอนนี้ ซึ่งภายหลังการเปิดฉากโจมตีของทั้ง 2 ฝ่าย จะเห็นได้ว่าเงินลงทุนพากันไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำและพันธบัตร พันธบัตรตัวเลือกที่ใช่มากกว่าทองคำ แม้ทองคำและพันธบัตรจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยทั้งคู่ แต่ในมุมมองของผมเห็นว่า การลงทุนในพันธบัตรจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าทองคำ แม้ราคาพันธบัตรได้ปรับลดลงมาบ้างแล้ว แต่ด้วยผลตอบที่ยังอยู่ในระดับสูงประมาณ 4-5% จึงยังเป็นจัวหวะที่สามารถเข้าลงทุนได้ ในสถานการณ์ตอนนี้ ผมแนะนำว่า นักลงทุนควรขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นออกมาชั่วคราวก่อน และนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรแทนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้พอร์ตลงทุนมากขึ้น หากสงครามไม่ทวีความรุนแรงค่อยปรับพอร์ตอีกครั้ง ด้วยการกลับไปลงทุนในหุ้น แนวทางนี้น่าจะช่วยให้พอร์ตลงทุนของคุณรับมือกับสงครามได้ สำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในหุ้น หากพิจารณาในแง่ภูมิภาคและศักยภาพการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ผมยังยกให้ตลาดหุ้นจีนและเวียดนามเป็นดาวเด่น ในสวนของเวียดนามนั้น เชื่อว่าปัจจัยสงครามไม่น่าจะกระทบมาถึงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เศรษฐกิจเวียดนามยังมีศักยภาพเติบโตสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ที่สำคัญตั้งแต่ต้นปีมานี้ ตลาดหุ้นเวียดนามยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ทางด้านตลาดหุ้นจีน พี่ใหญ่แห่งภูมิภาคเอเชีย แม้นักลงทุนหลายท่านอาจยังกังวลเกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน และภาระหนี้ของอุตสาหกรรมนี้ แต่ตลาดหุ้นจีนได้ปรับลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อปี 2564 มาประมาณ 40% แล้ว จึงเป็นจังหวะเข้าสะสมหุ้นจีนได้ ขณะที่เงินเฟ้อจีนไม่ได้สูงมากเหมือนเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่น ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังมีเงินอัดฉีดเศรษฐกิจได้อีกมาก หรือหากใครยังกล้า ๆ กลัว ๆ หวั่นวิตกกับการลงทุนในภาวะสงคราม โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศที่อยู่ไกลหูไกลตา ไม่ได้ใกล้ชิดข้อมูลเหมือนการลงทุนในบ้านเรา การให้มืออาชีพช่วยดูแลความเสี่ยงในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า และ Global ETF ของ Jitta Wealth เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยคุณบริหารพอร์ตลงทุนและดูแลความเสี่ยง เพื่อให้คุณได้รับผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ โดยการกระจายความเสี่ยงลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ทั้งหุ้น พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้เอกชน ภายใต้แผนการลงทุนแบบยืดหยุ่นที่มีให้เลือกถึง 3 แบบ เมื่อโลกยังคงหมุนไป ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนก็หมุนตาม และบางครั้งก็ไปซุ่มรอเราอยู่ข้างหน้าแบบไม่รู้ตัว เมื่อ Risk is all around สิ่งที่เราทำได้ในฐานะนักลงทุนสาย VI ก็คือ การบริหารจัดการกับความเสี่ยงนั้น และอีกหลักการลงทุนที่สำคัญคือ การหาข้อมูล ความรู้อยู่เสมอ เพื่อให้พร้อมเดินหน้าลงทุนและรักษาพอร์ตให้ปลอดภัยที่สุดไม่ว่าสถานการณ์รอบด้านจะเป็นอย่างไร เพราะในโลกของการลงทุน ไม่ได้มีแค่ความเสี่ยง แต่ยังมีโอกาสอยู่รอบตัวเราเช่นกัน.. ตั้งสติ แล้ว Stay Invest กันต่อไปนะครับ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1420332
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
ชีวิตทุกวันนี้ มีความเสี่ยงรอบด้านไปหมด จะเกิดอุบัติเหตุอะไรที่ไม่คาดคิดกับเราวันไหนก็ไม่รู้เลย เราจึงจำเป็นต้องมีประกันอุบัติเหตุไว้เพื่อดูแลเราในวันนั้น แต่เนื่องด้วยประกันอุบิติเหตุเป็นผลิตภันฑ์ยังไม่ค่อยพูดถึงเท่าไหร่ หากเปรียบเทียบกับประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ ทำให้หลายๆ คนยังก็อาจยังไม่คุ้นเคย และไม่ค่อยรู้ว่ากรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุมีแบบไหน อะไร ยังไงบ้างและแบบไหนที่จะเหมาะกับเรา วันนี้ noon จะสรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ แล้วมาดูไปพร้อมๆ กันเลย1. ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ Personal Accident (PA)คือ ประกันภัยอุบัติเหตุที่ออกแบบมาสำหรับคุ้มครองรายบุคคลเท่านั้นเหมาะกับบุคคลทั่วไปที่อยากทำประกันอุบัติเหตุเพื่อดูแลตัวเอง หรือทำให้คนในครอบครัวก็ได้2. ประกันภัยอุบัติเหตุแบบกลุ่มกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุแบบกลุ่มจะออกแบบมาสำหรับกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่รวมตัวเป็นกลุ่มกันอยู่แล้วส่วนใหญ่ที่เห็นได้มาก ก็จะเป็น กลุ่มของพนักงานในบริษัท หรือ กลุ่มข้าราชการไม่ใช่การนัดมารวมกลุ่มกัน เพื่อทำการประกันภัยอุบัติเหตุ หรือ กลุ่มพนักงานบริษัทเดียวกัน เป็นต้น กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุแบบกลุ่ม จะเหมาะสำหรับองค์กรต่างๆในการให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงานในองค์กร3. ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษากรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา ลักษณะของประกันนี้ จะเหมือนเป็นการทำประกันภัยกลุ่ม แต่ทำโดยสถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการทำให้แก่นักเรียน นิสิต และนักศึกษาของสถาบัน เพื่อเป็นการดูแลและถ่ายโอนความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผระกันประเภทนี้เหมาะกับสถาบันการศึกษาต่างๆ นั่นเองขอบคุณที่มา : http://bit.ly/2XAOrGlแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับnoonhttps://www.noon.in.th/blog/what-type-of-pa-insurance-and-which-one-is-best-for-you/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ถ้าถามว่าประเทศไหนบ้างที่มีระบบเงินบำนาญดีติดอันดับต้น ๆ ของโลก คำตอบของหลาย ๆ คนคงจะเป็นประเทศในยุโรป …แล้วการเปรียบเทียบจัดอันดับโดยมีการจัดทำดัชนีชี้วัดอย่างเป็นทางการได้คำตอบออกมาเป็นอย่างที่เราคิดหรือเปล่า ขอชวนมาดูกัน เมอร์เซอร์ (Mercer) บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและการเงินรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และ ซีเอฟเอ อินสทิทิวท์ (CFA Institute) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพผู้ให้คำปรึกษาทางการเงินการลงทุนระดับโลกได้เผยแพร่ “Mercer CFA Institute Global Pension Index (MCGPI)” หรือดัชนีระบบเงินบำนาญทั่วโลกประจำปี 2023 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ดัชนีเงินบำนาญทั่วโลกของเมอร์เซอร์และซีเอฟเอ (MCGPI) ซึ่งจัดทำมาเป็นปีที่ 15 คำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของดัชนี 3 ด้าน ประกอบด้วย ความเพียงพอ (adequacy) ความยั่งยืน (sustainability) และความซื่อตรง โปร่งใส น่าเชื่อถือ (integrity) ซึ่งมีตัวชี้วัดย่อย ๆ รวมมากกว่า 50 ตัวชี้วัด สำหรับดัชนีเงินบำนาญทั่วโลก (MCGPI) ในปีนี้เปรียบเทียบระบบรายได้หลังเกษียณ 47 ระบบของ 47 ประเทศ/เขตการปกครอง ซึ่งครอบคลุม 64 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ระบบเงินบำเหน็จบำนาญของประเทศไทยก็เป็น 1 ใน 47 ระบบที่ถูกประเมินด้วยเช่นกัน 20 อันดับประเทศที่มีระบบเงินบำนาญที่ดีที่สุดในปีนี้ ได้แก่ 1. เนเธอร์แลนด์ ค่าดัชนีรวม 85.0 2. ไอซ์แลนด์ ค่าดัชนีรวม 83.5 3. เดนมาร์ก ค่าดัชนีรวม 81.3 4. อิสราเอล ค่าดัชนีรวม 80.8 5. ออสเตรเลีย ค่าดัชนีรวม 77.3 6. ฟินแลนด์ ค่าดัชนีรวม 76.6 7. สิงคโปร์ ค่าดัชนีรวม 76.3 8.นอร์เวย์ ค่าดัชนีรวม 74.4 9.สวีเดน ค่าดัชนีรวม 74.0 10.สหราชอาณาจักร ค่าดัชนีรวม 73.0 11.สวิตเซอร์แลนด์ ค่าดัชนีรวม 72.0 12.แคนาดา ค่าดัชนีรวม 70.2 12.ไอร์แลนด์ ค่าดัชนีรวม 70.2 14.ชิลี ค่าดัชนีรวม 69.9 15.อุรุกวัย ค่าดัชนีรวม 68.9 16.เบลเยียม ค่าดัชนีรวม 68.6 17.นิวซีแลนด์ ค่าดัชนีรวม 68.3 18.โปรตุเกส ค่าดัชนีรวม 67.4 19.เยอรมนี ค่าดัชนีรวม 66.8 20.คาซัคสถาน ค่าดัชนีรวม 64.9 สำหรับเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเงินบำนาญดีที่สุดในโลกในปี 2023 นี้ ด้วยค่าดัชนีรวม 85.0 ได้รับการกล่าวถึงในข้อมูลเผยแพร่ของเมอร์เซอร์ว่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันเนเธอร์แลนด์กำลังดำเนินการปฏิรูประบบเงินบำนาญ แต่ระบบเดิมที่ยังปฏิรูปไม่แล้วเสร็จก็อยู่ในสถานะที่ดีพอที่จะให้ผลประโยชน์ที่ดีเยี่ยม เมื่อดูดัชนีย่อย 3 ด้าน ในด้านความเพียงพอนั้นระบบเงินบำนาญที่มีความเพียงพอมากที่สุด คือ ระบบของโปรตุเกส ค่าดัชนีอยู่ที่ 86.7 ด้านความยั่งยืน ระบบไอซ์แลนด์ครองอันดับ 1 ด้วยค่าดัชนี 83.8 ส่วนด้านความซื่อตรง โปร่งใส น่าเชื่อถือ แชมป์ตกเป็นของฟินแลนด์ มีค่าดัชนีอยู่ที่ 90.9 ส่วนโซนท้ายตาราง ระบบเงินบำนาญที่มีความเพียงพอน้อยที่สุด คือ ระบบของเกาหลีใต้ ค่าดัชนีอยู่ที่ 39.0 ด้านความยั่งยืน ระบบที่มีความยั่งยืนน้อยที่สุดคือระบบของออสเตรีย ค่าดัชนี 22.6 ส่วนด้านความซื่อตรง โปร่งใส เชื่อถือได้น้อยที่สุด คือ ฟิลิปปินส์ ค่าดัชนีอยู่ที่ 25.7 แถมปิดท้าย ประเทศไทยของเราอยู่อันดับที่ 43 หรืออันดับ 5 จากท้ายตาราง ด้วยค่าดัชนีรวม 46.4 แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/world-news/news-1418673#google_vignette
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
สมาคมประกันชีวิตไทย เผยตัวเลขเบี้ยประกันชีวิตปีนี้โตสดใส “เอไอเอ” ครองมาร์เก็ตแชร์เบอร์ 1 ทิ้งห่างคู่แข่ง ล่าสุดงวด 8 เดือนแรกปี 2566 เบี้ยรวมแตะ 4.01 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.36% เบี้ย “ปีแรก-ซิงเกิลพรีเมี่ยม-ปีต่ออายุ” โตยกแผง ขณะที่ “สุขภาพ-บำนาญ” ตัวชูโรง คาดสิ้นปีเบี้ยรวมเข้าเป้า 6.12-6.23 แสนล้านบาท โต 2% ชี้มีบางบริษัทยอดขายดรอป เหตุปรับพอร์ตรับแผนมาตรฐานบัญชี IFRS17นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมเบี้ยประกันชีวิตในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-ส.ค.) ทั้งอุตสาหกรรมมีเบี้ยรับรวมอยู่ที่ 401,025 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.36%เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) มาจากเบี้ยใหม่ 116,771 ล้านบาท แยกเป็นเบี้ยรับปีแรก 72,765 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.45% และเบี้ยซิงเกิลพรีเมี่ยม 44,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.66% ขณะที่เบี้ยต่ออายุ เพิ่มขึ้น 2.94% อยู่ที่ 284,253 ล้านบาท“ถือว่าเป็นปีที่ยอดขายประกันชีวิตสามารถเติบโตได้ดี และมีการขยายตัวมาได้ตั้งแต่ต้นปี ต่างจากปีที่แล้วที่ซิงเกิลพรีเมี่ยมติดลบไปกว่า 15% จึงมั่นใจว่าเบี้ยรับรวมในปีนี้จะเติบโตตามเป้าที่ระดับ 2% อยู่ที่ระดับ 612,500-623,500 ล้านบาททั้งนี้อาจจะมีบางบริษัทที่ยอดขายปรับตัวลดลง เป็นเพราะนโยบายภายในที่จะมีการบังคับใช้มาตรฐานบัญชี IFRS17 ทำให้ต้องมีการปรับพอร์ต ขณะที่หลายบริษัทก็ได้ปรับพอร์ตล่วงหน้าไปแล้ว 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผลการดำเนินงานเริ่มเติบโตได้” นายพิชากล่าวโดยคาดว่าสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญจะเป็นสินค้าตัวชูโรง หลังจากช่วง 8 เดือน สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและโรคร้ายแรง (รายบุคคล+ประกันกลุ่ม) มีเบี้ยรับรวม 71,852 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% และเบี้ยประกันบำนาญ 6,715 ล้านบาท เติบโต 13%“สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีการตระหนักถึงเรื่องการดูแลสุขภาพและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงหาสินค้าประกันสุขภาพมาเป็นตัวช่วยบรรเทาภาระ รวมไปถึงมีการตระหนักถึงเรื่องการออมหลังเกษียณมากขึ้นด้วย” นายพิชากล่าวพิชา สิริโยธินผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้นำตลาดประกันชีวิต 10 อันดับแรก ประเมินจากเบี้ยรับรวมในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ คือ 1. บริษัท เอไอเอ ประเทศไทย จำกัด 95,646 ล้านบาท เติบโต 2% 2. บมจ. เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด 61,831 ล้านบาท เติบโต 9%3. บมจ. ไทยประกันชีวิต 55,474 ล้านบาท เติบโต 6% 4. บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต 46,781 ล้านบาท เติบโต 2% 5. บมจ. กรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิต 27,962 ล้านบาท ลดลง 4%6. บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต 22,662 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% 7. บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต 22,451 ล้านบาท ลดลง 1% 8. บมจ. พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) 21,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% 9. บมจ. ไทยสมทุรประกันชีวิต 9,648 ล้านบาท ลดลง 2% และ 10. บมจ. โตเกียวมารีนประกันชีวิต 7,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%ทั้งนี้ หากจะวัดผลการดำเนินงานเฉพาะปีนี้ พิจารณาจากเบี้ยปีแรก มี 7 บริษัทที่อาจจะมียอดขายชะลอลง YOY คือ 1. เมืองไทยประกันชีวิต ติดลบ 15% มีเบี้ยรับ 8,700 ล้านบาท 2. ไทยประกันชีวิต ติดลบ 15% มีเบี้ยรับ 6,540 ล้านบาท 3. พรูเด็นเชียลประกันชีวิต ติดลบ 1% มีเบี้ยรับ 4,541 ล้านบาท4. เจนเนอราลี่ประกันชีวิต ติดลบ 10% มีเบี้ยรับ 1,272 ล้านบาท 5. โตเกียวมารีนประกันชีวิต ติดลบ 12% มีเบี้ยรับ 1,068 ล้านบาท 6. บมจ. ฟิลลิปประกันชีวิต ติดลบ 7% มีเบี้ยรับ 153 ล้านบาท และ 7. บมจ. สหประกันชีวิต ติดลบ 76% มีเบี้ยรับ 4.8 ล้านบาทแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1415347
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
หมายเหตุประกอบงบการเงิน จุดบอกเหตุที่นักลงทุนต้องอ่านบทความโดย “สิริพร สงบธรรม จังตระกุล” เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย วันที่ 14 ตุลาคม 2566 หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของนักลงทุนที่ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุน คือ รายงานทางการเงิน-Financial Report เป็นเสมือนการตรวจสุขภาพทางการเงิน หรือเทียบเคียงกับการตรวจร่างกายของเรา ว่า สุขภาพยังแข็งแรงไหม มีความผิดปกติ ส่งสัญญาณให้เราต้องระมัดระวังในเรื่องใดบ้าง รายงานทางการเงินก็เช่นกัน “ข่าวดัง-หุ้นดัง” ทำให้นักลงทุนต้องกลับมาทบทวน ยกระดับความรู้ตัวเองขึ้นอีกระดับ จากเดิมที่มักจะมองเพียงว่า บริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ กำไรดี จ่ายปันผลได้ แต่สิ่งที่นักลงทุนต้องอ่าน ทำความเข้าใจอย่างตั้งใจ คือ “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” ที่มีคำอธิบาย ขยายความจากตัวเลขทางการเงิน เสมือนคำวินิจฉัยของ “คุณหมอ” ว่าแต่ละรายการ มีรายละเอียดประกอบอย่างไร หมายเหตุประกอบงบการเงิน ระบุชัดเจนว่า เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน และได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากคณะกรรมการตรวจสอบ ตามการมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท มีหลายหัวข้อที่น่าตามไปอ่าน อาทิ การซื้อธุรกิจ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เงินลงทุนในการร่วมค้าและบริษัทร่วม สัญญาเช่า ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ค่าความนิยมและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น ฯลฯ เป็นการอธิบายข้อมูลที่อ่านทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก สำหรับคนที่อาจไม่ใช่ “นักบัญชี” ก็ไม่น่าหนักใจ อ่านเพลิน อ่านสนุก เป็นวรรค เป็นตอน เป็นฉาก ๆ ฉายภาพให้ตัวเลข เป็นเรื่องที่ถูกบันทึก อย่างเป็นเหตุ เป็นผล ตัวอย่างงบการเงิน ที่ถูกหยิบยกขึ้นมา คือ หมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) มีหมายเหตุประกอบงบการเงิน จำนวน 31 ข้อ พบข้อมูลน่าสนใจที่อาจยังไม่ปรากฏในงบการเงิน เช่น เรื่องการเจรจาร่วมทุนกับบริษัทในประเทศเมียนมา, เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน เป็นต้น นอกจากนี้ การดำรงอยู่ของกิจการ คือ การต้องมีสภาพคล่อง ลื่นไหล อีกจุดที่มีความสำคัญ คือ งบกระแสเงินสด หรือ Cashflow ที่จะไม่ทำให้การทำธุรกิจสะดุดตัว และการสร้างความน่าเชื่อถือ ให้กับคู่ค้า ลูกค้า งบแสดงฐานะการเงิน จึงเป็นดัชนีจับชีพจร “สุขภาพของกิจการ” ที่สะท้อนด้วยตัวเลข และมีคำอธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นการเปิดเผยตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้สอบบัญชี โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท หากนักลงทุน พบข้อมูลที่อาจสะดุดใจ ก็สามารถนำไปตั้งคำถามในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เชื่อว่า ผู้บริหาร หรือประธานกรรมการตรวจสอบ หรือผู้สอบบัญชีจะช่วยมีคำอธิบายได้ ความสบายใจที่นักลงทุนต้องการเห็น และปรากฏแก่สายตาต่อความเห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ทำหน้าที่ตรวจสุขภาพทางการเงินของกิจการ คือ ถ้อยคำว่า “เป็นการแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1415586
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลในเครือบางปะกอก-ปิยะเวท นำโดย นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ และนายแพทย์อำนาจ พิศาลจำเริญ (ที่ 3 จากซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก เตรียมจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพฟรี ภายใต้โครงการ ‘เอไอเอ แชร์ริ่ง อะ ไลฟ์ ครั้งที่ 10’ (AIA Sharing A Life 10) ในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 8.00 – 11.00 น. ณ สวนลุมพินี โดยจะเปิดให้บริการตรวจสุขภาพฟรีให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่ บริการตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI วัดความดันโลหิต และวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้วสำหรับโครงการ เอไอเอ แชร์ริ่ง อะไลฟ์ ครั้งที่ 10 (AIA Sharing A Life 10) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Better Environment, Better Health - เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดีขึ้น’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 85 ปี เอไอเอ ประเทศไทย ซึ่งจะจัดขึ้นพร้อมกัน 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อมุ่งส่งเสริมทั้งในด้านสุขภาพของคนไทย ควบคู่กับการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยกิจกรรมที่สวนลุมพินี นอกจากบริการตรวจสุขภาพฟรีโดยเครือโรงพยาบาลบางปะกอกแล้ว ยังมีกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อื่น ๆ อีก อาทิ กิจกรรมวิ่งเพื่อการกุศล บริการตัดผมฟรี บริการนวดโดยผู้พิการทางสายตา กิจกรรมปลูกต้นไม้ และทาสีเก้าอี้สาธารณะ โดยกิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม นี้ เพื่อรวมพลังครอบครัวเอไอเอ ทำความดีสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมน่าอยู่และยั่งยืน ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
18/09/2024
11/04/2024
29/04/2024
22/01/2025
21/07/2023