คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ข่าวการเงิน

น่าสลดเงินหมดแล้ว ยังไม่ตาย จัดการอย่างไร เงินเก็บหลังเกษียณหมดก่อน

30/04/2024

บทความโดย “กชจุฑา เพียรวนิช” ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย “น่าเสียดายตายแล้ว ยังใช้เงินไม่หมด น่าสลดเงินหมดแล้ว ยังไม่ตาย” หลายคนคงเคยได้ยินประโยคดังกล่าว และก็คงไม่มีใครอยากให้คำพูดนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนที่เรารัก และเพื่อไม่ให้เงินที่ตั้งใจเก็บเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณหมดก่อนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ต้องเตรียมตัวรับมือก่อนที่เหตุการณ์ร้ายจะเกิดขึ้น 1. ความเสี่ยงเก็บเงินไม่พอใช้ ในวัยเกษียณ หลายคนอาจจะคิดว่าตอนเกษียณต้องใช้จ่ายน้อยกว่าตอนทำงาน อาจไม่จริงเสมอไป ลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายวันธรรมดากับวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุด วันไหนใช้เงินมากกว่ากัน ถ้าคำตอบ คือ เสาร์อาทิตย์ แสดงว่ามีแนวโน้มที่ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะมากกว่าก่อนเกษียณ เนื่องจากในวันธรรมดาอาจมีแค่ค่าใช้จ่ายจำเป็น ค่าเดินทาง ค่าข้าว ค่าน้ำชากาแฟหรือขนม แต่ในวันเสาร์อาทิตย์มีแนวโน้มที่จะทานข้าวนอกบ้าน เดินทางท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง คำถามต่อมา คือ ควรเก็บเงินเท่าไหร่เพื่อให้เพียงพอเกษียณคำตอบ คือ ไม่มีสูตรตายตัว อาจใช้หลักการง่าย ๆ คือ เลือกระหว่างจะเก็บเงินให้เท่ากับ 1. รายได้หลังเกษียณเท่ากับรายได้ปัจจุบัน 2. รายได้หลังเกษียณเท่ากับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตัวอย่าง 1. ปัจจุบันอายุ 35 ปี มีรายได้ 50,000 บาท และคิดว่าหลังเกษียณตั้งใจมีรายได้เดือนละ 50,000 บาทใช้จ่ายไปจนอายุ 90 ปีและต้องการเกษียณ 60 ปี คำนวณตัวเลขเงินเก็บที่ต้องมีเพื่อใช้จ่ายตั้งแต่อายุ 60 – 90 ปี ต้องมีเงินจำนวน 15.6 ล้านบาท เพื่อให้มีเงินใช้ปีละ 600,000 บาท หรือเดือนละ 50,000 บาท และเงินก้อนนี้ต้องลงทุน (หลังเกษียณ) ให้ได้อย่างน้อย 1% ต่อปี วิธีคำนวณ หาเงินที่ต้อง ณ อายุ 60 ปี (PV) เท่ากับเท่าไหร่? ถอนเงินปีละ (PMT) = 600,000 ผลตอบแทน (Rate) 1% ต่อปี   ระยะเวลาใช้เงิน (Period) 30 ปีตัวอย่าง 2. ปัจจุบันอายุ 35 ปี มีรายได้ 50,000 บาท วางแผนเก็บเงินก้อนให้มีรายได้หลังเกษียณ 30,000 บาททุกเดือนไปจนอายุ 90 ปี ต้องมีเงินก้อนจำนวน 9.38 ล้านบาท เพื่อให้มีเงินใช้ปีละ 360,000 บาท หรือเดือนละ 30,000 บาท และเงินก้อนนี้ต้องลงทุน (หลังเกษียณ) ให้ได้อย่างน้อย 1% ต่อปี วิธีคำนวณ หาเงินที่ต้อง ณ อายุ 60 ปี (PV) เท่ากับเท่าไหร่? ถอนเงินปีละ (PMT) = 360,000 ผลตอบแทน (Rate) 1% ต่อปี   ระยะเวลาใช้เงิน (Period) 30 ปี จำนวนเงินที่เก็บนี้ยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพและค่าพยาบาลอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเงินเกษียณอย่างแน่นอน) 2. ความเสี่ยงอายุยืนกว่าที่คาดไว้ หลายคน มักคาดว่าตัวเองอายุไม่ยืนยาวมากนัก แต่ความจริง คือ สิ่งไม่แน่นอน เพราะข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พบว่าตลอด 6 ทศวรรษที่ผ่านมา คนไทยมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 4.4 เดือนต่อปี ผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 80.4 ปี ผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 73.2 ปี นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยที่เกิดในปี 2559 จะมีอายุยืนถึง 80 – 98 ปี หรือเกือบ 100 ปี ดังนั้น ต้องเตรียมเงินให้เพียงพอสำหรับใช้หลังเกษียณอย่างน้อยถึงอายุ 80 ปี หรือดูจากอายุขัยเฉลี่ยของปู่ย่าตายายของตัวเองยืนแค่ไหนและเสียชีวิตตอนอายุเท่าไหร่ จากนั้นคาดการณ์อายุตัวเองที่คิดว่าน่าจะเสียชีวิตบวกเพิ่มไปอีก 5 ปี เช่น ปัจจุบันปู่ย่าอายุยืนถึง 90 ปี หมายความว่าอาจจะมีแนวโน้มอายุยืนเช่นกัน ดังนั้น ควรเตรียมเงินให้สามารถใช้ได้ถึงอายุ 95 ปี 3.ความเสี่ยงเงินเฟ้อ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก๋วยเตี๋ยวชามละ 40 บาท แต่ปัจจุบันก๋วยเตี๋ยวชามละ 60 –80 บาท พูดง่าย ๆ เงิน 100 บาทที่เคยกินก๋วยเตี๋ยวได้ 2 ชาม ปัจจุบันกินได้แค่ 1 ชาม โดยผลกระทบจากเงินเฟ้อทำให้อำนาจการซื้อลดลง และ เงิน 100 บาทอีก 10 ปีข้างหน้า อาจไม่สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เลย สำหรับอัตราเงินเฟ้อในไทยเฉลี่ย 3% ต่อปี ดังนั้น เงิน 50,000 บาทต่อเดือนที่ใช้ในปัจจุบัน อีก 20 ปีจะกลายเป็น 90,305 บาท ถ้าเก็บเงินเกษียณ จำเป็นต้องนำเงินเฟ้อมาคำนวณในแผนเกษียณด้วย นอกจากนี้ ต้องศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนเพื่อสามารถนำเงินไปลงทุนและให้ผลตอบแทนเท่ากับเงินฟ้อ 3% ต่อปี เพื่อให้มีเงินใช้เพียงพอตอนเกษียณ 4. ความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาล สุขภาพถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด จึงมีโอกาสกระทบกับเงินเกษียณ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดหลังเกษียณ โดยประเมินว่าค่ารักษาพยาบาลในไทย เพิ่มขึ้นประมาณ 5% – 7% ต่อปี นอกการนี้รายงานจากทีดีอาร์ไอในหัวข้อการเตรียมความพร้อม ด้านการเงินและสุขภาพ ในสังคมอายุยืน พบว่าคนไทยเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น อาจจะเริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเส้นเลือด สมองตีบ แตก ตัน โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องใช้เงินรักษาในระดับสูง ดังนั้น ควรเตรียมตัวดูแลสุขภาพ รวมถึงพิจารณาทำประกันสุขภาพและกันเก็บเงินอีกส่วนแยกจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อเตรียมไว้ใช้กรณีเกิดเจ็บป่วยเมื่อเกษียณ 5. ใช้จ่ายมากเกินไปหลังเกษียณ ปัญหาส่วนใหญ่ของคนเกษียณ คือ ไม่สามารถบริหารเงินก้อนใหญ่ที่ได้รับหลังจากเกษียณได้ เช่น เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือเงินบำเหน็จที่ได้รับเมื่อออกจากข้าราชการ เพราะปกติก่อนเกษียณได้รับเงินรายเดือน ทำให้เมื่อได้เงินก้อนมาจึงไม่รู้จะเอาไปลงทุนตรงไหน นำไปใช้จ่ายซื้อรถ ซื้อบ้านใหม่ หรือให้ลูกหลานยืม ดังนั้น ถ้ารู้ตัวเองว่ามีแนวโน้มไม่สามารถบริหารเงินก้อนใหญ่ได้ควรกระจายเงินไปลงทุนไปในทรัพย์สินที่สร้างรายได้ประจำเป็นรายเดือนให้เราได้ในอนาคต เช่น ทำประกันบำนาญเพื่อรอรับเงินคืนเป็นรายเดือนหรือรายปี ซื้ออสังหาเพื่อเก็บค่าเช่า แบ่งเงินลงทุนในหุ้นปันผล หรือนำเงินก้อนไปลงทุนกับกองทุนส่วนบุคคล เพื่อให้ผู้ที่เชี่ยวชาญบริหารเงินแทน สรุป จงเตรียมตัววางแผนเก็บเงินเกษียณและนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้ออย่างน้อย 3% ต่อปี รวมถึงดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย กินอาหารที่ดี เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง วางแผนเตรียมเงินสำรองให้พร้อมสำหรับค่ารักษาพยาบาล และที่สำคัญที่สุดศึกษาหาความรู้และเรียนรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้เราสามารถบริหารเงินก้อนให้พอใช้หลังเกษียณ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1405774

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ควรมีหรือไม่?

30/04/2024

บทความโดย “เกศิณี เพ็ชรแสนงาม2นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันยังมีคำถามว่า “จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพ” ในความคิดเห็นของผู้เขียนให้ความสำคัญกับการทำทุนประกันชีวิตและประกันสุขภาพเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะ เจ้าของธุรกิจ ซึ่งไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และประกันสังคมดังนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมคือแผนประกันชีวิต ที่ครอบคลุมภาระ  ที่ตนเองรับผิดชอบ  และประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล แบบระยะยาว ยาวถึงอายุ 85 ปี หรือ 99 ปี (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแบบประกัน)ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ถ้ามีเงินแต่สุขภาพไม่ดี หากสมัครทำประกัน บริษัทประกันจะคุ้มครองแบบมีเงื่อนไข  คือ “ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน” หรืออาจ “เพิ่มเบี้ยประกันเนื่องจากสุขภาพที่มีประวัติการเป็นโรคถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป ดังนั้น เบี้ยประกันจะถูกปรับเพิ่ม ดังนั้น การวางแผนการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ควรทำตอนที่มีเงินและมีสุขภาพดีหลายคนมองว่าถ้าไม่ป่วยก็ไม่คุ้มค่า เสียดายเบี้ยประกันที่จ่ายทิ้งไป  แต่ในหลักการวางแผนโอนย้าย ความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ ของการวางแผนชีวิต อย่าลืมว่า “เบี้ยประกันส่วนน้อยไม่ได้ทำให้จนลง แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีโอกาสทำให้เราจนลง และอนาคตคนในครอบครัวจบลงได้” โลกใบนี้มีความผันผวนและจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมรับมือหากเกิดความผันผวนรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องโอนความเสี่ยง เช่น มีประกันชีวิตและประกันสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19ถึงแม้ว่านวัตกรรมทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า  แพทย์ดีมีความสามารถ สามารถรักษาโรค โรคร้ายรักษาหายได้ แต่ก็แลกมาด้วยค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูง ทางออกที่น่าสนใจเพื่อลดค่าใช้จ่าย คือ การทำประกันสุขภาพ ที่สำคัญควรทำประกันตั้งแต่สุขภาพแข็งแรง เพราะหากทำเมื่อเจ็บป่วยก็จะมีเงื่อนไขจากบริษัทประกันเยอะมากขึ้น และเบี้ยประกันจะสูงตามไปด้วยโดยทั่วไป ช่วงชีวิตที่พบกับความท้าทายมากที่สุด มักจะอยู่ในช่วงอายุ 35 – 45 ปี  เพราะเป็นช่วงที่กำลังสร้างฐานะ และเป็นช่วงสะสมทรัพย์สินและความมั่งคั่ง  แต่ในขณะเดียวกันก็มีภาระทางการเงินที่ต้องรับผิดชอบรอบด้าน ซึ่งความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดสำหรับวัยนี้คือ ปรากฏการณ์ “แก่ก่อนรวย” “ป่วยก่อนใช้” เนื่องจากอาจเจอภาระค่าใช้จ่ายรอบด้าน ทั้งค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูครอบครัว อีกทั้งภาระหนี้สินที่ยังต้องผ่อน รวมถึงความจำเป็นที่ต้องเก็บเงินตามเป้าหมายส่วนตัวในขณะที่การงานและรายได้เพิ่งเริ่มมั่นคงและเติบโต ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะมีเงินไม่พอใช้จ่าย หรือมีเงินเก็บไม่พอกับเรื่องที่จำเป็นต้องใช้ หากไม่ได้วางแผนเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า และหากต้องเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงเรื้อรัง หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรง ต้องใช้เงินจำนวนมาก ในการรักษาพยาบาล ช่วงเจ็บป่วยก็ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมดังนั้น เพื่อความมั่นคงของชีวิต  เราจึงควรเตรียมตัวรับมือและมองหาวิธีการจัดการกับภาระทางการเงินที่พร้อมจะให้แบกภาระเพิ่มมากขึ้น ด้วย 4 แนวทางแนะนำ ดังนี้บริหาร ควบคุมค่าใช้จ่ายสอดคล้องฐานะต้องมีวินัยในการใช้จ่าย  โดยใช้วิธีทำงบการเงิน หรือทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองให้อยู่ในงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้อย่างไม่มีปัญหาวางแผนเก็บออมเงินเป็นเงินเกษียณตัวเอง ใช้เครื่องมือการออมหรือการลงทุนที่ช่วยสร้างวินัยการออม เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF ที่มีเงื่อนไขบังคับให้เราต้องออมเงินหรือลงทุนในระยะยาว โดยต้องออมหรือลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกปี และไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ระหว่างทาง ต้องรอจนกว่าจะเกษียณจึงจะได้รับเงินที่ออมหรือลงทุนไว้ ควรมีแบบประกันที่มีความคุ้มครองชีวิตสูง เพื่อเพียงพอกับภาระต่าง ๆ  วางแผนค่าใช้จ่ายลูกครอบคลุมจนสำเร็จการศึกษาโดยการสำรวจค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาที่วางแผนจะส่งบุตรไปเรียน ตั้งแต่ปัจจุบัน จนจบระดับชั้นที่ต้องการ ว่ารวมแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ โดยสำหรับค่าเล่าเรียนในระดับชั้นสูง ๆ ที่ยังมีเวลาอีกหลายปีกว่าจะถึงเวลาต้องจ่าย อาจจะใช้วิธีการลงทุน หรือออมเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยเตรียมเงินให้เพียงพอกับค่าเล่าเรียนในอนาคตได้ในส่วนนี้ เรานำยอดรวมค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่คำนวณได้ นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของทุนประกันชีวิต ที่หัวหน้าครอบครัวควรมีหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับหัวหน้าครอบครัว ทุนประกันนี้จะใช้ส่งเสียค่าเล่าเรียนบุตรได้อย่างเพียงพอ จนจบการศึกษาวางแผนทำประกัน โอนย้ายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมควรทำประกันชีวิตให้มีความคุ้มครองหรือจำนวนเงินเอาประกันภัยเพียงพอกับ “ภาระทางการเงิน” ในชีวิตทั้งหมดที่เรามีอยู่ ได้แก่ “ภาระหนี้สินคงค้าง ค่าเลี้ยงดูผู้อยู่ในอุปการะจนกว่าจะเลี้ยงดูตัวเองได้ (รวมไปถึงค่าเล่าเรียน และค่าประกันชีวิตบุตร ตั้งแต่ปัจจุบันจนเรียนจบ)บวกเงินที่ต้องการทิ้งไว้ในช่วงปรับตัว มูลค่าเงินเก็บทั้งหมดที่เรามีอยู่ ”ยกเว้นบ้าน หรือรถ (เพราะคนในครอบครัวยังต้องใช้ ) เพื่อให้แน่ใจว่าหากจากไปกะทันหัน ภาระค่าใช้จ่ายที่ดูแลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือธุรกิจ จะสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุดและไม่เดือดร้อนยิ่ง ด้วยสภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น ควรทำประกันสุขภาพ ดังนี้– ค่าคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ต่อรอบปีกรมธรรม์ แต่เบี้ยประกันก็จะค่อนข้างสูง ที่สุด เมื่อเทียบกับแบบประกันค่ารักษาแบบ package– ค่ารักษาพยาบาลแบบ package (New Health Standard) คุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) คุ้มค่า แบบนี้เบี้ยประกันก็จะสูงกว่า ค่ารักษาแบบไม่มีOPD– โรคร้ายแรง ซึ่งเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงก็จะได้รับเงินก้อนช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวในด้านอื่นๆด้วย เพราะคนที่ป่วยเป็นโรคร้ายมักจะไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม และเพิ่มเติมด้วยค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นหากต้องรับประทานอาหารเสริม เพื่อช่วยให้อาการเจ็บป่วยทุเลาลงยิ่งถ้ามีค่าผ่อนต่าง ๆ ยังคงค้างอยู่ไม่ว่าจะผ่อนบ้านผ่อนรถหรือแม้แต่ค่าเล่าเรียนลูกเงินก้อนที่ได้หลักล้านหรือหลายล้านบาท  ก็อาจจะช่วยทดแทนแหล่งรายได้เดิมที่ตนเองไม่สามารถจะทำต่อได้การเตรียมความพร้อม ทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพจะทำให้การเงินของครอบครัวไม่สะดุด เป้าหมายชีวิตที่วางไว้ยังสามารถไปต่อได้ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันสิ่งที่หนักก็จะกลายเป็นเบาและที่สำคัญในระหว่างที่ได้วางแผนชีวิตเราจะเกิดความสงบสุขทางใจ ว่าตลอดเส้นทางของการดำเนินชีวิตที่ได้เตรียมแผนรองรับไปแล้วแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1425840

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หุ้น

นักลงทุนรายย่อยเจ๊งหุ้น 5 แสนล้าน / สุนันท์ ศรีจันทรา

30/04/2024

ตลาดหุ้นทั่วโลกกำลังเซถลา ฉุดให้ตลาดหุ้นไทยดิ่งลงเหวตาม โดยเฉพาะวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งดัชนีทรุดฮวบกว่า 30 จุด ลงมาปิดต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ระดับ 1,388 จุด จนนายภากร ปิตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องออกมาชี้แจงสถานการณ์ นานๆ ที นายภากร จะออกมาให้ข่าวผ่านสื่อ แต่วิกฤตตลาดหุ้นครั้งนี้ ทำให้กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ นั่งไม่ติดเก้าอี้ ต้องแถลงชี้แจงภาวะการลงทุน เพียงแต่ไม่มีประเด็นอะไรใหม่ที่น่าสนใจเท่านั้น ไม่มีมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบตลาดหุ้นแต่อย่างใด นายภากร ระบุว่า หุ้นที่ทรุดหนักเกิดจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอก และปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก หากสถานการณ์คลี่คลายซึ่งหมายถึงสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสสงบลงหุ้นจะฟื้นตัวขึ้น หุ้นตกหนักเพราะอะไร จะฟื้นตัวขึ้นเมื่อไหร่ เป็นสิ่งที่นักลงทุนทั้งโลกสามารถคาดหมายกันเองได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาอธิบายขยายความเป็นแผ่นเสียงตกร่อง แต่สิ่งที่นักลงทุนในประเทศอยากรู้มากกว่าคือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีมาตรการเพื่อเรียกความมั่นใจนักลงทุน หรือมีมาตรการใดป้องกันไม่ให้ตลาดหุ้นถูกซ้ำเติมจนเลวร้ายเกินผลกระที่เกิดขึ้นจริง เช่น การซ้ำเติมจากการช็อตเซลหรือขายโดยไม่มีหุ้นในมือ หรือแม้กระทั่งการซื้อขายด้วย ROBOT หรือปัญญาประดิษฐ์ ปีนี้นักลงทุนรายย่อยบาดเจ็บเลือดสาด จากการปรับตัวลงของตลาดหุ้น โดยดัชนีสิ้นปี 2565 ปิดที่ 1,668.66 จุด แต่ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา ปิดที่ 1,388.23 จุด ลดลง 280.43 จุด และนักลงทุนรายย่อยเป็นผู้ซื้อหุ้นรายใหญ่ มียอดซื้อสะสมสุทธิจากต้นปีจำนวน 1.12 แสนล้านบาท ประชาชนผู้ลงทุนในตลาดหุ้นไม่ใช่เพิ่งประสบปัญหาขาดทุนเฉพาะปี 2566 แต่ 5 ปีก่อนหน้าเสียหายหนักตลอด เพราะช้อนซื้อหุ้นสะสมจำนวนหลายแสนล้านบาท ในช่วงตลาดขาลง สิ้นปี 2560 ดัชนีปิดที่ 1,753.71 จุด และเดือนกุภาพันธ์ 2561 ดัชนีขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ประมาณ 1,850 จุด แต่หลังจากนั้นปรับตัวสู่ขาลงติดต่อหลายปี สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเพราะนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้น ปี 2561 ต่างชาติขาย 287,696 ล้านบาท ปี 2562 ขาย 44,791 ล้านบาท ปี 2563 ขายหุ้น 263,148 ล้านบาท ปี 2564 ขาย 50,553 ล้านบาท ปี 2564 ซื้อ 196,886 ล้านบาท ส่วนปี 2566 จนสิ้นสุดวันที่ 27 ตุลาคม ต่างชาติขายหุ้นสะสมสุทธิ 169,822 ล้านบาท รวมการขายหุ้นของต่างชาตินับจากปี 2561 มียอดขายสะสม 619,124 ล้านบาท ส่วนนักลงทุนรายย่อย ปี 2561 ซื้อหุ้น 120,800 ล้านบาท ปี 2562 ขายหุ้น 21,466 ล้านบาท ปี 2563 ซื้อหุ้น 214,4 25 ล้านบาท ปี 2564 ซื้อหุ้น 111,430 ล้านบาท ปี 2565 ขายหุ้น 39,033 ล้านบาท และปี 2566 จนถึงสิ้นสุด 27 ตุลาคม 112,328 ล้านบาท รวมการซื้อหุ้นของนักลงทุนรายย่อยนับจากปี 2561 มียอดซื้อหุ้น 498,511 ล้านบาท ถ้าเทียบดัชนีสิ้นปี 2560 ที่ปิด 1,753.71 จุด กับจุดปิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมาในระดับ 1,388.23 จุด ในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ดัชนีลดลง 365.48 จุด นักลงทุนในตลาดหุ้นจำนวนกว่า 2 ล้านคน และซื้อหุ้นเก็บสะสมมาตลอด 6 ปี ต้องขาดทุนกันป่นปี้ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลยกับความย่อยยับของประชาชนผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แต่ยืนดูการล้มตายของนักลงทุนรายย่อย แม้มีเสียงเรียกร้องให้จัดการกับการซื้อขายหุ้นด้วย ROBOT ซึ่งสูบเงินจากนักลงทุนรายย่อยจำนวนมหาศาลก็ตาม ROBOT ซื่งเป็นระบบซื้อขายที่ได้เปรียบนักลงทุนในทุกประตู ทั้งการประเมินผลรายการคำสั่งซื้อหรือขายหุ้น การประเมินแนวโน้มขึ้นหรือลงของหุ้นรายตัว และสามารถสั่งคำสั่งซื้อขายได้รวดเร็วในพริบตา แถมยังมีต้นทุนค่านายหน้าซื้อขายหุ้นที่ต่ำมาก โดยเสียค่านายหน้าซื้อขายหุ้นในอัตรา 0.01% เศษของมูลค่าซื้อขาย หรือจ่ายเพียง 100 บาทเศษ ต่อมูลค่าซื้อขายหุ้น 1 ล้านบาท ROBOT จึงสามารถทำกำไรได้จากการขึ้นหรือลงของราคาหุ้นเพียง 1 ช่วงราคา ปรากฏการณ์น่าสนใจคือ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ได้ทะยานขึ้นมาเป็นโบรกเกอร์ที่มีมูลค่าซื้อขายหุ้นสูงสุดติดอันดับ 1 นับจากปี 2562 จนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นโบรกเกอร์รายใหญ่ที่ซื้อขายด้วย ROBOT มูลค่าซื้อขายที่ทำให้ บล.เกียรตินาคินภัทร ครองความเป็นโบรกเกอร์เบอร์ 1 ตลอดกาล มาจากมูลค่าซื้อขายจาก ROBOT ซึ่งเป็นระบบที่เอาเปรียบนักลงทุนรายย่อยหลายขุม ระบบ ROBOT แทรกซึมเข้ามาในตลาดหุ้นไทยประมาณ 5 ปีแล้ว สร้างความเสียหายให้นักลงทุนรายย่อยอย่างหนัก ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ กลับไม่แก้ไขอะไร ทั้งที่สามารถตรวจสอบได้ว่า ROBOT สูบเงินจากนักลงทุนรายย่อยปีละเท่าไหร่ รอบ 6 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนรายย่อยซื้อหุ้นเก็บสะสมประมาณ 5 แสนล้านบาท และขาดทุนกันถ้วนหน้า ส่วนหนึ่งถูกเครื่องจักรระบบ ROBOT สูบกิน แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กลับยืนดูให้ ROBOT ตีหัวนักลงทุนคนไทย ขนกำไรกลับบ่านไปแล้วอาจนับหมื่นๆ ล้านบาท ไม่ปล่อยให้ ROBOT ไล่สังหารนักลงทุนรายย่อยเหมือนตลาดทั้งที่ตลาดหุ้นอินโดนีเซียไล่ตะเพิด ROBOT แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/stockmarket/detail/9660000097554

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

แฉเทคนิค “โกงเคลมค่ารักษา” ต้นเหตุประกัน พ.ร.บ.มอ’ไซค์สินไหมพุ่ง

30/04/2024

“บริษัท กลางฯ” เปิดข้อมูลประกัน “พ.ร.บ.” รถจักรยานยนต์ 9 เดือนแรกปี’67 ยอดเบี้ยเริ่มฟื้นหลังผ่านสถานการณ์โควิด ขณะที่เคลมค่ารักษาพยาบาลพุ่ง 4.5 พันล้าน เผยตรวจพบ “ฉ้อฉล” โกงเอาเงินประกัน ทั้ง “สวมทะเบียน-อ้างประสบภัยจากรถ-ปลอมใบเสร็จ” พร้อมยืนยันลดเงินสมทบเข้ากองทุน3 ปี ไม่กระทบสิทธิการดูแลผู้เอาประกัน เหตุยังมีเงินหน้าตักกว่า 10,000 ล้านนายประสิทธิ์ คำเกิด รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-ก.ย.) มีรถจักรยานยนต์ที่ทำประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จำนวน 11.8 ล้านกรมธรรม์ เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY)คิดเป็นเบี้ยรวมประมาณ 3,540 ล้านบาท คาดว่าจนถึงสิ้นปี 2566 จะมียอดกรมธรรม์แตะ 15.5 ล้านกรมธรรม์ เพิ่มขึ้น 2.65% เมื่อเทียบจากสิ้นปี 2565 ที่มียอดกรมธรรม์ 15.1 ล้านกรมธรรม์ หรือมีเบี้ยรวมแตะ 4,650 ล้านบาท“เป็นไปตามภาวะ ซึ่งหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ประชาชนมีการนำรถออกมาใช้มากขึ้น ทำให้มีการทำประกันภัยเพิ่มมากขึ้นด้วย และมีอัตราการต่ออายุระดับ 90%”ขณะที่อัตราความเสียหายหรือเคลมสินไหม (loss ratio) จนถึงสิ้นเดือน ก.ย. 2566 มีลอสเรโชสูงกว่า 128% คิดเป็นเงินที่จ่ายเคลม 4,530 ล้านบาท ส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นเงินที่จ่ายค่ารักษาพยาบาล ผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (e-Claim) ให้กับโรงพยาบาลที่มีอยู่กว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ เฉลี่ย 35,000 เคลมต่อเดือน หรือเกือบ 400,000 เคลมต่อปี“ความถี่ในการเกิดเคลมของรถมอเตอร์ไซค์ พบว่าทุก ๆ 100 กรมธรรม์ จะเกิดเคลมประมาณ 2.5 กรมธรรม์”สำหรับปัญหาที่บริษัทคุมไม่ได้ คืออัตราค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากกฎหมายระบุว่า หากประกาศออกมาแล้วให้ใช้สิทธิตามนั้นได้เลย อย่างไรก็ดี ตามหลักการพิจารณาของบริษัท คือต้องเป็นค่ารักษาพยาบาลจริง ซึ่งปัจจุบันมีทีมแพทย์ที่ปรึกษาคอยดูแลเรื่องอัตราค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ ว่ามีความเหมาะสมกับอาการที่รักษาหรือไม่ประสิทธิ์ คำเกิดรวมถึงมีพนักงานในแต่ละพื้นที่คอยช่วยตรวจสอบ ประกอบกับในแต่ละปีทางบริษัทได้พิจารณาคำนวณเปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลราว 0.3% เข้าไปในการจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมด้วยนายประสิทธิ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เคลมสินไหมที่เกิดขึ้นนั้น ตรวจพบว่ามาจากการฉ้อฉลรวมอยู่ด้วย เฉลี่ยต่อปีประมาณ 4,000 เคลม หรือคิดเป็นประมาณ 0.1% ของเคลมต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะสวมทะเบียนเปลี่ยนรถคันที่เกิดเหตุ ซึ่งไม่มีประกัน พ.ร.บ. รองลงมาคือเปลี่ยนคดีสมอ้างว่าประสบภัยจากรถ และถัดมาคือปลอมใบเสร็จ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวคือตรวจพบและไม่ได้จ่ายเงิน แต่เชื่อว่ายังมีหลายเคสที่หลุดไป“ช่วงที่ผ่านมา แนวทางป้องกันฉ้อฉลจะมีการกำหนดข้อบ่งชี้เป็นเงื่อนไข ตรวจจับโดยระบบ รวมทั้งตัวบุคคลในการตรวจสอบร่วมด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่าช่วงหลัง ๆ ก็ตรวจพบมากขึ้น”นายประสิทธิ์กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังได้ออกประกาศเรื่อง การลดเงินสมทบบริษัทกลางฯ เป็นเวลา 3 ปี จากระดับ 12.25% เหลือแค่ 6% ของเบี้ย พ.ร.บ.ที่ได้รับแต่ละไตรมาส ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2566-ก.ย. 2569 เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของธุรกิจประกันวินาศภัยนั้น จะทำให้เงินส่วนนี้หายไปราว 600-700 ล้านบาท จากที่เข้ามาปีละ 1,700 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่กระทบสิทธิการดูแลผู้เอาประกัน“ไม่กระทบ เพราะบริษัทมีเงินกองทุนจากค่าเบี้ยสะสมของผู้ถือหุ้น และเงินฝากธนาคารของบริษัทที่มีอยู่กว่า 10,000 ล้านบาท เพียงพอในช่วง 3 ปี โดยบริษัทได้ปรับแผนเรื่องงบประมาณ มีการจำกัดเรื่องการรณรงค์ลงบ้าง เพื่อให้มีความสมเหตุสมผลมากขึ้น”อนึ่ง กฎหมายระบุว่าผู้ครอบครองรถไว้ใช้ต้องมีการจัดทำประกัน พ.ร.บ. ซึ่งในแต่ละปีมีรถจักรยานยนต์จดทะเบียนประมาณ 23 ล้านคัน มีการทำประกัน พ.ร.บ. 15 ล้านคัน ดังนั้น จะมีอยู่อีกกว่า 8 ล้านคันที่ไม่ทำประกัน ซึ่งระบบของกรมการขนส่งฯ กำหนดไว้ หากไม่ชำระภาษีเกิน 3 ปี จะถูกตัดออกจากสารบบกลายเป็นรถเถื่อนสำหรับ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยทั้งหมด ให้บริหารจัดการสินไหมที่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ที่มี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถล่าสุดบริษัทกลางฯ จับมือบริษัท มิตรไมตรีการแพทย์ จำกัด (MMT) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ให้บริการผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ “โดยไม่ต้องสำรองจ่าย” เมื่อเข้ารักษาพยาบาลที่มิตรไมตรีคลินิก นำร่อง 25 สาขา ให้บริการในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีเพื่อเป็นช่องทางการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยจากรถที่มีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ไปสู่การรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ที่คลินิก และภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะขยายให้ครอบคลุม 70 สาขา ที่ให้บริการครอบคลุมการรักษาอีก 7 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี กรุงเทพฯ ปทุมธานี ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร“ตอนนี้ที่นนทบุรีมีผู้ประสบภัยจากรถเข้าไปรักษาพยาบาลในคลินิกมิตรไมตรีเป็น 100 เคลมต่อเดือน ส่วนมากไปใช้บริการล้างแผล ค่าใช้จ่าย 700-800 บาท รวมค่ายา ค่าเย็บแผล และล้างแผล ส่วนในภาพรวมพบว่าอาการบาดเจ็บเล็กน้อยจะมีสัดส่วน 60-70% �ของเคลมทั้งหมดของบริษัทกลางฯ” นายประสิทธิ์กล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1422031

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวทั่วไป

รวมยอดการรับชม FA Staion

30/04/2024

รวม 5 อันดับ คอร์สเรียน และ 5 อันดับ ผู้รับชมสูงสุด ในเว็บไซค์ FA Station5 อันดับคร์สเรียน FA station ที่น่าสนใจ และยอดชมสูงสุด 1. คุณวรยุทธ พิกุลสวัสดิ     หัวข้อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน      ยอดรับชม  1,561 คน2. คุณหฤทัย ไกรวพันธุ์     หัวข้อ การวางแผนทางการเงินภาคปฏิบัติ       ยอดรับชม  1,338 คน3. คุณมงคล ลุสัมฤทธิ์     หัวข้อ การวางแผนทางการเงินภาคปฏิบัติ       ยอดรับชม 1,303 คน4.คุณพิชญา ซุ่นทรัพย์  หัวข้อรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการวางวางแผนเกษียณ ยอดรับชม 1,168 คน5. คุณรชฎ ภวจันทร์รัศมี     หัวข้อประกันคืออะไร เจาะลึกแบบประกัน มีกี่แบบ แบบไหนบ้าง     1,078 คน5 อันดับ ยอดรับชมรวม สูงสุด เว็บไซค์ FA Station1. คุณนิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์      ยอดรวม 2,895 คน     1.1 หัวข้อ แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุน และ การวางแผนการลงทุน     1.2 หัวข้อ ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจลงทุน     1.3 หัวข้อ ตลาดการเงินและหลักทรัพย์ลงทุน     1.4 หัวข้อ ขายทะลุเป้าเมื่อขายแบบที่ปรึกษาทางการเงิน2. คุณวรยุทธ พิกุลสวัสดิ      ยอดรวม 2,505 คน     2.1 หัวข้อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน     2.2 หัวข้อ มูลค่าเงินตามเวลา     2.3 หัวข้อ การออมและการลงทุนเบื้องต้นสำหรับมือใหม่หัดลงทุน3. คุณปิยมล วงค์เทียนชัย      ยอดรวม 2,1535 คน     3.1 หัวข้อ การวางแผน Long Term Health ด้วย Unit Linked     3.2 หัวข้อ การวางแผน Retirement ด้วย Unit linked     3.1 หัวข้อ การวางแผน Protection ด้วย Unit Linked 4. คุณรชฎ ภวจันทร์รัศมี      ยอดรวม 1,727 คน     4.1 หัวข้อ ประกันคืออะไร เจาะลึกแบบประกัน  มีกี่แบบ แบบไหนบ้าง     4.2 หัวข้อ เจาะลึกแบบประกันสะสมทรัพย์      4.3 หัวข้อ  เจาะลึกแบบประกันตลอดชีพ 5.ดร.ธามม วงศ์สรรคกร ดร.สุรวฒิ พัฒนบัณฑิต      ยอดรวม 1,639 คน     5.1 หัวข้อ แนวทางการนำเสนอลูกค้ารายใหญ่     5.2 หัวข้อ การยกระดับตนเองไปสู่การเป็นที่ปรึกษาทาง การเงินที่สมบูรณ์แบบยอดสมาชิกเว็บไซค์ FA Station 949 MEMBERSยอดคนโหลดใบใบประกาศนียบัตร 42 CERTIFICATEจำนวนคอร์เรียนทั้งหมด 49 TOTAL COURSE

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

“เหตุผล” ที่ต้องจัดการ ความเสี่ยงด้านการลงทุน

30/04/2024

คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงิน ผู้เขียน : Actuarial Business Solutions (ABS) ทฤษฎีของการลงทุนนั้น สามารถตีความหมายออกเป็นคำพูดง่าย ๆ ว่าความเสี่ยงในการลงทุนก็คือ การที่ “อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนนั้นจะได้รับจริง (actual return)” ได้คลาดเคลื่อน, เบี่ยงเบน หรือแตกต่างไปจาก อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนนั้นคาดหวังว่าจะได้รับ (expected return) ฉะนั้น ไม่ว่าผู้ลงทุนจะขาดทุน หรือได้กำไร ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งนั้น เพราะความคลาดเคลื่อนนี้จะทำให้ผู้ลงทุนนั้นวางแผนการลงทุนในอนาคตได้ยาก เช่น อาจจัดสรร หรือแบ่งเงินลงทุนมากเกินไป ในหลักทรัพย์ที่มี expected return สูง แต่กลับมี actual return ต่ำ ในขณะเดียวกัน กลับจัดสรรเงินไปลงทุน “น้อยไป” ในหลักทรัพย์ที่มี expected return ต่ำ แต่กลับมี actual return สูง และอาจส่งผลให้ผลตอบแทนรวม (total return) ที่ผู้ลงทุนควรจะได้รับน้อยกว่าที่ควร ผู้ลงทุนที่ชาญฉลาดจึงควรจะได้รู้จักกับ “ความเสี่ยง” ในการลงทุน เพื่อที่จะได้วางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ความเสี่ยงน้อย หมายความว่า การคาดการณ์ expected return จากการลงทุนน่าจะมีความผิดพลาดน้อย” “ความเสี่ยงมาก หมายความว่า การคาดการณ์ expected return จากการลงทุนอาจจะผิดพลาดได้มาก” ความสัมพันธ์ของความเสี่ยง และผลตอบแทนจากการลงทุน ระดับผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินใด ๆ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับความเสี่ยง กล่าวคือ หากระดับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้น ระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนพึงแบกรับจากการลงทุนนั้นจะสูงขึ้นด้วยเสมอ หลายคนคงเคยได้ยินอยู่แล้วว่า “high risk high return” ทำให้บางคนไปตีความหมายผิด ๆ ว่าถ้ายิ่งลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงก็จะยิ่งได้อัตราผลตอบแทนสูง โดยเราจะย้ำอยู่เสมอว่า – การลงทุนใดที่ให้ผลตอบแทนสูง มักจะมีระดับความเสี่ยงที่สูงด้วยเช่นกัน – แต่การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ก็ไม่จำเป็นว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงเสมอไป ถ้าหากผู้ลงทุนนั้นไม่มีความรู้ ความสามารถในการลงทุน หรือไม่มีดุลพินิจที่ดีพอ และไม่มีความรอบคอบเพียงพอในการเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุนที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของตน นอกจากความสัมพันธ์ของความเสี่ยง และผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว สิ่งที่น่ารู้ต่อไปคือ ความเสี่ยงในการลงทุนมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประเภทคือ 1. ความเสี่ยงที่เกิดจาก “ปัจจัยมหภาค (macrofactors)” ได้แก่ systematic risk เป็นความเสี่ยงที่เป็นระบบ มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาดทุนโดยรวม จึงเป็นความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนไม่อาจขจัดให้หมดไปจากการลงทุนนั้นได้ คือถ้าตลาดโดยรวมมีสภาพที่ย่ำแย่ หรือเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้น ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ 2. ความเสี่ยงที่เกิดจาก “ปัจจัยจุลภาค (microfactors)” ได้แก่ unsystematic risk หรือความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ หรือความเสี่ยงเฉพาะตัว ที่เมี่อเกิดขึ้นแล้วจะกระทบหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถขจัด หรือลดความเสี่ยงประเภทนี้ได้ โดยการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หลายตัวที่พิจารณาคัดเลือกอย่างถ้วนถี่แล้ว หากผู้ลงทุนได้กระจายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างหลักทรัพย์ในจำนวนที่มากขึ้น ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (unsystematic risk) จะลดต่ำลงตามลำดับ เพราะความเสี่ยงของแต่ละหลักทรัพย์ที่ต่างกันจะชดเชยกันเอง ทำให้ระดับความเสี่ยงรวม (total risk) ของกลุ่มหลักทรัพย์ (portfolio) ที่ลงทุนลดต่ำลงตามลำดับเช่นกัน ในที่สุดแล้วความเสี่ยงที่กระทบกลุ่มหลักทรัพย์ที่ลงทุน ก็จะคงเหลือแต่ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (systematic risk) เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เราจึงได้ยินคนพูดกันบ่อย ๆ ว่าการกระจายความเสี่ยง (diversification) นั้นเป็นสิ่งที่ดี ถ้าทำได้ถูกต้องก็เหมือนสิ่งที่ช่วยลดต้นทุนในการจัดการความเสี่ยงได้ จนมีคนว่ากันว่า การกระจายความเสี่ยงนั้นก็เหมือนของฟรี (หรือ free lunch) ที่นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน หรือรายบุคคลนั้น ต่างต้องทำ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1415358

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ทำไงดี ป่วยหนัก แฟกซ์เคลมไม่ผ่าน ถูกสืบประวัติ แล้วยังไม่มีเงินก้อนจ่าย

30/04/2024

“บรรยง วิทยวีรศักดิ์” กูรูวงการการเงินและประกันภัย วิเคราะห์เหตุการณ์ ป่วยหนัก แฟกซ์เคลมไม่ผ่าน ถูกสืบประวัติ แล้วยังไม่มีเงินก้อนจ่าย ทำอย่างไรดี ?วันที่ 23 ตุลาคม 2566 นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการการเงินและประกันภัย และอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชีย-แปซิฟิก (APFinSA) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุข้อความว่า ข่าวอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังถูกปฏิเสธแฟกซ์เคลม ได้รับการชี้แจงแล้วว่ามีที่ไปที่มาเป็นอย่างไร แต่เริ่มมีกระแสสังคมส่วนหนึ่ง สอบถามถึงกรณีที่ลูกค้าซื้อประกันสุขภาพเอาไว้แล้วป่วยเป็นโรคร้ายแรง แต่แฟกซ์เคลมไม่ผ่าน เพราะบริษัทประกันชีวิตขอตรวจสอบประวัติสุขภาพก่อน แล้วลูกค้าจะทำอย่างไรดีเราคงไม่เถียงว่ามีโฆษณาจากบริษัทประกันชีวิตแทบทุกแห่ง ออกไปทำนองที่ว่าทำประกันสุขภาพกับเรา หากเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ไม่ต้องควักเงินสดจ่าย ใช้บริการแฟกซ์เคลมได้ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมโดยตรงไปที่โรงพยาบาล แต่ในความเป็นจริงมันไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ผมทราบจากผู้จัดการฝ่ายสินไหมของบริษัทแห่งหนึ่งว่า ลูกค้าที่มีประกันสุขภาพ และยื่นแฟกซ์เคลมที่โรงพยาบาล โดยเฉลี่ยลูกค้าทุก 100 ราย จะมี 5-6 ราย ที่ถูกปฏิเสธการให้บริการแฟกซ์เคลม เพราะป่วยด้วยโรค หรืออาการที่บริษัทสงสัยว่าเป็นมาก่อนการทำประกันนั่นหมายความว่า ในทุกวันต้องมีลูกค้า 5-6% ที่ใช้แฟกซ์เคลมไม่ผ่าน มีทั้งประวัติการรักษาคลุมเครือ แพทย์เขียนใบเคลมไม่ครบถ้วน หรือไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ ถึงแม้คนส่วนใหญ่ถึง 95% จะใช้แฟกซ์เคลมได้ แต่สำหรับคนที่โดนปฏิเสธ การที่ต้องวิ่งหาเงินหลายหมื่นหรือหลายแสนมาจ่ายค่ารักษานั้น มันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคนก่อนอื่นเรามาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้าง ที่หากป่วยใน 2 ปีแรกแล้ว บริษัทมักจะสืบก่อนเสมอ เพราะมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจจะเป็นมาก่อน เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง วัณโรค โรคเข่าเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือโรคต้อชนิดต่าง ๆ เป็นต้นเหตุผลคือ โรคเหล่านี้มักมีระยะเวลาก่อเกิด จึงมีเหตุอันควรสงสัยว่าลูกค้าอาจจะเป็นมาก่อน แล้วมาสมัครทำประกันชีวิต เพราะทำไม่นานก็ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ บริษัทจึงต้องขอตรวจสอบประวัติการรักษาก่อน แต่ถ้าตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการไปพบแพทย์ในเรื่องเหล่านี้ บริษัทก็ต้องรับผิดชอบจ่ายสินไหมไปตามปกติระยะเวลาที่เป็นตัววัดสำคัญ (benchmark) โดยทั่วไปคือ 2 ปี เพราะบริษัทเชื่อว่าการป่วยหนักแบบนี้ ลูกค้าคงไม่ปกปิดแล้วรอถึง 2 ปีค่อยมารักษา อย่างไรก็ดี ต้องเข้าใจว่าสัญญาเพิ่มเติม เช่น ประกันสุขภาพที่แนบกับสัญญาประกันชีวิตนั้น หากมีการปกปิดข้อเท็จจริง บริษัทสามารถยกเลิกได้ตลอดเวลาถึงแม้กรมธรรม์ประกันสุขภาพของเราจะมีอายุ 2 ปีขึ้นไปแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปบริษัทมักจะไม่เข้มงวดในการขอตรวจสอบประวัติการรักษาแล้ว แต่ถ้าในใบเรียกร้องสินไหมที่แพทย์เขียนมา มีระบุไว้ชัดเจนว่า เราเคยรักษาโรคนี้มาก่อนการทำประกัน ก็เป็นเหตุให้บริษัทขอตรวจสอบประวัติการรักษาได้เช่นกันสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่เพียงแต่บริษัทจะปฏิเสธไม่ให้เราใช้บริการแฟกซ์เคลม เพราะต้องขอตรวจสอบประวัติการรักษาก่อน ยังอาจเป็นเหตุให้บริษัทบอกล้างสัญญา เฉพาะในส่วนค่ารักษาพยาบาลได้ ถ้าพบว่าเราปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพ แต่สัญญาหลักคือประกันชีวิต หลัง 2 ปีไปแล้ว บริษัทไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ต่อให้บริษัทพบว่าลูกค้าปกปิดข้อเท็จจริง ก็หมดสิทธิในการบอกล้างสัญญาประเด็นที่ผู้คนสงสัยกันคือ ถ้าผู้สมัครเอาประกันชีวิตมีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่ได้ปกปิดข้อเท็จจริง แต่ถูกบริษัทตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเป็นมาก่อน เลยขอเวลาในการตรวจสอบประวัติการรักษา ผู้เอาประกันภัยก็ไม่ควรถูกลงโทษด้วยการต้องออกค่ารักษาพยาบาลไปก่อนอย่างที่เคยเขียนไว้ว่า บริการแฟกซ์เคลม หรือการไม่ต้องควักเงินสดจ่ายโรงพยาบาลก่อนนั้น เป็นบริการเสริม หากบริษัทประกันชีวิตสงสัยว่าเราอาจจะเคยไปตรวจเจอมาก่อน เขามีสิทธิที่จะไม่ให้บริการเสริมนี้ได้ ไม่ได้เป็นการลงโทษ แต่ไม่ให้สิทธิพิเศษ ลูกค้าจ่ายเงินไปก่อนแล้วค่อยมาเบิกกับบริษัทภายหลังแล้วลูกค้าจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย ถ้ามันเป็นเงินหลายแสนบาทผมได้คุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการวางแผนค่ารักษาพยาบาล เธอได้เสนอแนวทางเลือกไว้หลายช่องทาง ดังนี้1. หากเพิ่งทำประกันสุขภาพไปไม่นาน แล้วตรวจพบว่ามีความผิดปกติและต้องใช้วิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ให้ทำเรื่อง Pre-authorization หรือ Pre approve ขออนุมัติวงเงินค่ารักษาพยาบาลก่อน โดยแพทย์ผู้รักษาจะแจ้งว่าต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดหรือรักษาเท่าไหร่ เราก็แจ้งวงเงินนั้นกับบริษัทประกันชีวิต เพื่อขอให้อนุมัติวงเงินการรักษาก่อน โดยทั่วไปขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 2-3 วัน2. ในกรณีที่อาการป่วยนั้นเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และไม่สามารถรออนุมัติจากบริษัทประกันชีวิตได้ทัน ลูกค้าต้องตัดสินใจว่าจะเข้ารักษาที่ไหน เพราะถ้าโรคที่เราป่วยมีเหตุอันควรสงสัยว่าน่าจะเป็นมาก่อน บริษัทประกันชีวิตต้องขอสืบประวัติแน่นอน การรักษาในโรงพยาบาลที่ราคาย่อมเยาลงมา ให้สอดคล้องกับเงินในกระเป๋าเรา ก็เป็นทางออกได้ทางหนึ่ง3. ถึงแม้โรคที่เราจะเข้ารักษานั้น มีโอกาสที่จะถูกตรวจสอบประวัติได้มาก แต่ถ้าในระหว่างที่รักษา แล้วเราให้ตัวแทนหรือญาติพี่น้องรีบขอประวัติการรักษาที่มีทั้งหมด ส่งให้บริษัทประกันชีวิต เพื่อยืนยันว่าเราไม่เคยมีอาการหรือการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้มาก่อน ก็ทำให้บริษัทสามารถอนุมัติสินไหมได้เร็วขึ้นได้4. หากบริษัทประกันชีวิตยังอนุมัติให้ไม่ทัน ให้ดูว่าวงเงินบัตรเครดิตหรือเงินสดที่เรามีเพียงพอที่จะจ่ายหรือเปล่า ถ้าเพียงพอก็ต้องใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จและใบเรียกร้องสินไหมมาเรียกร้องกับบริษัท (ผ่านตัวแทนประกันชีวิต) ตามขั้นตอนปกติ โดยทั่วไป จะใช้เวลาในการพิจารณา 2 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่ต้องมีการขอประวัติ อาจจะใช้เวลายาวนานกว่านั้น แต่กฎหมายกำหนดไว้ว่าไม่เกิน 90 วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ถึง 90 วัน5. ถ้าวงเงินบัตรเครดิตหรือเงินสดที่เรามีอยู่นั้นไม่พอ ก็ต้องคุยกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ขอเซ็นสัญญารับสภาพหนี้จากโรงพยาบาล แล้วรอบริษัทประกันอนุมัติไม่เกิน 90 วัน พอเงินเข้ามา เราค่อยโอนจ่ายโรงพยาบาลอีกที หรือจะขอผ่อนชำระไปก่อน ในระหว่างที่รอผลการเรียกร้องสินไหม โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีช่องทางนี้ครับ เพื่อรับมือกับลูกค้าที่ไม่สามารถจ่ายได้จริง ๆผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า โรงพยาบาลหลายแห่งก็เป็นนกรู้ ถ้าเขาสังเกตว่าโรคที่เรารักษาอาจมีเหตุสงสัยว่าน่าจะมีระยะก่อเกิด และเราเพิ่งซื้อประกันสุขภาพมา เขามักจะขอให้เราวางเงินมัดจำก่อนการรักษาเสมอ เพราะเขาไม่แน่ใจว่าจะใช้แฟกซ์เคลมได้หรือไม่และจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ ท่านบอกว่า ส่วนใหญ่ที่แฟกซ์เคลมไม่ผ่าน ก็เกิดจากผู้เอาประกันไปบอกหมอเองว่าเคยไปรักษาที่ไหนมาก่อน หรือเคยป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ คุณหมอก็เลยบันทึกลงไปตามที่คนไข้บอก เลยเป็นประเด็นให้บริษัทประกันชีวิตสงสัยว่าลูกค้าเป็นโรคนี้ก่อนการทำประกันสุขภาพเธอยังบอกว่า ถ้ามองในแง่ดี การที่บริษัทประกันชีวิตเข้มงวด ตรวจสอบการเรียกร้องสินไหม ความจริงเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในระยะยาว เพราะหากบริษัทประกันภัยจ่ายสินไหมค่ารักษาพยาบาลง่ายเกินไป ทั้งที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขในกรมธรรม์ ก็อาจเป็นเหตุให้บริษัทมีต้นทุนสูง และจะกลายเป็นฐานในการคิดเบี้ยประกันสุขภาพรุ่นใหม่ ๆ ในอนาคตท่านทั้งหลายครับ เมื่อประมวลประเด็นปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นแล้ว จะสังเกตว่ามันไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ถ้าเราจะป้องกันปัญหาล่วงหน้า ด้วยการให้ลูกค้าตรวจสุขภาพโดยละเอียดทั้งหมด มันคงใช้เงินเป็นแสนบาทต่อคน ตั้งแต่การเอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ ส่องกล้อง MRI มีสารพัดเทคนิคใหม่ ๆ ในการตรวจอวัยวะแต่ละอย่าง ซึ่งยุ่งยากและไม่คุ้มค่าในการดำเนินการและถ้าจะให้ไปเช็กประวัติจากโรงพยาบาลทั่วประเทศล่วงหน้า ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าผู้สมัครเอาประกันภัยเคยไปรักษาที่ไหนบ้าง จึงเป็นที่มาว่า ต้องใช้ความซื่อสัตย์ต่อกันตั้งแต่แรก และนี่ก็เป็นหลักการที่ใช้กันทั่วโลก เท่าที่ทราบ อัตราส่วนการปฏิเสธไม่ให้ใช้แฟกซ์เคลมของไทยเรา ก็ไม่ได้สูงกว่าประเทศอื่น ๆ สิ่งที่ต้องทำคือ ลดความคาดหวังของผู้ซื้อประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต หรือผู้ขายต้องไม่พูดเกินเลยความเป็นจริงเวลาพูดถึงบริการแฟกซ์เคลม ต้องมีหมายเหตุไว้เสมอว่า ใน 2 ปีแรก หากป่วยด้วยโรคที่มีระยะก่อเกิด อาจจะต้องออกเงินค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วมาเรียกร้องสินไหมภายหลัง ถ้าเราไม่ได้ปกปิดข้อเท็จจริง ขอให้มั่นใจว่าเบิกค่าสินไหมได้แน่นอนประกันสุขภาพอาจจะไม่ใช่มนต์วิเศษที่แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง แต่ก็ช่วยแบ่งเบาภาระของเราไปได้มาก เหมือนกับคำพูดที่ว่า มือไม่อาจปิดฟ้าได้ แต่ปิดดวงตาได้ ประกันสุขภาพก็เช่นกัน มันไม่สามารถชดเชยความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ แต่มันช่วยแบ่งเบาภาระและช่วยเยียวยาให้เราลุกขึ้นสู้ใหม่ได้ขอเพียงเราซื่อสัตย์ต่อกัน ไว้ใจกัน และปล่อยให้ระบบนี้ทำหน้าที่ของมัน ดั่งที่นานาประเทศได้รับประโยชน์จากระบบการประกันสุขภาพนี้ครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1421386

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาษี

สถาบันในอียูเสนอเก็บภาษีอภิมหาเศรษฐีทั่วโลก เพิ่มรายได้หลักแสนล้านดอลล์

30/04/2024

รายงานฉบับล่าสุดที่จัดทำโดยสถาบันคลังสมองของสหภาพยุโรป (อียู) เสนอแหล่งรายได้ใหม่สำหรับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ นั่นก็คือ การเก็บภาษีบรรดามหาเศรษฐีระดับพันล้านที่มีอยู่ทั่วโลก จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ รายงานของ สถาบัน EU Tax Observatory ที่มีชื่อหัวข้อว่า 2024 Global Tax Evasion Report ชี้ว่า รัฐบาลทั่วโลกควรร่วมมือกันป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี และจัดทำอัตราภาษีขั้นต่ำสากลสำหรับมหาเศรษฐีพันล้าน(ดอลลาร์)ขึ้นไป ซึ่งคาดว่าด้วยวิธีการนี้จะช่วยสร้างเงินรายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านดอลลาร์ทั่วโลกในแต่ละปี อัตราภาษีใหม่นี้คำนวณจากสัดส่วนราว 2% ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดเกือบ 13 ล้านล้านดอลลาร์ของมหาเศรษฐีพันล้านทั่วโลกจำนวนประมาณ 2,700 คน ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากแก่รัฐบาลต่าง ๆ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างอิงรายงานชิ้นนี้ว่า ที่ผ่านมามหาเศรษฐีพันล้านมักเสียภาษีในอัตราต่ำกว่าประชาชนทั่วไป เนื่องจากคนรวยเหล่านั้นมีช่องทางเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถนำเงินไปเก็บไว้กับบริษัทตัวแทน หรือในบัญชีในต่างประเทศ เพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษีในประเทศของตัวเอง ทั้งนี้ สถาบัน EU Tax Observatory ระบุว่า ปัจจุบันอัตราภาษีที่บรรดามหาเศรษฐีต้องจ่ายนั้นอยู่ที่ระดับประมาณ 0.5% ในสหรัฐอเมริกา และเกือบ 0% ในฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐบาลหลายประเทศพยายามหาวิธีเก็บภาษีคนร่ำรวยเพิ่มขึ้น เช่นกรณีของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เสนอเก็บภาษีขั้นต่ำ 25% สำหรับคนอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุด 0.01% แรก แต่คาดว่าข้อเสนอดังกล่าวจะไม่ผ่านความเห็นชอบของจากสภาคองเกรส สำนักข่าววีโอเอ สื่อใหญ่ของสหรัฐรายงานว่า สองปีที่ผ่านมา (2021) นายรอน ไวเดน ประธานกรรมาธิการด้านการเงินวุฒิสภาสหรัฐ สังกัดพรรคเดโมแครต ได้นำเสนอแผนนโยบายจัดเก็บภาษีจากผู้มีฐานะร่ำรวยระดับอภิมหาเศรษฐีในสหรัฐ เพื่อหวังนำรายได้มาช่วยสนับสนุนร่างกฎหมายพัฒนาสังคมและแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงของประธานาธิบดี โจ ไบเดน โดยแผนดังกล่าวซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “ภาษีสำหรับอภิมหาเศรษฐี” เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านนิติบัญญัติแบบคู่ขนาน ที่รวมถึง ข้อเสนอการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำที่อัตรา 15% สำหรับบริษัทสัญชาติอเมริกันที่ทำกำไรได้เป็นอันดับต้นๆ ข้อเสนอกฎหมายภาษีทั้งสองนี้ มีจุดประสงค์เพื่อมาช่วยอุดช่องว่างการหลบเลี่ยงภาษีของภาคธุรกิจและผู้มีฐานะร่ำรวยทั้งหลาย ทั้งยังจะช่วยให้รัฐบาลสหรัฐ สามารถจัดเก็บรายได้เป็นมูลค่านับแสนล้านดอลลาร์ ซึ่งสามารถนำมาใช้สนับสนุนกฎหมาย “Build Back Better” ของ ปธน.ไบเดน ที่เคยมีการประเมินว่าจะต้องใช้เงินราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ แม้ว่า ทำเนียบขาวจะแสดงจุดยืนสนับสนุนการตั้งอัตราขั้นต่ำภาษีนิติบุคคล ที่จะนำมาใช้งานประกบแผนจัดเก็บภาษีนิติบุคคลทั่วโลก ที่รัฐบาลจาก 136 ประเทศเพิ่งตกลงรับมาดำเนินการเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งตั้งเป้าไปที่บรรดาธุรกิจข้ามชาติต่างๆ ที่ไม่ได้จ่ายภาษี หรือจ่ายภาษีเพียงน้อยนิดด้วยการอาศัยช่องโหว่ของระบบภาษีสากล แต่กระนั้นก็ตาม “ภาษีสำหรับอภิมหาเศรษฐี” ยังคงได้รับการคัดค้านจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเดโมแครต ที่ต้องการเห็นการปรับขึ้นภาษีแบบตรงไปตรงมา สำหรับทั้งภาคธุรกิจและผู้มีฐานะร่ำรวย เพื่อนำรายได้มาสนับสนุนวาระนโยบายของปธน.ไบเดน มากกว่า ทั้งนี้ ในระดับทั่วโลก เมื่อปี 2021 ผู้แทนจาก 140 ประเทศบรรลุข้อตกลงกำหนดภาษีขั้นต่ำ 15% สำหรับบริษัทต่าง ๆ เพื่อจำกัดความสามารถของบรรดาบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ใช้วิธีโยกย้ายผลประกอบการไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง นายเกเบรียล ซัคแมน นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้อำนวยการของสถาบัน EU Tax Observatory กล่าวให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า "สิ่งที่คนจำนวนมากมองว่าเป็นไปไม่ได้ อาจสามารถกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้" โดยขั้นต่อไป คือการนำแนวคิดนี้ไปใช้กับมหาเศรษฐีในประเทศต่าง ๆ ไม่ใช่แค่กับบริษัทข้ามชาติเท่านั้น แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับฐานเศรษฐกิจhttps://www.thansettakij.com/world/579408

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย เดินหน้าสนับสนุน สโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ดพร้อมร่วมงานเปิดฤดูกาลใหม่ 2023-2024

30/04/2024

เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นางสาวญดา วงศ์ทองคำ รองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารสิทธิพิเศษและกิจกรรม ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้สนับสนุนสโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ประจำฤดูกาล 2023/2024 อย่างเป็นทางการ โดยมีนายศุภสิน ลีลาฤทธิ์ รองประธานสโมสรฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ขึ้นกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุน รวมถึงพันธมิตรของสโมสรฯ พร้อมมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้บริหาร และตัวแทนผู้สนับสนุนสโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ด อย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมสร้างความสำเร็จและส่งเสริมด้านกีฬาฟุตบอลของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไปด้วยกัน สอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’ โดยงานจัดขึ้น ณ สนามบีจี สเตเดี้ยม เมื่อเร็ว ๆ นี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

"แก่ดีมีออม" เก็บเงินแบบไหนให้มีใช้จนวันตาย คนรุ่นใหม่ ระวังใช้จ่ายเกินตัว

30/04/2024

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปี 2566 มีประชากรอายุเกิน 60 ปี มากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป คนโสดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีลูกน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุในอนาคตมีแนวโน้มอยู่ตามลำพัง จะต้องพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ใครเคยคิดหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณเป็นผู้สูงอายุจะมีชีวิตการเป็นอยู่อย่างไร หากไม่มีเงินออมเพียงพอยังชีพ ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย เพราะเงินช่วยเหลือจากสวัสดิการของรัฐไม่น่าเพียงพอ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ หรือบางคนคิดว่าในช่วงอายุ 60-80 ปี ต้องมีเงินเก็บอย่างน้อย 2 ล้านบาท ก็น่าจะดูแลตัวเองได้ อาจจะไม่ใช่ในยุคนี้ ปรากฏการณ์ “แก่ไร้เงินออม” ในสังคมไทย และต้องพึ่งเบี้ยผู้สูงอายุจากรัฐบาลที่เป็นมาตรการเชิงรับใช้งบประมาณมหาศาลในการดูแล อาจไม่ใช่ทางออกในอนาคตอีกต่อไป และหนึ่งในทางออกจะต้องส่งเสริมให้คนไทยด้วยมาตรการเชิงรุก “แก่ดีมีออม” ดูแลตนเองได้ยามเกษียณ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มจะอายุยืนมากขึ้น จะได้ไม่ประสบปัญหา “แก่ไปไร้เงินออม” แบบเดียวกับคนแก่ในปัจจุบันอคติพฤติกรรมคน อุปสรรคออมเงิน ไม่พอใช้ตอนแก่ จากข้อเสนอของ “วราวิชญ์ โปตระนันทน์” นักวิจัยนโยบายด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เพราะประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม เป็นความเปราะบางมากๆ ในสังคมไทย จึงต้องหามาตรการเชิงรุกในการออมเงินในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต และที่น่าตกใจจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างคนรุ่นใหม่อายุ 20-40 ปี ในปี 2563 จำนวน 1,043 คน พบว่า 30% ไม่คิดวางแผนหรือไม่ลงมือทำในการออมเงิน เมื่อรวมคนที่ไม่ทำเลยพบว่า 84% ไม่มีเงินเพียงพอตอนเกษียณ จึงหามาตรการควรทำอย่างไรจากการศึกษามานาน ทั้งเรื่องรายได้ การเข้าถึงช่องทางการออม หรือความรู้ทางการเงินของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน พบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่มีระดับรายได้และความรู้เพียงพอสูงกว่าคนรุ่นเก่า แต่กลับมีอคติเชิงพฤติกรรมด้านจิตวิทยาก่อให้เกิดความเปราะบางทางการเงิน จนส่งผลต่อการออมเงิน อคติเชิงพฤติกรรมของกลุ่มคนรุ่นใหม่มีอย่างน้อย 4 ประเภท ทำให้ไม่พร้อมทางการเงินยามเกษียณ 1. อคติโลกแคบ มองแบบสั้นๆ แคบๆ มองไม่ถึงว่าภาพอนาคตจะเป็นอย่างไร 2. อคติชอบปัจจุบัน อาจรู้อยู่แล้วต้องใช้เงินในยามเกษียณ แต่มีสิ่งล่อตาล่อใจใช้จ่ายเกินตัว เพื่อความสุขในวันนี้ 3. อคติละเลยอัตราทบต้น ออมน้อย กู้เยอะละเลยดอกเบี้ยทบต้นที่สามารถทำให้ผลประโยชน์ในตอนท้ายสูง หากออมต่อเนื่องนานๆ และ 4. อคติยึดติดสภาวะปัจจุบัน ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงยึดติดกับเงินออมในธนาคาร ไม่ลงทุนในสิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคยแม้จะได้ผลตอบแทนมากกว่ามาตรการกระตุ้นการออม ให้ถูกจุดกับพฤติกรรมคน จากการทบทวนงานวิจัยในอดีตหลายชิ้นในช่วง 2 ปีพบว่ามีมาตรการคาดว่าจะส่งเสริมการออมโดยใช้ประโยชน์จากอคติเชิงพฤติกรรม 1. สะกิดด้วยข้อมูล ให้เห็นความสำคัญของการออมอย่างต่อเนื่องยาวนานทำให้เงินเติบโตขึ้นมหาศาลจากอัตราดอกเบี้ยทบต้น 2. การตั้งอัตราการออมเริ่มต้น เสนอว่าควรจะออมกี่เปอร์เซ็นต์ต่อรายได้ต่อเดือน ให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในยามเกษียณ ไม่ต้องคิดวิเคราะห์ 3. การออมแบบกึ่งบังคับ ให้ออมเงินในอัตราที่กำหนดต่อเดือน หรือ 20% แต่สามารถเลือกได้อาจไม่ออมในอัตรานั้นก็ได้ เป็นการแก้ไขอคติโลกแคบสำหรับคนที่คิดมาก เพื่อให้เกิดการออมโดยไม่รู้ตัว และ 4. การออมผ่านการใช้จ่ายหรือการหักเงินมาออมทุกครั้งที่มีการใช้จ่าย เพราะคนเข้าใจว่ามีรายได้ก็ต้องใช้จ่ายในการซื้อของ เช่น ถ้าซื้อสินค้าราคา 95 บาท แต่หักเงินเป็น 100 บาท โดยเศษเงินส่วนเกิน 5 บาทจะโอนเข้าบัญชีออม โดยธนาคารบางแห่งในไทยเริ่มใช้มาตรการลักษณะนี้แล้วและพบว่าได้ผลพอควรโดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุไม่มาก เมื่อใช้จ่ายทุกวันก็มีเงินออมทุกคนอย่างสุภาษิตที่ว่า “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท”ที่ผ่านมามีการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างในวัยทำงานด้วยการเล่นเกมจัดสรรเงินบนคอมพิวเตอร์ ว่ามีรายได้ต่อเดือนจะจัดสรรการใช้จ่ายกี่บาท ภายใต้มาตรการเหล่านี้ และเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้มาตรการ ซึ่งผลปรากฏว่ามี 2 มาตรการในการตั้งอัตราการออมเริ่มต้น และการออมกึ่งบังคับ ได้ผลดีโดยเฉพาะกับกลุ่มที่ขาดวินัยทางการเงินมากๆ หากไม่กระตุ้นไม่บังคับจะปล่อยผ่าน จนสุดท้ายทำให้รู้ว่าทำไมเก็บออมได้ ซึ่งในไทยมีอยู่บ้างในบริษัทเอกชน แต่กลุ่มแรงงานนอกระบบ 20 ล้านคน มีเพียง 50% เข้าถึงประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40 จากอคติเชิงพฤติกรรม หากนำมาตรการเหล่านี้มาใช้น่าจะทำให้แรงงานนอกระบบสามารถออมเงินได้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพอิสระมีรายได้ไม่แน่นอน ในการใช้มาตรการออมกึ่งบังคับ ขณะที่การสะกิดด้วยข้อมูล ได้ผลสำหรับผู้อยู่ในระบบประกันสังคม มีรายได้ประจำและมีความพร้อมในการออม อาจต้องใช้ข้อความสะกิดที่หลากหลาย อธิบายประโยชน์ของการออมเรื่องการได้รับดอกเบี้ย ส่วนการออมผ่านการใช้จ่าย ได้ผลดีกับผู้มีรายได้น้อย ออมน้อย และคนรุ่นใหม่ที่ใช้จ่ายเป็นประจำ เนื่องจากการออมผ่านการปัดเศษในขณะใช้จ่าย เจ้าตัวไม่ต้องชั่งใจมากนักว่าจะออมหรือไม่ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เป็น “ดาบสองคม” ไปเพิ่มความชะล่าใจในการใช้จ่ายอย่างเต็มที่ เพราะรู้สึกว่ามีการออมทุกการใช้จ่ายอยู่แล้ว และการออมลักษณะนี้อาจจะไม่มากพอสำหรับการเกษียณ แต่ช่วยเปิดประตูให้คนรุ่นใหม่เริ่มต้นการออมเท่านั้น“แก่ดีมีออม” ให้มีคุณภาพและศักดิ์ศรี ไม่ต้องพึ่งพารัฐ มาตรการส่งเสริมการออมจะต้องมีการออกแบบระบบบัญชี เพื่อการเกษียณส่วนบุคคล ให้รู้ว่าออมเงินแล้วไปไหนสำหรับแรงงานในระบบ และควรมีลักษณะพิเศษไม่สามารถถอนได้ง่ายเท่ากับบัญชีปกติ อาจรวมถึงข้อมูลสินทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน หลักทรัพย์ น่าจะได้ผลในการยกระดับสำนึกต่อการออม และน่าจะกระตุ้นให้ผู้ออมอยากเพิ่มการออมของตนเองให้เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ ข้อเสนอเหล่านี้คาดหวังจะได้รับการพิจารณาจากภาครัฐในการกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการออม และภาคเอกชนต้องปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อกระตุ้นจูงใจในการออม เป็นจุดเริ่มต้นในการเตรียมการไปสู่ “แก่ดีมีออม” ของประชากรไทย เพื่อยกระดับชีวิตท่ามกลางสังคมอายุยืนให้มีคุณภาพและศักดิ์ศรี ไม่ต้องพึ่งพารัฐ เพราะทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ต้องมองให้ยาวถึงวันตาย และทุกหน่วยงานจะต้องทำอย่างไรให้คนหลุดพ้นจากการก่อหนี้และมีรายได้เสริม เพื่อจะได้มีเงินออม “ในวัยเกษียณต้องมีเงินอย่างน้อย 7.5 ล้านบาท แต่บางคนมองว่ามี 1-2 ล้านบาทก็พอ เพราะมีทรัพย์สิน บ้านที่ดินแล้ว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ หรือคนออมทองไม่ใช่ไม่ดี ควรไปลงทุนอย่างอื่นด้วย อย่ากลัวจากอคติ และแรงงานนอกระบบหากพัฒนาด้านทักษะ ก็สามารถเป็นแรงงานในระบบได้ อย่าหวังจากการซื้อหวย ก็เป็นการใช้จ่ายอยู่ดี เปอร์เซ็นต์ถูกรางวัลก็น้อยมาก เป็นอีกสาเหตุทำให้ไม่ออมเงิน อย่ารอให้เกิดปัญหา จะต้องแก้สมการให้ได้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ปรับทัศนคติในการออมเงิน จะได้ไม่ลำบากในวัยเกษียณ”.แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับไทยรัฐออนไลน์https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2732701

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X