Everyday knowledge for you
ประกันชีวิต
30/04/2024
เมื่ออายุมากขึ้น ความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ก็มากขึ้นตาม สุขภาพอาจส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบของโรคร้าย การทำ “ประกันโรคร้ายแรง” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สามารถเพิ่มความอุ่นใจเรื่องค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพได้ แต่ก่อนที่จะเลือกประกันสุขภาพโรคร้ายแรงกับบริษัทใดก็ตาม วันนี้ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ 3 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับประกันประเภทนี้ที่หลายคนมองข้ามไป แต่จะมีอะไรบ้าง ตามมาเช็กรายละเอียดได้เลยเรื่องควรรู้ที่ 1 : ความคุ้มครองเมื่อพูดถึงการทำ “ประกันโรคร้ายแรง” แล้ว คนส่วนใหญ่มักมีข้อสงสัยเรื่องความจำเป็นในการทำประกันโรคร้ายแรง รวมถึงความคุ้มครองเพิ่มเติมที่จะได้รับ ซึ่งการจะตอบข้อสงสัยในส่วนนี้ได้อย่างชัดเจน เราจะขออธิบายรายละเอียดเป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้1. หากมี “ประกันสุขภาพ” อยู่แล้ว...ยังจำเป็นต้องทำประกันโรคร้ายแรงหรือไม่?หลายคนมองว่า “ประกันโรคร้ายแรง” เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย เพราะเชื่อว่า “ประกันสุขภาพ” เพียงอย่างเดียวสามารถครอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ อีกทั้งในปัจจุบันบริษัทประกันหลายๆ แห่งออกผลิตภัณฑ์ประกันเฉพาะโรคอยู่แล้ว ประกันคุ้มครองโรคร้ายที่ครอบคลุมโรคร้ายแรงหลายๆ โรค ยิ่งไม่จำเป็นเข้าไปใหญ่ “แต่ในความเป็นจริงแล้ว ‘ประกันสุขภาพ’ นั้นไม่ได้ครอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายเมื่อป่วย เพราะส่วนใหญ่จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายแค่ในกรณีแอดมิท หรือหากมีการคุ้มครองแบบ OPD ด้วยก็มักจะมีวงเงินที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มเติม หรือหากเป็น ‘ประกันเฉพาะโรค’ ก็จะให้ความคุ้มครองเฉพาะโรคที่ระบุไว้เท่านั้น”อย่างไรก็ดี เวลาที่เปลี่ยนไปและอายุที่เพิ่มขึ้นก็นำพาโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ มาสู่ตัวเราได้ บางโรคอาจพัฒนาเป็น “โรคร้ายแรง” ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเครื่องมือพิเศษในการรักษา ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นานกว่า ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะอยู่ที่หลักแสนหรือหลักล้าน ซึ่งถือว่าสูงกว่าโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ อยู่มาก หลายๆ รายการไม่ได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล“ด้วยเหตุนี้ การทำ ‘ประกันโรคร้ายแรง’ จึงเข้ามาตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและการรักษาพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องนำเงินออมของตัวเองออกมาใช้จ่ายในการรักษา ลดผลกระทบที่จะเกิดกับสินทรัพย์ของเรา และลดโอกาสการเป็นหนี้ อีกทั้งประกันยังสามารถช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกโรงพยาบาลขณะรักษาตัว ทั้งค่าคนดูแล ค่าเดินทาง ค่าปรับปรุงบ้าน ไปจนถึงภาระหนี้สินต่างๆ ได้ ดังนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยวางแผนและเตรียมความพร้อมให้กับการรักษาโรคเท่านั้น แต่การทำประกันตัวนี้ยังช่วยวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย2. “ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง” ให้ความคุ้มครองโรคร้ายใดบ้างถึงจะมีเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่แตกต่างกันออกไป แต่ “โรคร้ายแรง” ในประกันคุ้มครองโรคร้ายแรงส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหลัก ประกอบไปด้วย 1. กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก เช่น มะเร็งระยะลุกลาม เนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง 2. กลุ่มโรคหัวใจ ระบบการหายใจ และระบบการไหลเวียนโลหิต เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ 3. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง และระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะโคม่า อัลไซเมอร์ 4. กลุ่มโรคอวัยวะและระบบการทำงานที่สำคัญของร่างกาย เช่น ไตวายเรื้อรัง 5. กลุ่มโรคภาวะติดเชื้อ การบาดเจ็บร้ายแรงและภาวะทุพพลภาพ เช่น แผลไหม้ เบาหวานขึ้นตา 6. กลุ่มโรคร้ายแรงสำหรับผู้เยาว์อายุไม่เกิน 16 ปี เช่น โรคคาวาซากิ และ โรคเบาหวานชนิดที่ 1“นอกจากนี้ ‘ประกันโรคร้ายแรง’ ยังให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรคร้าย ตลอดจนอายุและโรคประจำตัวของผู้เอาประกัน ดังนั้น อย่าลืมศึกษาและทำความเข้าใจเอกสารเสนอขาย เงื่อนไขกรมธรรม์ และรายละเอียดให้ครบถ้วนเพื่อเลือกประกันสุขภาพโรคร้ายแรงที่สามารถคุ้มครองค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม”เรื่องควรรู้ที่ 2 : ผลประโยชน์ทางภาษี“ประกันสุขภาพ” ไม่เพียงคุ้มครองกรณีโรคร้ายแรง แต่ยังได้ “ผลประโยชน์ทางภาษี” ด้วย โดย “ประกันโรคร้ายแรง” นั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มประกันสุขภาพที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี หรือตามเงื่อนไขทางภาษีในแต่ละปี ซึ่งเมื่อรวมเบี้ยประกันในส่วนนี้เข้ากับประกันสุขภาพตัวอื่นและประกันชีวิตแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยเราจะได้รับประโยชน์ทางภาษีก็ต่อเมื่อเราทำประกันกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้นเรื่องควรรู้ที่ 3 : เลือกกรมธรรม์ตามต้องการได้“ประกันโรคร้ายแรง” มาพร้อมกับกรมธรรม์ที่หลากหลาย ให้ความคุ้มครองแตกต่างกัน และมีรูปแบบการจ่ายเบี้ยที่เลือกได้ เช่น เบี้ยทิ้ง/เบี้ยไม่ทิ้ง เบี้ยเพิ่มขึ้น/เบี้ยคงที่ จ่ายทุกปีตลอดระยะเวลาคุ้มครอง/จ่ายสั้นคุ้มครองยาว ไม่มีมูลค่าเงินสด/มีมูลค่าเงินสด เป็นต้น โดยผู้เอาประกันสามารถเลือกพิจารณาให้เหมาะกับเงินเดือนและเงื่อนไขที่ตัวเองต้องการได้ นอกจากนี้แล้ว ผู้เอาประกันยังสามารถเลือกเงื่อนไขของค่าใช้จ่ายในการรักษาในประกันคุ้มครองโรคร้ายแรงได้เช่นกัน โดยจะแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ 1. แผนประกันแบบจ่ายเงินก้อน: ประกันจะจ่ายเงินเป็นก้อนให้ทันทีเมื่อตรวจพบเจอโรคร้ายแรง ทำให้ผู้เอาประกันมีเงินก้อนสำหรับรักษา และหากเหลือก็สามารถนำมาดูแลค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ได้ 2. แผนประกันแบบจ่ายวงเงินรักษา: หากผู้เอาประกันเลือกแผนประกันนี้ ประกันจะจ่ายวงเงินสำหรับการรักษาให้ โดยค่าใช้จ่ายนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง หรือตามระยะเวลาที่เข้ารับการรักษานั่นเอง“นอกเหนือจากรายละเอียดข้างต้นนี้ การเลือกทำ ‘ประกันโรคร้ายแรง’ ยังมาพร้อมกับเงื่อนไขอีกมากมายที่แตกต่างไปตามความต้องการของบุคคล ซึ่งสำหรับใครที่ต้องการเลือกประกันประเภทต่างๆ ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของตัวเองมากที่สุด ควรศึกษา รายละเอียดความคุ้มครองของกรมธรรม์ และสอบถามจากตัวแทนบริษัทประกัน หรือนักวางแผนทางการเงิน ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythaihttps://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/wealth-ez/12774
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ข้อมูลจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกประจำปี 2023 ของ นิตยสารฟอร์บส (Forbes) ซึ่งยึดข้อมูล ณ วันที่ 10 มีนาคม 2023 ทั่วโลกมีมหาเศรษฐีที่มั่งคั่งระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป (billionaire) อยู่จำนวน 2,640 คน เป็นพลเมืองของ 77 ประเทศ/เขตการปกครองทั่วโลก ในแง่จำนวนมหาเศรษฐีระดับพันล้าน (billionaire) ปี 2023 ทั่วโลกมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านลดลงจากปี 2022 ที่มี 2,668 คน ส่วนในแง่ “ที่มา” ของเหล่า billionaire เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ซึ่งมาจาก 75 ประเทศ/เขตการปกครอง โดยสองประเทศที่มีมหาเศรษฐีพันล้านรายใหม่ขึ้นมาที่ละ 1 คน ได้แก่ ปานามา และอาร์เมเนีย สหรัฐอเมริกา ยังครองตำแหน่งเป็นประเทศที่มีพลเมืองที่ร่ำรวยมากที่สุด ด้วยจำนวนมหาเศรษฐีพันล้าน 735 คน จำนวนคงที่เท่ากับในปี 2022 ถึงแม้ว่าชาวอเมริกันเกือบ 50 คน รวมถึงคานเย เวสต์ (Kanye West) และแซม แบงก์แมน-ฟรายด์ (Sam Bankman-Fried) ได้ร่วงลงจากการเป็นผู้มั่งคั่งระดับพันล้าน แต่ก็มีคนที่มั่งคั่งขึ้นถึงระดับพันล้านเป็นครั้งแรกในปีนี้เข้าไปทดแทนในลิสต์ รวมถึงนักกีฬาชื่อดัง เลบรอน เจมส์ (LeBron James) และไทเกอร์ วูดส์ (Tiger Woods) ในปีนี้สหรัฐไม่ใช่บ้านของบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลกแล้ว เพราะ เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ (Bernard Arnault) มหาเศรษฐีเจ้าของอาณาจักรสินค้าหรูชาวฝรั่งเศส ได้แซงหน้า อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ขึ้นเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกไปแล้ว ถึงอย่างนั้น อเมริกายังคงมีมหาเศรษฐีระดับ top 25 มากที่สุดจำนวน 17 จาก 25 คน โดยรวมแล้ว มหาเศรษฐีชาวอเมริกันมีความมั่งคั่งรวมกัน 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว เนื่องจากตลาดถดถอย การสะดุดของเหล่าสตาร์ทอัพระดับ “ยูนิคอร์น” (สตาร์ตอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงตามหลอกหลอนนักลงทุน ทำให้มีการลงทุนในบริษัทของมหาเศรษฐีเหล่านี้น้อยลง ประเทศจีน มีมหาเศรษฐีพันล้านมากเป็นอันดับ 2 ของโลก จำนวน 495 คน (ไม่รวมชาวฮ่องกงและมาเก๊า) มีทรัพย์สินรวมกัน 1.67 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีจีนในภาพรวมตกต่ำลงเช่นกัน โดยจำนวนมหาเศรษฐีพันล้านลดลงจากเมื่อปี 2022 ที่มี 539 คน กับความมั่งคั่งรวม 1.96 ล้านล้านดอลลาร์ ปัจจัยลบของจีนที่ทำให้ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีลดลงมีหลายปัจจัย ทั้งนโยบาย Zero-COVID ที่ใช้เกือบตลอดทั้งปี 2022 ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจลดลงและกระทบต่อราคาหุ้น ขณะที่วิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนก็ส่งผลเศรษฐกิจของจีนในช่วงที่ผ่านมารวมถึงแนวโน้มในอนาคต ขณะที่การปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่ส่งผลให้ความมั่งคั่งของเจ้าของบริษัทบิ๊กเทคลดลง คนที่ความมั่งคั่งลดลงมากอย่างเด่นชัดคือ เชือง เซาหมิง (Xiong Shaoming) ผู้ก่อตั้ง Smoore International และเจ้า เว่ยกั๋ว (Zhao Weiguo) ประธานบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ Tsinghua Unigroup อินเดีย มีมหาเศรษฐีพันล้านมากเป็นอันดับที่ 3 จำนวน 169 คน ปี 2023 เป็นปีที่ตัวเลขทางสถิติของอินเดียออกมาเป็นแบบผสม คือ ในแง่จำนวนมหาเศรษฐี อินเดียมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านเพิ่มขึ้น 3 คน แต่ในแง่ความมั่งคั่ง มหาเศรษฐีพันล้านของอินเดียมีความมั่งคั่งรวมกัน 675,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2022 ถึง 75,000 ล้านดอลลาร์ สาเหตุสำคัญที่ความมั่งคั่งในภาพรวมของมหาเศรษฐีอินเดียลดลงนั้นคือ การสูญเสียความมั่งคั่งของ โกตัม อดานี (Gautam Adani) หลังจากที่ Adani Group ถูกกล่าวหาเรื่องฉ้อโกง ทำให้ความมั่งคั่งของเขาลดลงจากปี 2022 เกือบ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งของความมั่งคั่งที่ลดลงทั้งหมด ทั้งนี้ เมื่อตอนที่ฟอร์บสจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกปี 2022 โกตัม อดานี มีสินทรัพย์ 90,000 ล้านดอลลาร์ แต่ ณ วันที่ 10 มีนาคม 2023 ที่ฟอร์บสจัดเก็บข้อมูลวันสุดท้ายเพื่อจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกปี 2023 เขามีสินทรัพย์ 47,200 ล้านดอลลาร์ เยอรมนี เป็นประเทศที่มีมหาเศรษฐีพันล้านมากเป็นอันดับ 4 อีกครั้ง โดยมีจำนวน 126 คน ลดลงจาก 134 คนในปีที่แล้ว ตัวอย่างคนที่ความมั่งคั่งลดลงอย่างมากจนหลุดจากสถานะ “มหาเศรษฐีพันล้าน” ได้แก่ โยอาคิม อันเต (Joachim Ante) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเกม Unity Software และสามทายาทตระกูลคนอฟ (Knauf) เจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านวัสดุก่อสร้าง Knauf Gips KG ส่วนบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของเยอรมนี คือ ดีเทอร์ ชวาร์ซ (Dieter Schwarz) ด้วยความมั่งคั่ง 42,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท Schwarz Group ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ตลดราคา Lidl และ Kaufland ที่สร้างยอดขายปีละกว่า 140,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับรัสเซีย แม้จะมีสงครามและเผชิญการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก แต่ในขวบปีที่ผ่านมามหาเศรษฐีชาวรัสเซียกลับทำผลงานได้ดีกว่าบรรดากลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดของโลกจากประเทศอื่น ๆ โดยกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศรัสเซียสามารถชดเชยความสูญเสียเกือบทั้งหมดที่รัสเซียได้รับจากการคว่ำบาตร รัสเซียมีมหาเศรษฐีพันล้าน 105 คนในปีนี้ มีความมั่งคั่งรวมกัน 474,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีคนร่ำรวยขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีพันล้านเพิ่มขึ้น 22 คน จากปี 2022 ที่มีจำนวน 83 คนกับความมั่งคั่งรวม 320,000 ล้านดอลลาร์ เหตุผลที่จำนวนมหาเศรษฐีพันล้านในรัสเซียเพิ่มขึ้นมากในปีนี้ เนื่องจากผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจของรัสเซียส่วนใหญ่ได้ความมั่งคั่งที่สูญเสียไป (ในช่วงแรกที่รัสเซียบุกยูเครน) กลับคืนมา โดยในบรรดามหาเศรษฐีพันล้านชาวรัสเซีย 105 รายในปีนี้ มี 25 รายที่เคยเป็นมหาเศรษฐีพันล้านในปีก่อน ๆ แต่ความมั่งคั่งของพวกเขาลดลงเมื่อปีที่แล้วในช่วงแรกที่รัสเซียบุกยูเครน ก่อนที่จะฟื้นกลับขึ้นมาได้ในปีนี้ เมื่อปี 2021 รัสเซียมีมหาเศรษฐีพันล้านจำนวน 117 คน มีสินทรัพย์รวมกัน 584,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกหลังจากรัสเซียบุกยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรัสเซียอย่างหนัก แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลกได้หนุนให้บริษัทรัสเซียบางแห่งมีรายรับเพิ่มขึ้น ผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดคือบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของรัสเซีย อันเดรย์ เมลนิเชนโก (Andrey Melnichenko) เจ้าของธุรกิจปุ๋ย ซึ่งมีทรัพย์สินประมาณ 25,200 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 11,100 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 เป็นผลมาจาก EuroChem บริษัทปุ๋ยยักษ์ใหญ่ของเขาได้ประโยชน์จากราคาปุ๋ยที่พุ่งสูงขึ้นหลังรัสเซียบุกยูเครน ส่วนคนอื่น ๆ ที่กอบกู้ความมั่งคั่งของพวกเขากลับมาได้ ได้แก่ ผู้ประกอบการน้ำมัน วากิต อาเล็กเพรอฟ (Vagit Alekperov) รวยเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านดอลลาร์ อเล็กซีย์ มอร์ดาชอฟ (Alexey Mordashov) เจ้าของธุรกิจเหล็ก Severstal รวยเพิ่มขึ้น 7,700 ล้านดอลลาร์ และเจ้าพ่อธุรกิจนิกเกิล วลาดีมีร์ โปตานิน (Vladimir Potanin) แห่ง Norilsk Nickel ที่รวยเพิ่มขึ้น 6,400 ล้านดอลลาร์ 20 ประเทศ/เขตการปกครองที่มีมหาเศรษฐีพันล้าน (billionaire) มากที่สุดในโลกในปี 2023 ตามการจัดอันดับของฟอร์บส ได้แก่ สหรัฐอเมริกา : 735 คน (2022 : 735) จีน : 495 คน (2022 : 539) อินเดีย : 169 คน (2022 : 166) เยอรมนี : 126 คน (2022 : 134) รัสเซีย : 105 คน (2022 : 83) ฮ่องกง : 66 คน (2022 : 67) อิตาลี : 64 คน (2022 : 52) แคนาดา : 63 คน (2022 : 64) ไต้หวัน : 52 คน (2022 : 51) สหราชอาณาจักร : 52 คน (2022 : 50) บราซิล : 51 คน (2022 : 62) ออสเตรเลีย : 47 คน (2022 : 46) ฝรั่งเศส : 43 คน (2022 : 43) สวิตเซอร์แลนด์ : 41 คน (2022 : 41) ญี่ปุ่น : 40 คน (2022 : 40) สวีเดน : 39 คน (2022 : 45) สิงคโปร์ : 35 คน (2022 : 26) เกาหลีใต้ : 30 คน (2022 : 41) อิสราเอล : 30 คน (2022 : 30) อินโดนีเซีย : 29 คน (2022 : 30) แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/world-news/news-1265009
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
ชีวิต คือ ความไม่แน่นอน มีความเสี่ยงหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ โดยหนึ่งในความเสี่ยงที่สร้างผลกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน รวมไปถึงอาจรุนแรงถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของคนคนหนึ่งได้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ คือ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรังต่าง ๆเป็นเรื่องดีที่คนในวัยทำงานหลายคนได้ทำงานอยู่ในองค์กรที่มีประกันสุขภาพแบบกลุ่มช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่สนใจทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมจากสวัสดิการที่บริษัททำให้ ซึ่งแน่นอนว่าสามารถทำได้ แต่ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาว่าตัวเองมีความจำเป็นที่จะต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมอีกหรือไม่ และหากต้องทำเพิ่มเติม จะต้องทำอย่างไร ซึ่งมี 3 เรื่องที่ต้องคำนึง ดังนี้1. ประกันกลุ่มเป็นสวัสดิการที่บริษัทมีให้สำหรับบุคคลที่มีสถานะเป็นพนักงานของบริษัทเท่านั้น หากพนักงานลาออก เกษียณ หรือพ้นจากสภาพการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าด้วยเหตุผลใด สวัสดิการเหล่านั้นก็จะไม่ได้ติดตัวตามมาด้วยดังนั้น ผู้ที่วางแผนจะออกจากงาน โดยเฉพาะหากจะลาออกมาเป็นเจ้าของกิจการหรือทำงานอิสระเอง จึงมีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องวางแผนหรือคำนึงถึงเรื่องการทำประกันสุขภาพ เพื่อให้เป็นสวัสดิการของตนเองทดแทนประกันแบบกลุ่มที่เคยได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากทุกวันที่ผ่านเลยไป หมายถึงอายุที่มากขึ้น และโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือมีปัญหาด้านสุขภาพอาจมากขึ้นตามไปด้วยหากไปสมัครทำประกันสุขภาพในช่วงเวลานั้นที่มีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นแล้ว ค่าใช้จ่ายการทำประกันก็จะสูงขึ้นเนื่องจากบริษัทประกันอาจจะรับทำประกันโดยมีเบี้ยประกันส่วนเพิ่ม หรืออาจจะไม่รับคุ้มครองความเจ็บป่วยที่มีขึ้นก่อนหน้า หรืออาจจะไม่รับทำประกันเลยก็เป็นไปได้2. เงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาล เป็นอัตราที่สูงมากถึง 7-8% ต่อปี หมายความว่า ภายในระยะเวลาประมาณ 8-10 ปี ค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า วงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากประกันกลุ่มที่มีอยู่เพียงทางเดียวจึงอาจจะไม่เพียงพอกับค่ารักษาพยาบาลที่ปรับสูงขึ้นอีกในอนาคต จึงจำเป็นต้องพิจารณาในแต่ละบุคคลว่ามีความต้องการที่จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพที่ทำเพิ่มเติมไว้เองด้วยหรือไม่3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องในการเจ็บป่วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับการรักษา ค่าจ้างคนดูแลสำหรับกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงค่าเสียโอกาสจากการไม่ได้ไปประกอบอาชีพ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการชดเชยในรูปแบบของประกันกลุ่มหากมีความจำเป็นที่จะต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม ในแง่ของการวางแผนประกันสุขภาพ สามารถพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ดังนี้● ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเองและรูปแบบการใช้ชีวิต โดยดูจากประวัติด้านสุขภาพและความเจ็บป่วยของตนเอง บุคคลในครอบครัวและญาติพี่น้อง เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตส่งผลต่อคุณภาพของสุขภาพและเกี่ยวเนื่องกับโรคบางโรค โรคร้ายแรงบางกลุ่มยังสามารถส่งต่อและถ่ายทอดทางพันธุกรรม ให้พิจารณาร่วมกับสถานพยาบาลที่เรามีแนวโน้มจะได้ใช้รักษาหรือที่ใช้บริการอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะมีค่ารักษาพยาบาลและรูปแบบการรักษาที่แตกต่างกัน จะทำให้ประเมินความคุ้มครองของวงเงินการรักษาที่ต้องใช้ได้● เปรียบเทียบความคุ้มครองที่ต้องการ (วงเงินการรักษา) กับวงเงินการรักษาที่มีอยู่จากสวัสดิการประกันกลุ่ม เพื่อพิจารณาและหาความคุ้มครองที่ต้องการเพิ่มเติม หรือความคุ้มครองที่ต้องใช้ ในกรณีที่ออกจากงาน ในวันที่ไม่มีสวัสดิการประกันกลุ่มอีกต่อไป เพื่อนำไปเลือกแบบประกัน● แบบประกันสุขภาพ จะมีทั้งรูปแบบที่กำหนดวงเงินค่ารักษาสูงสุดที่จะจ่ายตามค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละรายการ แต่ไม่เกินค่าวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ และประกันแบบเหมาจ่ายที่จะกำหนดวงเงินความคุ้มครองสูงสุดสำหรับบางรายการ และกำหนดวงเงินความคุ้มครองในลักษณะแบบเหมาจ่ายโดยรวมสำหรับความคุ้มครองรายการอื่น ๆ ที่เหลือ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจะมีค่าเบี้ยประกันโดยรวมที่สูงกว่าแบบประกันที่กำหนดวงเงินค่ารักษาแต่ละรายการสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ เบี้ยประกันสุขภาพจะปรับขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะหากเป็นช่วงที่อายุมากขึ้นหลังเกษียณจะมีเบี้ยประกันที่สูงมาก ควรตรวจสอบความเป็นไปได้ในการจัดการสภาพคล่องของเราในอนาคต เพื่อให้ชำระเบี้ยประกันได้ตลอดระยะเวลาที่สัญญาคุ้มครอง หลักเกณฑ์ทั่วไปคือ อัตราส่วนเบี้ยประกันเทียบกับรายได้ควรจะอยู่ที่ประมาณ 10-15% ของรายได้รวม เพื่อไม่ให้การชำระเบี้ยประกันสุขภาพเป็นภาระที่หนักเกินไปหากมีความจำเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในการทำประกันสุขภาพ สามารถเลือกแบบประกันสุขภาพที่มีค่า Deductible หรือความรับผิดส่วนแรก ที่สามารถเคลมได้จากสวัสดิการที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น เช่น เลือกทำประกันสุขภาพแบบที่มี “รับผิดส่วนแรก (Deductible)” 30,000 บาท หากค่าการรักษาพยาบาลทั้งหมด 100,000 บาท บริษัทประกันจะคุ้มครอง 70,000 บาท และผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ 30,000 บาทแรกซึ่งค่าใช้จ่ายในความรับผิดส่วนแรกมูลค่า 30,000 บาท ผู้เอาประกันสามารถใช้วงเงินจากประกันสุขภาพฉบับเดิมที่มีอยู่แล้วหรือวงเงินสวัสดิการของบริษัทในการชำระได้ เท่ากับว่าผู้เอาประกันจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มทั้งสิ้น หรือพิจารณารับความเสี่ยงด้านสุขภาพไว้เองในบางส่วน ด้วยการสำรองเงินไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายส่วนนี้ รวมทั้งการวางแผนนำเงินสำรองไปลงทุนให้งอกเงย เปรียบได้กับการสร้างแผนการลงทุนเพื่อดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งหากเป็นการเก็บออมในระยะยาวแล้ว อาจรับความเสี่ยงบางส่วนเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นนอกจากการทำประกันสุขภาพซึ่งเป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงในรูปแบบการโอนความเสี่ยงแล้ว สิ่งที่ควรทำควบคู่กันไป คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตและดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงในเชิงป้องกัน หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และดูแลเรื่องอาหารการกิน การพักผ่อน และสภาวะจิตใจเพื่อช่วยลดและควบคุมความเสี่ยงด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการช่วยจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (ที่มา: www.setinvestnow.com, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)บมความโดย ธชธร สมใจวงษ์ นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1220509
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
คอลัมน์ : ชีพจรเศรษฐกิจโลก ผู้เขียน : นงนุช สิงหเดชะ กระแสเรื่อง “เงินหยวน” ของจีนอาจจะโค่นล้มดอลลาร์สหรัฐขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของโลก ทั้งในแง่การเป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศ (reserve currency) รวมทั้งจะเป็นสกุลเงินที่ใช้ชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ (cross-border payments) เริ่มเปรี้ยงปร้างขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว หลังจากรัสเซียรุกรานยูเครน และรัสเซียถูกชาติตะวันตกนำโดยสหรัฐอเมริกาและยุโรปลงโทษด้วยการไม่ให้เข้าถึงเงินสกุลดอลลาร์และยูโร ทำให้รัสเซียหันไปพึ่งมิตรอย่างจีน และทั้งสองประเทศก็เปิดการค้าขายระหว่างกันด้วยสกุลเงินของตัวเอง แทน “ดอลลาร์สหรัฐ” มาปีนี้กระแสเงินหยวนจะโค่นเงินดอลลาร์กลับมาอีกครั้ง หลังจากจีนทำข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบียในการชำระค่าน้ำมันด้วยเงินหยวน จากเดิมชำระด้วยดอลลาร์ ประกอบกับรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ล่าสุดระบุว่า สัดส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกในรูปดอลลาร์สหรัฐลดลงมาก จากที่เคยอยู่ระดับ 71% เมื่อปี 2000 เหลือเพียง 59.79% ในปัจจุบัน ส่วนเงินหยวนสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาที่ 2.76% หรืออยู่อันดับ 5 ต่อจากยูโร (19.66%) เยน (5.26%) และปอนด์ (4.62%) สำหรับฝ่ายที่เชื่อว่าหยวนจะผงาดขึ้นมาแทนดอลลาร์ จะอ้างอิงเหตุผลที่ว่า การที่สหรัฐใช้ดอลลาร์เป็นเครื่องมือลงโทษรัสเซีย ทำให้หลายประเทศเริ่มหวาดกลัวว่าอาจจะถูกสหรัฐใช้วิธีเดียวกันเล่นงาน จึงลดการถือครองดอลลาร์ไว้ในทุนสำรองระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามการที่เงินสกุลใดจะผงาด ขึ้นมาเป็นสกุลทรงอิทธิพล ได้รับการยอมรับ และที่สำคัญได้รับความไว้วางใจจากทั่วโลกไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากนั้น การเป็นสกุลเงินเบอร์หนึ่งของโลก ไม่ได้มีแต่ข้อดีหรือข้อได้เปรียบ หากแต่มีข้อเสียและภาระต้องแบกรับเช่นกัน เมื่อปี 1965 อดีตประธานาธิบดี “ชาร์ลส์ เดอโกล” ของฝรั่งเศส เคยวิจารณ์ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นมี “exorbitant privilege” (สิทธิพิเศษหรือข้อได้เปรียบมากเกินไป) ต่อมาปี 2011 อดีตประธานาธิบดี “หู จิ่นเทา” ของจีนวิจารณ์ว่า ระบบการเงินโลกที่มีดอลลาร์สหรัฐครอบงำนั้น “เป็นอดีตไปแล้ว” และจีนจะแทนที่ด้วยเงินหยวน เมื่อกาลเวลาผ่านไป สถานะของการเป็นสกุลเงินหลักของโลกย่อมหมายถึง “ค่าเงินแข็ง” เพราะความต้องการสูง ใคร ๆ ก็นิยมดอลลาร์ ส่งผลให้สหรัฐไม่สามารถแข่งขันเรื่องส่งออกได้ และ ขาดดุลการค้ามหาศาล นำมาสู่การขาดดุลแฝด กล่าวคือขาดดุลการคลังและดุลบัญชีเดินสะพัดพร้อมกัน ต้องกู้เงินมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อแก้ปัญหา จึงทำให้นักเศรษฐศาสตร์สร้างวลีใหม่สำหรับดอลลาร์ นั่นคือ “exorbitant burden” (สร้างภาระมากเกินไป) เพราะสถานะของ reserve currency ทำให้ดอลลาร์มีมูลค่าสูงเกินจริงประมาณ 5-10% สำหรับประเด็นที่ว่าหยวนมีแนวโน้มจะมาแทนที่ดอลลาร์ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าในอนาคตจีนจะปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีคุณสมบัติเดียวกับสหรัฐได้เร็วแค่ไหน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ดอลลาร์ผงาดขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของโลก จากปัจจัยสำคัญ เช่น 1. อเมริกามีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และแข็งแกร่ง 2. ระดับการเปิดประเทศสูง 3. ไม่จำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (fully convertible) 4. การเปิดเสรีบัญชีทุน (capital account openness) 5. มีตลาดการเงิน (เช่นพันธบัตร) ที่ลึกและกว้าง มีสภาพคล่องสูง 6. ความโปร่งใสของรัฐบาล ไม่แทรกแซงกลไกตลาดด้วย คุณสมบัติทั้งหมดทำให้ดอลลาร์ กระจายอยู่ทั่วโลก มีสภาพคล่องสูง เข้าถึงได้ง่าย ส่วนจีนนั้นมีคุณสมบัติเหมือนสหรัฐอยู่เพียงข้อเดียวคือ เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงสหรัฐแบบสูสี ส่วนคุณสมบัติที่เหลือจีนยังสอบไม่ผ่าน และยังอยู่ห่างไกล จากระดับที่จะส่งให้หยวนขึ้นมาผงาดในระยะใกล้หรือกลาง เพราะยังจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างมาก มีการควบคุมบัญชีทุนในระดับสูง ควบคุมการเข้า-ออกของเงินทุนสูง ตลาดการเงินยังแคบและตื้น สภาพคล่องน้อย และรัฐบาลยังควบคุมเศรษฐกิจและแทรกแซงค่าเงิน จนมีการเปรียบเปรยว่า การจะให้จีนเลิกแทรกแซงควบคุมค่าเงินหยวน ก็ไม่ต่างจากการคาดหวังให้คณะโปลิตบูโร จัดเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ทั้งหมดนี้จึงทำให้เงินหยวนไม่ถูกปล่อยออกไปแพร่กระจายทั่วโลกมากพอที่จะทำให้ เกิดสภาพคล่องและสะดวกในการเข้าถึง โดยปกติประเทศใดก็ตามที่ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจก็มักจะตามมาด้วยสกุลเงินนั้น ๆ จะถูกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่ปรากฏว่าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นกับจีน เพราะว่าสัดส่วนการใช้เงินหยวนเพื่อชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศมีเพียง 2.5% ขณะที่ใช้ดอลลาร์ถึง 40% จะเห็นว่าสัดส่วนทิ้งห่างกันมาก ขัดแย้งกับขนาดเศรษฐกิจของจีนที่สูสีกับสหรัฐมาก จะเห็นได้ว่าเงินหยวนยังตามหลังดอลลาร์สหรัฐห่างมาก ทั้งในแง่ของการเป็น reserve currency และ cross-border payments แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/world-news/news-1262436
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
21/04/2023
กรุงเทพฯ, 21 เมษายน 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำด้านประกันชีวิตและสุขภาพ ร่วมมือกับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ผู้นำบริการดิจิทัลครบวงจร เปิดตัวโครงการ “เบาหวานจัดการได้” มอบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบครบวงจร ผ่านแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของผู้นำด้านสุขภาพและดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อร่วมดูแลสุขภาพลูกค้าที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานให้สามารถควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากโรคเบาหวานได้อย่างมั่นใจ ด้วยบริการตรวจสุขภาพ ตรวจค่าเลือด พร้อมพบแพทย์และนักโภชนาการผ่านแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 พฤษภาคม 2566 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนคนไทยให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ นายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “จากที่เอไอเอ มีพันธกิจสำคัญในการดูแลและสนับสนุนให้ผู้คนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น เราเล็งเห็นถึงสถิติที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก โดยหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด คือโรคเบาหวาน จากสถิติพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย โดยมีผู้ป่วยเพียงครึ่งหนึ่งที่ได้รับการรักษา และในจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา มีเพียง 1 ใน 3 คนที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการรักษา นั่นก็คือสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด HbA1c ให้ลดลงได้[1] อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานยังมีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี เอไอเอ จึงร่วมมือกับพันธมิตรด้านดิจิทัลอย่าง ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป เปิดรับสมัครผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการปรับพฤติกรรม พร้อมทั้งอยากให้เอไอเอมีส่วนช่วยดูแล เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการเบาหวานจัดการได้ จะได้รับการตรวจสุขภาพถึงบ้านจากบุคลากรของแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) เจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตรวจปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเพื่อดูค่าความเสื่อมของไต รวมทั้งปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) โดยทั้งหมดนี้ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลา 1 ปี ซึ่งโครงการเบาหวานจัดการได้ ถือเป็นโครงการนำร่องที่เอไอเอต้องการมีส่วนช่วยคนไทยให้คลายกังวลจากโรคร้าย ด้วยการเริ่มต้นจากตัวเอง โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต พร้อมกับมีเอไอเอเป็นพาร์ทเนอร์อยู่ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมให้ทุก ๆ วันของลูกค้า เป็นวันที่มีความหมาย เพื่อการมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว” ดร.อดิภัทร ชัยชนะสกุล กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทรู เฮลท์ จึงได้นำความเชี่ยวชาญและศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัลมาต่อยอดฟังก์ชันบนแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) เพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพยุคใหม่ในหลากหลายมิติ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางและสาขาของโรคที่ครอบคลุมมากขึ้น ล่าสุดได้ขยายความร่วมมือกับเอไอเอประเทศไทย ผู้นำด้านประกันชีวิตและสุขภาพ เปิดโครงการ “เบาหวานจัดการได้” บนแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางได้สะดวกรวดเร็วทุกที่ทุกเวลา ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อลดความรุนแรงของโรค โดยสามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ในวันและเวลาที่สะดวก เลือกได้ทั้งการโทร แชต และวิดีโอคอล (VDO Call) พร้อมบริการส่งยาตามที่แพทย์สั่งถึงบ้าน โดยไม่ต้องเดินทางและไม่ต้องรอคิวที่โรงพยาบาล อีกทั้งยังสามารถปรึกษานักโภชนาการเพื่อสร้างความเข้าใจในการดูเเลสุขภาพเเบบองค์รวม ตลอดจนช่วยวางแผนการกินอาหาร อาหารเสริม ซึ่งมั่นใจว่าโครงการที่ดีมีประโยชน์เช่นนี้จะสามารถขยายผลสู่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วประเทศต่อไป” ลูกค้าที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและสนใจเข้าร่วมโครงการเบาหวานจัดการได้[2] สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ http://bit.ly/3KrNjK ตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 พฤษภาคม 2566 โดยเงื่อนไขจะเป็นไปตามบริษัทกำหนด[3] หมายเหตุ: [1] ข้อมูลจาก The Blueprint for Change Programme เรียบเรียงโดย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี [2] ผู้สมัครที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีโรคร่วมอื่น เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคไต โครงการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครตามความเหมาะสม [3] รายละเอียดและเงื่อนไขสำหรับการพิจารณา การให้สิทธิประโยชน์ การให้บริการต่างๆ เป็นไปตามนโยบายของชีวีบริรักษ์ คลินิก และบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทนอกกลุ่มเอไอเอ และอยู่นอกเหนือการบริหารงานของเอไอเอ เอไอเอจะไม่รับผิดชอบต่อการบริการ ผลิตภัณฑ์และข้อเสนอใดๆ ที่นำเสนอโดยผู้ให้บริการนี้ *สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง ยกเลิก แก้ไขรายละเอียดหรือเงื่อนไขต่างๆ โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
เอไอเอ ประเทศไทย เดินหน้าลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ต่อเนื่องเป็นแห่งที่ 4 ภายใต้ชื่อโครงการ “เอไอเอ คอนเน็คท์ (AIA Connect) โดยได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ สถานที่ตั้งโครงการ ใจกลางย่านรัชดาภิเษก ซึ่งมี นายนิคฮิล แอดวานี (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พันธมิตร และพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธี โดยในพิธีได้รับพระมหากรุณาจาก พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ผู้นำสูงสุดแห่งลัทธิพราหมณ์ในประเทศไทย และผู้ดำรงตำแหน่งประธานพระครูพราหมณ์คนปัจจุบัน เป็นผู้นำดำเนินพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการเอไอเอ คอนเน็คท์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการเอไอเอ คอนเน็คท์ (AIA Connect) เป็นอาคารสำนักงานให้เช่าเกรดพรีเมียม มีความสูง 33 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 110,400 ตารางเมตร มาพร้อมพื้นที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพของผู้เช่า อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกด้วยพื้นที่จอดรถกว่า 708 คัน เป็นโครงการที่ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษก และยังเป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม เพื่อการคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็ว สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังอาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม ตลอดจนสามารถเดินทางต่อไปยังอาคาร เอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ และอาคาร เอไอเอ อีสต์ เกตเวย์ ย่านบางนา-ตราด ได้อย่างสะดวกง่ายดาย อาคาร เอไอเอ คอนเน็คท์ ถูกออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้สอยอาคาร ตามเกณฑ์มาตรฐานของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และ WELL Building Standard ระดับโกลด์ สอดคล้องตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ “Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น” ซึ่งโครงการดังกล่าว ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนภาคธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยต่อไปอย่างยั่งยืน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงิน ผู้เขียน : พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่ แอคชัวรี) ถ้าระบบควบคุมภายในของธนาคารนั้นเรียบร้อยดี แต่ไม่ได้ดูแลการบริหารสภาพคล่อง หรือการกระจุกตัวของลูกค้า หรือการด้อยค่าของสินทรัพย์นั้น ก็สามารถทำให้ธนาคารล้มไม่เป็นท่าได้ โดยปกติแล้วกลยุทธ์การรับมือนั้น ธนาคารจะต้องมี Asset Liability Matching หรือเทคนิค ALM ไปด้วย แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดในอเมริกานั้น จะเห็นว่าธนาคารบางแห่งไม่ได้ทำ ALM กันอย่างจริงจัง และอาจจะมีธนาคารท้องถิ่นในอเมริกาอีกประมาณ 5 แห่ง ที่เข้าข่ายการบกพร่องในการทำ ALM แบบนี้ด้วยปกติแล้ว ธนาคารจะทำการตกแต่งบัญชีได้ยากอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้สอบบัญชีก็จะระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ธนาคารก็ยังสามารถล้มอยู่ ก็อาจจะมาจากนโยบายการบริหารผิดพลาด เงินที่ได้จากเงินฝากเอาไปลงทุนในตราสารหนี้ และ mismatched ระยะเวลาของสินทรัพย์กับหนี้สินอยู่มาก พอดอกเบี้ยขึ้นก็เลยขาดทุนหนักเพราะต้องรับรู้เป็นขาดทุนออกมา ทั้ง ๆ ที่ตราสารหนี้ที่ถืออยู่นั้นต้องการจะถือจนครบกำหนดสัญญา (ปกติ ใครที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะเลือกที่จะถือจนครบกำหนดสัญญากัน)การที่ธนาคารไปมีกลุ่มลูกค้าเงินฝากค่อนข้างกระจุกตัวนั้น ก็ส่งผลให้เวลาเกิดอะไรที่เป็นแง่ลบกับธุรกิจที่ไปกระจุกตัวนั้น ก็จะกระทบไปเกือบจะพร้อมกัน แต่สาเหตุหลักนั้น มาจากการที่ระยะเวลาการลงทุนของสินทรัพย์นั้นไม่ match กับระยะเวลาของหนี้สิน (ALM mismatch) ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น ธนาคารที่เลือกจะ mismatch นั้นอาจจะคิดว่า คนที่ฝากเงินก็จะต่ออายุไปเรื่อย ๆ (เหมือนที่เวลาเราฝากเงินฝากประจำ ก็จะต่ออายุหรือลงทุนต่อไปเรื่อย ๆ) ในขณะที่ฝั่งสินทรัพย์นั้นก็ซื้อตราสารหนี้ระยะยาวเสียเลย (เพราะตราสารหนี้ระยะยาวจะให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น) ทั้งนี้ ธนาคารใหญ่ ๆ นั้นจะมีการถูกบังคับให้ตรวจสอบเรื่อง ALM ผ่าน stress test (การทดสอบภาวะวิกฤต) อยู่เสมอ แต่สำหรับธนาคารท้องถิ่นในอเมริกานั้น ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการทดสอบ stress test หรือ ALM เรื่องทั้งหมดนี้ ถ้าธนาคารมีการทำการทดสอบ ALM และดูว่า mismatch กันระหว่างสินทรัพย์กับหนี้สินหรือไม่ สถานการณ์ที่ธนาคารจะล้มไปเนื่องจากไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวนั้น ก็จะเกิดขึ้นได้ยากมาก ทั้งนี้ การล้มของธนาคารที่เกิดจากการไม่ทำ ALM ที่ดีพอ จึงเป็นเฉพาะของธนาคารใด ธนาคารหนึ่ง และจะไม่ลามไปสู่ธนาคารอื่น แต่น่าจะมีธนาคารท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่ไม่ได้ทำ ALM ที่อาจจะล้มตามมาก็ได้ ดังนั้น ธนาคารแห่งไหนที่ได้มีการทำ stress test และได้มีการทำการทดสอบ ALM เพื่อให้แน่จึงมีการ matching ระหว่างสินทรัพย์กับหนี้สินได้ดีเพียงพอ ก็น่าจะปลอดภัยและไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ส่วนบริษัทประกันชีวิตนั้น ทุกบริษัทถูกให้ทำ ALM กันอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว เพียงแต่บริษัทประกันชีวิตจะกังวลในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับธนาคาร กล่าวคือ ธนาคารจะกลัว mismatch จากการที่ระยะเวลาการลงทุนของสินทรัพย์นั้นยาวกว่าหนี้สิน แต่บริษัทประกันชีวิตจะกลัว mismatch จากการที่ระยะเวลาการลงทุนของสินทรัพย์นั้นที่สั้นกว่าหนี้สิน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความเสี่ยงของธนาคารจะมีกับงบการเงินตอนที่ภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น (จึงต้องทำ ALM ในจังหวะที่ดอกเบี้ยขาขึ้น) และจะปล่อยให้มี mismatch กันตอนที่อัตราดอกเบี้ยขาลง แต่บริษัทประกันชีวิตจะปล่อยให้มี mismatch กัน ตอนที่ดอกเบี้ยขาขึ้น (เพราะจะได้อานิสงส์กำไรจากดอกเบี้ยขาขึ้น) และจะให้มีการทำ ALM ในจังหวะดอกเบี้ยขาลง เพื่อป้องกันการขาดทุน แต่สิ่งสำคัญสำหรับการรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงก็คือ การที่สินทรัพย์หรือหนี้สินที่เลือกจัดกลุ่มให้ถือจนครบกำหนดสัญญานั้น ในทางบัญชีจะรับรู้กำไรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยลงใน “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น” เท่านั้น ซึ่งเป็นเหมือนกำไรที่รออยู่ในงบดุล และจะรับรู้เป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนก็ต่อเมื่อมีการขายจริงเท่านั้น ธนาคารเมื่อมีคนแห่มาถอนเงินจนต้องถูกบังคับขายตราสารหนี้ตอนภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นก็จะรับรู้ขาดทุนในงบกำไรขาดทุน (ดังนั้น ธนาคารที่ดีจึงต้องทำ matching ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น จึงจะไม่เกิดปัญหานี้) แต่ถ้าบริษัทประกันมีคนแห่มาถอนกรมธรรม์จนต้องถูกบังคับขายตราสารหนี้ตอนภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นก็จะรับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุน สรุปว่า เทคนิค ALM นั้น – สำหรับธนาคารจะทำตอนดอกเบี้ยขาขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง – สำหรับธนาคาร อาจจะไม่ต้องทำตอนดอกเบี้ยขาลง เพื่อให้มีกำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง (สำหรับพันธบัตรรัฐบาล จะรับรู้กำไร หรือไม่ ก็ขึ้นกับขายจริงหรือไม่) – สำหรับบริษัทประกันชีวิตจะทำตอนดอกเบี้ยขาลง เพื่อไม่ให้เกิดผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง – สำหรับบริษัทประกันชีวิต อาจจะไม่ต้องทำตอนดอกเบี้ยขาขึ้น เพื่อให้มีกำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง (สำหรับพันธบัตรรัฐบาล จะรับรู้กำไร หรือไม่ก็ขึ้นกับขายจริงหรือไม่) แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1262302
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
คอลัมน์ : มองข้ามชอต ผู้เขียน : ดร.ฐิติมา ชูเชิด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) หลายปีที่ผ่านมาโลกใบนี้เจอกับความไม่แน่นอนสูงขึ้นมาก ความเสี่ยงใหญ่หน้าใหม่หลายเรื่องเกิดขึ้นมาอย่างไม่คาดคิด ไม่นานนี้ “Nouriel Roubini” ออกมาส่งสัญญาณเตือนว่า โลกกำลังจะเข้าสู่วงจรที่มืดมน (doom loop) จากความเสี่ยงใหญ่ (megathreats) หลายคนอาจพอได้ยินชื่อท่านนี้ในฐานะศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ระดับโลก และเป็นที่รู้จักในนาม Dr.Doom เพราะเคยออกมาส่งสัญญาณเตือนภัยก่อนเกิดวิกฤต Roubini ออกมาส่งสัญญาณเตือนอีกครั้งว่า โลกกำลังจะเข้าสู่ doom loop จาก megathreats ได้แก่ 1) วิกฤตหนี้ครั้งใหญ่ (The mother of all debt crises) 2) การล้มละลายของภาคเอกชนและภาครัฐ (Private and public failures) 3) กับดักนโยบายการเงินผ่อนคลายกับวัฏจักรเศรษฐกิจ (The easy money trap and boom-bust cycle) 4) การมาถึงของยุคเศรษฐกิจตกต่ำแต่เงินเฟ้อสูง (The coming great stagflation) 5) การล่มสลายของค่าเงินและระบบการเงินไร้เสถียรภาพ (The currency meltdown and financial instability) 6) ระเบิดเวลาปัญหาประชากร (The demographic time bomb) 7) การสิ้นสุดของโลกาภิวัตน์ (The end of globalization) 8) ความเสี่ยงจาก AI (The AI threat) 9) สงครามเย็นยุคใหม่ (The new cold war) 10) โลกที่คนอาศัยอยู่ไม่ได้ (An uninhabitable planet) จะเห็นได้ว่า megathreats 10 เรื่องที่ถูกหยิบยกมานี้จัดเป็นความเสี่ยงระยะปานกลางถึงยาวที่มีลักษณะ stagflationary เพราะมีผลกระทบลดศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจและเพิ่มต้นทุนการผลิตในเวลาเดียวกัน ฉากทัศน์ของ megathreats พอสรุปภาพได้ดังนี้ Roubini ตั้งข้อสังเกตว่า หนี้ภาครัฐและภาคเอกชนในโลกเร่งตัวเร็วมาก อยู่ที่ 350% ของ GDP โลกในปี 2022 (เทียบกับ 200% ณ ปี 1999) ไม่ว่าระดับรัฐบาล บริษัท หรือครัวเรือนที่ก่อหนี้สูงไว้ หากไม่สามารถหารายได้ให้พอใช้จ่ายได้จริง จะเริ่มได้รับผลกระทบในยุคดอกเบี้ยสูง จากที่เคยอยู่รอดมาได้ในยุคดอกเบี้ยต่ำและกู้เงินง่าย ทั้งการออกตราสารหนี้และขอสินเชื่อ โดยเฉพาะจากกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่มีบทบาทเป็นแหล่งเงินทุนสูงขึ้นมาก พอเงินเฟ้อเร่งตัวสูง ทำให้เกมเปลี่ยน ธนาคารกลางต้องปรับกลยุทธ์ ลูกหนี้กลุ่มนี้จะมีความสามารถชำระหนี้ลดลงมาก จนอาจถึงขั้นล้มละลายได้ งบดุลและงบกำไรขาดทุนเริ่มสะท้อนความอ่อนแอของการจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน รายได้รายจ่ายไม่สมดุล เกิดผลขาดทุน หลังหมดยุคนโยบายดอกเบี้ยต่ำและมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ จะเห็นเงินเฟ้อในราคาสินทรัพย์เริ่มลดลง แต่เงินเฟ้อในราคาสินค้าและบริการเร่งตัว จากผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิด รวมถึงห่วงโซ่อุปทานโลกสะดุดหลังเศรษฐกิจฟื้นจากโควิด ธนาคารกลางทั่วโลกหันมาใช้กลยุทธ์ดอกเบี้ยสูง และทยอยถอนสภาพคล่องจากระบบการเงิน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกตกต่ำและเงินเฟ้อสูง (stagflation) ปัญหาเงินเฟ้อสูงยังเป็นต้นเหตุ duration risks ในตลาดการเงิน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก ส่งผลให้ราคาพันธบัตรและราคาหุ้นปรับลดลงตามความสัมพันธ์ที่ผกผันกันอยู่ สถาบันการเงินหรือนักลงทุนสถาบันที่ถือ long-duration fixed-income assets ไว้จะเจอ unrealized losses on securities เช่น ระบบธนาคารสหรัฐ ณ สิ้นปี 2022 ขาดทุนรายการนี้ 6.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (28% ของส่วนของทุนรวม 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) หากรวม unrealized losses on other assets ด้วย ผลขาดทุนรายการนี้จะสูงถึง 1.75 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 80% ของส่วนของทุนรวม เป็นความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่เห็นจากกรณีบางธนาคารในสหรัฐเจอปัญหาขาดสภาพคล่อง ทำให้ผู้ฝากเงินไม่มั่นใจแห่ถอนเงิน จนทางการต้องสั่งปิดและเข้าไปดูแลให้ผู้ฝากเงินกลับมาเชื่อมั่นได้ เรื่องนี้ชี้ว่าธนาคารกลางเผชิญสถานการณ์ต้องเลือก (policy trilemma) ในการเดินหน้านโยบายดอกเบี้ยสูงแก้เงินเฟ้อสูง แลกกับผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน หากเกิดวิกฤตหนี้ครั้งใหญ่ ทั้งในระดับภาคเอกชน ภาคสถาบันการเงิน และภาครัฐขึ้น โดยเฉพาะปัญหาสังคมสูงวัยกับภาระการคลังที่เป็นระเบิดเวลาอยู่ โลกจะเข้าสู่วัฏจักรขาลงเป็น doom loop นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงใหญ่อีกหลายเรื่องเป็นความท้าทายที่ทุกประเทศต้องเจอร่วมกัน เช่น สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ สงครามเย็นยุคใหม่ ความเสี่ยงจากเทคโนโลยี AI อาจทำให้โลกเจอกับสารพัดวิกฤต (polycrises) รุมเร้าได้ ทั้งนี้ การจัดการ megathreats ต้องมองการจัดการความเสี่ยงแบบองค์รวม (collective) เพราะความเสี่ยงใหญ่แต่ละเรื่องส่งผลกระทบระหว่างกันเองอีก แม้โอกาสที่โลกจะเจอ doom loop อย่างที่มีผู้รู้ทักมาอาจไม่เยอะ แต่หากเกิดจริงผลกระทบจะรุนแรงมาก จัดเป็น tail risk การมองสถานการณ์จำลองกรณีโลกเลวร้ายขั้นสุดไว้จะช่วยให้ภาครัฐและเอกชนเตรียมบริหารความเสี่ยง เผื่อกรณีนี้ไว้บนความไม่ประมาท เพื่อจะได้ไม่พลัดเดินหลงไปเจอสารพัดวิกฤตโลกโดยไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าไว้ก่อน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/columns/news-1261010
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสังคม
30/04/2024
ผู้สูงอายุไทย เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย คนไทยมีการออมเพียง 26 % ขณะที่ระบบประกันรายได้เมื่อสูงวัย ครอบคลุมทุกกลุ่ม แต่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ เกิน 50 % ไม่มีการออมเพื่อใช้หลังเกษียณ● ปี 2564 มีผู้สูงอายุ 13.4 ล้านคน ต้องการทำงาน 33 % เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย อีก 3 % แยกเป็นหางาน 1 %และ2 % รอฤดูกาลในการทำงาน● ระบบประกันรายได้หลังเกษียณในคนไทย 3 กลุ่ม ข้าราชการ ลูกจ้างเอกชน และแรงงานนอกระบบ มีความครอบคลุมแต่ยังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ● รูปแบบกองทุนบำเหน็ญบำนาญข้าราชการ(กบข.)ของข้าราชการ มีเงินราว 1.2 ล้านล้านบาท และกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ชาวบ้านสมทบร่วมกับรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาทเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2566 มีเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ “ไทยพร้อมยัง... ที่จะมีหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ” ร่วมจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ(IHPP)วรวรรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สังคมสูงวัยคือทุกกลุ่มอายุอยู่ในสังคมดียวกัน เพียงแต่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากกว่าวัยเด็กและวัยแรงงาน โดยปี 2566 มีผู้สูงอายุแตะ 20 % จึงเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ มีวัยแรงงาน 63 % และวัยเด็ก 16 % แต่อีก 20 ปีข้างหน้า ปี 2583 ผู้สูงอายุแตะ 30 % วัยแรงงาน 55 % วัยเด็ก 12 % เข้าสู่สังคมสูงวัยสุดยอด จึงเป็นโจทย์ว่าถึงตอนนั้นประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในส่วนรายได้และค่าใช้จ่าย มีช่วงวัยเดียวที่ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ต่ำกว่ารายได้จากการทำงาน แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ รายได้ไม่สามารถชดเชยกับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคได้อย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้น ผู้สูงอายุต้องมีรายได้เพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจากการสำรวจรายได้ผู้สูงอายุมาจากบุคคลอื่น ลูกหลาน การทำงานและเบี้ยยังชีพ เพราะฉะนั้น ต้องทำให้ผู้สูงอายุที่เป็น Active Aging เข้าสู่การทำงานให้มีรายได้ ทั้งนี้ ผลการสำรวจเมื่อปี 2564 พบว่า มีผู้สูงอายุ 13.4 ล้านคน ในจำนวนนี้ต้องการทำงาน 33 % เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย อีก 3 % ในนี้เป็นการหางาน 1 %และ2 % รอฤดูกาลในการทำงาน จึงเป็นโจทย์ว่า 3 %จะทำอย่างไรให้มีงานทำและอีก 30 % ให้มีงานที่เหมาะสมและชดเชยกับค่าใช้จ่ายในส่วนของการออม คนไทยมีการออมเพียง 26 % มีบัญชีการออมต่ำกว่า 50,000 บาท อายุเริ่มออมช้าเมื่อ 40 ปีขึ้นไป ครัวเรือนมีการลงทุนเพียง 2.2 %ของครัวเรือนทั้งหมด แต่หนี้สินต่อจีดีพี 79.9 % และเพิ่มมาตลอด จนไตรมาส 3 ของปี 2565 อยู่ที่ 86.8 %สภาพัฒน์มีแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาวในปี 2565-2580 โดยมีแนวคิด เกิดดี อยู่ดี แก่ดี ซึ่งเกิดดีต้องอาศัยครอบครัวในการบ่มเพาะคนให้มีคุณภาพ อยู่ดียกระดับพัฒนาศักยภาพของประชากรเริ่มตั้งแต่การศึกษาเข้าสู่ตลาดงานเป็นแรงงานคุณภาพ พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยกระดับความมั่นคงทางการเงิน สภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนมีคุณภาพที่ดี และแก่ดี สร้างเสริมสุขภาวะลด ระบบการดูแลระยะยาว ระยะกลาง ดูแลประคับประคอง และระบบคุ้มครองพิทักษ์ทรัพย์สินของผู้สูงวัยหลักประกันรายได้หลังเกษียณนวพร วิริยานุพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้ายดุลยภาพการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิขการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวถึงการสร้างหลักประกันรายได้เพื่อพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุว่า หลักประกันรายได้หลังเกษียณของคนไทยมีหลากหลายรูปแบบทั้งสวัสดิการชราภาพ การออมภาคบังคับและการออมภาคสมัครใจ ภายใต้หลัก 3 ส่วน ได้แก่ 1. ครอบคลุม ทุกกลุ่ม คือ กลุ่มข้าราชการมีบำเหน็จบำนาญ การออมภาคบังคับ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กลุ่มลูกจ้างเอกชน มีกองทันประกันสังคมที่เป็นการออมภาคบังคับ มีสิทธิประโยชน์เป็นบำนาญชราภาพ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เป็นการออมภาคสมัครใจ ซึ่งกองทุนนี้ช่วยอย่างมากที่จะทำมีรายได้เพียงพอหลังเกษียณแบบมีความมั่นคงมากขึ้นและกลุ่มแรงงานอิสระ มีประกันสังคมมาตรา 40 รองรับที่จะได้บำเหน็จเงินก้อนเมื่อครบ 65 ปี และกองทุนการออมแห่งชาติ ที่จะมีบำนาญรายเดือนตลอดชีวิตหากมีการออมตามเกณฑ์ โดยในปี 2566 มีการปรับเพิ่มให้สามารถจ่ายเงินสมทบได้สูงสุด 30,000 บาทต่อปี และรัฐจะสมทบให้สูงสุดปีละ 1,800 บาทเสี่ยงรายได้หลังเกษียณไม่พอ2. เพียงพอ ซี่งตามมาตรฐานสากลรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอคงคุณภพาชีวิตใกล้เคียงก่อนเกษียณจะต้องมีไม่น้อยกว่า 50 % ของรายได้ก่อนเกษียณ กลุ่มข้าราชการจะมีรายได้ 60-70%ของรายได้ก่อนเกษียณ กลุ่มลูกจ้างเอกชน ถ้าส่งเข้าประกันสังคม 15 ปีขึ้นไป จะมีรายได้ 3,000-5,000 บาทต่อเดือน หากมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มจะมีเงินก้อนอีกส่วนหนึ่ง แต่หากมีเพียงเงินประกันสังคมน้อย ไม่ออมเพิ่ม เสี่ยงรายได้หลังเกษียณก็จะไม่เพียงพอ “กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ กลุ่มอิสระ /แรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่พึ่งพาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและรายได้ของลูกหลานเป็นหลักราว 20 กว่าล้านคน และเกิน 50 % ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ”นวพรกล่าว 3. ความยั่งยืนทางการคลัง ภาครัฐมีแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณ ภาระผูกพันระยะยาวเพื่อที่จะจ่ายในเรื่องสวัสดิการและเงินสมทบเข้ากองทุนต่างๆให้เพียงพอที่จะจ่ายได้ในระยะยาว และกองทุนต่างๆต้องมีความมั่นคงและยั่งยืนด้วย จะได้ไม่กลับมาเป็นภาระทางการคลังในอนาคตกบข. รูปแบบออมข้าราชการในส่วนของกลุ่มข้าราชการ บุญเลิศ อันประเสริฐพร รองเลขาธิการกลุ่มงานปฏิบัติการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กล่าวถึงระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุสำหรับข้าราชการว่า กบข.เป็นระบบการออมภาคบังคับที่ให้ข้าราชการมีส่วนร่วมในการออม ภาพรวมมีสมาชิก 1.2 ล้านคน มีเงินกองทุน 1.2 ล้านล้านบาท มีภารกิจ 3 เรื่อง คือ 1. สร้างหลักประกันให้ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุ 2. ส่งเสริมการออมของข้าราชการ เป็นการออมเพื่อการเกษียณอายุ และ 3. การจัดสิทธิประโยชน์ สวัสดิการแก่สมาชิก จากภารกิจแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการลงทุน ซึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างหลักประกันให้ข้าราชการที่นำเงินเข้ามาออมกับกบข. จะต้องมีวิธีการสร้างผลตอบแทนเมื่อเกษียณที่มีเงินเพียงพอ แนวทางที่ดำเนินการเป็นการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆให้มีความเหมาะสมเพื่อกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป้าหมายสำคัญ ต้องการเอาชนะเงินเฟ้อระยะยาวและ 2. สนับสนุนกระตุ้นให้สมาชิกมีการออม ซึ่งภาคบังคับข้าราชการออมประมาณ 3 % ซึ่งไม่เพียงพอ จะต้องมีการออมภาคสมัครใจ โดยตั้งแต่ 20 มี.ค.2566 สมาชิกสามารถออมเพิ่มได้สูงสุดจากเดิม 12 % เป็น 27 % เมื่อรวมกับภาคบังคับ 3 % จะเป็น 30 % โดยรัฐไม่มีสมทบให้แต่สมาชิกต้องดูและเรื่องการเงินของตัวเองในการออมเพิ่ม ขณะนี้มีข้าราชการสมัครใจออมเพิ่มราว 20 %นอกจากนี้ เรื่องทักษะการเงิน และวินัยการออม เพื่อออมให้เณ้ว ให้มากและให้เป็น ซึ่งข้าราชการแต่ละคนจะมีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงต่างกัน กบข.จึงมีการออกแนวทางการลงทุนให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนได้ มีข้าราชการที่เลือกแผนการลงทุนเองราว 14 % รวมถึง จัดแผนการลงทุนที่สมดุลกับอายุ โดยอายุน้อยเสี่ยงมาก อายุมากเสี่ยงน้อย โดยกบข.จะดำเนินการเปลี่ยนแผนการลงทุนให้ตามอายุกองทุนสวัสดิการชุมชน 1.9 หมื่นล้านขณะที่ กฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือพอช. กล่าวถึงระบบกองทุนสวัสดิการชุมชนกับการดูแลผู้สูงวัยในพื้นที่ว่า รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสวัสดิการของตัวเองตั้งแต่ปี 2553เป็นต้นมา เรียกว่า ระบบสวัสดิการชุมชน เป็นระบบสวัสดิการที่ประชาชนลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของคนในชุมชน เช่น การรักษาพยาบาล รับขวัญเด็กแรกเกิด ทุนการศึกษา/อุปกรณ์การเรียน ทุนประกอบอาชีพ เสียชีวิต/จัดงานศพ ผู้ด้อยโอกาส/ผู้ยากไร้ สาธารณะประโยชน์ และช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น ระบบสวัสดิการชุมชนหรือกองทุนวันละบาท ปัจจุบันมีอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) 5,915 กองทุน มีสมาชิก 6,486,679 คน ตั้งเป้าหมายไว้ 15 ล้านคนเพราะจะเท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ จะเป็นฐานรองรับเรื่องนี้ได้ วัยทำงาน 48% ผู้สูงอายุ 35 % เด็ก/เยาวชน 15 % และผู้ด้อยโอกาส 2 % มีเงินกองทุนสะสม 19,396 ล้านบาท เป็นเงินที่ได้มาจากประชาชนเก็บไว้วันละบาทแล้วนำเงินมาสมทบ ไม่ใช่ออม โดยหากออมจะเป็นเงินของชาวบ้านสามารถเอาคืนได้ แต่สมทบเข้ากองทุนจะไม่สามารถเอาคืนได้ แต่เอาไปทำสวัสดิการให้กับสมาชิกและผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกแต่ควรได้รับการดูแล เช่น กลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น“เงินในกองทุน 19,396 ล้านบาท ชาวบ้านสมทบราว 12,000 ล้านบาท รัฐบาลสมทบมา 3,400 ล้านบาท แปลว่า ชาวบ้านสมทบมา 1 บาท รัฐบาลสมทบมา 1 สลึง และอปท.สมทบประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตั้งแต่ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”กฤษดากล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/health/social/1060341
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย “มานพ รัตนะ” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 10 เมษายน 2566 ในยุคสมัยที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ก็จะมีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หลายครั้งผู้มีเงินได้อาจเริ่มสับสนว่าแต่ละอาชีพต้องยื่นภาษีแบบไหน หักค่าใช้จ่ายอย่างไรและวิธีการใดที่ทำให้ประหยัดภาษีได้มากที่สุด ในเบื้องต้นผู้มีเงินได้จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องการ แบ่งแยกประเภทของเงินได้ก่อน เพื่อที่จะสามารถวางแผนการประหยัดภาษีได้อย่างถูกต้องต่อไป 8 ประเภทเงินได้กับการหักค่าใช้จ่าย เงินได้ตามตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีกฎเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยงโบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เงินได้ประเภท 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เบี้ยประชุม บำเหน็จ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว จะเห็นว่าเงินได้ประเภทที่ 1 กับประเภทที่ 2 คล้ายคลึงกันมากและมีประเด็นสำคัญที่เหมือนกัน คือ ใช้แรงกายและความสามารถของตัวเองในการทำงาน ซึ่งแทบไม่มีต้นทุนหรือมีต้นทุนน้อยมาก สรรพากรจึงให้นำเอาเงินได้ทั้ง 2 ประเภทนี้มารวมกันเป็นก้อนเดียว แล้วให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เงินได้ประเภท 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น รวมถึงเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ซึ่งเงินได้ประเภทนี้ เฉพาะค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทก็ได้ เงินได้ประเภท 40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล และคริปโตเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้ที่ไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใด ๆ เงินได้ประเภทนี้ จึงไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ เงินได้ประเภท 40(5) ได้แก่ การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้โดยกรณีเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา จะมีข้อกำหนดตามลักษณะของทรัพย์สิน ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(6) ได้แก่ ค่าวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรมสถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้ โดยกรณีเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา จะมีข้อกำหนดตามลักษณะของกลุ่มวิชาชีพ ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เงินได้ประเภท 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1)-(7) แล้ว ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 40% และ 60% เนื่องจากเงินได้ประเภทที่ 8 เป็นเงินได้ที่มีหลากหลายประเภทมาก ซึ่งแต่ละประเภทก็มีต้นทุนธุรกิจแตกต่างกัน จึงไม่ใช่ว่าผู้ที่มีเงินได้ประเภทที่ 8 จะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ทุกราย ดังนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่าตัวเอง อยู่ในอาชีพที่สามารถใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้หรือไม่ ซึ่งมีกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 ดังตารางที่ 1 ตัวอย่างการวิเคราะห์ นายมานพ ทำอาชีพขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป รายได้ปีละ 1,000,000 บาท และยังมีการทำช่อง Youtuber ของตัวเองให้ความรู้เกี่ยวกับภาษี มีรายได้จากค่าโฆษณาปีละ 300,000 บาท เมื่อคนเริ่มติดตามช่องเยอะขึ้น จึงมีบริษัทหลักทรัพย์ติดต่อเข้ามาขอให้ช่วยโฆษณากองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF, RMF ให้ด้วย โดยได้รับค่าตอบแทนจำนวน 15,000 บาท จากข้อมูลเบื้องต้น สามารถวิเคราะห์แหล่งที่มาของรายได้ของนายมานพ ได้ดังนี้ 1.เงินได้จากการขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป จำนวน 1,000,000 บาท : เงินก้อนนี้ถือเป็นเงินจากการธุรกิจ การพาณิชย์ จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เนื่องจากอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) 2.เงินได้จากค่าโฆษณาที่แทรกขึ้นมาในระหว่างดูคลิป จำนวน 300,000 บาท โดยเงินก้อนนี้ไม่เข้าพวก 40(1)-(7) ดังนั้น จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8) และเมื่อพิจารณาการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาดังตารางที่ 1 จึงต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น 3.เงินได้จากการรับโฆษณากองทุนให้กับบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 15,000 บาท โดยถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีนี้จึงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 7,500 บาท ดังนั้น นายมานพ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษี โดยระบุข้อมูลประเภทเงินได้และการหักค่าใช้จ่ายดังนี้ ตารางที่ 1 อัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) หากเงินได้ประเภทใดไม่ปรากฏบนตารางดังกล่าว ต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น ตัวอย่างการวิเคราะห์ นายมานพ ทำอาชีพขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป รายได้ปีละ 1,000,000 บาท และยังมีการทำช่อง Youtuber ของตัวเองให้ความรู้เกี่ยวกับภาษี มีรายได้จากค่าโฆษณาปีละ 300,000 บาท เมื่อคนเริ่มติดตามช่องเยอะขึ้น จึงมีบริษัทหลักทรัพย์ติดต่อเข้ามาขอให้ช่วยโฆษณากองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF, RMF ให้ด้วย โดยได้รับค่าตอบแทนจำนวน 15,000 บาท จากข้อมูลเบื้องต้น สามารถวิเคราะห์แหล่งที่มาของรายได้ของนายมานพ ได้ดังนี้ 1.เงินได้จากการขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป จำนวน 1,000,000 บาท : เงินก้อนนี้ถือเป็นเงินจากการธุรกิจ การพาณิชย์ จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เนื่องจากอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) 2.เงินได้จากค่าโฆษณาที่แทรกขึ้นมาในระหว่างดูคลิป จำนวน 300,000 บาท โดยเงินก้อนนี้ไม่เข้าพวก 40(1)-(7) ดังนั้น จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8) และเมื่อพิจารณาการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาดังตารางที่ 1 จึงต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น 3.เงินได้จากการรับโฆษณากองทุนให้กับบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 15,000 บาท โดยถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีนี้จึงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 7,500 บาท ดังนั้น นายมานพ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษี โดยระบุข้อมูลประเภทเงินได้และการหักค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.เงินได้ 40(8) จากการขายของออนไลน์จำนวน 1,000,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 600,000 บาทเป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 400,000 บาท 2.เงินได้ 40(8) จากเงินได้อื่น ๆ (ค่าโฆษณาใน Youtube) จำนวน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายตามจริง 0 บาท เป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 300,000 บาท 3.เงินได้ 40(2) จากเงินได้จากการรับทำงานให้ จำนวน 15,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 7,500 บาทเป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 7,500 บาท รวมเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 400,000 + 300,000 + 7,500 = 707,500 บาท จะเห็นได้ว่า การแยกประเภทเงินได้ให้ถูกประเภทนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสำคัญมาก เพราะมีความสัมพันธ์กับการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งหากมีการยื่นผิดประเภทก็จะทำให้การหักค่าใช้จ่ายผิดไปด้วย ส่งผลให้เสียภาษีไม่ตรงตามความเป็นจริงและอาจทำให้ถูกเรียกตรวจสอบภายหลังพร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่มที่แสนแพงอีก ดังนั้น ผู้เสียภาษีจึงควรใส่ใจและศึกษาประเภทของเงินได้ให้ถ่องแท้ หรือสามารถติดต่อนักวางแผนการเงินที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการวางแผนภาษี เพื่อช่วยวิเคราะห์และวางแผนภาษีได้อย่างรัดกุมและปลอดภัย ข้อมูลอ้างอิง : ประมวลรัษฎากร มาตรา 40, มาตรา 42 ทวิ, มาตรา 42 ตรี พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1257869
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
30/04/2024
29/04/2024
27/08/2024
29/04/2024
30/04/2024