Everyday knowledge for you
ประกันภัย
30/04/2024
โรคมะเร็ง เป็นโรคร้ายแรงและมีผลกระทบต่อประชากรหลายล้านคนทั่วโลก จากข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สูงที่สุดของไทย โดยในปี 2564 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 83,795 ราย หรือคิดเป็นชั่วโมงละเกือบ 10 คนนอกจากความเจ็บป่วยทางกาย ผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ป่วยและคนใกล้ชิด หรือการเสียชีวิตแล้ว โรคมะเร็งยังส่งผลกระทบต่อด้านการเงินอย่างมาก ทั้งค่ารักษาพยาบาลโดยตรง ค่าใช้จ่ายทางอ้อม และการเสียโอกาสในการสร้างรายได้ซึ่งปัจจุบันแนวทางการรับมือกับโรคมะเร็งที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาหายขาด ทำได้ไม่ยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายต่ำกว่าคือการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เนื่องจากเมื่อตรวจพบโรคมะเร็งได้เร็ว การรักษามักจะได้ผลดีมากขึ้น และโอกาสการกลายเป็นมะเร็งระยะลุกลามลดลงนายแพทย์เพชร สมบูรณ์กุลวุฒิ ผู้บริหารศูนย์บริการการแพทย์ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ BLA ได้ให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไว้อย่างน่าสนใจว่า“การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งด้วยวิธีต่าง ๆ จะขึ้นกับชนิดของมะเร็งที่ต้องการคัดกรอง นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น อายุ เพศ ประวัติครอบครัว ความเสี่ยง และความจำเป็นตามมาตรฐานทางการแพทย์ ดังนั้นจึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เมื่อต้องการตรวจ หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ”นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อมูลและคำแนะนำ สำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่พบบ่อยมีดังนี้1. มะเร็งลำไส้ใหญ่ แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป หรือมีอาการผิดปกติ หรือหากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้แนะนำให้ตรวจเร็วขึ้น เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ทุก 5 ถึง 10 ปี ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงนอกจากนี้ ยังสามารถตรวจคัดกรองโดยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonoscopy) หรือการตรวจอุจจาระหาเลือดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Fecal Occult Blood Test) ได้เช่นกัน ขึ้นการความเหมาะสม2. มะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแนะนำให้ตรวจด้วยหลายวิธีร่วมกันดังนี้ 1.การตรวจเต้านมด้วยตนเอง แนะนำให้ผู้หญิงตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1 เดือน 2.การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมอย่างน้อยทุก 3 ปี ส่วนสตรีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปให้ตรวจทุกปีและ 3.การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) แนะนำให้ตรวจเป็นประจำในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติเสี่ยง เช่น ประวัติครอบครัว มีบุตรช้า ประจำเดือนมาเร็ว หรือใช้ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมน แนะนำให้ตรวจเร็วขึ้น3. มะเร็งต่อมลูกหมาก การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถทำได้โดยการตรวจวัดระดับสารพีเอสเอ (PSA) ในเลือด ซึ่งแนะนำให้ผู้ชายอายุ 50 – 70 ปี หรือมีอาการผิดปกติ ตรวจเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ตรวจทางทวารหนัก (Digital rectal examination: DRE) ร่วมด้วยซึ่งช่วยให้การตรวจคัดกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้นปัจจุบันยังมีการคัดกรองโรคมะเร็งวิธีอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจ PAP Smear หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในกลุ่มผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดโดยการตรวจ Low-Dose CT เป็นต้น ทั้งนี้ การเลือกตรวจคัดกรองแต่ละวิธีอาจขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาในการเลือกตรวจคัดกรองตามมาตรฐาน ความจำเป็นทางการแพทย์ และความเหมาะสมของแต่ละบุคคลแม้ว่าการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งบางวิธีมีราคาสูง แต่เมื่อเทียบกับการรักษาโรคมะเร็งแล้ว พบว่าการรักษาโรคมะเร็งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่าย ได้แก่ ชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค และ แนวทางการรักษา เป็นต้นในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการผ่าตัด และการให้ยาเคมีบำบัด อาจมีค่ารักษาสูงกว่า 2 ล้านบาท ซึ่งอาจกระทบกับความมั่นคงทางการเงินของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจึงมีส่วนช่วยให้ตรวจพบโรคได้ในระยะเริ่มแรก และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไรก็ตาม แม้การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งยังไม่สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ แต่สามารถจัดการความเสี่ยงด้านการเงินที่เกิดจากโรคมะเร็งได้โดยกรุงเทพประกันชีวิตเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มประกันโรคร้ายแรง ซึ่งมีหลายรูปแบบ หลายความคุ้มครอง ตามความต้องการของผู้เอาประกัน ซึ่งเมื่อตรวจพบโรคมะเร็งแม้จะพบจากการตรวจคัดกรองก็ตาม ก็สามารถรับความคุ้มครองได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ที่กำหนด ช่วยผู้ป่วยและคนใกล้ชิดสามารถมุ่งมั่นกับกระบวนการรักษาได้อย่างเต็มที่ และประกันโรคร้ายแรงช่วยบรรเทาผลกระทบด้านการเงินผลิตภัณฑ์ล่าสุดในกลุ่มของประกันโรคร้ายแรง ที่กรุงเทพประกันชีวิตได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “แฮปปี้ ซีไอ” ซึ่งตอบโจทย์ผู้บริโภค เน้นความคุ้มครองที่มอบผลประโยชน์คุ้มค่า ครอบคลุมโรคร้ายแรงที่พบมากที่สุด 6 กลุ่มโรค อาทิ กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก หัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดสมองและระบบประสาท ไต การติดเชื้ออย่างรุนแรง และยังรวมไปถึงกลุ่มโรคผู้สูงอายุที่พบมากได้แก่ โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน รวมทั้งหมด 14 โรคร้ายแรง ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับความสบายใจจากความคุ้มครองนี้ยาวถึงอายุ 99 ปี ด้วยเบี้ยประกันภัยคงที่ตลอดสัญญา ไม่เพิ่มตามอายุ และยังสามารถเลือกระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยได้ทั้งแบบ 20 ปี หรือถึงอายุ 99 ปีนอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคร้ายแรงระหว่างสัญญา หรือมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญาก็รับเงินก้อน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง แฮปปี้ ซีไอ สะสมตามจริง แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่าดังนั้นโดยสรุปแล้ว นอกเหนือจากการรับมือกับโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการหมั่นดูแลตรวจสอบสุขภาพร่างกายของเราโดยมีการตรวจคัดกรองโรงมะเร็งเพื่อให้พบความผิดปกติเร็วขึ้นและช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นแล้ว การวางแผนด้านการเงิน ด้วยการมีแผนประกันความคุ้มครองที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทางด้านการเงิน จะสามารถช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจ เพื่อการมีชีวิตที่มั่นคงและยืนยาวได้อย่างมีคุณภาพแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1206963
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
ประกันภัยสุขภาพ แบบมีความผิดส่วนแรก ‘Deductible’ และมีส่วนร่วมจ่าย ‘Co-payment’ สองฟีเจอร์ยอดฮิตที่ต้องระวังก่อนทำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ต้องยอมรับว่าปัจจุบันประกันสุขภาพเป็นหนึ่งในแบบประกันที่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นต้นมา เพราะนอกจากประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเมื่อต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (นอนโรงพยาบาลมากกว่า 6 ชั่วโมง) จากอาการเจ็บป่วยจาก Covid-19 แล้ว ยังให้ความคุ้มครองครอบคลุมการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคอื่น ๆ อีกด้วยอย่างไรก็ตาม ข้อกังวลใจสำคัญของผู้ซื้อหลาย ๆ คน ก็คือเรื่องของเบี้ยประกันภัยที่ต้องมีการชำระทุกปี หรือการมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากประกันกลุ่มของบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่แล้ว ก็เลยทำให้ความสนใจในประกันสุขภาพลดน้อยถอยลงไป และหากจะกลับมาสนใจในการทำประกันสุขภาพอีกครั้ง ก็จะเป็นช่วงเวลาที่อาจจะไม่ได้รับสวัสดิการประกันกลุ่มจากบริษัทแล้ว หรือเมื่อป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งแล้ว ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ก็อาจจะสายเกินไปที่จะมาซื้อประกันสุขภาพก็ได้บริษัทประกันหลาย ๆ บริษัท จึงได้ออกฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้ซื้อที่มีความหลากหลายเช่นกัน โดยเฉพาะฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน คือความรับผิดส่วนแรก ‘Deductible’ และมีส่วนร่วมจ่าย ‘Co-payment’ ซึ่งจะช่วยทำให้การตัดสินใจของผู้ซื้อประกันสุขภาพง่ายขึ้น แต่ก็มีรายละเอียดที่ต้องระวัง มิฉะนั้นอาจจะทำให้ผู้ซื้อเสียประโยชน์ไปได้วันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘Deductible’ และ ‘Co-payment’ กันให้มากขึ้นเริ่มต้นจาก ‘Deductible’ หรือ ความรับผิดชอบส่วนแรก ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบด้วยตนเองจนครบ ก่อนที่จะเคลมส่วนเกินจากบริษัทประกัน โดยความรับผิดชอบส่วนแรกนี้ ทางบริษัทประกันอาจจะมีการกำหนดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแบบประกัน และบริษัทประกันข้อดีของประกันสุขภาพที่มี Deductible ให้เลือกคือ ผู้เอาประกันภัยสามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้ 20-30% ของเบี้ยประกันภัยปกติ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีประกันสุขภาพ หรือมีสวัสดิการประกันสุขภาพกลุ่มอยู่แล้ว เพราะความรับผิดชอบส่วนแรกนี้ สามารถใช้ประกันสุขภาพเดิมของตนเองหรือประกันสุขภาพกลุ่มมาจ่ายได้ ทำให้ไม่ต้องจ่ายด้วยตนเองตัวอย่างความรับผิดชอบส่วนแรกที่พบคือ “ความรับผิดชอบส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนรับผิดชอบทุกครั้ง” กล่าวคือ ประกันสุขภาพแบบนี้จะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนเท่าไรในแต่ละครั้งก่อนที่จะนำค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินมาเคลมบริษัทประกัน เช่น กำหนดค่ารับผิดชอบส่วนแรกไว้ที่ 30,000 บาท หากผู้เอาประกันภัยมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อครั้ง ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นคนจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมดแต่หากมีค่าใช้จ่ายเกิน 30,000 บาท ภายหลังจากการจ่ายค่ารักษา 30,000 บาทแรกด้วยตนเองแล้ว ก็สามารถนำส่วนที่เกิน 30,000 บาท มาเคลมค่ารักษากับบริษัทประกันได้ (ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพเดิมของตนเองหรือประกันสุขภาพกลุ่มมาจ่ายความรับผิดชอบส่วนแรกได้) แสดงว่า หากค่ารักษาพยาบาลในครั้งนั้น ๆ ไม่ถึง 30,000 บาท ก็จะไม่สามารถเคลมบริษัทประกันได้อย่างแน่นอนนอกจากนี้ ยังมี “ความรับผิดชอบส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนรับผิดชอบเป็นรายปี” กล่าวคือ ประกันสุขภาพแบบนี้จะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนเท่าไรต่อปีก่อนที่จะนำค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินมาเคลมบริษัทประกัน เช่น กำหนดค่ารับผิดชอบส่วนแรกไว้ที่ 50,000 บาทต่อปี ดังนั้นผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นคนจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเองตั้งแต่บาทแรกจนครบจำนวนที่เงื่อนไขกำหนดไว้ที่ 50,000 บาท โดยนับทุกการรักษาของการเป็นผู้ป่วยใน และเมื่อใดที่มีค่าใช้จ่ายเกิน 50,000 บาทต่อปีแล้ว ก็สามารถนำส่วนที่เกิน 50,000 บาท มาเคลมค่ารักษากับบริษัทประกันได้ (ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพเดิมของตนเองหรือประกันสุขภาพกลุ่มมาจ่ายความรับผิดชอบส่วนแรกได้) แสดงว่าหากค่ารักษาพยาบาลในปีนั้น ๆ ไม่ถึง 50,000 บาท ก็จะไม่สามารถเคลมบริษัทประกันได้อย่างแน่นอนมาดูที่ ‘Co-payment’ กันต่อ ลักษณะการทำงานของ Co-payment จะเป็นการมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลในแต่ละครั้ง โดยมีการกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบเอาไว้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแบบประกันแต่ละแบบ และลักษณะ Co-payment ที่ผู้เอาประกันภัยได้เลือกเอาไว้เช่น ผู้เอาประกันภัยเลือก Co-payment 20% หมายความว่า ทุกการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมา ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล 20% ขณะที่บริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลอีก 80% ที่เหลือหรือ หากผู้เอาประกันภัยเลือก Co-payment 80% หมายความว่า ทุกการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมา ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล 80% ขณะที่บริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลอีก 20% ที่เหลือ เป็นต้นข้อดีของ Co-payment ก็คือ ผู้เอาประกันภัยสามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้ตามจำนวน Co-payment ที่ตนเองได้เลือกเอาไว้ เช่น หากเลือก Co-payment 20% ก็สามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยไปได้ 20% เช่นกัน หรือหากเลือก Co-payment 80% ก็สามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยไปได้ 80% เช่นกันซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีประกันสุขภาพ หรือมีสวัสดิการประกันสุขภาพกลุ่มอยู่แล้ว ทั้งนี้ผู้เอาประกันสามารถใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพเดิมของตนเองหรือประกันสุขภาพกลุ่มมาจ่ายความรับผิดชอบร่วมในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบได้จะเห็นได้ว่าทั้ง ‘Deductible’ และ ‘Co-payment’ เป็นฟีเจอร์ของประกันสุขภาพที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตที่ผู้เอาประกันภัยต้องระวัง คือ ลักษณะของ ‘Deductible’ และ ‘Co-payment’ นั้น ไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะทำเป็นประกันสุขภาพฉบับแรก และประกันฉบับเดียวของผู้เอาประกันภัย เพราะจะสร้างภาระด้านความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นให้ผู้เอาประกันภัยเรียกได้ว่า จ่ายทั้งเบี้ยประกัน จ่ายทั้งค่ารักษา ไม่ได้ช่วยประหยัดเงินได้เลย และอีกข้อสังเกตหนึ่งก็คือหากต้องการยกเลิก ‘Deductible’ และ ‘Co-payment’ เพื่อมาใช้ประกันสุขภาพแบบ Full coverage (ให้บริษัทประกันรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล) ผู้เอาประกันภัยจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนที่จะได้รับความคุ้มครองอีกด้วยซึ่งหากมีประวัติสุขภาพก็อาจจะไม่สามารถทำประกันสุขภาพแบบ Full Coverage ได้ ดังนั้นผู้เอาประกันภัยต้องตัดสินใจให้ดีว่า ‘Deductible’ และ ‘Co-payment’ เหมาะสมกับเราจริง ๆ หรือไม่ แล้วเรามีแผนสำรองในกรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนมาเป็นแบบ Full Coverage แล้วหรือไม่ซึ่งหากไม่มีแผนสำรอง และก็ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องประหยัดค่าเบี้ยประกันภัย ก็ขอแนะนำให้เลือกซื้อแบบ Full Coverage ไปเลยตั้งแต่แรกดีกว่าบทความโดย โกเมศ สุพลภัค นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1208876
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงินผู้เขียน : พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่ แอคชัวรี)ด้วยภาวะการแข่งขันที่สูงในปัจจุบันส่งผลให้บริษัทประกันชีวิตแข่งกันนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ทำให้หลาย ๆ ครั้งผู้บริโภคสับสนว่าเวลาจะเลือกซื้อประกันชีวิตให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรจะพิจารณาอย่างไรผมจึงอยากแนะนำวิธีการพิจารณาเลือกซื้อแบบการประกันชีวิต เพื่อให้ผู้ซื้อได้ประโยชน์สูงสุดควรพิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ข้อ ดังต่อไปนี้1. ตรวจเช็กสุขภาพทางการเงินของตนเองก่อน ว่ามีทุนประกันอยู่เพียงพอที่จะให้คนข้างหลังได้ใช้ชีวิตอยู่ต่อไปโดยที่ไม่เดือดร้อนทางการเงินได้นานกี่เดือนหรือกี่ปี2. มองหาแบบประกันที่ตรงกับช่วงจังหวะชีวิตของตนเอง เพราะแต่ละวัยย่อมมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน โดยให้มองถึงระยะเวลาของความคุ้มครองด้วย รวมถึงระยะเวลาในการชำระเบี้ย อีกทั้งให้วางแผนล่วงหน้าว่าแบบประกันชีวิตนี้สามารถเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมอะไรได้บ้าง3. ต้องการการันตีมากน้อยแค่ไหน เพราะปัจจุบันมีให้เลือกตั้งแต่แบบประกันทั่วไป (ที่บริษัทประกันภัยรับความเสี่ยงไว้เอง) แบบประกันยูนิเวอร์ซอลไลฟ์ (ที่บริษัทประกันภัยคอยประกาศจ่ายให้ Crediting rate เป็นระยะ) หรือแบบประกันยูนิตลิงก์ (ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนเองทั้งหมด) เป็นต้นทั้งนี้ ประชาชนไม่ควรใช้อัตราผลตอบแทน (IRR) มาใช้ในการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพียงอย่างเดียว เนื่องจากแบบประกันชีวิตแต่ละแบบมีส่วนผสมของความคุ้มครองที่ไม่เหมือนกัน เวลาที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นจะคำนึงถึงสัดส่วนของการสะสมทรัพย์ กับความคุ้มครองชีวิตเป็นหลัก เช่น เบี้ยประกันชีวิต 100 บาทที่ได้รับมานั้นสำหรับแบบประกันชีวิตของบริษัทหนึ่งอาจจะเป็นการสะสมทรัพย์ 80 บาท และความคุ้มครองชีวิต 20 บาทส่วนสำหรับของอีกบริษัทหนึ่งอาจจะเป็นการสะสมทรัพย์ 70 บาท และความคุ้มครองชีวิต 30 บาท การที่ดูอัตราผลตอบแทน (IRR) เพียงอย่างเดียว จะบอกได้แค่ผลตอบแทนในส่วนของการสะสมทรัพย์เท่านั้น อีกทั้งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตบางแบบอาจจะมีส่วนผสมของเบี้ยประกันภัยในส่วนของการสะสมทรัพย์เพียงแค่ 10 บาท และเบี้ยประกันภัยสำหรับความคุ้มครองชีวิตถึง 90 บาทก็เป็นได้ด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันเหล่านี้ จึงทำให้นำผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตต่างแบบมาเปรียบเทียบกันด้วย IRR อย่างเดียวไม่ได้ หรืออาจเทียบให้เห็นภาพเช่นเดียวกับกาแฟ ที่มีวิธีการปรุงหลายแบบ อาทิ ลาเต้ มอคค่า คาปูชิโน่ เอสเพรสโซ่ ต่างก็มีส่วนผสมของเนื้อกาแฟและนมที่แตกต่างกัน แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ากาแฟที่ปรุงแบบไหนดีกว่ากันนอกจากนี้ เงินสดคืนของแต่ละแบบประกันชีวิตก็มีไม่เหมือนกัน บางแบบจ่ายก่อน บางแบบจ่ายหลัง บางแบบให้ฝากคืนกลับบริษัทได้ แต่บางแบบฝากคืนกลับไม่ได้ การคำนวณอัตราผลตอบแทน (IRR) นั้น มีข้อจำกัดตรงที่เป็นวิธีการที่สมมุติว่าเงินสดคืนนั้นสามารถฝากกลับกับบริษัทได้ด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูงแบบ IRRดังนั้นการคำนวณอัตราผลตอบแทน (IRR) มาใช้เปรียบเทียบจึงเป็นการพยายามเอาแอปเปิลมาเปรียบเทียบกับส้ม ประชาชนไม่ควรลืมว่า การซื้อประกันชีวิตคือการสะสมทรัพย์ที่มีความคุ้มครองไปด้วย บ่อยนักที่เราจะเห็นแบบประกันชีวิตที่มีอัตราผลตอบแทน (IRR) สูง แต่ให้ประโยชน์กับผู้เอาประกันภัยบางกลุ่มสู้แบบประกันชีวิตที่มีอัตราผลตอบแทน (IRR) รองลงมาแต่มีทุนความคุ้มครองชีวิตที่คุ้มค่ากว่าไม่ได้ดังนั้น ในการเลือกซื้อประกันชีวิต ต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เพราะทุกคนมีความเสี่ยง มีความต้องการ มีความมุ่งหวังที่แตกต่างกัน การวางแผนทางการเงินจึงอาจแตกต่างกัน และทุกแบบประกันชีวิตก็มีส่วนผสมที่ออกแบบมาเพื่อให้ลงตัวในแบบของมันเองแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชิธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1207288
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
การวางแผนทางการเงิน เปรียบเสมือนการวางแผนอนาคต ความจริงไม่ว่าจะวัยไหนก็ควรวางแผนการเงิน โดยเฉพาะในวัยเด็ก การปลูกฝังให้เด็กรู้จักการวางแผนทางการเงินแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ในอนาคตเด็กคนนั้นจะกลายเป็นผู้ที่รู้จักบริหารจัดการตนเองได้ และอาจกลายเป็นเถ้าแก่น้อย ตั้งแต่อายุยังไม่มากได้เลยทีเดียว 1. วัยเด็ก วัยเด็กเป็นวัยที่ควรปลูกฝังให้มีนิสัยการใช้เงินอย่างสมเหตุสมผล การสอนให้เด็กรู้จักวางแผนทางการเงินแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เด็กรู้จักค่าของเงิน เป็นพื้นฐานที่จะส่งผลที่ดีต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต กลายเป็นผู้ที่รู้จักบริหารจัดการตนเองได้ และอาจเป็นเถ้าแก่น้อย ตั้งแต่อายุยังไม่มากได้เลยทีเดียว 2. วัยทำงาน วัยทำงานเป็นวัยที่เริ่มมีเงินใช้เป็นของตนเอง และมีโอกาสตามกระแสสังคมมาก ส่งผลให้หลายคนเกิดปัญหาการใช้เงินเกินตัว และก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมามากมาย ดังนั้นหากไม่มีการวางแผนทางการเงินที่ดี ก็อาจจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคตเลยก็ว่าได้ 3. วัยสร้างครอบครัว ในช่วงวัยของการสร้างครอบครัว เป็นวัยที่ต้องมีความรับผิดชอบสูง เนื่องจากมีสมาชิกในครอบครัวที่ต้องดูแล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวางแผนทางการเงินอย่างรัดกุม ให้เพียงพอต่อรายจ่ายประจำในแต่ละเดือน 4. วัยเกษียณ ในวัยเกษียณแม้จะมีภาระทางการเงินที่น้อยลงแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต่อทำการวางแผนทางการเงินอยู่ เพื่อไม่ให้ตนเองกลายเป็นภาระของลูกหลาน เนื่องจากคนวัยนี้ส่วนใหญ่จะมีรายรับน้อยลง แต่รายจ่ายในด้านการดูแล รักษาสุขภาพกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใด การวางแผนทางการเงินก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพราะนอกจากจะมีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินแล้ว คุณยังอุ่นใจได้อีกว่า ตนจะไม่กลายเป็นภาระของผู้ใด และยังมีเงินเก็บสำรองสำหรับคนที่คุณรักไว้ใช้ในอนาคตต่อไปอีกด้วย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับsmartsme https://www.smartsme.co.th/content/249414
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
เตรียมตัวให้พร้อม!! เมื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนสิ่งเก่า ๆ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น อาจมีบาง ‘อาชีพ’ ที่อาจจะหายไป เพราะระบบ AI เข้ามาทำงานแทนได้ เป็นเรื่องจับตามองที่เทคโนโลยีต่างๆ เมื่อระบบ AI เข้ามาช่วยพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้น อย่าง ChatGPT ที่ไม่เพียงสร้างความแปลกใหม่ แต่มีประโยชน์หลายประการ และยังมาเสริมประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย ที่น่าสนใจกว่านั้น คือ บางอาชีพอาจตกเป็นอันตราย เสี่ยงในการตกงานหรือว่างงาน เพราะเทคโนโลยีนั้นสามารถทำแทนได้ และนี่คือตัวอย่าง 10 อาชีพ ที่มีโอกาสที่เทคโนโลยี AI จะเข้ามาทำงานแทนที่ได้ 1. งานสายการศึกษา ครูหรืองานเกี่ยวกับการสอน เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวว่าโรงเรียนในนิวยอร์ก ได้แบนการใช้งานของ ChatGPT บนเครือข่ายและอุปกรณ์ต่าง ๆ หลังมีนักเรียนนำมาใช้ช่วยทำการบ้าน สะท้อนให้เห็นว่าระบบ AI เริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับภาคการศึกษา 2. งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และข้อมูลต่าง ๆ เช่น โปรแกรมเมอร์, วิศวกรซอฟต์แวร์, นักวิเคราะห์ข้อมูล, นักพัฒนาเว็บไซต์ ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน อาชีพเหล่านี้ยังคงเป็นที่ต้องการในหลายองค์กรก็ตาม แต่ในอนาคต เมื่อ AI พัฒนามากขึ้น ก็อาจเข้ามาทำงานแทนกลุ่มคนเหล่านี้ได้ ล่าสุด เกิดกระแสความฮือฮา เมื่อ ChatGPT สัมภาษณ์ผ่านฉลุย และจะถูกจ้างในตำแหน่ง “วิศวกรซอฟต์แวร์ ระดับ 3” ของ Google ได้งานค่าจ้างเดือนละกว่า 5 แสนบาท 3. งานด้านกฎหมาย โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคดี รวบรวมและหาหลักฐานสนับสนุนในการว่าความ 4. งานสายการเงิน นักวิเคราะห์การเงิน, ที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะบริษัทใหญ่ ๆ ในปัจจุบัน เริ่มใช้ระบบ AI ในการเก็บข้อมูลกันอย่างแพร่หลายแล้ว อย่างไรก็ดี ถึงแม้ AI ที่กำลังพัฒนาจะเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่ช่วยเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ให้ แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า อำนาจในการตัดสินใจทางการเงินและเศรษฐกิจที่สำคัญ ก็จะยังเป็นของมนุษย์อย่างแน่นอน 5. งานเกี่ยวพันกับการซื้อขายสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เพื่อทำกำไรในระยะเวลาสั้น ๆ หรือนักเทรดหุ้นนี้ มีโอกาสที่จะโดน AI เข้ามาแทนที่ เพราะการทำงานที่มีระบบ และรูปแบบค่อนข้างตายตัว โดยอาศัยข้อมูลและการคาดการณ์เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ AI เชี่ยวชาญอีกด้วย 6. งาน graphic design ,สถาปัตยกรรม หรือด้านอื่นๆ ของการออกแบบ โดยวงการนี้ก็สะเทือนตั้งแต่มีแอพพลิเคชัน ‘Canva’ ออกมาให้ใช้งานกันแล้ว ยิ่งในตอนนี้มีการพัฒนา AI ที่วาดภาพได้หลากหลาย เพียงป้อนคำสั่งกำหนดเนื้อหาและสไตล์เข้าไป กลับถูกใจลูกค้าที่ชอบความง่ายและรวดเร็ว ส่งให้โอกาสสร้างรายได้ของอาชีพนี้ก็ยิ่งน้อยลง 7. งานสื่อมวลชนและโฆษณา โดยเฉพาะการสร้างคอนเทนต์ด้วยงานเขียน ซึ่งได้มีหลายองค์กรเริ่มมีการทดลองใช้ ChatGPT สร้างงานเขียนออกมา 8. งานการผลิตและเภสัชกรรม เมื่อกระบวนการผลิตสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในปัจจุบันได้รับการใช้เครื่องจักรแล้ว AI ก็สามารถจัดการด้านการปฏิบัติงานได้ดีเช่นกันไม่แพ้มนุษย์ แม้แต่ในห้องปฏิบัติการเภสัชกรรมหุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างการทดลองต่าง ๆ ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และมีโอกาสที่หุ่นยนต์จะสามารถทำแทนนักวิทยาศาสตร์ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์ 9. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย เริ่มมีให้เราเห็นขึ้นเยอะ สามารถตรวจสอบได้ละเอียดและแม่นยำ มีโอกาส 84% ที่ AI จะเข้ามาแทนที่ทั้งหมด 10. งานบริการลูกค้า ซึ่งในตอนนี้บริษัทส่วนใหญ่ก็ใช้เทคโนโลยี AI ทำงานแทนมนุษย์กัน เพราะมองว่าฝ่ายบริการลูกค้าที่ทำงานโดยมนุษย์ อาจมีอารมณ์หรือบุคลิกที่แตกต่างกันออกไป การตอบคำถามหรือพูดคุยอาจมีความผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ตำแหน่งนี้ได้ถูกแทนที่ไปบ้างแล้วด้วยแชทบอท ที่รองรับการหาข้อมูลจำนวนมากโดยไม่จำกัดอีกด้วย อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทั้งหมดที่จะมาทดแทนการทำงานของมนุษย์ เพราะ ยังมีกิจกรรม อาชีพอีกมากมายที่ยังคงต้องใช้มนุษย์ในการสร้างสรรค์และควบคุมอยู่ เพียงแต่นำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบร่วมให้สามารถทำได้ดี แน่นอนว่าเมื่อเป็นแบบนี้แล้ว เราก็คงต้องปรับตัวตามกันให้ทันแล้ว เพราะดูเหมือนระบบ AI นี้ จะถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับข่าวสดออนไลน์ https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_7521954
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
เปิดกระบวนการฟอกเงินสีเทาให้เป็นสีขาว ทั้งกลุ่มยาเสพติด พนันออนไลน์ ค้ามนุษย์ คอร์รัปชัน ล้วนแต่ใช้วิธีเดียวกัน ‘ผศ.ดร.สุพัตรา แผนวิชิต’ อาจารย์นิติศาสตร์ มสธ. แจง ‘15 รูปแบบ’ การฟอกขาว บางอย่างเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีการแสวงหาผู้ถูกรางวัลที่ 1 เพื่อใช้เงินสีเทาซื้อสลากฯ กลายเป็นเงินถูกกฎหมายได้ทันที ขณะเดียวกัน การใช้บ่อนกาสิโนฟอกเงิน ทำได้ง่ายๆ ระบุเทคโนโลยีทำให้แก๊งมิจฉาชีพพัฒนารูปแบบ ส่งผลให้หน่วยงานรัฐยากต่อการตรวจสอบ ทั้งบัญชีม้า สกุลดิจิทัล มั่นใจกฎหมายไทยตามไล่หลัง แต่เอาผิดได้แน่! กระบวนการฟอกเงินสีเทาๆ ให้กลายเป็นเม็ดเงินสีขาวได้โดยง่าย ซึ่งส่วนใหญ่เงินดังกล่าวมีที่มาจากการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การพนันออนไลน์ การคอร์รัปชัน และการประกอบธุรกิจสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ ปัจจุบันกระบวนการฟอกเงินได้มีการเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการฟอกเงินไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนทำให้เกิดความซับซ้อนยากต่อการตรวจสอบและติดตามร่องรอยทางการเงิน เนื่องจากมีขบวนการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอาชญากรข้ามชาติไปแล้ว อย่างไรก็ดี หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ปปง. ป.ป.ช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ก็ได้ผนึกกำลังความร่วมมือเพื่อปราบปราม จับกุม ยึดทรัพย์บรรดาผู้กระทำผิดดังกล่าว ซึ่งปรากฏเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญเงินสีเทาๆ เหล่านี้ บางรูปแบบก็ผ่านกระบวนการฟอกเงินที่เราอาจคาดไม่ถึง! ผศ.ดร.สุพัตรา แผนวิชิต อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระบุว่า การฟอกเงินคือการนำเงินที่ผิดกฎหมายมาผ่านกระบวนการแปรสภาพทรัพย์สิน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การฉ้อโกงประชาชน แชร์ลูกโซ่ การค้ามนุษย์ การพนันออนไลน์ เป็นต้น โดยกระบวนการฟอกเงินจะมีวัตถุประสงค์เพื่อปกปิดแหล่งที่มาของเงิน เพื่อซุกซ่อนทรัพย์สิน ปกปิดความเป็นเจ้าของที่แท้จริง ปกปิดแหล่งที่มาที่ผิดกฎหมาย และเป็นกระบวนการที่ทำให้ดูเสมือนว่าเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะดำเนินการผ่าน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. การนำทรัพย์เข้าสู่ระบบ เป็นกระบวนการขั้นแรกในวงจรการซักฟอกเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด โดยมีการจัดการเงินสดจำนวนมหาศาลที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย โดยเคลื่อนเงินสดจากสถานที่สามารถถูกตรวจสอบได้ เพื่อจะหลีกเลี่ยงการตรวจจับของเจ้าพนักงาน และจะเปลี่ยนสถานะจากเงินเป็นทรัพย์สิน หรือสินทรัพย์ เช่น การนำเงินสดฝากเข้าธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยอาจผสมกันกับเงินหรือผลกำไรที่ได้จากธุรกิจถูกกฎหมาย การนำเงินสดออกนอกประเทศ การใช้เงินสดซื้อสินค้าที่มีราคาสูง ซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือธุรกิจ หรือในบางกรณีตามที่สังคมจะได้ยินข่าวว่ามีคนที่เกี่ยวข้องกับเงินดังกล่าว เอาเงินสดไปซุกซ่อนไว้ในบ้าน หรือแอบซ่อนใส่ตู้เซฟ สำหรับวิธีการเอาเงินสดเก็บไว้ในบ้านคือการฟอกเงินประเภทหนึ่งแม้ว่าจะไม่ได้แปรสภาพจากเงินตัวเดิมก็ตาม 2. การทับซ้อนธุรกรรม เป็นขั้นตอนที่อาชญากรพยายามที่จะซ่อนเร้นหรือเปลี่ยนแปลงที่มาของความเป็นเจ้าของเงินสกปรก จะกระทำโดยการคิดขั้นตอนที่ซับซ้อนในการกระทำธุรกรรมทางการเงิน โดยที่จะหลบเลี่ยงการตรวจสอบและไม่ถูกบ่งชี้ตัวบุคคล เพื่อที่จะตัดความสัมพันธ์ของเงินสกปรกจากแหล่งที่มาอันผิดกฎหมาย โดยเจตนาทำธุรกรรมที่ซับซ้อนเพื่อมิให้ถูกตรวจสอบที่มาและเจ้าของเงิน วิธีการเช่น การโอนเงินไปบริษัทในต่างประเทศ หรือบริษัทบังหน้าที่ก่อตั้งอย่างถูกกฎหมายแต่ก่อตั้งมาจากทุนที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย การนำทรัพย์สิน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่นำเงินสกปรกไปซื้อมาขายเลหลังหรือขายต่ออีกทอดหรือหลายๆ ทอด เช่น นำเงินที่ผิดกฎหมายไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ นำเงินไปซื้อทองคำ จากนั้นนำทองคำไปขาย เมื่อขายทองคำเสร็จนำเงินไปซื้อรถหรู ซื้อรถหรูเสร็จ นำไปซื้อหุ้นในตลาดหรือทำอย่างอื่นต่อ เพื่อให้มีความซับซ้อนในการทำธุรกรรมหลายๆ ชั้น เพื่อจะทำให้การติดตามเส้นทางการเงินได้ลำบาก 3. การปนทรัพย์ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ เป็นขั้นตอนที่เงินถูกทำให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินอย่างถูกกฎหมาย รวมไปถึงทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้จากการกระทำความผิดก็เข้าสู่ระบบอย่างถูกกฎหมายด้วย เช่น การโอนเงินผ่านระบบที่ซับซ้อน (ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ) ซึ่งทำให้การแกะรอยทางการเงินไม่สามารถกระทำได้ หรือกระทำได้อย่างยากยิ่ง การแสดงรายได้ที่ถูกฎหมาย ซึ่งมาจากการขายธุรกิจ หรือสินทรัพย์ของธุรกิจที่ใช้เงินสกปรกซื้อ ‘ผศ.ดร.สุพัตรา แผนวิชิต’ อาจารย์นิติศาสตร์ มสธ. ผศ.ดร.สุพัตรา บอกว่า จากการศึกษาและติดตาม พบว่า รูปแบบการฟอกเงินจากในอดีตที่ผ่านมากับปัจจุบันมีความแตกต่างกันตรงที่ในยุคนี้จะมีเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำธุรกรรม เช่น ระบบการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือไม่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางการเงิน เช่น การใช้เงินสกุลดิจิทัล โดยนำเงินที่ได้จากการทำความผิดไปซื้อเงินดิจิทัลสกุลต่างๆ พวก Cryptocurrency แล้วก็ไปแลกเปลี่ยนกันใน ตลาด Crypto ซึ่งจะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการโอนเงินไปที่ไหน อย่างไร เพราะว่าไม่สามารถตรวจสอบที่มาของเงิน รวมทั้งไม่สามารถระบุตัวตนความเป็นเจ้าของเงินสกุลดิจิทัลได้ “การซื้อขายยาเสพติดอาจจะเป็นการใช้ตัว Cryptocurrency ในการซื้อขาย ทำให้เกิดความยากในการตรวจสอบ เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าทลายแก๊งยาเสพติด แก๊งพนันออนไลน์ แก๊งค้ามนุษย์ สุดท้ายเราจะได้เงินสด รถหรู บ้าน แต่พวกเงินดิจิทัลจะไม่ปรากฏ เพราะไม่สามารถเข้าดูได้ มันจะมีรหัส private key ซึ่งจริงๆ แล้วมันอาจมีอยู่จำนวนมากๆ ก็ได้” “ที่สำคัญมิจฉาชีพอาจใช้บัญชีกระเป๋า Crypto Cryptocurrency ซึ่งไม่ได้เปิดใช้บริการผ่านผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตในประเทศไทย ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. แต่ใช้ตัวกลางในต่างประเทศเป็นช่องทางในการซื้อขาย เมื่อไม่ได้ผ่านตัวกลางที่ถูกกำกับดูแลภายใต้กฎหมายไทย จึงเป็นการยากในการตรวจสอบและติดตาม สืบสวนสอบสวนผู้กระทำความผิด” ส่วนรูปแบบการฟอกเงินที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังดำเนินการอยู่มีทั้งหมด 15 รูปแบบ 1. จะมีการนำเงินดังกล่าวไปฝากไว้ที่สถาบันการเงินต่างๆ รวมไปถึงสหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ ที่มีการตั้งขึ้นมา 2. การนำเงินไปซื้อทรัพย์สินที่มีราคาสูง เช่น อสังหาริมทรัพย์ รถหรู ทองคำ เพชรพลอย เป็นต้น ซึ่งวิธีการนี้ยังดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง 3. การฟอกเงินผ่านการลงทุนในหุ้นหรือพันธบัตร 4. การแลกเปลี่ยนหรือซื้อเป็นเงินตราต่างประเทศ หรือเอาเงินสดติดตัวออกนอกประเทศ 5. การขนเงินสดผ่านแดน/ทางเรือ/ทางบก 6. การนำเงินไปฟอกผ่านการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ โดยการเอาเงินสีเทาไปจ่ายเบี้ยประกัน สุดท้ายจะได้เงินปันผลซึ่งเป็นผลประโยชน์กลับมา และถ้าจ่ายครบตามสัญญาก็จะได้เงินก้อนกลับมา เงินที่มาจากกรมธรรม์ จะดูเหมือนว่าเป็นเงินที่ถูกกฎหมาย 7. การนำเงินไปฟอกผ่านการถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยไปขอซื้อรางวัลที่ 1 หรือรางวัลอื่นจำนวนมากๆ จากคนที่ถูกรางวัล จากนั้นนำไปขึ้นเงินจากสำนักงานสลากฯ โดยอาจจะให้คนอื่นมาขึ้นแทนก็ได้ และเงินที่ได้รับมานั้นย่อมจะมีที่ไปที่มาชัดเจน ส่วนจะหาคนที่ถูกรางวัลได้ที่ไหนเพื่อจะไปซื้อรางวัลจากเขานั้น ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะจะเห็นมีการตั้งโต๊ะรับซื้อรางวัลตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งคนที่ฟอกเงินจะรู้และเสาะแสวงหาได้ 8. การนำเงินไปฟอกเงินผ่านการประกันวินาศภัย โดยประกันทรัพย์สินที่มีราคาสูงแล้วทำลายทรัพย์สินที่ทำประกัน 9. การฟอกเงินผ่านบ่อนกาสิโนที่ถูกกฎหมายในต่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกาสิโนที่ถูกกฎหมาย แต่ในต่างประเทศมีกาสิโนถูกกฎหมาย จึงมีการนำเงินไปฟอกด้วยการเอาเงินไปเล่นในกาสิโน และการที่เราได้เงินมาจากกาสิโนที่ถูกกฎหมายจากต่างประเทศจะเป็นที่มาอันหนึ่งว่า เงินนี้ได้มาจากกาสิโนที่ไปเล่นมา “วิธีการไม่มีอะไรซับซ้อน คือ การนำเงินที่ผิดกฎหมายไปเล่น ได้เงินมาเท่าไหร่ก็จะมีที่มาว่าได้เงินมาจากการเล่นในกาสิโนที่ถูกกฎหมาย คือการนำเงินสดที่ได้จากการกระทำผิดกฎหมายไปแลกชิปกาสิโน พอเข้าไปเล่นการพนันแล้ว ได้เท่าไหร่ก็จะมีหลักฐานการจ่ายเงินจากกาสิโน และพอโดนอายัดทรัพย์สิน เวลาที่แจ้งจะบอกว่าเงินจำนวนดังกล่าวมีที่มาจากการเล่นกาสิโน โดยใช้ประกอบกับหลักฐานในหนังสือเดินทาง ก็บอกว่าไปเล่นที่นี่มา ที่เป็นกาสิโน มีที่แลกเงินตรงนี้ ในกรณีดังกล่าวจะต้องมีการพิสูจน์ตั้งแต่ต้นทางว่าเงินที่ไปแลกมาเป็นเงินที่มีที่มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” 10. การฟอกเงินผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล bitcoin cryptocurrency เพื่อซื้อสินค้าและบริการ 11. การนำเงินไปฟอกเงินโดยผ่านการซื้อบัตรเงินสด (e-money) คือการเอาเงินที่ได้จากการกระทำความผิดไปซื้อบัตรเงินสดในรูปแบบต่างๆ เช่น บัตรทางด่วน บัตรกำนัลซื้อของ บัตรที่มีมูลค่าในตัวเอง และใช้เงินไปตามมูลค่าบัตรนั้น ก็เป็นการฟอกเงินไปเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน 12. การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) เพื่อปกปิดร่องรอย ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับการ e-payment จะต้องรายงานธุรกรรมต่างๆ ไปที่สำนักงาน ปปง. 13. การนำเงินไปฟอกผ่านบัญชีม้า ซึ่งถูกนำไปใช้ในการกระทำความผิดต่างๆ ทั้งความผิดเกี่ยวกับการพนัน ฉ้อโกง ยาเสพติด ในอดีตพบว่ากลุ่มที่มีการนำบัญชีม้าไปใช้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเครือข่ายยาเสพติด กลุ่มวงการพนัน รวมทั้งกลุ่มนอมินีที่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินแทนผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลัง ปัจจุบันการติดตามทรัพย์สินมีปัญหาเรื่องบัญชีม้าซึ่งสร้างความยากลำบากมากในการติดตามทรัพย์สิน และดำเนินคดี 14. การจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินกิจการบังหน้า แต่เบื้องหลังคือการฟอกเงิน 15. การใช้ระบบโพยก๊วนหรือธนาคารใต้ดิน เพื่อให้ยากแก่การตรวจสอบ โดยจะทำผ่านร้านการแลกเปลี่ยนเงิน ผ่านวิธีการเครดิต เดบิตเงิน โดยไม่มีการนำเงินออกมา ไม่มีการนำเงินข้ามประเทศจริงๆ อย่างบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้านเรา คือจะมีการถือคำสั่งโอนเงินให้สาขาประเทศนั้นปล่อยเงินไปให้คนในบัญชีที่ระบุไว้ ซึ่งสาเหตุที่เราต้องมีโพยก๊วน เพราะว่าไม่ต้องการแสดงตัวตนในการโอนเงิน และหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการโอนเงิน ผศ.ดร.สุพัตรา กล่าวทิ้งทายว่า การฟอกเงินผ่านสถาบันการเงิน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ระบบของหน่วยงานรัฐจะสามารถเชื่อมโยง ทำให้สามารถตรวจสอบและดำเนินคดีได้ แต่สิ่งที่ตรวจสอบยากจะเกี่ยวข้องกับการใช้บัญชีม้า การโอนเงินใต้ดิน การแลกเปลี่ยนเงิน และพวกเงินดิจิทัลทั้งหลาย ซึ่ง ปปง.และหน่วยงานรัฐต่างๆ ได้มีการแก้กฎหมายที่จะสามารถดำเนินคดีต่อคนที่เกี่ยวข้องได้ แม้ว่าจะทำงานไล่ตามหลังพวกแก๊งมิจฉาชีพก็ตาม! แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/specialscoop/detail/9660000015549
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ปัญหาหนี้ครัวเรือนต้องแก้ให้ตรงจุด เพื่อให้ครัวเรือนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังเร่งดำเนินการฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อหาทางออกในหลายแนวทางโดยเฉพาะหนี้เรื้อรังของกลุ่มเปราะบาง ในกลุ่มคนอายุมากและมีปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง รวมถึงการออกเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้คำนึงถึงความสามารถในการจ่ายหนี้ และผลักดันให้มีกฎหมายที่ช่วยให้ลูกหนี้รายย่อยทั่วไปที่ไปต่อไม่ไหว ได้เข้ากระบวนการฟื้นฟู หรือขอล้มละลายด้วยตนเอง ทุกอย่างมีที่มาที่ไปว่าทำไมคนไทยถึงเป็นหนี้มากมายขนาดนี้ ส่วนหนึ่งมีจากพฤติกรรมติดหรูชอบความสบายใช้เงินเกินตัว และคนวัยทำงานอายุ 25-29 ปี ส่วนใหญ่มากกว่า 58% เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบตั้งแต่ทำงานได้เพียงปีเดียว ใช้บัตรเครดิตนำไปใช้จ่าย กินเที่ยวจนเต็มวงเงินภายในไม่ถึง 1 ปี ต้องจ่ายหนี้ขั้นต่ำจนหนี้พอกพูน สุดท้ายกลายเป็นหนี้เสีย ความน่ากลัวของการเป็นหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคล พบว่าเกือบ 30% มีหนี้เกิน 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมสูงกว่าเงินเดือนหรือรายได้มากถึง 10-25 เท่า ทำให้แต่ละเดือนมีภาระจ่ายหนี้เกินครึ่งของรายได้ จนเงินไม่พอใช้ จึงไม่แปลกที่ครัวเรือนไทยกว่า 62% มีเงินออมไม่เพียงพอไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และการผ่อนชำระขั้นต่ำมายาวนาน ทำให้คนอายุเกิน 60 ปี ยังต้องมีภาระหนี้ต้องผ่อนชำระ เป็นหนี้เฉลี่ยสูงกว่า 415,000 บาทต่อคน เมื่อเกินความสามารถในการชำระหนี้ หรือถึงทางตันในการผ่อนชำระก็ต้องยอมให้ถูกฟ้อง ถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด แต่ก็ยังปลดหนี้ไม่ได้ จนกลายเป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น เพราะหากไม่มีการแก้ไขหนี้อย่างยั่งยืน คาดว่าหนี้ครัวเรือนจะสูงกว่า 80% ของจีดีพี ซึ่งเป็นระดับเฝ้าระวัง อาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ และสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้. แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2630783
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดข้อมูลเปรียบเทียบปลดหนี้ด้วยการถูกลอตเตอรี่ โอกาส "รวย" ด้วย "หวย" มีมากแค่ไหน? สลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจหวย ลอตเตอรี่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดข้อมูลเปรียบเทียบปลดหนี้ด้วยการถูกลอตเตอรี่ โอกาส "รวย" ด้วย "หวย" มีมากแค่ไหน? ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ศคง. 1213 ว่า ปลดหนี้ด้วยลอตเตอรี่ มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน!! พร้อมเปรียบเทียบตารางโอกาสรวยด้วยหวย มีมากแค่ไหน ตารางโอกาสรวยด้วยหวย มีมากแค่ไหน รางวัลที่ 1 จำนวนเงินรางวัล 6,000,000 บาท โอกาส 1 ใน 1,000,000 รางวัลที่ 2 จำนวนเงินรางวัล 200,000 บาท โอกาส 5 ใน 1,000,000 รางวัลที่ 3 จำนวนเงินรางวัล 80,000 บาท โอกาส 10 ใน 1,000,000 รางวัลที่ 4 จำนวนเงินรางวัล 40,000 บาทโอกาส 1 ใน 100,000 รางวัลที่ 5 จำนวนเงินรางวัล 20,000 บาท โอกาส 1 ใน 10,000 รางวัลเลขหน้า/เลขท้าย 3 ตัว จำนวนเงินรางวัล 4,000 บาท โอกาส 2 ใน 1,000 รางวัลเลขท้าย 2 ตัว จำนวนเงินรางวัล 2,000 บาท โอกาส 1 ใน 100 ทั้งนี้ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำว่าให้เริ่มการออมเงินตั้งแต่วันนี้ รับรองว่ามีเงินก้อนปลดหนี้ได้มากกว่า เพราะโอกาสได้เงินก้อนจากการเสี่ยงดวงนั้นไม่ง่าย แต่ถ้าออมวันนี้ ได้มีเงินก้อนแน่ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213 แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับทีเอ็นเอ็นออนไลน์ https://www.tnnthailand.com/news/wealth/138861/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
หลังเริ่มทำงานไม่นานเพื่อนที่ทำงานด้าน “ประกันชีวิต” คนหนึ่งได้นำเสนอการทำประกันให้กับผม ทุกวันนี้ผมยังจำบทสนทนาระหว่างผมกับเพื่อนในวันนั้นว่าผมทำประกันชีวิตไปเพื่ออะไรในเมื่อผมไม่ได้มีภาระทางการเงินอะไร เวลาผ่านไปหลายปีผมได้ข่าวว่าเพื่อนคนนี้ได้จากไปก่อนเวลาอันควร การสูญเสียเสาหลักด้านรายได้คงส่งผลกระทบกับครอบครัวของเขาที่มีลูกอายุไม่กี่ขวบไม่มากก็น้อย“ผมคิดว่าด้วยอาชีพของเขาคงจะได้รับเงินจากกรมธรรม์ประกันชีวิตไม่มากก็น้อย ขณะเดียวกันทำให้ผมกลับมาคิดว่าถ้าหากวันหนึ่งเหตุการณ์แบบนี้เกิดกับครอบครัวของผมจะเป็นอย่างไร”ต่อมาเมื่อเรียนเรื่อง “การวางแผนการเงินส่วนบุคคล” ผมพบว่าในกระบวนการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลนั้น “การบริหารจัดการความเสี่ยง” มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ในการวางแผนการเงิน ผู้บรรยายในชั้นเรียนยกตัวอย่างเรื่อง “การสวมหน้ากากออกซิเจนบนเครื่องบิน” ว่า การที่ผู้ใหญ่ต้องสวมหน้ากากออกซิเจนให้ตัวเองก่อนแล้วจึงสวมหน้ากากให้กับเด็กนั้น เพราะในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นคนจะหมดสติจากการขาดออกซิเจนภายในเวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น หากผู้ใหญ่มัวแต่สวมหน้ากากให้เด็กก่อน ผู้ใหญ่มีโอกาสสูงมากที่จะหมดสติ ผลสุดท้ายคือทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่สามารถเอาชีวิตรอดไปได้“ผู้ใหญ่จึงต้องสวมหน้ากากเพื่อไม่ให้ตัวเองหมดสติไปก่อน ให้สามารถช่วยเหลือเด็กได้นั่นเอง การสวมหน้ากากให้ผู้ใหญ่ก่อน อาจเป็นสิ่งที่แปลกจากหลักปฎิบัติในชีวิตประจำวันที่เรามักให้ความสำคัญกับเด็ก สตรี และคนชรา แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉินอาจเป็นเรื่องจำเป็น”แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับ “ประกันชีวิต” ล่ะ?วัตถุประสงค์หลักในการทำประกันชีวิต คือ การสร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานเพื่อคุ้มครองให้บุคคลที่เราเป็นห่วงยังสามารถดำรงชีวิตได้เมื่อเราเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น เราจะทำยังไงให้บุคคลที่เรารักและเป็นห่วงยังสามารถดำเนินชีวิตได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หากเราไม่สามารถอยู่ดูแลคุ้มครองได้อีกต่อไป“แต่เพราะไม่มีใครรู้อนาคตของตัวเอง การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไม่คาดคิดต่างๆ และการสร้างความมั่นใจหรือความมั่นคงสำหรับอนาคตเอาไว้ล่วงหน้าจึงเป็นวิธีการที่ทำให้เรามั่นใจว่าคนข้างหลังจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ‘การวางแผนการประกันภัยและประกันชีวิต’ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว ควบคู่ไปกับการวางแผนการเงินด้านการออมและการลงทุน”ในการสร้างความคุ้มครองเพื่อป้องกันผลกระทบทางการเงิน เราสามารถนำวิธี “การบริหารการเสี่ยงภัย” (Risk Management) มาเลือกแนวทางที่เหมาะสม หรือนำแต่ละวิธีมาใช้ควบคู่กันได้เช่นกัน วิธีการบริหารการเสี่ยงภัย มีดังนี้1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (Risk avoidance) ก็คือการไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมหรือสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงภัย วิธีนี้แม้จะเป็นวิธีที่ช่วยไม่ให้เราต้องประสบกับภัยแต่ก็อาจมีผลกระทบทางอ้อมในด้านอื่นๆ เช่น การกลัวอุบัติเหตุทำให้ไม่กล้าเดินทางไปไหนเลย เป็นต้น2. การลดความเสี่ยงภัย (Risk Reduction) หรือลดความรุนแรงเมื่อเกิดเหตุ เช่น การขับรถยนต์อย่างมีสติ เคารพกฎจราจร การเดินทางด้วยรถยนต์แทนรถมอเตอร์ไซค์ ไปจนถึงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีหรือการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้พบปัญหาสุขภาพแต่เนิ่นๆ เป็นต้น3. การรับการเสี่ยงภัยไว้เอง (Risk retention) เมื่อประเมินว่าภัยที่จะเกิดขึ้นมีความเสียหายน้อยมาก จนไม่คุ้มค่ากับการป้องกันความเสี่ยง และยังเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย เราก็สามารถรับความเสี่ยงภัยไว้เองได้4. การโอนความเสี่ยงภัย (Risk Transfer) “การทำประกันภัย” และ “ประกันชีวิต” เป็นรูปแบบหนึ่งของ “การโอนความเสี่ยงภัย” จากเราไปยังบริษัทประกันฯ แม้วิธีนี้จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำประกันภัย แต่เมื่อเทียบกับระดับความคุ้มครองที่ได้รับจะพบว่าต้นทุนเหล่านี้เป็นสัดส่วนที่ไม่มากนัก แต่สามารถลดผลกระทบทางการเงินเมื่อเกิดภัยขึ้น“เมื่อเราตัดสินใจเลือกโอนความเสี่ยงด้วยการทำประกันชีวิต คำถามที่ตามมาก็คือ เราควรทำประกันชีวิตมากน้อยแค่ไหน? และเราควรเริ่มทำเมื่อไหร่?”คำถามว่า…“ควรทำเมื่อไหร่?” เป็นเรื่องที่เห็นภาพได้ง่ายผ่านการเปรียบเทียบข้อมูลของแบบประกันชีวิต เพียงแต่ปกติการนำเสนอแบบประกันมักไม่เปรียบเทียบให้เราเห็น เพราะมักเป็นการนำเสนอเพื่อให้เราตัดสินใจทำประกันทันที เรามาหาคำตอบจากตัวอย่างแบบประกันชีวิตแบบหนึ่งที่มีการนำเสนอในปัจจุบันกันครับคุณหนึ่ง อายุ 30 ปี กำลังพิจารณาทำประกันชีวิตเพื่อลูกน้อยวัย 3 ขวบ คุณหนึ่งได้ขอให้ตัวแทนประกันชีวิตทำรายละเอียดของแบบประกันชีวิตแบบหนึ่งเพื่อพิจารณา ความตั้งใจเดิมคิดว่าจะทำประกันชีวิตเมื่อมีอายุ 40 ปี แต่ก็อยากดูว่าถ้าเริ่มทำประกันชีวิตทันทีจะเป็นอย่างไร ตัวแทนประกันชีวิตจึงได้นำเสนอรายละเอียดการทำประกันชีวิตในช่วงอายุต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบ ตามตารางหากคุณหนึ่งตัดสินใจ “ทำประกันทันที” อัตราเบี้ยประกันชีวิตที่คุณหนึ่งต้องจ่ายปีละ 23,390 บาท หรือเท่ากับคุณหนึ่งต้องชำระเบี้ยรวมเป็นเงิน 467,800 บาท สัญญาประกันชีวิตมีความคุ้มครองเป็นระยะเวลา 69ปี จนคุณหนึ่งมีอายุถึง 99 ปี เมื่อครบสัญญาหรือเสียชีวิตไปก่อนหน้าครอบครัวคุณหนึ่งจะได้รับเงินเอาประกันภัยเป็นเงิน 1 ล้านบาท เท่ากับมีส่วนต่างของเงินที่ได้รับกับเบี้ยประกันที่ชำระไปเท่ากับ 532,200 บาท “แต่หากคุณหนึ่งตัดสินใจ ‘ยกเลิกความคุ้มครอง’ เมื่อลูกจบการศึกษาหรือในอีก 20 ปีข้างหน้า คุณหนึ่งจะได้รับเงินจากมูลค่าเงินสดของกรมธรรม์ในวันยกเลิกสัญญา เป็นเงิน 387,000 บาท เมื่อหักเบี้ยประกันที่คุณหนึ่งชำระ ส่วนต่างที่เกิดขึ้นคือค่าใช้จ่ายเพื่อความคุ้มครองเป็นเงิน 80,800 บาท หรือปีละ 4,040 บาท”แต่ถ้าคุณหนึ่งตัดสินใจ “ทำประกันแบบเดียวกันนี้ในอีก 5 ปีข้างหน้า” เมื่อคุณหนึ่งมีอายุ 35 ปี เบี้ยประกันชีวิตที่คุณหนึ่งต้องชำระปีละ 26,640 บาท หรือเบี้ยประกันชีวิตรวมเป็นเงิน 532,800 บาท ส่วนต่างของเงิน1 ล้านบาท ที่จะได้รับกับเบี้ยที่ชำระไปคำนวณได้เท่ากับ 467,200 บาท“แต่หากคุณหนึ่งตัดสินใจ ‘ยกเลิกความคุ้มครอง’ เมื่อลูกจบการศึกษาหรือในอีก 15 ปีข้างหน้า เท่ากับคุณหนึ่งชำระเบี้ยประกันรวม 15 ปี คิดเป็นเบี้ยประกันรวม 399,600 บาท ในวันยกเลิกความคุ้มครอง คุณหนึ่งจะได้รับเงินจากมูลค่าเงินสดของกรมธรรม์เป็นเงิน 301,000 บาท เท่ากับคุณหนึ่งมีค่าใช้จ่ายในการทำประกันชีวิตเป็นเงิน 98,600 บาท หรือคิดเป็นปีละ 6,573 บาท”จะเห็นได้ว่าหากคุณหนึ่งเลือกทางเลือกนี้ นอกจากการที่คุณหนึ่งจะไม่ได้รับความคุ้มครองในช่วงอายุ 30-35 ปี แล้ว คุณหนึ่งยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายของการประกันชีวิตเพื่อสร้างความคุ้มครองที่สูงกว่าด้วย หรือในทางกลับกันคุณหนึ่งจะได้รับ “ผลประโยชน์สุทธิ” จากกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ต่ำกว่าการตัดสินใจทำประกันชีวิตทันทีเห็นแบบนี้แล้ว อย่าลังเลอีกต่อไป.... มา “เริ่มทำประกัน” แต่เนิ่นๆ กันดีกว่าครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythaihttps://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/wealth-ez/12858
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการออมเงินในการเตรียมตัวสําหรับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต จึงมีการสร้างนิสัยรักการออมให้มากจะดีกว่า เมื่ออายุครบ 28 ปี ก็ถึงเวลาเป็นสมาชิกของสังคมอย่างเต็มตัว ดังนั้น บางคนจึงสามารถออมเงินได้ในระดับหนึ่ง เมื่อถึงอายุ 28 ปี สามารถออมเงินได้เท่าไหร่? ในบทความนี้จะอธิบายจํานวนเงินออมของกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีอายุ 28 ปี และวิธีการออมเงินของพวกเขา ● เงินออมสําหรับคนโสดอายุ 28 ปี และคู่แต่งงานแล้ว เมื่ออายุ 28 ปี การพัฒนาชีวิตของคุณจะมีความแตกต่างอย่างมาก ต่างก็ได้ใช้เวลามาเป็นเวลานานแล้วในการเป็นสมาชิกของสังคม ดังนั้น จะมีความแตกต่างในแง่ของรายได้ เช่นเดียวกับการออมของแต่ละคน ในบทความนี้จะเน้นที่ค่ากลางและค่าเฉลี่ยของการออมของประชาชนกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีอายุ 28 ปี จากนั้นเรามาตรวจสอบเงินออมของคนอายุ 28 ปีที่ยังโสด และคนที่แต่งงานแล้วกัน คณะกรรมการกลางการประชาสัมพันธ์ทางการเงินอธิบายข้อมูลของ "จํานวนการถือครองสินทรัพย์ทางการเงิน" (รวมถึงครัวเรือนที่ไม่มีสินทรัพย์ทางการเงิน) จากการสํารวจความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการเงินครัวเรือนและพฤติกรรมทางการเงิน (การสํารวจครัวเรือนเดียวและการสํารวจครัวเรือนที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป) ในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความแตกต่างในเรื่องเงินเดือนระหว่างครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังของยุค 20 และมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าใกล้เงินออมเฉลี่ยของคนในวัย 30 ปี เมื่ออายุ 28 ปี โปรดใช้วิจารณญาณและเป็นแนวทางในการจัดการเงินออม ● เงินออมสําหรับคนโสดอายุ 28 ปี ก่อนอื่นมาดูการออมของคนโสดในวัย 20 และ 30 ปีกันก่อน วัย 20 ปี : มูลค่าเฉลี่ย : 1.06 ล้านเยน ค่ามัธยฐาน: 50,000 เยน วัย 30 ปี : มูลค่าเฉลี่ย : 3.59 ล้านเยน ค่ามัธยฐาน : 770,000 เยน นอกจากการออมแล้ว ข้างต้นยังรวมถึงทรัพย์สินทางการเงิน เช่น ประกันชีวิตและกองทุนรวมที่มีการออม เนื่องจากมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐาน จึงเห็นได้ว่ามีความแตกต่างอย่างมากระหว่างผู้ที่ออมกับผู้ที่ไม่ออมเงิน ● เงินออมสําหรับคนที่แต่งงานแล้วอายุ 28 ปี จากนั้นตรวจสอบเงินออมของคนที่แต่งงานแล้วในวัย 20 ปี และ 30 ปี วัย 20 ปี : มูลค่าเฉลี่ย : 1.65 ล้านเยน ค่ามัธยฐาน : 710,000 เยน วัย 30 ปี : มูลค่าเฉลี่ย : 5.29 ล้านเยน ค่ามัธยฐาน : 2.4 ล้านเยน อาจเป็นเพราะมีครัวเรือนที่ทำงานทั้งสามีภรรยาจํานวนมาก จะเห็นว่าจํานวนสินทรัพย์ทางการเงินที่ถืออยู่นั้นสูงกว่าครัวเรือนเดี่ยว กระนั้นแม้แต่ในกรณีของคนที่แต่งงานแล้วก็มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐาน ทําไมถึงได้ผลลัพธ์เช่นนี้? เรามาจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานกัน ค่าเฉลี่ยคือค่าที่สามารถหาได้โดยการหารจํานวนข้อมูลทั้งหมดด้วยจํานวนข้อมูล ค่ามัธยฐานคือค่าที่อยู่ตรงกลางเมื่อข้อมูลถูกจัดเรียงตามลําดับจากมากไปน้อย หากมีข้อมูลขนาดใหญ่มากและข้อมูลขนาดเล็กมาก จึงไม่มีข้อมูลใดที่อาจสอดคล้องกับค่าเฉลี่ย ในกรณีนี้มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐาน ดังนั้น จึงคิดว่าการกระจายของผู้ที่มีเงินออมสูงมากและผู้ที่มีเงินออมต่ำมากนั่นเอง ผู้คนจํานวนมากในวัย 20 ปีไม่ออมเงิน? ใน "การสํารวจเกี่ยวกับครัวเรือนและพฤติกรรมทางการเงิน" ก่อนหน้านี้ (การสำรวจครอบครัวเดี่ยว) อัตราการไม่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ทางการเงินอยู่ที่ 45.2% ในวัย 20 ปี และ 36.5% ในวัย 30 ปี ดูเหมือนว่าเปอร์เซ็นต์ของคนที่ไม่ออมเงิน (หรือไม่สามารถ) ออมเงินได้นั้นมีจำนวนไม่น้อยเลย ● แนะนำวิธีการออมเงิน ทุกคนล้วนต้องพบเจอเหตุการณ์ในชีวิตมากมายในใช่ไหม? นอกจากนี้ ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง คุณไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ในการเตรียมตัวสําหรับกรณีเช่นนี้ การมีเงินออมจะยิ่งเป็นสิ่งที่ควรเตรียมการมากขึ้นเท่านั้น ความรู้สึกของความปลอดภัยที่สามารถหาได้จากการมีเงินออมเพียงพอนั้นยอดเยี่ยมมาก ดังนั้น จะอธิบายหลักเพื่อการประหยัดเงิน แม้ว่าจะไม่มีเงินออมมากนัก 1 : ทําความเข้าใจค่าใช้จ่ายรายเดือนของคุณ คุณอาจกําลังชอปปิ้งเป็นประจํา แม้ว่าจะเป็นรายจ่ายเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าทำซ้ำซ้อนกัน มันจะเป็นค่าใช้จ่ายจํานวนมากตามมา แล้วทําไมไม่ทบทวนภาพค่าใช้จ่ายรายวันของคุณด้วยการทำสมุดบัญชีครัวเรือนล่ะ? เมื่อเห็นกระแสเงินจะเห็นค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่าได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันนี้มีแอปเกี่ยวกับบัญชีครัวเรือนก็มีความสําคัญเช่นกัน ดังนั้น จึงสามารถบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือนจากสมาร์ทโฟนของคุณได้เช่นกัน เป็นความคิดที่ดีที่จะบันทึกค่าใช้จ่ายโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น บัตรเครดิต บัตรแต้มต่างๆ ซึ่งกว่าจะถูกหักเงินหลังจากใช่อาจมีระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นจะมีความแตกต่างด้านเวลา เมื่อเวลาผ่านไปคุณจะลืมไปว่าคุณใช้เงินไปเท่าไหร่ และอาจนําไปสู่การใช้จ่ายเงินที่มากเกินไป ในทางกลับกัน หากเป็นบัตรเดบิต บัตรเดบิตจะถูกหักออกจากบัญชีพร้อมกับการชําระเงินทันที เพื่อให้คุณสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายของคุณได้ทันที คุณสมบัติอีกประการหนึ่งคือคุณไม่สามารถซื้อสินค้าได้มากกว่ายอดคงเหลือที่สามารถหักออกได้ ความสะดวกสบายเหมือนกับบัตรเครดิตทั่วไป ดังนั้นคุณอาจต้องการพิจารณาใช้งานบัตรประเภทนี้ 2 : ทบทวนต้นทุนคงที่ ทบทวนเรื่องจ่ายค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าสื่อสาร ค่าเช่า บริการสมัครสมาชิก มีผลบังคับใช้ โดยพื้นฐานแล้ว ยอดมักไม่ผันผวน ดังนั้นหากคุณตรวจสอบให้ดีจะนําไปสู่การประหยัดได้มาก ตัวอย่างเช่น มีบางกรณีที่คุณจ่ายเงินทุกเดือนในฐานะสมาชิกโรงยิมโดยไม่รู้ตัว ค่าใช้จ่ายคงที่จะเกิดขึ้นแม้ว่าจะไม่ได้ใช้บริการก็ตาม หากมีบริการมากมายที่จ่ายด้วยยอดคงที่ คุณอาจลืมมันไปก่อนที่คุณจะรู้ตัวว่ามีภาระค่าใช้จ่ายนี้ และคุณอาจจ่ายเงินที่สูญเปล่าต่อไป 3 : การจัดการสินทรัพย์ นอกจากนี้ ยังมีวิธีเพิ่มการออมโดยเปลี่ยนรายได้ส่วนหนึ่งให้เป็นการจัดการสินทรัพย์ และสามารถใช้ประโยชน์จากระบบแรงจูงใจทางภาษีได้ นอกจากนี้ ยังมีตัวเลือกสําหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินส่วนตัว เช่น การประกันภัย 4 : รับของโดยไม่ใช้เงิน/ซื้อของราคาประหยัด เป็นเรื่องง่าย แต่การซื้อของราคาถูกก็เป็นวิธีประหยัดเงินเช่นกัน หากคุณมีรายได้ไม่เพียงพอ แต่ต้องใช้จ่ายอยู่เสมอเพราะต้องซื้อของใช้ประจําวัน คุณจะไม่สามารถประหยัดเงินได้ แต่อาจเลือกซื้อของที่เหมาะสมและราคาย่อมเยาแทน เช่น สําหรับเฟอร์นิเจอร์ สามารถซื้อได้ที่ตลาดนัด หาซื้อจากคนรู้จัก หรือที่แบ่งปันได้ นอกจากนี้ยังมีบริการอินเทอร์เน็ตที่มีการแจกสิ่งของที่ไม่ต้องการเพื่อรวบรวมฟรี และหากคุณลองเจรจาก็อาจจะได้รับเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ฟรี สําหรับอาหาร มีวิธีการต่างๆ เช่น การทําสวนครัวและเก็บผักป่ากลางแจ้ง หรือคุณอาจต้องการซื้อผักที่ร้านขายผักไร้คนขับ เพราะสามารถซื้อได้ค่อนข้างถูก สําหรับการผลิตในท้องถิ่นเพื่อการบริโภคในท้องถิ่น แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของบริการ แต่ก็ยังสามารถเพลิดเพลินกับสิ่งต่างๆ ได้ฟรี มีพิพิธภัณฑ์และพิพิธภัณฑ์มากมายที่คุณสามารถเข้าได้ฟรีในโตเกียว ในใจกลางเมืองยังมีจุดชมวิวที่ไม่ต้องเสียค่าเข้าชม จึงสามารถเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ยามค่ำคืนของโตเกียวที่นั่นได้ ทําไมไม่หาวิธีที่จะสนุกกับมันโดยไม่ต้องใช้เงิน? แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/japan/detail/9660000005302
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
29/04/2024
30/04/2024
30/04/2024
01/04/2024
30/08/2024