Everyday knowledge for you
ข่าวการเงิน
30/04/2024
สวัสดีครับ Prachachat Wealth เล่าเรื่องการลงทุน EP นี้ เอาใจเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งจบใหม่ หรือว่า first jobberที่สนใจเรื่องของการเงินการลงทุน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นวางแผนการลงทุนอะไรดี ที่ใช้เงินลงทุนไม่กี่บาท เพราะในโลกการเงินการลงทุน เครื่องมือตัวช่วยสำหรับการออมและการลงทุนมีหลากหลายนะครับซึ่งวันนี้ Prachachat Wealth มีโอกาสได้พูดคุยกับหนึ่งในกูรูนักวางแผนการเงินไทย ท่านดำรงตำแหน่งเป็น ผศ.ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล อาจารย์ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ของสมาคมนักวางแผนการเงินไทยQ : มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งจบใหม่ ควรวางแผนลงทุนอะไรดี ที่ยังพอมีเงินเหลือใช้สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน first jobber อันแรกในเรื่องลงทุน ผมอยากจะให้ทุกคนลองเปลี่ยน mindset ก่อน เพราะต่อไปนี้คำว่าลงทุน เราจะไม่ได้หมายถึงว่า “เหลือเงินแล้วค่อยมาลงทุน” แต่ในทางการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ financial planning การวางแผนการเงิน เราบอกว่าลงทุนเราควรจะกันเงินก่อนที่จะใช้จ่าย เอามาลงทุนลงทุนของเราแปลว่า เฉลี่ย ๆ เงินที่เราใส่เข้าไปในทางเลือกที่เรากำลังสนใจออกมาต้องเพิ่มขึ้น แต่ผมใช้คำว่าเฉลี่ยนะครับ เพราะฉะนั้นแปลว่าอะไร ไม่ได้การันตีนะครับว่าทุกครั้งที่เราลงทุน เราต้องได้เงินเพิ่มขึ้นเสมอ นี่เราถึงบอกว่าการลงทุนมีความเสี่ยงพอเรารู้แล้วลงทุนคืออะไร อันดับถัดมาเราจะมาวางแผนลงทุน พูดง่าย ๆ เลยคือการที่ผมจะทำให้ตัวของเราเองหรือว่าตัวของคนที่เราไปวางแผนให้ ใช้ 2 คำเลยว่า “กินเต็มและก็นอนหลับ”เพราะฉะนั้นวางแผนลงทุนทำให้คุณบรรลุเป้าหมาย แต่บรรลุแล้วต้องไม่ใช่ว่าในระหว่างที่วางแผนอยู่ เราไม่เป็นอันทำการทำงานเลยเพราะฉะนั้นนั่นแปลว่าผมก็จะต้องรู้อีกอย่างหนึ่งแล้วว่าตัวของเรา เรามีระดับของการยอมรับความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เราทนต่อความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นพวกนี้เขาก็อาจจะดูจากพวกความสามารถ เพิ่งจบ อายุยังน้อย ความสามารถในการรับความเสี่ยงเราอาจจะดี แต่เราก็ต้องดูความเต็มใจด้วย เราเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงมั้ย เราไม่เคยมีประสบการณ์เลย อยู่ ๆ เอาเงินไปลงทุนในหุ้น อยู่ ๆ เอาไปซื้อตราสารอนุพันธ์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เราอาจจะนอนไม่หลับก็ได้เพราะฉะนั้นถ้าทำได้อย่างนี้ และเลือกเครื่องมือที่จะทำให้เรากินอิ่มและมีผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง แน่นอนว่าอันที่หนึ่ง ผม pay yourself first ผมกันเงินก่อนที่จะใช้จ่าย นั่นหมายความว่าอย่างน้อยที่สุด ทุก ๆ เดือน เงินผมพอใช้แน่ ๆ แต่อันที่สอง ถ้าผมรู้จักเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเข้าไปอีก นอกจากเงินพอใช้ เรายังจะมีเงินเหลือใช้อีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ที่เราไปลงทุนด้วยนะครับQ : สินทรัพย์แต่ละประเภท มีทั้งเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ นักลงทุนหน้าใหม่ ต้องรู้ข้อจำกัดหรือข้อควรระวัง อะไรบ้างถ้าผมอธิบายไล่ตามอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงเลยนะครับ อันที่หนึ่งสินทรัพย์ประเภทที่หลายคนมักจะคุ้นเคยก่อน ก็คือในเรื่องของบัญชีเงินฝาก ข้อจำกัดก็คือ ผลตอบแทนน้อยประมาณสัก 1% อาจจะไม่ทำให้เราบรรลุเป้าหมาย หรืออาจจะทำให้เราไม่มีเงินเหลือใช้ ถ้าผมเพิ่มระดับความเสี่ยงขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ก็คือการลงทุนในตราสารหนี้แต่ข้อจำกัด ถ้าธุรกิจเขาดี เราต้องไม่คาดหวังว่าเราจะได้กำไรเยอะ ๆ ไปกับเขาด้วย เพราะเวลาที่ธุรกิจเขาแย่ เขาก็มีภาระผูกพันต้องจ่ายดอกเบี้ยเราเท่าเดิมเวลาลงทุนในตราสารหนี้ เราจะมีสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อย่างเช่น ทริส หรือฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย เขาจะคอยจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เราก่อนทางเลือกที่สาม ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไปอีก เราอาจจะไปลงทุนในรูปแบบของตราสารทุน หรือที่บางคนชอบเรียกสั้น ๆ ว่า หุ้น นั่นเอง เพราะฉะนั้นเข้าไปลงทุนในหุ้นหรือตราสารทุน ตามชื่อเลยเราเข้าไปเป็นนายทุน เราเข้าไปเป็นเจ้าของ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราได้รับส่วนแบ่งกำไร ในภาษาการเงินเราเรียกว่าเป็นเงินปันผล แต่ลักษณะของเงินปันผล เนื่องจากคือส่วนแบ่งกำไร แปลว่าถ้าเขาไม่กำไร เขาก็อาจจะไม่ได้ปันผลให้เราก็อาจจะมีอีกทางเลือกหนึ่ง เขาเรียกว่าเป็นกองทุนรวม เขาจะเอาทุนของนักลงทุนมากองรวมกัน และให้ผู้บริหารมืออาชีพมาบริษัทแทนให้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราอันแรก เลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเหมาะกับเราQ : แม้มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน จะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญการลงทุน แต่อุปนิสัยที่ต้องมี มีอะไรบ้างหนึ่ง ควรจะเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับในเรื่องของการออมการลงทุน นั่นแปลว่าเขาต้องรู้จัก pay yourself first ก่อนเลย อุปนิสัยแรก ถ้าเราอยากจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จ เราต้องเก็บก่อนใช้ ไม่เอาเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายมาลงทุน เพราะนั่นอาจจะทำให้เราไม่มีเงินมาลงทุน อันที่สอง พอเราเก็บก่อนใช้แล้วเราต้องมีการวางแผนการลงทุนล่วงหน้าครับอันที่สาม ต้องรู้จักศึกษาหาความรู้ก่อนลงทุน ไม่ใช่ฟังจากเขาบอกมา อุปนิสัยที่สี่ ต้องรู้จักการกระจายความเสี่ยง ไม่เอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์แค่ประเภทใดประเภทหนึ่งอุปนิสัยที่ห้า ต้องมีวินัยครับ เพราะต้องทำอย่างต่อเนื่อง การลงทุนจะไม่เหมือนเราไปช็อปปิ้ง จ่ายเงินปุ๊บได้ของมาแล้วจบ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาเป็นปี ๆ เลยและอันที่หก ต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจลงทุนเสมอ เราจะไม่บอกว่าเห็นมีข่าวลือมา เรากลัวตกรถไฟ รีบไปซื้อหุ้น รีบไปลงทุน มีข่าวลือมาเราก็ตื่นตกใจ เทขาย โดยที่เราไม่ได้ดูข้อมูลเลย เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่จะลงทุน เราต้องถามตัวเองเสมอครับว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้เราซื้อหลักทรัพย์ตัวนี้และนั่นก็แปลว่าอันที่เจ็ด เราต้องมีการติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ กองทุน หรือว่าหุ้น หรือว่าตราสารหนี้ ทางเลือกการลงทุนก็เหมือนลูกของเรา เราต้องดูแลเขาไปเรื่อย ๆ เลย ถามว่าดูไปจนเมื่อไหร่ ก็จนเมื่อไหร่ที่ผมไม่ใช่เงิน เพราะฉะนั้นก็คือจนตายครับทั้งหมดนี้ครับคือ 7 อุปนิสัย ที่ผมบอกว่านักลงทุนมือใหม่ เรียกว่าเป็น seven habits ของ first jobber ที่อยากจะลงทุนแล้วบรรลุเป้าหมายแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1364529
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
กรุงเทพฯ 9 สิงหาคม 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายณัฐพิสิษฐ์ ครุฑครองชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต และ นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ พร้อมด้วย นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน บริหารกิจการเหล่ากาชาด ร่วมเปิดตัวโครงการ AIA One Billion Trail 2023 การแข่งขันเดิน - วิ่งเทรล ประเภททีม 4 คน ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย ในการนำไปสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร ถือเป็นการสานต่อปณิธานในการร่วมพัฒนาศักยภาพเด็กไทย ให้เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งปีที่ผ่านมา มีนักวิ่งเทรลเข้าร่วมงานกว่า 400 ทีม หรือกว่า 1,600 คนจากทั่วประเทศ สำหรับการแข่งขัน AIA One Billion Trail 2023 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 ธันวาคม 2566 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละ 4 คน มีระยะทางให้นักวิ่งได้เลือกลงแข่งทั้งสิ้น 4 ระยะทาง ได้แก่ 100, 50, 25 และ 10 กิโลเมตร ทั้งนี้ AIA One Billion Trail 2023 เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของเอไอเอ ที่ต้องการสนับสนุนผู้คนกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วเอเชีย ให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ โดยมุ่งเน้นการสร้างความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจในหมู่นักกีฬา และยังมีจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้คนมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบผู้รักการออกกำลังกาย (Active Lifestyle) เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) ซึ่งนับเป็นกิจกรรมเดิน – วิ่งเทรล ประเภททีมหนึ่งเดียวในประเทศไทย โดยผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน AIA One Billion Trail 2023 สามารถสมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ทางเว็บไซต์ https://aiaonebilliontrail.run/ หรือ สแกน QR Codeสำหรับผู้ที่ต้องการร่วมบริจาคโครงการส่งเสริม และพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย โดยสภากาชาดไทย สามารถร่วมบริจาคได้ทางเว็บไซต์ https://donate.aiaonebilliontrail.run/ หรือสแกน QR Codeหากต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของโครงการ AIA One Billion Trail 2023 สามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์ https://aiaonebilliontrail.run/ และ Facebook Fanpage: aiaonebilliontrail
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ปัจจุบันการลงทุนในตราสารทางการเงินมีทางเลือกที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละประเภทจะมีรูปแบบของผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ผู้ลงทุนต้องใส่ใจและให้ความสำคัญอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นตราสารประเภทใด นั่นคือ การติดตามข้อมูลข่าวสารรวมถึงความคืบหน้าการดำเนินการของผู้ออกตราสารนั้นใกล้ชิด มาทบทวนเช็กลิสต์กัน สักนิดไหมว่า หลังจากลงทุนกันไปแล้วควรติดตามอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้พลาดประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของตนเอง 1. การลงทุนในหุ้น –ตราสารที่ออกโดยบริษัทที่ต้องการระดมทุน ผู้ลงทุนจะถือเป็น “เจ้าของกิจการ” ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้ลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด • เมื่อบริษัทไม่ส่งงบการเงินตามกำหนด ทำให้ผู้ลงทุนไม่สามารถมีข้อมูลผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทไปประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ • เมื่อเกิดปัญหาบางประการเกี่ยวกับงบการเงิน จนส่งผลสู่การถูกสั่งทำ “การตรวจสอบ แบบพิเศษ”(Special Audit) เพื่อหาข้อเท็จจริงกับประเด็นที่เกิดขึ้น • เมื่อสถานประกอบการของบริษัทอยู่ในพื้นที่ที่เกิดวิกฤตด้านการเมือง หรืออื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้การดำเนินการของบริษัทขัดข้องและส่งผลต่อราคาหุ้นได้ ผู้ถือหุ้นควร… • เตรียมรับมือกับผลกระทบจากเหตุการณ์เช่น อาจขาดทุนจากราคาหุ้นที่ตก หรือได้รับเงินปันผลน้อยลงจากปัจจัยลบที่มากระทบ • หมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางที่เป็นทางการ รวมถึงการขึ้นเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อร่วมซักถามในประเด็นต่าง ๆ ตามที่มีข้อสงสัย 2. การลงทุนในหุ้นกู้– ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่ต้องการระดมทุน ผู้ลงทุนจะถือเป็น “เจ้าหนี้” รวมถึงหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการเสนอขายผ่าน Funding portal โดยผู้ระดมทุนส่วนใหญ่ ผ่านช่องทางนี้จะเป็นกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้ถือหุ้นกู้ควรติดตามอย่างใกล้ชิด • เมื่อหุ้นกู้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอย่างมีนัยยะสำคัญ • เมื่อผู้ออกหุ้นกู้มีผลการดำเนินงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถ ในการชำระหนี้ (มีโอกาสที่จะจ่ายดอกเบี้ยไม่ครบจำนวนหรือมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้) ผู้ถือหุ้นกู้ควร… • หมั่นตรวจสอบว่าตนเองถือหุ้นกู้ชนิดใดและได้รับผลกระทบจากการถูกปรับลดอันดับ ความน่าเชื่อถือหรือไม่ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่สามารถขายหุ้นกู้ได้ในทันที รวมถึงอาจ ไม่สามารถขายหุ้นกู้ได้ในราคาที่พึงพอใจ เนื่องจากขาดสภาพคล่องในการซื้อขาย • ติดตามข่าวสารในกรณีที่มีข้อสงสัยว่ามีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ทั้งนี้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ให้อำนาจกับสำนักงาน ก.ล.ต. ในการสั่งการให้บริษัทคืนเงิน • ติดตามแผนการแก้ไขเหตุผิดนัดจากผู้ออกหุ้นกู้หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เมื่อเกิดเหตุผิดนัด ชำระหนี้รวมถึงศึกษารายละเอียดก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการประชุมเพื่อขอเลื่อนการชำระหนี้ หรือขอผ่อนผันการชำระ • ประสานผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งจะเป็นบุคคลช่วยติดตามการชำระหนี้ รวมถึงดำเนินการ ตามกฎหมายในการบังคับหลักประกันและการฟ้องร้องดำเนินคดีกรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ มีมติให้ชำระคืนหุ้นกู้โดยพลัน (call default) 3. การลงทุนในกองทุนรวม– บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) จะนำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามนโยบายการลงทุนที่ระบุในโครงการจัดการกองทุนรวมตามสัดส่วน เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพื่อกระจายความเสี่ยงและบริหารเงินลงทุนให้เกิดผลตอบแทนจากการลงทุนมาสู่ผู้ถือหน่วยลงทุน ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด • เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในราคาสินทรัพย์ที่กองทุนนำเงินไปลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ • เมื่อเกิดความผิดปกติกับผู้ออกตราสารหรือตลาดตราสารที่กองทุนรวมลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนควร… • เตรียมรับมือกับความผันผวนของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุนรวมที่ถือ • ศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อจำกัดจากการใช้ Liquidity Management Tools (LMTs) โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มส่งผ่านต้นทุนการซื้อขายสินทรัพย์ของกองทุนและกลุ่มที่เป็นข้อจำกัดต่อการไถ่ถอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บลจ. จะพิจารณาความเหมาะสมในการใช้ LMTs เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ลงทุนโดยรวมและใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น เกิดความ ผันผวนของตลาดสินทรัพย์ที่ลงทุน เกิดต้นทุนที่มีนัยสำคัญต่อการซื้อขายสินทรัพย์ ของกองทุน หรือเกิดความผิดปกติกับผู้ออกตราสารและกรณีอื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นต้น ด้วยเหตุที่การลงทุนมักมาคู่กับความเสี่ยงเสมอ ผู้ลงทุนควรฝึกฝนให้ตนเองหูตากว้างไกล หมั่นอ่านข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ รู้จักเฉลียวใจสอบถามข้อมูลที่ควรได้รับเพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม และใช้สิทธิของตนเองเพื่อช่วยลดการสูญเสีย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนได้ที่ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1362957
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
กรุงเทพฯ, 8 สิงหาคม 2566 – เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำธุรกิจประกันชีวิตและสุขภาพอันดับ 1 ของไทย* เปิดตัวแผนประกันกลุ่มแบบสำเร็จรูปใหม่ล่าสุด “เฟล็กซ์ซี่ แพ็ค (Flexi Pack)” ที่มาพร้อมความยืดหยุ่นให้ลูกค้าองค์กรทั่วประเทศมีอิสระในการกำหนดความคุ้มครอง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีให้เลือกหลากหลายได้มากถึง 15 ผลิตภัณฑ์ พร้อมความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติม อาทิ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น ในอัตราเบี้ยประกันภัยที่คุ้มค่า ซึ่งถูกออกแบบมาให้เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กร เพื่อตอบโจทย์องค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เพิ่มความอุ่นใจให้ผู้ประกอบการได้เดินหน้าองค์กรอย่างมั่นใจและหมดห่วงเรื่องสวัสดิการและสุขภาพของพนักงาน ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเอไอเอ ในการสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’นางสาวจิราภรณ์ กนิษฐรัต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันธุรกิจองค์กร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันเอไอเอ ดูแลลูกค้าองค์กรจำนวนมากถึง 11,000 องค์กรทั่วประเทศ เราได้ศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราสามารถนำความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าองค์กรมาพัฒนาเป็นแผนประกันกลุ่มแบบสำเร็จรูป สำหรับลูกค้าองค์กรที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 149 คน หรือไม่เกิน 49 คน กรณีมีประกันสุขภาพ ในชื่อ “เฟล็กซ์ซี่ แพ็ค” ซึ่งมีความยืดหยุ่นสมชื่อ โดยลูกค้าองค์กรสามารถเลือกซื้อแผนประกัน และออกแบบความคุ้มครองได้ตามความต้องการภายใต้งบประมาณเบี้ยประกันภัยของแต่ละองค์กร ซึ่งแตกต่างจากแพ็กเกจสวัสดิการพนักงานทั่วไปอย่างสิ้นเชิง โดยมีจุดเด่น ได้แก่ • อิสระ ในการกำหนดความคุ้มครอง ปรับเปลี่ยนและเพิ่มผลประโยชน์ได้ตามความต้องการของลูกค้าองค์กร • หลากหลาย ด้วยความคุ้มครองที่มีให้เลือกมากถึง 15 ผลิตภัณฑ์ พร้อมขยายความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติม เช่น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น • คุ้มค่า กับเบี้ยประกันภัยที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร เพื่อช่วยให้สามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างลงตัว “ทั้งนี้ เอไอเอ มั่นใจว่า เฟล็กซ์ซี่ แพ็ค จะช่วยตอบโจทย์ให้แต่ละองค์กร สามารถบริหารจัดการสวัสดิการของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อที่ทุกองค์กรจะสามารถดำเนินธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้องค์กรได้เดินหน้าอย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง” นางสาวจิราภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย องค์กรที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเอไอเอคอลเซ็นเตอร์ โทร. 1581 และสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.aia.co.th *ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2566 หมายเหตุ: • ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดรวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครองของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง • ข้อกำหนดและเงื่อนไขความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
หุ้น
30/04/2024
หุ้น XD คืออะไร ? สิ่งที่นักลงทุนต้องรู้ไว้ก่อนตัดสินใจลงทุน หุ้น XD คืออะไร ? เครื่องหมาย XD (Exclude Dividend) เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดขึ้นเพื่อเตือนให้ผู้ลงทุนในหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมายนั้น ทราบว่าผู้ซื้อหุ้นนั้นจะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลที่ประกาศจ่ายในงวดนั้น อย่างไรการเข้าลงทุนในหุ้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD อาจไม่ทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการได้รับเงินปันผลเสมอไป เนื่องจากหลังวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ราคาหุ้นมักจะมีราคาตกลงมาในจำนวนที่ใกล้เคียงกับเงินปันผลที่จ่าย ดังนั้น หากเป็นนักลงทุนระยะสั้น การได้รับเงินปันผล แต่ต้องขาดทุนจากการขายหุ้นในราคาต่ำ แต่หากเป็นนักลงทุนระยะยาวแล้ว การซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง จะเป็นประโยชน์ในแง่ผลตอบแทนที่เป็นเงินสดที่จะได้รับในแต่ละปี เก็บหุ้นปันผลช่วงไหนดี ? โดยช่วงที่เหมาะสมในการเก็บหุ้นปันผลคือ 1-2 เดือนก่อนบริษัทจะประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD โดยปกติจะเริ่มทยอยประกาศในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ดังนั้น ช่วงเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ เป็นจังหวะที่ดีในการซื้อหุ้นปันผล ส่วนเวลาที่ไม่เหมาะสมในการซื้อหุ้นปันผลคือช่วงใกล้ ๆ ประกาศเครื่องหมาย XD เช่น 1 สัปดาห์ หรือ 1-2 วัน เพราะสังเกตได้ว่าช่วงนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาซื้อปันผลกันอย่างหนาแน่น ทำให้ราคาหุ้นปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะยิ่งซื้อหุ้นได้ราคาแพง ๆ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลก็จะน้อยลง อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล = (เงินปันผลต่อหุ้นต่อปี/ราคาหุ้นปัจจุบัน) x 100 ยกตัวอย่าง • หุ้น ABC วันที่ 1 มกราคม 2561 ราคาหุ้นอยู่ที่ 25 บาท บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผล 2 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 8% • หุ้น XYZ วันที่ 1 มกราคม 2561 ราคาหุ้นอยู่ที่ 18 บาท บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผล 2 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 11.11% จากตัวอย่าง ถึงแม้หุ้น ABC และ XYZ จะจ่ายเงินปันผลเท่ากัน คือ 2 บาท แต่หุ้น XYZ มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่า เพราะมีราคาหุ้นต่ำกว่า ดังนั้น หากสนใจควรหาจังหวะที่ราคาหุ้นปันผลยังไม่ขยับขึ้น หรือถ้าเป็นไปได้ควรซื้อในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนหรือเป็นขาลง เพราะราคาหุ้นส่วนใหญ่ (รวมถึงหุ้นปันผล) จะปรับลดลงตามภาวะตลาดโดยรวม หุ้นที่สามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ เป็นอย่างไร ? โดยหุ้นที่มีความสามารถจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ มีคุณสมบัติ ดังนี้ • ผลการดำเนินงานเติบโตสม่ำเสมอ ถึงแม้ยอดขายหรือกำไรจะไม่เติบโตแบบก้าวกระโดดเหมือนบริษัทที่กำลังขยายธุรกิจ แต่ผลการดำเนินงานจะเติบโตในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปไม่หวือหวา ที่สำคัญจะไม่ขาดทุนเลย • ผลการดำเนินงานคาดการณ์ได้ง่าย หุ้นปันผลที่ดีจะสามารถคาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงานในอนาคตได้ง่าย วิธีการคือ นำตัวเลขประมาณการกำไรต่อหุ้น คูณกับนโยบายการจ่ายปันผล จะสามารถประมาณการการจ่ายเงินปันผลคร่าว ๆ ได้ • ประวัติการจ่ายเงินปันผลยอดเยี่ยม ไม่ว่าเศรษฐกิจจะซบเซา เกิดวิกฤต หรือขยายตัว บริษัทจะยินดีจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ • โครงสร้างทางการเงินแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก โดยดูย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี เพราะกระแสเงินสดเป็นตัวชี้ว่ามีความสามารถในการจ่ายเงินปันผล • หนี้สินต่ำ เราสามารถดูโครงสร้างหนี้สิน ด้วยการดูหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) โดยเฉพาะหนี้สินระยะสั้น หากมีเยอะ ๆ ก็อาจทำให้ความสามารถในการจ่ายเงินปันผลลดลง • สภาพคล่องสูง โดยส่วนใหญ่หุ้นปันผลมักมีสภาพคล่องไม่ค่อยสูง เพราะนักลงทุนซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว ดังนั้น ควรหาหุ้นปันผลที่มีมาร์เก็ตแคป (Market Cap) ใหญ่พอสมควร เพราะหากต้องการขายก็สามารถทำได้ทันที หรือหากเป็นหุ้นปันผลมาร์เก็ตแคปต่ำ ก็ควรเลือกหุ้นที่มีการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) มากกว่าเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด นั่นคือ มากกว่า 15% • ค่าเบต้า (Beta) ต่ำ เป็นปัจจัยที่ใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นกับการเคลื่อนไหวดัชนีหุ้น ถ้าเป็นหุ้นปันผลจะมีค่าเบต้าต่ำ นั่นคือ ราคาหุ้นจะผันผวนน้อยกว่าตลาด เช่น หุ้น ABC มีค่าเบต้า 0.7 เท่า หมายความว่า ถ้าดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้น 10% ราคาหุ้น ABC จะขึ้น 7% เช่นกัน ถ้าดัชนีหุ้นปรับลดลง 10% ราคาหุ้น ABC จะปรับลดลง 7% ข้อมูลจาก : ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1360549
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
บทความโดย “ทศพร อิศรางกูร ณ อยุธยา”นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 กรมธรรม์ประกันชีวิตจะมีมูลค่าในตัว ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์ จำนวนปีและจำนวนเบี้ยประกันที่ได้ส่งไปก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีในท้องตลาด ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวประกันหลักและสัญญาเพิ่มเติม (ส่วนของสัญญาเพิ่มเติมอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)ในบทความนี้ จะพูดถึงส่วนของประกันหลัก เช่น ทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งไว้ จ่ายเบี้ยปีละ 30,000 บาท ในกรมธรรม์จะมีประกันหลักเป็นเบี้ยประกัน 10,000 บาทเมื่อเราจ่ายเบี้ยประกันไปเรื่อย ๆ ทุกปี ปีละ 10,000 บาท กรมธรรม์จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รู้ว่ามีมูลค่าเท่าใด และใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง (พิจารณาตาราง)หากนาง ข ทำประกันชีวิตแบบนี้ ที่ทุนประกัน 400,000 บาท มูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์จะเป็นตัวเลข ดังนี้ตัวอย่างมูลค่ากรมธรรม์ แบบทุนประกัน 400,000 บาทมูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์ หมายความว่าอย่างไร ควรเลือกแบบไหนความหมายของตาราง : สิ้นปีกรมธรรม์ที่ซื้อประกันครั้งแรกจ่ายเบี้ยไป ผ่านไป 1 ปี ครบกำหนดกำลังจะจ่ายเบี้ยปีที่สอง คือ จุดที่เรียกว่า สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 หากกำลังจ่ายเบี้ยปีที่ 6 หมายความว่าทำกรมธรรม์มาครบรอบ 5 ปีเต็ม ถือเป็นสิ้นปีกรมธรรม์ปีที่ 5 วิธีนับจำนวนสิ้นปีกรมธรรม์คือ ถ้าจ่ายเบี้ยกรมธรรม์นั้น ๆ ไปกี่ปี ให้ลบออก 1 ปี ก็จะเป็นสิ้นปีกรมธรรม์นั้น ๆเช่น จ่ายเบี้ย 10 ครั้ง ก็คาดได้ว่าถ้าจะดูมูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์ ให้ดูที่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 9ความหมายของตาราง : เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การยกเลิกกรมธรรม์ เมื่อเลือกวิธีนี้กรมธรรม์จะไม่มีผลคุ้มครองอีกต่อไป แต่จะได้เงินจากมูลค่ากรมธรรม์ที่เหลืออยู่กลับมาจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 คือ 68,400 บาท [(400,000/1,000) *171] ก็จะได้เงินก้อนนี้มา กรมธรรม์สิ้นผลความคุ้มครองความหมายของตาราง : มูลค่าเงินสำเร็จ วิธีการนี้กรมธรรม์จะมีความคุ้มครองไปจนครบสัญญาของกรมธรรม์ เพียงแต่ทุนประกันจะลดลงตามมูลค่าที่ปรากฏอยู่ในตารางจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท มูลค่าเงินสำเร็จ ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 9 คือ 226,000 บาท หมายความว่าเมื่อเลือกวิธีใช้เงินสำเร็จ ทุนประกันลดเหลือ 226,000 บาท (จากเดิม 400,000) คุ้มครองไปตลอดชีพ (ตามชื่อแบบ) และไม่ต้องชำระเบี้ยประกันแล้วความหมายของตาราง : ขยายระยะเวลา วิธีการนี้จะนำมูลค่ากรมธรรม์ที่มีอยู่ ไปคำนวณว่าจะสามารถคุ้มครองที่ทุนประกันเดิม ไปได้อีกวัน กี่ปี โดยไม่ต้องจ่ายเบี้ยอีกจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท ขยายระยะเวลา ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 คือ 21 ปี 14 วัน หมายความว่า หากเลือกจะใช้แบบขยายระยะเวลา หยุดจ่ายเบี้ย จะมีความคุ้มครอง 400,000 บาท ต่อไปอีก 21 ปีกับอีก 14 วัน3 ทางออกหลักสมมุติว่าหากประสบปัญหาทางการเงิน ไม่มีเงินจ่ายเบี้ยต่อ มี 3 ทางออกหลักการเวนคืนกรมธรรม์มีข้อดี คือ ได้เงินคืนทันที แต่ความคุ้มครองที่มีอยู่ก็หมดไปด้วย หากเลือกวิธีนี้ควรชั่งน้ำหนักดูว่าความคุ้มครองที่หายไปจากยกเลิกกรมธรรม์จะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง กับเงินที่ได้มาในทันที ข้อสำคัญควรระมัดระวังหากระยะเวลาของกรมธรรม์ยังไม่ถึง 10 ปีเต็มหากใช้สิทธิ์ลดหย่อนไป จึงไม่แนะนำที่จะเวนคืนกรมธรรม์เอง ควรปรึกษานักวางแผนการเงินสำหรับทางออกที่ 2 และ 3 เหมาะสำหรับผู้ที่ยังมีความจำเป็นด้านประกันชีวิต แต่ไม่สามารถหาเบี้ยประกันมาจ่ายได้นอกจาก 3 วิธีข้างต้น ยังสามารถมีวิธีพิเศษโดยการที่มีเงินก้อนหมุนมาใช้ และขณะเดียวกันความคุ้มครองยังมีอยู่ด้วยการกู้กรมธรรม์การกู้กรมธรรม์ โดยใช้มูลค่าเงินสดที่มีอยู่ในกรมธรรม์จำนวนเงินที่จะกู้ได้เท่าไร คิดเป็นประมาณ 80% ของมูลค่าเงินสดในตาราง ณ ปีกรมธรรมนั้น ๆ อัตราดอกเบี้ยรายปีที่ใช้คิดกับเงินกู้ก้อนนี้สามารถเปิดดูจากเล่มกรมธรรม์และคำนวณ ดังนี้จากตัวอย่าง การประกันชีวิตใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.0 ต่อปี ในการคำนวณเบี้ยประกันภัย เงินที่กู้ออกมาจะถูกคิดด้วยร้อยละของอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันภัย + 2 ซึ่งก็คือ 5.0+2 = 7% ต่อปีดอกเบี้ยดังกล่าวมักจะมีอัตราต่ำกว่าสินเชื่อแบบอื่น ๆ หรือกู้นอกระบบ ที่สำคัญการคืนหนี้สินจะคืนเมื่อไรก็ได้ แต่อย่าลืมว่ายังต้องจ่ายเบี้ยประกันเช่นเดิม จึงควรระมัดระวังว่าหากไม่มีการจ่ายเบี้ยประกันต่อไป เลยระยะเวลาผ่อนผัน ซึ่งมูลค่ากรมธรรม์อาจมีไม่มากพอที่จะกู้ชำระเบี้ยอัตโนมัติ กรมธรรม์อาจขาดอายุได้ หมายความว่า ความคุ้มครองที่ต้องการก็จะหมดไปด้วยกรมธรรม์ นอกจากจะทำหน้าที่มอบความคุ้มครองให้กับตัวเองโดยตรงแล้ว อาจช่วยในทางอ้อมได้เมื่อเกิดขัดสน อย่าทิ้งขว้างกรมธรรม์ เพราะนึกว่าไม่มีเงินแล้วก็ไม่ต้องสนใจอีก อย่าลืมหยิบกรมธรรม์ขึ้นมาดูว่าจะช่วยอะไรได้บ้างแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1359438
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาษี
30/04/2024
ทุกคนทำงานหนักก็อยากจะได้ผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่สิ่งที่หลีกหนี้ไม่ได้นั่นก็คือการที่จะต้องเสียภาษี การวางแผนเรื่องภาษีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เรามาทำความเข้าใจกับ 6 กลยุทธ์ในการการวางแผนภาษี เพื่อช่วยประหยัดภาษีกัน มีอะไรบ้าง กว่าจะได้รายได้มา มักจะต้องลงทุนลงแรงไปพอสมควร ครั้นเมื่อได้มาแล้ว ก็ใช่ว่าเงินนั้นจะเข้ากระเป๋าเราทั้งหมด เพราะมีบางส่วนที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย แต่จะทำอย่างไร ที่จะเสียภาษีน้อยๆ โดยไม่ผิดกฎหมาย วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ 6 กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี ตามหลักการของการวางแผนการเงิน แต่ก่อนที่จะไปดูว่ามีกลยุทธ์อะไรบ้างที่ช่วยประหยัดภาษีได้ มาดูกันก่อนว่าภาษีคำนวณมาจากอะไร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณมาจาก รายได้หรือเงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน เงินบริจาค เหลือเป็น เงินได้สุทธิ แล้วนำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าเรามีตัวเลขที่เป็นเงินได้พึงประเมินน้อย หรือ หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้มาก เงินได้สุทธิจะลดลง เราก็จะเสียภาษีน้อยลง กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี มีดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 : การกระจายหน่วยภาษี และ การกระจายรายได้ ถ้าเราสามารถกระจายหน่วยภาษี หรือกระจายรายได้ ฐานเงินได้ที่นำไปคำนวณภาษีก็จะลดลง ภาษีก็จะน้อยลง กลยุทธ์ที่ 2: การแปลงประเภทเงินได้ เพื่อหักค่าใช้จ่าย รายได้บางประเภทอาจจะมีเพดานของการหักค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี บางประเภทอาจจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 30% หรือ 60% โดยไม่มีเพดานกำหนด ถ้าเราเลือกรับเงินได้เป็นประเภทที่หักค่าใช้จ่ายได้มาก เราก็จะเสียภาษีน้อยลง กลยุทธ์ที่ 3: การลดเงินได้สุทธิ เราสามารถทำให้เงินได้สุทธิลดลง โดยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ซึ่งปัจจุบันมีรายการลดหย่อนมากมาย บางรายการเป็นสิทธิ์ที่ได้รับอยู่แล้ว บางรายการสามารถทำได้โดยการย้ายเงินจากแหล่งอื่นมาออมหรือลงทุน เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น การลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF การทำประกันชีวิต ประกันบำนาญ ฯลฯ ถ้าเราใช้สิทธิ์ได้เต็มที่ตามความเหมาะสม ก็จะทำให้เงินได้สุทธิลดลง และประหยัดภาษีได้ กลยุทธ์ที่ 4: การบริหารเงินได้จากแหล่งนอกประเทศ กรณีมีการรับเงินได้จากแหล่งภายนอกประเทศในปีภาษีใด ถ้าเราไม่นำเงินที่ได้รับเข้ามาในประเทศในปีเดียวกัน หรืออยู่ในเมืองไทยน้อยกว่า 180 วัน ในปีนั้น เงินได้ส่วนนั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย กลยุทธ์ที่ 5: การกำหนดเวลาการรับเงินได้ หากจะมีรายได้ก้อนใหญ่เข้ามาในปีใดปีหนึ่ง หรือมีรายได้ช่วงปลายปีจำนวนมาก เราอาจจะขอทยอยการรับรายได้เป็นปีถัดไป หรือทยอยการรับเงินได้เป็นงวดๆ เพื่อให้ฐานเงินได้ที่นำไปคำนวณภาษีลดลง ภาษีก็จะน้อยลง กลยุทธ์ที่ 6: การเลือกรวม หรือไม่รวมภาษีปลายปี เงินได้บางประเภท เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณภาษีปลายปี โดยใช้สิทธิ์ภาษีสุดท้าย (Final Tax) หรือ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตอนที่ได้รับเงินแล้วจบ ไม่ต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณในการยื่นภาษีปลายปีก็ได้ เราอาจจะต้องลองคำนวณเปรียบเทียบดูว่า ระหว่างการนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณยื่นภาษีปลายปี แล้วนำภาษีที่ถูกหักไปมาเครดิตภาษีออก เทียบกับการไม่นำเงินได้นั้นมารวมคำนวณตอนปลายปี อย่างไหนจะทำให้เสียภาษีน้อยกว่ากัน ก็เลือกวิธีนั้น ถ้าเราเลือกกลยุทธ์เหล่านี้ไปใช้ให้เหมาะสม เราก็จะเสียภาษีอย่างประหยัดและถูกต้อง ทำให้เหลือเงินเข้ากระเป๋ามากขึ้น หรือสามารถนำเงินไปออมหรือลงทุน เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งในอนาคตได้มากขึ้น ที่มา: หลักสูตร CFP Module 5 การวางแผนภาษีและมรดก สมาคมนักวางแผนการเงินไทย www.tfpa.or.th แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับฐานเศรษฐกิจhttps://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/572134
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
“คปภ.” ถกภาคธุรกิจประกันภัย เตรียมออกเกณฑ์ปรับพอร์ต 4.2 ล้านล้านบาท โยกลงทุนด้าน ESG “กรีนบอนด์-กรีนฟันด์-หุ้นยั่งยืน” รับลูกนโยบายกระทรวงการคลัง ฟาก “เอกชน” เสนอควรลดเงินสำรองกันความเสียหายลง ด้าน “เมืองไทยประกันชีวิต” ลุยศึกษาพัฒนาแบบประกัน-ลงทุน แย้มผลตอบแทนดีนายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากการหารือผู้บริหารระดับสูงของภาคธุรกิจประกันภัยในการขับเคลื่อนนโยบาย ESG ตามแนวทางกระทรวงการคลังนั้น มีหัวใจหลัก 2 ส่วนคือ 1. การลงทุน 2. ความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยโดยในส่วนการลงทุนปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัย มีสินทรัพย์ลงทุนรวมกันประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท ถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของประเทศ จึงอยากให้เข้าไปลงทุนในธุรกิจที่เชื่อมโยงกับนโยบาย ESG ในกลุ่มสิ่งแวดล้อม โดยให้บริษัทประกันภัยลงทุน เช่น กรีนบอนด์, หุ้นยั่งยืนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย, กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน, ธุรกิจที่ส่งเสริมลดคาร์บอน เป็นต้น“ตอนนี้ถือว่าซัพพลายกองทุนรวมต่าง ๆ ยังค่อนข้างน้อย และรีเทิร์นอาจไม่สูงมาก ภาคธุรกิจประกัน จึงเสนอว่าควรลดเงินสำรองกันความเสียหาย (risk charge) ลงด้วย ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.จะต้องไปออกกฎระเบียบประเภทการลงทุน ESG เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน คงจะต้องมีการกำกับดูแลผู้ให้บริการตามระดับความเสี่ยง (risk proportionality) เพื่อทำให้บริษัทประกันภัยมีความแข็งแรงขึ้นกว่าเดิมด้วย โดยมีตัวชี้วัดทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ”ขณะที่ในส่วนความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัย พบว่าเกือบทั้งหมดสามารถตอบสนองนโยบาย ESG ในกลุ่ม Social ได้พอสมควรอยู่แล้ว เพราะการประกันภัยเป็นการช่วยบริหารความเสี่ยง ที่ช่วยบรรเทาความเสียหาย แต่ชัดที่สุดคือ การประกันสุขภาพและการประกันบำนาญ ซึ่งจะช่วยดูแลสถานภาพทางการเงินของผู้สูงอายุที่ประเทศกำลังประสบอยู่โดยการจะผลักดันให้การประกันภัยเติบโตอย่างรวดเร็ว กรณีประกันสุขภาพ ก็คุยกันถึงแนวทางที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่แท้จริง (risk based pricing) ซึ่ง คปภ. รับไปพิจารณา เพราะฐานการประกันสุขภาพของไทยโตพอสมควรแล้ว มีเบี้ยเกิน 1 แสนล้านบาทต่อปี และโตเกิน 10% แต่คงจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์อย่างละเอียดออกมาก่อน เพื่อไม่ให้ผู้เอาประกันภัยที่ถูกชาร์จเบี้ยแพงหลุดออกจากระบบไปส่วนประกันบำนาญ ยังมีมาร์เก็ตแชร์อยู่แค่ 0.6% ของการประกันภัยทั้งหมด ในขณะที่ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ต้องผลักดันประกันบำนาญให้โตขึ้น จึงมีรายละเอียดที่ต้องทำอีก เช่น หารือกรมสรรพากรเรื่องสิทธิทางภาษี เป็นต้นนางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการด้านตรวจสอบ สำนักงาน คปภ.กล่าวว่า การกำกับดูแลของ คปภ. จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ มากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงดาต้านายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันขีวิต (MTL) ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การขับเคลื่อน ESG ของเมืองไทยประกันชีวิต ขณะนี้อยู่ในช่วงเฟสแรกคือ ศึกษาสโคปที่ 1-2 ซึ่งทำได้ง่าย เพราะเกี่ยวข้องกับตัวเอง เช่นทำเรื่อง zero waste, ลดคาร์บอน, การดำเนินธุรกิจแบบ paperless, การใช้ EV และการใช้โซลาร์รูฟ เป็นต้นแต่ตัวที่สร้างก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดอยู่ในสโคปที่ 3 คือการลงทุน โดยปัจจุบันบริษัทประกันภัยมีสินทรัพย์ลงทุนรวมกันกว่า 90% ของสินทรัพย์รวม หรือมีมูลค่ากว่า 4.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเน้นลงทุนอยู่ในพันธบัตรรัฐบาล, ตราสารหนี้, หุ้นกู้ระดับลงทุน (investment grade) เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ถ้าจะให้ธุรกิจประกันภัยให้น้ำหนักการลงทุน เช่น กรีนบอนด์ หรือลงทุนในองค์กรที่ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเองในเรื่องพวกนี้ ก็มองว่ามีความเป็นได้มากน้อยแค่ไหนที่จะลด risk charge ลงมา“เรื่องของ ESG ถือว่ามีความสำคัญมาก จะไม่ใช่เป็นการปันงบฯ มาทำ CSR เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมหรือสังคม แต่ต้องล้อไปกับการทำธุรกิจ เพราะเป็นเรื่องของการแข่งขันในนานาประเทศไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การทำเรื่องพวกนี้เราคงต้องดูให้ดีว่าอีโคซิสเต็มในประเทศไทยมีความพร้อมขนาดไหน รวมถึงเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย” นายสาระกล่าวส่วนการพัฒนาแบบกรมธรรม์ที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน ปัจจุบันแบบประกันชีวิตควบลงทุน (ยูนิตลิงก์) และยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ก็เริ่มเข้าไปแตะพวกกองทุนกรีนฟันด์, กรีนบอนด์ มากขึ้น เช่น กองทุนบางกองมีการลงทุนในเรื่องพลังงานทดแทน เป็นต้น ซึ่งผลตอบแทนก็ถือว่าดี“วันนี้ก็มีแบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองจนถึงอายุ 99 ปีแล้ว โดยสามารถซื้อได้ตอนอายุสุดท้ายคือ 90 ปี และก็มีการพูดคุยกันถึงการพัฒนากรมธรรม์สุขภาพผู้สูงวัย หรือกลุ่มคนที่เป็นโรคมาก่อนแล้ว ซึ่งเรื่องพวกนี้ทำได้ เพียงแต่ในหลักการของความยั่งยืน “ถ้าทำแล้วเจ๊ง” ก็จะไม่ยั่งยืน พูดแบบแฟร์ ๆ ฉะนั้น ต้องทำแบบบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะกับทางบริษัทรับประกันภัยต่อ” นายสาระกล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1360761
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวทั่วไป
30/04/2024
บทความโดย “ณัฐศรันย์ ธนกฤตภิรมย์” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ปัจจุบันการดำรงชีวิตของคน ๆ หนึ่งในสังคม พยายามขับเคลื่อนชีวิตให้ดีขึ้นจากชีวิตความที่เป็นอยู่ผ่านหน้าที่การงานและรายได้ที่หามาได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจหรือสายอาชีพใดก็ตาม ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบกับสภาวะการเงินส่วนบุคคล จนทำให้บางคนเริ่มเหนื่อยกับการหารายได้ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย เมื่อเกิดความท้อแท้และเหนื่อยล้ากับการหารายได้ อาจมีคำพูดผุดขึ้นมา เช่น 1.หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น 2.หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย 3.หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก เชื่อว่าหลาย ๆ ครั้งที่เกิดความท้อแท้ หาเงินไม่ทันจะบอกตัวเองว่า “มีเท่าไหร่ ก็ใช้เท่านั้น” และเป็นคำพูดติดปากของใครหลายคนไปแล้ว แต่คำกล่าวนี้จะสามารถเป็นนิยามในการใช้ชีวิตที่ดี หรือเป็นเพียงแค่คำปลอบใจในการใช้ชีวิตกันแน่ และแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ในการสร้างชีวิตที่ดี เราลองมาหาคำตอบและทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยกำหนดตัวเลขขึ้นมาเพื่อใช้แทนค่าในวิธีคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ได้เห็นวิธีคิดที่แตกต่างไปจากเดิม บริบทที่ 1 หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 100 บาท ใช้ 100 บาท สมการ 100-100 = 0 คำตอบที่ได้ คือ 0 หรือเรียกว่า ความพอดี บริบทที่ 2 หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 100 บาท ใช้จ่าย 99 บาท สมการ 100-99 = 1 คำตอบที่ได้ คือ 1 หรือเรียกว่า ความมั่งมี บริบทที่ 3 หาเงินให้น้อย ใช้ให้มาก ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 99 บาท ใช้จ่าย 100 บาท สมการ 99-100 = -1 คำตอบที่ได้ คือ -1 หรือเรียกว่า ความลำบากเปรียบเทียบความสามารถในการหายรายได้แต่ละบริบทวิเคราะห์ผลของแต่ละบริบท 1. หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น หมายถึง สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ในช่วงเวลานั้น ๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ อาจส่งผลเสียในการดำรงชีวิตในระยะยาว เพราะไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ล่วงหน้า 2. หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย หมายถึงสามารถใช้ชีวิตได้แบบปกติและไร้กังวล ในทุกช่วงเวลาของการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ ก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างที่เป็น 3. หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก หมายถึงจะดำรงชีวิตแบบวันต่อวัน และมีแต่ความกังวลใจในการใช้ชีวิต และหากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ ก็จะได้รับผลกระทบเร็วที่สุดสรุปผลกระทบต่อการดำรงชีพของแต่ละบริบท ในระยะเวลาที่ต่างกันแนวทางในการจัดการที่ทำได้ง่ายที่สุด สำหรับ บริบทที่ 1 (หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น) กับบริบทที่ 3 (หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก) ก็คือ ต้องลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง และต้องสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง อย่าพยายาม “อดมื้อ กินมื้อ” เพื่อให้มีชีวิตแบบวันต่อวัน ถ้ายังทำแบบเดิมต่อไป อาจจะไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1359444
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
2 สิงหาคม 2566 : ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์โกดังเก็บพลุ-ประทัดระเบิดอย่างรุนแรงกลางตลาดมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บรวมถึงบ้านเรือนประชาชน รถยนต์ และทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมานั้นสมาคมประกันวินาศภัยไทย ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากการประสบเหตุการณ์ในครั้งนี้ และเพื่อให้ประชาชนได้รับการเยียวยา บรรเทาความความสูญเสีย และความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมฯ ขอแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับความเสียหาย ดังต่อไปนี้1. หากท่านมีประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือประกันภัยสุขภาพ หรือรถยนต์ของท่านทำประกันภัยประเภท 1 หรือประเภท 2 (รถยนต์ไฟไหม้) ไว้ หรือบ้าน/อาคารของท่านทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย/ ประกันอัคคีภัย (กรณีมีความคุ้มครองภัยระเบิด)/ ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risks) ไว้ ให้แจ้งเหตุกับบริษัทประกันวินาศภัยที่ท่านได้ทำประกันภัยไว้2. หากท่านไม่ได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล/ ประกันภัยสุขภาพ หรือทรัพย์สินของท่านไม่ได้ทำประกันภัยไว้ ให้รอผลการสอบสวนของพนักงานสอบสวนว่าสาเหตุของการเกิดระเบิดในครั้งนี้เกิดจากการกระทำหรือความประมาทของผู้ใด เพื่อจะได้ดำเนินการเรียกร้องความเสียหายจากผู้รับผิดชอบต่อไป โดยดำเนินการในเบื้องต้น ดังนี้2.1 กรณีที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและการบาดเจ็บต่อร่างกาย ให้ดำเนินการและจัดเตรียมเอกสารเบื้องต้นดังต่อไปนี้1) ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจรักษา2) ขอใบรับรองแพทย์และใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล3) ในกรณีเสียชีวิต ให้เตรียมใบมรณบัตรที่ระบุสาเหตุการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเอกสารแสดงการเป็นทายาทตามกฎหมาย2.2 กรณีที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ อาคาร บ้านพักอาศัย ให้ดำเนินการและจัดเตรียมเอกสารเบื้องต้นดังต่อไปนี้1) ถ่ายภาพของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายโดยละเอียด เพื่อให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด จัดทำรายการความเสียหายของทรัพย์สินทั้งหมด2) ให้ช่างหรือผู้รับเหมาประเมินราคาค่าเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด3) หากมีการจ่ายเงินค่าซ่อมแซมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย ให้เก็บใบเสร็จรับเงินไว้ให้ครบถ้วน4) เตรียมเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย“ท่านที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ สามารถตรวจสอบที่อยู่และเบอร์ติดต่อของบริษัทประกันวินาศภัยได้ที่เว็บไซต์ www.tgia.org สมาคมประกันวินาศภัยไทยขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและห่วงใยต่อการบาดเจ็บและความสูญเสียของประชาชนที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว สมาคมฯ และธุรกิจประกันวินาศภัยไทยขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ครั้งนี้” นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวในตอนท้ายแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=150133
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
08/05/2025
13/06/2024
30/04/2024
19/11/2024
30/04/2024