Everyday knowledge for you
ข่าวทั่วไป
30/04/2024
แนวคิดทางจิตวิญญาณยอดนิยม ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของผู้คนกันมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน เห็นจะได้แก่ความเชื่อใน “กฎแรงดึงดูด” (law of attraction) ซึ่งใช้พลังในการคิดบวกดึงดูดโอกาสสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยเข้ามาหาตนเอง คนจำนวนไม่น้อยที่เชื่อถือศรัทธาในเนื้อหาของหนังสือ “เดอะ ซีเคร็ต” (The Secret) ซึ่งเขียนโดยรอนดา เบิร์น เมื่อปี 2006 ต่างเชื่อมั่นว่าการคิดบวกโดยวาดฝันจินตนาการถึงอนาคตทางการเงินที่สดใส จะดึงดูดพลังบวกทั้งมวลในจักรวาลให้มาหนุนเสริมโอกาสสร้างฐานะเพื่อเป็นมหาเศรษฐีได้ ซึ่งน่าสงสัยอย่างยิ่งว่า ในชีวิตจริงจะมีสักกี่คนที่ประสบความสำเร็จทางการเงินด้วยเทคนิคนี้ ? เพื่อตอบคำถามข้างต้นและพิสูจน์ว่ากฎแรงดึงดูดใช้ได้ผลจริงหรือไม่ คณะนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย ได้ทำการศึกษากับชาวอเมริกัน 1,023 คน โดยให้ตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ เพื่อวัดระดับความเชื่อถือศรัทธาต่อกฎแรงดึงดูดของคนเหล่านี้ ทั้งยังศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมของพวกเขาในการ “แมนิเฟสต์” (manifest) หรือการตั้งจิตแน่วแน่เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของตนเองต่อจักรวาล ซึ่งมักจะทำกันโดยใช้วิธีนั่งสมาธิสร้างภาพในใจหรือเขียนบันทึกประจำวันด้วยรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร “จดหมายข่าวบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม” (Personality and Social Psychology Bulletin) เผยว่าบรรดาสาวกของลัทธิกฎแรงดึงดูด มักไม่ประสบความสำเร็จทางการเงินในชีวิตจริง โดยหลายคนถึงกับต้องล้มละลาย เนื่องจากชอบเข้าไปเกี่ยวข้องกับการลงทุนความเสี่ยงสูง ทีมผู้วิจัยระบุว่า แม้คนเหล่านี้จะเชื่อมั่นสูงว่าตนเองกำลังประสบความสำเร็จทางการเงินอยู่ในปัจจุบัน และจะมีอนาคตทางการเงินที่ดีขึ้นไปอีกอย่างแน่นอนในวันข้างหน้า แต่ทว่าผลวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคลกลับชี้ว่า ไม่พบหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งพิสูจน์ยืนยันว่ามีความสำเร็จทางการเงินเพิ่มขึ้นเลย ซ้ำยังมีแนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงินที่น่าเป็นห่วงอีกด้วย “คนที่มีความศรัทธาในระดับสูงต่อการแมนิเฟสต์ มองว่าตนเองมีความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะประสบความสำเร็จให้ได้ และจะบรรลุถึงความสำเร็จดังใจปรารถนาอย่างแน่นอนในอนาคต” ดร.ลูคัส ดิกสัน ผู้นำทีมวิจัยกล่าว “แต่ความตั้งใจเช่นนี้ทำให้พวกเขามีแนวโน้มจะเชื่อมั่นว่า ตนเองสามารถประสบความสำเร็จในระดับที่เหลือเชื่อได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้ถูกหลอกล่อเข้าไปลงทุนในภาคการเงินที่มีความเสี่ยงสูง อย่างเช่นสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซีได้ง่าย” “แม้อยู่ในภาวะทางการเงินที่ย่ำแย่ แต่คนเหล่านี้กลับศรัทธาในกฎแรงดึงดูดต่อไปอย่างไม่สั่นคลอน จนการมองโลกในแง่ดีซึ่งมีประโยชน์ในบางครั้ง กลับพรางตาทำให้คนกลุ่มนี้มองไม่เห็นความเป็นจริง โดยละทิ้งการคิดแบบใช้เหตุผลรวมทั้งสามัญสำนึกหรือคอมมอนเซนส์ไปพร้อมกัน ทำให้มีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนความเสี่ยงสูงมากเกินไป” ดร.ดิกสัน กล่าวสรุป ทีมผู้วิจัยยังบอกว่า สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเผยแพร่แนวคิดเรื่องกฎแรงดึงดูดให้เป็นที่นิยมของคนหมู่มาก โดยมีบรรดาอินฟลูเอนเซอร์พากันออกมาชี้ช่องรวยทางลัดด้วยเทคนิคนี้อย่างไม่ขาดสาย โดยสถิติของติ๊กต็อก (TikTok) เมื่อเดือน พ.ค. ของปีนี้ มีผู้เข้าชมคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการแมนิเฟสต์แล้วถึง 34,600 ล้านครั้ง แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับBBC NEWSไทยhttps://www.bbc.com/thai/articles/c0dgdd714nvo
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย “วิไล รักต้นตระกูล” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย หากไม่มีการวางแผนจัดการมรดก เมื่อเราเสียชีวิตไป ทรัพย์สินที่มีอยู่อาจจะไม่ส่งต่อถึงทายาท ตามความประสงค์ คำถามคือ แล้วทรัพย์สินเหล่านั้นหายไปไหน “อิสระ” นักวางแผนการเงิน มาเยี่ยมลูกค้า ชื่อคุณภาษนัย นักธุรกิจ วัย 40 ปี ที่กำลังรับการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ยังคงต้องดูอาการที่โรงพยาบาลอีกสักระยะ ภาษนัยเล่าให้อิสระฟังข้อกังวลเกี่ยวกับการวางแผนส่งต่อมรดก เพราะตอนนี้ ยังไม่เคยมีการวางแผนใด ๆ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ประกอบกับอายุก็ยังไม่มาก จึงคิดว่ายังไม่จำเป็นที่จะต้องวางแผน แต่เมื่อเข้ารับการักษาโรคหัวใจทำให้รู้ว่าความตายเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และไม่ควรประมาทกับการใช้ชีวิต จึงต้องการวางแผนการส่งต่อมรดกให้เรียบร้อย จะได้ไม่มีความกังวล หากตัวเองต้องจากไปในวันใดวันหนึ่ง ในเรื่องของการวางแผนส่งต่อมรดกเป็นประเด็นที่น่าสนใจ โดยอิสระได้แนะนำว่าหากโชคร้ายเสียชีวิตกะทันหัน ในขณะที่ยังไม่มีการวางแผนการส่งต่อมรดก สินทรัพย์ของภาษนัยจะถูกส่งต่อไปไหนบ้าง ภาษนัยแต่งงานอยู่กินกับภรรยาวัยห่างกันเกือบ 10 ปี มีบุตรชาย 1 คนอายุ 4 ขวบ ส่วนคุณพ่อยังมีชีวิตขณะที่คุณแม่เสียชีวิตแล้ว โดยคุณพ่อกับคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และมีพี่ชาย น้องชาย ร่วมบิดามารดา รวม 2 คนหากไม่ได้มีการวางแผนการส่งต่อมรดกด้วยพินัยกรรม ทรัพย์มรดกทั้งหมดจะตกเป็นของทายาทโดยธรรม ตามหลักการนี้ ทายาทโดยธรรมมี 2 ประเภท คือ ประเภทคู่สมรส และประเภทญาติ 6 ลำดับ จะแบ่งมรดกไปยังทายาทโดยธรรมก็ต่อเมื่อ ผู้ตาย ตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำไว้แต่พินัยกรรมนั้นไร้ผล ซึ่งการแบ่งทรัพย์มรดกกองนี้ระหว่างทายาทโดยธรรมประเภทญาตินั้นต้องแบ่งตามลำดับชั้น ดังต่อไปนี้ 1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม) หลาน เหลน ลื้อ ไปจนสุดสาย 2. บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน 5. ปู่ ย่า ตา ยาย 6. ลุง ป้า น้า อา สำหรับคู่สมรสของเจ้ามรดกที่ถือเป็นทายาทโดยธรรม จะต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกับเจ้ามรดก และก็จะได้รับมรดกตามสัดส่วน ซึ่งทายาทโดยธรรมประเภทญาติทั้ง 6 ลำดับข้างต้นนั้น ไม่ได้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันหมดทุกคน แต่หากทายาทลำดับต้นยังมีชีวิตอยู่ ก็เฉพาะแต่ทายาทลำดับดังกล่าวเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก ซึ่งทายาทลำดับต้น ได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดา มารดา เท่านั้น หากมี 2 ลำดับนี้ลำดับใดลำดับหนึ่งแล้ว ลำดับ 3 ถึง 6 ก็จะไม่มีสิทธิในการรับมรดก สัดส่วนการแบ่งมรดกให้คู่สมรสและทายาทคือหมายเหตุ : หากไม่มีทายาทโดยธรรมทั้งญาติและคู่สมรส และไม่มีการทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกเป็นของแผ่นดิน กรณีของภาษนัยทรัพย์สินมรดกจะตกเป็นของบุตรชายแต่เพียงผู้เดียว เนื่องจาก ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส และคุณพ่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับคุณแม่ จึงไม่ถือว่าคุณพ่อเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงภาษนัยมีความต้องการจะส่งมอบทรัพย์สินให้กับครอบครัวทุกคน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ㆍบ้านที่อยู่อาศัยปัจจุบันและเงินสด 5 ล้านบาท มอบให้ภรรยา ㆍที่ดิน 3 แปลง และเงินสด 10 ล้านบาทในบัญชีธนาคาร มอบให้บุตรชาย ㆍเงินสด 5 ล้านบาท ให้กับบิดากิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องการส่งมอบให้กับน้องชาย อิสระ จึงแนะนำภาษนัยว่าการจัดทำพินัยกรรมเพื่อวางแผนส่งต่อมรดก โดยการเขียนพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ซึ่งเป็นพินัยกรรมที่สามารถจัดทำได้สะดวกที่สุด โดยมีข้อกำหนด ดังนี้ ㆍต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ ใช้พิมพ์ไม่ได้ ㆍจะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ ㆍต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ ㆍต้องลงลายมือชื่อ จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือหรือเครื่องหมายอื่นไม่ได้ สรุปแล้ว การวางแผนส่งต่อมรดก ควรจัดทำตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามรดกจะส่งมอบไปยังทุกคนตามความตั้งใจ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1400351
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย “ศุภิสรา อโณทยานนท์” ที่ปรึกษาการเงิน AFPT บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด วันที่ 25 กันยายน 2566 คนเราต้องใช้เงินในทุกช่วงของชีวิต จึงควรเรียนรู้วิธีจัดการเงิน เพื่อให้ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงระยะเวลา ซึ่งระยะเวลาในการใช้เงินของคนเราแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ สั้น กลาง และ ยาว โดยในแต่ละระยะ เราต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เท่ากัน เพราะอะไร ? ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น คุณ A มีเงินส่วนใหญ่ลงทุนในหุ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทน 8% โดยวางแผนว่าจะนำกำไรหรือเงินปันผล มาจ่ายค่าผ่อนบ้าน แต่ปรากฎว่าหุ้นดันตกและอยู่ในช่วงที่จะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านพอดี ซึ่งแน่นอนว่า เราคงไม่อยากขายในขณะที่ยังขาดทุน หรือไปนั่งเจรจากับธนาคารหรือเจ้าหนี้ว่า “ขอผัดผ่อนไปก่อนได้มั้ย ไว้หุ้นขึ้นแล้วเดี๋ยวมาจ่ายเลย” ซึ่งเป็นไปได้ยาก แต่ในทางกลับกัน ถ้าตั้งแต่ต้น คุณ A ไม่เลือกลงทุนในหุ้น แล้วเลือกฝากในธนาคารที่ได้ผลตอบแทน 0.25% ที่ดึงเงินออกมาใช้ได้ตลอดเวลา คุณ A และทุกคนคงรู้สึกไม่จูงใจที่จะลงทุนในลักษณะนั้น งั้นเราควรจะเอาเงินไปลงทุนตรงไหนดี ? ในเมื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูง ความผันผวนก็สูงตาม จะลงทุนในสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนต่ำ ก็ไม่จูงใจ คำตอบคือ แบ่งเงินออกเป็น 4 พอร์ต เพื่อลงทุนให้เหมาะกับการใช้เงินในแต่ละระยะดีกว่า พอร์ตที่ 1 เงินสำรองฉุกเฉิน เผื่อไว้ยามที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด หรือ ขาดรายได้ ตกงาน อยากเปลี่ยนงาน ก็ยังใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลที่ขาดรายได้มากนัก ซึ่งจากหลักการการวางแผนการเงิน เราควรมีเงินส่วนนี้เท่ากับ ค่าใช้จ่าย 3 – 6 เดือน เช่น ปกติใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท ก็ควรมีเงินสำรองเก็บไว้ในธนาคารสักประมาณ 30,000 – 60,000 บาท พอร์ตที่ 2 กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ กองทนุตราสารหนี้ระยะสั้น สำหรับเป้าหมายระยะสั้นที่ต้องใช้เงินในช่วง 1–3 ปี เช่น เก็บเงินดาวน์รถ ดาวน์บ้าน คาดหวังผลตอบแทนประมาณ 0.5–2% เพื่อให้แน่ใจว่าจะรักษาเงินต้นไว้ มาจ่ายสิ่งจำเป็นพวกนี้ได้ พอร์ตที่ 3 กองทุนรวมตราสารหนี้หรือตราสารผสม สำหรับเป้าหมายระยะกลาง ที่ต้องใช้เงินในอีก 3–7 ปี ตอนนั้นเราอาจจะเริ่มสร้างครอบครัวแล้ว จึงอาจจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อแต่งงานหรือดาวน์บ้าน กำหนดเป็นพอร์ตที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 3–4% ไม่ได้มีสภาพคล่องมากเท่าพอร์ตที่ 2 และไม่ได้มีผลตอบแทนสูงมากนักเพื่อให้ความเสี่ยงไม่สูงมากจนเกินไป พอร์ตที่ 4 กองทุนรวมตราสารทุนหรือกองทุนหุ้น สำหรับเป้าหมายระยะยาว ที่ต้องใช้เงินในอีก 7 ปีขึ้นไป ที่จะเป็นพอร์ตเพื่อการเกษียณ ซึ่งคนในวัยนี้มักมีคำถามว่าเราควรจะเริ่มเลยหรือไม่ ตอบเลยว่า ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งดี ได้เปรียบมาก เพราะยิ่งอายุน้อย ยิ่งมีเวลาในการลงทุนยาวนานมากกว่าวัยอื่น ทำให้ความเสี่ยงในการขาดทุนลดลง และได้ประโยชน์สูงมากจากผลตอบแทนแบบทบต้นทบดอก หรือดอกเบี้ยทบต้นนั่นเอง ดอกเบี้ยทบต้น เป็นตัวช่วยเพิ่มพลังชั้นดีในการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น หากเราเลือกให้ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าได้ อะไรจะทำให้เรามีเงินมากที่สุดระหว่าง 1. เพิ่มเงินลงทุนต่อเดือน จากเดือนละ 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท 2. เพิ่มอัตราผลตอบแทนจาก 10% เป็น 20% 3. เพิ่มระยะเวลาการลงทุนจาก 10 ปี เป็น 20 ปี จะได้ตารางดังนี้จากตารางพบว่า การเพิ่มระยะเวลาการลงทุนทำให้มีเงินมากที่สุด เป็นที่มาของคำว่า “ออมก่อน รวยกว่า” นั่นเอง นอกจากนี้จะเห็นว่า เราแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมทั้งหมดเลย เพราะมันเหมาะกับมือใหม่หัดลงทุน ที่ไม่ค่อยมีเวลาศึกษาการลงทุนด้วยตัวเอง เนื่องจากกองทุนรวมมีผู้จัดการกองทุนและทีมงานเป็นคนดูแลกองให้แทน อีกทั้งกองทุนรวมยังมีการกระจายการลงทุนที่ดีว่าการซื้อหุ้นรายตัวอีกด้วย นอกจากนี้หากซื้อกอง RMF หรือ SSF ก็ใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ดังนั้นสำหรับสมาคมวัยรุ่นสร้างตัว ใช้วิธี 3 ระยะเวลา 4 พอร์ตการลงทุน จะเป็นตัวช่วยให้สามารถพิชิตเป้าหมายในทุกช่วงชีวิต แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1400343
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอไอเอ (ประเทศไทย) จำกัด (“บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย)”) ได้รับรางวัล Best Asset Manager ประเภทกองทุนหุ้น หรือ Equity Funds จาก Alpha Southeast Asia ซึ่งถือเป็นการได้รับรางวัลนี้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดย คุณสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ คุณรสริน ธรรมรัตยานนท์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) ได้เข้าร่วมงานรับรางวัลในวันที่ 7 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ณ โรงแรม The St. Regis Singapore ประเทศสิงคโปร์ Alpha Southeast Asia เป็นนิตยสารการเงินชั้นนำด้านการลงทุนสถาบันที่ก่อตั้งมากว่า 15 ปี ที่มุ่งเน้นการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปิน สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และนำเสนอข้อมูลการลงทุนให้กับนักลงทุนทั้งในภูมิภาคยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก การได้รับรางวัล Best Asset Manager ประเภทกองทุนหุ้น หรือ Equity Funds อีกครั้งในปี 2566 นี้ ถือเป็นเครื่องการันตีที่ตอกย้ำถึงศักยภาพของกระบวนการทำงานของทีมผู้จัดการกองทุน ทีมงานการลงทุนของ บลจ.เอไอเอ (ประเทศไทย) และกลุ่มการลงทุนของเอไอเอ ที่มุ่งมั่นในการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม* ตลอดทุกช่วงของชีวิต ทำให้กองทุน AIA Enhanced SET50 กองทุน AIA Thai Equity และกองทุน AIA Thai Equity Discovery เป็นกองทุนคุณภาพระดับต้น ๆ สำหรับกองทุนหุ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ บลจ.เอไอเอ (ประเทศไทย) ยังคงมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการกองทุนรวมให้ได้ผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้นในระยะยาว บนกรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าและผู้ถือกรมธรรม์ เอไอเอ ยูนิต ลิงก์ ต่อไป *หมายเหตุ ระยะเวลาในการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนโดย Alpha Southeast Asia วัดจากผลดำเนินงานของกองทุนระหว่างเดือนพฤษภาคม 2565 ถึง มิถุนายน 2566 คำเตือน - ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของแต่ละกองทุน และข้อมูลอื่น ๆ ในเว็บไซต์ www.aiaim.co.th อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน - การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ก่อนการตัดสินใจลงทุน - ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต - ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ระยะนี้แฟนคอลัมน์กำลังติดตามดิฉันในยูทูป หลายท่านแจ้งมาว่า ชอบแนวคิดในการบริหารเงินของดิฉัน จริงๆแล้วไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า การมุ่งหวังผลในเรื่อง “ความยั่งยืน” ค่ะ ในบทความนี้ ดิฉันขอแบ่งปันประสบการณ์สร้างความยั่งยืน จากข้อมูลที่ได้จากการอ่าน จากการสั่งสอนอบรมของผู้ใหญ่ และประสบการณ์ส่วนตัวในการได้ประสบ ได้แก้ไข ได้ผ่านมาแล้ว หรือได้ยินได้ฟังจากประสบการณ์ชีวิตของผู้อื่น แนวคิดของความยั่งยืนมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธเจ้าทรงแนะแนวทาง “ทิฏฐธัมมิกัตถธรรม” หรือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของปัจจุบัน มี 4 ข้อ คือ 1. มีความขยันหมั่นเพียร รู้จักจัดการงานในการหาทรัพย์ 2. รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ 3. รู้จักคบคนที่จะเกื้อกูลแก่การงาน และทำให้ชีวิตมีความดีงามเจริญก้าวหน้า และ 4. หลักการใช้จ่ายอย่างพอดี ที่เรียกว่า สมชีวิตา ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้หลัก “สมชีวิตา” มีน้อยใช้น้อย มีมากก็สามารถใช้มากได้ ตราบใดที่ไม่ใช้เกินกว่าที่หาได้ เช่นที่ดิฉันเคยเขียนไปเกือบยี่สิบปีแล้วว่า “คนรวยหาเงินได้มากกว่าที่ใช้ และ คนจนใช้เงินมากกว่าที่หาได้” เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะมีรายได้เท่าใด หากท่านใช้น้อยกว่าที่หาได้ ท่านก็เป็นคนรวย และไม่ว่าท่านจะมีรายได้มากมายเพียงใด หากท่านใช้เงินมากกว่าที่หาได้ ท่านก็เป็นคนจนค่ะ เมื่อท่านใช้เงินน้อยกว่าที่หาได้ ท่านก็จะมี “เงินออม” และเงินออมนี้ก็สามารถนำไป “ลงทุน” เพื่อความมั่นคงของชีวิตได้ อยากให้ท่านแยกแยะระหว่าง “การใช้จ่าย” กับ “การลงทุน” เพราะหากท่านสับสนกับสองคำนี้ ท่านอาจจะใช้จ่ายเพลินเกินไป และคิดว่าตัวเองกำลังลงทุน พอทำไปนานๆ หายนะอาจมาถึงท่านได้ หลักการของความยั่งยืนนี้ใช้ได้ทั้งกับบุคคล กับธุรกิจ กับหน่วยงานใหญ่น้อยทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งใช้กับ “ประเทศ” การใช้จ่าย คือการใช้เงินหรือทรัพยากรต่างๆไป เพื่อประโยชน์ในการบริโภค (กิน ใช้ แจก รวมถึงเหลือทิ้ง) ซึ่งจะหมดไป การลงทุน คือการใช้เงินหรือทรัพยากรต่างๆไปเพื่อหวังผลตอบแทนที่จะมีขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะได้ตามคาด น้อยกว่าที่คาด หรือมากกว่าที่คาด หรือขาดทุนหดหายไปก็ได้ แต่ในขณะที่เราตัดสินใจลงทุน เราต้องพิจารณาดีแล้วว่าเรามีโอกาสได้รับผลตอบแทน/ผลลัพธ์ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทน/ผลลัพธ์ทางการเงิน ทางสังคม ทางสิ่งแวดล้อม หรือทางวัฒนธรรม คน องค์กร หรือประเทศ จะเติบโตเจริญก้าวหน้า มีความมั่นคงได้ ต้องมีการลงทุน (ทั้งเงินและทรัพยากรอื่นๆ) ทรัพยากรที่ใช้ในการลงทุน อาจมาจากการเก็บออม หากเงินออมไม่พอ ก็อาจต้องมีการกู้ยืมเพิ่มเติม ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี ดิฉันเคยเรียนไปว่า ของชิ้นใหญ่ เช่น บ้าน บางทีเก็บเงินออมอย่างเดียว ก็อาจจะทำให้ซื้อไม่ได้ เพราะเก็บได้ไม่ทันราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นไป สำหรับคนทั่วไปแล้ว การวางแผนการใช้จ่ายให้ดี โดยใช้เทคนิคการจดบันทึก เพื่อนำมาตรวจสอบความจำเป็นหรือไม่จำเป็น เพื่อตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อเพิ่มสัดส่วนการออม เป็นสิ่งที่ควรทำค่ะ และเมื่อมีรายได้เพิ่ม ควรจะออมเงินเพิ่ม หากรายรับไม่พอกับค่าใช้จ่าย และตัดลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไม่ได้อีกแล้ว สิ่งที่จะทำได้มีอยู่ทางเลือกเดียวคือ หารายได้เพิ่มค่ะ อาจจะหารายได้พิเศษด้วยการทำงานพิเศษ การขายของ ฯลฯ องค์กรหรือประเทศก็เหมือนกันค่ะ หากการลงทุนนั้นจะส่งผลต่อการเพิ่มของรายได้ในอนาคต ต่อความเป็นอยู่ในทางที่ดีของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลิตภาพ และคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น เราอาจต้องกู้ยืมมาลงทุน ตราบเท่าที่เราคำนวณแล้วว่า เรามีแหล่งรายได้เพียงพอที่จะนำมาใช้คืนหนี้ หากบุคคล องค์กร หรือภาครัฐ มีแผนในการลงทุนที่ชัดเจน มีที่มาของแหล่งเงินที่จะนำมาใช้คืน เจ้าหนี้ หรือผู้ถือหุ้น หรือผู้เกี่ยวข้อง ก็จะสบายใจ อยากให้กู้ยืม หรืออยากลงทุนในกิจการ (กรณีเป็นองค์กร) ยิ่งหากแผนนั้นมีแนวโน้มที่จะยกระดับฐานะของบุคคล องค์กร หรือรัฐ ให้ดีขึ้น เจริญก้าวหน้าขึ้น เจ้าหนี้หรือผู้ลงทุนก็พร้อมที่จะให้กู้หรือลงทุนเพิ่มเติม เศรษฐกิจก็จะแข็งแรง ค่าเงินก็จะมีเสถียรภาพค่ะ หากบุคคล องค์กร หรือภาครัฐ มีแผนใช้จ่าย โดยไม่มีแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้จ่าย เจ้าหนี้ หรือผู้ลงทุน ก็จะไม่สบายใจ โดยในโลกปัจจุบัน หากเป็นบุคคล ความไม่สบายใจก็จะออกมาในรูปแบบของการไม่ให้กู้ยืม หรือชะลอการให้กู้ยืม หากเป็นองค์กร ความไม่สบายใจจะสะท้อนออกมาที่ เจ้าหนี้อาจขอหลักประกันเพิ่ม เริ่มคิดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น (คิดพรีเมียมของค่าความเสี่ยง) หยุดการให้กู้เพิ่ม หรือแม้กระทั่งหยุดการเบิกจ่ายเงินกู้กลางคัน หรือกรณีมีการกู้ยืมจากประชาชน ก็อาจจะสะท้อนในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาจถูกปรับลดลง ซึ่งหมายความว่าเงินกู้ก้อนถัดไปต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงขึ้น หรือสำหรับผู้ถือหุ้น ก็จะสะท้อนมาในราคาหุ้นของบริษัทที่จะตกลงไป เพราะผู้ลงทุนบางรายขายหุ้นออกมา หากประเทศใดมีแผนการใช้เงินมากมาย แต่แหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ไม่ชัดเจน ความไม่สบายใจของผู้ลงทุนจะสะท้อนมาได้หลายจุด เช่น ค่าเงินของประเทศนั้นๆอาจอ่อนค่าลง อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรเพิ่มขึ้น (หมายถึงราคาพันธบัตรตกลง) หรือถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ หมายถึงการกู้เงินงวดต่อๆไป ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับองค์กรเอกชนที่กล่าวไปข้างต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน ตลาดการเงิน ต่างก็ชอบและอยากเห็น “ความยั่งยืน” ค่ะ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/blogs/finance/investment/1090160
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
ระวังแค่ไหนก็อาจจะหลบไม่พ้น เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นกับเราได้ได้ในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเจ็บเล็กๆ อย่าง หกล้ม ตกฟุตบาท ไปจนถึงเจ็บใหญ่ ๆ อย่าง รถชน ขาหัก บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เป็นต้น หากมีการทำประกันอุบัติเหตุ เอาไว้ก็หมดห่วงได้เลยว่ามีผู้ที่เข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้เราแล้วโดยที่ไม่ต้องควักกระเป๋าเอง แต่ถ้าไม่ได้ทำไว้ละ งานนี้ก็ต้องมาลุ้นกันว่าเงินในกระเป๋าเราพอที่จะจ่ายค่ารักษาหรือไม่ และจะมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปได้นานแค่ไหนก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับ “ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล” กันก่อนว่าคืออะไร และมีประโยชน์กับเรายังไงกันบ้าง สำหรับ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นสัญญาเพิ่มเติมประกันภัยที่จะมาช่วยดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลเนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุโดยผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือก ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบของเงินก้อนที่ชดเชยให้เมื่อต้องสูญเสียรายได้จากการพักรักษาตัว หรือเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายหลังการรักษาพยาบาลที่ต้องติดตามอาการ หรือค่ากายภาพบำบัด โดยแผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะเป็นทำหน้าที่ในการดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันเลือกไว้ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองอะไรบ้าง?????สำหรับความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันจะได้รับเมื่อทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ดังนี้ㆍอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ บาดแผล กระดูกหัก การผ่าตัด ภาวะโคม่า แผลไฟไหม้ การสูญเสียแขนขา และการเสียชีวิตㆍค่าใช้จ่ายในการเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินㆍค่าใช้จ่ายเมื่อต้องมีการเอ็กซ์เรย์, CT หรือ CAT scan, MRIs และ EEGs ที่มีสาเหตุมาจากการเกิดอุบัติเหตุㆍค่ารักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น ต้องเข้าห้อง ICUㆍค่ารักษาพยาบาลหากต้องทำกายภาพบำบัด เช่น การทำแขนขาเทียม การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ หรือการทำฟันที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ7 ข้อก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ 1. ควรเลือกบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ 2. อ่านเงื่อนไข ศึกษาผลประโยชน์ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด 3. อัตราเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล 4. สอบถามตัวแทนหรือบริษัทประกันทุกครั้ง ถึงเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหลังเกิดอุบัติเหตุ ก่อนทำประกันว่าเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นแบบใด บริษัทจะอนุมัติการจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในกี่วัน 5. แผนประกันมีความยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้เอาประกันและความคุ้มครองหลากหลาย 6. เมื่อต้องนอนโรงพยาบาลขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสารการเคลมรวดเร็วหรือไม่ 7. ความคุ้มครองครอบคลุมสถานพยาบาลทุกที่ทั่วโลกหรือไม่แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับการเงินธนาคารhttps://moneyandbanking.co.th/2023/33241/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
เปิด 8 นิสัยการใช้เงินที่เป็น “อันตราย” ซึ่งขัดขวางความเจริญรุ่งเรืองทางการเงินของคุณ ตั้งแต่การฝากเงินบัญชีออมทรัพย์อย่างเดียวไปจนถึงแนวคิด ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง 1. การฝากเงินในบัญชีเงินฝากเพียงอย่างเดียว การฝากเงินในบัญชีเงินฝากอย่างเดียวนั้นเป็นอันตรายและเป็นตัวทำลายความมั่งคั่งของคุณเพราะอัตราดอกเบี้ยที่ได้โตไม่ทันเงินเฟ้อและประเด็นเรื่องการลดค่าเงิน 2. โอบกอด “คุณค่าและความสูงส่ง” ของเงินมากเกินไป คุณควรท้าทายความคิดที่ว่าเงินเป็นสิ่งที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ โดยให้ตระหนักถึงบทบาทของเงินในการให้ความปลอดภัยเสรีภาพและโอกาสเท่านั้น โดยคุณควรเปลี่ยนความคิดของคุณและชื่นชมคุณประโยชน์ที่เงินนํามาให้เราเท่านั้น 3. เป็นผู้บริโภคประเภทซื้อก่อนจ่ายที่หลัง การซื้อก่อนผ่อนที่หลังเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เสียวินัยทางการเงิน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางการเป็นหนี้ในลักษณะนี้ และควรทำตามแนวคิดที่ว่า "ถ้าคุณไม่สามารถจ่ายเงินสดได้อย่าซื้อเลย" 4. ไม่เห็นคุณค่าของเครื่องมืออัตโนมัติทางการเงิน หากคุณไม่ใช้เครื่องมืออัตโนมัติเพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงินของคุณ เช่นการลงทุนอัตโนมัติเพื่อจัดลําดับความสําคัญของการสะสมความมั่งคั่ง อาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการสร้างวินัยทางการเงินที่มีประสิทธิภาพไป 5. รอจังหวะลงทุนเพื่อเอาชนะตลาด คุณควรเรียนรู้ “ความไร้ประโยชน์” ของจังหวะเวลาตลาดและยอมรับแนวคิดของการลงทุนเดี๋ยวนี้ตอนนี้ เพราะตามข้อเท็จจริงแล้ว เวลาในตลาดมีมากกว่าความพยายามที่ไร้ประโยชน์ในการทํานายความผันผวนแบบที่หลายคนทำอยู่ ดังนั้นควรลงมือตอนนี้ เพื่อสร้างความมั่งคั่งแทนการทำนายว่าตลาดจะขึ้น-ลงตอนไหน เพราะสถิติก็ชี้ให้เห็นแล้วว่านักเก็งกำไรไม่สามารถชนะตลาดได้ในระยะยาว 6. หลีกหนีจากภาพลวงตาชีวิตอันหรูหรา หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตที่หรูหราซึ่งไม่สมฐานะของเงินตัวเอง เพียงเพราะต้องเข้าสังคมหรือต้องมีในสิ่งที่เพื่อนมี ไม่งั้นคุณอาจตกหลุมพรางภาพลวงตาเหล่านั่นแหละทำให้คุณไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้เสียที 7. เน้นทักษะ โดยไม่เข้มงวดเรื่องงบประมาณในการพัฒนาทักษะจำเป็น เปลี่ยนโฟกัสจากการลดค่าใช้จ่าย ไปเป็นการเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ของคุณ โดยลงทุนในการพัฒนาศักยภาพของตัวเองและวิชาชีพเพื่อเพิ่มทักษะเพื่อหารายได้เพิ่มในอนาคต 8. เพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดภาษี สํารวจกลยุทธ์เพื่อลดภาระภาษีของคุณอย่างถูกกฎหมาย ขอคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาโอกาสทางธุรกิจ และใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษี แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1082014
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
หลายๆ คนคงมีคำถามในใจเกี่ยวกับการซื้อ “ประกันสุขภาพ” ว่าควรจะซื้อเมื่อไหร่ และซื้อเท่าไหร่ดี ให้เพียงพอเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ็บป่วย หรือเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมาจริงๆ บางคนที่ทำงานประจำอยู่ บ้างก็มีสวัสดิการประกันกลุ่มแล้ว จะทำอย่างไร หรือ กลุ่มข้าราชการ ที่ก็มีสวัสดิการภาครัฐที่ครอบคลุม แล้วควรจะซื้อประกันสุขภาพหรือไม่ อย่างไรดี แล้วกลุ่มคนที่มีอาชีพอิสระ ควรเลือกประกันสุขภาพแบบไหน วันนี้เรามาดูความคุ้มครอง ความคุ้มค่า และความเหมาะสมกับแต่ละไลฟ์สไตล์และกลุ่มอาชีพกันค่ะ“กลุ่มมนุษย์เงินเดือน” ที่มีสวัสดิการประกันกลุ่มอยู่แล้ว และก็มีประกันสังคมอยู่ด้วย ถามว่าจำเป็นหรือไม่ ในการซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม ก่อนอื่นต้องมาดูว่า หากเราเจ็บป่วย เราจะเลือกเข้าโรงพยาบาลไหน ค่าห้องประมาณเท่าไหร่ สิ่งที่สวัสดิการของบริษัทมีให้มีความคุ้มครองมากพอไหม ถ้าเราเจ็บป่วยแล้วเลือกเข้าโรงพยาบาลเอกชนที่ค่าห้องสูง เราก็ควรซื้อประกันสุขภาพเก็บเอาไว้“เพราะนิยามความสำคัญของประกันสุขภาพ คือคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุเจ็บป่วย และหลุมพรางสำคัญของมนุษย์เงินเดือนที่คิดว่าตัวเองมีสวัสดิการที่มากพอแล้ว แต่นั้นคือ ‘สวัสดิการติดโต๊ะ ไม่ใช่สวัสดิการติดตัว’ หากเราเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา หรือเกิดอุบัติเหตุเป็นทุพพลภาพ ไม่สามารถทำงานได้ บริษัทก็คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสียเงินจ้างเราอีกต่อไป ในขณะที่สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เคยมีอยู่ ก็มีโอกาสที่จะหมดลงไปด้วยเช่นกัน”หรือบางคนอาจจะไปเริ่มทำประกันสุขภาพตอนที่สายไป เพราะได้เกิดโรคบางอย่างขึ้นกับตัวเองแล้ว เช่นอาจจะเป็นโรคเนื้องอกในบริเวณต่างๆ หรือโรคร้ายแรงยอดฮิต เช่น มะเร็ง ก็เท่ากับว่า หากไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพเตรียมเอาไว้ ก็ต้องพึ่งสวัสดิการประกันกลุ่มและประกันสังคมยาวไป แต่หากเรามีประกันสุขภาพคุ้มครองแบบพอเพียง ก็จะทำให้เราสามารถเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการได้ เวลาเจ็บป่วยจริงๆ และไม่ว่าในอนาคตจะเกิดเป็นโรคอะไรขึ้นมา เราก็ยังมีค่ารักษาพยาบาลที่คุ้มครองเราอยู่ไปจนแก่“แต่สำคัญอย่าลืมเลือกแบบ ‘ประกันชีวิตหลัก’ ที่คุ้มครองยาวๆ ไปจนอายุ 85 ปี หรือ 90 ปี และสามารถซื้อประกันสุขภาพต่อสัญญาคุ้มครองได้ แต่ละบริษัทก็มีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ควรศึกษาเรื่องนี้ให้ดี”หรือถ้ามองว่าปกติเราจะเข้า “โรงพยาบาลประกันสังคม” ในเครือเป็นหลัก ก็อาจจะทำ “ประกันโรคร้ายแรงเพิ่ม” เพื่อให้ได้เงินก้อนมารักษาตัว อย่างน้อยให้มีสวัสดิการไว้สักหน่อย สำหรับกลุ่มมนุษย์เงินเดือนทั่วๆ ไป ที่หากเกิดเจ็บป่วยก็มีเงินก้อนมาดูแลรักษาตัวเอง และยังคงใช้สิทธิประกันสังคมได้ แต่นิยามความแตกต่างของการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนกับโรงพยาบาลในส่วนของประกันสังคมก็แตกต่างกันด้วย บางทีเราอาจจะไม่ได้รับความสะดวกสบายมากนัก บางครั้งต้องรอคิว เข้าคิวนาน หรือต้องเป็นเคสหนักหรือจำเป็นและเร่งด่วนจริงๆ ถึงจะใช้สิทธิประกันสังคมได้ ถ้าเรายอมรับได้ในเรื่องนี้ ก็ถือประกันสังคมเอาไว้และต่อสิทธิ์อย่าได้ขาด แม้จะเกษียณไปแล้วก็ตามส่วน “ข้าราชการ” ที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลติดตัวตลอดยาวๆ ไปตั้งแต่เริ่มทำงาน แต่ในยุคปัจจุบันก็อาจจะไม่ได้สิทธิเท่าข้าราชการรุ่นก่อนๆ ดังนั้น หากเราเป็นหนึ่งคนที่อยากได้ความรู้สึกสะดวกสบายชอบบริการจากโรงพยาบาลเอกชน ก็ควรซื้อ “ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” เก็บไว้ให้อุ่นใจ แต่หากไม่ซีเรียสก็สามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐบาลได้ และไม่จำเป็นต้องมีประกันสุขภาพ แต่ก็ยังควรจะมี “ประกันโรคร้ายแรง” เก็บเอาไว้ เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน เป็นโรคร้ายแรงขึ้นมาก็ยังได้เงินก้อนมารักษาตัวเองยามเจ็บป่วย หรือจะเป็นเงินสำรองที่เอาไว้ใช้ในส่วนของค่าใช้จ่ายประจำอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่เข้ารับการรักษาตัว ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากๆแต่หากเราเป็น “อาชีพอิสระ” เราควรมีประกันสุขภาพไหม อาชีพอิสระนี่เข้าข่ายเสี่ยงเลย เพราะไม่มีสวัสดิการใดๆ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เราต้องเอาเงินออมที่เก็บไว้มารักษาตัวเอง คงจะดีกว่ามาก ถ้าหากมี “ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” ที่มีความคุ้มครองเพียงพอ และหากมีวงเงินค่ารักษาผู้ป่วยนอกด้วยก็จะมีความครอบคลุมที่ครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันในตลาดก็มีหลายบริษัทที่ออกแพคเกจประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มอาชีพอิสระ ที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นๆ ในทุกๆ ปี ยิ่งหากเราเป็นอาชีพที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะเดินทางบ่อย หรือกิจวัตรไม่เป็นประจำ ถ้าอยากใช้ชีวิตแบบสุดๆ และเลือกไลฟ์สไตล์แบบลุยๆ หน่อยก็ต้องซื้อประกันสุขภาพให้เพียงพอและครอบคลุมด้วยข้อสรุป 8 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ “ประกันสุขภาพ”1. เวลาเข้าโรงพยาบาลจริงๆ จะเข้าโรงพยาบาลไหน ดูค่าห้องที่เหมาะสมและได้ใช้จริง2. ประกันสุขภาพเป็นเบี้ยจ่ายทิ้งทุกปีเหมือนประกันรถยนต์ แต่ต่างกันตรงที่ ประกันรถหากเคลมเยอะ เปลี่ยนบริษัทในปีถัดๆ ไปได้ แต่ประกันสุขภาพ เป็นโรคร้ายแรง เคลมเยอะ ไม่สามารถเปลี่ยนบริษัทได้ เพราะฉะนั้นเวลาตัดสินใจเลือกต้องดูให้ครอบคลุมกับการใช้งานจริงของเรา3. สำรวจว่าเรามีสวัสดิการอยู่แล้วเท่าไหร่ และพอเพียงหรือไม่ หากไม่พอ ก็หาซื้อประกันสุขภาพคุ้มครองเอาไว้แบบยาวๆ ที่สามารถจ่ายไปได้จนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี4. การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ ตามความเสี่ยงของวัยที่พออายุมากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงขึ้นด้วยจึงต้องคำนึงถึงเงินที่จะนำมาจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในยามเกษียณ อาจจะตั้งขึ้นเป็นกองทุน Medical Fund หรือ Long Term Care Fund เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลในอนาคตว่าจะหารายได้มาจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นยามเกษียณแล้ว แต่เตรียมเงินไว้ตั้งแต่ตอนยังหนุ่มสาวที่ยังสามารถทำงานหารายได้ได้5. ประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 25,000 ต่อปี และยังถือเป็นเครื่องมือปกป้องเงินออมที่สำคัญ เพราะมีหลายๆ คนบอกไว้ว่า หาเงินมาทั้งชีวิต สุดท้ายต้องเอาเงินนั้นมารักษาตัวตอนแก่ชราจนหมด แต่จะดีกว่าไม๊ หากเรามีประกันสุขภาพคุ้มครองไปนานๆ6. ปัจจุบันมี “แบบประกันสุขภาพ” ให้เลือกหลากหลาย เราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ก่อนการตัดสินใจซื้อ เลือกแบบที่เหมาะกับตัวเอง ถ้าสุขภาพแข็งแรงไม่ค่อยได้หาหมอบ่อยนัก ก็เลือกแบบผู้ป่วยในอย่างเดียว เบี้ยประกันก็จะถูกหน่อย“แต่หากเจ็บป่วยเล็กน้อยบ่อยๆ ก็ควรเลือกแบบที่มีผู้ป่วยนอกรองรับไว้ ก็จะรู้สึกว่าคุ้มค่า ระหว่างทางหากเจ็บป่วย ก็สามารถไปหาคุณหมอเบิกค่ารักษาเป็นแบบผู้ป่วยนอก ก็ได้ใช้วงเงินระหว่างปีแบบไม่รู้สึกเสียเปล่า”7. คำนึงถึง “ระยะเวลารอคอย” ในการเริ่มต้นทำประกันสุขภาพครั้งแรก ทุกบริษัทจะมีเงื่อนไขเหมือนกัน คือคุ้มครองอุบัติเหตุทันทีหลังจากกรมธรรม์อนุมัติ แต่ความคุ้มครองในส่วนค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยต้องรอ 30 วันนับจากวันเริ่มสัญญา จึงจะสามารถใช้สิทธิได้“และมี 8 โรค ที่จะมีระยะเวลารอคอยของโรค 120 วัน ได้แก่ เนื้องอก ถุงน้ำ มะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อน ต้อเนื้อ ต้อกระจก การตัดทอนซิล นิ่ว เส้นเลือดขอด เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พึงรู้ก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ”8. คำนึงถึง “เงื่อนไขที่เราต้องแถลง” ก่อนการทำประกันสุขภาพ เพราะหากปกปิดสาระสำคัญ อาจจะทำให้กรมธรรม์ถูกบอกล้างสัญญาเป็นโมฆียะได้ในอนาคต ดังนั้นเราควรแถลงทุกเรื่องอันเป็นสาระสำคัญลงในใบคำขอ ไม่ควรปกปิดเพราะสัญญาประกันสุขภาพเป็นสัญญาปีต่อปี หากบริษัทตรวจพบประวัติการรักษาสำหรับบางโรคที่เป็นก่อนการทำประกัน โดยที่เราไม่ได้แถลงลงไปในใบคำขอ ก็อาจจะทำให้บริษัทบอกล้างสัญญาและเป็นผลเสียกับเราในอนาคต“ให้นึกถึงความสำคัญและจำเป็นในคราวที่ต้องใช้งานจริงๆ ว่าสิ่งที่เรามีอยู่เพียงพอหรือไม่ หากลูกเราป่วย สิ่งแรกที่เราจะนึกถึงคืออะไร ระหว่าง ‘โรงพยาบาลที่ดีที่สุด’ หรือ ‘โรงพยาบาลที่ถูกที่สุด’ โดยคุณจะเป็นคนเลือกประกันในวันที่คุณสุขภาพดี แต่หากเกิดเป็นโรคใดๆ ขึ้นมาแล้ว คุณก็อาจจะไม่สามารถทำประกันได้อีกตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นให้รีบทำไว้ตั้งแต่วันที่คุณยังสุขภาพดี เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือปกป้องความเสี่ยง ปกป้องเงินออมของตัวคุณเองและครอบครัว เพื่อความมั่นคงในอนาคต”ได้เวลามาสำรวจตัวเองกันแล้ว ในวันที่ยังสุขภาพดี เพราะหลายๆ คน ตกหลุมพรางของสวัสดิการบริษัท โดยลืมคำนึงว่า หากเราเกษียณและไม่มีสวัสดิการค่ารักษาจากบริษัทอีกต่อไป นั่นหมายความว่า เราจะต้องเตรียมเงินเพื่อค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สามารถควบคุมได้ต่อปีด้วยตัวเอง หลายๆ คนที่ลืมมองจุดนี้และจะคิดไปหาซื้อประกันสุขภาพตอนเกษียณ แต่กลับเป็นโรคเรื้อรังเสียแล้ว เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เท่ากับว่าหลังจากนี้เป็นต้นไป พวกเขาจะต้องเตรียมเงินก้อนไว้รักษาตัวเอง เมื่อสวัสดิการบริษัทหมดลงหากเตรียมพร้อมได้ก่อน ก็ควรหาซื้อประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่ยังวัยหนุ่มสาว เพื่อให้ครอบคลุมและคุ้มครอง ซื้อหาตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วยความสามารถในการจ่ายเบี้ยที่ไม่มากเกินความจำเป็น “การวางแผนด้านประกันสุขภาพ” จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการจัดการความเสี่ยงของชีวิต สำหรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกๆ อาชีพแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythaihttps://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/wealth-ez/12911
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย “ศุทธวีร์ มงคลสินธุ์นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมและวางแผนการเงินไทยสำหรับแนวคิดแบบ Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบนั้น เป็นแนวความคิดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาในลักษณะที่เป็น Human-Centered Design หรือเป็นปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งได้มีการนำมาใช้ในมากมายในการวางแผนพัฒนาธุรกิจ ออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงการวางแผนในชีวิตส่วนบุคคล หากได้ลองนำวิธีคิด (Mindset) ของ Design Thinking มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนการเกษียณก็อาจช่วยให้ตอบโจทย์ความต้องการของบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพราะ Design Thinking เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ “อนาคต”ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อนสำหรับชีวิตของเราทุกคน ซึ่งบางครั้งการเก็บเงินเพื่อการเกษียณเพื่อรอไปใช้ชีวิตหลังจากสิ้นสุดการทำงานอาจทำให้เราไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เป็นเป้าหมายเหล่านั้นเป็นชีวิตที่เราต้องการจริงหรือไม่ดังนั้นหากได้ลิ้มลองประสบการณ์ที่ตัวเองต้องการ ด้วยวิธีคิดต่าง ๆ จากหลักการ Design Thinking มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณได้ก็เป็นสิ่งที่จะตอบสนองประสบการณ์ในวัยเกษียณได้ดีขึ้นสิ่งสำคัญของ Design Thinking คือ วิธีการที่เรียกว่า IterativeProcess นั่นคือ กระบวนการทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ตามกระบวนการขั้นตอนดังต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายละเอียด แง่มุมในแผนเกษียณของแต่ละท่านได้มากขึ้น ทำได้ด้วยประยุกต์หลักการดัง 3 อย่างดังนี้การเข้าใจอย่างลึกซึ้งและกำหนดปัญหา1. การเข้าใจอย่างลึกซึ้งและกำหนดปัญหา (Empathize & Define Problem) สำหรับขั้นตอนนี้เป็นการทำความเข้าใจปัญหา ทำความเข้าใจความต้องการตนเองว่า เกษียณแล้วต้องการใช้ชีวิตแบบไหน มีไลฟ์สไตล์อย่างไรโดยอาจเริ่มพิจารณาจาก (1) ด้านรายได้ ส่วนใหญ่เมื่อเข้าถึงวัยเกษียณจะมีรายได้ลดน้อยลง อาจต้องเริ่มพิจารณาว่า ผลกระทบจากการมีรายได้ที่น้อยลงอาจทำให้ต้องปรับพฤติกรรมการใช้เงิน (2) ด้านรายจ่าย พิจารณาไล่เรียงไปตามปัจจัยสี่ อาจต้องมีรายจ่ายบางอย่างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ด้านการปรับปรุงบ้านที่ต้องเหมาะสมกับวัยที่ต้องมีความปลอดภัยมากขึ้น มีอุปกรณ์ที่เสริมอำนวยความสะดวกในการใช้ห้องน้ำ ห้องนอน เป็นต้นการระบุปัญหาให้ได้ว่า รายได้จะลดลงเป็นเท่าใด ไลฟ์สไตล์ที่ต้องการนั้นใช้เงินเท่าใด ตั้งโจทย์ขั้นมาให้ชัดเจน แล้วต้องสรุปว่าจะกำหนดแนวทางอย่างไร เช่น สรุปว่าต้องหารายได้เพิ่ม โดยมีเงื่อนไขการใช้เวลาและพลังงานในแต่ละวันให้เหมาะสมกับร่างกายและจิตใจ หรือการระบุให้ได้ว่ารายจ่ายรายการใดที่จะต้องลดลงเพื่อทำให้มีฐานะทางการเงินมั่นคงได้ในระยะยาว เป็นต้นการสร้างสรรค์ไอเดีย2. การสร้างสรรค์ไอเดีย (Ideate) เป็นการคิด โดยอาจตั้งคำถามว่าเมื่อเกษียณแล้วสามารถทำอย่างไรได้บ้างที่จะมีชีวิตอย่างเติมเต็ม ภายใต้เป้าหมายและข้อจำกัดในขั้นตอนก่อนหน้านี้ โดยอาจจะสร้างทางเลือกไว้อย่างน้อย 3 ทางเลือก เพื่อที่จะพิจารณาข้อดี ข้อเสียในแต่ละทางเลือกตัวอย่างการแก้ปัญหาการเกษียณจากต่างประเทศ ในกรณีที่มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไม่เพียงพอ อาจทำได้ด้วยการจัดการทรัพย์สินเพื่อเพิ่มรายได้ในการเกษียณ โดยอาจจะขายบ้านหลังใหญ่เพื่อนำเงินไปซื้อบ้านหลังเล็กลง (Downsizing) เพื่อที่จะประหยัดค่าส่วนกลางหรือค่าบำรุงรักษา และบ้านที่อยู่อาศัยที่เล็กลงนี้ก็สามารถที่จะเลือกว่าจะเลือกซื้อ เลือกเช่า หรือเลือกไปอยู่ บ้านพักผู้สูงอายุ ที่เหมาะสมกับแต่ละท่าน โดยสร้างสามารถสร้างตาราง ลิสต์ประเด็นต่าง ๆ ขั้นมาหรือจะทำความเข้าใจความต้องการของตนเอง และเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนทางการเงิน และประโยชน์ที่จะได้รับจากทางเลือกนั้น ๆบางครั้งไอเดียใหม่ ๆ ไม่เกิดถ้าบังคับให้คิด ต้องคอยสังเกต หลักการคือต้องสร้างทางเลือกเยอะ ๆ (Divergent Thinking) ก่อนแล้วจากนั้นวิเคราะห์ทางเลือก (Convergent Thinking) เพื่อตัดสินใจเลือกการทดลองสร้างแบบจำลองและทดสอบ3. การทดลองสร้างแบบจำลองและทดสอบ (Prototype & Test) ขั้นตอนสร้างแบบจำลอง และทดสอบ หาเวลาทดลองใช้ชีวิตในรูปแบบการเกษียณที่ต้องการเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเองให้ได้ตรงจุด โดยบางท่านอาจมีความประทับใจในการใช้ชีวิตในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ตัวเองชื่นชอบ แต่ก็ไม่แน่ว่าอาจมีประเด็นปัญหาอะไรต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่เช่น ข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ความสะดวกสบายในการเดินทาง สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึงเนื่องจากหากพิจารณาว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ แต่ก็อาจจะทำให้ชีวิตไม่ได้รับความสะดวกสบาย ลงมือทดสอบชีวิตใช้ที่ต้องการใช้ ชีวิตในแบบที่เกษียณแล้วเช่น การไปใช้ชีวิตอยู่ใน Home Stay เพื่อที่จะสามารถเข้าใจความรู้สึก เข้าใจบทบาทการที่ไม่ต้องทำงานอีกต่อไป เพื่อเรียนรู้ว่าเราสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างดีมีความสุขในรูปแบบใด สิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้คือได้รู้ Feedback เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคำตอบสำหรับการเกษียณของตัวเองสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือในกระบวนการ Design Thinking ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คือกระบวนการทำซ้ำหลาย ๆ รอบ (Iterative Process) โดยแต่ละรอบสามารถที่จะพัฒนาปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการได้ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเรากำลังสร้างทางที่เดินไปข้างหน้าในทุก ๆ วันแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1374569
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
21/09/2023
เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมด้วย นายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด และนางสาวอรรัตน์ ชุติมิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ เป็นตัวแทนรับรางวัล Best Life Insurance Company Thailand 2023 จากนิตยสาร International Business พร้อมทั้ง Insurance Asia Awards 2023 ในสาขา International Life Insurer of the Year จากนิตยสาร Insurance Asia และ Asia Responsible Enterprise Awards 2023 for Health Promotion (AIA Healthiest Schools Program) จาก Enterprise Asia ซึ่งทั้ง 3 รางวัลถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติจากเวทีระดับโลก และเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จของเอไอเอ ประเทศไทย ตลอดระยะเวลากว่า 85 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังตอกย้ำถึงมาตรฐานระดับสูงในการให้บริการ การดูแล และช่วยคนไทยในการวางแผนความคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และการเงินในระยะยาว เพื่อมุ่งมั่นสนับสนุนคนไทยให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น สอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives’
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
30/04/2024
11/03/2024
30/04/2024
30/04/2024
21/05/2025