Everyday knowledge for you
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
สมาคมประกันชีวิตไทย เผยตัวเลขเบี้ยประกันชีวิตปีนี้โตสดใส “เอไอเอ” ครองมาร์เก็ตแชร์เบอร์ 1 ทิ้งห่างคู่แข่ง ล่าสุดงวด 8 เดือนแรกปี 2566 เบี้ยรวมแตะ 4.01 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.36% เบี้ย “ปีแรก-ซิงเกิลพรีเมี่ยม-ปีต่ออายุ” โตยกแผง ขณะที่ “สุขภาพ-บำนาญ” ตัวชูโรง คาดสิ้นปีเบี้ยรวมเข้าเป้า 6.12-6.23 แสนล้านบาท โต 2% ชี้มีบางบริษัทยอดขายดรอป เหตุปรับพอร์ตรับแผนมาตรฐานบัญชี IFRS17นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมเบี้ยประกันชีวิตในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค.-ส.ค.) ทั้งอุตสาหกรรมมีเบี้ยรับรวมอยู่ที่ 401,025 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.36%เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) มาจากเบี้ยใหม่ 116,771 ล้านบาท แยกเป็นเบี้ยรับปีแรก 72,765 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.45% และเบี้ยซิงเกิลพรีเมี่ยม 44,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.66% ขณะที่เบี้ยต่ออายุ เพิ่มขึ้น 2.94% อยู่ที่ 284,253 ล้านบาท“ถือว่าเป็นปีที่ยอดขายประกันชีวิตสามารถเติบโตได้ดี และมีการขยายตัวมาได้ตั้งแต่ต้นปี ต่างจากปีที่แล้วที่ซิงเกิลพรีเมี่ยมติดลบไปกว่า 15% จึงมั่นใจว่าเบี้ยรับรวมในปีนี้จะเติบโตตามเป้าที่ระดับ 2% อยู่ที่ระดับ 612,500-623,500 ล้านบาททั้งนี้อาจจะมีบางบริษัทที่ยอดขายปรับตัวลดลง เป็นเพราะนโยบายภายในที่จะมีการบังคับใช้มาตรฐานบัญชี IFRS17 ทำให้ต้องมีการปรับพอร์ต ขณะที่หลายบริษัทก็ได้ปรับพอร์ตล่วงหน้าไปแล้ว 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผลการดำเนินงานเริ่มเติบโตได้” นายพิชากล่าวโดยคาดว่าสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญจะเป็นสินค้าตัวชูโรง หลังจากช่วง 8 เดือน สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและโรคร้ายแรง (รายบุคคล+ประกันกลุ่ม) มีเบี้ยรับรวม 71,852 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% และเบี้ยประกันบำนาญ 6,715 ล้านบาท เติบโต 13%“สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีการตระหนักถึงเรื่องการดูแลสุขภาพและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงหาสินค้าประกันสุขภาพมาเป็นตัวช่วยบรรเทาภาระ รวมไปถึงมีการตระหนักถึงเรื่องการออมหลังเกษียณมากขึ้นด้วย” นายพิชากล่าวพิชา สิริโยธินผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้นำตลาดประกันชีวิต 10 อันดับแรก ประเมินจากเบี้ยรับรวมในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ คือ 1. บริษัท เอไอเอ ประเทศไทย จำกัด 95,646 ล้านบาท เติบโต 2% 2. บมจ. เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด 61,831 ล้านบาท เติบโต 9%3. บมจ. ไทยประกันชีวิต 55,474 ล้านบาท เติบโต 6% 4. บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต 46,781 ล้านบาท เติบโต 2% 5. บมจ. กรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิต 27,962 ล้านบาท ลดลง 4%6. บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต 22,662 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% 7. บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต 22,451 ล้านบาท ลดลง 1% 8. บมจ. พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) 21,334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% 9. บมจ. ไทยสมทุรประกันชีวิต 9,648 ล้านบาท ลดลง 2% และ 10. บมจ. โตเกียวมารีนประกันชีวิต 7,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%ทั้งนี้ หากจะวัดผลการดำเนินงานเฉพาะปีนี้ พิจารณาจากเบี้ยปีแรก มี 7 บริษัทที่อาจจะมียอดขายชะลอลง YOY คือ 1. เมืองไทยประกันชีวิต ติดลบ 15% มีเบี้ยรับ 8,700 ล้านบาท 2. ไทยประกันชีวิต ติดลบ 15% มีเบี้ยรับ 6,540 ล้านบาท 3. พรูเด็นเชียลประกันชีวิต ติดลบ 1% มีเบี้ยรับ 4,541 ล้านบาท4. เจนเนอราลี่ประกันชีวิต ติดลบ 10% มีเบี้ยรับ 1,272 ล้านบาท 5. โตเกียวมารีนประกันชีวิต ติดลบ 12% มีเบี้ยรับ 1,068 ล้านบาท 6. บมจ. ฟิลลิปประกันชีวิต ติดลบ 7% มีเบี้ยรับ 153 ล้านบาท และ 7. บมจ. สหประกันชีวิต ติดลบ 76% มีเบี้ยรับ 4.8 ล้านบาทแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1415347
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
หมายเหตุประกอบงบการเงิน จุดบอกเหตุที่นักลงทุนต้องอ่านบทความโดย “สิริพร สงบธรรม จังตระกุล” เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย วันที่ 14 ตุลาคม 2566 หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของนักลงทุนที่ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุน คือ รายงานทางการเงิน-Financial Report เป็นเสมือนการตรวจสุขภาพทางการเงิน หรือเทียบเคียงกับการตรวจร่างกายของเรา ว่า สุขภาพยังแข็งแรงไหม มีความผิดปกติ ส่งสัญญาณให้เราต้องระมัดระวังในเรื่องใดบ้าง รายงานทางการเงินก็เช่นกัน “ข่าวดัง-หุ้นดัง” ทำให้นักลงทุนต้องกลับมาทบทวน ยกระดับความรู้ตัวเองขึ้นอีกระดับ จากเดิมที่มักจะมองเพียงว่า บริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ กำไรดี จ่ายปันผลได้ แต่สิ่งที่นักลงทุนต้องอ่าน ทำความเข้าใจอย่างตั้งใจ คือ “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” ที่มีคำอธิบาย ขยายความจากตัวเลขทางการเงิน เสมือนคำวินิจฉัยของ “คุณหมอ” ว่าแต่ละรายการ มีรายละเอียดประกอบอย่างไร หมายเหตุประกอบงบการเงิน ระบุชัดเจนว่า เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน และได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากคณะกรรมการตรวจสอบ ตามการมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท มีหลายหัวข้อที่น่าตามไปอ่าน อาทิ การซื้อธุรกิจ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เงินลงทุนในการร่วมค้าและบริษัทร่วม สัญญาเช่า ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ค่าความนิยมและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น ฯลฯ เป็นการอธิบายข้อมูลที่อ่านทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก สำหรับคนที่อาจไม่ใช่ “นักบัญชี” ก็ไม่น่าหนักใจ อ่านเพลิน อ่านสนุก เป็นวรรค เป็นตอน เป็นฉาก ๆ ฉายภาพให้ตัวเลข เป็นเรื่องที่ถูกบันทึก อย่างเป็นเหตุ เป็นผล ตัวอย่างงบการเงิน ที่ถูกหยิบยกขึ้นมา คือ หมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) มีหมายเหตุประกอบงบการเงิน จำนวน 31 ข้อ พบข้อมูลน่าสนใจที่อาจยังไม่ปรากฏในงบการเงิน เช่น เรื่องการเจรจาร่วมทุนกับบริษัทในประเทศเมียนมา, เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน เป็นต้น นอกจากนี้ การดำรงอยู่ของกิจการ คือ การต้องมีสภาพคล่อง ลื่นไหล อีกจุดที่มีความสำคัญ คือ งบกระแสเงินสด หรือ Cashflow ที่จะไม่ทำให้การทำธุรกิจสะดุดตัว และการสร้างความน่าเชื่อถือ ให้กับคู่ค้า ลูกค้า งบแสดงฐานะการเงิน จึงเป็นดัชนีจับชีพจร “สุขภาพของกิจการ” ที่สะท้อนด้วยตัวเลข และมีคำอธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นการเปิดเผยตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้สอบบัญชี โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท หากนักลงทุน พบข้อมูลที่อาจสะดุดใจ ก็สามารถนำไปตั้งคำถามในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เชื่อว่า ผู้บริหาร หรือประธานกรรมการตรวจสอบ หรือผู้สอบบัญชีจะช่วยมีคำอธิบายได้ ความสบายใจที่นักลงทุนต้องการเห็น และปรากฏแก่สายตาต่อความเห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ทำหน้าที่ตรวจสุขภาพทางการเงินของกิจการ คือ ถ้อยคำว่า “เป็นการแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1415586
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลในเครือบางปะกอก-ปิยะเวท นำโดย นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ และนายแพทย์อำนาจ พิศาลจำเริญ (ที่ 3 จากซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก เตรียมจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพฟรี ภายใต้โครงการ ‘เอไอเอ แชร์ริ่ง อะ ไลฟ์ ครั้งที่ 10’ (AIA Sharing A Life 10) ในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 8.00 – 11.00 น. ณ สวนลุมพินี โดยจะเปิดให้บริการตรวจสุขภาพฟรีให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่ บริการตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI วัดความดันโลหิต และวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้วสำหรับโครงการ เอไอเอ แชร์ริ่ง อะไลฟ์ ครั้งที่ 10 (AIA Sharing A Life 10) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Better Environment, Better Health - เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดีขึ้น’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 85 ปี เอไอเอ ประเทศไทย ซึ่งจะจัดขึ้นพร้อมกัน 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อมุ่งส่งเสริมทั้งในด้านสุขภาพของคนไทย ควบคู่กับการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยกิจกรรมที่สวนลุมพินี นอกจากบริการตรวจสุขภาพฟรีโดยเครือโรงพยาบาลบางปะกอกแล้ว ยังมีกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อื่น ๆ อีก อาทิ กิจกรรมวิ่งเพื่อการกุศล บริการตัดผมฟรี บริการนวดโดยผู้พิการทางสายตา กิจกรรมปลูกต้นไม้ และทาสีเก้าอี้สาธารณะ โดยกิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม นี้ เพื่อรวมพลังครอบครัวเอไอเอ ทำความดีสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมน่าอยู่และยั่งยืน ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
คปภ.ปรับเกณฑ์ลงทุนใหม่ ครอบคลุมกิจการทุกประเภท “ที่พักสูงวัย-โรงพยาบาล” ยกเว้น “คลินิกเสริมความงาม” ขณะที่ “เมืองไทยประกันชีวิต” รับสนใจลงทุน “คลินิกเฉพาะทาง-ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ” ชี้รีเทิร์นน่าสนใจ 8-10% ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านบริการ ตอบโจทย์สังคมสูงวัยนายสมประโชค ปิยะตานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับ ธุรกิจและการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการที่ธุรกิจด้านสุขภาพของประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากเป็นธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ รวมถึงปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ เช่น การขยายตัวของจำนวนผู้สูงอายุภายในประเทศ ที่ส่งผลต่อความต้องการในการใช้บริการทางการแพทย์ที่ซับซ้อนและเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้นประกอบกับการเพิ่มขึ้นของกลุ่มคนรายได้ปานกลางที่มีอำนาจซื้อสูงขึ้น สำหรับความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ รวมทั้งการขยายตัวของชุมชนเมืองจากผลนโยบายรัฐในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งล้วนเป็นการเพิ่มโอกาสที่ผู้ประกอบการจะขยายการประกอบธุรกิจในการให้บริการทางการแพทย์ไปสู่พื้นที่ต่างจังหวัด เพื่อรองรับผู้ป่วย ซึ่งรวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยดังนั้น สำนักงาน คปภ.ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขประกาศใหม่เกี่ยวกับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันภัย 2 เรื่องคือ 1. การถือหุ้นในนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการสถานพยาบาลในประเทศไทยและ 2. การถือหุ้นในนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงในประเทศไทย สาระสำคัญของประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ เพื่อให้แนวปฏิบัติมีความชัดเจนขึ้น โดยเปิดโอกาสให้บริษัทประกันภัยสามารถเข้าไปถือหุ้นกิจการที่จัดตั้งอยู่แล้ว หรือลงทุนโดยการขอใบอนุญาตจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ก็ได้ดร.สุธี โมกขะเวสนอกจากนี้ ได้ขยายขอบเขตการลงทุนให้กว้างขึ้น ให้ครอบคลุมกิจการสถานพยาบาลทุกประเภทและคลินิก เพิ่มเติมนอกเหนือจากการถือหุ้นโรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลเฉพาะทาง ตามที่กำหนดไว้เดิม แต่จะยกเว้นสถานพยาบาลและคลินิกที่ให้บริการเสริมความงาม เนื่องจากมองว่าไม่สนับสนุนต่อธุรกิจประกันภัยโดยตรง“ปัจจุบันเงื่อนไขการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันภัย จะต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 20% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของกิจการ ซึ่งขณะนี้ประกาศทั้ง 2 ฉบับผ่านการรับฟังความคิดเห็นและเลขาธิการ คปภ.เซ็นลงนามไปแล้ว” นายสมประโชคกล่าวดร.สุธี โมกขะเวส กรรมการผู้จัดการ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต (MTL) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เกณฑ์ใหม่ที่ คปภ.เปิดให้ลงทุนกิจการสถานพยาบาลได้ทุกประเภทและคลินิก ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเกณฑ์เดิมให้ลงทุนเฉพาะโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลเฉพาะทาง ทำได้ค่อนข้างยาก จึงไม่ค่อยเวิร์ก“เมืองไทยประกันชีวิตสนใจลงทุน คลินิกเฉพาะทาง และศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โดยกำลังพิจารณารีเทิร์นจาก 2 มุม คือ 1.ผลตอบแทนในทรัพย์สินของโครงการเดียว (stand-alone return) และ 2.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริการลูกค้าให้กับบริษัทได้แค่ไหนทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า คลินิกมีผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในตลาดค่อนข้างดี อยู่ที่ระดับ 8-10% ซึ่งธุรกิจเหล่านี้จะน่าสนใจมากในอนาคต เพราะไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ ฉะนั้นตลาดสุขภาพมาแน่”ดร.สุธีกล่าวอีกว่า ปัจจุบันบริษัทมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ประมาณ 6.3 แสนล้านบาท พอร์ตลงทุนสัดส่วนกว่า 80% อยู่ในตราสารหนี้ ที่เหลือ 20% อยู่ในตราสารทุนและอสังหาริมทรัพย์ โดยปัจจุบันยังไม่ได้มีการปรับพอร์ตลงทุน แม้ภาวะตลาดทุนช่วงนี้มีความผันผวนเพิ่มขึ้น ระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยีลด์) พุ่งขึ้นกระทบส่วนชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น (equity risk premium)“ตอนนี้เรารีวิวหุ้นกู้ในพอร์ตอยู่ตลอดเวลา ตอนนี้เชื่อว่าค่อนข้างปลอดภัยตามความเสี่ยง” ดร.สุธีกล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1407374
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวทั่วไป
30/04/2024
สื่อนอกเผยตัวเลขการว่างงานด้านไอทีในสหรัฐ พุ่งสูง 4.3% แซงหน้าการว่างงานโดยรวม เหตุเพราะหลายบริษัทใช้ AI เข้ามาทดแทนแรงงานคนมากขึ้น วันที่ 9 ตุลาคม 2566 เดอะวอลล์สตรีตเจอร์นัล (The Wall Street Journal) รายงานว่า การว่างงานด้านไอทีในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกันยายน 2566 สูงถึง 4.3% แซงหน้าอัตราการว่างงานโดยรวมในประเทศที่ 3.8% ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการจ้างงานด้านไอทีอาจชะลอตัว เนื่องจากหลายบริษัทเริ่มใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาแทนที่ ทั้งนี้ ในเดือนที่ผ่านมามีผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีว่างงาน 117,000 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ที่ 106,000 คน โดยรายงานจาก Janco Associates บริษัทที่ปรึกษาในสหรัฐ ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา การลดตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมไอที ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม บริการข้อมูล และการประมวลผลข้อมูล มีจำนวนทั้งสิ้น 14,300 อัตรา อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ในเดือนกันยายน 2566 นายจ้างในสหรัฐเพิ่มการจ้างงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวน 336,000 ตำแหน่ง ถือเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งนับจากเดือนมกราคม 2566 แม้ว่าการจ้างงานในอุตสาหกรรมไอทีจะซบเซา แต่อัตราการว่างงานโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ผ่านมา นอกจากนี้ รายงานข่าวยังระบุว่า ในปีที่ผ่านมา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศและผู้นำด้านเทคโนโลยีขององค์กรอื่น ๆ ถูกบีบให้ลดการจัดทำโครงการด้านไอทีที่มีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะเดียวกันก็ลดการใช้จ่ายบนคลาวด์และซอฟต์แวร์ รวมถึงได้รับแรงกดดันจาก CEO ให้ขยายการใช้ generative AI ในองค์กรด้วย จากข้อมูลของ Janulaitis ระบุว่า AI สามารถลดการเติบโตของตำแหน่งงานระดับเริ่มต้นในอุตสาหกรรมไอที เช่น การบริการลูกค้าและโทรคมนาคม ในขณะที่พนักงานอีกหลายคนกลัวตกงานเพราะ AI แต่ปัจจุบันก็เริ่มมีการ reskill มาสู่บทบาทใหม่ที่เข้ากับความต้องการในอุตสาหกรรมมากขึ้น เช่น prompt engineer หรือวิศวกรที่ควบคุมการพัฒนา AI เป็นต้น แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/ict/news-1411343
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
คุณณฤทธิ์ บุนนาค ผู้จัดการฝ่ายงานดูแลคู่ค้าธุรกิจ บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (ซ้ายสุด), คุณสปัญญ์ ปาลีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (ที่ 2 จากซ้าย), คุณจุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนา ดิจิทัล โซลูชันส์ แอนด์ ดีไซน์ เอไอเอ เวลเนส (ที่ 2 จากขวา), คุณวีรชัย ชูสกุลพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนการพัฒนาธุรกิจ เอไอเอ เวลเนส (ขวาสุด)กรุงเทพฯ 9 ตุลาคม 2566 บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SMART) ผู้นำด้านการบริหารจัดการงานบริหารนิติบุคคลโครงการเพื่อการอยู่อาศัย อันดับ 1 ของเมืองไทย จับมือกับ “ALive Powered by AIA” แอปพลิเคชันครบวงจรด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มอบสิทธิประโยชน์ในการคุ้มครองลูกบ้านสมาร์ทกับประกันอุบัติเหตุกลุ่ม จาก เอไอเอ วงเงินคุ้มครอง 150,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน “SMART WORLD” โมไบล์ แอปพลิเคชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกในทุกมิติการอยู่อาศัยให้กับลูกบ้านสมาร์ทแบบครบ จบ ในแอปเดียว คุณสปัญญ์ ปาลีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SMART) กล่าวว่า “SMART มีความตั้งใจที่จะส่งมอบประสบการณ์สุดพิเศษให้กับลูกบ้านคนสำคัญ เป็นเบื้องหลังรอยยิ้มของลูกบ้านทุกท่านในทุกมิติของการอยู่อาศัย โดยจัดเตรียมสิทธิประโยชน์มากมายไว้ให้กับลูกบ้านในแอปพลิเคชัน SMART WORLD พร้อมนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการดูแลลูกบ้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้น ให้แอปฯ SMART WORLD ให้เป็นมากกว่าแค่แอปฯ ธรรมดา แต่ยังซัพพอร์ตการเป็นอยู่ในทุกมิติของลูกบ้าน กับหลากหลายฟีเจอร์ ไม่ว่าจะเป็น การแจ้งเตือนรับพัสดุ จ่ายบิล ค่าส่วนกลาง ค่าน้ำ ค่าไฟ รวบรวมพาร์ตเนอร์ต่างๆเพื่อให้บริการเรื่องบ้าน” “ล่าสุด SMART ร่วมมือกับแอปฯ ALive Powered by AIA มอบสิทธิประโยชน์ในการคุ้มครองลูกบ้านสมาร์ทจากอุบัติเหตุผ่านแอปฯ “SMART WORLD” กับประกันอุบัติเหตุกลุ่ม จาก เอไอเอ วงเงินคุ้มครอง 150,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครองนาน 1 ปี นอกจากนี้เรายังมีสิทธิพิเศษเพิ่มเติมไว้ให้สำหรับลูกบ้านที่ซื้อประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง AIA CI Plus อีกด้วย” คุณจุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนา ดิจิทัล โซลูชันส์ แอนด์ ดีไซน์ เอไอเอ เวลเนส กล่าวว่า “ALive เป็นแอปพลิเคชันที่ให้บริการด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ทุกครอบครัว ด้วยจุดมุ่งหมายของเราในการส่งมอบประสบการณ์ทางด้านสุขภาพ ทาง ALive เอง มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับทางแอปฯ SMART WORLD ในการช่วยดูแลลูกบ้านสมาร์ทผ่านการส่งมอบความคุ้มครองอุบัติเหตุ พร้อมด้วยสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับผ่าน ALive ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ‘Healthier, Longer, Better Lives’ สำหรับการรับสิทธิประโยชน์นี้ มีขั้นตอนง่ายๆ เพียงเป็นลูกบ้านสมาร์ทและเข้าแอปฯ SMART WORLD คลิกที่แบนเนอร์กิจกรรม พร้อมทำตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อรับสิทธิประกันอุบัติเหตุกลุ่ม จาก เอไอเอ วงเงินคุ้มครอง 150,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครองนาน 1 ปี*แอปพลิเคชัน SMARTWORLD พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้วบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
คปภ.เผยห้างสยามพารากอนทำทุนประกันทรัพย์สิน 1.6 หมื่นล้านบาท ทุนประกันคุ้มครองบุคคลภายนอก 100 ล้านบาท พบคนเจ็บชาวลาวมีประกันสุขภาพอุบัติเหตุกับ “ทิพยประกันภัย”วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเด็กชายอายุ 14 ปี ก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงกลางห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวเมียนมา และมีผู้บาดเจ็บ 6 คน นำตัวส่งรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ 3 คน โรงพยาบาลตำรวจ 2 คน และโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน 1 คน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 นั้นทันทีที่ทราบข่าวได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์เร่งบูรณาการการทำงานร่วมกับสำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ ซึ่งดูแลรับผิดชอบพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อติดตามและลงพื้นที่ทันทีเพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยและบูรณาการการตรวจสอบข้อมูลจากฐานข้อมูล IBS สำนักงาน คปภ. และร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย ว่าผู้เสียชีวิตหรือผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้มีการทำประกันชีวิต หรือประกันภัยส่วนบุคคลประเภทอื่น ๆ ไว้หรือไม่จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ผู้บาดเจ็บหญิงสัญชาติลาวที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน มีประกันภัยแบบสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) คุ้มครองการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตามจริงสูงสุด 150,000 บาท และกรณีเสียชีวิต 100,000 บาทในส่วนของผู้บาดเจ็บที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ ซึ่งดูแลรับผิดชอบพื้นที่เกิดเหตุได้เข้าเยี่ยมและอำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้แก่ครอบครัวของผู้บาดเจ็บและตรวจสอบเพิ่มเติมว่าผู้บาดเจ็บมีประกันภัยประเภทอื่น ๆ อีกหรือไม่ หากมีการทำประกันภัยไว้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งดำเนินการติดตามประสานงานให้บริษัทประกันภัยชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยเร็วต่อไป สำหรับผู้เสียชีวิตที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวเมียนมา ในเบื้องต้นตรวจสอบยังไม่พบการทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยของไทย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะอำนวยความสะดวกในเรื่องเอกสารและข้อมูลด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ทั้งนี้ ได้รับรายงานจากสำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ เพิ่มเติมพบว่าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ได้ทำประกันภัยไว้จำนวน 2 กรมธรรม์ คือ กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) จำนวนเงินเอาประกันภัย 16,373,000,000 บาท ระยะเวลาประกันภัยเริ่มวันที่ 31 ธันวาคม 2565 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 มีสัดส่วนประกันภัยร่วม ประกอบด้วย บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวน 70 % บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวน 15 % และ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำนวน 15 % และกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public Liability) จำนวนเงิน limit of liability 100,000,000 บาท ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้ประสานงานบริษัทประกันภัยเบื้องต้นแล้ว“สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ และจะระดมสรรพกำลังบุคลากรของสำนักงาน คปภ. เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุในครั้งนี้อย่างเต็มกำลังความสามารถ รวมทั้งบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำระบบประกันภัยเข้าไปเยียวยาความเสียหายโดยเร็วต่อไป แต่เนื่องจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุเสมอ ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท จึงควรทำประกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประกันชีวิต การประกันภัยอุบัติเหตุ การประกันภัยสุขภาพ หรือประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพื่อนำระบบประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงและเข้าไปเยียวยาความสูญเสียทั้งต่อตนเองและบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องประกันภัยให้สอบถามหรือแจ้งสายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1408544
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย “กิติชัย เตชะมโนกุล” ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 3 ตุลาคม 2566 หากมองไปรอบตัว จะพบว่ามีการสื่อสารการตลาดมากมาย ที่ตั้งใจดึงเงินออกจากกระเป๋าพวกเรา แต่จะมีสักกี่คนที่มีสติพอที่จะไม่หลงไปกับการโฆษณาชวนเชื่อเหล่านั้น เมื่อช็อปปิ้งออนไลน์และเห็นข้าวของมาส่งแทบวันเว้นวัน หลายคนอาจเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริง ๆ แล้วข้าวของเหล่านั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่อยากได้ตามกระแส จากนั้นก็จะมีคำถามตามมาว่า เงินที่จ่ายซื้อข้าวของเป็น “รายจ่ายที่ต้องการจ่ายจริง ๆ หรือไม่” ซึ่งโดยส่วนตัวของผู้เขียน รายจ่ายมี 2 ประเภท คือ รายจ่ายเพื่อการลงทุนและรายจ่ายเพื่อการออม รายจ่ายเพื่อการลงทุน เป็นคำพูดที่ดูจะกว้างและลึกในหลายมิติและหลายคนก็รู้จักเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะไม่ได้ตระหนักว่ารายจ่ายในส่วนนี้เป็นรายจ่ายที่จ่ายให้ตัวเองในอนาคต ซึ่งอาจจะเลือกลงทุนได้ทั้งสองรูปแบบ 1. การลงทุนในทรัพย์สินที่จับต้องได้ สามารถหาประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินนั้นได้อย่างชัดเจน เช่น บ้าน รถยนต์ เพชรพลอยอัญมณี และของมีค่าอื่น ๆ เรียกการลงทุนแบบนี้ว่าว่า การลงทุนแบบ Tangible Investment 2. การลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ เช่น หุ้น พันธบัตร ตราสารการเงินอื่น ๆ เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย เงินปันผล หรือกำไรจากส่วนต่างของราคา หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เรียกการลงทุนแบบนี้ว่า การลงทุนแบบ Intangible Investment รายจ่ายเพื่อการออม แม้จะเคยได้ยินพ่อแม่บอกพวกเรามาตั้งแต่เด็ก ๆ ว่ารู้จักเก็บออม เผื่ออนาคตจะได้ไม่ลำบาก ตัวอย่างการออมอย่างง่าย ๆ เช่น ออมเงินในธนาคารได้ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้ทุก 6 เดือน ถ้าออมปีละ 360 บาท หรือ 180 บาท ทุก ๆ 6 เดือน (เฉลี่ยเดือนละ 30 บาท วันละ 1 บาท) ㆍผ่านไป 1 ปี จะมีเงิน 360.90 บาท ㆍผ่านไป 10 ปี จะมีเงิน 3,776.24 บาท ㆍผ่านไป 20 ปี จะมีเงิน 7,948.59 บาท ㆍผ่านไป 30 ปี จะมีเงิน 12,558.61 บาทจะเห็นว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก ทีนี้ลองมาดูว่าถ้าเพิ่มเงินออมมากขึ้น ด้วยการออมปีละ 3,600 บาท หรือ 1,800 บาท ทุก ๆ 6 เดือน (เฉลี่ยเดือนละ 300 วันละ 10 บาท) ㆍผ่านไป 1 ปี จะมีเงิน 3,609.00 บาท ㆍผ่านไป 10 ปี จะมีเงิน 37,762.41 บาท ㆍผ่านไป 20 ปี จะมีเงิน 79,485.93 บาท ㆍผ่านไป 30 ปี จะมีเงิน 125,586.05 บาทจะเห็นว่าถ้าออมเงินวันละ 10 บาท สามารถมีเงินหลักแสนได้และถ้าเก็บเงินวันละ 100 บาท จะมีเงินหลักล้านได้หรือไม่ ถ้าออม ปีละ 36,000 บาท หรือ 18,000 บาท ทุก ๆ 6 เดือน (เฉลี่ยเดือนละ 3,000 วันละ 100 บาท) ㆍผ่านไป 1 ปี จะมีเงิน 36,090.00 บาท ㆍผ่านไป 10 ปี จะมีเงิน 377.624.08 บาท ㆍผ่านไป 20 ปี จะมีเงิน 794,859.25 บาท ㆍผ่านไป 30 ปี จะมีเงิน 1,255,860.55 บาทจะเห็นว่าออมเงินวันละ 100 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ผ่านไป 30 ปี ก็มีเงินล้านได้ สบาย ๆ สมมุติว่าถ้าหาผลตอบแทนจากการลงทุนได้ระดับ 3–5% เงินออมจะงอกเงยมากแค่ไหน ถ้าออมเงิน 18,000 บาท ทุก ๆ 6 เดือน ให้ได้ผลตอบแทนที่ 5% ผ่านไป 30 ปี จะมีเงิน 2,447,848.62 บาท จะเห็นว่ายิ่งระยะเวลาในการลงทุนนาน ประกอบกับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จะทำให้เงินออมของเราเพิ่มพูนมากขึ้นตามไปด้วยมาถึงตรงนี้อาจมีข้อโต้แย้งว่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายในแต่ละวันก็แทบไม่เหลือเงินเพื่อมาเก็บออมและลงทุน คำตอบ คือ การเก็บเงินวันละ 100 บาท เป็นไปได้ ด้วยการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น ลดการช็อปปิ้ง หยุดการซื้อข้าวของที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หยุดการทานข้างนอกบ้าน จากนั้นก็นำเงินนำเก็บออมและลงทุน และเมื่อมีวินัยในการวางแผนการเงิน อีกไม่กี่ปีจะได้หยิบเงินล้านแน่นอน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1405789
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาษี
30/04/2024
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป “กรมสรรพากร” ได้ปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมีเงินได้จาก “แหล่งเงินได้นอกประเทศ” ผู้มีเงินได้จากต่างประเทศต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร โดยปกติเมื่อ "บุคคลธรรมดา" มีรายได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หากเข้าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้ปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมีเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes และได้ลงนามผูกพันในความตกลงพหุภาคี (ข้อตกลงการค้าพหุภาคี เป็นสนธิสัญญาเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่สามประเทศขึ้นไป) ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี (MAC) และความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ (MCAA CRS) ดังนั้น จึงทำให้กรมสรรพากรมีความจำเป็นต้องปรับปรุงการจัดเก็บภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ระหว่างผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ภายในและภายนอกประเทศ เงื่อนไขจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง สามารถอธิบายได้ดังนี้ ㆍมีรายได้จากต่างประเทศต้องเสียภาษีอย่างไร หากเป็นก่อนหน้านี้ที่กรมสรรพากรยังไม่มีการปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมีเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ คือ เมื่อใดก็ตามที่บุคคลทั่วไปมีรายได้ ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือนอกประเทศ ต้องนำรายได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเมื่อถึงเกณฑ์กำหนด ทั้งนี้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม ได้กำหนดไว้ว่า แหล่งเงินได้จากนอกประเทศ ประกอบด้วย การทำงานในต่างประเทศให้กับนายจ้างที่อยู่ต่างประเทศ หรือทำงานในประเทศไทยแล้วส่งงานให้กับนายจ้างที่อยู่ต่างประเทศ การไปประกอบกิจการในต่างประเทศและส่งเงินเข้ามาในประเทศไทย การนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น หุ้นหรือพันธบัตร และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการส่งสินค้าในประเทศไทยออกไปขายยังต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ถือเป็นรายได้จากแหล่งนอกประเทศ และถ้าผู้มีรายได้จากแหล่งนอกประเทศดังกล่าว พักอยู่ในประเทศไทยในปีเป็นเวลา 180 วัน ซึ่งอาจจะอยู่อย่างต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้ แต่รวมระยะเวลาแล้วได้ถึง 180 วัน โดยยึดระยะเวลาตามพาสปอร์ตของผู้มีรายได้ และนำเงินรายได้ที่ได้รับเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกันกับที่เกิดรายได้ ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากรายได้ในส่วนนี้ด้วย ดังนั้น ในทางตรงกันข้าม หากผู้มีรายได้นำเงินที่ได้รับเข้ามาในประเทศไทย ในปีภาษีเดียวกันกับที่เกิดรายได้ แต่ไม่ได้พักอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน โดยยึดระยะเวลาตามพาสปอร์ตของผู้มีรายได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้ ㆍอัปเดต! เงื่อนไขมีรายได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ และล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2566 กรมสรรพากรได้มีการปรับปรุงวิธีการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมีเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.161/2566 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่การงานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีดังกล่าว และได้นำเงินได้พึงประเมินนั้น เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีใดก็ตาม ให้บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องนำเงินได้พึงประเมินนั้นมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่ได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย กล่าวคือหากบุคคลธรรมดามีรายได้จากแหล่งนอกประเทศตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น และมีการนำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย จะต้องนำรายได้จากแหล่งนอกประเทศนี้ มาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่วันแรกที่อยู่ในประเทศไทย ㆍใช้ “อนุสัญญาภาษีซ้อน” เพื่อป้องกันการเสียภาษีซ้ำซ้อน และถึงแม้ผู้มีรายได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนที่เป็นเงินได้จากแหล่งนอกประเทศก็ตาม แต่หากผู้มีเงินได้ถูกเก็บภาษีไว้ในประเทศแหล่งเงินได้แล้ว ผู้มีเงินได้สามารถนำภาษีที่ถูกประเทศแหล่งเงินได้ที่มีการทำอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย เก็บไว้มาใช้เป็นเครดิตภาษีได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในอนุสัญญาภาษีซ้อน ทั้งนี้ อนุสัญญาภาษีซ้อน หรือ Double Taxation Agreement (DTAs) คือ สนธิสัญญาทางภาษีแบบทวิภาคี (Bilateral Treaties) ที่เป็นการลงนามระหว่างประเทศไทย และประเทศคู่สัญญาต่างๆ เพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ในกรณีที่เงินได้ของบุคคลหนึ่งเข้าเกณฑ์การเสียภาษีมากกว่า 1 ครั้ง ภายใต้กฎหมายภาษีอากรของประเทศมากกว่า 1 ประเทศขึ้นไป อธิบายแบบเข้าใจง่ายก็คือ ถ้าบุคคลธรรมดามีรายได้จากต่างประเทศที่เป็นประเทศคู่สัญญากับประเทศไทย และได้เสียภาษีไว้แล้วกับแหล่งเงินได้ต่างประเทศนั้น ผู้มีรายได้สามารถเก็บหลักฐานไว้เพื่อใช้เป็นเครดิตภาษีได้ ซึ่งอาจทำให้เสียภาษีในประเทศไทยน้อยลง เนื่องจากสัญญานี้จะช่วยลดภาระการจ่ายภาษีที่ซ้ำซ้อนลงนั่นเอง สรุป...จะมีผลกระทบต่อนักลงทุนหรือไม่ ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า เมื่อกรมสรรพากรมีการปรับปรุงวิธีการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมีเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ นอกจากจะช่วยสนับสนุนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกและลงนามผูกพันในความตกลงพหุภาคีดังกล่าวแล้ว ยังเสริมสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีระหว่างผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ภายในและภายนอกประเทศ เพื่อยกระดับความโปร่งใสในการปฏิบัติทางภาษีให้ถูกต้อง แต่ ณ ตอนนี้ ยังต้องรอทางกรมสรรพากรทบทวนอีกครั้ง โดยต้องพิจารณาผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนรายย่อย เนื่องจากมีความจำเป็นในการโอนเงินกลับเข้าประเทศไทยสูงกว่านักลงทุนรายใหญ่ ที่ไม่มีความจำเป็นในการใช้เงินเท่ารายย่อย และผลกระทบอื่นๆ อีกด้วย Source : Inflow Accounting แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1091328
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
“ตอนนี้อายุ 25 ปี อยากทำประกันชีวิตให้ตัวเองซัก 1 กรมธรรม์ ประกันชีวิตแบบไหนดีที่สุดคะ ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ” ประกันชีวิตเป็นอีก 1 ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ พูดง่ายๆ ก็คือ การทำประกันชีวิตเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงที่มีไปให้บริษัทประกันช่วยดูแล ถึงแม้จะไม่สามารถชดเชยความสูญเสียได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ช่วยลดทอนผลกระทบจากความสูญเสียได้บางส่วน การวางแผนซื้อประกันชีวิตที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะพิจารณาจากเบี้ยประกันชีวิตที่สอดคล้องกับสภาวะการเงินแล้ว การพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยที่ครอบคลุมในหลายๆ ปัจจัยก็เป็นเรื่องสำคัญที่คนอยากทำประกันชีวิตไม่ควรมองข้ามปัจจัยสำคัญเลือกซื้อประกันชีวิตให้มีแต่คำว่าคุ้ม 1. เข้าใจความแตกต่างของประกันชีวิตแต่ละประเภท สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ใช้เกณฑ์ในการแบ่งประเภทของประกันชีวิตไว้ 2 แบบ ดังนี้ ประชีวิตแบบทั่วไปมี 5 ประเภท ได้แก่ 1) ชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) 2) ตลอดชีพ (Whole Life Insurance) 3) สะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance) 4) เงินได้ประจํา/แบบบํานาญ (Annuity Insurance) 5) ควบการลงทุน (Unit link)ประกันชีวิตแบบพิเศษมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) ควบการลงทุน (Investment-linked life insurance) 2) เฉพาะผู้สูงอายุ ประกันชีวิตทั้ง 7 ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อประกันทุกครั้งจึงควรศึกรายละเอียดของประกันชีวิตแต่ละประเภทให้ดีเสียก่อน เพื่อผลประโยชน์อันสูงสุดของตัวเราเอง 2. เลือกทุนประกันชีวิตที่เหมาะสมการวางแผนการซื้อประกันชีวิตนอกจากต้องเข้าใจความแตกต่างของประกันชีวิตแต่ละประเภทแล้ว ปัจจัยด้านทุนประกันเองก็สำคัญไม่แพ้กัน การเลือกทุนประกันที่ดีจะต้องมีวงเงินการคุ้มครองที่เพียงพอต่อความเสี่ยงทางการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็น ภาระทางการเงินที่อาจจะตกไปถึงคนข้างหลัง หรือ ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดฝัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เรามีความมั่นใจว่า ไม่ว่าในสถานการณ์ไหน ชีวิตก็จะดำเนินต่อไปแบบไม่สะดุด ยกตัวอย่างเช่น เรามีหนี้สินเชื่อบ้านอยู่ 1 ล้านบาท การเลือกทุน เลือกกำหนดทุนประกันก็ควรจะให้เพียงพอต่อภาระหนี้สินที่มี เพื่อให้ผู้รับผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิตของเรานั้นสามารถปลดภาระหนี้สินที่ตกทอดไปถึงพวกเขาได้ 3. ระบุความต้องการ และความแตกต่างให้ชัดเจน ความต้องการ เป้าหมาย และความเสี่ยงของคนเรามีความแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ และวิถีการดำเนินชีวิต การเลือกซื้อประกันชีวิตจึงควรเลือกแบบประกันให้ตอบโจทย์กับความต้องการ และสอดคล้องกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น นาย noon เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้อยู่ในระดับกลางๆ ต้องการสร้างมรดกเป็นเงินจำนวนก้อนหนึ่งไว้ให้กับคนที่รักในยามที่เขาจากไป “ดังนั้นประกันชีวิตที่น่าจะเหมาะกับเขาคือ”ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ “เนื่องจากแบบดังกล่าว เน้นความคุ้มครองชีวิตที่สูง มีมูลค่าเงินสด และเบี้ยประกันไม่สูงมากนัก” 4. สำรวจความพร้อมในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต เราวางแผนจ่ายเบี้ยประกันดีหรือยัง? ถึงแม้ว่าเราจะได้เจอกับแบบประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์กับความต้องการของเราทุกประการ แต่ถ้าเราฝืนจ่ายเบี้ยประกันเกินกำลังของตัวเองอาจทำให้แบบประกันปังๆ กลายเป็นพังได้ ดังนั้นนอกจากจะมองหาแบบประกันที่ตรงใจแล้ว เบี้ยประกันก็ควรอยู่ในเกณฑ์ที่เราจ่ายไหวด้วย หรืออ้างอิงตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินส่วนบุคคล ที่ระบุว่าเบี้ยประกันภัยต่อปีในระดับแนะนำนั้น อาจจะอยู่ที่ราว ๆ 10% ของรายได้ต่อปี 5. ทำความรู้จักบริษัทประกันให้มากขึ้น หาข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงเพื่อความมั่นใจปัจจัยด้านความมั่นคงของบริษัทประกันชีวิตมักเป็นปัจจัยที่เรามักหลงลืม หรือไม่ค่อยคำนึงถึง แต่รู้หรือไม่? ความมั่นคงของบริษัทประกันนั้นจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความปลอดภัยในการทำประกันชีวิต เช่น เราสามารถศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยได้จากรายงานอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) หรือจากงบการเงินของบริษัทประกันภัย ทั้งที่เผยแพร่โดยสำนักงาน คปภ. หรือจากบริษัทประกันภัยโดยตรง เพราะยิ่งบริษัทประกันมีความมั่นคงมากเท่าไหร่ ความพร้อมในการให้บริการด้านการประกันภัย อาทิเช่น การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น 6. ศึกษาข้อยกเว้นและเงื่อนไขการเลือกซื้อแบบประกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันใดๆ ก็ตาม เรามักย้ำเตือนอยู่เสมอว่าควรอ่านรายละเอียดความคุ้มครอง และข้อยกเว้น หรือเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี เพราะหากพลาดไปแม้แต่จุดเดียวอาจทำให้เราพลาดสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองจากประกันไปเลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เอาประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับจากวันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายบริษัทประกันชีวิตจะยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกันให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ทันที เพราะผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้ในสัญญาประกันภัย สรุป การเลือกซื้อประกันชีวิตให้มีประสิทธิภาพควรพิจารณาจาก 6 ปัจจัยด้วยกัน ซึ่ง ประกอบไปด้วยปัจจัยด้านความเข้าใจความแตกต่างของประกันชีวิตแต่ละประเภท ปัจจัยด้านการเลือกทุนประกันชีวิตที่เหมาะสมทุน ปัจจัยด้านความต้องการ และความแตกต่างเฉพาะบุคคล ปัจจัยด้านความพร้อมในการจ่ายเบี้ยประกัน ปัจจัยด้านข้อมูลของบริษัทประกัน และสุดท้ายปัจจัยด้านรายละเอียดของข้อยกเว้น และเงื่อนไขของแบบประกันชีวิต หากรู้คำตอบแล้วว่าตัวเรานั้นเหมาะสมกับประกันชีวิตแบบไหนก็อย่าลืมแวะเข้ามาเลือกซื้อประกันชีวิตผ่าน noon.in.th ที่นี่เรามีแบบประกันชีวิตให้เลือกซื้อมากมาย ทั้งตอบโจทย์ และครอบคลุมทุกความต้องการ ขอบคุณแหล่งข้อมูล : oic.or.th , moneybuffalo.in.th, prachachat.net, thaipublica.orgหนังสือ หลักสูตรวางแผนการเงิน : ชุดวิชาที่3 การวางแผนประกันภัย หน้าที่ 7-8แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับnoonhttps://www.noon.in.th/blog/6-point-select-the-right-life-insurance/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
29/04/2024
30/04/2024
22/01/2025
30/04/2024
14/05/2025