ข่าวการเงิน
สถิติบอกชัด รายจ่ายต่อเดือนของ “คนไทย” พุ่งสูงถึง
18,000 บาทต่อเดือน สวนทาง ”รายได้” ที่น่าตกใจคือ “ชนชั้นกลาง”
เสี่ยงต่อการกลายมาเป็น “คนจน” ด้วยเหตุผลเบื้องหลังที่ชวนคิดวิเคราะห์
รายจ่ายสูง รายได้ไม่โต
เงินเดือนเท่าไรถึงจะอยู่ได้ เมื่อ “สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)” ออกมาบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ ที่ทำให้ “ค่าใช้จ่ายต่อเดือนโดยเฉลี่ยของคนไทย” มีถึง 18,023 บาท/เดือน
ณ ตอนนี้ค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยของบ้านเราอยู่ที่ 337 บาท/วัน
ถ้าสมมติทำงานเต็มเดือน 30 วัน จะได้เดือนละ 10,110 บาท
ส่วนเด็กจบใหม่ปริญญาตรี เริ่มต้นที่ประมาณ 12,000-15,000 บาท/เดือน
จากข้อมูลของ สนค.บอกว่า ใน 18,023 บาท นี้ ค่าใช้จ่าย “อันดับ1” คือ
ค่าโดยสารสารสาธารณะ ค่าซื้อรถส่วนตัว ค่าน้ำมัน
และค่าบริการโทรศัพท์เฉลี่ยอยู่ที่ 4,170 บาท คิดเป็น 23.14%
ตามมาด้วย “อันดับ2” ค่าเช่าบ้าน ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม อยู่ที่ 3,922
บาทคิดเป็น 21.76% ส่วน “อันดับ3” คือ ค่าเนื้อสด ที่ใช้ในการทำอาหาร
อยู่ที่ 1,704 บาท เป็น 9.46% จากทั้งหมด ส่วนเหล้ากับบุหรี่ มาเป็น
อันดับสุดท้าย หรือ “อันดับ4” เลย คือ 241 บาท เป็นเพียง 1.34%
ของรายจ่ายต่อเดือน
จั๊ก-รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทาง รัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา
วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์ ช่วยวิเคราะห์ตามคำขอของทีมข่าว
ถึงปัญหาตอนนี้ที่ค่าแรงโตไม่ทันรายจ่าย
“ผมคิดว่าประเด็นแรกที่ต้องย้ำนะครับ คือว่าค่าจ้างของเรา
ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างขึ้นต่ำ หรือว่าค่าจ้างโดยเฉลี่ย
มันเติบโตไม่สอดคล้องกัน ทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ซึ่งก็จะรวมถึงดัชนีผู้บริโภค อัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ”
ตอนนี้ productivity (ประสิทธิภาพของการผลิต การทำงาน)
เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจาก ทักษะแรงงาน หรือเทคโนโลยี
แต่ค่าจ้างโดยเฉลี่ยกลับไม่ได้เพิ่มตาม โดยรายได้ 80% ของคนส่วนใหญ่
ไม่สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
“ค่าครองชีพพื้นฐาน” หรือให้เรียกว่า “ค่าจ้างที่เราจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ไม่ใช่แค่การมีเงินเพื่อเลี้ยงชีพไปวันๆ แต่หมายถึงโอกาสที่จะสามารถหาความบันเทิงให้กับชีวิตได้ด้วย
“ค่าเดินทาง” แพงแซงทุกอย่าง
น่าสนใจที่จากข้อมูล สนค.บอกว่า รายจ่ายส่วนใหญ่ไปกองอยู่ “ขนส่งสาธารณะ
ค่าซื้อรถ ค่าน้ำมัน” เมื่อถามจั๊กว่าขนส่งเราแพงเกินไปหรือไม่
ดีหรือเปล่า? จนคนหันไปซื้อรถใช้เอง และยอมแบกภาระนี้
“ใช่ คำว่าไม่ค่อยดีมันก็หลายอย่างนะครับ อย่างคุณภาพในเชิงกายภาพ
ที่เราเห็นอันนั้นก็ส่วนหนึ่ง อีกด้านหนึ่งมันเข้าไปไม่ถึง
เส้นเลือดฝอยในชีวิตของคนเมือง“
อาจารย์ยังบอกอีกว่า ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯ ในต่างจังหวัดเอง
ขนส่งสาธารณะก็ไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ตอบโจทย์คนทำงาน
“อาจจะใช้ได้ในผู้สูงอายุ ไปจ่ายตลาดหรือไปหาหมอในบางครั้ง”
[รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี]
“สมมติเราต้องนั่งมอเตอร์ไซค์มาปากซอยหน้าบ้าน
แล้วเราต้องต่อรถเมล์ เพื่อที่จะไปรถไฟฟ้าอีก
มันก็กลายเป็นว่าค่าใช้จ่ายอะไรต่างๆ มันก็สูงมาก คนที่พอมีกำลังส่วนใหญ่
ต้องซื้อรถมอเตอร์ไซค์ หรือไม่ก็รถยนต์ส่วนตัว”
ถ้าลองคำนวณการผ่อนรถแบบถูกสุด ตกเดือนละ 5,000 บาท ค่าน้ำมันอีก
1,000-2,000 รวมแล้วคนที่มีรถส่วนตัวต้องจ่าย 6,000-7,000 บาท/เดือน
ส่วนคนที่ใช้ขนส่งสาธารณะ เดือนหนึ่งก็ไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 บาท นั้น
ก็เป็น 20-30% ของรายได้ต่อเดือนแล้ว
“ถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
แล้วนึกถึงขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมทั้งหมดเลย มันก็อาจจะประมาณ 4-5%
ของค่าจ้างที่เขาได้รับต่อเดือนเท่านั้นเองนะครับ”
รายได้ต่ำ แต่ “ค่ากิน” พุ่งจนน่าห่วง!!
จากข้อมูลของ สนค.บอกว่ารายจ่ายทั้งหมดนี้ เป็น “ค่าอาหาร” ถึง 41.97% ทีมข่าวจึงชวนจั๊กคุยว่า ข้อมูลที่เห็นมันสะท้อนถึงอะไร?
“คือจริงๆ ค่าอุปโภคบริโภค มันเกี่ยวกับฐานะของคนนะครับ คือถ้าเราเทียบกัน
กลุ่มคนที่รวยที่สุดกับกลุ่มคนที่จนที่สุด
ค่าใช้จ่ายเรื่องอุปโภคบริโภคก็จะมีสัดส่วนที่ต่างกัน”
กลุ่มคนที่มีสตางค์ 5% บนสุด อาจจะหมดเงินไปกับ การลงทุน
ค่าเดินไปเที่ยวหรือทำธุรกิจ แต่ในกลุ่มคนที่รายได้ต่ำ มักจะหมดไปกับ
ค่าอาหารการกิน ถึง 70% ของรายได้เลยด้วยซ้ำ
“สิ่งหนึ่งที่เราเห็นภาพตรงนี้เนี่ย
การที่ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคพื้นฐานของค มันสูงมากขึ้น
มันสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มคนไทยชนชั้นกลางกำลังจะหายไป
แล้วก็จะมาป่องอยู่ข้างล่าง”
ยกตัวอย่างเด็กๆ จบใหม่ ทำงานอย่างหนัก
แต่คุณภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกับผู้ใช้แรงงานในโรงงานเมื่อ 30 ปีก่อนเลย
ที่ต้องทำหลายงาน ทำงานล่วงเวลา เพื่อคุณภาพชีวิตที่แค่ส่งบ้านส่งรถ
เลี้ยงดูพ่อแม่เท่านั้น ซึ่งมันไม่ได้เป็นคุณภาพชีวิตชนชั้นกลางแต่อย่างใด
“อันนี้เป็นสัญญานที่น่ากลัวเหมือนกันว่า ชนชั้นกลางของเรากำลังจะหายไป
ที่ไปป่องข้างล่างมากขึ้น เพราะทุกคนกำลังกลายเป็นคนจน
ต้องเป็นคนปากกัดตีนถีบกันหมด”
หรือเพราะทุนที่ผูกขาด?
อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เคยออกมาเขียนบทความ “เกาให้ถูกที่คัน ค่าแรงขั้นต่ำ คือ
คำตอบของการแก้ปัญหาค่าครองชีพของแรงงาน จริงหรือ”
ว่าด้วยค่าครองชีพที่สูงเหตุมาจาก 1) กลไกผูกขาด ภาครัฐถูกครอบงำโดยทุนใหญ่ 2) การทุจริตคอร์รัปชัน
ต้องแก้ปัญหา 2 อย่างนี้และผลักดัน นโยบายสวัสดิการ ถึงจะแก้ได้
สอดคล้องกับความเห็นของ ผอ.ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง รัฐสวัสดิการฯ ที่มองว่า
กลุ่มทุนที่ผูกขาด เกี่ยวข้องกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น
และปัญหาค่าแรงที่ต่ำของบ้านเรา
“พอกลุ่มทุนผูกขาดที่ เขาได้รับสัมปทานหรือได้รับสิทธิอะไรบางอย่างจากรัฐ มันทำให้เขาไม่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่อง ชีวิตพื้นฐานของประชาชน”
ดร.ได้อธิบายต่อว่า ในธุรกิจบางอย่างไม่จำเป็นต้องหากำไรขนาดนั้น แต่กลับมีกลุ่มทุนหลายกลุ่มเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น พลังงาน อาหาร การคมนาคม หรือการรักษาพยาบาล และการศึกษา ที่ตอนนี้เริ่มมีกลุ่มทุนขนาดใหญ่เข้ามามากขึ้น
ในด้านหนึ่งกลุ่มทุนเหล่านี้อาจมีความสามารถและเทคโนโลยี จนให้เติบโต
แต่ไม่ได้จากการแข็งขันกันอย่างเสรี ส่วนหนึ่งมาจากการเอื้อประโยชน์จากรัฐ
ได้สัมปทานหรือการอนุมัติอะไรบางอย่าง
“แต่ว่าเขากลับมีส่วนที่ทำให้ สองอย่างนี้คือ
ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราสูงมากขึ้น และในขณะเดียวกันก็
พวกเขากมีส่วนสำคัญที่ทำให้ค่าแรงไม่ได้มีการปรับขึ้นเท่าที่ควร
เพราะว่ากลุ่มทุนผูกขาดมีอำนาจมาก”
30/04/2024
30/04/2024
29/04/2024
27/09/2024
30/04/2024