ข่าวการเงิน
7 อุปนิสัย “first jobber-นักลงทุนมือใหม่” ต้องมี ! สำเร็จแน่
สวัสดีครับ Prachachat Wealth เล่าเรื่องการลงทุน EP นี้ เอาใจเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งจบใหม่ หรือว่า first jobber
ที่สนใจเรื่องของการเงินการลงทุน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นวางแผนการลงทุนอะไรดี ที่ใช้เงินลงทุนไม่กี่บาท เพราะในโลกการเงินการลงทุน เครื่องมือตัวช่วยสำหรับการออมและการลงทุนมีหลากหลายนะครับ
ซึ่งวันนี้ Prachachat Wealth มีโอกาสได้พูดคุยกับหนึ่งในกูรูนักวางแผนการเงินไทย ท่านดำรงตำแหน่งเป็น ผศ.ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล อาจารย์ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ของสมาคมนักวางแผนการเงินไทย
Q : มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งจบใหม่ ควรวางแผนลงทุนอะไรดี ที่ยังพอมีเงินเหลือใช้
สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน first jobber อันแรกในเรื่องลงทุน ผมอยากจะให้ทุกคนลองเปลี่ยน mindset ก่อน เพราะต่อไปนี้คำว่าลงทุน เราจะไม่ได้หมายถึงว่า “เหลือเงินแล้วค่อยมาลงทุน” แต่ในทางการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ financial planning การวางแผนการเงิน เราบอกว่าลงทุนเราควรจะกันเงินก่อนที่จะใช้จ่าย เอามาลงทุน
ลงทุนของเราแปลว่า เฉลี่ย ๆ เงินที่เราใส่เข้าไปในทางเลือกที่เรากำลังสนใจออกมาต้องเพิ่มขึ้น แต่ผมใช้คำว่าเฉลี่ยนะครับ เพราะฉะนั้นแปลว่าอะไร ไม่ได้การันตีนะครับว่าทุกครั้งที่เราลงทุน เราต้องได้เงินเพิ่มขึ้นเสมอ นี่เราถึงบอกว่าการลงทุนมีความเสี่ยง
พอเรารู้แล้วลงทุนคืออะไร อันดับถัดมาเราจะมาวางแผนลงทุน พูดง่าย ๆ เลยคือการที่ผมจะทำให้ตัวของเราเองหรือว่าตัวของคนที่เราไปวางแผนให้ ใช้ 2 คำเลยว่า “กินเต็มและก็นอนหลับ”
เพราะฉะนั้นวางแผนลงทุนทำให้คุณบรรลุเป้าหมาย แต่บรรลุแล้วต้องไม่ใช่ว่าในระหว่างที่วางแผนอยู่ เราไม่เป็นอันทำการทำงานเลย
เพราะฉะนั้นนั่นแปลว่าผมก็จะต้องรู้อีกอย่างหนึ่งแล้วว่าตัวของเรา เรามีระดับของการยอมรับความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เราทนต่อความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นพวกนี้เขาก็อาจจะดูจากพวกความสามารถ เพิ่งจบ อายุยังน้อย ความสามารถในการรับความเสี่ยงเราอาจจะดี แต่เราก็ต้องดูความเต็มใจด้วย เราเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงมั้ย เราไม่เคยมีประสบการณ์เลย อยู่ ๆ เอาเงินไปลงทุนในหุ้น อยู่ ๆ เอาไปซื้อตราสารอนุพันธ์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เราอาจจะนอนไม่หลับก็ได้
เพราะฉะนั้นถ้าทำได้อย่างนี้ และเลือกเครื่องมือที่จะทำให้เรากินอิ่มและมีผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง แน่นอนว่าอันที่หนึ่ง ผม pay yourself first ผมกันเงินก่อนที่จะใช้จ่าย นั่นหมายความว่าอย่างน้อยที่สุด ทุก ๆ เดือน เงินผมพอใช้แน่ ๆ แต่อันที่สอง ถ้าผมรู้จักเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเข้าไปอีก นอกจากเงินพอใช้ เรายังจะมีเงินเหลือใช้อีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ที่เราไปลงทุนด้วยนะครับ
Q : สินทรัพย์แต่ละประเภท มีทั้งเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ นักลงทุนหน้าใหม่ ต้องรู้ข้อจำกัดหรือข้อควรระวัง อะไรบ้าง
ถ้าผมอธิบายไล่ตามอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงเลยนะครับ อันที่หนึ่งสินทรัพย์ประเภทที่หลายคนมักจะคุ้นเคยก่อน ก็คือในเรื่องของบัญชีเงินฝาก ข้อจำกัดก็คือ ผลตอบแทนน้อย
ประมาณสัก 1% อาจจะไม่ทำให้เราบรรลุเป้าหมาย หรืออาจจะทำให้เราไม่มีเงินเหลือใช้ ถ้าผมเพิ่มระดับความเสี่ยงขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ก็คือการลงทุนในตราสารหนี้
แต่ข้อจำกัด ถ้าธุรกิจเขาดี เราต้องไม่คาดหวังว่าเราจะได้กำไรเยอะ ๆ ไปกับเขาด้วย เพราะเวลาที่ธุรกิจเขาแย่ เขาก็มีภาระผูกพันต้องจ่ายดอกเบี้ยเราเท่าเดิม
เวลาลงทุนในตราสารหนี้ เราจะมีสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อย่างเช่น ทริส หรือฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย เขาจะคอยจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เราก่อน
ทางเลือกที่สาม ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไปอีก เราอาจจะไปลงทุนในรูปแบบของตราสารทุน หรือที่บางคนชอบเรียกสั้น ๆ ว่า หุ้น นั่นเอง เพราะฉะนั้นเข้าไปลงทุนในหุ้นหรือตราสารทุน ตามชื่อเลยเราเข้าไปเป็นนายทุน เราเข้าไปเป็นเจ้าของ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราได้รับส่วนแบ่งกำไร ในภาษาการเงินเราเรียกว่าเป็นเงินปันผล แต่ลักษณะของเงินปันผล เนื่องจากคือส่วนแบ่งกำไร แปลว่าถ้าเขาไม่กำไร เขาก็อาจจะไม่ได้ปันผลให้เรา
ก็อาจจะมีอีกทางเลือกหนึ่ง เขาเรียกว่าเป็นกองทุนรวม เขาจะเอาทุนของนักลงทุนมากองรวมกัน และให้ผู้บริหารมืออาชีพมาบริษัทแทนให้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราอันแรก เลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเหมาะกับเรา
Q : แม้มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน จะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญการลงทุน แต่อุปนิสัยที่ต้องมี มีอะไรบ้าง
หนึ่ง ควรจะเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับในเรื่องของการออมการลงทุน นั่นแปลว่าเขาต้องรู้จัก pay yourself first ก่อนเลย อุปนิสัยแรก ถ้าเราอยากจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จ เราต้องเก็บก่อนใช้ ไม่เอาเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายมาลงทุน เพราะนั่นอาจจะทำให้เราไม่มีเงินมาลงทุน อันที่สอง พอเราเก็บก่อนใช้แล้ว
เราต้องมีการวางแผนการลงทุนล่วงหน้าครับ
อันที่สาม ต้องรู้จักศึกษาหาความรู้ก่อนลงทุน ไม่ใช่ฟังจากเขาบอกมา อุปนิสัยที่สี่ ต้องรู้จักการกระจายความเสี่ยง ไม่เอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์แค่ประเภทใดประเภทหนึ่ง
อุปนิสัยที่ห้า ต้องมีวินัยครับ เพราะต้องทำอย่างต่อเนื่อง การลงทุนจะไม่เหมือนเราไปช็อปปิ้ง จ่ายเงินปุ๊บได้ของมาแล้วจบ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาเป็นปี ๆ เลย
และอันที่หก ต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจลงทุนเสมอ เราจะไม่บอกว่าเห็นมีข่าวลือมา เรากลัวตกรถไฟ รีบไปซื้อหุ้น รีบไปลงทุน มีข่าวลือมาเราก็ตื่นตกใจ เทขาย โดยที่เราไม่ได้ดูข้อมูลเลย เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่จะลงทุน เราต้องถามตัวเองเสมอครับว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้เราซื้อหลักทรัพย์ตัวนี้
และนั่นก็แปลว่าอันที่เจ็ด เราต้องมีการติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ กองทุน หรือว่าหุ้น หรือว่าตราสารหนี้ ทางเลือกการลงทุนก็เหมือนลูกของเรา เราต้องดูแลเขาไปเรื่อย ๆ เลย ถามว่าดูไปจนเมื่อไหร่ ก็จนเมื่อไหร่ที่ผมไม่ใช่เงิน เพราะฉะนั้นก็คือจนตายครับ
ทั้งหมดนี้ครับคือ 7 อุปนิสัย ที่ผมบอกว่านักลงทุนมือใหม่ เรียกว่าเป็น seven habits ของ first jobber ที่อยากจะลงทุนแล้วบรรลุเป้าหมายแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1364529
X