ประกันภัย

เจ็บเล็ก..เจ็บใหญ่..สบายกระเป๋า เมื่อทำ “ประกันอุบัติเหตุ”


ระวังแค่ไหนก็อาจจะหลบไม่พ้น เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นกับเราได้ได้ในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเจ็บเล็กๆ อย่าง หกล้ม ตกฟุตบาท ไปจนถึงเจ็บใหญ่ ๆ อย่าง รถชน ขาหัก บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เป็นต้น หากมีการทำประกันอุบัติเหตุ เอาไว้ก็หมดห่วงได้เลยว่ามีผู้ที่เข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้เราแล้วโดยที่ไม่ต้องควักกระเป๋าเอง แต่ถ้าไม่ได้ทำไว้ละ งานนี้ก็ต้องมาลุ้นกันว่าเงินในกระเป๋าเราพอที่จะจ่ายค่ารักษาหรือไม่ และจะมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปได้นานแค่ไหน

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับ “ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล” กันก่อนว่าคืออะไร และมีประโยชน์กับเรายังไงกันบ้าง สำหรับ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นสัญญาเพิ่มเติมประกันภัยที่จะมาช่วยดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลเนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

โดยผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือก ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบของเงินก้อนที่ชดเชยให้เมื่อต้องสูญเสียรายได้จากการพักรักษาตัว หรือเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายหลังการรักษาพยาบาลที่ต้องติดตามอาการ หรือค่ากายภาพบำบัด โดยแผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะเป็นทำหน้าที่ในการดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันเลือกไว้

ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองอะไรบ้าง?????

สำหรับความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันจะได้รับเมื่อทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ดังนี้

ㆍอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ บาดแผล กระดูกหัก การผ่าตัด ภาวะโคม่า แผลไฟไหม้ การสูญเสียแขนขา และการเสียชีวิต
ㆍค่าใช้จ่ายในการเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน
ㆍค่าใช้จ่ายเมื่อต้องมีการเอ็กซ์เรย์, CT หรือ CAT scan, MRIs และ EEGs ที่มีสาเหตุมาจากการเกิดอุบัติเหตุ
ㆍค่ารักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น ต้องเข้าห้อง ICU
ㆍค่ารักษาพยาบาลหากต้องทำกายภาพบำบัด เช่น การทำแขนขาเทียม การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ หรือการทำฟันที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ

7 ข้อก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ

  1. ควรเลือกบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ
  2. อ่านเงื่อนไข ศึกษาผลประโยชน์ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด
  3. อัตราเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
  4. สอบถามตัวแทนหรือบริษัทประกันทุกครั้ง ถึงเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหลังเกิดอุบัติเหตุ ก่อนทำประกันว่าเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นแบบใด  บริษัทจะอนุมัติการจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในกี่วัน
  5. แผนประกันมีความยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้เอาประกันและความคุ้มครองหลากหลาย
  6. เมื่อต้องนอนโรงพยาบาลขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสารการเคลมรวดเร็วหรือไม่
  7. ความคุ้มครองครอบคลุมสถานพยาบาลทุกที่ทั่วโลกหรือไม่


แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับการเงินธนาคาร
https://moneyandbanking.co.th/2023/33241/
X