ข่าวการเงิน
บทความโดย "วิชาญ จันทร์สอน"
ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ข้อมูลจากเว็บไซต์มิเตอร์ประเทศไทย (11 มกราคม 2566) รายงานว่า
ประชากรประเทศไทยมีจำนวน 66,214,465 คน
ในจำนวนนี้ประชากรสูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี จำนวน 13,316,212 คน คิดเป็น
20.11% และหากดูจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีจำนวน
8,890,840 คน คิดเป็น 13.42% หมายความว่า โครงสร้างประชากรไทยอยู่ในช่วง
Aged Society ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. Aging Society ระดับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง
สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 10%
ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่า 7%
ของประชากรทั้งประเทศ
2. Aged Society ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หมายถึง
สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20%
ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่า 14%
ของประชากรทั้งประเทศ
3. Super–Aged Society ระดับสังคมผู้สุงอายุอย่างเต็มที่ หมายถึง ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ
รวยกระจุก จนกระจาย
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ณ เดือนตุลาคม 2565
พบว่ายอดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 97,667,954 บัญชี มียอดเงินฝาก 386,686
ล้านบาท มียอดเฉลี่ยต่อบัญชี 3,959 บาท ซึ่งคิดเป็น 89.13%
ของบัญชีออมทรัพย์ สำหรับบัญชีที่มียอดเงินฝากเกิน 50,000 บาท มีจำนวน
11,907,318 บัญชี มียอดเงินฝาก รวม 10,755,105 ล้านบาท
เฉลี่ยยอดเงินฝากต่อบัญชีสูงถึง 903,189 บาท เรียกได้ว่ารวยกระจุก จนกระจาย
สำหรับผู้ที่วางแผนการเงินอย่างมีขั้นตอนคงไม่มีปัญหา
แต่สำหรับผู้ที่กังวลว่าตัวเองเริ่มเก็บออมช้าและอาจมีเงินไม่เพียงตอกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ
อย่าเพิ่งตกใจ เพราะทุกปัญหามีทางแก้
1. สำรวจค่าใช้จ่าย
จดบันทึกค่าใช้จ่ายในแต่ละวันที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะจ่ายด้วยเงินสด
ชำระด้วยบัตรเครดิต แล้วมาดูว่ามีรายการใดเป็นรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพ
ไม่จ่ายไม่ได้ รายการใดเป็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้ละเอียดยิ่งขึ้น
ให้แบ่งระดับความไม่จำเป็น เป็น 2 ระดับคือ
ความไม่จำเป็นระดับที่ 1 ไม่จำเป็นมากที่สุด ไม่มีผลกระทบอะไรในชีวิต เป็นการใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัว
ความไม่จำเป็นระดับที่ 2 ไม่จำเป็น ใช้จ่ายได้บ้าง แต่ลดความถี่ลง และเลิกไปในที่สุด
ภายในไม่กี่เดือน จะเห็นแล้วว่าเมื่อตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ก็จะมีเงินออมขึ้นมาทันที
2. สำรวจหนี้สิน
หากปราศจากหนี้ ก็จะสามารถก้าวไปสู่ความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็ว
แต่หากยังมีหนี้สินอยู่ก็ให้จัดทำสรุปรายการหนี้สินสินทั้งหมดและวางแผนการปลดหนี้ให้หมดโดยเร็ว
โดยเฉพาะหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด
สินเชื่อส่วนบุคคล
หากมีหนี้บ้านปกติชำระเดือนละครั้งก็เพิ่มการชำระงวดกลางเดือนเข้าไปอีก
จะสามารถลดดอกเบี้ยโดยรวมได้และหมดหนี้เร็วยิ่งขึ้น
3. สร้างรายได้เพิ่ม เก็บออมให้มากขึ้น
ปัจจัยในการสร้างผลตอบแทนให้สูงประกอบด้วย จำนวนเงินต้น x ระยะเวลา x
อัตราผลตอบแทน ดังนั้น
ในเมื่อเริ่มเก็บออมช้าจึงต้องเพิ่มจำนวนให้ต้นให้มากพอ
เพื่อจะได้ไปสู่เป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น และนอกจากเก็บออมให้มากขึ้นแล้ว
หากมีความสามารถพิเศษก็ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการหารายได้เสริม
4. ต่อยอดเงิน บริหารการเงินการลงทุนลงทุนสู่เป้าหมาย
เมื่อมีเงินเหลือจากการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หนี้สินลดลง
(และปราศจากหนี้สินในที่สุด) มีรายได้เพิ่มและเก็บเงินได้เพิ่ม
ก็สามารถนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ
ตามที่วางแผนเอาไว้เพื่อต่อยอดผลตอบแทน
ถึงแม้จะไม่มีคำว่า “สาย” กับการวางแผนการเงิน แต่หากเริ่ม “ช้า”
ก็จะหนักกับเงินที่ต้องแบ่งมาออมในแต่ละเดือน เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ
ถ้าต้องการมีเงินเก็บไว้ใช้หลังวัยเกษียณให้เพียงพอไปจนถึงวันสิ้นลมหายใจก็ต้องลงทุนในแต่ละเดือนไม่ใช่หลักร้อยหลักพันบาท
แต่อาจเป็นหมื่นบาท ดังนั้น ควรเริ่มต้นกันตั้งแต่เนิ่น ๆ และลงมือทำทันที
แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์
https://www.prachachat.net/finance/news-1411074
30/04/2024
30/04/2024
23/04/2024
30/04/2024
30/04/2024