ภาษี
บทความโดย “บุณยนุช ยุทธ์ประทุม”
นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566
ปัจจุบันยังมีความเข้าใจว่าเมื่อมีทรัพย์สมบัติไม่มาก
หรือมีไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax)
การส่งต่อมรดกจึงไม่จำเป็นต้องวางแผน
เนื่องจากสามารถจัดการได้โดยผ่านกระบวนการของศาลตามที่กฎหมายกำหนด
ความจริงแล้วหลังจากที่เจ้ามรดกเสียชีวิต
นอกจากเรื่องการแบ่งกองมรดกให้ทายาทโดยชอบธรรมตามลำดับแล้ว
ยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก
โดยเฉพาะเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองมรดก
ซึ่งในประเทศไทยได้กำหนดให้ผู้มีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี
จะต้องยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา
เรื่องด้วยเหตุนี้ภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมรดก
จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวของเจ้ามรดกและผู้รับมรดกมาก ดังสำนวนของ Benjamin
Franklin ที่กล่าวว่า “ในโลกนี้ ไม่มีอะไรแน่นอน
นอกจากความตายและการจ่ายภาษี”
ดังนั้น การเตรียมการวางแผนมรดกโดยการทำพินัยกรรมให้กับทายาท
และการคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ไว้ล่วงหน้าของเจ้ามรดกจะเป็นช่วยให้การส่งมอบทรัพย์สินให้กับทายาท
ที่มีความชัดเจนและตรงตามจุดประสงค์ของเจ้ามรดกมากที่สุด
และยังช่วยลดความเข้าใจผิด ความขัดแย้ง
และเพิ่มความปรองดองระหว่างทายาทด้วยกันเอง
นอกจากนี้เจ้ามรดกต้องเตรียมการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับกองมรดกให้มีประสิทธิภาพและประหยัดเงินมากขึ้นด้วย
โดยในที่นี้จะกล่าวถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองมรดก 3 หัวข้อสำคัญ ดังนี้
1. ภาษีบุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)
เมื่อเจ้าทรัพย์เสียชีวิตระหว่างปีภาษี
ผู้จัดการมรดกจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาในปีภาษีถัดไป
และถ้าหากในปีต่อ ๆ ไป ยังไม่ได้มีการแบ่งกองมรดกให้กับทายาท
ผู้จัดการมรดกจำเป็นต้องยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาของกองมรดกทุก ๆ
ปีจนกว่าจะมีการแบ่งกองมรดกและโอนให้ทายาท
เช่น เจ้าทรัพย์ได้เสียชีวิตในเดือนมิถุนายน 2565
ผู้จัดการมรดกต้องยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาของเจ้ามรดกในปี 2566
โดยคิดจากรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเต็มปีในปี 2565 และหากว่าภายในปี 2566
กองมรดกยังไม่ได้มีการแบ่งให้กับทายาท
ผู้จัดการมรดกยังคงต้องยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาในนามกองมรดกให้กับกรมสรรพากรภายในปี
2567 และต้องยื่นต่อไปทุก ๆ ปี
จนกว่าการโอนทรัพย์สินในกองมรดกให้ทายาทได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์
2. ภาษีของทรัพย์สินในกองมรดกเอง
ภาษีที่เกิดขึ้นย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สินในกองมรดกด้วย
โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทที่ดินและอาคารต่าง ๆ
การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax)
ของโฉนดแต่ละฉบับนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
เนื่องจากการไม่ชำระภาษีในระยะเวลาที่กำหนด จะทำให้เกิดยอดค้างการชำระภาษี
มีค่าปรับและค่าเงินเพิ่มในแต่ละเดือน
หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นอาจถูกยึดได้
ทำให้กองมรดกมีมูลค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด
และสุดท้ายทรัพย์สมบัติอาจตกเป็นของแผ่นดินได้
แทนที่ทายาทจะได้รับอย่างที่เจ้ามรดกตั้งใจมอบให้
3. ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax)
ซึ่งเป็นภาระของทายาทผู้รับมรดกในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับเกิน 100
ล้านบาท ในอัตรา 5% หรือ 10% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของทายาท
โดยทายาทที่เป็นบุพการีและผู้สืบสันดานจะเสียภาษีในอัตรา 5%
ส่วนทายาทที่มิใช่บุพการีและผู้สืบสันดาน จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10%
ซึ่งการรับทรัพย์สินมรดกในกรณีนี้ ผู้รับมรดกจะต้องยื่นภาษีที่ถูกต้องภายใน
150 วัน นับตั้งแต่ได้รับมรดก ถึงแม้ว่าภาษีส่วนนี้เป็นของผู้รับมรดก
มิใช่เป็นของเจ้าทรัพย์ผู้เสียชีวิต
แต่ถ้าผู้รับมรดกไม่สามารถชำระภาษีส่วนนี้
อาจทำให้ผู้รับมรดกมีหนี้สินจากกองมรดกและอาจได้รับโทษทั้งทางแพ่งและอาญาได้
การส่งต่อทรัพย์สินจะยังคงไม่สมบูรณ์
และหากกองมรดกยังคงมีทรัพย์สินค้างอยู่ก็ย่อมจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้น
ซึ่งจะเป็นเหตุให้มูลค่าของทรัพย์สินในกองมรดกลดลงในอนาคตอีกด้วย
จะเห็นได้ว่ากองมรดกที่มีมูลค่าไม่ว่ามากหรือน้อยนั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายและมีภาษีหลายประเภทที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น การวางแผนการจัดการมรดกที่ดี
จึงจำเป็นต้องมีการทำพินัยกรรมที่จัดการทุกอย่างอย่างรอบคอบ
2. ภาษีของทรัพย์สินในกองมรดกเอง
ภาษีที่เกิดขึ้นย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สินในกองมรดกด้วย
โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทที่ดินและอาคารต่าง ๆ
การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax)
ของโฉนดแต่ละฉบับนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
เนื่องจากการไม่ชำระภาษีในระยะเวลาที่กำหนด จะทำให้เกิดยอดค้างการชำระภาษี
มีค่าปรับและค่าเงินเพิ่มในแต่ละเดือน
หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นอาจถูกยึดได้
ทำให้กองมรดกมีมูลค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด
และสุดท้ายทรัพย์สมบัติอาจตกเป็นของแผ่นดินได้
แทนที่ทายาทจะได้รับอย่างที่เจ้ามรดกตั้งใจมอบให้
3. ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax)
ซึ่งเป็นภาระของทายาทผู้รับมรดกในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับเกิน 100
ล้านบาท ในอัตรา 5% หรือ 10% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของทายาท
โดยทายาทที่เป็นบุพการีและผู้สืบสันดานจะเสียภาษีในอัตรา 5%
ส่วนทายาทที่มิใช่บุพการีและผู้สืบสันดาน จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10%
ซึ่งการรับทรัพย์สินมรดกในกรณีนี้ ผู้รับมรดกจะต้องยื่นภาษีที่ถูกต้องภายใน
150 วัน นับตั้งแต่ได้รับมรดก ถึงแม้ว่าภาษีส่วนนี้เป็นของผู้รับมรดก
มิใช่เป็นของเจ้าทรัพย์ผู้เสียชีวิต
แต่ถ้าผู้รับมรดกไม่สามารถชำระภาษีส่วนนี้
อาจทำให้ผู้รับมรดกมีหนี้สินจากกองมรดกและอาจได้รับโทษทั้งทางแพ่งและอาญาได้
การส่งต่อทรัพย์สินจะยังคงไม่สมบูรณ์
และหากกองมรดกยังคงมีทรัพย์สินค้างอยู่ก็ย่อมจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้น
ซึ่งจะเป็นเหตุให้มูลค่าของทรัพย์สินในกองมรดกลดลงในอนาคตอีกด้วย
จะเห็นได้ว่ากองมรดกที่มีมูลค่าไม่ว่ามากหรือน้อยนั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายและมีภาษีหลายประเภทที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น การวางแผนการจัดการมรดกที่ดี
จึงจำเป็นต้องมีการทำพินัยกรรมที่จัดการทุกอย่างอย่างรอบคอบ
18/04/2024
30/05/2024
29/04/2024
30/04/2024
26/06/2024