แม้ว่ากระแสการลงทุนในเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี่ดูเหมือนจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากจากการที่ตลาดเข้าสู่ภาวะขาลงแบบไม่รู้ตัว
แต่สำหรับประเทศที่มีฐานะยากจนแล้ว
เหรียญคริปโตมีความหมายต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก
ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น
เป็นเวลากว่าหลาย 10
ปีแล้วที่ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการกระจายรายได้มีช่องว่างเพิ่มมากขึ้นเรื่อย
ๆ
ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่มีความมั่งคั่งอย่างสหรัฐอเมริกาที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีรายได้เหลื่อมล้ำมากเมื่อเทียบกับคนรวยส่วนน้อย
ตัวอย่างเช่นในปี 2022 ข้อมูลจาก Statista ได้เปิดเผยว่า
ประชาชนอเมริกันที่รวยมั่งคั่งกว่า 10 %
มีการถือครองทรัพย์สินเทียบกับประชาชนส่วนใหญ่กว่า 70 %
กล่าวคือเมื่อเทียบกับประชาชนส่วนใหญ่กว่า 90 % แล้ว ประมาณ 30 %
มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
หรือหากหยิบยกกรณีตัวอย่างของประเทศแอฟริกาใต้นั้น ประชาชนที่รวย 10 %
มีความมั่งคั่งเท่ากับรายได้ของประชาชนกว่า 65 %

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่อาจเข้าถึงระบบการเงินการธนาคาร
โดยที่ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการปล่อยกู้ยืมให้ผู้มีฐานะทางสังคมได้ใช้เงินส่วนนี้ลงทุน
โดยการเข้ามามีอิทธิพลของตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่ถือเป็นการเข้ามาที่ท้าทายระบบการเงินการธนาคารที่มีอยู่แต่เดิม

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า
การเข้ามาของสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซี่ทำให้หลายคนมองว่า
พวกเขาสามารถใช้ช่องทางนี้ลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการเข้าถึงรายได้มากขึ้น
อีกทั้งยังเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนจากการเก็งกำไรสูงไม่แพ้หุ้นขนาดเล็กหรือตราสารประเภทฟิวเจอร์
หรือตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ต้องใช้เงินมัดจำในการซื้อขายสูง
ซึ่งจะเห็นได้จากในช่วงที่ตลาดคริปโตกำลังบูมใหม่ ๆ จู่ ๆ
ก็มีการเล่นข่าวเกี่ยวกับเศรษฐีหน้าใหม่ที่ทำเงินได้จากการลงทุนคริปโตในช่วงที่เหรียญบิทคอยน์เพิ่งเกิดใหม่ๆ
หลายประเทศเริ่มรับคริปโต
เช่นกันหลายประเทศที่กำลังพัฒนาเริ่มอาศัยการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยคริปโตมากขึ้น
ตัวอย่างเช่นประเทศเอลซัลวาดอร์ที่รัฐบาลได้เปิดกว้างเรื่องคริปโตอย่างเต็มที่
หรือแม้แต่ประเทศอย่างเฮติกับตองกาเองก็เริ่มมีการใช้เหรียญ USDC กับ
Tether เข้ามาประคับประคองให้ชีวิตของพวกเขาได้ลืมตาอ้าปากได้
อีกทั้งจะต้องไม่ลืมว่าการชำระเงินระหว่างประเทศด้วยคริปโตสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับระบบ
SWIFT
ที่อาจมีกระบวนการขั้นตอนในการตรวจสอบที่ซับซ้อนและใช้ระยะเวลานานกว่า