ข่าวการเงิน
คนไทยเครียดปัญหาการเงิน “หนี้ครัวเรือน” พุ่ง กลัวเกษียณไม่ได้ TFPA ชี้ต้องรีบ “รับมือ”
- คนไทยกำลังเจอปัญหาวิกฤติหนี้ เข้าคุกคาม โดย เกือบครึ่ง กังวลปัญหาด้านการเงิน จะทำให้เกษียณไม่ได้ โดยสาเหตุหลักมาจากหนี้ครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูง
วิโรจน์ ตั้งเจริญ CFP นายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย หรือ TFPA เปิดเผยว่า ปัญหาหนี้สินในสังคมไทยยังเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่กลายเป็นปัญหาหลัก ซึ่งจากการสำรวจของสมาคม พบว่า ประชาชนมีความเครียดในด้านปัญหาทางการเงินมากถึง 42%
“ปัญหาด้านการเงินเป็นสิ่งที่คนไทยเครียดมากที่สุด ซึ่งจากการสำรวจของสมาคม ในผู้ที่ร่วมงาน Set in the City กว่า 340 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 42% เครียดในปัญหาด้านการเงิน และต้องเร่งแก้ไข”
จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง พบว่า สาเหตุอันดับต้น ๆ ของความเครียดในด้านการเงินนั้น 56% เครียดจากการไม่มีเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ และ 46% เครียดในเรื่องค่าใช้จ่ายประจำวัน ส่งผลต่อความสุขในการดำเนินชีวิตที่ลดลง
ปัญหาความไม่เพียงพอของเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาหนี้ที่มีมากเกินไป สะท้อนจากตัวเลขของหนี้ครัวเรือนไทยที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐจะต้องเร่งแก้ไข ในมุมของสมาคมนักวางแผนทางการเงินได้ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการสร้างคลินิกแก้หนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสมาคมมองว่าการแก้ไขปัญหาหนี้สินนั้นควรได้รับคำปรึกษาจากนักวางแผนทางการเงินเพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพสูงสุด
อุตสาหกรรมนักวางแผนทางการเงินของไทย ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักวางแผนการเงินน้อยกว่าประเทศอื่นอย่างมากเมื่อเทียบกับเอเชีย โดยไทยมีประชากรประมาณ 70 ล้านคน มีนักวางแผนทางการเงินเพียง 593 คน ในขณะที่มาเลเซียมีประชากร 33.4 ล้านคน มีนักวางแผนทางการเงิน 2,509 คน ส่วนสิงคโปร์มีประชากรประมาณ 7 ล้านคน แต่มีนักวางแผนทางการเงิน 1,238 คน
เมื่อเทียบสัดส่วนกับประชากร ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนนักวางแผนทางการเงินน้อยสุดในเอเชีย นักวางแผนทางการเงินจะมีส่วนช่วยในการวางแผนด้านการเงิน ทั้งการจัดการหนี้สิน และการบริหารความมั่งคั่งในด้านการเงินให้กับผู้รับบริการ
สมาคมจะเร่งดำเนินการใน 2 ส่วน โดยในส่วนของการเพิ่มจำนวนนักวางแผนการเงินที่ได้รับ CFP จะต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมาไทยสามารถผลิตนักวางแผนทางการเงินอยู่ที่ระดับ 60-80 คนต่อปี เราต้องพัฒนาในส่วนนี้ โดยมีเป้าหมายว่า ภายใน 2 ปีข้างหน้าจะต้องมีจำนวนนักวางแผนการเงินที่ได้รับ CFP จำนวนทั้งสิ้น 800 คน และใน 4 ปีข้างหน้า ต้องมีจำนวนนักวางแผนทางการเงิน 1,000 คน
ส่วนในฝั่งของดีมานด์หรือความต้องการใช้นักวางแผนทางการเงิน จะต้องเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อปูทางการใช้บริการมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนมักจะมองว่าการเข้ารับบริการวางแผนทางการเงินนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งในส่วนนี้ ทางสมาคมจะต้องเร่งผลักดัน ทั้งการสร้างความรับรู้กับประชาชนในวงกว้างถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน และการเดินหน้า
X