Everyday knowledge for you
ประกันชีวิต
30/04/2024
กรุงเทพฯ, 3 พฤษภาคม 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย รับรางวัล “สยามรัฐออนไลน์ อวอร์ด ประจำปี 2566 (Siamrath Online Awards 2023)” โดยมี นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ เอไอเอ ประเทศไทย เป็นตัวแทนรับรางวัล โดยรางวัลสยามรัฐออนไลน์ อวอร์ด ประจำปี 2566 จัดขึ้น เพื่อมอบรางวัลอันทรงเกียรติให้กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงบุคคลในหลากหลายวงการ โดยในครั้งนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ได้รับในสาขา “รางวัลแบรนด์ธุรกิจประกันยอดนิยม (The Most Popular Life Insurance)” ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากประชาชนคนไทยทั่วประเทศ อีกทั้งยังเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านประกันชีวิตและสุขภาพอันดับ 1 ของประเทศไทย* ที่อยู่เคียงข้างคนไทยมาเป็นระยะเวลานานกว่า 85 ปี เพื่อส่งมอบความคุ้มครองและการบริการ รวมถึงการให้คำปรึกษา และมอบประสบการณ์การดูแลที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้าทั่วประเทศ พร้อมช่วยสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ซึ่งพิธีมอบรางวัลดังกล่าวจัดขึ้น ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค แกรนด์ ฮอลล์ กรุงเทพ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 ที่ผ่านมาหมายเหตุ: *ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย ณ วันที่ 5 เมษายน 2566
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
กรุงเทพฯ, 2 พฤษภาคม 2566 – เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำด้านประกันชีวิต สุขภาพ และยูนิต ลิงค์ เดินหน้าส่งมอบความคุ้มครองที่ครอบคลุมความต้องการของคนไทย ด้วยการผนึก 2 ผลิตภัณฑ์เรือธง “AIA Vitality” และ “AIA Unit Linked” เข้าไว้ด้วยกัน กับการเปิดตัวครั้งแรกของ “AIA Vitality Unit Linked” ที่ให้ลูกค้าได้เลือกรับความคุ้มครองครบทั้งสุขภาพและโรคร้ายแรง ร่วมกับการมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน พร้อมยังได้รับเงินคืนค่าการประกันภัยตลอดอายุกรมธรรม์ ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของวงการประกันชีวิตไทย ที่ลูกค้าเอไอเอ จะได้วางแผนการเงินพร้อมวางแผนสุขภาพแบบครบวงจร ตอกย้ำคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ที่มุ่งสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น – Healthier, Longer, Better Lives ซึ่งงานเปิดตัว “AIA Vitality Unit Linked” เอไอเอ ประเทศไทย ได้จัดขึ้นกับตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินกว่า 500 ท่าน โดยมีผู้บริหารเอไอเอเข้าร่วม นำโดย นายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ นางชุลีพร ยูปานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเอไอเอ ไวทัลลิตี้ และนายพีร พนิตพล ผู้อำนวยการฝ่ายยูนิต ลิงค์ ร่วมด้วยแขกคนพิเศษ หมาก ปริญ สุภารัตน์ เอไอเอ ไวทัลลิตี้ แอมบาสเดอร์ พร้อมที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการเงินมืออาชีพ พญ.หฤทัย ไกรวพันธ์ และนายสุรเชษฐ์ ชลตระกูล ร่วมพูดคุยบนเวที พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวางแผนสุขภาพและการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมานายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “เอไอเอ ประเทศไทย เข้าใจความต้องการของลูกค้าที่ปัจจุบันมีความกังวลถึงการวางแผนทางการเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณ ขณะเดียวกันก็มีความตื่นตัวในเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุชัดเจนว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา และด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งย่อมตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น เอไอเอ ประเทศไทย ในฐานะผู้นำด้านการประกันชีวิตและสุขภาพ เราต้องการเห็นคนไทยมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนการเงินที่รอบคอบ ควบคู่กับการวางแผนสุขภาพที่ควรเริ่มตั้งแต่ตอนยังมีสุขภาพดี เพราะหากเรามีสถานะการเงินที่มั่นคงแต่มีสุขภาพที่อ่อนแอ หรือมีสุขภาพแข็งแรงแต่ขาดการวางแผนทางการเงินที่ดี ย่อมไม่ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวอย่างแน่นอน จึงเป็นที่มาของการนำ 2 ผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งอย่าง เอไอเอ ไวทัลลิตี้ และ เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ มาผสานเข้าด้วยกัน ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ล่าสุด “AIA Vitality Unit Linked” เพื่อมอบการดูแลทั้งในด้านความคุ้มครองชีวิตและการเงินผ่านแบบประกันเอไอเอ อิสระ พลัส (ยูนิต ลิงค์) ที่มีความยืดหยุ่นสูงและเหมาะสำหรับใช้วางแผนสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ตลอดจนการดูแลด้านสุขภาพผ่านโครงการ เอไอเอ ไวทัลลิตี้ ซึ่งเป็นโครงการสุขภาพที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทยกว่า 500,000 ราย[1] ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกจับคู่แบบประกันเอไอเอ อิสระ พลัส (ยูนิต ลิงค์) กับสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง หรือสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ เพื่อได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น และมีสิทธิเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการเอไอเอ ไวทัลลิตี้ ได้ทันที เพื่อให้การมีสุขภาพดีเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น พร้อมรับสิทธิประโยชน์มากมายจากพันธมิตรของเรา[2] อีกทั้งยังมีโอกาสได้รับเงินคืนค่าการประกันภัยตลอดทั้งโครงการ[3] เพื่อเป็นเงินออมไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ เรียกว่า “AIA Vitality Unit Linked” ตอบโจทย์ลูกค้าทุกเพศ ทุกวัย ได้ครบทุกมิติ และที่สำคัญยังมีส่วนช่วยสนับสนุนให้คนไทยมีการวางแผนชีวิต การเงิน และสุขภาพ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ตามพันธกิจของเอไอเอ”“AIA Vitality Unit Linked” เป็นผลิตภัณฑ์ที่มอบความคุ้มครองที่ครอบคลุม ส่งเสริมให้ลูกค้ามีสุขภาพดี และมีเงินคืนค่าการประกันภัย สูงสุด 25%[3] โดยเลือกซื้อแบบประกันเพื่อรับความคุ้มครองดังนี้ • เอไอเอ อิสระ พลัส (ยูนิต ลิงค์) ซึ่งลูกค้าจะได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่า มีโอกาสวางแผนการเงินและลงทุนในกองทุนรวมที่คัดสรรและบริหารโดยผู้เชี่ยวชาญ จาก บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) และพันธมิตรด้านการลงทุนระดับโลก อีกทั้งยังได้รับบริการพิเศษ AIA InvestPro ที่จะช่วยดูแลปรับพอร์ตการลงทุนให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น • สัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง ลูกค้าสามารถเลือกแนบสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง ได้ทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ 1) AIA Health Cancer-UDR 2) AIA CI Plus-UDR 3) AIA CI Care-UDR 4) AIA Multi-Pay CI-UDR • สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ลูกค้าสามารถเลือกแนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ได้ทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ 1) AIA H&S Extra (new standard)-UDR 2) AIA HB Extra-UDR 3) AIA Health Happy-UDR 4) AIA Health Saver-UDR • เอไอเอ ไวทัลลิตี้ โครงการสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] เพื่อมุ่งสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ให้หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมสะสมคะแนนเอไอเอ ไวทัลลิตี้ เพื่อปรับสถานะให้สูงขึ้น และยังได้รับสิทธิประโยชน์หลากหลายจากพันธมิตรชั้นนำ อีกทั้งมีสิทธิรับเงินคืนค่าการประกันภัยตามสถานะเอไอเอ ไวทัลลิตี้[3] ตลอดทั้งโครงการลูกค้าที่สนใจ “AIA Vitality Unit Linked” สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://bit.ly/3oLih9aหรือ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ AIA Call Center โทร. 1581 หรือ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิตเอไอเอ ทั่วประเทศ หมายเหตุ: [1] ข้อมูลสมาชิกเอไอเอ ไวทัลลิตี้ ณ วันที่ 21 เมษายน 2566 [2] สิทธิประโยชน์ของสมาชิกเอไอเอ ไวทัลลิตี้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของเอไอเอ ซึ่งเอไอเอขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ โดยท่านสามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่แอปพลิเคชัน AIA+ หรือเว็บไซต์ https://www.aia.co.th/th/health-wellness/vitality/rewards [3] ตามเงื่อนไขการจ่ายเงินคืนค่าการประกันภัย ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ที่ระบุในสัญญา [4] เงินคืนค่าการประกันภัย ขึ้นอยู่กับสถานะเอไอเอ ไวทัลลิตี้ของลูกค้า เงื่อนไขเป็นไปตามที่เอไอเอกำหนด คำเตือน: • ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษารายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขในกรมธรรม์ • ข้อกำหนดและเงื่อนไขความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์ • การทำประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ ไม่ใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยง ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงศึกษา อ่าน และทำความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขายและหนังสือชี้ชวนของกองทุน ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยและลงทุน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
คนไทย ‘วัยเกษียณ’ อยู่ในภาวะเปราะบาง พบผู้สูงอายุเงินออมต่ำกว่า 50,000 บาท พุ่งกว่า 41.4% หนี้เสียขยายตัว มูลค่าเกือบ 8 หมื่นบาทต่อบัญชี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ผุดแคมเปญ “Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้” เจาะคนวัยแรงงานใกล้เกษียณอายุ 45-65 ปี ช่วยบริหารเงินรับมือเกษียณ ตั้งเป้าปีนี้มีผู้เข้าเรียนอย่างน้อย 3 พันราย วันที่ 25 เมษายน 2566 สังคมผู้สูงอายุคืออะไร? มาลองทวนความจำกันหน่อย โดยปัจจุบันระดับประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่า 10% ของประชากรทั้งประเทศ และระดับประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่า 7% ของประชากรทั้งประเทศ ถือเป็นสังคมสูงอายุ (Aged Society) ขณะที่ระดับประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และระดับประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ ถือเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) และหากระดับประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ และระดับประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ จะถือเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) (ที่มา: คำนิยามจากองค์การสหประชาชาติ) “เดี่ยวนี้ทาง UN หรือในยุโรปใช้เกณฑ์อายุ 65 ปี เป็นมาตรวัดใหม่แล้ว ซึ่งตอนนี้ทั้งในยุโรปและอเมริกาก็กำลังมีแนวคิดที่จะขยายอายุทำงานมากขึ้นอีกด้วย” คนทั้งโลกเกือบ 8 พันล้าน “ยังไม่แก่” โดยสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุทั้งโลก พบว่าในปี 2565 โลกของเรามีประชากร 7,942 ล้านคน และมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปแค่ 9.7% ของประชากรทั้งหมด ฉะนั้นถือว่าคนทั้งโลกโดยรวม “ยังไม่แก่” โดยคาดว่าในปี 2593 จะเพิ่มขึ้นเป็น 16.4% (ที่มา : World Population Prospects 2022) ซึ่งตามคำนิยาม UN ถือว่าเป็นการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) ทั้งนี้พบว่าบางกลุ่มประเทศในปัจจุบันถือว่าเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) และสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) แล้วด้วยซ้ำ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกาเหนือ โดย 5 ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป สูงสุดในโลกคือ 1.ญี่ปุ่น 29.8% 2.อิตาลี 23.7% 3.ฟินแลนด์ 22.9% 4.โปรตุเกส 22.6% และ 5.กรีซ 22.5% (ที่มา : ข้อมูลปี 2021, World Social Report 2023) เพราะฉะนั้นจะเห็นประเทศเหล่านี้ ภาพเศรษฐกิจโดยรวม คนมีอายุเยอะ คนทำงานน้อยลง ตัวเลข GDP ชะลอลง จากรายได้ภาษีคนทำงานที่น้อยลง แต่มีภาระด้านการคลังจากการดูแลผู้สูงอายุที่ทยอยขึ้น ไทย : คนสูงอายุเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน มาดูกันที่ประเทศไทย จากข้อมูลสิ้นปี 2565 พบว่าประชากรไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนแล้วกว่า 19.2% หรือจำนวน 12.69 ล้านคน แยกเป็นช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 7.12 ล้านคน, ช่วงอายุ 70-79 ปี จำนวน 3.74 ล้านคน, ช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1.83 ล้านคน โดยตอนนี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) หรือมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 20% ของประชากรทั้งหมดภายในปี 2566 และอีกไม่ถึง 20 ปีหรือในปี 2583 สังคมไทยจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) มีจำนวนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ มากกว่า 20.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 31.4% ของประชากรทั้งประเทศ (ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูลสิ้นปี 2565) “ความจริงที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรคือ จำนวนเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีต่ำลง (คนมีลูกช้า, มีลูกน้อย หรือไม่มีลูกเลย) ขณะที่ประชากรวัยแรงงานลดลง แต่ประชากรสูงวัยมากขึ้น โดยอายุผู้ชายจะเฉลี่ย 77.5 ปี ผู้หญิงอายุเฉลี่ย 83 ปี” .คนไทยเป็นหนี้เร็ว-หนี้นาน-เป็นหนี้จนแก่ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้การออมเพื่อวัยเกษียณ หรือการบริหารจัดการเงินหลังเกษียณไปแล้วจะมีความสำคัญอย่างมาก โดยปัจจุบันคนไทยถือว่าเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้จนแก่ โดยสัดส่วนประมาณ 60% ของคนอายุน้อยเป็นหนี้ และ 20% ของคนหลังเกษียณยังเป็นหนี้ มีหนี้สูงและหนี้นาน โดยมีค่ากลางของมูลหนี้ประมาณ 128,384 บาทต่อราย (ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ก.ค. 2563) ที่สำคัญ 1 ใน 4 ของผู้กู้อายุน้อยมีหนี้เสีย ซึ่งน่าเป็นห่วงมากเพราะจะกระทบกับทั้งชีวิตและการทำงาน และกลุ่มลูกหนี้สูงอายุมีมูลค่าหนี้เสียขยายตัวค่อนข้างสูง และมีหนี้เสียสูงถึง 77,942 บาทต่อบัญชี (ที่มา : ภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/2565, ข้อมูลเครดิตบูโรไตรมาส 3/2565) ผู้สูงอายุกว่า 41.4% มีเงินออมต่ำกว่า 5 หมื่นบาท ขณะที่สถานะการออมเงินของผู้สูงอายุ พบว่ากว่า 54.3% มีเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ แต่มูลค่าการออมของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ว่า 41.4% ต่ำกว่า 50,000 บาท เพราะฉะนั้นอาจมีเงินไม่พอดำรงชีพหลังเกษียณ ขณะที่มีเงิน 50,000-99,999 บาท มีสัดส่วน 21.7% มีเงิน 100,000-399,999 บาท มีสัดส่วน 25% และมีเงิน 400,000 บาท มีสัดส่วน 11.9% โดยปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังพึ่งพารายได้หลักจากการทำงาน สัดส่วน 32.4% และจากลูก 32.2% ส่วนจากเบี้ยยังชีพ 19.2% บำเหน็จ/บำนาญ 7.5% คู่สมรส 4.5% มีผู้สูงอายุเพียง 1.5% เท่านั้น ที่มีรายได้หลักมาจากเงินออม/ดอกเบี้ย (ที่มา : รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ) นอกจากนี้กลุ่มผู้สูงอายุมีระดับทักษะทางการเงินน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคนวัยอื่น โดยวัยเกษียณกว่า 55.3% ยังอ่อนด้านความรู้ทางการเงินที่สุดผุดแคมเปญ “Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้” ดร.ศรพลกล่าวต่อว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯเล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโครงสร้างประชากรไทย และช่องว่างด้านทักษะและความรู้ทางการเงินที่ต้องส่งเสริมและปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างเร่งด่วน จึงได้เปิดตัวแคมเปญ “Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยโดยเฉพาะวัยแรงงานที่ใกล้เกษียณ อายุ 45-65 ปี ให้มีความรู้พื้นฐานด้านการบริหารเงินสำหรับเกษียณ “เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของประเทศอย่างมาก และตลาดหลักทรัพย์ฯบรรจุไว้ในแผนไว้แล้ว โดยจะมุ่งเน้นในการพัฒนาความรู้ให้กับกลุ่มวัยแรงงานที่ใกล้เกษียณให้สามารถเกษียณสุขได้” นางสาวพรรณวดี ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลท. กล่าวอีกว่า จริง ๆ มีกลยุทธ์บริหารเงินสำหรับวัยเกษียณเข้าใจง่ายผ่าน The 3 Buckets Strategy คือ 1.ถังเงินสำรอง (Cash Buckets) ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนตลาดเงินหรือเงินฝาก 2.ถังเติมเงิน (Conservative Buckets) ลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้กระแสเงินสดสม่ำเสมอ เช่น หุ้นกู้, รีท หรือประกันบำนาญ 3.ถังรักษาคุณภาพชีวิต (Aggressive Buckets) ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว เช่น หุ้น, กองทุนรวมหุ้นที่มีโอกาสเติบโตได้ดีในระยะ 10 ปีขึ้นไป โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการพัฒนาเนื้อหาและเครื่องมือที่เน้นการจัดสรรเงินออมก้อนสุดท้ายให้เหมาะสมและเพียงพอใช้สำหรับเลี้ยงดูตนเองไปตลอดชีวิต เพื่อนำไปสู่การมีชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข ดึงคนอายุ 45-65 ปี เข้ามาเรียนปีนี้ 3,000 ราย แคมเปญ “Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้” จะเผยแพร่ความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเกษียณ ประกอบด้วย SET e-Learning ใหม่ล่าสุด 2 หลักสูตร (รวม 2 ชั่วโมง) ได้แก่ หลักสูตร “วัย 50+ : เตรียมชีวิตมั่งคั่ง รับวันเกษียณ” และหลักสูตร “วัย 60+ : บริหารเงินหลังเกษียณสไตล์วัยเก๋า” พร้อมต่อยอดการเรียนรู้ด้วยการฝึกวางแผนการเงินจริงผ่าน Workshop หลักสูตรบริหารเงินหลังเกษียณ (6 ชั่วโมง) และ Group Mentor แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนการเงิน โดยมุ่งหวังว่าแคมเปญนี้จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องการเตรียมความพร้อมด้านการเงินสำหรับอนาคต ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีความมั่นคงทางการเงิน และพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตวัยเกษียณในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาระบบ SET e-Learning มีคนเข้ามาเรียนแล้วกว่า 3 ล้านราย ก็คาดหวังว่าปีนี้น่าจะมีกลุ่มเป้าหมายคนอายุ 45-65 ปี เข้ามาเรียนอย่างน้อย 3,000 ราย จากปัจจุบันยังไม่ลอนช์แคมเปญแต่มีคนสนใจแล้วกว่า 400 ราย ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจวางแผนการเงินและผู้ใกล้เกษียณ สามารถเข้าเรียน SET e-Learning ฟรี มีวุฒิบัตร สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.set.or.th/elearning และแอปพลิเคชั่น “SET App” แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์http://https//www.prachachat.net/finance/news-1272590
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย "ธีรวัตร์ นรอิงคสิทธิ์" ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย “เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป” สัจธรรมข้อนี้ สามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต รวมไปถึงในเรื่องของวัฏจักรของการลงทุน ซึ่งการเลือกประเภทการลงทุนให้เหมาะสมตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ก็จะทำให้นักลงทุนค้นพบช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท และสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดในการจัดสรรสินทรัพย์เพื่อการลงทุนได้ ทฤษฎีที่จะกล่าวถึงนี้เรียกว่า The Six Stages of Business Cycle ของคุณ Martin J. Pring ซึ่งทฤษฎีนี้ได้มีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาสู่การเป็นตัวชี้วัดทางการเงินและเศรษฐกิจ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเลือกสินทรัพย์ในการลงทุน โดยแบ่งสินทรัพย์เพื่อการลงทุนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพันธบัตร กลุ่มหลักทรัพย์ และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ตาม 6 วัฎจักรเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสุด ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรื่อง และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งภาพรวมของแต่ละลักษณะเศรษฐกิจในแต่ละช่วง และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาจะถูกอธิบายในลำดับถัดไป ระยะที่ 1 ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดอกเบี้ยสูง ควรลงทุนตราสารหนี้ ในสภาวะนี้ เศรษฐกิจจะมีการเติบโตที่ลดลง การค้าเริ่มซบเซา ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มลดกำลังในการผลิต และลดต้นทุนต่าง ๆ การว่างงานสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ประชาชนมีอำนาจในการซื้อลดลง เป็นช่วงเวลาที่ควรลงทุนในพันธบัตร เพราะมูลค่าตราสารหนี้จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย โดยที่เมื่ออัตราดอกเบี้ยขึ้น ราคาพันธบัตรจะลดลง ประกอบกับการที่มีรัฐบาลค้ำประกัน จึงมีความปลอดภัยมาก เหมาะกับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอย แต่หากนักลงทุนต้องการจะลงทุนในหลักทรัพย์ก็ควรลงทุนในกลุ่มสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ระยะที่ 2 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสุด จังหวะลงทุนหุ้น สภาวะนี้เปรียบเสมือนมีเมฆดำปกคลุม มองไปทางไหนก็ไม่เห็นโอกาส ไม่มีสภาพคล่องในการค้าขาย และบางธุรกิจอาจเกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อกเป็นจำนวนมาก การว่างงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และประชาชนไม่มีกำลังซื้อเพราะรายได้ลดลง ซึ่งในช่วงเวลานี้ควรลงทุนในหุ้น เน้นลงทุนในกลุ่มชี้นำการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หรือกลุ่มสินค้าบริโภค เพราะจะซื้อได้ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และสัญญาณที่จะทำให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะนี้ก็คือ อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงอย่างต่อเนื่องและราคาพันธบัตรยังคงสูงขึ้น ระยะที่ 3 ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น ในสภาวะนี้เศรษฐกิจโดยทั่วไปเริ่มดีขึ้น ราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ธุรกิจเริ่มกลับมามีกำไร ธนาคารและสถาบันทางการเงินเริ่มกลับมาปล่อยสินเชื่อ เพื่อกระตุ้นการผลิตและการลงทุนของผู้ประกอบการ ในจังหวะนี้สามารถเริ่มเข้าไปลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ได้ เพราะสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยในการผลิต ดังนั้น หากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความต้องการของสินค้ากลุ่มนี้จะมากขึ้น และราคาจะปรับตัวสูงขึ้นตามลำดับ และหากประสงค์จะลงทุนในหลักทรัพย์ ควรเลือกหุ้นที่มีฟื้นฐานดี หรือกลุ่มวัฏจักร ระยะที่ 4 ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว ขายพันธบัตร และลงทุนหุ้น บรรยากาศโดยรวมในสภาวะนี้ถือว่าดี ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการลงทุน รวมไปถึงผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้การลงทุนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นมาก ประชาชนมีสภาพคล่องในการซื้อสินค้าและบริการ ทำให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตในอัตราสูง เป็นช่วงเวลาเหมาะสมในการขายพันธบัตร เพราะดอกเบี้ยจะเริ่มเป็นขาขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงในระบบเศรษฐกิจลง ซึ่งจะทำให้ราคาพันธบัตรปรับตัวลดลง แต่ราคาหลักทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถเลือกลงทุนได้ทุกกลุ่มหลักทรัพย์ ระยะที่ 5 ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง ทยอยขายหุ้น ในจุดที่ผู้บริโภคมีอำนาจซื้อสูง และเป็นช่วงที่มีการจ้างงานอย่างเต็มที่ แรงงานก็สามารถที่จะเลือกงานและเรียกร้องค่าจ้างได้อย่างที่ต้องการ มีสภาพคล่องในการค้าขาย การจับจ่ายสินค้าบริโภค อุปโภค และการท่องเที่ยวสูงสุด ทำให้สินค้าและบริการมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจนอาจจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อ ประกอบกับผู้บริโภคไม่ได้จับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นเท่าเดิม เนื่องจากเริ่มนำเงินไปออมมากขึ้น ทำให้กำไรของบริษัทเริ่มลดลง ในช่วงนี้จะเป็นช่วงจุดสูงสุดของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเมื่อพ้นตรงนี้ไปแล้วก็จะทำให้มีการปรับราคาลง ทำให้เป็นจังหวะที่ดีที่จะเริ่มทยอยขายหุ้นที่สะสมไว้ ระยะที่ 6 ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ถือเงินสด เป็นหลัก ในภาวะเศรษฐกิจนี้จะมีอัตราเงินเฟ้อที่สูง จากการลงทุนและการบริโภคเกินกำลังการผลิตของประเทศ อัตรา GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก ผู้ประกอบการลดความเชื่อมั่นใจการลงทุน ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้นจากการแข่งขันที่สูงขึ้น สิ่งที่ตามมาอาจเกิดการลดกำลังการผลิตและอัตราจ้างงาน ก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว จะเห็นได้ว่าภาวะนี้จะตรงกันข้ามกับระยะที่ 3 ซึ่งจะส่งผลให้สินทรัพย์การลงทุนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธบัตร กลุ่มหุ้น และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาตกลงอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงเวลานี้จึงแนะนำให้ถือเงินสดเป็นหลัก หลังจากจบระยะที่ 6 แล้วก็จะเข้าสู่สภาวะวิกฤต หลังจากนั้นก็จะเป็นการกลับไปเริ่มต้นที่ระยะที่ 1 ใหม่ วนเวียนอย่างนี้เรื่อยไป ซึ่งหากนักลงทุนเข้าใจว่าในหนึ่งรอบวัฏจักรจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง อะไรเป็นจุดที่จะบ่งบอกว่าตอนนี้ประเทศอยู่ในสภาวะใด ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในขณะนั้น เช่น ถ้าตอนนี้นักลงทุนมองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่งชี้ไปว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว ก็จะเริ่มย้ายสินทรัพย์จากสินทรัพย์เสี่ยงไปถือเงินสด หรือถ้าเป็นการลงทุนในกองทุนรวมก็สามารถที่จะสับไปยังกองทุนตลาดเงินที่ลงทุนในเงินสดได้นั่นเอง นอกจากการจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจแล้ว นักลงทุนก็ควรเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับเรื่องอื่นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการมีเงินสำรองฉุกเฉินไม่น้อยกว่า 12 เดือน การมีรายได้หลายช่องทางและสม่ำเสมอ การให้ความสำคัญกับการออมเงิน การมีประกันสุขภาพ ซึ่งหากจัดการวางแผนการเงินได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในสภาวะใด นักลงทุนก็สามารถลงทุนได้อย่างมีความสุข แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1269400
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
ฮ่องกง, 27 เมษายน 2566 – กลุ่มบริษัทเอไอเอ (“เอไอเอ” หรือ “บริษัท” รหัสหลักทรัพย์: 1299) ประกาศผลประกอบการมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) เติบโตขึ้นร้อยละ 28 คิดบนอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (CER) สำหรับไตรมาสที่ 1 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 สรุปสาระสำคัญทางการเงิน อัตราการเติบโตรายงานจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่: • มูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) เติบโตร้อยละ 28 อยู่ที่ 1,046 ล้านเหรียญสหรัฐ • มูลค่าธุรกิจใหม่เติบโตขึ้นในทุกส่วนที่รายงาน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน • เอไอเอ ประเทศจีน มูลค่าธุรกิจใหม่กลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เติบโตขึ้นเป็นตัวเลขสองหลัก • เอไอเอ ฮ่องกง ส่งมอบมูลค่าธุรกิจใหม่อันยอดเยี่ยมเป็นตัวเลขสองหลัก • การเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ในกลุ่มอาเซียนเติบโตขึ้นเป็นตัวเลขสองหลัก รวมถึงมูลค่าธุรกิจใหม่ในอินเดียที่เติบโตเป็นเลิศ • เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (ANP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 อยู่ที่ 1,998 ล้านเหรียญสหรัฐนายหลี่ หยวน ชยอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทเอไอเอ กล่าวว่า: “เอไอเอ ส่งมอบผลประกอบการอันยอดเยี่ยมด้วยการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ (VONB) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 คิดเป็นมูลค่ามากกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เรามองเห็นการกลับมาเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งกลุ่มบริษัทเอไอเอ ในขณะที่เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์โรคระบาด และเราอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในด้านการประกันชีวิตและสุขภาพ และผมยินดีเป็นอย่างมากที่เอไอเอ ประเทศจีน ได้รับการอนุมัติตามกฎหมายให้เริ่มดำเนินธุรกิจในเมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ได้แล้ว “ความแข็งแกร่งทางการเงินของเอไอเอ และรูปแบบการขายที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น รวมถึงทีมผู้บริหารที่มากประสบการณ์ ถือเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความแตกต่างที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จในตลาดการเงินที่ผันผวน และสามารถทำกำไรได้ในโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ อย่างยั่งยืน “เอไอเอดำเนินธุรกิจในภูมิภาคที่น่าสนใจที่สุดในโลกด้านประกันชีวิตและสุขภาพ โดยได้รับแรงหนุนจากความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ผมมั่นใจว่าการมุ่งยึดปฏิบัติตามกลยุทธ์และข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญของเรา จะยังคงส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนในระยะยาวให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของเรา” สรุปไตรมาสที่ 1 เอไอเอ มีการเติบโตต่อเนื่องปีต่อปี ซึ่งผลประกอบการรวมมาจากรายงานของทุกภาคส่วน โดยมูลค่าธุรกิจใหม่เติบโตรวมทั้งสิ้น ร้อยละ 28 เป็น 1,046 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เราเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักสำหรับมูลค่าธุรกิจใหม่นี้ มาจากการดำเนินงานในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง กลุ่มประเทศอาเซียน และอินเดีย ผลประกอบการในภาพกว้างของเรามาจากมูลค่าธุรกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างยอดเยี่ยม ซึ่งมาจากทั้งช่องทางตัวแทนและพันธมิตร ด้วยผลงานที่ตัวแทนทำได้เพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขสองหลัก ประกอบกับตัวแทนใหม่ของเรามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เอไอเอ ประเทศจีน ยังคงสร้างมูลค่าธุรกิจใหม่ให้กับกลุ่มบริษัทเอไอเอได้มากที่สุด และสร้างการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ซึ่งจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดที่ทำให้การดำเนินชีวิตของคนในประเทศจีนกลับมาเป็นปกติ ส่งผลให้เราสามารถเพิ่มยอดขายได้ตลอดในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2566 รวมทั้งได้การสนับสนุนจากการลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล และการวิเคราะห์ รวมไปถึงโครงการพรีเมียร์ เอเจนซี่ ของเราที่มีความแตกต่าง สามารถสร้างผลงานได้เพิ่มมากขึ้นเป็นตัวเลขสองหลักในไตรมาสนี้ เรายังคงเดินหน้าสร้างการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ได้อย่างดีเยี่ยมในการดำเนินงานรูปแบบใหม่ และกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการรับสมัครตัวแทนใหม่ในวงกว้างทั่วทุกภูมิภาค ทำให้เรามีโอกาสเติบโตที่ไม่เหมือนตลาดอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เรายังมีมูลธุรกิจใหม่ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2565 เอไอเอ ประเทศจีน ยังเพิ่งได้รับการอนุมัติตามกฎหมายให้เริ่มดำเนินการในมณฑลเหอหนาน เอไอเอ ฮ่องกง มีการเติบโตของมูลค่าธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างยอดเยี่ยมสำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 โดยเติบโตขึ้นเป็นตัวเลขสองหลักจากกลุ่มลูกค้าภายในประเทศ และความต้องการอย่างมากในผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์ระยะยาว รวมถึงนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่กลับมาเดินทางท่องเที่ยวแบบเต็มรูปแบบในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รูปแบบการขายที่หลากหลายของเราและผลิตภัณฑ์สำหรับการออมระยะยาวที่มีหลากหลาย รวมถึงโซลูชันด้านความคุ้มครอง ทำให้เอไอเออยู่ในตำแหน่งที่สามารถสร้างความต้องการของลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น เรายังคงเติบโตจากทั้งตัวแทนที่เป็นผู้นำตลาด และพันธมิตรคุณภาพสูงของเราในไตรมาส 1 ของปี 2566 เอไอเอ ประเทศไทย สร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2565 และสร้างมูลค่าธุรกิจใหม่ให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งเป็นตัวเลขสองหลักในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยการจัดผลิตภัณฑ์แบบผสมผสาน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ธุรกิจของเราในสิงคโปร์และมาเลเซีย รายงานการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่เป็นตัวเลขสองหลักเช่นกัน โดยมาจากการเติบโตจากทั้งช่องทางตัวแทนและพันธมิตร มูลค่าธุรกิจใหม่ในตลาดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยผลประกอบการที่แข็งแกร่งจากธุรกิจของเราในอินเดีย อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ และฟิลิปปินส์ ทาทา เอไอเอ ประกันชีวิต (ทาทา เอไอเอ ไลฟ์) สร้างการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่ได้อย่างดีเยี่ยมและต่อเนื่อง จากทั้งช่องทางตัวแทนและพันธมิตร อีกทั้งยังขึ้นเป็นบริษัทประกันชีวิตเอกชนที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของอินเดีย กลุ่มบริษัทเอไอเอได้มีการลงทุนในบริษัทบริษัท ไชน่า โพสต์ ประกันชีวิต (ไชน่า โพสต์ ไลฟ์) บริษัทประกันชีวิตชั้นนำในเครือธนาคารของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นการช่วยให้เข้าถึงมูลค่าธุรกิจที่สำคัญจากช่องทางการขายเพิ่มเติมและกลุ่มลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนเสริมอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์ของเอไอเอ ประเทศจีน มูลค่าธุรกิจใหม่ที่สร้างได้ตลอดทั้งปี 2565 ที่ผ่านมาสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และไชน่า โพสต์ ไลฟ์ ยังมีการเติบโตของมูลค่าธุรกิจใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยอดเยี่ยมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ซึ่งมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่จ่ายเบี้ยประกันภัยระยะยาว อย่างไรก็ตาม รายงานของกลุ่มบริษัทเอไอเอ สำหรับมูลค่าธุรกิจใหม่ เบี้ยประกันภัยรับปีแรก และเบี้ยประกันภัยรับรวม ไม่ได้รวมมูลค่าที่ทำได้จากไชน่า โพสต์ ไลฟ์ โดยภาพรวม เบี้ยประกันภัยรับปีแรกสำหรับกลุ่มบริษัทเอไอเอเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เป็น 1,998 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตรากำไรจากมูลค่าธุรกิจใหม่ลดลง 2.3 จุด เป็นร้อยละ 52.3 มาจากการปรับเปลี่ยนการผสมผสานผลิตภัณฑ์เพื่อการออมระยะยาวในจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง อีกทั้งบางส่วนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสมมติฐานทางเศรษฐกิจและค่าใช้จ่ายในการซื้อกิจการที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2565 สมมติฐานผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าธุรกิจใหม่ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากที่แสดงในรายงานประจำปี 2565 ของเรา อัตรากำไรขั้นต้นที่รายงานตามมูลค่าปัจจุบันของเบี้ยประกันธุรกิจใหม่ (PVNBP) ยังคงทรงตัวที่ร้อยละ 10 ในขณะที่เบี้ยประกันภัยรับรวม (TWPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เป็น 10,236 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2565 สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นของเอไอเอเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญและความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมาก ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการจัดการพอร์ตโฟลิโอที่แข็งแกร่งของเรา และแนวทางการลงทุนที่ขับเคลื่อนด้วยความรับผิดชอบ ในไตรมาสแรกของปี 2566 อัตราความคงอยู่ของพอร์ตโฟลิโอของกลุ่มบริษัทเอไอเอยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 95 ภาพรวม การคาดการณ์ระยะยาวของธุรกิจเอไอเอทำให้เรามีข้อได้เปรียบอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมาก ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และการเติบโตทางโครงสร้างที่แข็งแกร่งเป็นแรงกระตุ้นของธุรกิจประกันชีวิตและสุขภาพในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น การเข้าถึงของบริษัทประกันของเอกชนที่ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ และสวัสดิการภาครัฐที่ให้ความคุ้มครองที่จำกัด ทำให้ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของเอไอเอเป็นที่ต้องการไปทั่วทุกตลาดที่เราดำเนินการอยู่ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเอเชียยังคงแข็งแกร่งโดยคาดว่าจะได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่หลังการยกเลิกข้อจำกัดที่เกี่ยวกับโรคระบาด เรามั่นใจว่าการดำเนินการตามลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เอไอเอสามารถคว้าโอกาสระยะยาวมหาศาลในตลาดประกันชีวิตและสุขภาพในเอเชีย และสามารถส่งมอบมูลค่าที่ยั่งยืนในระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้นของเราต่อไป ความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยน เอไอเอได้รับเบี้ยประกันภัยส่วนใหญ่เป็นเงินสกุลท้องถิ่น ซึ่งทำให้สินทรัพย์และหนี้สินของเรามีมูลค่าใกล้เคียงกัน ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ในรายงานงบการเงินรวมของกลุ่มที่มีการแปลเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐ ทำให้เกิดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น เราจึงมีการเปรียบเทียบอัตราการเติบโตจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ เว้นแต่ระบุเป็นอย่างอื่น เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนของผลการดำเนินธุรกิจ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
กรุงเทพฯ, 24 เมษายน 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย จัดงาน AIA Annual Agency Awards Presentation 2022 เพื่อมอบรางวัลเกียรติยศให้แก่ตัวแทนยอดเยี่ยมของเอไอเอ ประเทศไทย ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้บริหารหน่วยและตัวแทนประกันชีวิตเอไอเอที่มีผลงานเป็นเลิศ “ที่สุดแห่งปี 2565 (Of the Year 2022)” จำนวน 3,753 ท่าน ที่ได้ร่วมกันส่งมอบความคุ้มครองและความมั่นคงทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพทางการเงินให้แก่คนไทยทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา 'Healthier, Longer, Better Lives' โดยงานมอบรางวัลได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้แก่พลังตัวแทนเอไอเอ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อาคาร 5-7 วันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา ในงานมอบรางวัล AIA Annual Agency Presentation Awards 2022 ได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ขึ้นกล่าวแสดงความยินดีแก่ตัวแทนและผู้บริหารหน่วยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากกลุ่มบริษัทเอไอเอ นำโดย นายหลี่ หยวน ชยอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ นายตัน ฮาค เลห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารรระดับภูมิภาค ร่วมด้วย ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการอิสระ กลุ่มบริษัทเอไอเอ และประธานที่ปรึกษากรรมการ เอไอเอ ประเทศไทย คณะผู้บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายณัฐพิสิษฐ์ ครุฑครองชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต และนายประกิตติ บุณยเกียรติ ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต เป็นตัวแทนในการมอบรางวัล และร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จที่มาจากความมุ่งมั่นตั้งใจในการส่งมอบความคุ้มครอง และการบริการอันเป็นเลิศให้กับลูกค้าแก่พลังตัวแทนที่ได้รับรางวัล “ที่สุดแห่งปี 2565 (Of the Year 2022) นายหลี่ หยวน ชยอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทเอไอเอ กล่าวว่า “ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชมสำหรับความสำเร็จที่มาจากความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการทำงาน สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงชัยชนะอีกก้าวของพลังตัวแทนมืออาชีพที่ไม่เคยหยุดที่จะผลักดันตัวเองเพื่อความสำเร็จอีกขั้นที่รออยู่ข้างหน้า และเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ร่วมกันผลักดันให้เอไอเอ ประเทศไทย ยังคงความเป็นหนึ่งตลอดไป รวมถึงขอขอบคุณสำหรับความทุ่มเทและแรงสนับสนุนของทุกท่าน ด้วยการสร้างผลงานที่ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา รางวัล “ที่สุดแห่งปี” ที่มอบให้กับสุดยอดตัวแทน นับเป็นเครื่องการันตีความสำเร็จที่มาจากแรงกายแรงใจในการทำงาน เพื่อส่งมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่ลูกค้าของเรา ผมเชื่อมั่นว่าความสามารถและความตั้งใจของพลังตัวแทนทุกคนจะเป็นแรงขับเคลื่อนอันทรงพลังที่จะผลักดัน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองและพลังตัวแทนท่านอื่น ๆ ที่ต้องการประสบความสำเร็จในอาชีพ ได้มีพลังกาย พลังใจ พร้อมที่จะพัฒนาตนเองในการส่งมอบสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นให้คนไทยอีกหลายล้านคนตามพันธกิจ Healthier, Longer, Better Lives เพื่อก้าวไปสู่ประตูแห่งความสำเร็จอย่างที่ทุกท่านตั้งเป้าหมายในปี 2566 นี้” นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “เอไอเอ ประเทศไทย ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มอบรางวัลให้กับกับสุดยอดพลังตัวแทนทั้ง 3,753 ท่าน ที่สามารถพิชิตรางวัลไปได้ในปีนี้ ความมุ่งมั่นตั้งใจที่ได้แสดงให้เห็นตลอดปีที่ผ่านมา นำมาซึ่งความสำเร็จที่ได้รับในวันนี้ ทุกท่านถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้เอไอเอ เติบโตเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย และอีกหนึ่งความสำเร็จในปีที่ผ่านมา คือ เอไอเอ ประเทศไทย มีตัวแทนที่สามารถพิชิตคุณวุฒิ Million Dollar Round Table (MDRT) จำนวนมากถึง 3,034 ราย ก้าวขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลก เติบโต 19% จากปี 2564 ซึ่งการยอมรับจากองค์กรระดับโลกนี้ ถือเป็นมาตรฐานความเป็นมืออาชีพในอุตสาหกรรมประกันชีวิตและบริการทางการเงิน ที่รับประกันคุณภาพของพลังตัวแทนได้อย่างยอดเยี่ยม ทำให้เราสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราได้รับความคุ้มครองที่มั่นคง และมีการวางแผนทางการเงินอย่างมั่งคั่ง เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพ และชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดระยะเวลากว่า 85 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย”ทั้งนี้ ผู้บริหารหน่วยและตัวแทนประกันชีวิตที่ได้รับรางวัล “ที่สุดแห่งปี 2565 (Of the Year 2022)” มีดังนี้ 1. Top District Manager Up of the Year 2022 - นพ. โสภณ นันทาภรณ์ศักดิ์ หน่วยทริปเปิ้ล เอ 2. Top Unit Manager Up (Direct Team & IO1) of the Year 2022 - คุณปราโมทย์ ถิรมงคลชัย หน่วยเพชรเหรียญทอง 229 3. Top Unit Manager of the Year 2022 - คุณธิดารัตน์ ศักดิ์สยามกุล หน่วยเทพประธานพร 9 4. Top Assistant Unit Manager 2022 - คุณปริญญา ชวีวัฒน์ หน่วยกาฬสินธุ์ 84 5. Top New Unit Manager of the Year 2022 - คุณพรเทพ สิทธิบรวงษ์ หน่วยไนน์แพลนเนอร์ 8 6. Top New Assistant Unit Manager of the Year 2022 - คุณปราณปรีย์ ตรีโชควิพุธ หน่วยนำทอง 1278 7. Top Agent of the Year 2022 – คุณเพชรรัตน์ รงค์บัญฑิต หน่วยเนอวานา 8. Top Agent (Cases) of the Year 2022 - คุณสุดารัตน์ ปิยขจรโรจน์ หน่วยเพชรเหรียญทอง 229 9. Top Agency Leader (Individual) of the Year 2022 – คุณนราภรณ์ อินทะพันธ์ หน่วยเดือนทอง 881
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
เงินล้าน เขาหากันยังไง ? ..วันนี้ผมจะเอามาแจกแจงให้ดูกัน เงินล้านแรก หายังไง หาเงิน มี 2 ทาง คือ หนึ่ง ขายเวลาตัวเอง (อันนี้ก็คือเป็นลูกจ้าง จะมีเงินล้านก็ยากหน่อย เพราะเวลาเรามีจำกัด มันเพิ่มไม่ได้) ที่เพิ่มได้คือ ค่าตัว แต่ปัญหาก็คือ มันเพิ่มได้จำกัดอยู่ดี ดังนั้น เส้นทางนี้มีเงินล้านยากครับ สอง ขายของ (อันนี้มีโอกาสเป็นไปได้ เพราะยุคนี้ เราให้คนอื่นช่วยขาย หรือ ขายมันออนไลน์ ก็พอจะจัดการได้) มาลองคำนวณกันว่า ขายยังไง - ของ 10 บาท ต้องขาย 100,000 ชิ้น (ขายหมูปิ้งแสนไม้ ลองคำนวณว่า กี่วัน หรือ จะลงทุนเพิ่มรถเข็น จ้างคนมาช่วยขาย ..คุ้มป่าว ?) - ของ 100 บาท ต้องขายได้ 10,000 ชิ้น (โจทย์หินพอๆ กัน ทำอาหารกล่องอย่างแพง ต้องทำหมื่นกล่อง ..ฮึมม !!) - ของ 1,000 บาท ต้องขายได้ 1,000 ชิ้น (ลองคิดซิ สินค้าอะไรกำไร 1,000 บาทต่อชิ้น ...กาแฟ Starbucks ยังไม่ได้เลย ...อะไร กำไรชิ้นละพัน ลองคิดดู?) - ของ 10,000 บาท ต้องขายได้ 100 ชิ้น (เออ !! ร้อยชิ้น เริ่มพอเห็นทาง แต่ประเด็นเหมือนเดิม ขายอะไรกำไรชิ้นละหมื่น ...ถ้าขายตัวเรา จบปริญญาตรี ทำทั้งเดือนเลย หมื่นกว่าบาท ...ถ้าทำ 100 เดือน ก็ แปดปี ไม่ใช้เงินเลย ก็จะได้ล้านนึง) - ของ 100,000 บาท ต้องขายได้ 10 ชิ้น (อันนี้ภาพ รถยนต์ หรือ สร้างบ้านขาย ก็ไม่ใช่จะขายง่ายๆ ...ด้วยทุนเราเองไม่น่าทำได้ ต้องกู้หนักเลยทำระดับนี้) ยากไหม ? ...ใช่ยาก ที่ยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อจะบอกว่า แค่เงินล้าน ถ้าวางแผนไม่ดี ทั้งชีวิตยังหาไม่ได้เลย แล้วสงสัยไหมครับว่า คนที่รวย ร้อยล้าน , พันล้าน , หมื่นล้าน , แสนล้าน พระเจ้าช่วยกล้วยทอด เขาทำกันยังไง ? สินทรัพย์ครับ ...เขาสร้างสินทรัพย์แล้วขายในราคาที่สูง ...สร้างธุรกิจ / ลงทุนในหุ้น / สร้างอสังหา / ปั้นบริษัทเข้าตลาด / ลงทุนในธุรกิจ ...จะบอกว่า เกมนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีสอนในโรงเรียน เราเลยไม่ค่อยเห็นคนรวยมากๆ ลองตั้งโจทย์กับตัวเองว่า จากวันนี้ไป เราจะต้องเชี่ยวชาญเรื่องสินทรัพย์ เพราะเรื่องนี้มันสร้างมหาเศรษฐี ...ตั้งโจทย์ - หาความรู้ แล้ว ลุยครับ ช้าไปไหม ที่จะเริ่มเรียนรู้เรื่องสินทรัพย์วันนี้ ? ...ไม่ช้าหรอกครับ เพราะคนอีก 99% ของโลก ยังไม่เคยลงทุนในสินทรัพย์อะไรเลย ...รู้วันนี้คุณก็คือ คนที่เลือกเส้นทางการเป็นคน 1% ของโลก ...อย่ารอ เริ่มเรียนรู้เลยครับ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับstock2morrowhttps://stock2morrow.com/article/5331
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
เมื่ออายุมากขึ้น ความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ก็มากขึ้นตาม สุขภาพอาจส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบของโรคร้าย การทำ “ประกันโรคร้ายแรง” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สามารถเพิ่มความอุ่นใจเรื่องค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพได้ แต่ก่อนที่จะเลือกประกันสุขภาพโรคร้ายแรงกับบริษัทใดก็ตาม วันนี้ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ 3 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับประกันประเภทนี้ที่หลายคนมองข้ามไป แต่จะมีอะไรบ้าง ตามมาเช็กรายละเอียดได้เลยเรื่องควรรู้ที่ 1 : ความคุ้มครองเมื่อพูดถึงการทำ “ประกันโรคร้ายแรง” แล้ว คนส่วนใหญ่มักมีข้อสงสัยเรื่องความจำเป็นในการทำประกันโรคร้ายแรง รวมถึงความคุ้มครองเพิ่มเติมที่จะได้รับ ซึ่งการจะตอบข้อสงสัยในส่วนนี้ได้อย่างชัดเจน เราจะขออธิบายรายละเอียดเป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้1. หากมี “ประกันสุขภาพ” อยู่แล้ว...ยังจำเป็นต้องทำประกันโรคร้ายแรงหรือไม่?หลายคนมองว่า “ประกันโรคร้ายแรง” เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย เพราะเชื่อว่า “ประกันสุขภาพ” เพียงอย่างเดียวสามารถครอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ อีกทั้งในปัจจุบันบริษัทประกันหลายๆ แห่งออกผลิตภัณฑ์ประกันเฉพาะโรคอยู่แล้ว ประกันคุ้มครองโรคร้ายที่ครอบคลุมโรคร้ายแรงหลายๆ โรค ยิ่งไม่จำเป็นเข้าไปใหญ่ “แต่ในความเป็นจริงแล้ว ‘ประกันสุขภาพ’ นั้นไม่ได้ครอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายเมื่อป่วย เพราะส่วนใหญ่จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายแค่ในกรณีแอดมิท หรือหากมีการคุ้มครองแบบ OPD ด้วยก็มักจะมีวงเงินที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มเติม หรือหากเป็น ‘ประกันเฉพาะโรค’ ก็จะให้ความคุ้มครองเฉพาะโรคที่ระบุไว้เท่านั้น”อย่างไรก็ดี เวลาที่เปลี่ยนไปและอายุที่เพิ่มขึ้นก็นำพาโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ มาสู่ตัวเราได้ บางโรคอาจพัฒนาเป็น “โรคร้ายแรง” ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเครื่องมือพิเศษในการรักษา ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นานกว่า ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะอยู่ที่หลักแสนหรือหลักล้าน ซึ่งถือว่าสูงกว่าโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ อยู่มาก หลายๆ รายการไม่ได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล“ด้วยเหตุนี้ การทำ ‘ประกันโรคร้ายแรง’ จึงเข้ามาตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและการรักษาพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องนำเงินออมของตัวเองออกมาใช้จ่ายในการรักษา ลดผลกระทบที่จะเกิดกับสินทรัพย์ของเรา และลดโอกาสการเป็นหนี้ อีกทั้งประกันยังสามารถช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกโรงพยาบาลขณะรักษาตัว ทั้งค่าคนดูแล ค่าเดินทาง ค่าปรับปรุงบ้าน ไปจนถึงภาระหนี้สินต่างๆ ได้ ดังนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยวางแผนและเตรียมความพร้อมให้กับการรักษาโรคเท่านั้น แต่การทำประกันตัวนี้ยังช่วยวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย2. “ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง” ให้ความคุ้มครองโรคร้ายใดบ้างถึงจะมีเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่แตกต่างกันออกไป แต่ “โรคร้ายแรง” ในประกันคุ้มครองโรคร้ายแรงส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหลัก ประกอบไปด้วย 1. กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก เช่น มะเร็งระยะลุกลาม เนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง 2. กลุ่มโรคหัวใจ ระบบการหายใจ และระบบการไหลเวียนโลหิต เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ 3. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง และระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะโคม่า อัลไซเมอร์ 4. กลุ่มโรคอวัยวะและระบบการทำงานที่สำคัญของร่างกาย เช่น ไตวายเรื้อรัง 5. กลุ่มโรคภาวะติดเชื้อ การบาดเจ็บร้ายแรงและภาวะทุพพลภาพ เช่น แผลไหม้ เบาหวานขึ้นตา 6. กลุ่มโรคร้ายแรงสำหรับผู้เยาว์อายุไม่เกิน 16 ปี เช่น โรคคาวาซากิ และ โรคเบาหวานชนิดที่ 1“นอกจากนี้ ‘ประกันโรคร้ายแรง’ ยังให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรคร้าย ตลอดจนอายุและโรคประจำตัวของผู้เอาประกัน ดังนั้น อย่าลืมศึกษาและทำความเข้าใจเอกสารเสนอขาย เงื่อนไขกรมธรรม์ และรายละเอียดให้ครบถ้วนเพื่อเลือกประกันสุขภาพโรคร้ายแรงที่สามารถคุ้มครองค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม”เรื่องควรรู้ที่ 2 : ผลประโยชน์ทางภาษี“ประกันสุขภาพ” ไม่เพียงคุ้มครองกรณีโรคร้ายแรง แต่ยังได้ “ผลประโยชน์ทางภาษี” ด้วย โดย “ประกันโรคร้ายแรง” นั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มประกันสุขภาพที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี หรือตามเงื่อนไขทางภาษีในแต่ละปี ซึ่งเมื่อรวมเบี้ยประกันในส่วนนี้เข้ากับประกันสุขภาพตัวอื่นและประกันชีวิตแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยเราจะได้รับประโยชน์ทางภาษีก็ต่อเมื่อเราทำประกันกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้นเรื่องควรรู้ที่ 3 : เลือกกรมธรรม์ตามต้องการได้“ประกันโรคร้ายแรง” มาพร้อมกับกรมธรรม์ที่หลากหลาย ให้ความคุ้มครองแตกต่างกัน และมีรูปแบบการจ่ายเบี้ยที่เลือกได้ เช่น เบี้ยทิ้ง/เบี้ยไม่ทิ้ง เบี้ยเพิ่มขึ้น/เบี้ยคงที่ จ่ายทุกปีตลอดระยะเวลาคุ้มครอง/จ่ายสั้นคุ้มครองยาว ไม่มีมูลค่าเงินสด/มีมูลค่าเงินสด เป็นต้น โดยผู้เอาประกันสามารถเลือกพิจารณาให้เหมาะกับเงินเดือนและเงื่อนไขที่ตัวเองต้องการได้ นอกจากนี้แล้ว ผู้เอาประกันยังสามารถเลือกเงื่อนไขของค่าใช้จ่ายในการรักษาในประกันคุ้มครองโรคร้ายแรงได้เช่นกัน โดยจะแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ 1. แผนประกันแบบจ่ายเงินก้อน: ประกันจะจ่ายเงินเป็นก้อนให้ทันทีเมื่อตรวจพบเจอโรคร้ายแรง ทำให้ผู้เอาประกันมีเงินก้อนสำหรับรักษา และหากเหลือก็สามารถนำมาดูแลค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ได้ 2. แผนประกันแบบจ่ายวงเงินรักษา: หากผู้เอาประกันเลือกแผนประกันนี้ ประกันจะจ่ายวงเงินสำหรับการรักษาให้ โดยค่าใช้จ่ายนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง หรือตามระยะเวลาที่เข้ารับการรักษานั่นเอง“นอกเหนือจากรายละเอียดข้างต้นนี้ การเลือกทำ ‘ประกันโรคร้ายแรง’ ยังมาพร้อมกับเงื่อนไขอีกมากมายที่แตกต่างไปตามความต้องการของบุคคล ซึ่งสำหรับใครที่ต้องการเลือกประกันประเภทต่างๆ ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของตัวเองมากที่สุด ควรศึกษา รายละเอียดความคุ้มครองของกรมธรรม์ และสอบถามจากตัวแทนบริษัทประกัน หรือนักวางแผนทางการเงิน ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythaihttps://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/wealth-ez/12774
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ข้อมูลจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกประจำปี 2023 ของ นิตยสารฟอร์บส (Forbes) ซึ่งยึดข้อมูล ณ วันที่ 10 มีนาคม 2023 ทั่วโลกมีมหาเศรษฐีที่มั่งคั่งระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป (billionaire) อยู่จำนวน 2,640 คน เป็นพลเมืองของ 77 ประเทศ/เขตการปกครองทั่วโลก ในแง่จำนวนมหาเศรษฐีระดับพันล้าน (billionaire) ปี 2023 ทั่วโลกมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านลดลงจากปี 2022 ที่มี 2,668 คน ส่วนในแง่ “ที่มา” ของเหล่า billionaire เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ซึ่งมาจาก 75 ประเทศ/เขตการปกครอง โดยสองประเทศที่มีมหาเศรษฐีพันล้านรายใหม่ขึ้นมาที่ละ 1 คน ได้แก่ ปานามา และอาร์เมเนีย สหรัฐอเมริกา ยังครองตำแหน่งเป็นประเทศที่มีพลเมืองที่ร่ำรวยมากที่สุด ด้วยจำนวนมหาเศรษฐีพันล้าน 735 คน จำนวนคงที่เท่ากับในปี 2022 ถึงแม้ว่าชาวอเมริกันเกือบ 50 คน รวมถึงคานเย เวสต์ (Kanye West) และแซม แบงก์แมน-ฟรายด์ (Sam Bankman-Fried) ได้ร่วงลงจากการเป็นผู้มั่งคั่งระดับพันล้าน แต่ก็มีคนที่มั่งคั่งขึ้นถึงระดับพันล้านเป็นครั้งแรกในปีนี้เข้าไปทดแทนในลิสต์ รวมถึงนักกีฬาชื่อดัง เลบรอน เจมส์ (LeBron James) และไทเกอร์ วูดส์ (Tiger Woods) ในปีนี้สหรัฐไม่ใช่บ้านของบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลกแล้ว เพราะ เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ (Bernard Arnault) มหาเศรษฐีเจ้าของอาณาจักรสินค้าหรูชาวฝรั่งเศส ได้แซงหน้า อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ขึ้นเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกไปแล้ว ถึงอย่างนั้น อเมริกายังคงมีมหาเศรษฐีระดับ top 25 มากที่สุดจำนวน 17 จาก 25 คน โดยรวมแล้ว มหาเศรษฐีชาวอเมริกันมีความมั่งคั่งรวมกัน 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว เนื่องจากตลาดถดถอย การสะดุดของเหล่าสตาร์ทอัพระดับ “ยูนิคอร์น” (สตาร์ตอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงตามหลอกหลอนนักลงทุน ทำให้มีการลงทุนในบริษัทของมหาเศรษฐีเหล่านี้น้อยลง ประเทศจีน มีมหาเศรษฐีพันล้านมากเป็นอันดับ 2 ของโลก จำนวน 495 คน (ไม่รวมชาวฮ่องกงและมาเก๊า) มีทรัพย์สินรวมกัน 1.67 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีจีนในภาพรวมตกต่ำลงเช่นกัน โดยจำนวนมหาเศรษฐีพันล้านลดลงจากเมื่อปี 2022 ที่มี 539 คน กับความมั่งคั่งรวม 1.96 ล้านล้านดอลลาร์ ปัจจัยลบของจีนที่ทำให้ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีลดลงมีหลายปัจจัย ทั้งนโยบาย Zero-COVID ที่ใช้เกือบตลอดทั้งปี 2022 ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจลดลงและกระทบต่อราคาหุ้น ขณะที่วิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนก็ส่งผลเศรษฐกิจของจีนในช่วงที่ผ่านมารวมถึงแนวโน้มในอนาคต ขณะที่การปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่ส่งผลให้ความมั่งคั่งของเจ้าของบริษัทบิ๊กเทคลดลง คนที่ความมั่งคั่งลดลงมากอย่างเด่นชัดคือ เชือง เซาหมิง (Xiong Shaoming) ผู้ก่อตั้ง Smoore International และเจ้า เว่ยกั๋ว (Zhao Weiguo) ประธานบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ Tsinghua Unigroup อินเดีย มีมหาเศรษฐีพันล้านมากเป็นอันดับที่ 3 จำนวน 169 คน ปี 2023 เป็นปีที่ตัวเลขทางสถิติของอินเดียออกมาเป็นแบบผสม คือ ในแง่จำนวนมหาเศรษฐี อินเดียมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านเพิ่มขึ้น 3 คน แต่ในแง่ความมั่งคั่ง มหาเศรษฐีพันล้านของอินเดียมีความมั่งคั่งรวมกัน 675,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2022 ถึง 75,000 ล้านดอลลาร์ สาเหตุสำคัญที่ความมั่งคั่งในภาพรวมของมหาเศรษฐีอินเดียลดลงนั้นคือ การสูญเสียความมั่งคั่งของ โกตัม อดานี (Gautam Adani) หลังจากที่ Adani Group ถูกกล่าวหาเรื่องฉ้อโกง ทำให้ความมั่งคั่งของเขาลดลงจากปี 2022 เกือบ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งของความมั่งคั่งที่ลดลงทั้งหมด ทั้งนี้ เมื่อตอนที่ฟอร์บสจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกปี 2022 โกตัม อดานี มีสินทรัพย์ 90,000 ล้านดอลลาร์ แต่ ณ วันที่ 10 มีนาคม 2023 ที่ฟอร์บสจัดเก็บข้อมูลวันสุดท้ายเพื่อจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกปี 2023 เขามีสินทรัพย์ 47,200 ล้านดอลลาร์ เยอรมนี เป็นประเทศที่มีมหาเศรษฐีพันล้านมากเป็นอันดับ 4 อีกครั้ง โดยมีจำนวน 126 คน ลดลงจาก 134 คนในปีที่แล้ว ตัวอย่างคนที่ความมั่งคั่งลดลงอย่างมากจนหลุดจากสถานะ “มหาเศรษฐีพันล้าน” ได้แก่ โยอาคิม อันเต (Joachim Ante) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเกม Unity Software และสามทายาทตระกูลคนอฟ (Knauf) เจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านวัสดุก่อสร้าง Knauf Gips KG ส่วนบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของเยอรมนี คือ ดีเทอร์ ชวาร์ซ (Dieter Schwarz) ด้วยความมั่งคั่ง 42,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัท Schwarz Group ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ตลดราคา Lidl และ Kaufland ที่สร้างยอดขายปีละกว่า 140,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับรัสเซีย แม้จะมีสงครามและเผชิญการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก แต่ในขวบปีที่ผ่านมามหาเศรษฐีชาวรัสเซียกลับทำผลงานได้ดีกว่าบรรดากลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดของโลกจากประเทศอื่น ๆ โดยกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศรัสเซียสามารถชดเชยความสูญเสียเกือบทั้งหมดที่รัสเซียได้รับจากการคว่ำบาตร รัสเซียมีมหาเศรษฐีพันล้าน 105 คนในปีนี้ มีความมั่งคั่งรวมกัน 474,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีคนร่ำรวยขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีพันล้านเพิ่มขึ้น 22 คน จากปี 2022 ที่มีจำนวน 83 คนกับความมั่งคั่งรวม 320,000 ล้านดอลลาร์ เหตุผลที่จำนวนมหาเศรษฐีพันล้านในรัสเซียเพิ่มขึ้นมากในปีนี้ เนื่องจากผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจของรัสเซียส่วนใหญ่ได้ความมั่งคั่งที่สูญเสียไป (ในช่วงแรกที่รัสเซียบุกยูเครน) กลับคืนมา โดยในบรรดามหาเศรษฐีพันล้านชาวรัสเซีย 105 รายในปีนี้ มี 25 รายที่เคยเป็นมหาเศรษฐีพันล้านในปีก่อน ๆ แต่ความมั่งคั่งของพวกเขาลดลงเมื่อปีที่แล้วในช่วงแรกที่รัสเซียบุกยูเครน ก่อนที่จะฟื้นกลับขึ้นมาได้ในปีนี้ เมื่อปี 2021 รัสเซียมีมหาเศรษฐีพันล้านจำนวน 117 คน มีสินทรัพย์รวมกัน 584,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกหลังจากรัสเซียบุกยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรัสเซียอย่างหนัก แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลกได้หนุนให้บริษัทรัสเซียบางแห่งมีรายรับเพิ่มขึ้น ผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดคือบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของรัสเซีย อันเดรย์ เมลนิเชนโก (Andrey Melnichenko) เจ้าของธุรกิจปุ๋ย ซึ่งมีทรัพย์สินประมาณ 25,200 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 11,100 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 เป็นผลมาจาก EuroChem บริษัทปุ๋ยยักษ์ใหญ่ของเขาได้ประโยชน์จากราคาปุ๋ยที่พุ่งสูงขึ้นหลังรัสเซียบุกยูเครน ส่วนคนอื่น ๆ ที่กอบกู้ความมั่งคั่งของพวกเขากลับมาได้ ได้แก่ ผู้ประกอบการน้ำมัน วากิต อาเล็กเพรอฟ (Vagit Alekperov) รวยเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านดอลลาร์ อเล็กซีย์ มอร์ดาชอฟ (Alexey Mordashov) เจ้าของธุรกิจเหล็ก Severstal รวยเพิ่มขึ้น 7,700 ล้านดอลลาร์ และเจ้าพ่อธุรกิจนิกเกิล วลาดีมีร์ โปตานิน (Vladimir Potanin) แห่ง Norilsk Nickel ที่รวยเพิ่มขึ้น 6,400 ล้านดอลลาร์ 20 ประเทศ/เขตการปกครองที่มีมหาเศรษฐีพันล้าน (billionaire) มากที่สุดในโลกในปี 2023 ตามการจัดอันดับของฟอร์บส ได้แก่ สหรัฐอเมริกา : 735 คน (2022 : 735) จีน : 495 คน (2022 : 539) อินเดีย : 169 คน (2022 : 166) เยอรมนี : 126 คน (2022 : 134) รัสเซีย : 105 คน (2022 : 83) ฮ่องกง : 66 คน (2022 : 67) อิตาลี : 64 คน (2022 : 52) แคนาดา : 63 คน (2022 : 64) ไต้หวัน : 52 คน (2022 : 51) สหราชอาณาจักร : 52 คน (2022 : 50) บราซิล : 51 คน (2022 : 62) ออสเตรเลีย : 47 คน (2022 : 46) ฝรั่งเศส : 43 คน (2022 : 43) สวิตเซอร์แลนด์ : 41 คน (2022 : 41) ญี่ปุ่น : 40 คน (2022 : 40) สวีเดน : 39 คน (2022 : 45) สิงคโปร์ : 35 คน (2022 : 26) เกาหลีใต้ : 30 คน (2022 : 41) อิสราเอล : 30 คน (2022 : 30) อินโดนีเซีย : 29 คน (2022 : 30) แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/world-news/news-1265009
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
ชีวิต คือ ความไม่แน่นอน มีความเสี่ยงหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ โดยหนึ่งในความเสี่ยงที่สร้างผลกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน รวมไปถึงอาจรุนแรงถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของคนคนหนึ่งได้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ คือ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรังต่าง ๆเป็นเรื่องดีที่คนในวัยทำงานหลายคนได้ทำงานอยู่ในองค์กรที่มีประกันสุขภาพแบบกลุ่มช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่สนใจทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมจากสวัสดิการที่บริษัททำให้ ซึ่งแน่นอนว่าสามารถทำได้ แต่ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาว่าตัวเองมีความจำเป็นที่จะต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมอีกหรือไม่ และหากต้องทำเพิ่มเติม จะต้องทำอย่างไร ซึ่งมี 3 เรื่องที่ต้องคำนึง ดังนี้1. ประกันกลุ่มเป็นสวัสดิการที่บริษัทมีให้สำหรับบุคคลที่มีสถานะเป็นพนักงานของบริษัทเท่านั้น หากพนักงานลาออก เกษียณ หรือพ้นจากสภาพการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าด้วยเหตุผลใด สวัสดิการเหล่านั้นก็จะไม่ได้ติดตัวตามมาด้วยดังนั้น ผู้ที่วางแผนจะออกจากงาน โดยเฉพาะหากจะลาออกมาเป็นเจ้าของกิจการหรือทำงานอิสระเอง จึงมีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องวางแผนหรือคำนึงถึงเรื่องการทำประกันสุขภาพ เพื่อให้เป็นสวัสดิการของตนเองทดแทนประกันแบบกลุ่มที่เคยได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากทุกวันที่ผ่านเลยไป หมายถึงอายุที่มากขึ้น และโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือมีปัญหาด้านสุขภาพอาจมากขึ้นตามไปด้วยหากไปสมัครทำประกันสุขภาพในช่วงเวลานั้นที่มีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นแล้ว ค่าใช้จ่ายการทำประกันก็จะสูงขึ้นเนื่องจากบริษัทประกันอาจจะรับทำประกันโดยมีเบี้ยประกันส่วนเพิ่ม หรืออาจจะไม่รับคุ้มครองความเจ็บป่วยที่มีขึ้นก่อนหน้า หรืออาจจะไม่รับทำประกันเลยก็เป็นไปได้2. เงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาล เป็นอัตราที่สูงมากถึง 7-8% ต่อปี หมายความว่า ภายในระยะเวลาประมาณ 8-10 ปี ค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า วงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากประกันกลุ่มที่มีอยู่เพียงทางเดียวจึงอาจจะไม่เพียงพอกับค่ารักษาพยาบาลที่ปรับสูงขึ้นอีกในอนาคต จึงจำเป็นต้องพิจารณาในแต่ละบุคคลว่ามีความต้องการที่จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพที่ทำเพิ่มเติมไว้เองด้วยหรือไม่3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องในการเจ็บป่วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับการรักษา ค่าจ้างคนดูแลสำหรับกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงค่าเสียโอกาสจากการไม่ได้ไปประกอบอาชีพ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการชดเชยในรูปแบบของประกันกลุ่มหากมีความจำเป็นที่จะต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม ในแง่ของการวางแผนประกันสุขภาพ สามารถพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ดังนี้● ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเองและรูปแบบการใช้ชีวิต โดยดูจากประวัติด้านสุขภาพและความเจ็บป่วยของตนเอง บุคคลในครอบครัวและญาติพี่น้อง เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตส่งผลต่อคุณภาพของสุขภาพและเกี่ยวเนื่องกับโรคบางโรค โรคร้ายแรงบางกลุ่มยังสามารถส่งต่อและถ่ายทอดทางพันธุกรรม ให้พิจารณาร่วมกับสถานพยาบาลที่เรามีแนวโน้มจะได้ใช้รักษาหรือที่ใช้บริการอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะมีค่ารักษาพยาบาลและรูปแบบการรักษาที่แตกต่างกัน จะทำให้ประเมินความคุ้มครองของวงเงินการรักษาที่ต้องใช้ได้● เปรียบเทียบความคุ้มครองที่ต้องการ (วงเงินการรักษา) กับวงเงินการรักษาที่มีอยู่จากสวัสดิการประกันกลุ่ม เพื่อพิจารณาและหาความคุ้มครองที่ต้องการเพิ่มเติม หรือความคุ้มครองที่ต้องใช้ ในกรณีที่ออกจากงาน ในวันที่ไม่มีสวัสดิการประกันกลุ่มอีกต่อไป เพื่อนำไปเลือกแบบประกัน● แบบประกันสุขภาพ จะมีทั้งรูปแบบที่กำหนดวงเงินค่ารักษาสูงสุดที่จะจ่ายตามค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละรายการ แต่ไม่เกินค่าวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ และประกันแบบเหมาจ่ายที่จะกำหนดวงเงินความคุ้มครองสูงสุดสำหรับบางรายการ และกำหนดวงเงินความคุ้มครองในลักษณะแบบเหมาจ่ายโดยรวมสำหรับความคุ้มครองรายการอื่น ๆ ที่เหลือ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจะมีค่าเบี้ยประกันโดยรวมที่สูงกว่าแบบประกันที่กำหนดวงเงินค่ารักษาแต่ละรายการสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ เบี้ยประกันสุขภาพจะปรับขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะหากเป็นช่วงที่อายุมากขึ้นหลังเกษียณจะมีเบี้ยประกันที่สูงมาก ควรตรวจสอบความเป็นไปได้ในการจัดการสภาพคล่องของเราในอนาคต เพื่อให้ชำระเบี้ยประกันได้ตลอดระยะเวลาที่สัญญาคุ้มครอง หลักเกณฑ์ทั่วไปคือ อัตราส่วนเบี้ยประกันเทียบกับรายได้ควรจะอยู่ที่ประมาณ 10-15% ของรายได้รวม เพื่อไม่ให้การชำระเบี้ยประกันสุขภาพเป็นภาระที่หนักเกินไปหากมีความจำเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในการทำประกันสุขภาพ สามารถเลือกแบบประกันสุขภาพที่มีค่า Deductible หรือความรับผิดส่วนแรก ที่สามารถเคลมได้จากสวัสดิการที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น เช่น เลือกทำประกันสุขภาพแบบที่มี “รับผิดส่วนแรก (Deductible)” 30,000 บาท หากค่าการรักษาพยาบาลทั้งหมด 100,000 บาท บริษัทประกันจะคุ้มครอง 70,000 บาท และผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ 30,000 บาทแรกซึ่งค่าใช้จ่ายในความรับผิดส่วนแรกมูลค่า 30,000 บาท ผู้เอาประกันสามารถใช้วงเงินจากประกันสุขภาพฉบับเดิมที่มีอยู่แล้วหรือวงเงินสวัสดิการของบริษัทในการชำระได้ เท่ากับว่าผู้เอาประกันจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มทั้งสิ้น หรือพิจารณารับความเสี่ยงด้านสุขภาพไว้เองในบางส่วน ด้วยการสำรองเงินไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายส่วนนี้ รวมทั้งการวางแผนนำเงินสำรองไปลงทุนให้งอกเงย เปรียบได้กับการสร้างแผนการลงทุนเพื่อดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งหากเป็นการเก็บออมในระยะยาวแล้ว อาจรับความเสี่ยงบางส่วนเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นนอกจากการทำประกันสุขภาพซึ่งเป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงในรูปแบบการโอนความเสี่ยงแล้ว สิ่งที่ควรทำควบคู่กันไป คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตและดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงในเชิงป้องกัน หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และดูแลเรื่องอาหารการกิน การพักผ่อน และสภาวะจิตใจเพื่อช่วยลดและควบคุมความเสี่ยงด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการช่วยจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (ที่มา: www.setinvestnow.com, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)บมความโดย ธชธร สมใจวงษ์ นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1220509
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
12/06/2024
30/04/2024
14/06/2024
30/04/2024
29/04/2024