คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ข่าวการเงิน

เงินนำไปสู่ความสุขหรือไม่? | พสุ เดชะรินทร์

30/04/2024

เมื่อนึกถึงสิ่งที่ทำให้คนมีความสุขเพิ่มขึ้น เงินเป็นหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่คนคิดถึง เป็นที่ยอมรับว่าเงินนั้นทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงกันมากมายว่าการมีเงินนำไปสู่การมีความสุขได้จริงหรือ ข้อถกเถียงระหว่างเงินกับความสุขถือเป็นหนึ่งในหัวข้อที่อภิปรายกันได้ไม่รู้จบ นักวิชาการจำนวนมากพยายามศึกษาวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองปัจจัย ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ออกมาที่หลากหลายและแตกต่างกัน พอจะรวบรวมเป็นประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้ 1. การมีเงินเพิ่มขึ้นไม่ได้นำไปสู่ความสุขที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากงานวิจัยในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในสหรัฐที่พบว่าแม้ระดับรายได้ของประชาชนจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ระดับความสุขกลับไม่ได้เพิ่ม เลยนำไปสู่ข้อสรุปว่าการมีเงินเพิ่มขึ้นไม่ได้นำไปสู่ความสุขที่เพิ่มขึ้น 2. การมีเงินเพิ่มขึ้นนำไปสู่ความสุขที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อรายได้เพิ่มถึงจุดจุดหนึ่ง ความสุขจะไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ซึ่งจุดดังกล่าวก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ โดยการศึกษาในปี 2559 ที่เปรียบเทียบจุดดังกล่าวของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก และพบว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นอยู่ที่รายได้ 70,000 ดอลลาร์ หรือ 2.4 ล้านบาทต่อปี 3. การมีเงินไม่ได้นำไปสู่ความสุข แต่ความสุขอยู่ที่การได้ใช้เงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความสุขมากขึ้นถ้าได้ใช้เงินเพื่อผู้อื่นมากกว่าตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการบริจาค การช่วยเหลือผู้อื่น การซื้อของให้ผู้อื่น จะทำให้เกิดความสุขใจมากกว่าการซื้อของให้ตนเอง และพบว่าการใช้เงินเพื่อผู้อื่นนั้น จำนวนเงินไม่สำคัญ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็ไม่ได้ส่งผลต่อระดับความสุข สำคัญคือของให้ใช้เงินเพื่อผู้อื่น 4. การใช้เงินเพื่อซื้อประสบการณ์ จะนำทำให้เกิดความสุขมากกว่าใช้เงินในการซื้อสินค้า การซื้อประสบการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การรับประทานอาหาร การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่นำความสุขมาให้มากกว่าการซื้อสินค้า5. การมีเงินนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้ทำให้มีความสุขเพิ่ม แต่การมีเงินหรือมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงความสำเร็จในการทำงานหรือการดำรงชีวิต ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จของตนเอง สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งความภูมิใจดังกล่าวเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความสุข 6. การมีเงินไม่ได้ทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ความเครียดลดลง เนื่องจากการมีเงิน ทำให้สามารถลดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการดำรงชีวิต รวมทั้งยังทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น เช่น เมื่อป่วยก็มีเงินค่ารักษาพยาบาล และถ้ามีเงินมากก็จะช่วยทำให้ได้รับการบริการที่ดีขึ้น ทำให้ลดความเครียด ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น 7. การมีเงินมากขึ้น จะทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้น และความสุขจะไม่หยุดลงเมื่อถึงจุดจุดหนึ่งเหมือนในข้อที่ 2 ซึ่งในประเด็นนี้มาจากงานวิจัยล่าสุดที่เพิ่งตีพิมพ์ใน Proceedings of the National Academy of Sciences เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเป็นข่าวดังไปทั่ว เนื่องจากหนึ่งในทีมผู้ศึกษาเป็นนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล (Daniel Kahneman) ผลการศึกษาพบว่า ความสุขจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น (ไม่มีจุดที่ความสุขจะไม่เพิ่มอีกต่อไป) จนถึงระดับรายได้ที่ 500,000 ดอลลาร์ หรือ 17.4 ล้านบาทต่อปี (สาเหตุที่หยุดที่ 500,000 ดอลลาร์เนื่องจากไม่มีข้อมูลของกลุ่มที่มีรายได้สูงกว่านี้) อย่างไรก็ดี การศึกษาในครั้งนี้ยังพบว่าประมาณ 20% ของกลุ่มตัวอย่างที่ต่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้มีความสุขเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้อาจจะประสบกับปัญหาอื่นๆ ในชีวิต ที่ทำให้มีเงินเยอะก็ไม่ได้ทำให้มีชีวิตมีความสุข พอสรุปได้ว่าเงินนั้นมีผลต่อความสุขจริง แต่อาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล บางคนมีเงินมากขึ้นก็สุขมากขึ้น บางคนขอให้มีถึงระดับหนึ่งก็สุขและเพียงพอแล้ว บางคนอาจจะไม่ได้อยู่ที่การมีเงิน แต่อยู่ที่การได้ใช้เงิน ไม่ว่าใช้เงินเพื่อผู้อื่นหรือเพื่อซื้อประสบการณ์ ขณะเดียวกันสำหรับบางคนต่อให้มีเงินมากขึ้น ความทุกข์ก็ยังคงมีอยู่ เนื่องจากเงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อความสุขของคน เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยเท่านั้น แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจออนไลน์https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1057669

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งแคมเปญ “กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มแฮปปี้สงกรานต์ (ไมโครอินชัวรันส์)” มอบกรมธรรม์อุบัติเหตุฟรี ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์

30/04/2024

กรุงเทพฯ, 5 เมษายน 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ (ALive Powered by AIA) โดยบริษัท เอไอเอ เวลเนส จำกัด มอบความห่วงใยถึงคนไทยทั่วประเทศในวันปีใหม่ไทย เทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2566 เปิดตัวแคมเปญ “กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มแฮปปี้สงกรานต์ (ไมโครอินชัวรันส์)” โดย เอ ไลฟ์ ขอมอบกรมธรรม์อุบัติเหตุฟรีให้แก่ประชาชนทั่วไป ระยะเวลาคุ้มครองนาน 30 วัน ด้วยวงเงินคุ้มครองชีวิตสูงถึง 100,000 บาทต่อกรมธรรม์* กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ พร้อมรับผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุด 5,000 บาท** เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีหลักประกันความคุ้มครองอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมความอุ่นใจหากวางแผนเดินทางท่องเที่ยว หรือเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปร่วมรดน้ำขอพรจากญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งแคมเปญดังกล่าวยังเป็นการขานรับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา 'Healthier, Longer, Better Lives' ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่สนใจสามารถขอรับกรมธรรม์อุบัติเหตุฟรีได้จากแอปพลิเคชัน เอ ไลฟ์ (ALive Powered by AIA) และจากสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ หรือคลิกลิงก์ https://bit.ly/freepask23pr ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงเวลา 23.59 น. ของวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 และสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://bit.ly/freepask23pr หมายเหตุ: * ผลประโยชน์การเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่รวมการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ** ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจ้างพยาบาลพิเศษ อุปกรณ์ค้ำยันต่าง ๆ (ยกเว้นไม้ค้ำยัน) รถเข็นผู้ป่วย อวัยวะเทียมภายนอกร่างกาย ค่ารักษาพยาบาลโดยแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) การฝังเข็ม - ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ความคุ้มครอง และเงื่อนไขที่เอไอเอ เวลเนสประกาศก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ย้อนชีวิต ถนอม สามโทน สุดพลิกผัน จากรุ่งโรจน์สู่ติดลบ

30/04/2024

“หมดตัวๆ มันหลายอย่าง นอกจากจะทำธุรกิจไม่เป็น การดำเนินชีวิตด้วย มันไม่ค่อยถูกต้อง” “เมื่อก่อนอยู่บ้านนอกประมาณ 1-2 พอมาเป็นสามโทนปุ๊บขึ้นไปเป็น 100 แต่พอตกลงมา มันไม่มาที่ 1-2 ไง มันลบไปเลย ก็เลยเครียด”เล่าด้วยว่าตอนเกิดเหตุการณ์หนักๆ นั้น เป็นช่วงที่วงสามโทนได้แยกย้ายกันไปแล้ว เขาจึงตัดสินใจกลับไปอยู่ที่บ้านเกิดคือจังหวัดแพร่ “ผมหายไปจากวงการประมาณ 2 ปีได้มั้ง นอกจากเขามาจ้างให้เล่นละครบ้าง”ในช่วงที่ชีวิตมีปัญหาดังกล่าว ถนอมยอมรับว่าเขาหันไปดื่มเหล้าหนัก “หนักมากเลย เวลาดื่ม ผมจะดื่มแบบไม่เหมือนชาวบ้านชาวช่อง จะว่าแอลกอฮอล์ลิซึ่มก็ไม่เชิงนะ แต่ว่ามันต้องดื่มอยู่ตลอด พอดื่มแล้วก็ดื่มยาวไปเรื่อยๆ บางทีทั้งคืน ตื่นเช้ามาดื่มต่อ นี่เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินชีวิตไม่รุ่งเรือง ธุรกิจล้มด้วย”การดื่มของเขาในตอนนั้น ถนอมบอกว่ามีเหมือนกันที่ดื่มติดต่อกันหลายวันหลายคืน จนถึงขั้นเสียงาน “เสียมากเลย สมมุติว่ามีงานถ่ายละคร เราก็ไปแบบไม่เต็ม หรือไปไม่ทันบ้าง แล้วบทก็ไม่ค่อยแม่น คนอื่นก็จะเสียเวลา หน้าตาก็โทรมๆ มีกลิ่นละมุดด้วย ทำให้ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง”แล้วตอนนั้นรอดมาได้ยังไง? กับคำถามนี้เขาบอกว่า เขาใช้วิธีสวดมนต์ “ในขณะที่จะหายใจไม่ออก ผมก็สวดมนต์ ถ้าพูดในทางวิทยาศาสตร์ ผมสูดหายใจเข้าไป เอาลมเข้าไปเยอะๆ เหมือนกับปั๊มหัวใจ พอออกซิเจนเข้าไปในร่างกายเยอะๆ ผมเลยฟื้นขึ้นมา แล้วไม่ตาย”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับมติชนออนไลน์https://www.matichon.co.th/entertainment/news_3900627

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

คณิตศาสตร์ประกันภัย กับเคล็ดลับการเสี่ยงโชค

30/04/2024

คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงินผู้เขียน : พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่ แอคชัวรี)ขึ้นชื่อว่าการพนัน ยังไงเสียเจ้ามือ หรือผู้ออกกฎกติกาก็ชนะวันยังค่ำ คนที่เล่นการพนันก็รู้อยู่เต็มอกว่าค่าเฉลี่ยสิ่งที่จะได้กลับคืนจะมีมูลค่าน้อยกว่าเงินที่เสียไป เพียงแต่การพนันของคนบางคนเป็นการเสี่ยงโชคเพื่อความสนุกสนาน หรือเข้าข้างว่าความโชคดีจะเข้าข้างดังนั้น บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้เล่นการพนัน เพียงแต่จะมาแชร์เทคนิคของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ที่จะช่วยคำนวณและออกแบบให้ตนเองได้เปรียบ หรือการสร้างกฎบางอย่างที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามคิดว่าเราเสียเปรียบ แต่เมื่อลองคิดดูอีกที ยังไงเราก็ยังได้เปรียบอยู่ดี แต่มีอยู่วิธีหนึ่งที่ไม่ว่าโอกาสจะออกเป็นเลขอะไร เราก็ไม่ต้องสนใจ ขอแค่ให้รักษาสายป่านเอาไว้ วิธีนี้เรียกว่า การบริหารเงินหน้าตักจากเทคนิคการแทงทบ หรือเรียกว่าทฤษฎีมาร์ติงเกล (Martingale)หลักการคิดเมื่อแทงผิด ก็เพิ่มเงินพนันมากขึ้น 2 เท่า จากครั้งล่าสุดไปเรื่อย ๆ โดยสุดท้ายหากถูกแค่ครั้งเดียวก็จะสามารถคืนเงินขาดทุนได้ทั้งหมด แถมอาจจะกลับมาได้กำไรอีกด้วย ซึ่งมีกฎเหล็ก 3 ข้อ ที่จะทำให้วิธีแทงทบนี้สัมฤทธิผล ดังนี้1. คำนวณหาโอกาสความน่าจะเป็น หรือสถิติของการจะทายได้ถูกมาก่อน เช่น ถ้าทายตัวเลขของลูกเต๋ามา 1 หน้า โอกาสก็จะเป็น 1 ใน 6 ซึ่งแน่นอนว่าคนที่ลงเล่นจะเสียเปรียบมาก (เพราะโอกาสถูกมีน้อยกว่าครึ่ง) แต่ถ้าเราเล่นเงื่อนไขให้มันซับซ้อนขึ้นมาอีกก็สามารถสร้าง เงื่อนไขพิเศษขึ้นมา เช่น ทำเป็น แทง 1 จ่าย 2 ซึ่งก็จะทำให้โอกาสที่จะชนะเฉลี่ยได้กลายเป็น 2 ใน 6 เป็นต้น2. เงินหน้าตักนั้นได้คำนวณมาแล้วอย่างดีว่ามีเพียงพอ จะเล่นได้กี่ครั้ง หรือถ้ามีมากมายไม่จำกัดทำให้เล่นได้ นับครั้งไม่ถ้วน ก็ถือว่าเงื่อนไขนี้ผ่านเลย3. คนที่แทงทบจะหยุดเล่นเมื่อไรก็ได้เมื่อได้เงินครบตามที่ตัวเองต้องการก็สามารถเลือกที่จะจบเกมได้ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ห้ามจบเกมเอาดื้อ ๆในการใช้วิธีจำเป็นต้องอาศัยวินัยและการวางแผนที่รัดกุม1. จะเห็นว่าเจ้ามือ หรือกาสิโนจะมีเงินหน้าตักที่มหาศาล หรือไม่จำกัด จึงทำให้ถ้าพนันกันต่อเนื่องเรื่อย ๆ แล้ว กาสิโนหรือเจ้ามือจะชนะในระยะยาว เพราะทุกเกมนั้นได้ถูกคำนวณด้วยคณิตศาสตร์ออกมาเรียบร้อยแล้ว ว่าระยะยาวนั้นจะมีโอกาสออกอะไรบ้าง2. ในทางกลับกัน สำหรับผู้เล่นธรรมดาแล้ว ถ้าหากเงินบนหน้าตักไม่เพียงพอ อาจทำให้พอร์ตแตกได้ ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดที่มีปัญหามากที่สุด และในการพนันจริง ๆ แล้ว ทางเจ้ามือจะกำหนดเงินขั้นต่ำ และขั้นสูงเอาไว้ เพื่อป้องกันคนที่จะมาใช้วิธีนี้ (ทางนั้นก็จ้างนักคณิตศาสตร์ มาคำนวณไว้ให้อย่างดีแล้วเช่นกัน)อย่างไรก็ตาม มีคนเอากฎ 3 ข้อนี้ มาประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้นอยู่เหมือนกัน ซึ่งตลาดหุ้นไม่มีการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ และขั้นสูงเอาไว้ แถมเราจะหยุดเล่นเมื่อไรก็ได้ ขอให้มีการบริหารและคำนวณการใช้เงินบนหน้าตักให้ดี ๆ และตั้งเป้าว่าจะลงครั้งละเท่าไรและเล่นเท่าไรจึงจะพอ แต่กฎที่ยากที่สุดในการเอาไปประยุกต์กับตลาดหุ้น ก็คือ กฎข้อแรก นั่นคือ การคำนวณหาโอกาสความน่าจะเป็น ทางสถิติว่าจะมีขึ้นหรือลงเท่าไร เพราะโอกาสที่หุ้นจะขึ้นหรือลง มันไม่ได้ตายตัวเหมือนการทอยลูกเต๋าเทคนิคนี้ยังเคยมีคนเอามาประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจด้วย โดยถ้าเราอ่านประวัติของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหลายคน เราจะเห็นว่าเขาก็เคยเติบโตมาจากกฎ 3 ข้อนี้ คือ เมื่อเจ๊งครั้งแรกก็ไปลงทุนเพิ่มอีกเท่าตัว และเมื่อเจ๊งครั้งที่สองก็ลงทุนเพิ่มอีกเท่าตัว และจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ (ในประวัติจะเห็นว่ามีการกู้หรือเงินยืม จากคนในตระกูลด้วย) จนได้กำไรและเป็นมหาเศรษฐีในที่สุด เรียกว่าถ้าสายป่านยาวพอก็จะรอดนั่นเองขอย้ำอีกครั้ง ว่าการพนันเป็นสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งผมเขียนเพื่อแชร์เทคนิคทางคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อให้รู้ว่า ทำไมคนที่สร้างกติกาสามารถใช้หลักการนี้ถึงชนะได้ในระยะยาว ซึ่งในทางปฏิบัติการบริหารเงินบนหน้าตักนั้นสำคัญที่สุดครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1228084

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาษี

ลงทุนตราสารหนี้ต้องจ่ายภาษีไหม ?

30/04/2024

โดย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ลงทุนตราสารหนี้ต้องจ่ายภาษีไหม สำหรับผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาเมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะลงทุนเองโดยตรงในตลาดแรกหรือซื้อต่อจากผู้ลงทุนอื่นในตลาดรอง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ ผลตอบแทนรูปแบบใดต้องเสียภาษีและอัตราเท่าไหร่ สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ ผู้ลงทุนธรรดาลงทุนเองโดยตรง ดอกเบี้ย กรณีตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flxed-rate bond) ส่วนลดจากราคาหน้าตั๋วกรณีตราสารหนี้ไม่จ่ายดอกเบี้ย (Zero coupon bond) ● หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เฉพาะผู้ทรงคนแรก ● สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำไรจากการขาย ● หักภาษี ณที่จ่าย 15% ● สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ เงินปันผล ● หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ● ยกเว้นกองทุนรวมตราสารหนี้100% ● สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำไรจากการขายหน่วยลงทุน ● ได้รับการยกเว้น หมายเหตุ : นักลงทุนที่มีฐานภาษีไม่ถึง 15% สามารถขอคืนภาษีได้ โดยจะต้องนำรายได้ดอกเบี้ยทุกประเภทที่ได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ยงินฝาก และดอกเบี้หุ้นกู้ มารวมคำนวนในการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ในขณะที่หากลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ นักลงทุนจะไม่สามารถขอคืนภาษีได้แม้ว่าจะมีฐานภาษีไม่ถึง 15% เพราะผู้เสียภาษีคือกองทุนรวม ไม่ใช่นักลงทุน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1234184

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

แบงก์สหรัฐล้ม! ​ "กูรูนักคณิตศาสตร์ประกันภัยไขปม" ทำไมถึงล้มได้จากการลงทุนในบอนด์รัฐบาล

30/04/2024

“อาจารย์พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (อาจารย์ทอมมี่)” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคชัวเรียล บิสซิเนส โซลูชั่น (ABS) และในฐานะอดีตนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยฯที่คร่ำหวอดในวงการคณิตศาสตร์ประกันภัยมายาวนาน​ ได้โพสต์บนเพจเฟสบุ๊คความว่า​ ทำไมธนาคาร SVB ในอเมริกาถึงล้มได้จากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอยากลองเขียนอีกมุมของการบริหารงบการเงินในมุม ALM (Asset Liability Management) ของธนาคารไว้บ้างเพื่อแชร์ประสบการณ์ในสมัยที่ผมทำงานอยู่ในฮ่องกงและเคยอยู่บริษัทที่เป็นเครือของ AIG ในสมัยนั้น ทำให้เห็นภาพติดตาของสถาบันการเงินที่มีสัญญาณค่อยๆ ล้มหายไปตั้งแต่วันแรกจนเป็นโดมิโน่ทั้งกระดานตามมาในสมัยนั้นปกติธนาคารจะได้รับเงินเข้ามาก็ต่อเมื่อมีคนฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารก็จะมีตั้งแต่เงินฝากออมทรัพย์ซึ่งถอนได้ทุกเมื่อ กับอีกลักษณะที่เป็นเงินฝากประจำซึ่งมีระยะเวลายาวขึ้นมาและถ้าถอนก่อนกำหนดก็อาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ยเต็มจำนวนเพื่อป้องกันการแห่กันถอนเงินเงินฝากของลูกค้าที่ธนาคารได้รับมานั้น จะถือว่าเป็นเจ้าหนี้ของธนาคาร ซึ่งธนาคารต้องตั้งเป็นหนี้สินเอาไว้ เพราะมีภาระที่ต้องจ่ายคืนเงินให้ลูกค้าในอนาคต และแน่นอนว่า หน้าที่ของธนาคารไม่ใช่มีแค่จะต้องสำรองเงินไว้จ่ายในยามฉุกเฉินคืนให้ลูกค้าเท่านั้น แต่จะต้องนำเงินที่ได้มานั้นไปลงทุนให้เกิดดอกผลขึ้นมา เพื่อหล่อเลี้ยงธนาคารนั้นให้อยู่รอดไปได้ในการลงทุนของธนาคารนั้น ธนาคารสามารถทำได้หลายแบบซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการปล่อยกู้สินเชื่อ โดยระยะเวลาการปล่อยกู้สินเชื่อก็มีระยะเวลาแตกต่างกันไป ขึ้นกับประเภทของการปล่อยกู้ หรือถ้าธุรกิจของธนาคารนั้นไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อปล่อยสินเชื่อ ธนาคารอาจจะเลือกในเงินที่ได้มานั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินอื่นด้วยก็ได้ ซึ่งพันบัตรรัฐาลก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยที่สุด (แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีความเสี่ยงแฝงอยู่อีกหลายอย่าง สามารถตามอ่านบทความที่ผ่านมาเกี่ยวกับความเสี่ยงของตราสารหนี้ทั้งหมด 12 แบบ ที่ผมเคยเขียนขึ้นได้ครับ) แต่ธนาคารก็มีสิทธิ์เลือกลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงอื่นได้เช่นกันแต่จุดที่สำคัญที่เห็นในธุรกิจธนาคารก็คือ "สินทรัพย์ที่ธนาคารสามารถเลือกลงทุนได้นั้น (ปล่อยกู้สินเชื่อ หรือ ลงทุนในตราสารหนี้) จะมีธรรมชาติที่มีระยะเวลาของสัญญาที่ยาวกว่าฝั่งหนี้สิน (เงินฝากจากลูกค้าธนาคาร)" ซึ่งในสถานการณ์ปกตินั้นก็ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรซึ่งในเรื่องการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินนั้น ปกติแล้วจะเอาปัจจัยดอกเบี้ยมาคำนวณเป็นปัจจัยหลักด้วย ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงก็แปลว่าเงินที่เราจะได้ในอนาคตมันก็จะถูกด้อยค่าลง (เพราะเงินตอนนี้ จะดูมีความสำคัญกว่าเงินในอนาคต) ทำให้เวลาดอกเบี้ยสูงขึ้น จะมีผลลัพธ์ในการประเมินมูลค่าที่ได้ค่าที่ลดลงอยู่เสมอ และยิ่งเวลาเราประเมินอะไรที่มีระยะยาวมากๆ ตัวปัจจัยของอัตราดอกเบี้ย (ภาษาการเงินเรียกว่า อัตราคิดลด หรือ discount rate) นั้นก็จะยิ่งมีผลทวีคูณเข้าไปอีกนั่นแปลว่า ถ้าเราถือสินทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้ระยะเวลา 10 ปี แล้วเวลาอัตราดอกเบี้ยยิ่งสูงเท่าไร มูลค่าของตราสารหนี้ก็จะมีค่าลดลงทวีคูณเท่านั้นและถ้า เปรียบเทียบ ตราสารหนี้ระยะเวลา 10 ปี กับ ตราสารหนี้ระยะเวลา 5 ปี แล้วเราจะเข้าใจได้ว่า ตราสารหนี้ระยะเวลา 10 ปีนั้น จะผันผวนและมีผลกระทบมากกว่า จากปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ย (ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ตราสารหนี้ระยะเวลา 10 ปี จะมีมูลค่าลดลงและมีผลกระทบมากกว่า ตราสารหนี้ระยะเวลา 5 ปี)การที่อัตราดอกเบี้ยถูกปรับตัวขึ้นมาสูงนั้น ทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ถูกประเมินมูลค่าใหม่ให้มีค่าลดลงด้วยความรวดเร็ว (เนื่องจากมีระยะเวลาของสัญญาที่ยาวกว่า) การที่อัตราดอกเบี้ยถูกปรับตัวขึ้นมาสูงนั้น ทำให้มูลค่าของหนี้สินถูกประเมินมูลค่าใหม่ให้มีค่าลดลงเช่นกัน (แต่เนื่องจากเงินฝากนั้นมีระยะเวลาที่สั้นกว่า ผลกระทบทางฝั่งหนี้สินจึงไม่มากนัก) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ตัวของธนาคารก็จะมีผลกระทบที่จะทำให้กำไรสะสมนั้นลดลงมา ซึ่งในทางบัญชีนั้น ถ้าตราสารหนี้มีความตั้งใจจะถือในระยะยาว เพื่อนำไปใช้จ่ายหนี้สิน (เงินฝากที่ลูกค้ามาถอน) ในสถานการณ์ปกติแล้ว เวลามูลค่าของตราสารหนี้แกว่งตัวไปมานั้น จะยังไม่ได้ถือว่าเป็นกำไรหรือขาดทุนในตอนนั้น ยกเว้นแต่จะมีการขายออกมาจริง (ไม่สามารถทำตามวัตถุประสงค์ในตอนแรก ที่ต้องการจะถือในระยะยาวจนครบกำหนดสัญญา) ถึงจะนำส่วนต่างของการแกว่งจากการผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยมาถือว่าเป็นการขาดทุนในตอนนั้นถ้าเราทำความเข้าใจถึงหลักการทั้งหมดดังกล่าวแล้ว ก็นำมาเข้าสู่กรณีศึกษาของธนาคาร SVB ในอเมริกาที่เพิ่งล้มไปนั้น โดยผมสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้1. วัตถุประสงค์ของ SVB ที่แตกต่างจากธนาคารอื่น คือ ตั้งขึ้นมาเพื่อระดมทุนจากลูกค้าที่มีลักษณะธุรกิจประเภท Start Up โดยตอนแรกมีความตั้งใจจัดตั้งขึ้นมาเพื่อกระจายความเสี่ยงของธุรกิจ Start Up ด้วยกันเอง ทั้งการรับฝากเงินและการปล่อยสินเชื่อจึงอยู่ในกลุ่ม Start Up ด้วยกันเอง2. SVB ไม่ได้ตั้งใจจะเป็นธนาคารเพื่อดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้คนทั่วไป ดังนั้นเงินที่เหลือจากการปล่อยกู้ให้ Start Up ก็จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยที่สุด แต่ก็ยังเกิดดอกผล นั่นก็คือ พันธบัตรรัฐบาล 3. ลูกค้าของ SVB ระดมทุนได้ยากและมีต้นทุนสูงขึ้น และผลที่ตามมา จึงมีความต้องการไปถอนเงินฝากที่ SVB เพื่อใช้ดำเนินการในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ SVB จำเป็นต้องขายตราสารหนี้ในราคาประเมินใหม่ (ที่มีมูลค่าต่ำ เนื่องจากการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น)4. พอคนเริ่มตกใจกับข่าว ก็มีคนแห่ไปถอนเงินกันมากขึ้น (ภาษาการเงินเรียกว่า Bank Run) ทางธนาคารก็จะต้องถูกบังคับขายตราสารหนี้ในขณะนั้น เพื่อนำเงินสดมาจ่ายให้กับคนที่ถอนเงิน และยิ่งทำให้ราคาของตราสารหนี้ที่ขายได้ตกหนักไปอีก และก็ต้องรับรู้ผลขาดทุนกันในตอนนั้นด้วย (ไม่สามารถทำตามวัตถุประสงค์ในตอนแรก ที่ต้องการจะถือในระยะยาวจนครบกำหนดสัญญา) 5. เมื่อเกิดภาวะ Bank Run ไม่ว่าจะธนาคารไหน ก็จะล้มไม่เป็นท่า ซึ่งในกรณีนี้ SVB ก็ไม่มีข้อยกเว้นจริงๆ แล้ววิธีป้องกันเรื่องเหล่านี้ ก็มีในวิชาบริหารความเสี่ยงอยู่ทั้งหมดแล้วครับ สามารถตามหาอ่านบทความเกี่ยวกับ Asset Liability Management (ALM) ที่ผมเคยเขียนลงไว้ได้ (เดี๋ยวแปะ โพสต์ลงใต้คอมเม้นต์) เพียงแต่หลายคนอาจมองข้ามไป นานๆ เกิดขึ้นที ก็กลับมาให้ความสนใจเรื่อง ALM กัน แต่ในจุดนี้ ผมมองว่ายังไม่ถึงขั้นวัวหายล้อมคอกครับ ทุกกิจการสามารถกลับมาให้ความสนใจเรื่อง ALM เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นมาอีกได้โดยไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความเข้าใจและประสบการณ์เรื่อง ALM ของสถาบันการเงินให้ดีปล. Silicon Valley Bank (SVB) เป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของอเมริกา ธนาคารแห่งนี้เน้นให้เงินกู้แก่ Tech Start Up และกองทุน Venture Capital โดยธนาคาร SVB มีเงินฝากถึง $190 billion หรือ มีค่าเท่ากับสินทรัพย์ประมาณ 2 เท่าของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยรวมกันCredit : #อาจารย์ทอมมี่ #พิเชฐเจียรมณีทวีสิน #ABS #Actuarialbizแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับสยามรัฐออนไลน์https://siamrath.co.th/n/430687

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

เปิด 4 วิธีตรวจสุขภาพทางการเงิน เพื่ออนาคตที่มั่งคั่งและยั่งยืน

30/04/2024

คนส่วนใหญ่อาจจะคุ้นเคยกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคที่อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยรุนแรงในอนาคต ทำให้สามารถวางแผนการดูแลรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นได้ทันการ เป็นการป้องกันก่อนที่โรคจะลุกลามไปไกลเกินที่จะเยียวยา อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ในทางการเงินก็เช่นเดียวกัน การตรวจสุขภาพทางการเงินเป็นการดูแลสถานะทางการเงินในด้านต่าง ๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ของสุขภาพการเงินที่ดี ก่อนที่ความผิดปกติทางการเงินจะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ ทั้งนี้การตรวจสอบสุขภาพทางการเงินสามารถกระทำด้วยตนเองจากหลักใหญ่ ๆ 4 ด้านดังนี้ ด้านสภาพคล่อง เป็นความสามารถในการใช้จ่ายเงินสดในชีวิตประจำวัน หรือเปลี่ยนสิ่งของหรือทรัพย์สินให้เป็นเงินสด เพื่อนำไปใช้จ่ายหรือใช้หนี้สินระยะสั้นได้ รวมทั้งการสำรองไว้เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน การมีสภาพคล่องที่สูงจะแสดงให้เห็นถึงการมีสุขภาพการเงินที่ดี ตัวอย่างแหล่งเก็บเงินเพื่อสภาพคล่อง เช่น เงินฝากธนาคารทั้งแบบออมทรัพย์และแบบประจำ หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นต้น วิธีตรวจสุขภาพทางการเงินด้านสภาพคล่องโดยนำผลรวมสินทรัพย์สภาพคล่องจากแหล่งต่าง ๆ ข้างต้น หารด้วยยอดหนี้สินรวมระยะสั้นที่ต้องชำระภายใน 1 ปี ค่าที่คำนวณได้จะต้องมากกว่า 1 แต่ไม่ควรสูงจนเกินไป เพราะหากมีสภาพคล่องที่สูงมาก อาจทำให้มีการออมหรือใช้จ่ายเงินมากกว่าที่ควรจะเป็น และมีการลงทุนที่น้อยเกินไป สุขภาพการเงินด้านสภาพคล่อง = สินทรัพย์สภาพคล่อง/หนี้สินรวมระยะสั้น ด้านภาระหนี้สิน เป็นหนี้สินที่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามข้อตกลงตามสัญญาที่กำหนดไว้ โดยนำยอดหนี้สินรวมหารด้วยสินทรัพย์รวม ตัวอย่างยอดหนี้สินรวม เช่น บ้าน รถ ยอดผ่อนอื่น ๆ เป็นต้น ส่วนตัวอย่างสินทรัพย์รวม เช่น บ้าน รถ ทอง กองทุน หุ้น เงินฝากในสถาบันการเงินต่าง ๆ เป็นต้น ปกติอัตราส่วนนี้จะมีค่าน้อยกว่า 1 ค่าที่คำนวณได้มีค่ายิ่งน้อยก็จะยิ่งดี เพราะแสดงว่าไม่ได้ก่อภาระหนี้สินไว้มาก สุขภาพทางการเงินด้านภาระหนี้สิน = หนี้สินรวม/สินทรัพย์รวม ด้านการออม เป็นการแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเก็บสะสมไว้ใช้ในอนาคตหรือใช้เวลาฉุกเฉิน โดยอัตราส่วนของการออมที่สูงมากแสดงถึงสุขภาพทางการเงินที่ดีมาก และมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้สูงได้อีก โดยคำนวณจากเงินออมต่อปีหารด้วยรายรับรวมต่อปี สำหรับคนที่เริ่มต้นการออม อาจเริ่มต้นการออม 10% ของรายได้ และเพิ่มขึ้นเมื่อมีรายได้มากขึ้น นอกจากนี้อัตราส่วนการออมที่เพิ่มขึ้นยังแสดงถึงความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีด้วย สุขภาพทางการเงินด้านการออม = เงินออมต่อปี/รายรับรวมต่อปี ด้านการลงทุน เป็นการนำเงินที่เก็บสะสมไว้ไปต่อยอดสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าการออม โดยคำนวณจากสินทรัพย์ลงทุนหารด้วยสินทรัพย์รวม ค่าที่คำนวณได้ยิ่งมากก็จะยิ่งดี แสดงว่าสินทรัพย์จากการลงทุนที่ก่อให้เกิดรายได้มีมากกว่าสินทรัพย์ที่ไม่ก่อรายได้ ซึ่งหมายถึงการลงทุนทำให้เกิดรายได้หรือได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากทรัพย์สินเดิมที่มี สุขภาพทางการเงินด้านการลงทุน = สินทรัพย์ลงทุน/สินทรัพย์รวม จากการคำนวณอย่างง่าย ๆ ข้างต้น เป็นการตรวจสุขภาพทางการเงินได้ด้วยตนเอง และสามารถสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีได้ ผู้ตรวจสุขภาพทางการเงินสามารถรู้จุดที่ควรปรับปรุงได้ด้วยตัวเอง มีการปรับเปลี่ยนที่ส่งผลให้การตรวจสุขภาพทางการเงินในครั้งถัดไปให้ดียิ่งขึ้นได้ ส่งผลให้การดำเนินชีวิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คล้ายกับการตรวจสุขภาพประจำปีแล้วกลับมาดูแลตัวเองให้แข็งแรงมีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้การตรวจสุขภาพทางการเงิน ยังสามารถช่วยต่อยอดในการวางแผนการเงินด้านอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายเพื่อการเกษียณ การศึกษาลูกหลาน หรือเป้าหมายด้านอื่น ๆ ตามที่ต้องการ ดังนั้นการตรวจสุขภาพทางการเงินประจำปีจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรู้ และควรลงมือทำอย่างจริงจังหมั่นตรวจสุขภาพการเงินกันทุกปี เพื่อสุขภาพการเงินที่แข็งแรงสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน มีฐานะการเงินที่มีสภาพคล่องดี หมดปัญหาหนี้สิน มีเงินเก็บเงินออม และมีเงินลงทุน บทความโดย บุณยนุช ยุทธ์ประทุม นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1225375

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

ทำไม จึงไม่พบเหตุการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิต

30/04/2024

นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการประกันและอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (APFinSA) ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ค​"บรรยง​ วิทยวีรศักดิ์"ความว่า​ทำไม จึงไม่พบเหตุการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิตBank Run คือ ปรากฏการณ์ที่ลูกค้าจำนวนมาก แห่กันมาถอนเงินออกจากธนาคารพร้อมๆกัน ด้วยความกังวลว่าธนาคารกำลังขาดสภาพคล่อง หรือมีเงินไม่พอจ่าย  แต่ผมไปหาคำว่า Insurance Run ในพจนานุกรมทางการเงิน หรือใน Google ไม่พบคำนี้ ครั้นไปค้นหาคำว่า Bank run ในธุรกิจประกันชีวิตก็ไม่พบ แสดงว่ามีปรากฏการณ์คนแห่ถอนเงินจากบริษัทประกันชีวิตพร้อมๆกันมีน้อย หรือแทบไม่มีเลย เป็นเพราะอะไร วันนี้มีคำตอบมาเฉลยครับไม่เกิน 25% และในสินทรัพย์เสี่ยงนี้ ก็ยังมีกำหนดลึกลงไปอีกว่า การลงทุนในหุ้นก็ต้องกระจายไม่เกินบริษัทละกี่เปอร์เซ็นต์ ปล่อยกู้ได้ไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ เงินส่วนใหญ่ให้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ที่มีหลักประกันใช่ครับ ลงทุนก้อนใหญ่ที่สุดของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ในพันธบัตรระยะยาวถึง 50%  พวกเราอาจจะกลัวว่า ในภาวะที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ตราสารหนี้ระยะยาวพวกพันธบัตรและหุ้นกู้จะมีราคาลดลง และไปกระทบต่อสถานะของบริษัทประกันชีวิตหรือเปล่า คำตอบคือไม่กระทบ เพราะบริษัทประกันชีวิตมักจะถือตราสารหนี้เหล่านั้นไว้จนครบสัญญา และดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้ลูกค้าเสมอ (cover liabilities) จึงสามารถครอบคลุมภาระผูกพันธ์ที่มีต่อลูกค้าตลอดสัญญาแน่นอนอาจจะมีคนถามว่า แล้วถ้าหากลูกค้ามาถอนพร้อมๆกัน ทำให้บริษัทต้องขายตราสารหนี้ส่วนนี้ออกมาในราคาขาดทุน จะกระทบต่อบริษัทเหมือนกับที่เกิดกับธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ไหม คำตอบคือกระทบน้อย เพราะถ้าลูกค้าถอนก่อนกำหนด ลูกค้าก็จะได้รับเงินเวนคืนค่อนข้างน้อย เช่น ถ้าถอนใน 10 ปีแรกของสัญญากรมธรรม์แบบ 20 ปี ก็อาจจะขาดทุนถึง 20% ของเงินต้นทำให้บริษัทประกันชีวิตที่ขายตราสารหนี้ออกมาถึงแม้ขาดทุน แต่ก็ขาดทุนน้อยกว่าที่จ่ายให้ลูกค้า ซึ่งเรื่องเหล่านี้บริษัทประกันชีวิตได้คิดไว้ล่วงหน้า และตกลงกับลูกค้าแล้วว่า เงินนี้เป็นการลงทุนระยะยาว หากลูกค้าผิดสัญญาก็จะมีข้อกำหนดลงโทษ ให้ได้เงินน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ (หากถือจนครบสัญญา) 6. มีกองทุนประกันชีวิตรับประกันในวงเงินหนึ่งล้านบาท ธุรกิจประกันชีวิตก็มีกองทุนประกันชีวิต ที่ทำหน้าที่เหมือนสถาบันประกันเงินฝาก กล่าวคือในกรณีที่มีบริษัทประกันชีวิตล้มหายตายจากไป กองทุนประกันชีวิตจะทำหน้าที่ เข้ามาดูแล โดยจะชดเชยให้ผู้ถือกรมธรรม์ทุกคนในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท ตามมูลค่าเงินสดที่เรามีสะสมอยู่กับบริษัทประกันชีวิตนั้นๆ ซึ่งตั้งแต่ตั้งกองทุนนี้มา ผมก็ยังไม่เคยได้ยินว่าต้องไปชดเชยเงินให้กับลูกค้าของบริษัทไหน เพราะธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่มีกำไรค่อนข้างแน่นอน หากจะขาดทุนก็เกิดจากการที่มียอดขายน้อยเกินไป ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย แต่ไม่ได้เกิดจากการที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้มีนักธุรกิจที่พร้อมจะเข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทประกันชีวิตอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ไปกระทบจนต้องไปขอความคุ้มครองจากกองทุนประกันชีวิต  โดยลูกค้าส่วนใหญ่ในประเทศไทย กว่า 90% มีเงินออมในบริษัทประกันชีวิตไม่เกินหนึ่งล้านบาท คนส่วนใหญ่จึงมั่นใจได้ว่าได้รับการคุ้มครองโดยกองทุนประกันชีวิตอยู่แล้ว หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้น เราจึงไม่พบเห็นปรากฏการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิต แม้แต่ตอนที่บริษัท AIG มีปัญหานั้น อาจจะมีคนบางส่วนแห่กันมาถอนเงินที่บริษัท AIA โดยเข้าใจว่าบริษัท AIG จะสามารถดึงเงินจากบริษัท AIA ไปทั้งหมดได้ แต่ตามกฎหมาย ผู้ถือหุ้นต้องดำรงเงินกองทุนให้เพียงพออยู่เสมอ ไม่สามารถถอนเงินลงทุนตามกฎหมายของตนออกไปได้ นี่ไม่ต้องพูดถึงเงินเบี้ยประกันส่วนของลูกค้าที่คปภ.ควบคุมใกล้ชิด โดยระบุว่าต้องนำไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร แล้วต้องนำตราสารที่ลงทุนไปฝากไว้ที่คัสโตเดียนหรือผู้รักษาหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อีกแห่ง ที่เป็นคนกลางคอยดูแลความมีอยู่จริงของสินทรัพย์ เช่น ซิตี้แบงค์หรือธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น จึงมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันตลอดเวลา ผู้เอาประกันภัยจึงมั่นใจได้ว่าได้รับการคุ้มครองดูแลจากคปภ.เป็นอย่างดีหวังว่าบทความนี้ จะทำให้ผู้เอาประกันชีวิตสบายใจได้ว่า เงินของท่านที่เก็บออมไว้ในบริษัทประกันชีวิต เพื่อหวังไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต หรือจะส่งต่อไปให้ลูกหลานนั้น ได้รับการปกป้องอย่างดี มีความมั่นคงสูง ไม่เกิดเหตุการณ์ Bank Run อย่างที่ปรากฏในสหรัฐแน่นอนครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับสยามรัฐออนไลน์https://siamrath.co.th/n/430406

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

Silicon Valley Bank ล้ม จะลามเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ได้หรือไม่

30/04/2024

● SVB หรือ Silicon Valley Bank คือธนาคารอะไร ทำไมถึงได้ล้ม  ● SVB ล้มจะทำให้ตลาดเงินตลาดทุนผันผวนอย่างไร ● เฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยรอบเดือนมีนาคมหรือไม่ และจะจบรอบเร็วขึ้นได้ไหม 1. SVB คือใคร : Silicon Valley Bank หรือ SVB เป็นแบงก์ใหญ่เป็นอันดับ 16 ในสหรัฐฯ ด้วยสินทรัพย์ 2.09 แสนล้านดอลลาร์ โดยมาทำธุรกิจกับกลุ่ม Start up หรือกลุ่มเทค ล่าสุดในวันศุกร์ที่ผ่านมาถูกสั่งปิดโดย FDIC หรือ Federal Deposit Insurance Corp. คล้ายๆ หน่วยงานคุ้มครองเงินฝาก (แต่คุ้มครองเพียง 250,000 ดอลลาร์ ซึ่งมีเพียง 3% ของบัญชีในแบงก์นี้ (อีกราว 97% มีเงินมากกว่าและยังไม่จ่ายส่วนที่เหลือคืนจนกว่าจะขายทรัพย์สินได้ ลองนึกภาพธุรกิจจะจ่ายคู่ค้าหรือพนักงานยังไง) 2. ทำไมล้ม : ปัญหาของแบงก์นี้คือเกิดจากความน่าเชื่อถือ เกิด bank run หรือคนไม่มั่นใจแห่ถอนเงินจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มาจาก partners ที่เป็น Private Equity, Venture Capital, Tech, Health tech แค่วันพฤหัสบดีวันเดียวมีคนถอนเงินฝากไปราว 1 ใน 4 ของเงินฝากทั้งหมด แบงก์ขาดกระแสเงินหมุนเวียน เจอปัญหาสภาพคล่องจนลามเป็นปัญหาล้มละลาย FDIC จึงต้องมาระงับกิจการ โอนเงินฝากให้แบงก์ที่จะจัดตั้งใหม่ ขอย้ำว่าวิกฤตินี้ไม่เหมือนปี 2008 ตอนเลห์แมนล้ม ตอนนั้นคือปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตจากการลงทุนในอนุพันธ์ด้านอสังหาฯ ตอนนี้คือความเสี่ยงด้านตลาดหรือสภาพคล่อง จากดอกเบี้ยขาขึ้นและขาดการบริหารที่ดีด้านระยะเวลาเงินฝากและสินเชื่อ 3. ทำไมคนไม่ไว้ใจ : อยู่ๆ ราคาหุ้นร่วงลง 60% ในวันเดียวจากความกังวลว่าจะเกิดการเพิ่มทุนจำนวนมาก เพื่อชดเชยการขาดทุนมหาศาลจากการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จริงๆ ถ้าไม่ขายก็ไม่ขาดทุน (แต่ต้องรับรู้ Fair Value ผ่าน Balance sheet) เรียกว่า unrealized loss คือ ราคาพันธบัตรลดลงต่ำว่าหน้าตั๋ว เพราะเมื่อดอกเบี้ยขึ้นแรง ราคาพันธบัตรที่สวนทางกับดอกเบี้ยที่ขึ้นจะลดลง เมื่อ SVB ต้องการเงินก็จำเป็นต้องขายขาดทุน พอขาดทุนก็ต้องการเงิน ไปขอเพิ่มทุน คนก็กลัวเทขายหุ้น คนฝากก็ panic ตกใจถอนเงิน จนเป็นภาวะปิดตัวเช่นนี้ และอีกประเด็นที่ทำไมขาดเงินก็เพราะธุรกิจเทคในสหรัฐฯ โดยเฉพาะเทคตัวเล็กขาดทุนอยู่มาก ยังไม่มีกำไรหรือกระแสเงินสดดี พอดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่องยิ่งมีปัญหา กระทบแบงก์นี้ไปด้วยที่เน้นธุรกิจกลุ่มนี้ 4. จะลามไหม : ในช่วงวันพุธถึงวันพฤหัสบดีเราเห็นราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับย่อลงเพราะความกังวลว่าจะมีแบงก์อื่นล้มด้วยไหม แต่ปัญหานี้น่าอยู่ในแบงก์ขนาดเล็กที่เน้นกลุ่มเทคหรือ start up เป็นหลัก ซึ่งต่างกับแบงก์ใหญ่ ในวันศุกร์แล้วหุ้นแบงก์ใหญ่ฟื้น แต่แบงก์เล็กลงต่อ โดยรวมไม่น่าลาม โดยธนาคารที่มีการถือตราสารที่ดี ยังสามารถเข้าถึงสภาพคล่องจากเฟดได้ แต่อาจมีแบงก์ที่มีปัญหาเพิ่ม ในกลุ่มที่ขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ขึ้นแรงในสหรัฐฯ จนราคาพันธบัตรลดลง (จริงๆ ถ้าถือจนครบอายุสัญญาจะไม่ขาดทุน) ต้องดูว่าใครร้อนเงินอีก หรือมีใครโดนแห่ถอนเงินจากวิกฤติศรัทธาบ้าง (หลักๆ คงจะเป็นธนาคารที่ทำธุรกรรมเกี่ยวกับกลุ่มเทค ที่ลงทุนใน Crypto ในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ) 5. ตลาดเงินตลาดทุนจะผันผวนอย่างไร : ตลาดหุ้นน่าจะยังผันผวนจากความกังวลว่าจะมีแบงก์ไหนเป็นรายต่อไปที่ล้ม หรืออย่างน้อยก็ห่วงการลงทุนในกลุ่มการเงินไว้ก่อน รวมทั้งกลุ่มเทคขนาดเล็กที่คนอาจกังวลปัญหาขาดเงินทุน โดยเฉพาะช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นนี้ 6. จะเกิดการว่างงานรุนแรงหรือไม่ : ปัญหาการว่างงานในสหรัฐฯ หากจะเพิ่มขึ้น ก็น่ากระจุกในกลุ่มเทคที่จะมีการเลิกจ้างเพิ่มเติม แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำต้นทุนสูงตาม รายได้โตไม่ทัน ต้องหาทางลดรายจ่าย ลดคน แต่ไม่น่ารุนแรงไปกระทบภาคอื่นมาก สหรัฐฯ ยังมีอัตราการว่างงานต่ำ แม้ขยับเป็น 3.6% แต่ก็นับว่าต่ำมาก โดยเฉพาะยังมีการเติบโตของค่าจ้างในกลุ่มภาคบริการมาก หาคนทำงานยาก ปัญหานี้ยังลากยาว ไม่น่าส่งผลให้คนว่างงานมากขึ้นจากกรณี SVB ล้ม 7. เงินเฟ้อมีโอกาสลดลงหรือไม่หากเศรษฐกิจมีปัญหา : อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ มีโอกาสลดลงจากปีก่อนที่เฉลี่ย 8% ปีนี้น่าอยู่ที่ราว 4% แต่หากจะลดลงแบบเดือนต่อเดือน คงยาก เพราะอัตราค่าจ้างยังสูงขึ้น บริษัทยังต้องขยับราคาสินค้าเพิ่ม และการคาดการณ์ราคาสินค้ายังสูง แต่หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีปัญหา ชะลอลงแรงจริง อัตราเงินเฟ้อก็อาจลดลงได้บ้าง แต่ไม่น่าลงได้เร็วเหมือนในอดีต เพราะมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ห่วงโซ่อุปทานยังมีปัญหา 8. เฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยรอบเดือนมีนาคมหรือไม่และจะจบรอบเร็วขึ้นได้ไหม : หากเฟดจะลดความร้อนแรงของการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม ไม่ขึ้น 0.50% แต่ขึ้นเพียง 0.25% และระดับดอกเบี้ยสูงสุดอาจอยู่ที่ระดับ 5.75% ไม่ใช่ไปแตะระดับ 6.00% และใกล้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งความไม่แน่นอนจากตัวเลขอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มของค่าจ้างไม่ร้อนแรง การขึ้นดอกเบี้ยอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังจำเป็นอยู่ เพราะเงินเฟ้อยังสูง กรณี SVB อาจไม่มีน้ำหนักมากหากไม่ลามและรุนแรง 9. ผลกระทบต่อไทยหลังปัญหาสภาพคล่องในสหรัฐฯ : โดยมากผลกระทบต่อไทยในระยะสั้นจะผ่านตลาดเงินและตลาดทุน ที่ยังมีแนวโน้มผันผวนในสัปดาห์หน้า อาจมีแรงเทขายในสินทรัพย์เสี่ยงบ้างในระยะสั้น แต่ตลาดน่าให้น้ำหนักการชะลอตัวของค่าจ้างแรงงานและอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ แต่อาจรอตัวเลขเงินเฟ้อ ยอดค้าปลีก และอื่นๆ เพื่อดูสัญญาณว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อแรงหรือไม่ กรณี SVB อาจมีน้ำหนักด้านเสถียรภาพตลาดการเงิน ทำให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เงินน่ากลับมาตลาดเกิดใหม่ เงินบาทน่าขยับแบบ sideway 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ ส่วนหาก SVB มีปัญหาลามต่อหรือมีความไม่แน่นอนต่อ ก็อาจกระทบภาคการส่งออกของไทยซึ่งก็ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ให้ชะลอต่อได้ ส่วนราคาน้ำมันในตลาดโลกน่าย่อลงตามอุปสงค์ที่อ่อนแอลง ทำให้การนำเข้าไทยลดลงตาม ไม่น่ามีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเหมือนก่อนหน้า ส่วนภาคการท่องเที่ยวของไทยไม่น่ากระทบ โดยรวมปัญหานี้น่ากระจุกในสหรัฐฯ ไม่น่ากระทบเอเชียแปซิฟิกมากนัก โดยเฉพาะจีนที่ยังเติบโตได้ดี แต่แน่นอนว่าการส่งออกไม่สดใส สำหรับธนาคารไทย คงไม่น่าจะมีปัญหา เนื่องจากทาง BOT ไม่ได้อนุญาตให้ธนาคารลงทุนใน Crypto โดยตรง ขณะที่กลุ่มการเงินก็ยังคงถูกกำกับอย่างเข้มงวดจาก Regulators ของไทย 10. คำแนะนำการลงทุนในช่วงนี้ : เราเชื่อว่าปัญหาภาคธนาคารของสหรัฐฯ กระจุกในธนาคารขนาดเล็กที่เชื่อมโยงกลุ่มเทคหรือกลุ่ม start up รวมทั้งมีการขาดทุนทางตัวเลขที่ไม่รับรู้ (unrealized loss) สำหรับธนาคารที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แต่ด้วยความน่าเชื่อถือที่ยังดี และหากธนาคารถือพันธบัตรจนครบอายุสัญญา ก็ไม่เสี่ยงขาดทุน (ผลกระทบน่าจะอยู่ในระดับจำกัด) ทั้งนี้ เราจึงมองว่าเป็นความผันผวนระยะสั้น ไม่ลามจนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ พื้นฐานดี กระจายการลงทุนทั่วโลกยังน่าทำได้ นอกจากนี้ ที่ลุ้นคือเงินเฟ้อสหรัฐฯ แม้ยังอยู่ในระดับสูง แต่มีท่าทีชะลอลง ซึ่งนักลงทุนน่าหาจังหวะเข้าสะสมพันธบัตรหรือตราสารหนี้ ที่ใกล้ถึงจุดสูงสุด ส่วนภาคเอเชียแปซิฟิกโดยเฉพาะจีนยังน่าสนใจ เราอาจให้น้ำหนัก A-share หรือหุ้นในจีน มากกว่า H-share ที่มีกลุ่มเทคในฮ่องกง โดยรวมน่าเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในจีนและจีนน่าหาทางลดความผันผวนในตลาดทุนเทียบสหรัฐฯ ได้ Lesson learned ข้อคิดที่ได้จากกรณี SVB 1. อย่าใส่ไข่ทุกใบในตะกร้าใบเดียว ควรกระจายการลงทุน อย่าเป็นเหมือนคนฝากเงินใน SVB ที่พึ่งแบงก์เดียว รวมทั้งนักลงทุนไม่ลงทุนในสินทรัพย์ใดประเภทเดียว 2. วิกฤติเปลี่ยนรูปแบบเสมอ จากด้านเครดิตปี 08 เป็น mismatch และสภาพคล่องปี 23 หรืออาจมีรูปแบบใหม่ๆ เข้ามา แต่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นในระดับสูงเช่นนี้ อาจเห็นธุรกิจอื่นที่มีปัญหาซ่อนไว้รอประทุขึ้นได้ 3. แม้ตลาดจะฟื้น แต่นักลงทุนยังควรระมัดระวังความผันผวนต่อไปจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าแบ่งเงินลงทุนเป็นหลายๆ ไม้ ค่อยๆ ลงทุนทีละน้อยจนครบเป้าหมาย ไม่แนะนำลงทุนทีเดียวครบ เพราะเราไม่มีทางรู้ทิศทางตลาดและไม่จำเป็นต้องได้ราคาต่ำสุดเสมอไป แต่น่าได้ความสบายใจไปด้วย โดยสรุป กรณี SVB น่าจะเป็นปัญหาเฉพาะกลุ่มจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่กระทบราคาพันธบัตรและมีผลให้กลุ่มเทคและกลุ่ม Start up มีปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง จนกระทบธนาคารที่เชื่อมโยงกับกลุ่มนี้ รวมทั้งผู้ฝากเงินขาดความเชื่อมั่นจนแห่ถอนเงิน และปัญหาเช่น SVB นี้ไม่น่าลามจนเกิดวิกฤติการเงินเหมือนในปี 2008 เพราะการเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจจริงอื่นๆ มีน้อยและขนาดของธนาคารที่มีปัญหาไม่ได้ใหญ่จนมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวร้าย หรือยังมีอีกหลายธุรกิจที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูง ผลประกอบการจะถูกปรับลดลง บางธุรกิจขาดทุนจนต้องปิดตัว เกิดการเลิกจ้างงานจำนวนมาก เกิดเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เงินเฟ้อกลับไม่ลดลงเพราะมีปัญหาเชิงโครงสร้างและปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ภาพแบบนี้เป็นภาวะ Stagflation ที่น่ากลัว และยากในการแก้ไขด้วยนโยบายการเงิน จนเหตุการณ์อาจเลวร้ายหนักกว่ารอบก่อนๆ ก็ได้หากว่า SVB ที่เราเห็นเป็นแค่หนังตัวอย่าง และของจริงกำลังจะตามมา ซึ่งผมยังไม่ได้มองภาพเลวร้ายเช่นนั้น และเชื่อว่าเฟดมีความยืดหยุ่นพอที่จะดูแลปัญหาในลักษณะนี้ บทความโดย ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้บริหารสำนักวิจัยและที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/business/feature/2652230

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

5 อคติ สาเหตุที่ทำให้ 'ขาดทุน'

30/04/2024

เคยสงสัยไหมว่า ในการตัดสินใจลงทุนแต่ละครั้งก็ทำการบ้านมาอย่างดี หาความรู้มากมายจากหลายแหล่ง แต่ทำไมยังขาดทุนอยู่? นั่นอาจเป็นเพราะ “อคติ” ที่ทำให้การวิเคราะห์ หรือการตัดสินใจของเราไขว้เขว วันนี้แอดมินจึงขอนำเสนอ “5 อคติ สาเหตุที่ทำให้ขาดทุน” ไปดูกันเลยว่า ที่เราขาดทุนเป็นเพราะอคติเหล่านี้หรือเปล่า? 1. Herding Bias (อคติจากการทำตามคนหมู่มาก) อคติจากการทำตามคนหมู่มาก เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยที่สุดในโลกการลงทุน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ซื้อหุ้นตามเซียน เทรดตามกูรูใน Facebook หรือซื้อสินทรัพย์ตามบทวิเคราะห์บน YouTube นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาการ “กลัวตกรถ” จึงรีบซื้อ และ “กลัวติดดอย” จึงรีบขาย 2. Anchoring Bias (อคติจากการยึดติด) แปลตรงตัวว่า “การทอดสมอ” โดยเป็นพฤติกรรมที่เราจะพึ่งพาข้อมูลชิ้นใดชิ้นหนึ่งมากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ดีเท่าที่ควร และยังรวมไปถึงการมีความเชื่อว่าสิ่งที่กำลังลงทุนอยู่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด และจะดีต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่คำนึงว่าพื้นฐานของสินทรัพย์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 3. Overconfidence Bias (อคติจากความมั่นใจเกินไป) อคติประเภทนี้ คือ ผู้ลงทุนมีความมั่นใจมากเกินไป ก่อให้เกิดความประมาทในการประเมินความเสี่ยง และมีการตั้งความหวังต่ออัตราผลตอบแทนที่สูงเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การลงทุนแบบ “เทหมดหน้าตัก” หรือ All-in โดยไม่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีพอ 4. Confirmation Bias (อคติจากการยืนยันสิ่งที่เราเชื่อ) หนึ่งในอคติที่เป็นกับดักตัวร้ายที่สุดของนักลงทุน โดยอคติประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราทำการค้นหาข้อมูล เพื่อยืนยันความเชื่อ หรือความคิดเดิมที่มีอยู่ และคิดว่าความเชื่อที่ตนเองยึดถืออยู่นั้นถูกต้องแล้ว เพราะมีข้อมูลเพิ่มเติมมาช่วยยืนยัน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเลือกที่จะรับแต่ข้อมูลที่ยืนยันความเชื่อเรา 5. Blind Spot Bias (อคติว่าเราไม่มีจุดบอด) คือการคิดเข้าข้างตัวเอง โดยจะมองไม่เห็นจุดบอดหรือจุดบกพร่องของตัวเราเอง แถมยังไปคิดว่าเราไม่ได้มีจุดบอดหรือมีข้อบกพร่องอะไร คนอื่นต่างหากที่บกพร่อง! อคติประเภทนี้จะทำให้เรามีความเชื่อว่าแนวทางหรือทฤษฎีการลงทุนของเราเป็นวิธีที่ดีที่สุด ไม่มีจุดบอดหรือข้อบกพร่องใด ๆ ที่จะนำไปสู่การขาดทุน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythai https://www.wealthythai.com/en/updates/digital-asset/15265

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X