Everyday knowledge for you
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
ปัจจุบันการเลือกประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมได้ว่าเราจะเจ็บป่วยตอนไหน การมีประกันสุขภาพจึงเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด แต่การเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเองก็เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากมีหลายปัจจัยให้พิจารณาอย่างละเอียด วันนี้ GEN HEALTHY LIFE จึงได้นำเสนอข้อมูลแนวทางการเลือกประกันสุขภาพฉบับมือใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาก่อนเลือกซื้อ มาดูกันว่าแนวทางการเลือกประกันสุขภาพที่ดีและเหมาะกับเรามีอะไรบ้าง!ข้อแรก "ต้องการให้คุ้มครองอะไร" แน่นอนว่าหากกำลังมองหาประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเรา ควรพิจารณาประเภทความคุ้มครองที่ต้องการในอนาคตก่อนเลือกซื้อแพ็คเกจประกัน ตัวอย่างเช่น บางกรมธรรม์อาจไม่รวมการรักษาบางอย่าง เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การตั้งครรภ์ ทันตกรรม หรือความคุ้มครองเกี่ยวกับกายภาพบำบัด หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬาผาดโผน สิ่งเหล่านี้มักจะไม่รวมอยู่ในแพ็คเกจพื้นฐาน ดังนั้นควรระบุความต้องการให้ชัดเจน หรือค้นหาข้อมูลแพ็คเกจประกันที่เหมาะสมกับตัวเราหรือบุคคลที่เราต้องการซื้อประกันให้ลำดับต่อมา "ต้องการให้คุ้มครองใคร" หากเราต้องการทำประกันสุขภาพคุ้มครองใครสักคน อย่าลืมระบุชื่อและรายละเอียดของผู้ที่เราต้องการคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ เช่น พ่อ-แม่ คู่สมรส หรือ บุตรของเราเอง เพื่อที่จะไม่พลาดการคุ้มครองคนที่เรารัก และปกป้องสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา“ค่าใช้จ่ายเท่าไร” ในส่วนของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับประกันสุขภาพจะแตกต่างกันไปตามประเภทของประกันสุขภาพที่เราเลือกซื้อ และระดับความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพนั้น ๆ รวมถึงปัจจัยด้าน อายุ เพศ ประวัติสุขภาพ ดังนั้นการคำนึงถึงค่าใช้จ่ายก่อนซื้อประกันสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เราได้เลือกแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมและไม่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไปในระยะยาวสุดท้าย “ต้องการความคุ้มครองมากขนาดไหน” จำนวนความคุ้มครองด้านสุขภาพที่จำเป็นนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน อาทิ ภาวะสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาในพื้นที่นั้น ๆ และปัจจัยทางกรรมพันธุ์ต่างๆ เป็นต้นสุดท้ายนี้การเลือกประกันที่ถูกต้อง จะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ซื้อเป็นหลัก และประกันที่ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องแพงที่สุด หากใครมีข้อสงสัย และ ต้องการคำแนะนำก่อนเลือกซื้อประกันทุกประเภท สามารถติดตามบทความและเกร็ดเคล็ดลับดี ๆ ได้ที่ Gen Healthy Life เพราะเรามีเรื่องราวดี ๆ มาเสิร์ฟตลอด 24 ชั่วโมงแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=143322
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
29 มีนาคม 2566 : นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นบริษัทประกันชีวิต ลวงชวนให้ผู้เอาประกันภัยหลงเชื่อ โดยใช้อุบายแจ้งให้ผู้ที่ได้รับข้อความสั้น (SMS) โดยนำเรื่องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ หรือเกี่ยวกับบริษัทประกันชีวิตมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น คุณคือผู้โชคดีที่ได้รับเงินปันผลจากกรมธรรม์ประกันชีวิต เงินค่าสินไหมทดแทน หรือ รับคูปองเติมน้ำมัน เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบที่บริษัทก่อตั้งขึ้น เป็นต้น พร้อมแนบลิงก์ให้กดเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อรับสิทธิ์สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเตือนให้ผู้เอาประกันภัย อย่าหลงเชื่อ กดลิงก์หรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ เมื่อได้รับข้อความสั้น (SMS) รวมถึงตอบรับคำเชิญคนที่ไม่รู้จักบนแพลตฟอร์ม LINE ทั้งนี้โปรดสังเกตเบอร์โทรศัพท์ที่ส่งข้อความ มักเป็นหมายเลขที่มาจากต่างประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัว และ ข้อความดังกล่าวมักไม่มีการระบุชื่อผู้รับ ไม่มีเบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่อกลับที่ชัดเจน หรือเป็นข้อความที่มีเนื้อหาที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือเกิดความดีใจเป็นอย่างมาก จนทำให้ผู้รับข้อความสั้น (SMS) ไม่ได้ระมัดระวังในการตั้งข้อสงสัยนอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกจุดหนึ่งที่สำคัญ คือ ลิงก์หรือเว็บไซต์ที่แนบผ่านข้อความสั้น (SMS) มักจะเลียนแบบให้ดูเหมือนเป็นลิงก์ของบริษัทประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยคุ้นเคย ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าข้อความที่ได้รับมาจากบริษัทประกันชีวิตหรือไม่ โปรดสังเกตที่ URL โดยที่ลิงก์ไม่ปลอดภัยมักจะขึ้นต้นด้วย http:// ส่วนลิงก์ที่ปลอดภัยมักขึ้นต้นด้วย https:// โดยจะต้องมีตัว s ต่อท้าย ซึ่งหมายถึง ‘Secure' (ความปลอดภัย)ดังนั้น หากผู้เอาประกันภัยได้รับข้อความสั้น (SMS) ที่มีลักษณะข้างต้น สามารถตรวจสอบหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าของบริษัทประกันชีวิต เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อความสั้น (SMS) ที่ได้รับเป็นของบริษัทประกันชีวิตใช่หรือไม่ ทั้งนี้อย่ากดลิงก์ หรือ กรอกข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ เช่น ชื่อ นามสกุลเลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด ก่อนการตรวจสอบโดยเด็ดขาด เพราะเท่ากับให้ข้อมูลส่วนบุคคลให้มิจฉาชีพหรือกลุ่มคนผู้ไม่หวังดี เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเงินเป็นจำนวนมากโดยที่คาดไม่ถึงแหล่งที่มาข่าวต้นฉับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=143643
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสังคม
30/04/2024
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33, 39, 40 เคยรู้บ้างไหมว่า เงินสมทบที่เราจ่ายไปทุกเดือนนั้นจะได้อะไรกลับมาบ้าง ? วันนี้ “ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนทุกมาตรามาไว้ให้แล้วในบทความนี้รู้จักหลักการของระบบประกันสังคม“ประกันสังคม” หรือระบบกองทุนประกันสังคม เป็นโครงการที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงและเป็นหลักประกันให้กับสมาชิก โดยออกเงินสมทบเข้าเป็นกองทุนกลางที่มีผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ออกเงินสมทบร่วมกัน เพื่อเป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขในกลุ่มสมาชิกภาพจากสำนักงานประกันสังคมทำไม ? คนวัยทำงานต้องมีประกันสังคม“ประกันสังคม” ถือเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิตของคนทำงาน ช่วยลดภาระความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย การรักษาพยาบาล การคลอดบุตร ทุพพลภาพ ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต ซึ่งผู้ประกันตนที่มีประกันสังคมจะได้รับการดูแลและทดแทนรายได้เมื่อเจ็บป่วยหรือต้องการไปหาหมอ หรือได้รับการทดแทนค่าใช้จ่ายตามเหตุ สอดคล้องกับข้อกำหนดในการใช้สิทธิประกันสังคมทั้งหมดประกันสังคม มีผู้ประกันตน 3 ประเภทผู้ประกันตนภาคบังคับ มาตรา 33 พนักงานเอกชนทั่วไปหรือมนุษย์เงินเดือน ต้องจ่ายเงินประกันสังคมทุกเดือน โดยถูกหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ (สูงสุดหักไม่เกิน 750 บาท) นอกจากนั้น นายจ้างต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมในอัตราเดียวกันด้วยซึ่งมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี คือ เจ็บป่วย, อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, เสียชีวิต และว่างงานผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 39 เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก หรือบุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย, อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และเสียชีวิตผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 40 เป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ผู้สมัครสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ ซึ่งมีให้เลือก 2 ทางเลือก ประกอบด้วยทางเลือกที่ 1 (จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิตทางเลือกที่ 2 (จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพทางเลือกที่ 3 (จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และการสงเคราะห์บุตรแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/general/news-1241574
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
คปภ. เพิกถอนใบอนุญาต “นายหน้าแสบ” หลอกขายประกันภัยโควิด “เจอจ่ายจบ” เลขาธิการ คปภ. สั่งสายกฎหมายและคดี ประสานพนักงานสอบสวนขอหลักฐานเอาผิดเข้าข่ายฉ้อฉลประกันภัยวันที่ 23 มีนาคม 2566 จากกรณีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล ชุดปฏิบัติการ 5 เข้าจับกุมนายหน้าประกันวินาศภัยรายหนึ่ง โดยถูกจับกุมตัวได้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ตามหมายจับศาลแขวงชลบุรี ที่ 292/2565 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ในความผิดฐานฉ้อโกง กระทำการโดยเจตนาทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง และกระทำการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งในเบื้องต้นนายหน้าประกันวินาศภัยรายดังกล่าว ได้ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี ว่าได้กระทำความผิดจริง ด้วยการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 แบบเจอ จ่าย จบ ให้แก่ผู้เอาประกันภัยผ่านแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊ก แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแต่อย่างใดดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ.เป็นหน่วยงานของรัฐมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมถึงการให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยกับประชาชน ซึ่งการกระทำของบุคคลดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการนำระบบประกันภัยเข้าไปบริหารความเสี่ยงภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมากจึงได้สั่งการให้สายตรวจสอบคนกลางประกันภัย สำนักงาน คปภ.ทำการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตของผู้ถูกจับกุม พบว่า มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและมีใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตและใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ จึงได้สั่งการให้สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ. ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายหน้าประกันภัยรายนี้ ได้ยอมรับกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงาน คปภ. ว่าได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยและไม่ได้นำส่งให้บริษัทประกันภัยจริงประกอบกับได้รับสารภาพกับเจ้าพนักงานตำรวจตามบันทึกการจับกุมของสถานีตำรวจภูธรดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี ลงวันที่ 8 มีนาคม 2566 แล้ว การกระทำดังกล่าวของนายหน้าประกันภัยรายนี้ จึงเป็นการดำเนินงานที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือประชาชน อันอาจเป็นความผิดตามมาตรา 76/1 (6) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562นายทะเบียนจึงได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตแล้ว ทั้งนี้ผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตรายดังกล่าวจะไม่สามารถกระทำการเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัยหรือขอรับใบอนุญาตใหม่ได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับความผิดที่เข้าข่ายการฉ้อฉลประกันภัย ตามมาตรา 108/3 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ที่ระบุว่า ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นนั้นทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญาประกันภัยเกิดขึ้น และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยอยู่ระหว่างประสานพนักงานสอบสวนเพื่อขอเอกสารหลักฐานเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป“ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าสำนักงาน คปภ. จะไม่นิ่งเฉยต่อบุคคลใด ๆ ที่สร้างความเสียหายและบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบประกันภัยไทย โดยจะดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัดในทุกมิติ นอกจากนี้หากมีตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัยมาเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ขอให้ประชาชนตรวจสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัยได้ที่ www.oic.or.th และหากมีการชำระเบี้ยประกันภัยจะต้องได้รับเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัททุกครั้ง”ทั้งนี้ หากพบเห็นพฤติกรรมการหลอกลวงด้านประกันภัยให้รีบแจ้งข้อมูลไปยังสำนักงาน คปภ. โดยตรงผ่านสายด่วน คปภ. 1186แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1241412
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสังคม
30/04/2024
อัตราการจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทน หลังมีประกาศสำนักงานประกันสังคมเรื่องอัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นมา20 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานประกันสังคม อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตน ม.33, 39 ซึ่งมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นมา โดยประกาศฉบับนี้มีสาระสำคัญระบุว่า ผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพให้คำนวณจ่ายใน อัตราร้อยละ 3.46 ต่อปี จากเดิมในปี 2565 ให้คํานวณจ่ายในอัตรา ร้อยละ 2.83 ต่อปีของเงินสมทบสุทธิและผลประโยชน์ตอบแทนสะสมรวมกันเมื่ออายุครบ 55 ปี อย่าลืมเช็กสิทธิในกรณีที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีอายุครบ 55 ปี และปัจจุบันมีสถานะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ให้ตรวจสอบสิทธิการได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จชราภาพ พร้อมกับยื่นขอรับเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสำหรับช่องทางการตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ หากไม่สะดวกเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ของ สปส. www.sso.go.th, แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android และ LINE Official Account ของ สปส. @ssothaiทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส.2-01 หรือ SSO.2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงินอย่างไรก็ตาม หากผู้ประกันตนมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ไปพร้อมการยื่นคำร้องได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ไม่สามารถใช้ได้)สิทธิผู้ประกันตนกรณีชราภาพแยกเป็น 2 กรณี1. กรณีรับบำเหน็จชราภาพ ได้แก่ ผู้จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี2. กรณีรับบำนาญชราภาพ ได้แก่ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง (ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่จ่ายเกินกว่า 180 เดือนจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือนนอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตลงระหว่างรับบำนาญชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน ที่ทายาทสามารถติดต่อเพื่อรับบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนได้ โดยสามารถดูข้อเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สายด่วน สปส.1506 ตลอด 24 ชั่วโมงแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/general/news-1237384
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
เปิดฉากสัปดาห์นี้...ลองเปลี่ยนบรรยากาศไปว่ากันเรื่อง “เงินๆ-ทองๆ” น่าจะเหมาะกว่า โดยเฉพาะเรื่อง “เงินยูเอสดอลลาร์” ของคุณพ่ออเมริกาเขานั่นแหละ เพราะจากที่เคยเป็นที่ปรารถนา-ต้องการของผู้คนทั่วทั้งโลก มีอำนาจ อิทธิพล ระดับสามารถครอบงำ ครอบครอง ระบบการเงิน-การทองของบรรดาประเทศต่างๆ แทบจะทั่วทั้งโลก แต่หลังๆ นี้...คงต้องยอมรับว่า ออกอาการคล้ายๆ เป็นอะไรที่ “เสนียด-จัญไร” ยิ่งเข้าไปทุกที!!! ชนิดเรียกว่า...ใครต่อใครชักไม่อยากแตะ อยากต้อง พอๆ กับบทเพลงของ “น้องพลับ-จุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์” เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว คือ...“ใครใครก็ไม่รักผม...ขนาดพัดลมยังส่ายหน้าเลย” อะไรประมาณนั้น... ล่าสุด...เห็นว่าขนาดประเทศเศรษฐกิจอันดับหนึ่งแห่งละตินอเมริกา คุณพี่แซมบ้า-บราซิลกับพญามังกรอย่างคุณพี่จีน มหาอำนาจคู่แข่งอเมริกาและมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ที่ทำท่าว่ากำลังจะแซงหน้าแถวๆ ทางโค้งวัดเบญฯ จะเบียดซ้าย-เบียดขวามหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 1 อย่างอเมริกา ให้ตกคู-ตกคลอง อีกไม่ใกล้-ไม่ไกล เกิดได้ช่อง ได้จังหวะในการซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนระหว่างกันและกัน ด้วย “เงินหยวน” และ “เงินเรอัล” (Real Brasileiro) กันแทนที่ ไม่เอาแล้วสำหรับ “เงินดอลลาร์อเมริกัน” นี่...ถ้าว่ากันตามคำประกาศของสำนักงานประชาสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุน หรือ “ApexBrasil” (The Brazilian Trade and Investment Promotion Agency) ของบราซิลเอง เมื่อช่วงวันพุธ (29 มี.ค.) ที่ผ่านมา... แล้วถ้าคิดเป็น “มูลค่า” การค้า-การขายระหว่าง 2 ประเทศ ก็ปาเข้าไปถึงระดับ 150,500 ล้านดอลลาร์เมื่อช่วงปีที่ผ่านมานี่เอง นั่นยังไม่รวมถึงการซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน ระหว่างคุณพี่จีนกับคุณน้ารัสเซีย ที่ไม่เพียงเพิ่มพรวดๆ พราดๆ ใกล้ๆ ถึงปีละ 200,000 ล้านดอลลาร์อีกไม่ใกล้-ไม่ไกล ที่พร้อมอก-พร้อมใจ พร้อมส่ายหน้าให้กับเงินยูเอสดอลลาร์ ไม่คิดจะแตะ ไม่คิดจะต้องอีกต่อไป สู้หันมาใช้ “เงินหยวน” กับ “เงินรูเบิล” สบายกาย-สบายใจกว่าเป็นไหนๆ ไม่ต่างไปจากคุณปู่อินตะระเดียที่หันมาซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนกับคุณน้ารัสเซียด้วย “เงินรูเบิล” และ “เงินรูปี” ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อต้องซื้อน้ำมัน-ซื้อแก๊สจากรัสเซียโดยไม่คิดสนใจคำขู่ฟ่อดๆๆ ของคุณพ่ออเมริกาหรือบรรดาชาติตะวันตกต่อไปอีกแล้ว ด้วยเหตุเพราะอำนาจอธิปไตยอินเดียย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ชาวอินตะระเดียเป็นหลัก ไม่ใช่แค่ “พรมเช็ดเท้า” ให้ใครๆ เหมือนอย่างชาติยุโรปทั้งหลาย มูลค่าการค้า-การขายระหว่าง 2 ประเทศที่มีแต่เพิ่มกับเพิ่ม ปาเข้าไประดับ 3-4 หมื่นล้านดอลลาร์ไปแล้วทุกวันนี้ โดยยังไม่นับรวมถึงการซื้ออาวุธรัสเซียในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อีกไม่รู้กี่หมื่นล้านดอลลาร์... ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ...ประเทศอภิมหาเศรษฐีน้ำมันอย่างราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ที่เคยขายน้ำมันให้กับใครต่อใครด้วย “เงินดอลลาร์อเมริกัน” เป็นหลัก แต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมานี่เอง รัฐมนตรีคลังซาอุฯ “นายMohammed Al-Jadaan” ก็ได้ออกมาป่าวประกาศแบบเสียงดัง-ฟังชัด ว่าซาอุฯ พร้อมแล้วที่จะเปิดกว้างในการพูดคุยเรื่องการซื้อ-ขายน้ำมันกับประเทศต่างๆ ด้วยสกุลเงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์อเมริกันอีกต่อไป โดยที่ก่อนหน้านั้นได้หันมาขายน้ำมันให้จีนด้วยการพร้อมยอมรับเงินสกุลหยวนอย่างไม่คิดจะปฏิเสธ แถมเมื่อวัน-สองวันนี้กษัตริย์ซาอุฯ ยังทรงลงนามสมัครเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศ “SCO” (The Shanghai Cooperation Organization) ไปเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนจีน โดยอีกไม่นานนักก็น่าจะเข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มประเทศ “BRICS” ที่มีบราซิล-รัสเซีย-จีน-แอฟริกาใต้เป็นแกนนำอยู่ในทุกวันนี้ การค้าๆ-ขายๆ การซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยไม่คิดจะหันไปพึ่งพาเงินดอลลาร์อเมริกันเอาเลยแม้แต่น้อย ดังที่รัฐมนตรีต่างประเทศแอฟริกาใต้ “นายNaledi Pandor” เคยให้สัมภาษณ์สำนักข่าว “Sputnik” เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ถึงเป้าหมายของ “BRICS” ที่พยายามหาทาง “Bypass” การชำระหนี้ด้วยยูเอสดอลลาร์ หรือพยายาม “De-Dollarization” ให้จงได้ จึงยิ่งเป็นอะไรที่น่าหวาดหวั่นขวัญสยอง มิใช่น้อย สำหรับผู้ที่ยังคิดจะกำเงินดอลลาร์อเมริกันเอาไว้ในมือ ไม่คิดจะหาทางหลีก หาทางเลี่ยง หรือหาทาง “Diversified” เอาไว้ก่อนล่วงหน้า... โดยเฉพาะเมื่ออภิมหาเศรษฐีน้ำมันซาอุฯ ที่อดีตเอกอัครราชทูตอเมริกาประจำซาอุฯ “นายCharles W. Freeman” เคยเอ่ยปากเตือนเอาไว้ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2000 ด้วยคำพูดที่ว่า...“สิ่งสำคัญที่ประเทศซาอุดีอาระเบียได้สร้างเอาไว้อย่างชนิดต้องจดจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ก็คือ การยืนหยัด ยืนกราน ที่จะซื้อ-ขายน้ำมันของพวกเขาด้วยเงินสกุลดอลลาร์ และทำให้รัฐบาลของเราจึงยังสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาซื้อน้ำมันได้เรื่อยๆ โดยอาศัยความได้เปรียบที่ประเทศอื่นไม่ได้มีเหมือนเรา แต่ด้วยสัมพันธภาพอันตึงเครียดระหว่างเรากับประเทศนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ...ผมกังวลว่าอีกไม่นาน-ไม่ช้า พวกเขาอาจไม่คิดที่จะทำสิ่งเหล่านี้อีกต่อไป โดยเฉพาะเมื่อประชาชนชาวซาอุฯ ต่างร้องถามขึ้นมาว่า...ทำไมเราต้องใจดีกับพวกอเมริกันถึงขั้นนั้น...” ดังนั้น...ถ้าหากซาอุฯ ดันหันไปซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนน้ำมันด้วยเงินสกุลอื่นกับพวก “BRICS” พวก “SCO” โอกาสที่จะส่งผลให้สิ่งที่เคยเรียกขานกันในนาม “Petro Dollar” ย่อมมีสิทธิ “เจ๊ง...กับ...เจ๊ง” เอาง่ายๆ เพราะขนาดประเทศบริวารซาอุฯ อย่างยูเออี หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทุกวันนี้ ก็เริ่มหันไปซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนกับรัสเซียด้วยเงินสกุล “รูเบิล” กับ “เดอร์แฮม” (Dirham) โดยไม่คิดจะแตะต้องเงินยูเอสดอลลาร์ต่อไปอีกแล้ว... และจะด้วย “แนวโน้ม” เช่นนี้หรือไม่? อย่างไร? ก็แล้วแต่จะคิด เลยทำให้แม้แต่การประชุมรัฐมนตรีคลังและธนาคารกลางกลุ่มประเทศ “อาเซียน” เมื่อช่วงวันอังคารที่ผ่านมา (28 มี.ค.) ว่ากันว่า...“วาระสำคัญ” ที่ถูกหยิบยกมาแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นระหว่างกันและกันในกลุ่มประเทศดังกล่าว ก็คือแนวคิดที่จะ “ลดการพึ่งพา” เงินสกุลยูเอสดอลลาร์ ไปจนถึงยูโร เยน และปอนด์อังกฤษ เอาเลยถึงขั้นนั้น!!! หรือกระทั่งประเทศพันธมิตรอเมริกาเองก็เถอะ ถ้าว่ากันตามข้อมูล สถิติ ของ “IMF” (IMF’s Currency Composition of Foreign Exchange Reserves data) การลดปริมาณเงินยูเอสดอลลาร์ในฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ลดฮวบๆ ฮาบๆ ลงไปถึงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ไปแล้วก็ว่าได้... ยิ่งเมื่อคุณพ่ออเมริกาท่านขยันหาเรื่องทะเลาะกับใครต่อใครไปแทบจะทั่วทั้งโลก อีกทั้งพยายามข่มขู่ บีบบังคับ ให้แต่ละประเทศต้องหันไปเป็น “ศัตรูกับศัตรู” ของตัวเอง มันเลยยิ่งส่งผลไปถึงสถานะของเงินยูเอสดอลลาร์อย่างเห็นได้ชัดเจนยิ่งเข้าไปทุกที ด้วยเหตุเพราะดอลลาร์ถูกทำให้กลายเป็น “อาวุธ” ในการเล่นงานศัตรูอเมริกา หรือผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับอเมริกา อันส่งผลให้ “จุดมุ่งหมายที่แท้จริง” ของเงินดอลลาร์ เลยถูกเปลี่ยนแปลง บิดเบน ไปจากพื้นฐานเดิมๆ แบบคนละเรื่อง-ละม้วน หรือทำให้ “เงินตรา” ไม่ได้เป็นแค่สิ่งแลกเปลี่ยนสำหรับการซื้อ-การขายโดยทั่วไปอีกต่อไป แต่กลายสภาพเป็นอาวุธที่มีลักษณะไม่ต่างอะไรไปจาก “ดาบสองคม” คือสามารถหันไปบาดมือ-บาดไม้ใครก็ตามที่ยังคิดจะกำเอาสิ่งเหล่านี้ไว้ในมือ หรือกลายเป็นสิ่งที่ “อันตราย” เอามากๆ สำหรับผู้ที่ยังคงไว้เนื้อ-เชื่อใจ ยังคงไว้วางใจต่อเงินตราชนิดนี้... ดังนั้น...การหันมา “เททิ้งดอลลาร์” หันมา “De-Dollarization” เลยกลายเป็น “แนวโน้ม” ที่กำลังเพิ่มขึ้นๆ ในบรรดาประเทศต่างๆ แทบจะทั่วทั้งโลก และอาจถือเป็นการ “ส่งสัญญาณ” ถึงความฉิบหายวายวอด ที่ไม่ใช่เพียงแค่สถานะของเงินสกุลนี้เท่านั้น แต่ยังอาจหมายถึงความฉิบหายวายวอด ของมหาอำนาจสูงสุดของโลกอย่างคุณพ่ออเมริกา รวมไปถึงผู้ที่ยังคงเชื่อถือ-ศรัทธาต่อเงินดอลลาร์ในระดับทั่วทั้งโลกอีกด้วย หรืออย่างที่นักคิด-นักเขียนชาวอเมริกัน ชื่อว่า “นายDan Eden” แห่ง “View Zone Magazine” เคยปรารภ รำพึง ไว้เมื่อเกือบสิบปีที่แล้วนั่นแหละว่า... “น้ำมันและดอลลาร์...ได้กลายเป็นกระแสเลือดของพวกเรา ซึ่งมีชีวิตอยู่ภายใต้อารยธรรมปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้...เมื่อไหร่ก็ตามที่มันเกิดการพังทลายของระบบเงินตราแบบ Fiat Dollars (เงินที่พิมพ์ออกมาโดยไม่ได้มีอะไรหนุนหลัง) ไม่เพียงแต่มันจะเป็นตัวทำลายระบบเศรษฐกิจของอเมริกา และวิถีชีวิตของชาวอเมริกันทั้งมวลเท่านั้น แต่มันยังจะเป็นตัวสร้างความฉิบหายในระดับล้างผลาญโลกทั้งโลกได้อย่างครบถ้วน บริบูรณ์ เพราะโดยความจริงแล้ว...บรรดาความมั่งคั่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีพื้นฐานมาจากระบบเศรษฐกิจแบบดอลลาร์และการพึ่งพาน้ำมันไปด้วยกันทั้งสิ้น บรรดาพวกนักการเมือง ผู้มีอำนาจตัดสินใจในประเทศต่างๆ จึงพยายามบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบ ปฏิเสธข้อเท็จจริง และจมอยู่กับมายาภาพของระบบชนิดนี้มานานแสนนาน การพังทลายของระบบชนิดนี้จึงย่อมส่งผลให้โลกทั้งโลกพังพินาศตามไปด้วย โดยท้ายที่สุดแล้ว...แนวโน้มแห่งการพังทลายก็ได้ถูกคาดหมายเอาไว้แล้วล่วงหน้าอย่างชัดเจนว่า...มันเป็นสิ่งที่...มิอาจหลีกเลี่ยงได้โดยเด็ดขาด!!!” นี่...จริง-ไม่จริง น่าเชื่อ-ไม่น่าเชื่อ ก็ลองเก็บไปคิดเป็นการบ้านเอาเองก็แล้วกัน... แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์https://mgronline.com/da ily/detail/9660000030657
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย พิชญาภัฐฐ์ ทองศรีเกตุ นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย เมื่อคุณลงมือเริ่มต้นวางแผนเกษียณ คุณจำเป็นต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีผลทำให้เงินเกษียณอาจหมดเร็วกว่าที่คาดไว้ และเตรียมแผนป้องกัน โอนย้าย หรือ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงเท่าที่จะทำได้ ความเสี่ยงวัยเกษียณ 5 ข้อไม่ควรมองข้าม ความเสี่ยงในวัยเกษียณ มี 5 ข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้คุณเตรียมเงินไว้น้อยเกินไป หรือ คุณอาจถอนเงินวัยเกษียณในช่วงต้นมากเกินไปแบบไม่รู้ตัว จนทำให้เงินเกษียณหมดลงอย่างรวดเร็ว ไม่เป็นตามแผนที่คาดไว้ 1. ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ (Inflation Risk) เป็นความเสี่ยงข้อแรกที่ต้องคำนึงถึงในการคำนวณกองทุนเกษียณให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะภาวะเงินเฟ้อทำให้อำนาจการใช้จ่ายลดลง ทำให้ต้องถอนเงินต่อปีออกมาใช้มากขึ้น ถึงแม้จะมีพฤติกรรมการใช้จ่ายเท่าเดิม แต่ราคาของกินของใช้จะแพงขึ้น วิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อคือนำเงินไปบริหารสร้างผลตอบแทนให้ได้มากกว่าอัตราเงินเฟ้อ ในความเสี่ยงที่คุณสามารถรับได้ 2. ความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายพิเศษด้านสุขภาพ (Long Term Care Risk) นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพพื้นฐาน ค่าใช้จ่ายพิเศษในวัยเกษียณที่คนส่วนใหญ่กังวล คือ ค่ารักษาพยาบาลหากตกเป็นผู้ป่วยติดเตียง หรืออยู่ในภาวะพึ่งพิง คุณภาพชีวิตที่เหลืออยู่ของคุณจะเป็นอย่างไร จะแปรตามภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวที่คุณสามารถรับผิดชอบได้ แนวทางในการเตรียมตัวกับเรื่องนี้ คือ การทำประกันสุขภาพไว้ให้เพียงพอ ตั้งแต่ในวัยทำงาน เพราะการสมัครประกันสุขภาพเมื่อถึงวัยเกษียณจริงๆ อาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามที่คาด เนื่องจากตรวจพบโรคประจำตัวต่าง ๆ สินค้าที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ คือประกันสุขภาพกลุ่มเหมาจ่าย เพราะจะรองรับเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลในอนาคตได้ และควรเป็นเหมาจ่ายแบบ Deductible คือ มีจ่ายร่วม จะทำให้เบี้ยประกันในวัยเกษียณราคาไม่สูงมากนัก และในปัจจุบันส่วน Deductible สามารถนำมาใช้ร่วมกับสวัสดิการที่มีอยู่ได้ เป็นการขยายความคุ้มครองสวัสดิการวัยทำงานที่มีอยู่เดิมของคุณ โดยไม่ต้องชำระเบี้ยเพิ่มสูงเกินไปนัก 3. ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนการลงทุน เงินกองทุนเกษียณมักถูกแนะนำให้วางไว้ในที่ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมฝากธนาคาร โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำมากในเวลานี้ และจะต่ำลงไปอีกเรื่อย ตามภาวะของสังคมผู้สูงวัย ผลของการนำเงินไปไว้ในที่ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้มูลค่าเงินหดหาย และทำให้เงินไม่พอใช้ตลอดช่วงวัยเกษียณ ในส่วนของการลงทุน หากจะแบ่งเงินไว้ในหุ้น หรือ กองทุนรวม ผู้ลงทุนก็ควรมีความรู้ ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้ในเรื่องของผลตอบแทนและการจัดการความเสี่ยง แต่ต้องมีความรู้เรื่องการถอนเงินด้วยว่า ต่อปีไม่ควรถอนออกมาใช้เกินเท่าไหร่ ทางที่ดีควรวางแผนการถอนเงินให้ต่ำกว่า สภาวะผลตอบแทนการลงทุนที่ได้รับในปีนั้น ๆ และต้องทราบว่าช่วงเวลาไหนที่ไม่ควรถอนเงินออกมาใช้ เพราะจะพบกับ Sequence of Returns Risk ความเสี่ยงในการถอนเงินช่วงตลาดขาลง ทำให้กองทุนเกษียณหมดลงอย่างรวดเร็วมาก อย่างไรก็ตาม คุณอาจหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการถอนเงินมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ (Excess Withdrawal Risk) ไม่ได้ หากไม่มีเงินส่วนอื่นที่เป็นเงินได้ประจำสำหรับใช้จ่ายในปีที่อัตราผลตอบแทนการลงทุนต่ำไว้เลย การเลือกเครื่องมือทางการเงินในการวางแผนเกษียณจึงมีความสำคัญมาก และต้องจัดการตั้งแต่ในวัยทำงาน เช่น การทำประกันบำนาญเพื่อสร้างรายได้ประจำหลังเกษียณเตรียมไว้ ประกันบำนาญต้องเริ่มตั้งแต่วัยทำงาน การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ก็ควรเลือกตั้งแต่วัยทำงาน เพราะคุณยังสามารถรับความเสี่ยงได้ เรียนรู้ได้ ปรับพอร์ตเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงได้ 4. ความเสี่ยงในความเสื่อมของร่างกาย (Frailty Risk) ทำให้การตัดสินใจในเรื่องการจัดการการเงิน การดูแลที่อยู่อาศัย ลดประสิทธิภาพลง การลืมจ่ายบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ ความสามารถในการประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลก็จะถดถอยลง ทั้งหมดนี้ จะนำมาซึ่งความเสียหาย ทำให้เสียผลประโยชน์ได้ ดังนั้น การเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณจึงต้องปรับรูปแบบชีวิตให้เรียบง่ายที่สุด ลดการบริหารจัดการเรื่องต่างๆลงให้น้อยที่สุด เพราะคุณคงไม่สามารถอ่านเอกสาร หรือ วิเคราะห์ตัดสินใจเรื่องที่ซับซ้อนไปได้ตลอด 5. ความเสี่ยงจากการที่คุณมีอายุยืนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ (Longevity Risk) การมีชีวิตอยู่อย่างยาวนาน จะรับทุกความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า ถ้าคุณอายุสั้นความเสี่ยง 4 ข้อด้านบน ก็จะไม่มีผล ถึงคุณจะได้ยินข่าวจากคนใกล้ชิดหรือข่าวในสื่อว่าชีวิตคนเรามีความไม่แน่นอน อาจจากไปกะทันหันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ค่าเฉลี่ยสถิติอายุขัยประชากรทั่วโลกบอกว่า คนเราจะมีแนวโน้มจะอายุยืนขึ้น อาจจะมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 100 ปีก็เป็นได้ เรื่องนี้หากเกิดขึ้นกับตัวคุณ คุณจะเตรียมรับมือไว้อย่างไร เตรียมเผื่อเอาไว้แบบที่ไม่เบียดเบียนชีวิตในปัจจุบัน คือ อายุสั้นก็ใช้ชีวิตมีความสุขดีแล้ว อายุยืนก็เตรียมตัวเตรียมใจไว้แล้ว นี่คือ หัวใจของการวางแผน เตรียมพร้อมทรัพย์สินทางการเงินเติมเต็มความสุขชีวิต ชีวิตที่มีความสุขในวัยเกษียณน่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของทุกคน บทความนี้ขอแนะนำสินทรัพย์ (Asset) 3 อย่างที่คุณต้องเตรียมไปพร้อมกับการเตรียมทรัพย์สินทางการเงิน เพื่อเติมเต็มให้การใช้ชีวิตวัยเกษียณมีความสบายใจ และรู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1. Productive Asset สินทรัพย์ที่เพิ่มความเจริญก้าวหน้าให้กับคุณ เช่น การศึกษา (education) ความรู้ความชำนาญ (skill) ในการประกอบอาชีพ มีคำกล่าวว่า ทุกๆ 10 ปี คุณควรเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อสร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับตัวเอง สิ่งที่คุณได้เรียนมาตอนจบมหาวิทยาลัย ไม่สามารถใช้เป็นอาชีพเลี้ยงตัวคุณไปได้ตลอดชีวิต หากคุณมีทักษะวิชาชีพที่สามารถพัฒนาได้หลากหลายติดตัว โอกาสที่คุณจะสร้างรายได้ไม่มีวันเกษียณ ก็จะยาวนานมากยิ่งขึ้น ความรู้ความสามารถจึงถือเป็นสินทรัพย์ที่ประเมินค่ามิได้เลยทีเดียว และ ทักษะใหม่ ที่คุณได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้คุณได้ค้นพบศักยภาพแบบไร้ขีดจำกัดของตัวเองได้ ลองคิดดูสิคะว่า มันจะสนุกแค่ไหน ที่เราได้ทำเรื่องท้าทายความสามารถอยู่ตลอดเวลา ได้รับรู้ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง Productive Asset ถือเป็นสินทรัพย์เพิ่มพลังชีวิตข้อแรกเลยทีเดียว 2. Vital Asset สินทรัพย์เพื่อสร้างพลังชีวิตข้อต่อไป คือ รูปแบบการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ การมีสุขภาพที่แข็งแรง การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง การมีครอบครัวที่ดี การมีเพื่อนที่ดี ที่สามารถยื่นมือมาช่วยเหลือ ประคับประคองกันได้ในช่วงต่าง ๆ ของชีวิต ใครที่มีสิ่งเหล่านี้อยู่กับตัว ควรมองเห็นคุณค่า และ รักษามันไว้ให้ดี เพราะมันคือหนึ่งในสินทรัพย์อันมีค่าของคุณ ถ้ามองในแง่วางแผนการเงิน จากผลสำรวจพบว่า การใช้ชีวิตร่วมกัน 2 คน ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 2 เท่า เทียบกับคนใช้ชีวิตคนเดียว ดังนั้นการมีคู่ชีวิต หรือมีเพื่อน ญาติ พักอาศัยอยู่ด้วย แชร์ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ร่วมกัน ถ้าหารค่าใช้จ่ายต่อคนแล้ว จะถูกกว่าค่าใช้จ่ายของการใช้ชีวิตคนเดียวอีกค่ะ 3. Transformative Learning Asset ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเรื่องใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นโดยผ่านการเปิดใจเรียนรู้ได้ตลอดเวลา คุณจะต้องรู้จักตัวเอง (know yourself) เป็นอย่างดีก่อน จึงจะสามารถเข้าใจและรับมือกับเรื่องใหม่จากภายนอกได้ เพราะหากคุณอายุยืนอีกยาวนาน แน่นอนคุณจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอีกหลายยุคสมัย ความสามารถในการปรับตัวจึงเป็นสิ่งจำเป็น เสมือนสินทรัพย์สำคัญอย่างหนึ่งของคุณ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ท่านได้กล่าวไว้ในงานประชุมวิชาการประจำปี “ระพีเสวนา” ครั้งที่ 10 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ว่า “ปัจจุบันทักษะการร่วมมือนั้นสำคัญกว่าการแข่งขัน” จะเห็นได้ว่าองค์กรใหญ่ ๆ หลายองค์กร แทนที่จะแข่งกัน กลับหันหน้ามาเจรจา หาความร่วมมือที่จะก้าวหน้า เติบโตไปด้วยกัน กับคนรอบข้างที่เราใช้ชีวิตอยู่ร่วมด้วยก็เช่นกัน ทั้งเพื่อนที่ทำงาน และคนในครอบครัว แทนที่จะเอาชนะ โต้เถียงกัน หรือแข่งขันกัน หากสามารถเจรจา นำจุดแข็งมาพัฒนาร่วมกันเพื่อส่งเสริมกันได้ ก็น่าจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการทำเรื่องต่าง ๆ ได้ดีเลยทีเดียว Assets ทั้ง 3 ข้อนี้ถ้าคุณสามารถสร้างขึ้นได้ รักษาได้ และเพิ่มพูนให้มากขึ้นได้ ก็เชื่อว่าหากคุณเป็นคนที่โชคดี (หรือโชคร้าย) มีอายุยืนถึง 100 ปี คุณก็จะเป็นคนที่ใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ กล่าวไว้ว่า “ถ้าเลือกได้ไม่อยากอยู่ถึง 100 ปี เพลงที่ยาวเกินไปก็ฟังไม่เพราะ หนังที่ยาวเกินไปก็น่าเบื่อ ชีวิตก็เช่นกัน เพราะมันเหนื่อย แต่ถ้าต้องอยู่ก็พยายามปรับตัวเตรียมใจให้ทุกข์ให้น้อย สุขให้มาก” ดังนั้นอายุ 100 ปี จะเป็นของขวัญ หรือ คำสาป อยู่ที่การเตรียมพร้อมและปรับตัวนั่นเอง แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.n et/finance/news-1239996
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
รายงานจากธนาคารเพื่อการลงทุน โกลด์แมน แซคส์ เปิดเผยว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถเข้ามาแทนที่ตำแหน่งงานประจำ 300 ล้านตำแหน่ง หรือราว 1 ใน 4 ขอตำแหน่งงานในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งอาจหมายถึงการเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานแบบใหม่ และผลิตภาพการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ปัญญาประดิษฐ์ยังอาจเพิ่มมูลค่ารวมต่อปีของสินค้าและบริการที่ผลิตทั่วโลกได้ถึง 7% รายงานระบุว่า ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง หรือ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาจากงานของมนุษย์ได้อย่างแนบเนียน คือ "ความก้าวหน้าครั้งสำคัญ" ในสหราชอาณาจักร รัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะส่งเสริมการลงทุนด้าน AI ในประเทศ ซึ่งระบุว่าจะสามารถขับเคลื่อนผลผลิตทั่วทั้งเศรษฐกิจในท้ายที่สุด และได้พยายามสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชนเกี่ยวกับผลกระทบของมัน มิเชล โดเนแลน รัฐมนตรีเทคโนโลยีสหราชอาณาจักร กล่าวต่อเว็บไซต์เดอะ ซัน ว่า "เราต้องการให้แน่ใจว่า AI ช่วยเสริมวิธีการทำงานในสหราชอาณาจักร โดยไม่รบกวนการทำงาน ทำให้งานของเราดีขึ้น มากกว่าการขโมยงานของเราไป" รายงานระบุว่า ผลกระทบของ AI จะแตกต่างกันไปในแต่ละภาคส่วน โดยพบผลกระทบ 46% ของงานด้านการบริหาร และ 44% ในวิชาชีพด้านกฎหมาย แต่กระทบเพียง 6% ในงานก่อสร้าง และ 4% ในงานด้านการบำรุงรักษา อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ได้เกิดความกังวลของศิลปินบางคนว่า การที่ AI สามารถสร้างงานศิลปะได้ อาจส่งผลเสียต่อโอกาสการจ้างงานของพวกเขา คาร์ล เบเนดิกค์ เฟรย์ ผู้อำนวยการสาขางานแห่งอนาคต วิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดมาร์ติน มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า "สิ่งเดียวที่ผมแน่ใจก็คือไม่มีทางรู้ว่าจะมีงานกี่ตำแหน่งที่จะถูกแทนที่ด้วย AI" "ยกตัวอย่างเช่น สิ่งที่ ChatGPT ทำคือการช่วยให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นที่มีทักษะการเขียนระดับปานกลางสามารถผลิตงานเขียนและบทความได้ ดังนั้นนักข่าวจะเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าจ้างลดลง เว้นแต่เราจะเห็นว่าความต้องการงานดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก" "หากพิจารณาการเปิดตัวเทคโนโลยีจีพีเอส และแพลตฟอร์มอย่างอูเบอร์ ก็กลายเป็นว่า จู่ๆ ถนนทุกสายในลอนดอนกลับมีค่าน้อยลงมาก ดังนั้นผู้ขับขี่จึงประสบกับการลดค่าจ้างจำนวนมากประมาณ 10% ตามการวิจัยของเรา ผลที่ได้คือค่าจ้างลดลง ไม่ใช่คนขับน้อยลง" "ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบที่คล้ายกันกับชุดงานสร้างสรรค์ที่มีขอบเขตกว้างขึ้น" รายงานยังได้อ้างอิงงานวิจัยหนึ่งที่ระบุว่าแรงงานกว่า 60% กำลังประกอบอาชีพที่ไม่มีอยู่ในปี 2483 แต่งานวิจัยอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ได้ทำให้คนงานต้องพลัดถิ่นเร็วกว่าการสร้างงาน และหากปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างเป็นเสมือนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อนหน้านี้ รายงานสรุปว่ามันอาจลดการจ้างงานในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทอร์สเตน เบลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมูลนิธิ Resolution Foundation กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ผลกระทบระยะยาวของ AI นั้นมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นการคาดการณ์ที่แน่นอนทั้งหมดจึงควรฟังหูไว้หู" เขากล่าวว่า "เราไม่รู้ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปอย่างไร หรือบริษัทจะนำไปใช้ในการทำงานได้อย่างไร แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า AI จะไม่ขัดขวางวิธีการทำงานของเรา แต่เราควรให้ความสำคัญกับมาตรฐานการครองชีพที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและบริการที่ถูกกว่า รวมทั้งความเสี่ยงที่จะล้าหลัง หากบริษัทและเศรษฐกิจอื่นๆ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ดีขึ้น". แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับไทยรัฐออนไลน์https://www.thairath.co.t .h/news/foreign/2666776
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ธปท.เปิดข้อมูลต่างชาติซื้อคอนโดฯ เมืองไทย เผยปี 2565 ยอดโอนทะลุ 6 หมื่นล้าน เปิดสถิติ 7 ชาติสูงสุด “ฮ่องกง-สหรัฐ” นำโด่ง ขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่รั้งท้าย จับตา “ฮ่องกง-สหรัฐ”นำโด่ง วันที่ 26 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยข้อมูลเงินโอนจากต่างชาติเพื่อซื้ออาคารชุดไทย แยกตามประเทศหรือสัญชาติเจ้าของบัญชี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2561-2565) พบว่า ปี 2561 ถือว่าเป็นปีที่มียอดเงินโอนต่างชาติเพื่อซื้อคอนโดมิเนียมมากที่สุด มูลค่า 91,005 ล้านบาท และในปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดโควิด-19 ยอดเงินโอนเพื่อซื้อคอนโดฯของต่างชาติก็ปรับลดลงมาอยุ่ที่ 67,596 ล้านบาท สำหรับในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 พบว่ายอดเงินโอนเพื่อซื้ออาคารชุดของต่างชาติก็ลดลงมาอยู่ที่ 52,805 ล้านบาท และในปี 2564 ลดลงมาอยูที่ 44,326 ล้านบาท ขณะที่ปี 2565 ซึ่งสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เริ่มเปิดประเทศ ยอดเงินโอนเพื่อซื้ออาคารชุดของต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยก็ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 63,197 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กรณีของเงินโอนจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ยังคงลดลงต่อเนื่อง จากปี 2561 อยู่ที่ 8,821 ล้านบาท ในปี 2565 ลดลงเหลือ 900 ล้านบาท ขณะที่ในส่วนของฮ่องกง เริ่มปรับตัวดีขึ้นในปี 2565 โดยมียอดเงินโอนมูลค่า 12,106 ล้านบาท ทั้งนี้ สำหรับปี 2565 ยอดเงินโอนเพื่อซื้ออาคารชุดของต่างชาติอยู่ที่ 63,197 ล้านบาท โดยต่างชาติที่มีเงินโอนสูงสุดเริ่มจาก 1. ฮ่องกง 12,106 ล้านบาท 2. สหรัฐอเมริกา 11,607 ล้านบาท 3. สิงคโปร์ 7,827 ล้านบาท 4. สหราชอาณาจักร 5,509 ล้านบาท 5. ไต้หวัน 2,353 ล้านบาท 6. ญี่ปุ่น 1,043 ล้านบาท 7. จีน 900 ล้านบาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของเงินโอนจากจีนมาไม่มากและลดลง อย่างไรก็ดีจะพบว่าเป็นการโอนเงินจากฮ่องกงที่อยู่ในระดับสูงและเริ่มขยับเพิ่มขึ้นในปี2565 นอกจากนี้จากข้อมูลพบว่าชาวอังกฤษยังมีการโอนเงินเพื่อซื้อคอนโดมิเนียมในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ในช่วงโควิด-19 โดยในปี2565ยอดเงินโดนสูงถึง 5,509 ล้านบาทสูงกว่าช่วงก่อนโควิดเกือบเท่าตัวโดยในปี2562 ยอดเงินโอนอยู่ที่ 2,406 ล้านบาท ทั้งนี้ ธปท. ระบุว่า จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย จะเป็นตัวสะท้อนแนวโน้ม อุปสงค์ชาวต่างชาติ ซึ่งหากมีชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวหรือทำงานในไทยมากขึ้น จะจูงใจให้ชาวต่างชาติสนใจซื้ออาคารชุดในไทย ทั้งเพื่ออยู่อาศัย เป็นบ้านหลังที่ 2 และเพื่อปล่อยเช่าให้กับคนต่างชาติ ที่ทำางานอยู่ในไทยมากขึ้น แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1243996
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
รายได้ของบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีโดยคำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัทเท่านั้น และนำค่าใช้จ่ายของธุรกิจมาใช้หักค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ทำให้เสียภาษีน้อยลง แต่มีค่าใช้จ่ายบางอย่างหากกิจการนำมาคำนวณภาษี อาจโดนตรวจสอบจากสรรพากรโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ เมื่อธุรกิจได้เริ่มดำเนินการ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือเรื่องของการเสียภาษี กล่าวคือรายได้ของบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีโดยคำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัทเท่านั้น และนำค่าใช้จ่ายของธุรกิจมาใช้หักค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ทำให้เสียภาษีน้อยลง แต่มีค่าใช้จ่ายบางอย่างหากกิจการนำมาคำนวณภาษี อาจโดนตรวจสอบจากสรรพากรโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องทราบว่าในทางระบบภาษีจะมีรายจ่ายต้องห้ามที่ระบุไว้ไม่ให้นำมาใช้เป็นรายจ่ายก่อนการคำนวณกำไรสุทธิ มีข้อมูลอะไรบ้างลองมาติดตามกันดู ค่าใช้จ่ายที่เป็นเรื่องส่วนตัว ค่าใช้จ่ายที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้น ที่ไม่ใช่เป็นรายจ่ายที่จำเป็นในการดำเนินกิจการของบริษัท เช่น รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการ ซึ่งไม่ได้มีการอนุมัติให้เดินทางไปทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และไม่มีเอกสารยื่นเรื่องเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้เดินทางไปในกิจการของบริษัทแต่อย่างใด หรือการซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ และนำไปใช้เป็นการส่วนตัว หรือการให้เงินช่วยเหลือพนักงานโดยให้แบบเสน่หา แบบนี้ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายในเรื่องส่วนตัวซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม บริษัทไม่มีสิทธินำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ค่าใช้จ่ายที่เป็นการลงทุน รายจ่ายที่เป็นการเปลี่ยนแปลง ต่อเติม และขยายออก เช่น การต่อเติมอาคารสถานที่ทำงาน การสร้างห้องประชุม มูลค่าที่จ่ายไปนี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นรายจ่ายต้องห้าม จะใช้หักลดหย่อนภาษีในส่วนของค่าเสื่อมราคา แทนการหักเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ในทางกลับกันหากเป็นการซ่อมแซมเพื่อให้ทรัพย์สินกลับมาคงสภาพเดิม ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ทั้งจำนวนในรอบบัญชีที่มีการจ่ายไป ค่าใช้จ่ายเงินเดือนผู้ถือหุ้น การที่จะพิจารณาเงินเดือนเป็นค่าใช้จ่ายว่าเป็นจำนวนเงินที่สมเหตุสมผลหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ที่มีการดำเนินกิจการในแบบเดียวกัน เช่น เงินเดือนของผู้ถือหุ้น ที่ไม่ให้คิดเป็นค่าใช้จ่ายแค่เฉพาะส่วนที่จ่ายเกินไปเท่านั้น เช่น ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งได้รับเงินเดือนๆ ละ 300,000 บาท ซึ่งตามปกติแล้วควรจะได้รับเงินเดือนเพียงเดือนละ 200,000 บาท ดังนั้นบริษัทจะถือเป็นรายจ่ายได้เพียงเดือนละ 200,000 บาทเท่านั้น ส่วนอีก 100,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามไม่ให้คำนวณเป็นรายจ่าย ค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร ค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร คือ ค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเอกสาร เป็นต้น ซึ่งหากมีการลงบันทึกบัญชีในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ และอาจถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบอีกด้วย กิจการลงบันทึกบัญชีค่าซ่อมแซมที่มีจำนวนสูงเป็นสินทรัพย์ของกิจการ หรือกิจการบันทึกต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายทั้งก้อนในรอบบัญชีที่มีการจ่ายไป กิจการลงบันทึกค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้องตามรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่ได้ปรับปรุงเป็นรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายไว้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือไม่ได้ปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เช่น ค่าประกันภัย กิจการลงบันทึกดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อการได้มาซึ่งสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี (โดยปกติต้องลงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ และทยอยตัดค่าเสื่อมราคา) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อสินทรัพย์ราคาแพงเกินไป สินทรัพย์ ก็คือ สินทรัพย์ทุกชนิดรวมทั้งสินค้าด้วย ดังนั้นในกรณีบริษัทที่ซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นและกำไรน้อยลง เช่น ค่าใช้จ่ายซื้อสินทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ที่ดิน ตึก เป็นต้น แล้วลงบัญชีราคาสูงเกินที่จ่ายจริง ถือว่าเป็นความผิด อาจถูกตรวจสอบย้อนหลังได้ หรือแม้ว่าจะจ่ายจริงแต่ราคาแพงเกินปกติ สรรพากรอาจจะประเมินให้หักลดหย่อนได้แค่ตามมูลค่าปกติเท่านั้น ส่วนที่จ่ายเกินไปไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นความจริง รายจ่ายที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง คือ การสร้างรายจ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงลงในบันทึกบัญชี ซึ่งข้อบ่งชี้ที่อาจทำให้สรรพากรเพ่งเล็งได้ อาจแบ่งเป็น 2 แบบ คือ การบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่รายได้ลดลง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อกิจการมีรายได้ลดลง ก็ควรลดรายจ่ายลงด้วย แต่เมื่อมีรายได้น้อยลงกลับมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น สรรพากรจะถือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแน่นอน เพราะมีความสวนทางกับความเป็นจริงที่ควรจะเป็น จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สรรพากรเรียกตรวจสอบย้อนหลังได้ และการบันทึกค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ ซึ่งกรณีที่มีรายจ่ายสูงขึ้นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อน ทางสรรพากรจะนำรายได้ของกิจการไปเปรียบเทียบกับธุรกิจในลักษณะเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบรอบบัญชีเดียวกัน และการเติบโตของธุรกิจ ค่าใช้จ่ายที่ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้รับ ตามปกติรายจ่ายทุกรายการต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบการจ่าย เช่น ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ใบสัญญา ทั้งนี้เพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานในการจ่ายจริง แต่ในบางกรณีอาจจะมีรายจ่ายจริงแต่ผู้จ่ายก็ไม่สามารถหาเอกสารหลักฐานประกอบได้ว่ามีการจ่ายจริง เช่น ค่าจ้างแรงงานรายวัน หรือรายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น ในทางกลับกันหากบริษัทมีหลักฐานการจ่ายเงิน ระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปี จำนวนเงิน รายการที่จ่าย และให้ผู้รับเงินลงชื่อรับไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการหักเป็นรายจ่าย ซึ่งทำให้บริษัทสามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน ก็ไม่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม กล่าวโดยสรุป เมื่อตรวจสอบเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว หากพบว่าธุรกิจของคุณกำลังมีค่าใช้จ่ายที่เข้าข่ายเป็น “ค่าใช้จ่ายต้องห้าม” ให้รีบตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขข้อมูลรายละเอียดโดยด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการเข้าตรวจสอบจากกรมสรรพากรก่อนสายเกินแก้ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Inflow Account แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับโพสต์ทูเดย์https://www.posttoday.com/columnist/691826
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
26/11/2024
29/04/2024
30/04/2024
07/06/2024
30/04/2024