คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ข่าวการเงิน

“หยวน” จะโค่น “ดอลลาร์” ความจริงหรือความรู้สึก ???

30/04/2024

คอลัมน์ : ชีพจรเศรษฐกิจโลก ผู้เขียน : นงนุช สิงหเดชะ กระแสเรื่อง “เงินหยวน” ของจีนอาจจะโค่นล้มดอลลาร์สหรัฐขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของโลก ทั้งในแง่การเป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศ (reserve currency) รวมทั้งจะเป็นสกุลเงินที่ใช้ชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ (cross-border payments) เริ่มเปรี้ยงปร้างขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว หลังจากรัสเซียรุกรานยูเครน และรัสเซียถูกชาติตะวันตกนำโดยสหรัฐอเมริกาและยุโรปลงโทษด้วยการไม่ให้เข้าถึงเงินสกุลดอลลาร์และยูโร ทำให้รัสเซียหันไปพึ่งมิตรอย่างจีน และทั้งสองประเทศก็เปิดการค้าขายระหว่างกันด้วยสกุลเงินของตัวเอง แทน “ดอลลาร์สหรัฐ” มาปีนี้กระแสเงินหยวนจะโค่นเงินดอลลาร์กลับมาอีกครั้ง หลังจากจีนทำข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบียในการชำระค่าน้ำมันด้วยเงินหยวน จากเดิมชำระด้วยดอลลาร์ ประกอบกับรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ล่าสุดระบุว่า สัดส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกในรูปดอลลาร์สหรัฐลดลงมาก จากที่เคยอยู่ระดับ 71% เมื่อปี 2000 เหลือเพียง 59.79% ในปัจจุบัน ส่วนเงินหยวนสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาที่ 2.76% หรืออยู่อันดับ 5 ต่อจากยูโร (19.66%) เยน (5.26%) และปอนด์ (4.62%) สำหรับฝ่ายที่เชื่อว่าหยวนจะผงาดขึ้นมาแทนดอลลาร์ จะอ้างอิงเหตุผลที่ว่า การที่สหรัฐใช้ดอลลาร์เป็นเครื่องมือลงโทษรัสเซีย ทำให้หลายประเทศเริ่มหวาดกลัวว่าอาจจะถูกสหรัฐใช้วิธีเดียวกันเล่นงาน จึงลดการถือครองดอลลาร์ไว้ในทุนสำรองระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามการที่เงินสกุลใดจะผงาด ขึ้นมาเป็นสกุลทรงอิทธิพล ได้รับการยอมรับ และที่สำคัญได้รับความไว้วางใจจากทั่วโลกไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากนั้น การเป็นสกุลเงินเบอร์หนึ่งของโลก ไม่ได้มีแต่ข้อดีหรือข้อได้เปรียบ หากแต่มีข้อเสียและภาระต้องแบกรับเช่นกัน เมื่อปี 1965 อดีตประธานาธิบดี “ชาร์ลส์ เดอโกล” ของฝรั่งเศส เคยวิจารณ์ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นมี “exorbitant privilege” (สิทธิพิเศษหรือข้อได้เปรียบมากเกินไป) ต่อมาปี 2011 อดีตประธานาธิบดี “หู จิ่นเทา” ของจีนวิจารณ์ว่า ระบบการเงินโลกที่มีดอลลาร์สหรัฐครอบงำนั้น “เป็นอดีตไปแล้ว” และจีนจะแทนที่ด้วยเงินหยวน เมื่อกาลเวลาผ่านไป สถานะของการเป็นสกุลเงินหลักของโลกย่อมหมายถึง “ค่าเงินแข็ง” เพราะความต้องการสูง ใคร ๆ ก็นิยมดอลลาร์ ส่งผลให้สหรัฐไม่สามารถแข่งขันเรื่องส่งออกได้ และ
ขาดดุลการค้ามหาศาล นำมาสู่การขาดดุลแฝด กล่าวคือขาดดุลการคลังและดุลบัญชีเดินสะพัดพร้อมกัน ต้องกู้เงินมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อแก้ปัญหา จึงทำให้นักเศรษฐศาสตร์สร้างวลีใหม่สำหรับดอลลาร์ นั่นคือ “exorbitant burden” (สร้างภาระมากเกินไป) เพราะสถานะของ reserve currency ทำให้ดอลลาร์มีมูลค่าสูงเกินจริงประมาณ 5-10% สำหรับประเด็นที่ว่าหยวนมีแนวโน้มจะมาแทนที่ดอลลาร์ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าในอนาคตจีนจะปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีคุณสมบัติเดียวกับสหรัฐได้เร็วแค่ไหน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ดอลลาร์ผงาดขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของโลก จากปัจจัยสำคัญ เช่น 1. อเมริกามีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และแข็งแกร่ง 2. ระดับการเปิดประเทศสูง 3. ไม่จำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (fully convertible) 4. การเปิดเสรีบัญชีทุน 
(capital account openness) 5. มีตลาดการเงิน (เช่นพันธบัตร) ที่ลึกและกว้าง มีสภาพคล่องสูง 6. ความโปร่งใสของรัฐบาล ไม่แทรกแซงกลไกตลาดด้วย คุณสมบัติทั้งหมดทำให้ดอลลาร์
กระจายอยู่ทั่วโลก มีสภาพคล่องสูง เข้าถึงได้ง่าย ส่วนจีนนั้นมีคุณสมบัติเหมือนสหรัฐอยู่เพียงข้อเดียวคือ เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงสหรัฐแบบสูสี ส่วนคุณสมบัติที่เหลือจีนยังสอบไม่ผ่าน และยังอยู่ห่างไกล
จากระดับที่จะส่งให้หยวนขึ้นมาผงาดในระยะใกล้หรือกลาง เพราะยังจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างมาก มีการควบคุมบัญชีทุนในระดับสูง ควบคุมการเข้า-ออกของเงินทุนสูง ตลาดการเงินยังแคบและตื้น สภาพคล่องน้อย และรัฐบาลยังควบคุมเศรษฐกิจและแทรกแซงค่าเงิน จนมีการเปรียบเปรยว่า การจะให้จีนเลิกแทรกแซงควบคุมค่าเงินหยวน ก็ไม่ต่างจากการคาดหวังให้คณะโปลิตบูโร
จัดเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ทั้งหมดนี้จึงทำให้เงินหยวนไม่ถูกปล่อยออกไปแพร่กระจายทั่วโลกมากพอที่จะทำให้ เกิดสภาพคล่องและสะดวกในการเข้าถึง โดยปกติประเทศใดก็ตามที่ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจก็มักจะตามมาด้วยสกุลเงินนั้น ๆ จะถูกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่ปรากฏว่าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นกับจีน เพราะว่าสัดส่วนการใช้เงินหยวนเพื่อชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศมีเพียง 2.5% ขณะที่ใช้ดอลลาร์ถึง 40% จะเห็นว่าสัดส่วนทิ้งห่างกันมาก ขัดแย้งกับขนาดเศรษฐกิจของจีนที่สูสีกับสหรัฐมาก จะเห็นได้ว่าเงินหยวนยังตามหลังดอลลาร์สหรัฐห่างมาก ทั้งในแง่ของการเป็น reserve currency และ cross-border payments แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/world-news/news-1262436

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย จับมือ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป เปิดตัวโครงการ “เบาหวานจัดการได้” ร่วมดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบครบวงจร ผ่านแอป MorDee (หมอดี) เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น

21/04/2023

กรุงเทพฯ, 21 เมษายน 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำด้านประกันชีวิตและสุขภาพ ร่วมมือกับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ผู้นำบริการดิจิทัลครบวงจร เปิดตัวโครงการ “เบาหวานจัดการได้” มอบบริการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบครบวงจร ผ่านแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของผู้นำด้านสุขภาพและดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อร่วมดูแลสุขภาพลูกค้าที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานให้สามารถควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากโรคเบาหวานได้อย่างมั่นใจ ด้วยบริการตรวจสุขภาพ ตรวจค่าเลือด พร้อมพบแพทย์และนักโภชนาการผ่านแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 พฤษภาคม 2566 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนคนไทยให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ นายเอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “จากที่เอไอเอ มีพันธกิจสำคัญในการดูแลและสนับสนุนให้ผู้คนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น เราเล็งเห็นถึงสถิติที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก โดยหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด คือโรคเบาหวาน จากสถิติพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย โดยมีผู้ป่วยเพียงครึ่งหนึ่งที่ได้รับการรักษา และในจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา มีเพียง 1 ใน 3 คนที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการรักษา นั่นก็คือสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด HbA1c ให้ลดลงได้[1] อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานยังมีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี เอไอเอ จึงร่วมมือกับพันธมิตรด้านดิจิทัลอย่าง ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป เปิดรับสมัครผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการปรับพฤติกรรม พร้อมทั้งอยากให้เอไอเอมีส่วนช่วยดูแล เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการเบาหวานจัดการได้ จะได้รับการตรวจสุขภาพถึงบ้านจากบุคลากรของแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) เจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตรวจปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเพื่อดูค่าความเสื่อมของไต รวมทั้งปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) โดยทั้งหมดนี้ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลา 1 ปี ซึ่งโครงการเบาหวานจัดการได้ ถือเป็นโครงการนำร่องที่เอไอเอต้องการมีส่วนช่วยคนไทยให้คลายกังวลจากโรคร้าย ด้วยการเริ่มต้นจากตัวเอง โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต พร้อมกับมีเอไอเอเป็นพาร์ทเนอร์อยู่ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมให้ทุก ๆ วันของลูกค้า เป็นวันที่มีความหมาย เพื่อการมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว”  ดร.อดิภัทร ชัยชนะสกุล กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทรู เฮลท์ จึงได้นำความเชี่ยวชาญและศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัลมาต่อยอดฟังก์ชันบนแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) เพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพยุคใหม่ในหลากหลายมิติ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางและสาขาของโรคที่ครอบคลุมมากขึ้น ล่าสุดได้ขยายความร่วมมือกับเอไอเอประเทศไทย  ผู้นำด้านประกันชีวิตและสุขภาพ เปิดโครงการ “เบาหวานจัดการได้” บนแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางได้สะดวกรวดเร็วทุกที่ทุกเวลา ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อลดความรุนแรงของโรค โดยสามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ในวันและเวลาที่สะดวก เลือกได้ทั้งการโทร แชต และวิดีโอคอล (VDO Call) พร้อมบริการส่งยาตามที่แพทย์สั่งถึงบ้าน โดยไม่ต้องเดินทางและไม่ต้องรอคิวที่โรงพยาบาล อีกทั้งยังสามารถปรึกษานักโภชนาการเพื่อสร้างความเข้าใจในการดูเเลสุขภาพเเบบองค์รวม ตลอดจนช่วยวางแผนการกินอาหาร อาหารเสริม ซึ่งมั่นใจว่าโครงการที่ดีมีประโยชน์เช่นนี้จะสามารถขยายผลสู่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วประเทศต่อไป” ลูกค้าที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและสนใจเข้าร่วมโครงการเบาหวานจัดการได้[2] สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ http://bit.ly/3KrNjK ตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 พฤษภาคม 2566 โดยเงื่อนไขจะเป็นไปตามบริษัทกำหนด[3] หมายเหตุ: [1] ข้อมูลจาก The Blueprint for Change Programme เรียบเรียงโดย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี [2] ผู้สมัครที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีโรคร่วมอื่น เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคไต โครงการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครตามความเหมาะสม [3] รายละเอียดและเงื่อนไขสำหรับการพิจารณา การให้สิทธิประโยชน์ การให้บริการต่างๆ เป็นไปตามนโยบายของชีวีบริรักษ์ คลินิก และบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทนอกกลุ่มเอไอเอ และอยู่นอกเหนือการบริหารงานของเอไอเอ เอไอเอจะไม่รับผิดชอบต่อการบริการ ผลิตภัณฑ์และข้อเสนอใดๆ ที่นำเสนอโดยผู้ให้บริการนี้ *สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง ยกเลิก แก้ไขรายละเอียดหรือเงื่อนไขต่างๆ โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

เอไอเอ ประเทศไทย จัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ใจกลางย่านรัชดาภิเษก “เอไอเอ คอนเน็คท์ (AIA CONNECT)”

30/04/2024

เอไอเอ ประเทศไทย เดินหน้าลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ต่อเนื่องเป็นแห่งที่ 4 ภายใต้ชื่อโครงการ “เอไอเอ คอนเน็คท์ (AIA Connect) โดยได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ สถานที่ตั้งโครงการ ใจกลางย่านรัชดาภิเษก ซึ่งมี นายนิคฮิล แอดวานี (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พันธมิตร และพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธี โดยในพิธีได้รับพระมหากรุณาจาก พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ผู้นำสูงสุดแห่งลัทธิพราหมณ์ในประเทศไทย และผู้ดำรงตำแหน่งประธานพระครูพราหมณ์คนปัจจุบัน เป็นผู้นำดำเนินพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการเอไอเอ คอนเน็คท์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการเอไอเอ คอนเน็คท์ (AIA Connect) เป็นอาคารสำนักงานให้เช่าเกรดพรีเมียม มีความสูง 33 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 110,400 ตารางเมตร มาพร้อมพื้นที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพของผู้เช่า อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกด้วยพื้นที่จอดรถกว่า 708 คัน เป็นโครงการที่ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษก และยังเป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม เพื่อการคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็ว สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังอาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม ตลอดจนสามารถเดินทางต่อไปยังอาคาร เอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ และอาคาร เอไอเอ อีสต์ เกตเวย์ ย่านบางนา-ตราด ได้อย่างสะดวกง่ายดาย อาคาร เอไอเอ คอนเน็คท์ ถูกออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้สอยอาคาร ตามเกณฑ์มาตรฐานของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และ WELL Building Standard ระดับโกลด์ สอดคล้องตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ “Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น” ซึ่งโครงการดังกล่าว ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนภาคธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยต่อไปอย่างยั่งยืน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

“ธนาคาร” กับ “บริษัทประกันชีวิต” จะล้มจากการแห่ถอนเงินตอนไหน

30/04/2024

คอลัมน์​ : คุยฟุ้งเรื่องการเงิน ผู้เขียน : พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่ แอคชัวรี) ถ้าระบบควบคุมภายในของธนาคารนั้นเรียบร้อยดี แต่ไม่ได้ดูแลการบริหารสภาพคล่อง หรือการกระจุกตัวของลูกค้า หรือการด้อยค่าของสินทรัพย์นั้น ก็สามารถทำให้ธนาคารล้มไม่เป็นท่าได้ โดยปกติแล้วกลยุทธ์การรับมือนั้น ธนาคารจะต้องมี Asset Liability Matching หรือเทคนิค ALM ไปด้วย แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดในอเมริกานั้น จะเห็นว่าธนาคารบางแห่งไม่ได้ทำ ALM กันอย่างจริงจัง และอาจจะมีธนาคารท้องถิ่นในอเมริกาอีกประมาณ 5 แห่ง ที่เข้าข่ายการบกพร่องในการทำ ALM แบบนี้ด้วยปกติแล้ว ธนาคารจะทำการตกแต่งบัญชีได้ยากอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้สอบบัญชีก็จะระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ธนาคารก็ยังสามารถล้มอยู่ ก็อาจจะมาจากนโยบายการบริหารผิดพลาด เงินที่ได้จากเงินฝากเอาไปลงทุนในตราสารหนี้ และ mismatched ระยะเวลาของสินทรัพย์กับหนี้สินอยู่มาก พอดอกเบี้ยขึ้นก็เลยขาดทุนหนักเพราะต้องรับรู้เป็นขาดทุนออกมา ทั้ง ๆ ที่ตราสารหนี้ที่ถืออยู่นั้นต้องการจะถือจนครบกำหนดสัญญา (ปกติ ใครที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะเลือกที่จะถือจนครบกำหนดสัญญากัน)การที่ธนาคารไปมีกลุ่มลูกค้าเงินฝากค่อนข้างกระจุกตัวนั้น ก็ส่งผลให้เวลาเกิดอะไรที่เป็นแง่ลบกับธุรกิจที่ไปกระจุกตัวนั้น ก็จะกระทบไปเกือบจะพร้อมกัน แต่สาเหตุหลักนั้น มาจากการที่ระยะเวลาการลงทุนของสินทรัพย์นั้นไม่ match กับระยะเวลาของหนี้สิน (ALM mismatch) ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น ธนาคารที่เลือกจะ mismatch นั้นอาจจะคิดว่า คนที่ฝากเงินก็จะต่ออายุไปเรื่อย ๆ (เหมือนที่เวลาเราฝากเงินฝากประจำ ก็จะต่ออายุหรือลงทุนต่อไปเรื่อย ๆ) ในขณะที่ฝั่งสินทรัพย์นั้นก็ซื้อตราสารหนี้ระยะยาวเสียเลย (เพราะตราสารหนี้ระยะยาวจะให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น) ทั้งนี้ ธนาคารใหญ่ ๆ นั้นจะมีการถูกบังคับให้ตรวจสอบเรื่อง ALM ผ่าน stress test (การทดสอบภาวะวิกฤต) อยู่เสมอ แต่สำหรับธนาคารท้องถิ่นในอเมริกานั้น ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการทดสอบ stress test หรือ ALM เรื่องทั้งหมดนี้ ถ้าธนาคารมีการทำการทดสอบ ALM และดูว่า mismatch กันระหว่างสินทรัพย์กับหนี้สินหรือไม่ สถานการณ์ที่ธนาคารจะล้มไปเนื่องจากไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวนั้น ก็จะเกิดขึ้นได้ยากมาก ทั้งนี้ การล้มของธนาคารที่เกิดจากการไม่ทำ ALM ที่ดีพอ จึงเป็นเฉพาะของธนาคารใด ธนาคารหนึ่ง และจะไม่ลามไปสู่ธนาคารอื่น แต่น่าจะมีธนาคารท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่ไม่ได้ทำ ALM ที่อาจจะล้มตามมาก็ได้ ดังนั้น ธนาคารแห่งไหนที่ได้มีการทำ stress test และได้มีการทำการทดสอบ ALM เพื่อให้แน่จึงมีการ matching ระหว่างสินทรัพย์กับหนี้สินได้ดีเพียงพอ ก็น่าจะปลอดภัยและไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ส่วนบริษัทประกันชีวิตนั้น ทุกบริษัทถูกให้ทำ ALM กันอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว เพียงแต่บริษัทประกันชีวิตจะกังวลในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับธนาคาร กล่าวคือ ธนาคารจะกลัว mismatch จากการที่ระยะเวลาการลงทุนของสินทรัพย์นั้นยาวกว่าหนี้สิน แต่บริษัทประกันชีวิตจะกลัว mismatch จากการที่ระยะเวลาการลงทุนของสินทรัพย์นั้นที่สั้นกว่าหนี้สิน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความเสี่ยงของธนาคารจะมีกับงบการเงินตอนที่ภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น (จึงต้องทำ ALM ในจังหวะที่ดอกเบี้ยขาขึ้น) และจะปล่อยให้มี mismatch กันตอนที่อัตราดอกเบี้ยขาลง แต่บริษัทประกันชีวิตจะปล่อยให้มี mismatch กัน ตอนที่ดอกเบี้ยขาขึ้น (เพราะจะได้อานิสงส์กำไรจากดอกเบี้ยขาขึ้น) และจะให้มีการทำ ALM ในจังหวะดอกเบี้ยขาลง เพื่อป้องกันการขาดทุน แต่สิ่งสำคัญสำหรับการรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงก็คือ การที่สินทรัพย์หรือหนี้สินที่เลือกจัดกลุ่มให้ถือจนครบกำหนดสัญญานั้น ในทางบัญชีจะรับรู้กำไรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยลงใน “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น” เท่านั้น ซึ่งเป็นเหมือนกำไรที่รออยู่ในงบดุล และจะรับรู้เป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนก็ต่อเมื่อมีการขายจริงเท่านั้น ธนาคารเมื่อมีคนแห่มาถอนเงินจนต้องถูกบังคับขายตราสารหนี้ตอนภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นก็จะรับรู้ขาดทุนในงบกำไรขาดทุน (ดังนั้น ธนาคารที่ดีจึงต้องทำ matching ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น จึงจะไม่เกิดปัญหานี้) แต่ถ้าบริษัทประกันมีคนแห่มาถอนกรมธรรม์จนต้องถูกบังคับขายตราสารหนี้ตอนภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นก็จะรับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุน สรุปว่า เทคนิค ALM นั้น – สำหรับธนาคารจะทำตอนดอกเบี้ยขาขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง – สำหรับธนาคาร อาจจะไม่ต้องทำตอนดอกเบี้ยขาลง เพื่อให้มีกำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง (สำหรับพันธบัตรรัฐบาล จะรับรู้กำไร หรือไม่ ก็ขึ้นกับขายจริงหรือไม่) – สำหรับบริษัทประกันชีวิตจะทำตอนดอกเบี้ยขาลง เพื่อไม่ให้เกิดผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง – สำหรับบริษัทประกันชีวิต อาจจะไม่ต้องทำตอนดอกเบี้ยขาขึ้น เพื่อให้มีกำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง (สำหรับพันธบัตรรัฐบาล จะรับรู้กำไร หรือไม่ก็ขึ้นกับขายจริงหรือไม่) แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1262302

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

10 Megathreats ความเสี่ยงใหญ่ของโลกในวันหน้า

30/04/2024

คอลัมน์ : มองข้ามชอต ผู้เขียน : ดร.ฐิติมา ชูเชิด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) หลายปีที่ผ่านมาโลกใบนี้เจอกับความไม่แน่นอนสูงขึ้นมาก ความเสี่ยงใหญ่หน้าใหม่หลายเรื่องเกิดขึ้นมาอย่างไม่คาดคิด ไม่นานนี้ “Nouriel Roubini” ออกมาส่งสัญญาณเตือนว่า โลกกำลังจะเข้าสู่วงจรที่มืดมน (doom loop) จากความเสี่ยงใหญ่ (megathreats) หลายคนอาจพอได้ยินชื่อท่านนี้ในฐานะศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ระดับโลก และเป็นที่รู้จักในนาม Dr.Doom เพราะเคยออกมาส่งสัญญาณเตือนภัยก่อนเกิดวิกฤต Roubini ออกมาส่งสัญญาณเตือนอีกครั้งว่า โลกกำลังจะเข้าสู่ doom loop จาก megathreats ได้แก่ 1) วิกฤตหนี้ครั้งใหญ่ (The mother of all debt crises) 2) การล้มละลายของภาคเอกชนและภาครัฐ (Private and public failures) 3) กับดักนโยบายการเงินผ่อนคลายกับวัฏจักรเศรษฐกิจ (The easy money trap and boom-bust cycle) 4) การมาถึงของยุคเศรษฐกิจตกต่ำแต่เงินเฟ้อสูง (The coming great stagflation) 5) การล่มสลายของค่าเงินและระบบการเงินไร้เสถียรภาพ (The currency meltdown and financial instability) 6) ระเบิดเวลาปัญหาประชากร (The demographic time bomb) 7) การสิ้นสุดของโลกาภิวัตน์ (The end of globalization) 8) ความเสี่ยงจาก AI (The AI threat) 9) สงครามเย็นยุคใหม่ (The new cold war) 10) โลกที่คนอาศัยอยู่ไม่ได้ (An uninhabitable planet) จะเห็นได้ว่า megathreats 10 เรื่องที่ถูกหยิบยกมานี้จัดเป็นความเสี่ยงระยะปานกลางถึงยาวที่มีลักษณะ stagflationary เพราะมีผลกระทบลดศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจและเพิ่มต้นทุนการผลิตในเวลาเดียวกัน ฉากทัศน์ของ megathreats พอสรุปภาพได้ดังนี้ Roubini ตั้งข้อสังเกตว่า หนี้ภาครัฐและภาคเอกชนในโลกเร่งตัวเร็วมาก อยู่ที่ 350% ของ GDP โลกในปี 2022 (เทียบกับ 200% ณ ปี 1999) ไม่ว่าระดับรัฐบาล บริษัท หรือครัวเรือนที่ก่อหนี้สูงไว้ หากไม่สามารถหารายได้ให้พอใช้จ่ายได้จริง จะเริ่มได้รับผลกระทบในยุคดอกเบี้ยสูง จากที่เคยอยู่รอดมาได้ในยุคดอกเบี้ยต่ำและกู้เงินง่าย ทั้งการออกตราสารหนี้และขอสินเชื่อ โดยเฉพาะจากกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่มีบทบาทเป็นแหล่งเงินทุนสูงขึ้นมาก พอเงินเฟ้อเร่งตัวสูง ทำให้เกมเปลี่ยน ธนาคารกลางต้องปรับกลยุทธ์ ลูกหนี้กลุ่มนี้จะมีความสามารถชำระหนี้ลดลงมาก จนอาจถึงขั้นล้มละลายได้ งบดุลและงบกำไรขาดทุนเริ่มสะท้อนความอ่อนแอของการจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน รายได้รายจ่ายไม่สมดุล เกิดผลขาดทุน หลังหมดยุคนโยบายดอกเบี้ยต่ำและมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ จะเห็นเงินเฟ้อในราคาสินทรัพย์เริ่มลดลง แต่เงินเฟ้อในราคาสินค้าและบริการเร่งตัว จากผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิด รวมถึงห่วงโซ่อุปทานโลกสะดุดหลังเศรษฐกิจฟื้นจากโควิด ธนาคารกลางทั่วโลกหันมาใช้กลยุทธ์ดอกเบี้ยสูง และทยอยถอนสภาพคล่องจากระบบการเงิน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกตกต่ำและเงินเฟ้อสูง (stagflation) ปัญหาเงินเฟ้อสูงยังเป็นต้นเหตุ duration risks ในตลาดการเงิน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก ส่งผลให้ราคาพันธบัตรและราคาหุ้นปรับลดลงตามความสัมพันธ์ที่ผกผันกันอยู่ สถาบันการเงินหรือนักลงทุนสถาบันที่ถือ long-duration fixed-income assets ไว้จะเจอ unrealized losses on securities เช่น ระบบธนาคารสหรัฐ ณ สิ้นปี 2022 ขาดทุนรายการนี้ 6.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (28% ของส่วนของทุนรวม 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) หากรวม unrealized losses on other assets ด้วย ผลขาดทุนรายการนี้จะสูงถึง 1.75 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 80% ของส่วนของทุนรวม เป็นความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่เห็นจากกรณีบางธนาคารในสหรัฐเจอปัญหาขาดสภาพคล่อง ทำให้ผู้ฝากเงินไม่มั่นใจแห่ถอนเงิน จนทางการต้องสั่งปิดและเข้าไปดูแลให้ผู้ฝากเงินกลับมาเชื่อมั่นได้ เรื่องนี้ชี้ว่าธนาคารกลางเผชิญสถานการณ์ต้องเลือก (policy trilemma) ในการเดินหน้านโยบายดอกเบี้ยสูงแก้เงินเฟ้อสูง แลกกับผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน หากเกิดวิกฤตหนี้ครั้งใหญ่ ทั้งในระดับภาคเอกชน ภาคสถาบันการเงิน และภาครัฐขึ้น โดยเฉพาะปัญหาสังคมสูงวัยกับภาระการคลังที่เป็นระเบิดเวลาอยู่ โลกจะเข้าสู่วัฏจักรขาลงเป็น doom loop นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงใหญ่อีกหลายเรื่องเป็นความท้าทายที่ทุกประเทศต้องเจอร่วมกัน เช่น สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ สงครามเย็นยุคใหม่ ความเสี่ยงจากเทคโนโลยี AI อาจทำให้โลกเจอกับสารพัดวิกฤต (polycrises) รุมเร้าได้ ทั้งนี้ การจัดการ megathreats ต้องมองการจัดการความเสี่ยงแบบองค์รวม (collective) เพราะความเสี่ยงใหญ่แต่ละเรื่องส่งผลกระทบระหว่างกันเองอีก แม้โอกาสที่โลกจะเจอ doom loop อย่างที่มีผู้รู้ทักมาอาจไม่เยอะ แต่หากเกิดจริงผลกระทบจะรุนแรงมาก จัดเป็น tail risk การมองสถานการณ์จำลองกรณีโลกเลวร้ายขั้นสุดไว้จะช่วยให้ภาครัฐและเอกชนเตรียมบริหารความเสี่ยง เผื่อกรณีนี้ไว้บนความไม่ประมาท เพื่อจะได้ไม่พลัดเดินหลงไปเจอสารพัดวิกฤตโลกโดยไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าไว้ก่อน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/columns/news-1261010

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

เช็กตัวเองอยู่ 'ระบบประกันรายได้'รูปแบบไหน หลังเกษียณเงินพอใช้

30/04/2024

ผู้สูงอายุไทย เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย คนไทยมีการออมเพียง 26 % ขณะที่ระบบประกันรายได้เมื่อสูงวัย ครอบคลุมทุกกลุ่ม แต่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ เกิน 50 % ไม่มีการออมเพื่อใช้หลังเกษียณ●   ปี 2564 มีผู้สูงอายุ 13.4 ล้านคน ต้องการทำงาน 33 % เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย อีก 3 %  แยกเป็นหางาน 1 %และ2 % รอฤดูกาลในการทำงาน●   ระบบประกันรายได้หลังเกษียณในคนไทย 3 กลุ่ม ข้าราชการ ลูกจ้างเอกชน  และแรงงานนอกระบบ มีความครอบคลุมแต่ยังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ●   รูปแบบกองทุนบำเหน็ญบำนาญข้าราชการ(กบข.)ของข้าราชการ มีเงินราว 1.2 ล้านล้านบาท และกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ชาวบ้านสมทบร่วมกับรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาทเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2566 มีเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ “ไทยพร้อมยัง... ที่จะมีหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ”  ร่วมจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ(IHPP)วรวรรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กล่าวว่า สังคมสูงวัยคือทุกกลุ่มอายุอยู่ในสังคมดียวกัน เพียงแต่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากกว่าวัยเด็กและวัยแรงงาน  โดยปี 2566 มีผู้สูงอายุแตะ 20 % จึงเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ มีวัยแรงงาน 63 % และวัยเด็ก 16 % แต่อีก 20 ปีข้างหน้า ปี 2583 ผู้สูงอายุแตะ 30 % วัยแรงงาน 55 % วัยเด็ก  12 % เข้าสู่สังคมสูงวัยสุดยอด จึงเป็นโจทย์ว่าถึงตอนนั้นประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในส่วนรายได้และค่าใช้จ่าย มีช่วงวัยเดียวที่ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ต่ำกว่ารายได้จากการทำงาน แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ รายได้ไม่สามารถชดเชยกับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคได้อย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้น ผู้สูงอายุต้องมีรายได้เพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจากการสำรวจรายได้ผู้สูงอายุมาจากบุคคลอื่น ลูกหลาน  การทำงานและเบี้ยยังชีพ เพราะฉะนั้น ต้องทำให้ผู้สูงอายุที่เป็น Active Aging เข้าสู่การทำงานให้มีรายได้ ทั้งนี้ ผลการสำรวจเมื่อปี 2564 พบว่า มีผู้สูงอายุ 13.4 ล้านคน ในจำนวนนี้ต้องการทำงาน 33 % เข้าสู่ตลาดงานได้เพียง 30 % แต่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย อีก 3 % ในนี้เป็นการหางาน 1 %และ2 % รอฤดูกาลในการทำงาน จึงเป็นโจทย์ว่า 3 %จะทำอย่างไรให้มีงานทำและอีก 30 % ให้มีงานที่เหมาะสมและชดเชยกับค่าใช้จ่ายในส่วนของการออม คนไทยมีการออมเพียง 26 % มีบัญชีการออมต่ำกว่า 50,000 บาท อายุเริ่มออมช้าเมื่อ 40 ปีขึ้นไป ครัวเรือนมีการลงทุนเพียง 2.2 %ของครัวเรือนทั้งหมด แต่หนี้สินต่อจีดีพี 79.9 % และเพิ่มมาตลอด  จนไตรมาส 3 ของปี 2565 อยู่ที่ 86.8 %สภาพัฒน์มีแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาวในปี 2565-2580 โดยมีแนวคิด เกิดดี อยู่ดี แก่ดี ซึ่งเกิดดีต้องอาศัยครอบครัวในการบ่มเพาะคนให้มีคุณภาพ อยู่ดียกระดับพัฒนาศักยภาพของประชากรเริ่มตั้งแต่การศึกษาเข้าสู่ตลาดงานเป็นแรงงานคุณภาพ พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ยกระดับความมั่นคงทางการเงิน สภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนมีคุณภาพที่ดี และแก่ดี สร้างเสริมสุขภาวะลด ระบบการดูแลระยะยาว ระยะกลาง ดูแลประคับประคอง และระบบคุ้มครองพิทักษ์ทรัพย์สินของผู้สูงวัยหลักประกันรายได้หลังเกษียณนวพร วิริยานุพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้ายดุลยภาพการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิขการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวถึงการสร้างหลักประกันรายได้เพื่อพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุว่า หลักประกันรายได้หลังเกษียณของคนไทยมีหลากหลายรูปแบบทั้งสวัสดิการชราภาพ การออมภาคบังคับและการออมภาคสมัครใจ ภายใต้หลัก 3 ส่วน ได้แก่ 1. ครอบคลุม  ทุกกลุ่ม คือ กลุ่มข้าราชการมีบำเหน็จบำนาญ การออมภาคบังคับ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ  กลุ่มลูกจ้างเอกชน  มีกองทันประกันสังคมที่เป็นการออมภาคบังคับ มีสิทธิประโยชน์เป็นบำนาญชราภาพ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เป็นการออมภาคสมัครใจ ซึ่งกองทุนนี้ช่วยอย่างมากที่จะทำมีรายได้เพียงพอหลังเกษียณแบบมีความมั่นคงมากขึ้นและกลุ่มแรงงานอิสระ มีประกันสังคมมาตรา 40 รองรับที่จะได้บำเหน็จเงินก้อนเมื่อครบ 65 ปี  และกองทุนการออมแห่งชาติ ที่จะมีบำนาญรายเดือนตลอดชีวิตหากมีการออมตามเกณฑ์ โดยในปี 2566 มีการปรับเพิ่มให้สามารถจ่ายเงินสมทบได้สูงสุด 30,000 บาทต่อปี และรัฐจะสมทบให้สูงสุดปีละ 1,800 บาทเสี่ยงรายได้หลังเกษียณไม่พอ2. เพียงพอ ซี่งตามมาตรฐานสากลรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอคงคุณภพาชีวิตใกล้เคียงก่อนเกษียณจะต้องมีไม่น้อยกว่า 50 % ของรายได้ก่อนเกษียณ  กลุ่มข้าราชการจะมีรายได้ 60-70%ของรายได้ก่อนเกษียณ กลุ่มลูกจ้างเอกชน  ถ้าส่งเข้าประกันสังคม 15 ปีขึ้นไป จะมีรายได้ 3,000-5,000 บาทต่อเดือน  หากมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มจะมีเงินก้อนอีกส่วนหนึ่ง แต่หากมีเพียงเงินประกันสังคมน้อย ไม่ออมเพิ่ม เสี่ยงรายได้หลังเกษียณก็จะไม่เพียงพอ “กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ กลุ่มอิสระ /แรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่พึ่งพาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและรายได้ของลูกหลานเป็นหลักราว 20 กว่าล้านคน และเกิน 50 % ไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ”นวพรกล่าว 3. ความยั่งยืนทางการคลัง ภาครัฐมีแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณ ภาระผูกพันระยะยาวเพื่อที่จะจ่ายในเรื่องสวัสดิการและเงินสมทบเข้ากองทุนต่างๆให้เพียงพอที่จะจ่ายได้ในระยะยาว และกองทุนต่างๆต้องมีความมั่นคงและยั่งยืนด้วย จะได้ไม่กลับมาเป็นภาระทางการคลังในอนาคตกบข. รูปแบบออมข้าราชการในส่วนของกลุ่มข้าราชการ  บุญเลิศ อันประเสริฐพร รองเลขาธิการกลุ่มงานปฏิบัติการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)  กล่าวถึงระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุสำหรับข้าราชการว่า กบข.เป็นระบบการออมภาคบังคับที่ให้ข้าราชการมีส่วนร่วมในการออม ภาพรวมมีสมาชิก 1.2 ล้านคน มีเงินกองทุน 1.2 ล้านล้านบาท  มีภารกิจ 3 เรื่อง คือ  1. สร้างหลักประกันให้ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุ 2. ส่งเสริมการออมของข้าราชการ เป็นการออมเพื่อการเกษียณอายุ และ 3. การจัดสิทธิประโยชน์ สวัสดิการแก่สมาชิก จากภารกิจแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการลงทุน  ซึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างหลักประกันให้ข้าราชการที่นำเงินเข้ามาออมกับกบข. จะต้องมีวิธีการสร้างผลตอบแทนเมื่อเกษียณที่มีเงินเพียงพอ แนวทางที่ดำเนินการเป็นการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆให้มีความเหมาะสมเพื่อกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป้าหมายสำคัญ ต้องการเอาชนะเงินเฟ้อระยะยาวและ 2. สนับสนุนกระตุ้นให้สมาชิกมีการออม ซึ่งภาคบังคับข้าราชการออมประมาณ 3 % ซึ่งไม่เพียงพอ จะต้องมีการออมภาคสมัครใจ โดยตั้งแต่ 20 มี.ค.2566 สมาชิกสามารถออมเพิ่มได้สูงสุดจากเดิม 12 % เป็น 27 % เมื่อรวมกับภาคบังคับ 3 % จะเป็น 30 % โดยรัฐไม่มีสมทบให้แต่สมาชิกต้องดูและเรื่องการเงินของตัวเองในการออมเพิ่ม ขณะนี้มีข้าราชการสมัครใจออมเพิ่มราว 20 %นอกจากนี้  เรื่องทักษะการเงิน และวินัยการออม เพื่อออมให้เณ้ว ให้มากและให้เป็น ซึ่งข้าราชการแต่ละคนจะมีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงต่างกัน กบข.จึงมีการออกแนวทางการลงทุนให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนได้ มีข้าราชการที่เลือกแผนการลงทุนเองราว 14 % รวมถึง จัดแผนการลงทุนที่สมดุลกับอายุ โดยอายุน้อยเสี่ยงมาก อายุมากเสี่ยงน้อย โดยกบข.จะดำเนินการเปลี่ยนแผนการลงทุนให้ตามอายุกองทุนสวัสดิการชุมชน 1.9 หมื่นล้านขณะที่ กฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือพอช. กล่าวถึงระบบกองทุนสวัสดิการชุมชนกับการดูแลผู้สูงวัยในพื้นที่ว่า  รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสวัสดิการของตัวเองตั้งแต่ปี 2553เป็นต้นมา เรียกว่า ระบบสวัสดิการชุมชน เป็นระบบสวัสดิการที่ประชาชนลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของคนในชุมชน เช่น การรักษาพยาบาล รับขวัญเด็กแรกเกิด ทุนการศึกษา/อุปกรณ์การเรียน ทุนประกอบอาชีพ เสียชีวิต/จัดงานศพ ผู้ด้อยโอกาส/ผู้ยากไร้ สาธารณะประโยชน์ และช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น ระบบสวัสดิการชุมชนหรือกองทุนวันละบาท ปัจจุบันมีอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) 5,915 กองทุน  มีสมาชิก 6,486,679 คน  ตั้งเป้าหมายไว้ 15 ล้านคนเพราะจะเท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ จะเป็นฐานรองรับเรื่องนี้ได้ วัยทำงาน  48% ผู้สูงอายุ 35 % เด็ก/เยาวชน 15 % และผู้ด้อยโอกาส 2 % มีเงินกองทุนสะสม 19,396 ล้านบาท เป็นเงินที่ได้มาจากประชาชนเก็บไว้วันละบาทแล้วนำเงินมาสมทบ ไม่ใช่ออม โดยหากออมจะเป็นเงินของชาวบ้านสามารถเอาคืนได้ แต่สมทบเข้ากองทุนจะไม่สามารถเอาคืนได้ แต่เอาไปทำสวัสดิการให้กับสมาชิกและผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกแต่ควรได้รับการดูแล เช่น กลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ  ผู้สูงอายุ เป็นต้น“เงินในกองทุน 19,396 ล้านบาท ชาวบ้านสมทบราว 12,000 ล้านบาท  รัฐบาลสมทบมา 3,400 ล้านบาท แปลว่า ชาวบ้านสมทบมา 1 บาท รัฐบาลสมทบมา 1 สลึง  และอปท.สมทบประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อจัดสวัสดิการชุมชนตั้งแต่ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”กฤษดากล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/health/social/1060341

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

แต่ละอาชีพต้องยื่นภาษีแบบไหน หักค่าใช้จ่ายอย่างไร ?

30/04/2024

บทความโดย “มานพ รัตนะ” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 10 เมษายน 2566 ในยุคสมัยที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ก็จะมีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หลายครั้งผู้มีเงินได้อาจเริ่มสับสนว่าแต่ละอาชีพต้องยื่นภาษีแบบไหน หักค่าใช้จ่ายอย่างไรและวิธีการใดที่ทำให้ประหยัดภาษีได้มากที่สุด ในเบื้องต้นผู้มีเงินได้จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องการ แบ่งแยกประเภทของเงินได้ก่อน เพื่อที่จะสามารถวางแผนการประหยัดภาษีได้อย่างถูกต้องต่อไป 8 ประเภทเงินได้กับการหักค่าใช้จ่าย เงินได้ตามตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีกฎเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยงโบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เงินได้ประเภท 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เบี้ยประชุม บำเหน็จ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว จะเห็นว่าเงินได้ประเภทที่ 1 กับประเภทที่ 2 คล้ายคลึงกันมากและมีประเด็นสำคัญที่เหมือนกัน คือ ใช้แรงกายและความสามารถของตัวเองในการทำงาน ซึ่งแทบไม่มีต้นทุนหรือมีต้นทุนน้อยมาก สรรพากรจึงให้นำเอาเงินได้ทั้ง 2 ประเภทนี้มารวมกันเป็นก้อนเดียว แล้วให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เงินได้ประเภท 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น รวมถึงเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ซึ่งเงินได้ประเภทนี้ เฉพาะค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทก็ได้ เงินได้ประเภท 40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล และคริปโตเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้ที่ไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใด ๆ เงินได้ประเภทนี้ จึงไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ เงินได้ประเภท 40(5) ได้แก่ การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้โดยกรณีเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา จะมีข้อกำหนดตามลักษณะของทรัพย์สิน ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(6) ได้แก่ ค่าวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรมสถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้ โดยกรณีเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา จะมีข้อกำหนดตามลักษณะของกลุ่มวิชาชีพ ดังนี้ เงินได้ประเภท 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เงินได้ประเภท 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1)-(7) แล้ว ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 40% และ 60% เนื่องจากเงินได้ประเภทที่ 8 เป็นเงินได้ที่มีหลากหลายประเภทมาก ซึ่งแต่ละประเภทก็มีต้นทุนธุรกิจแตกต่างกัน จึงไม่ใช่ว่าผู้ที่มีเงินได้ประเภทที่ 8 จะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ทุกราย ดังนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่าตัวเอง อยู่ในอาชีพที่สามารถใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้หรือไม่ ซึ่งมีกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 ดังตารางที่ 1 ตัวอย่างการวิเคราะห์ นายมานพ ทำอาชีพขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป รายได้ปีละ 1,000,000 บาท และยังมีการทำช่อง Youtuber ของตัวเองให้ความรู้เกี่ยวกับภาษี มีรายได้จากค่าโฆษณาปีละ 300,000 บาท เมื่อคนเริ่มติดตามช่องเยอะขึ้น จึงมีบริษัทหลักทรัพย์ติดต่อเข้ามาขอให้ช่วยโฆษณากองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF, RMF ให้ด้วย โดยได้รับค่าตอบแทนจำนวน 15,000 บาท จากข้อมูลเบื้องต้น สามารถวิเคราะห์แหล่งที่มาของรายได้ของนายมานพ ได้ดังนี้ 1.เงินได้จากการขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป จำนวน 1,000,000 บาท : เงินก้อนนี้ถือเป็นเงินจากการธุรกิจ การพาณิชย์ จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เนื่องจากอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) 2.เงินได้จากค่าโฆษณาที่แทรกขึ้นมาในระหว่างดูคลิป จำนวน 300,000 บาท โดยเงินก้อนนี้ไม่เข้าพวก 40(1)-(7) ดังนั้น จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8) และเมื่อพิจารณาการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาดังตารางที่ 1 จึงต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น 3.เงินได้จากการรับโฆษณากองทุนให้กับบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 15,000 บาท โดยถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีนี้จึงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 7,500 บาท ดังนั้น นายมานพ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษี โดยระบุข้อมูลประเภทเงินได้และการหักค่าใช้จ่ายดังนี้ ตารางที่ 1 อัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) หากเงินได้ประเภทใดไม่ปรากฏบนตารางดังกล่าว ต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น ตัวอย่างการวิเคราะห์ นายมานพ ทำอาชีพขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป รายได้ปีละ 1,000,000 บาท และยังมีการทำช่อง Youtuber ของตัวเองให้ความรู้เกี่ยวกับภาษี มีรายได้จากค่าโฆษณาปีละ 300,000 บาท เมื่อคนเริ่มติดตามช่องเยอะขึ้น จึงมีบริษัทหลักทรัพย์ติดต่อเข้ามาขอให้ช่วยโฆษณากองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF, RMF ให้ด้วย โดยได้รับค่าตอบแทนจำนวน 15,000 บาท จากข้อมูลเบื้องต้น สามารถวิเคราะห์แหล่งที่มาของรายได้ของนายมานพ ได้ดังนี้ 1.เงินได้จากการขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป จำนวน 1,000,000 บาท : เงินก้อนนี้ถือเป็นเงินจากการธุรกิจ การพาณิชย์ จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ก็ได้ เนื่องจากอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) 2.เงินได้จากค่าโฆษณาที่แทรกขึ้นมาในระหว่างดูคลิป จำนวน 300,000 บาท โดยเงินก้อนนี้ไม่เข้าพวก 40(1)-(7) ดังนั้น จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8) และเมื่อพิจารณาการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาดังตารางที่ 1 จึงต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น 3.เงินได้จากการรับโฆษณากองทุนให้กับบริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 15,000 บาท โดยถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีนี้จึงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 7,500 บาท ดังนั้น นายมานพ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษี โดยระบุข้อมูลประเภทเงินได้และการหักค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.เงินได้ 40(8) จากการขายของออนไลน์จำนวน 1,000,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 600,000 บาทเป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 400,000 บาท 2.เงินได้ 40(8) จากเงินได้อื่น ๆ (ค่าโฆษณาใน Youtube) จำนวน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายตามจริง 0 บาท เป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 300,000 บาท 3.เงินได้ 40(2) จากเงินได้จากการรับทำงานให้ จำนวน 15,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 7,500 บาทเป็นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 7,500 บาท รวมเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 400,000 + 300,000 + 7,500 = 707,500 บาท จะเห็นได้ว่า การแยกประเภทเงินได้ให้ถูกประเภทนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสำคัญมาก เพราะมีความสัมพันธ์กับการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งหากมีการยื่นผิดประเภทก็จะทำให้การหักค่าใช้จ่ายผิดไปด้วย ส่งผลให้เสียภาษีไม่ตรงตามความเป็นจริงและอาจทำให้ถูกเรียกตรวจสอบภายหลังพร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่มที่แสนแพงอีก ดังนั้น ผู้เสียภาษีจึงควรใส่ใจและศึกษาประเภทของเงินได้ให้ถ่องแท้ หรือสามารถติดต่อนักวางแผนการเงินที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการวางแผนภาษี เพื่อช่วยวิเคราะห์และวางแผนภาษีได้อย่างรัดกุมและปลอดภัย ข้อมูลอ้างอิง : ประมวลรัษฎากร มาตรา 40, มาตรา 42 ทวิ, มาตรา 42 ตรี พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1257869

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ประกันภัยญี่ปุ่น เตรียมเปิดขายกรมธรรม์คุ้มครองการถูก “บูลลี่”

30/04/2024

“โตเกียวมารีนฯ” บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เตรียมคลอดกรมธรรม์ประกันภัยการถูกบูลลี่ ต.ค.นี้ วงเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 เยน หลังการบูลลี่กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นวันที่ 7 เมษายน 2566 รายงานข่าวอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Japan Times เปิดเผยว่า Tokio Marine & Nichido Fire Insurance บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเตรียมเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยป้องกันการถูกรังแก หรือกรมธรรม์ประกันภัยการถูกบูลลี่สำหรับเด็กนักเรียนที่ถูกรังแกต่อหน้าหรือทางออนไลน์ ในชื่อ “ijime” แปลว่า “กลั่นแกล้ง” ตั้งแต่ในเดือนตุลาคมนี้สืบเนื่องจากการบูลลี่กันกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยจากสถิติปี 2564-2565 ในประเทศญี่ปุ่นพบตัวเลขผู้ที่ถูกบูลลี่ทั่วประเทศสูงถึง 615,351 ราย และส่วนใหญ่กว่า 500,562 ราย มาจากเคสที่เกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียนประถม อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าตัวเลขนี้ยังน้อยกว่าความเป็นจริงมากทั้งนี้ ในปี 2561 มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในลักษณะนี้ 414,378 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีแค่ 91,000 ครั้ง โดยมีผู้ป่วยทั้งหมด 474 ราย ที่จัดอยู่ในประเภทร้ายแรง ในขณะที่ 55 ราย ได้รับการพิจารณาว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยทางการตัดสินว่าเด็ก 10 คน จาก 250 คน ที่ปลิดชีวิตตัวเองจากการถูกรังแกต่อหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เหยื่อทิ้งกระดาษโน้ตไว้และล่าสุดเมื่อปี 2565 รัฐสภาของญี่ปุ่นได้กำหนดให้ “การดูหมิ่นออนไลน์” มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือโดนปรับ 300,000 เยนสำหรับเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ดังกล่าว จะให้วงเงินสูงสุดประมาณ 200,000 เยน (หรือราว 50,000 บาท) โดยจะครอบคลุมค่าให้คำปรึกษาสำหรับนักเรียนที่ถูกรังแก ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนโรงเรียน หรือค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียนและเครื่องแบบโดยในเบื้องต้นทางบริษัทประกันภัยนี้จะเสนอให้โรงเรียนและสมาคมที่มีนโยบายกับบริษัทอยู่แล้วก่อน โดยผู้ปกครองต้องมีรายงานเอกสารเกี่ยวกับความเสียหายที่แจ้งความไว้กับตำรวจ และเอกสารการปรึกษากับทางโรงเรียนเพื่อยื่นเรียกร้องขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1257099

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

เมื่อใช้ AI ช่วยเทรดหุ้น จนชนะบัฟเฟตต์! ตลาดหุ้นจะพลิกโฉมอย่างไร?

30/04/2024

เมื่อ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ประมวลข้อมูลได้มหาศาล และรวดเร็วยิ่งกว่ามนุษย์ อีกทั้งกองทุน Renaissance Technologies ใช้ AI เป็นหนึ่งในตัวช่วยเทรดหุ้นแล้ว ก็สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงกว่าบัฟเฟตต์ จึงน่าสนใจว่าหาก AI เล่นหุ้นแล้ว จะเอาชนะตลาดหุ้นได้หรือไม่ และมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง Key Points ● การเข้ามาของ AI ที่สามารถรวบรวมข้อมูลอันมหาศาลมาประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะอย่างยิ่งกับ “การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)” ● จิม ไซมอนส์ ผู้ก่อตั้งกองทุน Renaissance Technologies ใช้ AI เป็นหนึ่งในเครื่องมือทั้งหมดที่สำคัญช่วยเทรดหุ้น สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 39% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ที่ทำได้ 20% ต่อปี ● อย่างไรก็ตาม AI ก็กำลังเผชิญความท้าทายด้านอารมณ์ของมนุษย์ในตลาดหุ้น เหตุการณ์ไม่คาดฝัน และการขาดมิติการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โลกปัจจุบันกำลังตื่นตาตื่นใจกับ AI อย่างมาก โดยเฉพาะในระยะหลังที่เราได้เห็นการตอบปัญหาได้เกือบทุกอย่างของ AI ChatGPT รวมถึงความสามารถของ AI ที่สามารถวาดรูปราวกับศิลปินด้วย AI Midjourney  ความสามารถอันน่าทึ่งเหล่านี้ มาจากการที่ AI สามารถประมวลผลข้อมูลอันมหาศาลภายในเสี้ยววินาที จึงไม่น่าแปลกใจว่า จากความทึ่งก็ได้เปลี่ยนเป็นความกังวลเข้ามาแทนที่ว่า ความสามารถเหล่านี้จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้หรือไม่ โดยในแวดวงการลงทุนเองก็มีการถกเถียงอย่างมากในประเด็นนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” จะพาไปดูกันว่า บทบาทของ AI ต่อตลาดทุนมีมากน้อยแค่ไหน และจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงตลาดหุ้นไปจากเดิม สู่ลักษณะใดบ้าง ● การวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลอย่างรวดเร็ว ข้อมูลในตลาดหุ้นนั้นมีมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขงบการเงินบริษัท สถิติ ราคาหุ้น อัตราเงินเฟ้อ ตัวเลขผู้ว่างงาน ฯลฯ ซึ่งการรวบรวมโดยมนุษย์นั้นใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่การเข้ามาของ AI จะสามารถรวบรวมข้อมูลอันมหาศาลเหล่านี้ มาประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับ "การวิเคราะห์เชิงปริมาณ" (Quantitative Analysis) ข้อมูลเหล่านี้ AI จะวิเคราะห์จากข้อมูลในอดีตเป็นเวลาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต มูรัท โอเนน (Murat Onen) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัย MIT ให้ความเห็นด้าน AI ว่า “คุณกำลังฝึกเครือข่าย AI ที่ซับซ้อนอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีสิ่งใดเทียบได้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ นี่ไม่ใช่รถที่เร็วขึ้น แต่นี่คือจรวดอวกาศ” - ความทรงพลังของ AI (เครดิต: shutterstock) - เคสตัวอย่างของผู้ที่นำ AI มาปรับใช้ในการเทรดจนประสบความสำเร็จ คือ จิม ไซมอนส์ (Jim Simons) ศาสตราจารย์นักคณิตศาสตร์ ผู้ก่อตั้งกองทุน Renaissance Technologies และเป็นนักเทรดสาย Quant ที่ใช้เครื่องมือสำคัญอย่าง AI อันเป็นหนึ่งในเครื่องมือทั้งหมดช่วยเทรดหุ้น โดยนับตั้งแต่ปี 2541 สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 39% ต่อปี  ในขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ยของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) อยู่ที่ 20% ต่อปี และผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นสหรัฐ S&P 500 อยู่ที่ 11.88% ต่อปี - จิม ไซมอนส์ ผู้ก่อตั้งกองทุน Renaissance Technologies ใช้ AI ช่วยเทรดหุ้น (เครดิต: Gert-Martin Greuel จาก Oberwolfach Photo Collection) ● ตัวช่วยการเทรดที่ไวกว่ามนุษย์ และทำพร้อมกันได้ โดยปกติในวงการเทรดหุ้น จะต้องใช้หลายจอในการเทรด เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของแท่งเทียนแต่ละช่วงเวลา 1 นาที 5 นาที 10 นาที ฯลฯ พร้อมกัน ซึ่งสายตามนุษย์อาจพลาดได้ แต่ AI กำลังทำให้การติดตามหลายจอนี้เปลี่ยนเป็นเวลาอันสั้น และไม่จำเป็นต้องเฝ้าจอ เนื่องจาก AI จะจัดการแทนมนุษย์ตามระบบที่เตรียมไว้ โดย AI จะเรียนรู้จากรูปแบบการเคลื่อนไหวกราฟในอดีต และจำลองภาพความเป็นไปได้ในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น จากระบบซื้อขายหุ้นความเร็วสูง (High Frequency Trading) ที่สามารถวาง Bid และกวาด Offer ของหุ้นได้รวดเร็ว และทำได้หลายคำสั่งในชั่วพริบตาก่อนมนุษย์จะขยับมือ ดังจะเห็นจากราคาหุ้นของหลายบริษัทที่เมื่อถึงจังหวะขาขึ้น ก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่หยุดยั้งจนมนุษย์ตามซื้อไม่ทัน เมื่อนำมาใช้ร่วมกับ AI ก็จะทำให้การประมวลผลซื้อขายหุ้นมีมิติมากขึ้น เพราะอาศัยข้อมูลหลายส่วนมาประมวล แทนการรับคำสั่งซื้อขายง่าย ๆ แบบเดิม ● เครื่องมือจับการเคลื่อนไหวราคาหุ้นที่ผิดปกติ ราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวผิดปกติมาจากปริมาณซื้อขายหุ้นที่ผิดไปจากเดิม รูปแบบการเคลื่อนไหวแท่งเทียนไม่เหมือนดังที่เคยพบเห็น สำหรับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดหุ้น หากอาศัยเฉพาะมนุษย์ในการเฝ้ามองหลายล้านธุรกรรม หุ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ก็คงไม่ทันการณ์ ดังนั้น ด้วยจุดแข็งของ AI ที่รองรับข้อมูลอันมหาศาลได้ คล้ายกับเครื่องคิดเลขที่คำนวณตัวเลขหลักล้านล้านในเสี้ยววินาที เพียงแต่ AI รองรับความซับซ้อนทางข้อมูล ประมวลผลได้หลายมิติ หลายเหลี่ยมมุม จึงสามารถนำมาตรวจจับความผิดปกติของราคาหุ้นได้ โดยเทียบกับข้อมูลในอดีตไม่ว่าจะเป็นตัวเลขซื้อขายในแต่ละวัน การเคลื่อนไหวของ Bid Offer ที่เปลี่ยนไป ความผันผวนของราคา ฯลฯ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระมนุษย์ ในประเทศไทยเอง ก็มีโครงการที่จะนำเอา AI มาใช้ในตลาดหุ้น โดยเมื่อปี 2564 เอนก อยู่ยืน ผู้ช่วยเลขาธิการหน่วยงานดูแลตลาดหุ้นไทยหรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ทางก.ล.ต.กำลังพัฒนาโครงการ E-enforcement ซึ่งเป็นระบบ AI ในการช่วยตรวจสอบความผิดปกติของการซื้อขายหุ้นด้วย - AI กับวงการหุ้น (เครดิต: shutterstock) - อย่างไรก็ตาม แม้ AI จะประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มี "ข้อจำกัดในวงการตลาดหุ้น" ดังนี้ ● การตัดสินใจที่ใช้อารมณ์ของมนุษย์ ตัวขับเคลื่อนราคาหุ้นขึ้นลงปัจจุบัน ล้วนมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญคือ การอยู่ใต้อิทธิพลของอารมณ์มนุษย์  ไม่ว่าจะเป็น “ความโลภ” ก็จะทุ่มซื้อ จนลดการพิจารณาถึงความเสี่ยง  “ความกลัว” ก็จะแห่เทขาย โดยลดการคำนึงถึงคุณค่าบริษัท สิ่งเหล่านี้เป็นความยากของ AI ในการประเมิน เนื่องจากบางครั้ง มนุษย์ก็ตัดสินใจโดยไร้เหตุผล ไม่ได้คำนึงถึงตรรกะ หรือแบบแผนที่ควรจะเป็น ● เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ในตลาดหุ้นมักมีศัพท์หนึ่งที่เรียกว่า “Black Swan” ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น การระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา ไม่คาดฝันว่าจะต้องมีการปิดประเทศ และสวมหน้ากากเป็นกิจวัตร เหตุการณ์ 9/11 ปี 2544 ที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ของสหรัฐถูกเครื่องบิน 2 ลำพุ่งชน ซึ่งไม่มีใครคาดคิดว่ามหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก จะถูกท้าทายในใจกลางนครนิวยอร์กเช่นนี้ - เหตุการณ์ 9/11  ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ของสหรัฐ (เครดิต: AFP) - รวมไปถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครนในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถคาดการณ์การจบสงครามได้ ว่าจะออกมาในลักษณะไหน สิ่งเหล่านี้สร้างความปั่นป่วนในตลาดหุ้นอย่างมาก  และเป็นความท้าทายต่อ AI ยังไม่รวมการเกิดขึ้นของสิ่งประดิษฐ์บางอย่างที่จะเข้ามาเปลี่ยนประวัติศาสตร์ อย่างในอดีตที่เคยเกิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โลกอินเทอร์เน็ต ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ● ขาดการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ การจะเข้าใจบริษัทหุ้นอย่างแจ่มแจ้งนั้นต้องอาศัยจิ๊กซอว์ 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์เชิงปริมาณควบคู่กับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วย เพราะนอกจากเรื่องตัวเลข สถิติ งบการเงินซึ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ “การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ” (Qualitative Analysis) ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมบริษัท การสำรวจคู่แข่ง การใช้ผลิตภัณฑ์บริษัทว่าประทับใจหรือไม่ การวิเคราะห์ผู้บริหารต่อการรักษาคำพูด เหล่านี้เป็นสิ่งที่ AI กำลังขาด และไม่ได้ผ่านประสบการณ์ตรงเช่นเดียวกับมนุษย์ เพราะในบางครั้ง ข้อมูลตัวเลขที่ผู้บริหารรายงานมา อาจจะดูน่าประทับใจ แต่เมื่อเราเข้าไปเยี่ยมชมบริษัท คุยกับลูกค้าบริษัท และลองใช้สินค้าจริง อาจไม่เป็นไปอย่างที่คิดก็เป็นได้ โดยสรุป ความมหัศจรรย์ของ AI ที่สามารถจัดการข้อมูลที่มากเกินจินตนาการของมนุษย์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว กำลังเป็นเขี้ยวเล็บใหม่ที่ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น อีกทั้งการซื้อขายหุ้น ตรวจจับความผิดปกติในตลาดหุ้นก็ยังไวกว่ามนุษย์ด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระวังคือ คุณภาพข้อมูลที่ใช้ฝึก AI เพราะหากข้อมูลผิดพลาด ก็จะทำให้ผลลัพธ์ที่ออกผิดพลาดตามมาได้ รวมไปถึงผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณจาก AI ก็จำเป็นต้องวิเคราะห์เชิงคุณภาพควบคู่ตามไป เพื่อให้เห็นภาพรวมความเป็นจริงของธุรกิจ อ้างอิง: infoquest builtin forbes cnbc sciencealert investopedia แหลางที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจออนไลน์https://www.bangkokbiznews.com/finance/1061576

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ประกันวินาศภัยปี’66 เบี้ยฟื้นแตะ 2.8 แสนล้าน โต 4-5%

30/04/2024

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินทิศทางธุรกิจประกันวินาศภัยปี 2566 เบี้ยรับฟื้นตัวแตะ 2.85-2.88 แสนล้านบาท เติบโต 4-5% แต่ยังมีแรงสะเทือนจากการรับประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบวันที่ 4 เมษายน 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยภาพรวมการเติบโตของธุรกิจประกันวินาศภัยในปี2566 เบี้ยประกันภัยรับตรงมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น โดยปัจจัยสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการแข่งขันด้านราคาลดลง ทั้งจากจำนวนบริษัทประกันลดลงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนการเอาประกันภัยต่อที่สูงขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเบี้ยรับรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยในปี 2566 จะอยู่ที่ 285,000-288,000 ล้านบาท จะเติบโตได้ต่อเนื่องที่ระดับ 4-5% จากปีก่อน โดยคาดการณ์เบี้ยประกันภัยแต่ละประเภท และอัตราการเติบโตเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ดังนี้●  เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 165,500-166,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.8-7.5%●  เบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด 103,000-104,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5-2%●  เบี้ยประกันอัคคีภัย 10,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1-1.5%●  เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 6,500-6,800 ล้านบาท ลดลง 3-7%ทั้งนี้เบี้ยรับที่เป็นตัวนำในการสนับสนุนการเติบโตของภาพรวมธุรกิจประกันวินาศภัยในปีนี้มาจากการรับประกันภัยรถยนต์เป็นหลัก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเบี้ยรับตรงจากการรับประกันภัยรถในปีนี้จะขยายตัวจากปีก่อนที่ 6.8-7.5% ตามผลบวกด้านยอดขายรถใหม่ การท่องเที่ยวและการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีผลของอัตราเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นตามการแข่งขันที่ลดลงต้นทุนการรับประกันที่สูงขึ้นตามอัตราการทำประกันภัยต่อ รวมถึงประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอัตราเบี้ยประกันเฉลี่ยสูงกว่ารถทั่วไปในประเภทเดียวกันประมาณ 20% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลสะท้อนจากตลาดที่ยังไม่สมบูรณ์ ทั้งในมุมปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าที่ยังอยู่ในหลัก 10,000 คัน (เทียบกับจำนวนการทำประกันภัยรถภาคสมัครใจที่มีกว่า 11 ล้านคันต่อปี)และข้อมูลสถิติการเคลมสินไหมยังไม่ชัดเจน รวมทั้งมีประเด็นเรื่องความเสียหายของแบตเตอรี่จากอุบัติเหตุทั่วไปที่อาจถึงขั้นคืนทุน ประกอบกับจำนวนผู้ให้บริการที่ยีงมีน้อย อย่างไรก็ดีในช่วงปลายปีนี้คงมีความชัดเจนในเรื่องอัตราเบี้ยประกันและเงื่อนไขเฉพาะของการรับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ประกอบกับปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าที่ออกสู่ตลาดและผู้ให้บริการประกันที่เพิ่มขึ้น น่าจะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้ามีความเหมาะสมและสามารถสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ดีขึ้นสำหรับแรงดึงรั้งภาพรวมธุรกิจในปีนี้มาจากการรับประกันภัยทางทะเลและขนส่งที่รับผลกระทบจากทิศทางการส่งออกที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยด้านฐานที่สูง รวมถึงการประกันภัยสุขภาพที่บริษัทประกันต้องใช้ความรอบคอบในการรับประกันเพิ่มขึ้น เนื่องจากสัญญาสุขภาพมาตรฐานใหม่มีเงื่อนไขไม่ให้ยกเลิกการต่ออายุกรมธรรม์ของลูกค้า ท่ามกลางความเสี่ยงที่สูงขึ้นทั้งจากวัย โรคภัย และค่าบริการทางสาธารณสุขขณะเดียวกันผลกระทบที่เกิดจากการรับประกันภัยโควิดในช่วงปี 2563-2565 ซึ่งมีค่าสินใหม่ทดแทนสูงเป็นอันดับสองที่ประมาณ 150,000 ล้านบาทรองจากเหตุมหาอุทกภัยในปี 2554 ที่มีค่าสินใหม่กว่า400,000 ล้านบาท เป็นอีกบทเรียนสำคัญที่กระตุ้นเตือนภาคธุรกิจประกันภัยและหน่วยงานผู้กำกับดูแลให้ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการแข่งขันเพื่อช่วงชิงช่องว่างทางการตลาดในการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ ที่ไม่มีฐานข้อมูลสถิติรองรับเพียงพอโดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทขนาดเล็กที่มีขนาดทุนและสินทรัพย์ต่ำซึ่งแบบประกันโควิดประเภทเจอจ่ายจบเป็นภาพสะท้อนการดำเนินงานที่ก่อความเสี่ยงเชิงระบบ รวมทั้งบ่งชี้ให้เห็นจุดเปราะบางของการรับประกันภัยและการกำกับดูแลด้านอัตราการเคลมสินไหมจากการรับประกันภัยโควิดที่สูงกว่าเบี้ยประกันภัยรับไม่น้อยกว่า 5 เท่าตัวทำให้บริษัทประกันภัยปิดตัวลง 4 แห่ง และอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ 1 แห่ง ขณะที่กองทุนประกันวินาศภัย มีเงินกองทุนสะสม ณ สิ้นปี 2564 จำนวน 6,178 ล้านบาท ต้องตกอยู่ในสถานะหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ เนื่องจากยังติดค้างการชำระบัญชีแก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ณ สิ้นปี 2565 อีกกว่า 6.7 แสนคำขอ คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 54,500 ล้านบาทโดยรายรับหลักของกองทุนที่มาจากเงินนำส่งของบริษัทประกันภัยต่อปีมีจำนวนเพียงหลักพันล้านบาท(อัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนประกันวินาศภัยตามกฏหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 0.5% ของเบี้ยประกันภัยรับ) ดังนั้นกองทุนประกันวินาศภัยคงต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยในการฟื้นตัวผู้รักษาความสามารถเสมือนเป็นหลักประกันหรือกันชนให้เก็บผักประกันวินาศภัยและผู้เอาประกันภัยทั้งนี้ในปี 2565 อัตราความเสียหาย (Loss Ratio) รวมทุกประเภทการรับประกันภัยอยู่ที่ 88.51% จากเบี้ยรับรวม 274,216 ล้านบาทสำหรับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) ของบริษัทประกันวินาศภัยทั้งระบบในช่วงปี2563-2565 จากฐานข้อมูลสมาคมประกันวินาศภัยไทย ณ 26 ธ.ค.2565 พบว่ายังคงรักษาระดับค่าเฉลี่ยไว้ได้ที่ระดับประมาณ 440% อย่างไรก็ดีจากบทเรียนของการรับประกันภัยโควิดสะท้อนว่าไม่อาจพึ่งพิงระดับเงินกองทุนที่สูงได้โดยลำพัง แต่จำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมการเปิดรับความเสี่ยงอย่างรัดกุมโดยสถานะเงินกองทุนของบริษัทสามารถพลิกกลับจากระดับเงินกองทุนสูงกว่า 400% เป็นติดลบ 400% ได้ภายในปีเดียว“ ดังนั้นแนวโน้มธุรกิจประกันวินาศภัยมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในมิติด้านเบี้ยประกันภัยโดยปัจจัยสนับสนุนจากความเข้าใจและความตื่นตัวระดับปัจเจกบุคคลที่เห็นความสำคัญของการทำประกันภัยเพื่อบรรเทาความเสี่ยง ขณะที่ความสามารถในการเป็นหลักประกันที่ดีที่เชื่อถือได้ของบริษัทประกันภัยควรเป็นประเด็นที่นำเสนอเพื่อสร้างการตระหนักรู้มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาลงซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควบคู่กับความมั่นคงของบริษัทขณะเดียวกันยังต้องติดตามบทบาทของผู้กำกับดูแลภาคธุรกิจประกันภัยในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนและเงินกู้ให้แก่กองทุนประกันวินาศภัย เพื่อให้สามารถจ่ายเงินสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันภัยโควิดแทนบริษัทประกันภัยที่ล้มละลายและปิดกิจการไปนอกจากนี้ยังต้องติดตามกรอบมาตรการที่เกี่ยวข้องในการให้ความเห็นชอบแบบประกันใหม่ ๆ ให้อยู่ภายใต้การประเมินความเสี่ยงที่รอบคอบและคำนึงถึงความสามารถในการรับประกันภัยของแต่ละบริษัททั้งนี้เพื่อเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในระยะยาวและร่วมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการรับประกันภัยอันเป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งต่อผู้เอาประกันและความยั่งยืนของบริษัทประกันภัย”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1254025

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X