Everyday knowledge for you
ประกันชีวิต
30/04/2024
เอไอเอ ประเทศไทย โดย นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์รับรางวัลอันทรงเกียรติ Business+ Product of the Year Awards 2023 ในสาขาผลิตภัณฑ์กลุ่มประกันชีวิตควบการลงทุน จากความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ “AIA Vitality Unit Linked” ประกันรูปแบบใหม่ ที่ให้ทุกคนได้สนุกกับทุกคอนเทนต์ของชีวิต ซึ่งรางวัลดังกล่าวจัดขึ้นโดยนิตยสาร Business+ ร่วมกับวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยกับผู้บริโภคทั่วประเทศเพื่อค้นหาสุดยอดสินค้าที่เป็นที่ชื่นชอบอันดับหนึ่งในใจผู้บริโภค โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นุรักษ์ มาประณีต เป็นประธานมอบรางวัลสำหรับ “AIA Vitality Unit Linked” เป็นโซลูชั่นที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในทุกรูปแบบ โดยเป็นการจับคู่ 2 แผนประกันเด่นของเอไอเอ ทั้ง “เอไอเอ ไวทัลลิตี้ (AIA Vitality)” ประกันสำหรับคนรักสุขภาพ และ ประกันชีวิตควบการลงทุน “เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ (AIA Unit Linked)” เข้าไว้ด้วยกัน ให้คนไทยไม่ต้องเลือก เพราะจะได้รับครบทั้งความคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และโรคร้ายแรง พร้อมเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน ที่สำคัญลูกค้ายังได้รับเงินคืนจากการดูแลสุขภาพ คุ้มถึง 3 ต่อ* อีกทั้งยังได้รับสิทธิประโยชน์จากพาร์ทเนอร์ของเอไอเอ ไวทัลลิตี้ อีกมากมาย เพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา Healthier, Longer, Better Livesหมายเหตุ: *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
บทความโดย "กนกพร อัศวยนต์ชัย" นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ในช่วงชีวิตของคน คงหนีไม่พ้นสัจธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อครั้งเกิดมามีผู้อุปการะ คือ บิดามารดาเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ดูแลค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล พอเรียนจบมีงานทำ มีรายได้เป็นของตนเองก็ถึงเวลาที่บุตรหลานจะเลี้ยงดูท่าน แต่หากท่านได้เตรียมพร้อมเกษียณไว้เป็นอย่างดีก็ไม่ต้องพึ่งพาค่าเลี้ยงดูจากบุตรหลาน สำหรับวัยเกษียณที่มีบุตรหลานคอยเลี้ยงดูคงไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะครองความโสดไปตลอดชีวิต อาจต้องพิจารณาการบริหารความเสี่ยงมากขึ้นในแต่ละประเด็นดังนี้ 1. ช่วงชีวิตไม่ยืนยาว ㆍแบบไม่ยืดเยื้อ ระยะเวลาไม่ยาวนานก็เสียชีวิต เช่น จากอุบัติเหตุ จากโรคแบบเฉียบพลัน เรื่องชวนให้คิด: มีใครได้รับผลกระทบจากการจากไปอย่างฉับพลันหรือไม่ เช่น พ่อแม่ ที่เราต้องดูแล ㆍทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง กับคำนิยามเพื่อให้กระจ่างในการบริหารความเสี่ยงด้านนี้ คือเรื่องชวนให้คิด : กระทบมากกว่าการจากไป คือ การที่ผู้มีรายได้ที่เคยอุปการะครอบครัวไม่สามารถทำงานหารายได้ ซ้ำยังเป็นภาระให้ครอบครัวดูแล ㆍโรคร้ายแรง โรคร้ายแรง คือ โรคที่ใช้เงินรักษาจำนวนมาก เมื่อสิ้นกระบวนการรักษาในโรงพยาบาลกระทบต่อการใช้ชีวิตซึ่งไม่กลับมาเหมือนเดิม หมายถึงรายจ่ายสูงระหว่างการรักษา รายได้ที่หายไประหว่างการรักษาและหลังการรักษา คำนิยามเพื่อให้กระจ่างในการบริหารความเสี่ยงด้านนี้คือ เรื่องชวนให้คิด : ลองจินตนาการถ้าเป็นโรคมะเร็ง การรักษามักใช้คีโมบำบัดซึ่งมีการลางาน หลังคีโมร่างกายจะอ่อนแอต้องระวังการติดเชื้อจึงไม่สามารถกลับไปทำงานได้ปกติ กระทบต่อการทำงาน กระทบต่อรายได้ กระทบรายจ่าย หลังเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา ต้องปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ รายได้มักลดลงหรือไม่มีเลย 2. ช่วงชีวิตที่ยืนยาว ㆍเกษียณ คือ การหมดอายุการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสังขารไม่เอื้ออำนวย ข้อกำหนดบริษัทของอายุพนักงานเกษียณอายุการทำงาน มีคลื่นลูกใหม่ทดแทนคลื่นลูกเก่า เรื่องชวนให้คิด : เมื่อรายได้หยุด แต่รายจ่ายไม่หยุด แหล่งเงินใช้ยามเกษียณจะมาจากแหล่งใด ㆍเจ็บป่วย ในวัยเกษียณ ร่างกายเสื่อมถอย ไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าเสื่อม สายตาพร่ามัว เป็นต้อกระจก สมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ซึ่งการคงคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ในยามร่างกายเสื่อมถอยต้องใช้เงินทั้งสิ้น เรื่องชวนให้คิด : หลังเกษียณ กรณีเจ็บป่วยโรคทั่วไป เจ็บป่วยเรื้อรัง เจ็บป่วยโรคร้ายแรงจะรักษาที่ไหน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมาจากแหล่งใด การคิดล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทำให้เราสามารถรับมือได้ดี ไม่ตระหนกกรณีเกิดขึ้นจริง จึงขอเชิญชวนให้คิดเรื่องต่าง ๆ การบริหารความเสี่ยงแบบครอบคลุม 1. ช่วงชีวิตไม่ยืนยาว ㆍเสียชีวิตㆍทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงต่างกับกรณีจากไปตรงที่ว่า เราไม่มีรายได้แต่ยังคงต้องเลี้ยงดูผู้อุปการะและมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาลอีกด้วยหมายเหตุ : ไม่มีหนี้สินคงค้าง ㆍโรคร้ายแรง การบริหารความเสี่ยงกรณีโรคร้ายแรงจะประเมินตามการคาดการณ์ ความเป็นไปได้ของโรคร้ายแรงที่อาจอุบัติขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อม กรรมพันธุ์ ซึ่งทั่วไปมักจะเป็นโรคมะเร็ง และไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีกแล้ว การคำนวณความคุ้มครองดังนี้ ㆍความคุ้มครองเสมือนเสียชีวิต (ไว้ดูแลผู้อยู่ในอุปการะ) ㆍหนี้สินคงค้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น หนี้คงค้างบ้าน หนี้คงค้างรถ ควรปลดให้หมด ㆍค่ารักษาพยาบาลที่สูงกว่าค่ารักษาทั่วไป เตรียมไว้ 3,000,000 บาท ㆍกรณีทำงานไม่ได้แล้วหลังการรักษา ให้คำนวณเช่นเดียวกับในกรณีทุพพลภาพ ช่วงชีวิตที่ยืนยาว ㆍเกษียณ การบริหารความเสี่ยงกรณีอายุยืนและมีเงินใช้ตลอดหลังเกษียณควรทราบข้อมูลดังนี้ 1. เงินที่จะใช้สำหรับกินอยู่ในมูลค่าปัจจุบันเดือนละเท่าไร 2. อายุที่จะเกษียณและอายุขัย กรณีตัวอย่างคือ อายุปัจจุบัน 41 ปี จะเกษียณอายุ 60 ปี อายุขัย 85 ปี ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเดือนละ 15,000 บาท ปัจจุบันยังไม่มีการลงทุนสำหรับเกษียณเลย ดังผลตอบแทนคาดหวัง 6% ต้องลงทุนเดือนละ 40,000 บาท ㆍเจ็บป่วย การบริหารความเสี่ยงกรณีอายุยืนซึ่งคงหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยไม่ได้ ปัจจัยที่ควรคำนวณมีดังนี้ 1. เบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณที่ต้องชำระแต่ละปีเท่าไร ควรตั้งแหล่งเงินเพื่อการชำระเบี้ยประกันสุขภาพดังกล่าว 2. กองทุนสำหรับจ่ายค่ารักษาหลังประกันสุขภาพหมดความคุ้มครองก็เช่นกัน คนโสดต่างตรงไม่มีบุตรและคู่สมรส แต่ยังมีตนเองและบิดามารดาให้ดูแล กรณีที่ช่วงชีวิตไม่ยืนยาวควรเตรียมความพร้อมในการจากไป ทุพพลภาพ หรือ เป็นโรคร้ายแรง ซึ่งทำให้ตนเองและบิดามารดาได้รับผลกระทบด้านความเป็นอยู่ หรือในกรณีที่ช่วงชีวิตยืนยาวก็ควรเตรียมความพร้อมเงินใช้ยามเกษียณไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพ ค่ารักษาพยาบาลโรคทั่วไป โรคเรื้อรังรวมถึง โรคร้ายแรง อยู่แบบโสด ๆ ชีวิตก็เกษมได้เมื่อเตรียมความพร้อมครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้านไว้เรียบร้อยแล้ว แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1431268
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
30/04/2024
โทรมาขายประกันอีกแล้ว…..ความน่าเบื่อของการรับสายเบอร์แปลก ที่โทรมาตื้อขายประกัน บางคนกว่าจะปฏิเสธได้ ต้องอดทนเกรงใจนั่งฟังจนจบ บางคนตัดปัญหาโดยการกดวางสายไปเลยเพื่อตัดความรำคาญ แต่ก็ยังไม่ได้ผล คนพวกนี้เอาเบอร์เรามาจากไหน แล้วทำไมคนไทยถึงไม่ชอบ หรือกลัวการทำประกันหากดูจากสถิติสมาคมประกันชีวิตพบว่า คนไทยมีประกันชีวิตเฉลี่ยเพียง 39% คิดเป็นตัวเลขง่าย ๆ คือ คน 100 คน มีประกันชีวิตแค่ 39 คนเท่านั้น แล้วอีก 61 คน ที่ยังไม่มีประกันชีวิต เขามีเหตุผลอะไร เงินในกระเป๋าเราไม่เท่ากันเพราะภาระค่าใช้จ่ายของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนมีเงินเหลือเก็บ แต่บางคนใช้แทบไม่ชนเดือน หลายคนมองว่า การจ่ายเบี้ยประกันคือ ความสิ้นเปลือง เป็นรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือยังไม่จำเป็นต้องใช้ เอาเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันดีกว่า ซื้อไว้ไม่ได้ใช้คุ้นไหม? กับคำว่า ‘คนซื้อไม่ได้ใช้คนใช้ไม่ได้ซื้อ’ คนส่วนใหญ่คิดว่าการทำประกันชีวิต คือการออมเงินไว้ให้คนข้างหลัง เมื่อเราไม่อยู่แล้ว ลูกหลานหรือคนที่เราห่วงก็จะสบาย มีเงินก้อนไว้ดูแลตัวเอง เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นความรับผิดชอบล่วงหน้านั่นเอง มีสวัสดิการอื่นคุ้มครองอยู่แล้วใครที่เป็นมนุษย์เงินเดือน นอกจากจะมีประกันสังคมแล้ว บริษัทส่วนใหญ่จะมีประกันกลุ่มเพิ่มให้กับพนักงาน เอาไว้ดูแลยามเจ็บป่วยอยู่แล้ว การทำประกันเพิ่มจึงยังไม่ใช่เรื่องจำเป็น ไหนจะคำบอกเล่าที่ว่า ตอนมาขายสาธยายแต่ข้อดี พอเกิดเรื่องทีเคลมยากเหลือเกิน การทำประกันจึงเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เบือนหน้าหนี ไม่ชอบการโทรตื้อ อยากซื้อเดี๋ยวซื้อเองการโทรมาเสนอขายประกันทางโทรศัพท์ ด้วยการพูดจูงใจต่าง ๆ นานา ยิ่งทำให้รู้สึกว่ากำลังถูกคุกคาม ไม่มีความเป็นส่วนตัว หลายคนรู้สึกไม่อยากคุย ยิ่งตื้อยิ่งไม่อยากทำ หรือหากอยากทำจริง ๆ ขอเลือกแบบที่เราติดต่อไปเองจะสบายใจกว่า เพราะบางครั้งช่วงที่ประกันติดต่อมา สถานการ์ณทางการเงินของบางคนยังไม่พร้อม เลยไม่อยากคุยให้เสียเวลา รู้สึกโดนละเมิดสิทธิเมื่อมีประกันโทรเข้ามาเพื่อเสนอขายนู่นนี่นั่น ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้สนใจ สุดท้ายแล้ว ประกันชีวิตเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออมที่ไม่ใช่การฝากเงิน บางคนเปรียบเทียบ ‘ประกัน’ ว่าเป็นเหมือน ‘ร่ม’ ตอนที่ฝนไม่ตก ก็ไม่มีใครเห็นคุณค่าหรือนึกถึง เหมือนคำกล่าวของ ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ที่บอกว่า “จงลงทุนในความรู้ ลงทุนในสุขภาพของตัวเอง เพราะจะไม่มีใครมาแย่งมันไปจากคุณได้ เพราะตัวคุณเองคือสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุด” พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัสแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับbeartaihttps://www.beartai.com/brief/1332325
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
อสังหาริมทรัพย์
30/04/2024
ใครผ่อนบ้านอยู่ หากลองเช็กใบเสร็จค่าผ่อนบ้านที่เพิ่งจ่ายไป อาจตกใจเมื่อเห็นว่าค่างวดผ่อนส่วนใหญ่หมดไปกับดอกเบี้ย แทบไม่เหลือไปตัดเงินต้นเลย ซึ่งเรื่องดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ แต่ไม่ถึงขั้นต้องตกใจหรือกังวลมากจนเกินไป หากเราเข้าใจใน 4 เรื่องดอกเบี้ย ที่คนกู้บ้านต้องรู้ ดังนี้ 1. หนี้ก้อนโต ดอกเบี้ยจ่ายย่อมโตตาม ดอกเบี้ยที่จ่ายเป็นเงินบาทในแต่ละเดือน ถูกคำนวณจากเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยในแต่ละงวด เช่น เงินต้น 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 4%ต่อปี ดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณปีละ 80,000 บาท หรือเดือนละ 6,667 บาท สำหรับค่างวดในเดือนปัจจุบัน ( = 2 ลบ. X 4%ต่อปี ÷ 12 เดือน) สำหรับยอดกู้ 2 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 4%ต่อปี ตลอดสัญญา 30 ปี ต้องผ่อนเดือนละ 9,600 บาท ดอกเบี้ยรวมตลอดสัญญาอยู่ที่ 1.42 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 47,343 บาท หรือเดือนละ 3,945 บาท) โดยเดือนแรกของการกู้ดอกเบี้ยจ่ายอยู่ที่ 6,667 บาท และทยอยลดลงเรื่อยๆ ซึ่งหากวงเงินกู้บ้านสูงกว่านี้ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนและตลอดสัญญา ย่อมสูงกว่าตัวอย่างที่แสดงนี้ 2. เงินต้นยิ่งลด ดอกเบี้ยยิ่งลดตาม ดอกเบี้ยบ้านถูกคำนวณแบบ “ลดต้นลดดอก” หรือหมายถึง ดอกเบี้ยในแต่ละงวดถูกคำนวณจากเงินต้นที่เหลือจริงในต้นงวดนั้น ดังนั้นยิ่งเงินต้นหรือยอดหนี้เหลือน้อยลง ดอกเบี้ยที่จ่ายในงวดนั้นก็ยิ่งต่ำลง โดยค่างวดที่เท่าเดิมจะถูกนำไปจ่ายเงินต้นได้มากขึ้น ดอกเบี้ยที่จ่ายในงวดถัดไปก็ยิ่งลดลง ตัวอย่างเช่น การกู้เงิน 2 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 4%ต่อปี ผ่อนเดือนละ 9,600 บาท ㆍเดือนที่ 1 ที่ยอดหนี้ 2 ล้านบาท ค่างวดถูกจ่ายเป็นดอกเบี้ย 6,667 บาท และเงินต้น 2,933 บาท ทำให้เหลือยอดหนี้ 1,997,067 บาท ㆍเดือนที่ 2 ที่ยอดหนี้ 1,997,067 บาท ค่างวดถูกจ่ายเป็นดอกเบี้ย 6,657 บาท และเงินต้น 2,943 บาท ทำให้เหลือยอดหนี้ 1,994,124 บาท ซึ่งเงินที่จ่ายส่วนของดอกเบี้ยยังใกล้เคียงกับที่จ่ายในเดือนที่ 1 ㆍแต่หากระยะเวลาผ่านไป เช่น เดือนที่ 180 หรือสิ้นปีที่ 15 ยอดหนี้จะเหลือประมาณ 1,283,456 บาท ค่างวดถูกจ่ายเป็นดอกเบี้ย 4,278 บาท และเงินต้น 5,322 บาท โดยงวดนี้จะจ่ายดอกเบี้ยน้อยกว่าเดือนแรก ซึ่งคิดเป็น 64% ของดอกเบี้ยที่จ่ายเดือนที่ 1 และมีแนวโน้มต่ำลงเรื่อยๆ จนผ่อนครบสัญญา ดังนั้น หากเดือนใดมีเงินเหลือ หรือมีรายได้พิเศษ เช่น เงินโบบัส ฯลฯ การนำเงินไปเร่งจ่ายหนี้มากขึ้น จะส่งผลให้ยอดหนี้และดอกเบี้ยที่จ่ายลดลง ค่างวดจะถูกนำไปจ่ายเงินต้นได้มากขึ้น 3. ดอกเบี้ยส่วนใหญ่ มักลอยตัว ดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเงินกู้บ้าน แม้มีแบบอัตราคงที่ให้เห็นบ้าง แต่ก็เป็นเพียงช่วงไม่เกิน 1-3 ปีแรกเท่านั้น โดยอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 4 หรือตั้งแต่ปีแรกของหลายๆ สัญญา มักระบุไว้เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เช่น อ้างอิงจาก MRR ตามประกาศของธนาคารที่ปล่อยกู้ เป็นต้น โดยแต่ละธนาคารอาจมีอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ไม่เท่ากัน เช่น ณ 10 พ.ย. 66 ธนาคารกสิกรไทยมี MRR อยู่ที่ 7.3%ต่อปี ส่วนธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มี MRR อยู่ที่ 8.8%ต่อปี ซึ่งต่างกันถึง 1.5%ต่อปี อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเงินกู้ของ 2 ธนาคารอาจต่างกันหรือเท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับสัญญาของผู้กู้แต่ละคน เช่น สมมติว่าสัญญาเงินกู้บ้านของธนาคารกสิกรไทยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ MRR-1.5% ส่วนธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุไว้ที่ MRR-3% จากตัวอย่างที่สมมตินี้ ดอกเบี้ยบ้านของทั้ง 2 ธนาคาร จะเท่ากัน โดยอยู่ที่ 5.8%ต่อปี เป็นต้น 4. ดอกเบี้ยลอยขึ้นแรง ในปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ 10 ส.ค. 65 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย มีการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมาอย่างต่อเนื่อง จากการประชุมล่าสุดเมื่อ 27 ก.ย. 66 อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีการปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 2%ต่อปี เทียบกับการประชุมเมื่อ 8 มิ.ย. 65 ส่งผลให้ MRR ของธนาคารต่างๆ มีการปรับขึ้นเช่นเดียวกัน โดย MRR ของธนาคารกสิกรไทยและธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ณ 10 พ.ย. 66 เทียบกับ 1 ส.ค. 65 มีการปรับเพิ่มขึ้น 1.33% และ 1.45% ตามลำดับ ซึ่งการที่ MRR มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นนี้ ส่งผลให้ภาระดอกเบี้ยของผู้กู้สูงขึ้น เช่น สำหรับยอดหนี้ 2 ล้านบาท MRR ของ 2 ธนาคารที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้กู้ต้องจ่ายเบี้ยสูงขึ้นประมาณปีละ 26,600 – 29,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 2,217 - 2,417 บาท แม้ยังคงจ่ายค่างวดเท่าเดิม หนี้บ้าน หนี้ก้อนโต ที่แม้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าหนี้สินประเภทอื่นๆ แต่ด้วยยอดหนี้ที่สูงและสัญญาผ่อนที่นาน ส่งผลให้ภาระดอกเบี้ยที่จ่ายในแต่ละเดือนและดอกเบี้ยรวมตลอดสัญญาดูเป็นเงินก้อนโต จนหลายคนไม่สบาย เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจในดอกเบี้ยบ้านและศึกษาวิธีการอยู่ร่วมกับหนี้นี้ เพราะเป็นทางเลือกที่ช่วยให้เรามีบ้านที่เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของทุกคน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับamarintvhttps://www.amarintv.com/spotlight/finance/detail/54811
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
21 พฤศจิกายน 2566 : สมาคมประกันชีวิตไทย เตือนผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีและให้ความยินยอม (Consent) แก่บริษัทประกันชีวิตนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร โดยขอให้ผู้เอาประกันภัยแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอมนำส่งข้อมูลของทุกกรมธรรม์เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี และไม่ควรยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด เนื่องจากจะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งรวมถึงจะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว พร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า จากการที่ภาครัฐหรือกรมสรรพากรได้ให้ความสำคัญกับการออมเงินและการวางแผนทางการเงินของประชาชนในระยะยาว เพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิตและครอบครัว โดยจะมีการให้สิทธิลดหย่อนภาษีแก่ผู้มีเงินได้ที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตกับบริษัทประกันในประเทศไทยที่ได้กำหนดให้กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป หากมีการจ่ายเงินคืนระหว่างสัญญา เงินคืนที่ได้รับจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี และสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีประกันภัยสุขภาพสามารถนำเบี้ยที่ชำระแล้วมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงได้แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทส่วนผู้ที่มีประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระแล้วไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยทั้งนี้เงินลดหย่อนภาษีดังกล่าวเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีประกันภัยสุขภาพของบิดามารดา สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าบิดามารดาของผู้มีเงินได้ จะต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้ว หากมีการยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต ประกันภัยสุขภาพ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีก่อนเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด จะถือว่าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตไปแล้ว รวมถึงเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากรนอกจากนี้ ผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ควรแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอม (consent) แก่บริษัทประกันชีวิตเพื่อนำส่งข้อมูลการชำระเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรมสรรพากรตามแนวทางที่กรมสรรพากรกำหนด เพราะไม่เช่นนั้น ผู้เอาประกันภัยจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์นั้นได้ กรณีผู้ที่มีกรมธรรม์หลายฉบับ แต่ไม่ได้ให้ความยินยอม (consent) ทุกฉบับ หากมีการยกเลิกกรมธรรม์ฉบับที่แจ้งไว้กับกรมสรรพากร จะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียสิทธิการลดหย่อนภาษี และจะต้องคืนเงินภาษีที่ลดหย่อนได้บนกรมธรรม์ที่ไม่ได้ให้ความยินยอม (Consent) รวมถึงผู้เอาประกันภัยอาจเกิดความยุ่งยากและความไม่เข้าใจเมื่อต้องนำส่งเอกสารเพิ่มเติมให้กับกรมสรรพากร เพื่อรักษาสิทธิการลดหย่อนภาษีดังกล่าวไว้นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในโอกาสนี้ จึงขอย้ำเตือนประชาชนทุกท่านว่า ก่อนยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่าจะเสียสิทธิประโยชน์อะไรไปบ้าง หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตามแต่ละกรมธรรม์อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเป็นเพียงผลประโยชน์เพิ่มเติมเท่านั้น เพราะจุดเริ่มต้นของการมีประกันชีวิตคือเรื่องความคุ้มครองและบริหารความเสี่ยงเป็นหลักสำคัญ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=155762
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาษี
30/04/2024
บทความโดย “บุณยนุช ยุทธ์ประทุม” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ปัจจุบันยังมีความเข้าใจว่าเมื่อมีทรัพย์สมบัติไม่มาก หรือมีไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) การส่งต่อมรดกจึงไม่จำเป็นต้องวางแผน เนื่องจากสามารถจัดการได้โดยผ่านกระบวนการของศาลตามที่กฎหมายกำหนด ความจริงแล้วหลังจากที่เจ้ามรดกเสียชีวิต นอกจากเรื่องการแบ่งกองมรดกให้ทายาทโดยชอบธรรมตามลำดับแล้ว ยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก โดยเฉพาะเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองมรดก ซึ่งในประเทศไทยได้กำหนดให้ผู้มีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี จะต้องยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา เรื่องด้วยเหตุนี้ภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมรดก จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวของเจ้ามรดกและผู้รับมรดกมาก ดังสำนวนของ Benjamin Franklin ที่กล่าวว่า “ในโลกนี้ ไม่มีอะไรแน่นอน นอกจากความตายและการจ่ายภาษี” ดังนั้น การเตรียมการวางแผนมรดกโดยการทำพินัยกรรมให้กับทายาท และการคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าของเจ้ามรดกจะเป็นช่วยให้การส่งมอบทรัพย์สินให้กับทายาท ที่มีความชัดเจนและตรงตามจุดประสงค์ของเจ้ามรดกมากที่สุด และยังช่วยลดความเข้าใจผิด ความขัดแย้ง และเพิ่มความปรองดองระหว่างทายาทด้วยกันเอง นอกจากนี้เจ้ามรดกต้องเตรียมการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับกองมรดกให้มีประสิทธิภาพและประหยัดเงินมากขึ้นด้วย โดยในที่นี้จะกล่าวถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองมรดก 3 หัวข้อสำคัญ ดังนี้ 1. ภาษีบุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) เมื่อเจ้าทรัพย์เสียชีวิตระหว่างปีภาษี ผู้จัดการมรดกจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาในปีภาษีถัดไป และถ้าหากในปีต่อ ๆ ไป ยังไม่ได้มีการแบ่งกองมรดกให้กับทายาท ผู้จัดการมรดกจำเป็นต้องยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาของกองมรดกทุก ๆ ปีจนกว่าจะมีการแบ่งกองมรดกและโอนให้ทายาท เช่น เจ้าทรัพย์ได้เสียชีวิตในเดือนมิถุนายน 2565 ผู้จัดการมรดกต้องยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาของเจ้ามรดกในปี 2566 โดยคิดจากรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเต็มปีในปี 2565 และหากว่าภายในปี 2566 กองมรดกยังไม่ได้มีการแบ่งให้กับทายาท ผู้จัดการมรดกยังคงต้องยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาในนามกองมรดกให้กับกรมสรรพากรภายในปี 2567 และต้องยื่นต่อไปทุก ๆ ปี จนกว่าการโอนทรัพย์สินในกองมรดกให้ทายาทได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ 2. ภาษีของทรัพย์สินในกองมรดกเอง ภาษีที่เกิดขึ้นย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สินในกองมรดกด้วย โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทที่ดินและอาคารต่าง ๆ การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax) ของโฉนดแต่ละฉบับนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากการไม่ชำระภาษีในระยะเวลาที่กำหนด จะทำให้เกิดยอดค้างการชำระภาษี มีค่าปรับและค่าเงินเพิ่มในแต่ละเดือน หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นอาจถูกยึดได้ ทำให้กองมรดกมีมูลค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด และสุดท้ายทรัพย์สมบัติอาจตกเป็นของแผ่นดินได้ แทนที่ทายาทจะได้รับอย่างที่เจ้ามรดกตั้งใจมอบให้ 3. ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) ซึ่งเป็นภาระของทายาทผู้รับมรดกในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับเกิน 100 ล้านบาท ในอัตรา 5% หรือ 10% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของทายาท โดยทายาทที่เป็นบุพการีและผู้สืบสันดานจะเสียภาษีในอัตรา 5% ส่วนทายาทที่มิใช่บุพการีและผู้สืบสันดาน จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10% ซึ่งการรับทรัพย์สินมรดกในกรณีนี้ ผู้รับมรดกจะต้องยื่นภาษีที่ถูกต้องภายใน 150 วัน นับตั้งแต่ได้รับมรดก ถึงแม้ว่าภาษีส่วนนี้เป็นของผู้รับมรดก มิใช่เป็นของเจ้าทรัพย์ผู้เสียชีวิต แต่ถ้าผู้รับมรดกไม่สามารถชำระภาษีส่วนนี้ อาจทำให้ผู้รับมรดกมีหนี้สินจากกองมรดกและอาจได้รับโทษทั้งทางแพ่งและอาญาได้ การส่งต่อทรัพย์สินจะยังคงไม่สมบูรณ์ และหากกองมรดกยังคงมีทรัพย์สินค้างอยู่ก็ย่อมจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้มูลค่าของทรัพย์สินในกองมรดกลดลงในอนาคตอีกด้วย จะเห็นได้ว่ากองมรดกที่มีมูลค่าไม่ว่ามากหรือน้อยนั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายและมีภาษีหลายประเภทที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การวางแผนการจัดการมรดกที่ดี จึงจำเป็นต้องมีการทำพินัยกรรมที่จัดการทุกอย่างอย่างรอบคอบ 2. ภาษีของทรัพย์สินในกองมรดกเอง ภาษีที่เกิดขึ้นย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สินในกองมรดกด้วย โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทที่ดินและอาคารต่าง ๆ การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Land and Building Tax) ของโฉนดแต่ละฉบับนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากการไม่ชำระภาษีในระยะเวลาที่กำหนด จะทำให้เกิดยอดค้างการชำระภาษี มีค่าปรับและค่าเงินเพิ่มในแต่ละเดือน หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นอาจถูกยึดได้ ทำให้กองมรดกมีมูลค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด และสุดท้ายทรัพย์สมบัติอาจตกเป็นของแผ่นดินได้ แทนที่ทายาทจะได้รับอย่างที่เจ้ามรดกตั้งใจมอบให้ 3. ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) ซึ่งเป็นภาระของทายาทผู้รับมรดกในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับเกิน 100 ล้านบาท ในอัตรา 5% หรือ 10% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของทายาท โดยทายาทที่เป็นบุพการีและผู้สืบสันดานจะเสียภาษีในอัตรา 5% ส่วนทายาทที่มิใช่บุพการีและผู้สืบสันดาน จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10% ซึ่งการรับทรัพย์สินมรดกในกรณีนี้ ผู้รับมรดกจะต้องยื่นภาษีที่ถูกต้องภายใน 150 วัน นับตั้งแต่ได้รับมรดก ถึงแม้ว่าภาษีส่วนนี้เป็นของผู้รับมรดก มิใช่เป็นของเจ้าทรัพย์ผู้เสียชีวิต แต่ถ้าผู้รับมรดกไม่สามารถชำระภาษีส่วนนี้ อาจทำให้ผู้รับมรดกมีหนี้สินจากกองมรดกและอาจได้รับโทษทั้งทางแพ่งและอาญาได้ การส่งต่อทรัพย์สินจะยังคงไม่สมบูรณ์ และหากกองมรดกยังคงมีทรัพย์สินค้างอยู่ก็ย่อมจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้มูลค่าของทรัพย์สินในกองมรดกลดลงในอนาคตอีกด้วย จะเห็นได้ว่ากองมรดกที่มีมูลค่าไม่ว่ามากหรือน้อยนั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายและมีภาษีหลายประเภทที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การวางแผนการจัดการมรดกที่ดี จึงจำเป็นต้องมีการทำพินัยกรรมที่จัดการทุกอย่างอย่างรอบคอบ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1435370
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันชีวิต
21/11/2023
เอไอเอ ประเทศไทย นำโดยนายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมแสดงความยินดีกับนายชูฉัตร ประมูลผล ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในโอกาสนี้ เอไอเอได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการประสานความร่วมมือกับสำนักงาน คปภ. เพื่อพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตและยกระดับตัวแทนประกันชีวิตในประเทศไทยให้ก้าวหน้าต่อไป ด้วยความตั้งใจมอบประสบการณ์ทั้งในด้านการบริการ ผลิตภัณฑ์ และการดูแลที่ดีเยี่ยมให้แก่คนไทยทั่วประเทศ ตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ “Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น”
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
การวางแผนทางการเงิน
30/04/2024
"ทองคำ" ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังสงคราม เริ่มย่อตัวลงหลังรับข่าวไปพอสมควร ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ยังคงสนับสนุนราคาต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงนี้มีโอกาสจะแกว่งตัวผันผวน นับเป็นเวลากว่า 1 เดือนที่สงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสปะทุขึ้น ราคาทองคำในตลาดโลกดีดตัวขึ้นราว 10% และเริ่มทรงตัว การลงทุนในทองคำช่วงนี้อาจไม่ง่ายนัก เมื่อสงครามยังไม่ยุติ ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อทองคำยังคงผันผวน การลงทุนในทองคำผ่านกองทุนประเภท Structured Fund จะสามารถช่วยลดโอกาสการขาดทุนเงินต้นพร้อมกับเปิดโอกาสรับผลตอบแทนทั้งกรณีราคาทองคำปรับตัวขึ้นและปรับตัวลงได้ ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนมักนึกถึงเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบหรือสงคราม ซึ่งข้อมูลในอดีตสะท้อนว่าราคาทองคำปรับตัวขึ้นราว 5-10% ในช่วง 1 เดือนก่อนสงคราม แม้สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในรอบนี้จะต่างจากในอดีตเล็กน้อยที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เป็นสัญญาณเตือนถึงสงครามล่วงหน้า แต่ราคาทองคำดีดตัวขึ้นเช่นเดียวกันราว 10% ซึ่งใกล้เคียงกับในอดีต อย่างไรก็ตาม สถิติในอดีตชี้ว่า สงครามเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้นเท่านั้นที่ผลักดันราคาทองคำ ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ จะมีผลต่อราคาทองคำมากกว่าหลังรับข่าวสงคราม โดยเฉพาะในมุมของความต้องการทองคำ ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำในระยะยาว โดย World Gold Council รายงานว่า ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อสะสมทองคำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการซื้อทองคำในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และปริมาณการซื้อทองคำในช่วงไตรมาส 3/2023 เพิ่มขึ้นถึง 120% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2023 หากนับรวมตั้งแต่ต้นปีธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำสุทธิราว 800 ตัน สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2022 ราว 14% ส่วนนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางจะมีผลกับราคาทองคำเช่นกัน โดยพบว่าราคาทองคำจะเคลื่อนไหวในกรอบ +/-5% หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน 2 รอบการประชุม และตลาด (CME FedWatch Tool) ประเมิณว่ามีโอกาสถึง 97.4% ที่ Fed จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบหน้า (เดือนธ.ค.) ซึ่งหาก Fed ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก นั่นหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยระดับปัจจุบันที่ 5.25-5.50% มีโอกาสเป็นอัตราดอกเบี้ยระดับสูงสุดแล้ว และราคาทองคำมีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ +/-5%นอกจากนั้น ข้อมูลจาก TISCO ESU พบว่า ปัจจัยทางด้านอัตราเงินเฟ้อ มีผลกับราคาทองคำเช่นกัน โดยทองคำจะให้ผลตอบแทบเฉลี่ย 8% ในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในกรอบ 2-5% ซึ่ง อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI) ล่าสุดอยู่ที่ 3.2% ปัจจัยเหล่านี้ ชี้ว่าราคาทองคำที่ตอบรับประเด็นสงครามไปในช่วงที่ผ่านมา มีโอกาสปรับขึ้นค่อนข้างจำกัด ในขณะที่ต้นทุนของทองคำ ณ ปัจจุบัน เมื่อรวมต้นทุนหน้าเหมืองและส่วนต่างของราคาทองคำแล้ว จะอยู่ที่ประมาณ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำให้ความเสี่ยงที่ราคาทองคำจะปรับตัวลงต่ำกว่าระดับดังกล่าวค่อนข้างจำกัดเช่นกัน ราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังสงคราม เริ่มย่อตัวลงหลังรับข่าวไปพอสมควรแล้ว ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ยังคงสนับสนุนราคาทองคำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาทองคำในช่วงนี้นับจากนี้มีโอกาสจะแกว่งตัวผันผวน การลงทุนในทองคำในสถานการณ์นี้สามารถใช้ความได้เปรียบของกองทุนประเภท Structured Fund ที่นำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล เพื่อลดโอกาสการการขาดทุนเงินต้น และแบ่งส่วนที่เหลือลงทุนในสัญญา Option เพื่อเปิดโอกาสรับผลตอบแทนทั้งกรณีราคาทองคำปรับตัวขึ้นและปรับตัวลง หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th I บทความโดย ณัฐพร ธรวงศ์ธวัช AFPTTM Wealth Manager แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/business/biz-bizweek/1099425
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
ตำรวจไซเบอร์จับผู้ต้องหา อดีต จนท.บริษัทประกันภัย ขายข้อมูลลูกค้าประกัน ในเครือธนาคาร สินเชื่อ ขายข้อมูลส่วนบุคคลให้กลุ่มมิจฉาชีพมี ชื่อสรยุทธ มีทั้งคนมีชื่อเสียง และนักธุรกิจเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผบก.สอท.5 และคณะ นำหมายค้นศาลอาญาธนบุรี ที่ 584/2566 ลง 16 พฤศจิกายน 2566 พร้อมหมายจับศาลอาญา ที่ 212/2563 ลง 13 สิงหาคม 2563 4170/2566 ลง 14 พฤศจิกายน 2566 จับกุมตัวนายวีรทัศน์ สันหพาณิชย์ อายุ 45 ปี ที่บริเวณหน้าหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซ.ราชพฤกษ์ 6 ถ.ราชพฤกษ์ แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ พร้อมด้วยของกลาง โทรศัพท์มือถือ 2 เครื่องสืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมโบรกเกอร์ของบริษัทประกันภัย ลักลอบนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าประกันนับล้านรายชื่อไปขายให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งข้อมูลของลูกค้าประกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลลูกค้าประกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบทราบว่า นายวีรทัศน์ รับโอนเงินโดยทำการซื้อขายกันหลายครั้ง ได้ทำการซื้อข้อมูลลูกค้าประกันภัย จำนวน 2,000 รายชื่อ ในราคา 1,000 บาท จากการขายฐานข้อมูลลูกค้าประกันให้กับผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายค้นจากศาลอาญาธนบุรี และอนุมัติหมายจับ เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนทราบว่า นายวีรทัศน์ อยู่หมู่บ้านกลางเมือง สาทร-ราชพฤกษ์ เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงได้แสดงหมายค้นจากศาลอาญาธนบุรี และหมายจับนายวีรทัศน์ ยอมรับว่า หลังจากช่วง โควิด จึงคิดหาเงินทางลัด ที่มีรายได้จากการขายข้อมูล เดือนละ 100,000 บาท ตนได้ซื้อข้อมูลส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่เป็นคนในวงการขายประกัน เนื่องจากก่อนหน้านี้ เคยเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย โดยทำงานในตำแหน่งซุปเปอร์ ไวเซอร์ มีลูกทีมในสังกัดประมาณ 10 คน แต่ได้ลาออกมาประมาณ 3 ปี และจัดเก็บข้อมูลลูกค้าอยู่ในโทรศัพท์มือถือของตน และตนเป็นผู้โพสต์ขายฐานข้อมูลลูกค้าจริง โดยนำมาเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนจริง ซึ่งตนได้ไปซื้อไฟล์ฐานข้อมูลลูกค้ามามีทั้งคนดังหลายคนเช่น นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าว มีทั้งคนมีชื่อเสียง คนบันเทิง และนักธุรกิจ แต่ก็มีข้อมูลที่ได้มามีข้อมูลตรงบ้าง และข้อมูลไม่ตรงก็มีพล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ กล่าวว่า ผู้ต้องหารู้ตัวว่าต้องโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับแน่ เพราะว่ามีเพื่อนในกลุ่มที่ซื้อขายถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับไปบ้างแล้วในกลุ่มก็ยังมีการแจ้งเตือนว่าให้ระวังเจ้าหน้าที่ตำรวจจับ ผู้ต้องหาได้พยายาม หลบ ซ่อน พรางตัวเอง ไม่มีการใช้ยานพาหนะ หรืออยู่บ้านตัวเอง และเปลี่ยนเบอร์โทร ศัพท์ อีกทั้งปิดเบอร์โทรศัพท์เก่า ทั้งเฟซบุ๊ก และช่องทางสื่อสาร ทุกอย่าง เพื่อป้องกัน ไม่ให้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตาม หาตัวเจอไปไหนก็จะใส่แมสก์ ใส่หมวกปิดบังพรางตัวเสมอ แต่ก็ไม่รอดถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับอยู่ดีเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อหา ล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ นำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวน กก.3 บก.สอท.5 ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับมติชนออนไลน์https://www.matichon.co.th/local/news_4288754
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ส่องเคล็บลับการบริหารเงินเดือน 15,000 บาท ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยสินค้าล่อตาล่อใจ และค่าของชีพที่แพงขึ้นโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ทำอย่างไรจะมีเงินออม และแบ่งเงินไปลงทุนได้ กับ 6 นิสัยที่ต้องลด ละ เลิก ㆍปัจจุบัน คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจการลงทุนและการออมมากขึ้น ขณะเดียวกัน หากเพิ่งเริ่มทำงานแล้วได้เงินเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท สามารถออมเงินได้ ด้วยการวางแผนทางการเงิน ㆍทำความรู้จัก 'Nudge Theory' ทฤษฎีผลักดัน ของ ดร. ริชาร์ด เอช. เธเลอร์ ที่ช่วยดีไซน์ทางเลือกไม่ใช่การบังคับ เพื่อให้เดินสู่เป้าหมายได้แบบไม่กดดันมากนัก ㆍพร้อมด้วย 4 เทคนิคการแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ด้วยหลัก 50 : 20 : 20 : 10 ที่จะช่วยให้เรามีทั้งเงินสำหรับใช้จ่ายที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายสร้างความสุข การออม และลงทุน ในยุคที่ข้าวของแพงขึ้น โดยเฉพาะการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ ที่หลายคนต้องใช้จ่ายไปกับค่าเช่าห้อง ค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าข้าวของเครื่องใช้ อีกทั้ง ความจำเป็นของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน แล้วหากเราเพิ่งเริ่มทำงานและได้ เงินเดือน 15,000 บาท แต่อยากมีเงินออม หรือ ต้องการลงทุนจะทำอย่างไร บันได 4 ขั้น สู่การออม ข้อมูลจากเว็บไซต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยกตัวอย่าง แนวคิดการเก็บเงิน 'Nudge Theory' หรือทฤษฎีผลักดัน ของ ดร. ริชาร์ด เอช. เธเลอร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ผู้คว้ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2560 ที่จะเป็นตัวช่วยเก็บให้เราสามารถเก็บเงินได้ โดยไม่กดดันมากนัก Nudge Theory เป็นการดีไซน์ทางเลือกไม่ใช่การบังคับ เพื่อให้ทำในสิ่งที่เราต้องการ คนเราโดยปกติแล้วไม่ค่อยจะได้คิดถึงเป้าหมายในระยะยาว คิดถึงแต่เพียงเป้าหมายในระยะสั้น ๆ การเก็บเงินเหมือนเป็นการบีบบังคับใจ จึงทำให้หลายคนรู้สึกเครียดจนเกินไปจึงทำไม่บรรลุเป้าหมาย แต่ทฤษฎีนี้จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการเก็บเงิน เพื่อให้เก็บสำเร็จนั่นเอง โดยมี 4 ขั้นตอน คือ ให้รางวัลตัวเอง ทำดีต้องมีรางวัล การสร้างแรงบันดาลใจในการเก็บเงิน คือ การให้รางวัลตัวเอง ด้วยการกำหนดรางวัลเอาไว้ หากสามารถเก็บเงินได้ตามเป้าหมายจะให้รางวัลนั้นกับตัวเอง ยกตัวอย่าง ตั้งเป้าหมายในการเก็บเงิน ไม่ต้องยิ่งใหญ่มากมาย เช่น เก็บเงินให้ได้เดือนละ 2,000 บาท หากเก็บได้ครบ 1 ปี จะให้รางวัลตัวเองด้วยการซื้อของที่อยากได้ 1 ชิ้น ในงบไม่เกิน 4,000 บาท เป็นต้น เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อก้าวสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้น เมื่อมีการตั้งเป้าหมายในทุกๆ เดือน เดือนละ 2,000 บาท ต้องมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเสียใหม่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น จากที่เคยนัดเพื่อนไปปาร์ตี้สังสรรค์ เดือนละครั้ง อาจต้องเปลี่ยนเป็นนัดสองเดือนครั้ง หรือเปลี่ยนจากปาร์ตี้ มาทำกิจกรรมอย่างอื่น ร่วมกันที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าใช้จ่ายน้อยแทน แยกเงินออกเป็นส่วนๆ แล้วทำรายการบัญชีแยก การเก็บเงินให้สำเร็จ ต้องอาศัยการวางแผนและการจัดการที่ดี โดยการแยกเงินออกเป็นสัดส่วนให้ชัดเจน อาจแยกออกเป็นแต่ละบัญชีเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เช่น บัญชีเงินเก็บ บัญชีค่าใช้จ่ายรายเดือน บัญชีเก็บเงินไว้เป็นเงินลงทุน จะได้ไม่ปนกัน และไม่เผลอไปเอาเงินเก็บมาใช้จ่าย ตรวจดูยอดเงินสม่ำเสมอ จะได้ไม่เผลอใช้จนหมด การเช็กยอดเงินคงเหลือในบัญชีเป็นสิ่งที่เราพึงกระทำให้เป็นนิสัย จะได้ไม่เผลอใช้เงินซื้อของฟุ่มเฟือยหรือของไม่จำเป็น โดยส่วนที่เป็นเงินเก็บควรแยกออกมาเก็บไว้ในบัญชีเงินเก็บตั้งแต่ต้นเดือน โดยใช้วิธีการหักเงินจากบัญชีอัตโนมัติเลยก็ได้ เพื่อไม่ให้ลืมนำเงินเก็บจำนวนนี้เข้าบัญชี เงินเดือน 15,000 อยากลงทุนทำอย่างไร Make by Kbank ได้แนะนำการวางแผนการเงินของคนเงินเดือน 15,000 บาท แล้วอยากมีเงินเก็บพร้อมกับการลงทุนด้วย 4 เทคนิค ดังนี้ 1. รู้จักสัดส่วนของการใช้เงินอย่างถูกต้อง หากต้องการจะเก็บเงินลงทุน ต้องแบ่งสัดส่วนให้เป็น 50 : 20 : 20 : 10 ㆍ50% เป็นส่วนของค่าใช้จ่ายที่ต้องถูกกำหนดเอาไว้แบบตายตัวแต่ละเดือนเลย เช่น ค่าน้ำ-ค่าไฟ-ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าเช่าห้อง, ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง ฯลฯ ㆍ20% แรกเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความสุขให้กับตนเอง หรือซื้อในสิ่งที่อยากได้บ้าง เช่น เสื้อผ้า, เกม, ปาร์ตี้สังสรรค์ เพื่อเป็นของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ในฐานะที่มุ่งมั่นทำงานอย่างหนัก ㆍ20% แบ่งเงินเป็นสัดส่วนสำหรับการแยกเอาไว้ในบัญชีเก็บด้วยกันกับแฟน หรือจะเก็บคนเดียวก็ไม่มีปัญหา (แยกหลายบัญชีเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ ได้ แต่ต้องไม่ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น) ㆍ10% ส่วนนี้สำหรับไว้ลงทุนตามสถานการณ์ที่เหมาะสม หรือมีแนวโน้มสร้างผลกำไรได้อย่างดีในอนาคต 2. ใช้ตัวช่วยเพื่อแบ่งเงินออกให้ชัดเจน เมื่อรู้แล้วว่าต้องแบ่งเงินเป็นสัดส่วนอย่างไรบ้าง การมีตัวช่วยดี ๆ สำหรับวางแผนการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น แอปฯ “MAKE by KBank” ที่เป็นตัวช่วยแยกกระเป๋าเงินได้แบบไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าใช้จ่ายประจำวัน, ค่าอาหาร-ค่าเดินทาง, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ฯลฯ 3. ศึกษาแนวทางการลงทุนให้ดี การลงทุนมีความเสี่ยง หากอยากลงทุนต้องเริ่มจากถามตนเองว่าถนัดการลงทุนแนวไหนมากที่สุด เช่น หุ้น, กองทุน, ทองคำ, คริปโต ฯลฯ ทั้งนี้ การลงทุนก็ต้องรอผลกำไรในระยะเวลาหนึ่งเช่นกัน หากไม่แน่ใจว่าวิธีลงทุนแบบไหนเหมาะกับตนเองมากที่สุด สามารถหาข้อมูล หรือเข้าคอร์สที่เกี่ยวข้อง และถามตนเองว่าพร้อมต่อความเสี่ยงดังกล่าวหรือไม่ 4. กระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนหลายรูปแบบ การบริหารความเสี่ยงของตนเองให้เป็น หลักง่าย ๆ คือ พยายามเลือกลงทุนกับสินทรัพย์หลายประเภท เช่น หุ้น, กองทุน, คริปโต แต่เงินลงทุนทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 10% ที่ได้แยกเอาไว้ เมื่อได้ผลกำไรก็เปิดบัญชีเก็บด้วยกันแล้วสะสมกำไรเอาไว้ หากขาดทุนก็เอาเงินดังกล่าวมาต่อยอด เมื่อแบ่งเงินเป็นสัดส่วน กระจายความเสี่ยง รวมถึงไม่ทำให้รู้สึกเครียดเกินไป จากนั้นก็ค่อย ๆ เก็บเงินลงทุนกับสินทรัพย์ไปเรื่อย ลด - ละ - เลิก 6 นิสัย เก็บเงินไม่อยู่ ทั้งนี้ นอกจากเคล็ดลับและคำแนะนำในการออมเงิน การแบ่งสัดส่วนเงินแล้ว ยังมีสิ่งที่ควรลด ละ เลิก เพื่อให้เราปรับการใช้เงิน ให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น ข้อมูลจาก ธนาคารทหารไทยธนชาต อธิบายว่า หลายคนคงเคยได้ยินทฤษฎี 21 วัน ของ Dr. Maxwell Maltz ที่กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ หากทำสิ่งไหนซ้ำๆ เป็นเวลา 21 วัน จะทำให้ชินกับสิ่งนั้นจนกลายเป็นนิสัย ดังนั้นเมื่อต้องการเปลี่ยนนิสัย หรือพฤติกรรม เราก็สามารถทำได้ด้วยการเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ แล้วรักษาวินัย ให้ครบ 21 วัน แล้วจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถนำทฤษฎีนี้มาปรับใช้กับนิสัยทางการเงินได้ เช่น วินัยในการออมเงิน, วางแผนการเงิน, ลงทุน เป็นต้น 1. เลิกใช้เงินก่อน แล้วออมทีหลัง หากคุณเป็นหนึ่งในพนักงานเงินเดือน ที่พอเงินเข้าบัญชีปุ๊บ ก็โอนออกไปใช้จ่ายปั๊บ เหลือเท่าไรค่อยนำมาเป็นเงินเก็บ ให้ลองเปลี่ยนวิธีเป็นการออมเงินทันทีแล้วค่อยใช้ทีหลังแทน จะช่วยให้ออมเงินตามเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น ควรกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการออมในแต่ละเดือนไว้ เพื่อสร้างความสม่ำเสมอ และทำจนเป็นนิสัย เช่น เมื่อเงินเดือนเข้า จะหัก 10% ของเงินเดือนมาเป็นเงินออมทันที เหลือเท่าไรค่อยนำไปใช้จ่าย หรือ เช่น สร้างนิสัยรักการออม โดยการหยอดกระปุกทุกวัน วันละ 100 บาท เป็นต้น 2. เลิกตามกระแส สูญเสียกันไปเท่าไรแล้วกับคำว่า “ของมันต้องมี” ปัจจุบัน โซเชียลมีเดียเข้ามามีผลต่อนิสัยของมนุษย์เป็นอย่างมาก บางทีเห็นเพื่อนในโลกออนไลน์ซื้อของสวย ๆ งาม ๆ จากที่เราไม่เคยอยากได้ อยากมี ก็ไปซื้อตามโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็น ทำให้บ่อยครั้งที่เรามักจะหมดเงินไปกับการตามกระแส ดังนั้น ก่อนใช้จ่าย เราควรคำนึงถึงความจำเป็นก่อนเสมอ ให้ซื้อของเพราะต้องใช้ ไม่ใช่เพราะของมันต้องมี 3. เลิกก่อหนี้ โดยไม่จำเป็น หากเป็นคนที่ซื้อของด้วยเหตุผล “ของมันต้องมี” บ่อย ๆ หนึ่งในปัญหาที่มนุษย์เงินเดือนจะเจอกันนั่นคือ หนี้บัตรเครดิต รูดไปก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง แต่เอาเข้าจริงไม่มีให้จ่าย หรือมีจ่ายแบบเดือนชนเดือน ซึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหาการเงินไม่รู้จบ เพื่อตัดปัญหาเหล่านี้จึงควรเลิกก่อหนี้โดยไม่จำเป็น และรู้จักบริหารเงินอย่างชาญฉลาด เช่น รูดบัตรเครดิตในจำนวนเงินที่ผ่อนไหว, ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เป็นต้น 4. เลิกใช้เงินแบบไม่วางแผนอนาคต หลายคนประสบปัญหาเงินเหลือไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือน อาจเป็นเพราะคุณไม่ได้วางแผนการเงิน หรือวางแผนไม่ดีพอ จึงทำให้เหลือเงินไม่พอต่อการใช้จ่าย เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพียงเริ่มทำรายการสรุปค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน จดบันทึกค่าใช้จ่ายรายวัน-รายสัปดาห์ รวมถึงการทำงบการเงินล่วงหน้าเพื่อประเมินรายรับ-รายจ่ายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้บริหารเงินได้ดียิ่งขึ้น 5. เลิกลงทุนโดยไม่ศึกษาให้รอบคอบ ทุกคนล้วนใฝ่ฝันที่อยากจะมี passive income จึงมักนำเงินเก็บไปลงทุนเพื่อสร้างรายรับ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลย ที่ต้องสูญเงินไปเพราะไม่ศึกษาการลงทุนให้ดีเสียก่อน ไปลงทุนตาม ๆ กันไปกับคนรู้จัก เพราะการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะลงทุนอะไรก็ตาม จึงควรศึกษาให้ละเอียดด้วยตัวเอง ทำความเข้าใจ พร้อมทั้งศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ วางแผนการลงทุนให้รอบด้าน หากต้องการคำแนะนำ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 6. เลิกเก็บเงินบัญชีเดียว หากคุณมีบัญชีออมเงิน และบัญชีสำหรับใช้จ่ายเป็นบัญชีเดียวกัน อาจทำให้คุณเผลอใช้เงินเก็บไปโดยไม่รู้ตัวได้ เพราะฉะนั้นจึงควรแยกบัญชีเงินออม และเงินสำหรับใช้จ่ายออกจากกัน รวมถึงควรแยกบัญชีตามจุดประสงค์ในการออมเงิน เพื่อไม่ให้ดึงเงินมาใช้มั่วซั่วอีกด้วย เช่น แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน คือ สำหรับใช้จ่าย, สำหรับออมเพื่อลงทุน และสำหรับออมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นต้น อ้างอิง : Make by Kbank , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารทหารไทยธนชาต แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/health/social/1094009
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
26/06/2024
29/04/2024
29/04/2024
15/10/2024
18/09/2024