คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ข่าวการเงิน

แหล่งเงินเกษียณ 4 ก้อนของมนุษย์เงินเดือนมาจากไหน มีเท่าไหร่จึงจะพอใช้หลังเกษียณ

30/04/2024

ยินดีต้อนรับสู่เดือนแรกของการเกษียณในเดือนตุลาคมนี้ ของผู้ที่ทำงานในระบบราชการ ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงของการเกษียณอายุของผู้ที่ทำงานในระบบราชการ ซึ่งเป็นความโชคดีของผู้เกษียณในกลุ่มนี้ที่ไม่ต้องมีความกังวลในเรื่องการใช้จ่ายดำรงชีวิตหลังเกษียณมากนัก เพราะในวันเกษียณยังมีเงินก้อนและเงินเกษียณในระดับประมาณ 70% ของเงินเดือนก่อนเกษียณมาใช้จ่ายทุกเดือน ซึ่งแตกต่างจากผู้ที่ทำงานบริษัทเอกชนที่แหล่งเงินเกษียณของผู้ที่ทำงานบริษัทเอกชนจะมาจากหลายช่องทาง แต่ทั้งหมดต้องเกิดจากวินัยและการสะสมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานในช่วงทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จึงจะเห็นยอดเงินที่มากพอที่จะสามารถนำมาใช้ดำรงชีวิตต่อได้หลังเกษียณ ในวันที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณที่ต้องมีทั้งเงินและสุขภาพที่แข็งแรง เพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพ คำถามที่สำคัญสำหรับคนทำงานเอกชนที่ต้องมีวินัยในการเก็บเงินเกษียณด้วยตนเอง คือเมื่อปลายทางของการเกษียณแล้วจะได้เงินเท่าไหร่ จากแหล่งไหนบ้าง และมากพอที่จะใช้หลังเกษียณหรือไม่? สำหรับผู้ที่อยากจะเกษียณอย่างมีความสุขและมีเงินใช้จ่ายมากเพียงพอเรามาวางแผนกันล่วงหน้าสำหรับการเกษียณ โดยเรามาดูแหล่งเงินได้ ของผู้ที่จะเกษียณจากเอกชนว่าจะมาจากช่องทางไหนบ้าง และมีช่องทางไหนที่เราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างเม็ดเงินที่เติบโตให้เพียงพอในวันเกษียณ 1. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเงินที่เราได้รับเงินจากรัฐบาลเดือนละ 600 – 1,000 บาท ตั้งแต่อายุ 60 ปีจนกระทั่งเสียชีวิต ขั้นตอนการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเมื่ออายุ 60 ปีแล้ว ต้องไปลงทะเบียนที่สำนักงานเขต กทม. อบต. หรือเทศบาล ซึ่งกฎหมายกำหนดให้คนไทยทุกคนเมื่ออายุ 60 ปีมีสิทธิรับเบี้ยยังชีพอย่างเท่าเทียม ยกเว้นใครมีเงินเหลือเฟือสามารถที่จะบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืนกระทรวงการคลังเพื่อนำไปสมทบและจ่ายเพิ่มเติมให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้เงินเท่าไหร่การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปัจจุบัน จะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นรายเดือนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต โดยเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามช่วงอายุ ดังนี้– อายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน– อายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน– อายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน– อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน 2. เงินบําเหน็จบํานาญชราภาพ จากกองทุนประกันสังคม ซึ่งจะได้รับเงินเป็นก้อน (เงินบําเหน็จ) หรือทยอยรับเงินเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต (เงินบํานาญ) ขึ้นอยู่กับระยะเวลานําส่งเงินเข้ากองทุน โดยสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน *กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือนมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย*กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย+1.5% ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน ตัวอย่าง ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 1.5 หมื่นบาท และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ 1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ= 15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%= 5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) ×5 ปี) = 7.5%รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี = 20%+7.5% = 27.5%ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% ของ 1.5 หมื่นบาท = 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต 2. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน= 4,125 บาท×10 เท่า = 41,250 บาท 3. เงินได้จากการเลิกจ้าง กรณีเราทํางานกับบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กฎหมาย แรงงาน จํานวนเงินที่ได้รับในวันเกษียณขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทํางานและเงินเดือน คนที่ทราบเรื่องนี้แล้ว ก่อนเกษียณอย่าชิงลาออกก่อนจนพลาดเงินก้อนใหญ่ก้อนนี้ อัตราค่าชดเชยตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 * ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน * ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน * ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน * ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน   * ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน * ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป บได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน ตัวอย่าง ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี เงินเดือน 100,000 บาท นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 ร้อยวัน ดังนั้น ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชย คือ ให้นำเงินเดือนอัตราสุดท้าย 100,000 บาท หารด้วย 30 (30 วัน) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นค่าจ้างรายวันเท่ากับ 3,333.33 บาท และนำไปคูณด้วย 300 วัน ได้เท่ากับ 1 ล้านบาท โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยทันทีในวันเลิกจ้าง 4. เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” (Provident Fund หรือ PVD) เป็นเงินที่จะได้รับจากเงินสะสมของตนเองและเงินสมทบที่นายจ้างนําส่งเข้ากองทุนพร้อมดอกผลจากการลงทุนในช่วงที่เป็นสมาชิกกองทุน และหากเกษียณอายุตามเงื่อนไขภาษีที่กรมสรรพากรกําหนด กล่าวคือ เกษียณตอนอายุครบ 55 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินกองทุนทั้ง 4 ส่วน (เงินสะสม ผลประโยชน์ของเงิน สะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบ) ทั้งหมดคือแหล่งเงินเกษียณ 4 ก้อนของมนุษย์เงินเดือน ใครจะได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสามารถและฐานเงินเดือนของแต่ละบุคคลว่าได้เท่าไหร่ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือความต่อเนื่องของการทำงานที่ยาวนานมากพอและการเก็บออมรวมถึงการลงทุน เพื่อปลายทางในวันเกษียณที่มีเงินเพียงพอและไม่เป็นภาระลูกหลาน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับการเงินธนาคาร https://www.moneyandbanking.co.th/article/the-guru/4-sources-of-retirement-income-for-salaried-people-october-14102022

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

คริปโตช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ได้อย่างไร?

30/04/2024

แม้ว่ากระแสการลงทุนในเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี่ดูเหมือนจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากจากการที่ตลาดเข้าสู่ภาวะขาลงแบบไม่รู้ตัว แต่สำหรับประเทศที่มีฐานะยากจนแล้ว เหรียญคริปโตมีความหมายต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น เป็นเวลากว่าหลาย 10 ปีแล้วที่ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการกระจายรายได้มีช่องว่างเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่มีความมั่งคั่งอย่างสหรัฐอเมริกาที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีรายได้เหลื่อมล้ำมากเมื่อเทียบกับคนรวยส่วนน้อย ตัวอย่างเช่นในปี 2022 ข้อมูลจาก Statista ได้เปิดเผยว่า ประชาชนอเมริกันที่รวยมั่งคั่งกว่า 10 % มีการถือครองทรัพย์สินเทียบกับประชาชนส่วนใหญ่กว่า 70 % กล่าวคือเมื่อเทียบกับประชาชนส่วนใหญ่กว่า 90 % แล้ว ประมาณ 30 % มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง หรือหากหยิบยกกรณีตัวอย่างของประเทศแอฟริกาใต้นั้น ประชาชนที่รวย 10 % มีความมั่งคั่งเท่ากับรายได้ของประชาชนกว่า 65 % ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่อาจเข้าถึงระบบการเงินการธนาคาร โดยที่ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการปล่อยกู้ยืมให้ผู้มีฐานะทางสังคมได้ใช้เงินส่วนนี้ลงทุน โดยการเข้ามามีอิทธิพลของตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่ถือเป็นการเข้ามาที่ท้าทายระบบการเงินการธนาคารที่มีอยู่แต่เดิม จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเข้ามาของสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซี่ทำให้หลายคนมองว่า พวกเขาสามารถใช้ช่องทางนี้ลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการเข้าถึงรายได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนจากการเก็งกำไรสูงไม่แพ้หุ้นขนาดเล็กหรือตราสารประเภทฟิวเจอร์ หรือตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ต้องใช้เงินมัดจำในการซื้อขายสูง ซึ่งจะเห็นได้จากในช่วงที่ตลาดคริปโตกำลังบูมใหม่ ๆ จู่ ๆ ก็มีการเล่นข่าวเกี่ยวกับเศรษฐีหน้าใหม่ที่ทำเงินได้จากการลงทุนคริปโตในช่วงที่เหรียญบิทคอยน์เพิ่งเกิดใหม่ๆ หลายประเทศเริ่มรับคริปโต เช่นกันหลายประเทศที่กำลังพัฒนาเริ่มอาศัยการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยคริปโตมากขึ้น ตัวอย่างเช่นประเทศเอลซัลวาดอร์ที่รัฐบาลได้เปิดกว้างเรื่องคริปโตอย่างเต็มที่ หรือแม้แต่ประเทศอย่างเฮติกับตองกาเองก็เริ่มมีการใช้เหรียญ USDC กับ Tether เข้ามาประคับประคองให้ชีวิตของพวกเขาได้ลืมตาอ้าปากได้ อีกทั้งจะต้องไม่ลืมว่าการชำระเงินระหว่างประเทศด้วยคริปโตสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับระบบ SWIFT ที่อาจมีกระบวนการขั้นตอนในการตรวจสอบที่ซับซ้อนและใช้ระยะเวลานานกว่า แม้ทางด้านวอร์เรน บัฟเฟตต์กับบิล เกตต์จะมีทัศนคติเชิงลบต่อคริปโตเป็นอย่างมากก็จริง แต่นั่นก็อาจเป็นเพราะว่า พวกเขาอยู่กับการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอยู่แต่เดิมมาช้านาน แต่สำหรับคริปโตแล้วถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับโลกใบนี้ และอาจต้องใช้ระยะเวลาในการให้คริปโตพิสูจน์ตัวเองในระยะยาว ข้อมูลจาก : https://cointelegraph.com/news/how-cryptocurrency-could-help-tackle-global-income-inequality แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับโพสต์ทูเดย์ออนไลน์ https://www.posttoday.com/post-next/model-business-era/1743

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

วิจัยฮาร์วาร์ดชี้หากคุณอยากรวยให้คบเพื่อนฐานะร่ำรวยตั้งแต่เด็ก แล้วเงินเดือนจะมากกว่าคนอื่น 20%

30/04/2024

เชื่อว่าคนแทบทุกคนล้วนอยากมีฐานะที่ “ร่ำรวย” เพราะหากเรามีความมั่งคั่งทางการเงินแล้ว โอกาสต่าง ๆ ในชีวิตตามมามากมาย โดยที่ผ่านมานั้น เราได้เห็นวิธีการสร้างความร่ำรวยในรูปแบบต่าง ๆ จากเหล่ากูรู เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว ไม่ว่าจะเป็น การมีรายได้หลายทาง, การลงทุนเพื่อสร้าง Passive Income แต่รู้หรือไม่ว่า? บางทีอาจจะค้นพบวิธีที่ง่ายกว่านั้น เพียงแค่คบกับคนที่มีฐานะร่ำรวยกว่า โดยผลการศึกษาของ Raj Chetty นักเศรษฐศาสตร์ของฮาร์วาร์ด มีประเด็นที่น่าสนใจ ระบุว่าหากคุณอยากเป็นคนรวย ให้คบเพื่อนที่มีฐานะร่ำรวยตั้งแต่เด็ก และมีแนวโน้มที่เด็กคนนั้นจะมีเงินเดือนสูงกว่าคนในวัยเดียวกันเฉลี่ย 20% งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าการคบคนที่มีฐานะที่ร่ำรวยกว่าจะนำมาสู่สิ่งที่เรียกว่า “ทุนทางสังคม” เพราะจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการสร้างเนื้อสร้างตัว ตลอดจนเรียนรู้กับคนที่อยู่เหนือกว่าในการเพิ่มช่องทาง หาโอกาสในชีวิตให้กับตัวเองแบบไม่สามารถหาได้ทั่วไป ผลลัพธ์ของงานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการที่ผู้ปกครองมักส่งลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนอินเตอร์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากภายในสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยผู้คนที่มีฐานะ สร้างคอนเนคชันไปในตัวไว้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งการคบเพื่อนที่มีสถานะร่ำรวยกว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะกลุ่มคนที่มีสถานะใกล้กันก็จะอาศัยในบริเวณเดียวกัน หรือจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยจะเข้าถึง ที่มา: businessinsider แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับsmartsmehttps://www.smartsme .co.th/content/247891

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาษี

[สรุปโพสต์เดียวจบ] ค่าลดหย่อนภาษีปี 2565 มีอะไรบ้าง

30/04/2024

สิ้นปี 2565 กำลังมาถึง “เทศกาลจ่ายภาษี” ก็กำลังจะเริ่มต้น ในปีนี้ใครหลาย ๆ คนอาจจะพึ่งเคยเสียภาษีปีแรก หรือ ใครหลาย ๆ คนก็เสียภาษีมาหลายปีแล้ว ซึ่งปกติจะต้องยื่นภาษีก่อนวันที่ 31 มี.ค. ของปีถัดไปนั่นก็คือ ปี 2566 พี่ทุยเลยมาอัพเดตว่าปีนี้เราสามารถเอาค่าใช้จ่ายส่วนไหนไปเป็น “ค่าลดหย่อนภาษีปี 2565” ได้บ้าง เผื่อจะได้เอาไปวางแผนภาษีช่วงปลายปีนี้กัน  ภาษีและเงินได้คืออะไร? “ภาษี” คือ สิ่งที่ประชาชนที่มีรายได้ต้องเสีย เพื่อนำเงินไปสนับสนุนและพัฒนาประเทศของเรา โดยหากเราเป็นมนุษย์เงินเดือนทั่วไป เงินเดือนปกติจะถูกเรียกว่าเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ 40(1) (เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง) จะได้สิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท  ส่วนใครที่ได้ค่าจ้างเป็นงาน ๆ หรือคอมมิชชันจะจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 40(2) (เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ) จะได้สิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และยังมีรายได้ประเภทอื่น ๆ ซึ่งหักค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน ซึ่งอย่างน้อย ๆ เลยคนที่ต้องเสียภาษีจะต้อง “มีรายได้มากกว่า 310,000 บาท” เพราะ หากหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท เงินได้สุทธิหลังหักรายการต่างจะมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเข้าข่ายการเสียภาษีที่ฐานภาษี 5% ซึ่งไทยมีฐานการเสียภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้ค่าลดหย่อน คืออะไร? “ค่าลดหย่อน” เป็นสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งที่ทำให้เรา “เสียภาษีน้อยลง” เมื่อทำตามหรือเข้าเกณฑ์ที่รัฐกำหนดไว้ โดยเกณฑ์ที่รัฐกำหนดไว้นั้นเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน และช่วยส่งเสริมประชาชนที่ดูแลตัวเอง ให้ได้รับภาษีคืนกลับไปบางส่วนอีกด้วย เราไปดูกันดีกว่าว่าปี 2565 นั้นมีอะไรที่รัฐสนับสนุนบ้าง ค่าลดหย่อนภาษีปี 2565 มีอะไรบ้าง?ค่าลดหย่อนในปี 2565 พี่ทุยจะแบ่งหมวดให้เข้าใจง่ายเป็น 5 หมวด ดังนี้ หมวดลดหย่อนสำหรับตัวเอง หมวดแรกจะเป็นค่าลดหย่อนที่เกิดขึ้นจากตัว หรือ ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ได้แก่ 1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว – 60,000 บาท เป็นอัตราเหมาว่าคน 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อปีไม่น้อยกว่า 60,000 บาท โดยรัฐให้ค่าลดหย่อนส่วนนี้เป็นพื้นฐานสำหรับทุกคนที่มีรายได้ 2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส – 60,000 บาท สำหรับคนที่มีคู่สมรสก็เหมือนดูแลอีก 1 ชีวิต รัฐก็ให้เพิ่มเป็นอัตราเหมาขั้นต่ำไปอีก 60,000 บาท 3. ค่าลดหย่อนบุตร – 30,000 บาท สำหรับคนแรก และตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปได้คนละ 60,000 บาท เมื่อมีบุตรก็มีรายจ่ายตามมาพร้อมความสุข คนแรกอาจจะเบา ๆ หน่อยช่วย 30,000 บาท แต่ถ้ามีตั้งแต่คนที่สองคงเหนื่อยน่าดูรัฐเลยให้คนละ 60,000 ไปเลย ! 4. ค่าลดหย่อนบิดามารดา – สำหรับคนที่ดูแลบิดามารดาอยู่แล้ว ยิ่งบิดามารดาไม่มีรายได้ หรือ มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท แถมอายุเกิน 60 ปีแล้วนั้น ถ้าครบตามเงื่อนไขนี้ ผู้ที่เลี้ยงดูบิดามารดาก็รับไปเลยคนละ 30,000 บาท แต่ต้องบอกบรรดาลูก ๆ ทั้งหลาย ว่าถ้ามีพี่น้องหลายคน ก็ใช้สิทธิได้คนเดียวนะ ถ้าปีนี้เราใช้สิทธิไป ปีหน้าเราให้สิทธิน้องก็ได้ เพราะคนละปีภาษีกัน 5. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ – 60,000 บาทต่อคน สำหรับผู้ที่จิตใจดีดูแลคนพิการ หรือ ทุพพลภาพนั้น รัฐช่วยเหลือลดหย่อนรายได้ได้คนละ 60,000 บาทต่อปี 6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด – ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการฝากครรภ์และทำคลอด สามารถนำมาลดหย่อนได้ แต่ลดได้เฉพาะส่วนที่จ่ายจริงและไม่เกินท้องละ 60,000 บาทเท่านั้นนะ หมวดประกัน สำหรับ “ค่าลดหย่อนภาษีปี 2565″ รัฐบาลก็สนับสนุนให้คนไทยมีการแบ่งเบาบริหารความเสี่ยงด้วยตัวเองด้วย คนที่ซื้อประกันก็จะได้สิทธิลดหย่อนไป โดยประกันที่สามารถลดหย่อนได้มีดังนี้ 1. ประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์ – สูงสุด 100,000 บาท ตามที่จ่ายจริง ใครที่เป็นเสาหลักของครอบครัว เป็นรายได้หลักให้ที่บ้าน ประกันชีวิตเป็นสิ่งสำคัญมาก หรือหากเลือกประกันสะสมทรัพย์นอกจากจะได้รับความคุ้มครองแล้วยังเป็น Force Saving อาจทำให้เรามีเงินเก็บก้อนโตในอนาคตอีกด้วย 2. ประกันสุขภาพบิดามารดา – สูงสุด 15,000 บาท  3. ประกันสุขภาพตัวเอง – สูงสุด 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท หมวดการเกษียณอายุ รัฐบาลสนับสนุนให้เราลงทุนในสิ่งเหล่านี้ เพื่อเป็นหลักประกันในอนาคตว่าจะมีเงินก้อนใหญ่พอ ที่จะใช้ดูแลตัวเองเมื่อเกษียณอายุ โดยการลงทุนเพื่อการเกษียณนั้นเมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนที่เกินจะไม่ได้รับการลดหย่อน ยกเว้นเงินประกันสังคมที่ไม่ต้องรวมอยู่ในก้อน 500,000 บาท 1. ประกันชีวิตแบบบำนาญ – สูงสุด 200,000 บาท และต้องไม่เกิน 15% ของรายได้ และเมื่อรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท 2. กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน – 15% ของรายได้แต่ไม่เกิน 500,000 เมื่อรวมหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณ 3. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF – 30% ของรายได้แต่ไม่เกิน 500,000 เมื่อรวมหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณ 4. กองทุนการออมแห่งชาติ กอช. – ไม่เกิน 13,200 ต่อปี แต่ไม่เกิน 500,000 เมื่อรวมหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณ 5. กองทุนรวมเพื่อการออม SSF – 30% ของรายได้แต่ไม่เกิน 500,000 เมื่อรวมหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณ 6. เงินประกันสังคม – ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท  เงินบริจาค สำหรับใครที่อยากบริจาคก็สามารถนำมาลดหย่อนได้ โดยการบริจาคที่สามารถนำมาลดหย่อนได้มี 3 แบบ 1. บริจาคทั่วไป – 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อนแล้ว 2. บริจาคเพื่อการศีกษา กีฬา พัฒนาสังคม และ โรงพยาบาลรัฐ – 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อนแล้ว โดยบริจาคประเภทนี้จะได้สิทธิ 2 เท่า แต่คำนวณแล้วต้องไม่เกิน 10% หลังหักค่าลดหย่อน 3. เงินบริจาคพรรคการเมือง – สูงสุด 10,000 บาท เราสามารถบริจาคเงินให้พรรคการเมืองโดยเงินส่วนนี้สามารถนำมาลดหย่อนได้เช่นกัน มาตรการรัฐ สำหรับ “ค่าลดหย่อนภาษีปี 2565″ ในแต่ละปีรัฐบาลนั้นจะมีมาตรการส่งเสริมเพิ่มเติมในการกระตุ้นเศรษฐกิจในเรื่องต่าง ๆ โดยค่าใช้จ่ายในเรื่องที่กำหนดนั้นจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น 1. ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย – สูงสุด 100,000 บาท เมื่อเราซื้อบ้านหรือคอนโดด้วยการผ่อนนั้นเราสามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนได้ โดยสามารถลดได้เฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่านั้นไม่รวมเงินต้น โดยธนาคารจะมีใบสรุปส่งมาให้ทุกปีเพื่อนำหลักฐานไปยื่นกับสรรพากร 2. ช้อปดีมีคืน – เป็นโครงการเมื่อต้นปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2565 ที่ผู้ใช้จ่ายเงินสำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบกิจการขาย หนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ภายในประเทศ สามารถใช้เป็น ค่าลดหย่อน ได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดปีละไม่เกิน 30,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดยหากซื้อสินค้าและบริการแล้ว แล้วได้รับส่วนลด ให้ลดหย่อนได้ตามราคาที่จ่ายจริง หลังหักส่วนลดแล้ว 3. เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) – โดยคนที่ลงหุ้นหรือลงทุนในธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป สามารถนำเงินเงินลงทุนนั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละไม่เกิน 100,000 บาท โดยผู้ที่จะนำเงินจำนวนนี้ไปลดหย่อนภาษี จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินเพื่อจัดตั้งหรือ เพื่อเพิ่มทุนของธุรกิจที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของไทย ได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อ สังคม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 และต้องแจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว เป็นยังไงกันบ้างสำหรับค่าลดหย่อนภาษี ใครมีรายจ่ายส่วนไหนที่นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ อย่าลืมเก็บมาให้ครบนะ เพื่อให้เราสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน แต่สำหรับใครที่สงสัยหรือไม่แน่ใจเรื่องการคำรนวณภาษีหรือค่าลดหหย่อนต่าง ๆ แนะนำว่าสามารถโทรไปปรึกษาได้ที่ 1161 หรือสรรพากรในเขตพื้นที่ได้เลย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับmoney buffalohttps://www.moneybuffalo.in.th/tax/what-are-the-tax-deductions

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

วิธีวางแผนซื้อประกันชีวิตต้องมีเท่าไหร่ถึงจะพอ​

30/04/2024

จากบทความ “จะซื้อประกันชีวิตเจ้าไหนดี มีวิธีการเลือกอย่างไร” ได้กล่าวถึงประกันชีวิตทั้ง 5 แบบ และเมื่อกล่าวถึงแบบประกันที่เน้นความคุ้มครองชีวิตก็คือ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ และประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา แต่ก็มีคำถามคือเราจะทำทุนประกันชีวิตหรือความคุ้มครองเท่าไหร่ดีถึงจะพอ มี หลักพิจารณาอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบหลักการพิจารณาเลือกทุนให้เหมาะสมมี 5 ข้อดังนี้คือ1. ผู้รับผลประโยชน์เป็นใคร (เราต้องดูแลใครบ้าง)เมื่อผู้ทำประกันเกิดเหตุเสียชีวิตเงินสินไหมหรือเงินทุนประกันที่เราทำไว้ ผู้รับผลประโยชน์จะเป็นผู้ได้รับซึ่งในแต่ละกรมธรรม์ผู้รับประโยชน์นั้นมีมากกว่า 1 คนก็ได้ ในกรณีที่มีผู้รับผลประโยชน์มากกว่า 1 คน จะแบ่งเป็นสัดส่วนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือทำกรมธรรม์แยกแต่ละผู้รับผลประโยชน์ก็ได้ เมื่อเรารู้แล้วว่าผู้รับผลประโยชน์เป็นใครก็จากนั้นเราก็มาพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายที่แต่ละผู้รับผลประโยชน์นั้นจะต้องใช้เท่าไหร่ไปอีกกี่ปี และนำของแต่ละคนมารวมกันตัวอย่าง ผู้รับผลประโยชน์เป็นแม่อายุ 70 และบุตรอายุ 15 ปีคาดว่าแม่จะมีอายุถึง 80 ปีคาดว่าใช้เงินกินอยู่อีก 10 ปี ปีละ 100,000 บาท ก็ทำทุนประกัน 10×100,000 = 1,000,000 บาทบุตร คาดว่าต้องใช้เงินในการศึกษาและกินอยู่อีก 7 ปี ปีละ 200,000 บาท จนถึงอายุ 22 คือเรียนจบ ก็ทำทุนประกัน 7×200,000 = 1,400,000 บาทสำหรับทุนประกันนี้คิดเฉพาะค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิต ค่ากินอยู่เท่านั้น ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพซึ่งควรวางแผนเป็นประกันสุขภาพให้แต่ละคนจะดีกว่า  •  หนี้สินที่เรามีอยู่เมื่อเราเสียชีวิตไปแล้วหนี้สินที่เรามีไม่ได้หายไปด้วย ซึ่งจะตกไปอยู่กับทายาท ดังนั้นการทำทุนประกันควรจะครอบคลุมหนี้สินที่เรามีด้วยเช่น หนี้กู้ซื้อบ้าน, หนี้กู้ซื้อรถ, หนี้สินอื่นๆ สำหรับหนี้กู้บ้านหรือกู้ซื้อรถ จะมีประกันชีวิตที่สามารถคุ้มครองสินเชื่อที่เรากู้มา เราสามารถซื้อเพิ่มได้ตอนยื่นกู้ได้เลย ในส่วนของหนี้สินอื่นๆที่ไม่มีประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ เราก็ต้องนำมาคิดเพิ่มเติมสำหรับทุนประกันที่เราทำด้วย  •  ค่าใช้จ่ายอื่นๆเมื่อเสียชีวิตค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องใช้เมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต เช่นค่าทำศพ  •  ทุนประกันชีวิตที่มีอยู่แล้วเราต้องพิจารณากรมธรรม์ประกันชีวิตที่เรามีแล้วอยู่ว่ามีทุนประกันชีวิตอยู่เท่าไหร่  •  สินทรัพย์ที่เรามีอยู่ปัจจุบันสินทรัพย์ที่นำมาพิจารณาคือทรัพย์สินที่เรามีทั้งหมด เช่น เงินสด, กองทุน, หุ้น, บ้าน, ที่ดิน, รถ สำหรับสินทรัพย์ที่ยังไม่ทราบมูลค่า เช่น บ้าน, ที่ดิน, รถ ให้นำราคาประเมินปัจจุบันมาคิดเมื่อได้ข้อมูลทั้ง 4 ข้อแล้วจากนั้นเราก็จะมาทำการคิดทุนประกันที่เหมาะสมคือ ข้อ1 + ข้อ2 + ข้อ3 – ข้อ4 -ข้อ5 ได้เท่าไหร่ ค่านั้นจะเป็นทุนประกันที่เหมาะสมสำหรับผู้ทำประกันจากหลักการพิจารณาเลือกทุนประกันชีวิตให้เหมาะสมทั้ง 5 ข้อ นั้นเป็นวิธีการคิดเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือ ความพร้อมในการจ่ายเบี้ยของเรา เพราะถ้าเรารู้ทุนประกันที่เหมาะสมแล้วก็สามารถรู้เบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายได้ ซึ่งสามารถสอบถามได้จากตัวแทนหรือช่องทางอื่นๆ นำมาประเมินได้ว่าเราจ่ายไหวไหม ถ้าไม่ไหวอาจจะต้องมาพิจารณาลดทุนประกัน แต่ไม่ว่าเราจะทำเท่าไหร่การมีความคุ้มครองในกรณีที่เราเสียชีวิตมีความจำเป็นโดยเฉพาะคนเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตของคนในครอบครัว เพื่อที่เมื่อเกิดหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น คนที่เรารักจะได้ไม่ลำบากและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับnoonhttps://www.noon.in.th/blog/how-to-select-the-right-sum-insured/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาษี

ธุรกิจต้องรู้ "บริจาค" แบบไหนประหยัดภาษี หักรายจ่ายได้สูงสุด 2 เท่า

30/04/2024

ทุกๆ ธุรกิจต่างก็ต้องเสียภาษี โดยหากวางแผนภาษีได้ดี ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น โดยรายจ่ายที่กิจการมักจะมองข้ามคือ "การบริจาค" ทราบหรือไม่ว่า การบริจาคบางประเภทสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้สูงสุดถึง 2 เท่า แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทไหน เมื่อมีรายได้ย่อมต้องเสียภาษี ซึ่งในระหว่างปีภาษีนั้นๆ เจ้าของกิจการที่จดบริษัทเป็น "นิติบุคคล" สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักเป็นรายจ่าย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการเสียภาษีได้ และรายจ่ายที่กิจการมักจะมองข้ามคือ “การบริจาค” ซึ่งในกรณีที่มีการบริจาคเงิน หรือทรัพย์สินในนามนิติบุคคลจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ โดยเฉพาะการบริจาคบางประเภท สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้สูงสุดถึง 2 เท่า แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดดังนี้   •  หลักการบริจาคพื้นฐานเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษี สำหรับกิจการที่มีการบริจาคเงินและทรัพย์สินให้กับหน่วยงานต่างๆ สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาระทางภาษีได้ต่างกัน ซึ่งแบ่งเป็น “กรณีทั่วไป” และ “กรณีพิเศษ” ดังนี้ 1.กรณีทั่วไป 1.1 หักได้ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ - บริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะ ประกอบด้วย 1) วัด สภากาชาดไทย 2) สถานพยาบาล สถานศึกษาของราชการ 3) องค์การหรือสถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาอื่นที่ รมว. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา - บริจาคเพื่อการสาธารณประโยชน์ - บริจาคให้กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ - บริจาคให้ 1) กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2) กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม 3) กองทุนคุ้มครองเด็ก - บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยผ่านบริษัทหรือนิติบุคคลอื่น - บริจาคให้กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม 1.2 หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ - บริจาคการศึกษา และการกีฬา - บริจาคให้กองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ 2.กรณีพิเศษ 2.1 หักได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ - บริจาคให้สถานศึกษา ตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ - ค่าใช้จ่ายสร้างและบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สนามกีฬาเอกชน - บริจาคให้กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา - รายจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดตั้งหรือสนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - บริจาคให้ 1) โครงการฝึกอบรมอาชีพ และกิจกรรมเกี่ยวกับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็ก ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2) ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม 2.2 หักได้ 1 เท่า ค่าใช้จ่ายที่จัดให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ   •  บริจาคให้สถานพยาบาลของทางราชการ บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่บริจาคเงินและทรัพย์สินให้กับสถานพยาบาลของทางราชการ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาคไป ทั้งที่จ่ายเป็นเงินสดและทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ และต้องเป็นรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้าง และการบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ใช้ทั่วไป ไม่มีการเก็บค่าบริการ หรือสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการ ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อ สาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้กับกิจการสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ สำหรับการบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป   •  บริจาคเงินให้มูลนิธิผ่าน e-Donation หักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า ในส่วนของการบริจาคให้กับมูลนิธิ กิจการสามารถหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค หากทำการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากรให้แก่มูลนิธิ 3 แห่ง ดังนี้ 1. มูลนิธิชัยพัฒนา 2. มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3. มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมากจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิดังกล่าว ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 โดยการบริจาคผ่านระบบ e-Donation จะสามารถหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า โดยไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคไว้ เพราะเป็นระบบบริจาคเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพกากรใช้รองรับข้อมูลการรับบริจาคของหน่วยงานต่างๆ เพื่อความสะดวก   •  บริจาคเพื่อส่งเสริมการศึกษา หักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า กิจการที่บริจาคเงินและทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า ของรายจ่ายที่จ่ายไป แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาหรือการกีฬา โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. นิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1.1 บริจาคในโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ ได้แก่ - สถานศึกษาตามโครงการพระราชดำริ - สถานศึกษาตามนโยบายที่จะระดมพลังเพื่อเร่งรัดปรับปรุงคุณภาพ - สถานศึกษาที่รองรับพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ 1.2 บริจาคให้แก่สถานศึกษาตามรายชื่อที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด 1.3 บริจาคเพื่อการจัดหา หรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดินหรือที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในทางศึกษา 1.4 บริจาคเพื่อการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (กรณีบริจาคเป็นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นของใหม่ ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน) 1.5 ต้องมีหลักฐานจากสถานศึกษาที่พิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปนั้น เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ (มีใบเสร็จของสถานศึกษา) ​ หมายเหตุ (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเมื่อใช้สิทธิตามมาตรานี้แล้ว จะต้องไม่นำเงินบริจาคดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อการศึกษาอีก หมายเหตุ (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิตามมาตรการนี้ จะต้องไม่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น 2. กรณีนิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนด้านสันทนาการในการจัดสร้างและการบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สนามกีฬาของทางราชการหรือของเอกชนที่เปิดให้ริการเป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ รายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อสนับสนุนด้านสันทนาการนี้ เมื่อไปรวมกับรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว จะต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของ กำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา โดยหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไป สรุป ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหลายช่องทางการบริจาค กิจการสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่อย่างน้อยที่สุดการบริจาคทุกๆ ครั้ง ถือเป็นการทำบุญช่วยให้จิตใจเบิกบาน มีแรงใจในการบริหารจัดการธุรกิจของตนเองได้อย่างเต็มที่ แถมได้โบนัสเป็นเงินเหลือจากการเสียภาษีน้อยลงอีกด้วย ----------------------------------- Source : Inflow Accounting แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1031413

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ไทยรั้งท้าย อันดับระบบบำนาญดีที่สุดในโลก ปี 2022

30/04/2024

ผลสำรวจต่างประเทศเผย ไอซ์แลนด์ ระบบบำนาญดีที่สุดในโลก ขณะที่ไทย อันดับระบบบำนาญรั้งท้าย แนะนำให้วางแผนการเงินเพื่อการเกษียณให้ดีที่สุด วันที่ 14 ตุลาคม 2565 บริษัท Mercer บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารสินทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงานการสำรวจ Mercer CFA Institute Global Pension Index (MCGPI) ครั้งที่ 14 ซึ่งร่วมกับสถาบัน CFA Institute สถาบันผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ในการสำรวจคุณภาพของระบบบำนาญใน 44 ประเทศ ผลการสำรวจ เปิดเผยว่า ประเทศไอซ์แลนด์ (Iceland) เป็นประเทศที่มีระบบบำนาญที่ดีที่สุดในโลก โดยได้คะแนนที่ 84.7 คะแนน จัดอยู่ในระดับ A ขณะเดียวกัน ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่ถูกจัดอันดับระบบบำนาญอยู่ในระดับ A อีก 2 ประเทศคือ เนเธอร์แลนด์ (Netherlands) ได้คะแนนที่ 84.6 คะแนน และเดนมาร์ก (Denmark) ได้คะแนนที่ 82.0 คะแนน ขณะที่ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับประเทศที่มีระบบบำนาญดีที่สุดในโลก เป็นอันดับที่ 44 จากทั้งหมด 44 ประเทศ โดยได้รับคะแนนที่ 41.7 คะแนน จัดอยู่ในระดับ D และเป็นอันดับสุดท้ายในระดับเอเชียอีกด้วย โดยสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับระบบบำนาญดีที่สุดในบรรดาประเทศทวีปเอเชีย (อันดับ 9 ของโลก ด้วยคะแนน 74.1 คะแนน) ผลการสำรวจมีการระบุถึงรูปแบบกองทุนบำนาญขององค์กรในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงจากกองทุนแบบกำหนดผลประโยชน์ทดแทน (Defined Benefit-DB) เป็นกองทุนแบบกำหนดเงินสมทบ (Defined Contribution-DC) ซึ่งทำให้ผู้คนต้องวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณกันมากขึ้น Dr. David Knox Senior Partner ของ Mercer ระบุว่า แต่ละคนมีความรับผิดชอบเรื่องการออมเพื่อการเกษียณมากขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่สูง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้กำหนดนโยบายต้องทำทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการเกษียณอายุได้รับการสนับสนุน พัฒนา และควบคุมดูแลอย่างดี การสำรวจ MCGPI เป็นการสำรวจเกี่ยวกับระบบบำนาญจาก 44 ประเทศทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 65 ของประชากรโลก เน้นข้อบกพร่องบางประการในแต่ละระบบ และแนะนำด้านที่เป็นไปได้ของการปฏิรูปที่จะช่วยให้สวัสดิการหลังเกษียณมีความเพียงพอและยั่งยืนมากขึ้น โดยสำรวจจาก 3 ด้านหลักคือ 1. ความเพียงพอของบำนาญ (Adequacy) ในแง่ทรัพย์สิน ผลตอบแทน สิทธิประโยชน์ และการสนับสนุนจากภาครัฐ 2. ความยั่งยืนของระบบบำนาญหลังเกษียณ (Sustainability) โดยเฉพาะการเติบโตทางเศรษฐกิจ และหนี้สาธารณะ 3. ความครบถ้วน มั่นคงของระบบ (Integrity) ตั้งแต่ระเบียบและข้อกฎหมาย ความคุ้มครอง และการสื่อสารต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1084399

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

รีไฟแนนซ์บ้าน vs ลดดอกเบี้ยบ้าน แบบไหนคุ้มกว่ากัน?

30/04/2024

หากคุณกำลังมีคำถามว่า จะเลือกรีไฟแนนซ์บ้าน หรือ ลดดอกเบี้ยบ้านดี? วิธีการไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน วิธีการและขั้นตอน ความยาก-ง่ายของแต่ละวิธีจะเป็นอย่างไร วันนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)แนะนำคำตอบและเลือกวิธีประหยัดดอกเบี้ยบ้านที่เหมาะกับคุณในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เมื่อผ่อนบ้านมาได้สักระยะหรือเต็มที่ 3 ปี หลายคนก็คงคิดเรื่องของการ รีไฟแนนซ์บ้าน หรือ การขอลดดอกเบี้ยบ้านกัน เพราะเมื่อขึ้นปีที่ 4 หลายธนาคารมักจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น จากเดิม อัตราดอกเบี้ยอาจอยู่ราว 3% – 4% ของภาระหนี้สิน แต่เมื่อปรับขึ้นจะอยู่ราว 5% – 7% เมื่อคิดต่อปีแล้ว ทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึงหลักแสนบาทต่อปี ฉะนั้น หากคุณกำลังมีคำถามว่า จะเลือกรีไฟแนนซ์บ้าน หรือ ลดดอกเบี้ยบ้านดี? วิธีการไหนจะคุ้มค่าากว่ากัน วิธีการและขั้นตอน ความยาก-ง่ายของแต่ละวิธีจะเป็นอย่างไร ธอส.พามาหาคำตอบและเลือกวิธีประหยัดดอกเบี้ยบ้านที่เหมาะกับคุณกันเลยรีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร? ได้อัตราดอกเบี้ยประมาณเท่าไร?รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) คือ การเปลี่ยนสินเชื่อจากธนาคารเดิมเป็นธนาคารใหม่ โดยมีการยื่นกู้ ยื่นเอกสารใหม่เหมือนเราขอสินเชื่อบ้านใหม่ทั้งหมด และมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ใหม่เหมือนกับการยื่นกู้ 3 ปีแรก ผู้ที่ขอยื่นรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารจึงมีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าการขอลดอัตราดอกเบี้ยบ้านจากธนาคารเดิมอัตราดอกเบี้ยจากวิธีรีไฟแนนซ์บ้านเหมือนการคิดอัตราดอกเบี้ย แรกขอสินเชื่อ อาจได้โปรโมชันต่างๆ ของธนาคาร โดยอาจจะเป็น Fixed Rate แบบที่เพิ่มเป็นขั้น ซึ่งเฉลี่ยตลอด 3 ปี อาจจะอยู่ที่ 3% – 4% ขอลดดอกเบี้ยบ้าน คืออะไร? ได้อัตราดอกเบี้ยประมาณเท่าไร?การขอลดดอกเบี้ยบ้าน หรือที่เรียกกว่า “รีเทนชัน” (Retention) คือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมที่เรากำลังผ่อน ว่าหลังจากปีที่ 4 ที่อัตราดอกเบี้ยลอยตัวขึ้นไป จะขอลดอัตราดอกเบี้ยที่จะชำระได้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าชั้นดี (ไม่ผิดนัดชำระ ชำระไม่ขาด) อย่างไรก็ตาม วิธีขอลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารเดิมจะลดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่มากเท่ากับวิธีรีไฟแนนซ์บ้านอัตราดอกเบี้ยจากวิธีขอลดดอกเบี้ยหรือ Retentionจากปกติที่อัตราดอกเบี้ยหลัง 3 ปี แรก (เฉลี่ยราว 3%-4%) อัตราดอกเบี้ยจะลอยตัวขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเหลือราว -0.5% หรือ -1% จาก MRR (Minimum Retail Rate) หรือก็คือ เหลือราว 5% – 7%แล้วเลือกแบบไหนคุ้มกว่ากัน?เมื่อเทียบกันว่า ระหว่าง รีไฟแนนซ์บ้าน vs ลดดอกเบี้ยบ้าน แบบไหนคุ้มกว่ากัน เฉพาะเรื่อง อัตราดอกเบี้ย ก็คือ วิธีรีไฟแนนซ์บ้านคุ้มกว่า แล้วรีไฟแนนซ์บ้านคุ้มกว่าขอลดดอกเบี้ยบ้านแค่ไหน ดูตัวอย่างด้านล่างนี้สมมติว่า ปัจจุบันเหลือภาระหนี้ 2,000,000 บาท ถ้วน หลังจากผ่อนมาแล้ว 3 ปี (ระยะเวลาผ่อนที่เหลือ 27 ปี) โดยอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 7% ต้องชำระสินเชื่อบ้าน 15,100 บาท ต่อเดือน (คำนวณสินเชื่อได้ที่นี่)กรณีขอลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารเดิม อย่างมากจะได้ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 5% ต่อปี จะมีภาระผ่อนชำระหนี้ 12,500 บาท ต่อเดือน (ลดลง 2,600 บาท)กรณีขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ สมมติว่าได้อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรกเฉลี่ย 3% จะมีภาระผ่อนชำระหนี้ในช่วง 3 ปีนั้น 10,200 บาท ต่อเดือน (ลดลง 4,900 บาท) สรุปก็คือ หากเปรียบเทียบ รีไฟแนนซ์บ้าน vs ลดดอกเบี้ยบ้าน แบบไหนคุ้มกว่ากัน ภายในช่วง 3 ปีแรก ที่ขอรีไฟแนนซ์หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ย วิธีรีไฟแนนซ์ประหยัดจะประหยัดเงินได้ถึง 176,400 บาท [(15,100 x 36) – (10,200 x 36)] ส่วนวิธีขอลดดอกเบี้ยจะประหยัดได้ 93,600 บาท [(15,100 x 36) – (12,500 x 36)]ดังนั้น รีไฟแนนซ์คุ้มค่ากว่าถึง 82,800 บาท (หรือเกือบหนึ่งแสนบาท)เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย รีไฟแนนซ์บ้าน vs ขอลดดอกเบี้ยธนาคารเดิมข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้านได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง การรีไฟแนนซ์กับธนาคารแห่งใหม่ จะนำเอายอดค้างชำระที่เหลือจากธนาคารเดิมมาคำนวณกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ถูกลง ช่วยให้จำนวนเงินผ่อนชำระถูกนำไปหักดอกเบี้ยลดลงและนำไปหักเงินต้นได้มากขึ้น สามารถเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ เช่น เปลี่ยนจากการกู้ร่วม เป็นกู้คนเดียวก็ได้ หรือจะเปลี่ยนฐานะผู้กู้ร่วม-ผู้กู้หลักก็ได้เหมือนกัน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะช่วยให้วางแผนจัดการภาระหนี้สินและการเงินของเราได้คล่องตัวมากขึ้น เลือกยืดระยะเวลาในการผ่อนได้ การขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ สามารถขอเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนชำระเพิ่มได้ ซึ่งเมื่อจำนวนงวดเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยให้ยอดผ่อนบ้านต่องวดถูกลงได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้มากขึ้นข้อเสียของการรีไฟแนนซ์บ้านรีไฟแนนซ์แม้จะมีโอกาสได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ตำ่กว่า แต่ก็มีเรื่องของการดำเนินการ เรื่องการยื่นเอกสาร และตรวจสอบเครดิตทางการเงินใหม่เพิ่มเข้ามาด้วย ดังนั้น สำหรับคนที่เครดิตทางการเงินไม่ดีนัก เช่น ผู้ประกอบการ รายได้บางส่วนหายไป มีภาระหนี้สินอื่นๆ เพิ่ม ก็อาจยื่นขอรีไฟแนนซ์ไม่ผ่านนอกจากนี้ การรีไฟแนนซ์จะดำเนินการเหมือนตอนยื่นขอสินเชื่อบ้านครั้งแรก จึงมีค่าใช้จ่ายในการยื่นเอกสาร ได้แก่ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ (3,000 – 5,000 บาท)ค่าจดจำนอง ณ กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าประกันอัคคีภัย ฯลฯ (ตั้งแต่ 2,000 บาท ขึ้นไป)ข้อดีของการขอลดอัตราดอกเบี้ยบ้าน (Retention)สำหรับการขอลดดอกเบี้ยบ้าน หรือ Retention แม้จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ารีไฟแนนซ์ แต่สำหรับใครที่ไม่อยากยุ่งยากเรื่องการยื่นเอกสาร หรือมีเครดิตการเงินในปัจจุบันไม่ดีเหมือนตอนขอกู้รอบแรก เช่น มีภาระหนี้สินเพิ่ม รายได้ลดลง ฯลฯ ก็ยังมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยได้ด้วยการขอ Retentionข้อดีของการขอ Retention จากธนาคารเดิมไม่มีการยื่นเอกสารใหม่ไม่ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร (Credit Bureau)ค่าธรรมเนียมถูก (ไม่เกิน 1% ของวงเงินกู้) หรือ ยกเว้นค่าธรรมเนียมข้อเสียของการขอลดอัตราดอกเบี้ยบ้าน (Retention)ข้อเสียข้อสำคัญของการขอลดอัตราดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม (Retention) เมื่อเทียบกับการขอรีไฟแนนซ์ คือ ขอลดอัตราดอกเบี้ยได้น้อย แม้ว่าการขอรีไฟแนนซ์จะมีค่าธรรมเนียมการยื่นเอกสารมากมาย แต่เมื่อคำนวณกับอัตราดอกเบี้ยที่ได้ลดลงแล้ว เพียงไม่กี่เดือนรีไฟแนนซ์ก็คุ้มกว่าแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังเหลือยอดผ่อนชำระอยู่ค่อนข้างมาก ตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นไปอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์บ้าน vs ลดดอกเบี้ยบ้าน ก็ถือว่าเป็นอีกกระบวนการหนึ่งของคนที่ซื้อบ้าน ผ่อนบ้าน ต้องทำเพื่อให้ภาระผ่อนชำระสินเชื่อบ้านลดลง ขั้นตอนการขอรีไฟแนนซ์ และขั้นตอนการขอลดดอกเบี้ย1. ขอรีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance)ขั้นตอนการขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ จะมีวิธีการเหมือนกับตอนที่ไปดำเนินการขอสินเชื่อบ้านครั้งแรก ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายๆ ต่างให้ครบถ้วน ตรวจสอบสัญญากู้เดิม ตรวจสอบสินเชื่อดูก่อนว่าถึงเวลาที่สามารถยื่นรีไฟแนนซ์ได้หรือยัง ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารจะอนุญาตให้รีไฟแนนซ์หรือไถ่ถอนสินเชื่อเดิมได้เมื่อผ่อนชำระครบ 3 ปี แล้ว แต่สามารถเร่ิมมองหาธนาคารที่จะรีไฟแนนซ์ก่อนถึงกำหนดชำระครบ 3 ปี ก่อนประมาณ 1-2 เดือน ได้ เพราะกระบวนการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเลือกธนาคารและโครงการสินเชื่อ เลือกดูโครงการสินเชื่อ โปรโมชัน จากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยตำ่กว่า แนะนำว่า ให้คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี แรก หรือดูจากอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาว่าที่ไหนให้ได้คุ้มมากที่สุดเตรียมเอกสารใหม่เหมือนยื่นกู้สินเชื่อ ได้แก่ เอกสารส่วนตัว เอกสารทางการเงิน และเอกสารหลักประกันต่างๆ รวมเอกสารยื่นสินเชื่อที่ต้องใช้<< ดูที่นี่)เตรียมค่าใช้จ่ายดำเนินการให้พร้อม ประมาณ 2% – 3% ของวงเงินกู้ ได้แก่ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ (3,000 – 5,000 บาท)ค่าจดจำนอง ณ กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าประกันอัคคีภัย ฯลฯ (ตั้งแต่ 2,000 บาท ขึ้นไป)ยื่นขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ หลังจากเตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายต่างๆ พร้อมแล้ว ขั้นตอนที่เหลือก็คือ การยื่นรีไฟแนนซ์ ขั้นตอนโดยคร่าวๆ ได้แก่ ทราบผลการอนุมัติรีไฟแนนซ์จากธนาคารแห่งใหม่ติดต่อธนาคารเดิมเพื่อขอไถ่ถอนที่ดินและปิดบัญชีสินเชื่อเดิมนัดธนาคารเดิมและธนาคารแห่งใหม่มาทำนิติกรรมจดจำนองสินทรัพย์ทั้งนี้ หากกังวลเกี่ยวกับขั้นตอนการยื่น สามารถติดต่อและสอบถามธนาคารแห่งใหม่ได้ ธนาคารจะคอยช่วยอำนวยความสะดวกและบอกขั้นตอนต่างๆ กับคุณ2. ขอลดดอกเบี้ยบ้าน (Retention)ขั้นตอนในการขอลดดอกเบี้ยบ้าน จริงๆ แล้ว สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงติดต่อทำเรื่องกับธนาคารเดิมโดยดูก่อนว่า ประวัติการชำระหนี้ของเราใกล้ครบ 3 ปี แล้วหรือยัง โดยธนาคารส่วนใหญ่จะอนุมัติการขอลดดอกเบี้ยให้เฉพาะลูกหนี้ชั้นดีเท่านั้น คือ ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ตรงเวลา ไม่ผิดนัด อย่างน้อย 24 เดือน และต้องไม่อยู่ในระหว่างประนอมหนี้ส่วนเอกสารที่อาจจะต้องเตรียม (บางธนาคารไม่ขอ) ได้แก่ สัญญาเงินกู้สำเนาทะเบียนบ้านสำเนาบัตรประชาชนส่วนค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมสำหรับดำเนินการ ไม่เกิน 1% ของวงเงินกู้โดยระยะเวลาในการพิจารณาขอลดดอกเบี้ยจะอาจรวดเร็ว เพียง 7 วัน หรืออย่างช้าไม่เกิน 45 วัน เพราะธนาคารมีเอกสารและประวัติการชำระหนี้ของคุณอยู่ก่อนแล้ว และไม่ต้องดำเนินการประเมินสินทรัพย์ใหม่อีกรอบ ทำให้กระบวนการทั้งหมดทำได้อย่างรวดเร็วเลือกรีไฟแนนซ์บ้านหรือขอลดดอกเบี้ยธนาคารเดิมดี?หากคุณกำลังผ่อนชำระหนี้บ้านได้เกือบครบหรือครบ 3 ปี แล้ว ถึงเวลาที่คุณจะเริ่มพิจารณาหาวิธีลดอัตราดอกเบี้ยบ้านที่ปรับตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิธีรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารใหม่ หรือ ขอลดดอกเบี้ยบ้านจากธนาคารเดิม ช่วยลดภาระชำระหนี้ ให้คุณผ่อนบ้านได้หมดไวขึ้นทั้งนี้ เรารู้แล้วว่า การรีไฟแนนซ์บ้านนั้นคุ้มค่ามากกว่า แต่จะเลือกวิธี รีไฟแนนซ์บ้าน vs ลดดอกเบี้ยบ้าน โดยสรุปแล้ว มี 2 ปัจจัยสิ่งที่ต้องพิจารณาตรวจสอบเครดิตทางการเงิน ตรวจดูว่า เรายังมีเครดิตทางการเงินดีหรือไม่ รายได้เท่าเดิมหรือดีกว่าเดิมหรือไม่ สัดส่วนภาระหนี้สินต่อรายได้เป็นอย่างไร ถ้าเครดิตการงานของเราปกติ การรีไฟแนนซ์ จะเหมาะกว่า แต่ถ้ามีหนี้อื่นๆ เข้ามา ควรเลือกวิธีขอลดดอกเบี้ย หรือ Retention จะได้ไม่ถูกเช็กประวัติเครดิตบูโร (Credit Bureau) และการขอรีไฟแนนซ์มีโอกาสสูงที่จะไม่ผ่านอนุมัติตรวจสอบภาระค่าใช้จ่าย ตรวจดูว่า การรีไฟแนนซ์มีค่าใช้จ่ายอะไรอะไรบ้าง คำนวณทั้งหมดแล้วเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับการขอลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว วิธีการใดช่วยประหยัดได้มากกว่า ทั้งนี้ ถ้าเหลือหนี้หรือภาระที่ต้องผ่อนชำระมากกว่า 1,000,000 บาท แม้คำนวณค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายแล้ว การรีไฟแนนซ์ก็ช่วยประหยัดได้มากกว่าแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1031247

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ถอดรหัส "อัตราดอกเบี้ย" แต่ละแบบ "ต่างกันอย่างไร"

30/04/2024

ความต่างของดอกเบี้ย ซึ่งมีหลายแบบ โดยเงินกู้แต่ละประเภทก็มีอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เหมือนกัน และธนาคารแต่ละแห่งก็คิดดอกเบี้ยผู้กู้ แต่ละรายไม่เหมือนกันด้วยในช่วงที่ "ดอกเบี้ย" ขาขึ้นแบบนี้ หลายคนที่มีเงินกู้ ทั้งกู้บ้าน กู้รถ กู้สินเชื่อ หรือ บัตรเครดิต เริ่มหันมาคำนวณต้น คำนวณดอก ยอดหนี้ว่าตอนนี้ดอกทบต้น ต้นทบดอกไปเท่าไหร่แล้วขณะที่ คนที่กำลังตัดสินใจกู้ก็ยิ่งศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ให้มากขึ้น เพราะรู้หรือไม่ว่า สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยกับผู้ขอสินเชื่อแต่ละรายแตกต่างกัน ซึ่งอาจจะสูง หรือ ต่ำ กว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อแต่ละราย โดยบวกอัตราเพิ่มหรือลดเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่กำหนดทีนี่ "เรามาถอดรหัสศัพท์ดอกเบี้ย" แต่ละแบบกันว่าแตกต่างกันอย่างไรเริ่มที่ประเภทการคิดดอกเบี้ย1. ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก  คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นคงเหลือที่ลดลงจากงวดก่อนหน้า เมื่อเงินต้นลดดอกเบี้ยจะลดลงไปด้วยใช้ในการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เป็นต้น2. ดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งก้อน หารเฉลี่ยเงินต้นรวมกับดอกเบี้ยเป็นค่างวดให้จ่ายเดือนละเท่าๆ กัน มักใช้กับการเช่าซื้อรถมาต่อที่ "ประเภทอัตราดอกเบี้ยเงินกู้"อัตราดอกเบี้ย (Fixed rate) กำหนดเป็นตัวเลขคงที่ ไม่ขึ้นหรือลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน เช่น ดอกเบี้ยคงที่ 7% ต่อปี ตลอดอายุสัญญาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลอยตัว (Floating rate) เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน แบ่งเป็น 3 ประเภทตามกลุ่มลูกค้าสินเชื่อ คือ 1. MLR (Minimum Loan Rate) ใช้กับผู้ขอสินเชื่อรายใหญ่ชั้นดี ประวัติการเงินดี หลักทรัพย์เพียงพอ น่าเชื่อถือใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดเวลาชัดเจน เช่น สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ2. MOR (Minimum Overdraft Rate) ใช้กับวงเงินเบิกเกินบัญชี เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายใหญ่ โดยสถาบันการเงินจะเก็บดอกเบี้ยเมื่อมีการเบิกเงินเกินวงเงินออกมาใช้3. MRR  (Minimum Retail Rate) ใช้กับลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยข้อมูล : ธนาคารแหง่ประเทศไทยแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับpptvhd36https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/182383

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพแบบไหนที่ใช่เรา

30/04/2024

ตั้งแต่ปี 64 จนกลางปี 65 โรคภัยไข้เจ็บก็ยังแวะมาทักทายกันอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุดหย่อนจนเงินเดือนจะเหลือเป็นเงินทอนอยู่แล้ว หนำซ้ำต้นทุนค่ารักษายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุดหย่อน หากมีแต่ความคุ้มครองขากหลักประกันสุขภาพของรัฐเพียงอย่างก็อาจไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้  การมีหลักประกันสุขภาพทางเลือก อย่าง “ประกันสุขภาพ” อาจช่วยให้ความมั่นคงทางการเงินของเราไม่สั่นคลอน แถมยังทำให้มีอิสรภาพในการเลือกสถานพยาบาลเพื่อข้ารับการรักษา แต่ก่อนที่จะกดเบอร์โทรหาตัวแทนประกัน เราอยากพาทุกคนไปทำความจักกับประกันสุขภาพกันให้มากขึ้น เพราะยิ่งเข้าใจประกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งลดโอกาสในจะซื้อแบบประกันที่ไม่ตอบโจทย์มากเท่านั้นประกันสุขภาพ คือการประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่าย (ค่ารักษา) ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้เอาประกันภัยไม่ว่าค่าใช้จ่าย (ค่ารักษา) นั้นจะเกิดจากเจ็บป่วยด้วยโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และปัจจุบันการซื้อประกันสุขภาพนั้นก็สะดวกสบายมากขึ้น เพราะสามารถซื้อประกันสุขภาพได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่ง noon.in.th ก็เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือทางด้านบริการประกัน และมีระบบที่โดดเด่นซึ่งจะช่วยวิเคราะห์ และแนะนำแบบกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเสียเงินซื้อแบบประกันสุขภาพที่ไม่ตอบโจทย์ประกันสุขภาพมีกี่ประเภทประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประกันสุขภาพแบบหมู่คณะ(มีผู้เอาประกันภัยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป) และประกันสุขภาพแบบรายบุคคล (มีผู้เอาประกันภัยคนเดียว) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้มีหมวดความคุ้มครองที่เหมือนกัน ดังนี้ 1. ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการป่วยไข้ โดยจะชดเชยค่าใช้จ่ายอันเกิดจาก                  •  ค่าห้องและค่าอาหาร   •  ค่าบริการทั่วไป   •  ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หลัง      •  การเกิดอุบัติเหตุ 2. ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด 3. ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล 4. ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่คลีนิค หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล 5. ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร 6. ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน 7. การชดเชยค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการบริการโดยพยาบาลพิเศษขณะอยู่ในโรงพยาบาล หรือที่บ้านภายหลังจากการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ประกันสุขภาพมีกี่แบบปัจจุบันแบบของประกันสุขภาพมีหลากหลายมาก แต่แบบแผนที่มักเป็นที่นิยมมีหลักๆ ดังนี้ 1. ประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยใน (IPD) คือแบบประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าผู้เอาประกันภัยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ายา ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ารถพยาบาลและอุปกรณ์อื่นๆ บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนผู้เอาประกันภัย 2. ประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอก (OPD) คือแบบประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือคลินิก แต่ไม่ต้องนอนพัก อาทิเช่น อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยที่แค่รับยา หรือทำแผลแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย เหมาะกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่ต้องการมีประกันสุขภาพไว้เพื่อแบ่งเบาภาระค่ารักษาในกรณีที่เหตุฉุกเฉิน อาทิเช่นประสบอุบัติเหตุขาหัก หรือแขนหัก เป็นต้น 3. ประกันสุขภาพชดเชยรายได้ (HB) คือแบบประกันสุขภาพที่จะจ่ายชดเชยรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันในกรณีที่ต้องนอนพักฟื้นในโรงพยาบาล 4. ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ECIR) คือแบบประกันสุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความคุ้มครองให้ครอบคลุมการเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ซึ่งเป็นโรคที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษา อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูง อย่างเช่น เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ หากเราได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกเมื่อไหร่ว่าว่าป่วยเป็นโรคร้ายแรง บริษัทประกันก็จะทำการจ่ายเงินผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ให้แก่เรา ยกตัวอย่างเช่น นาย noon ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ประกันสุขภาพก็จะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่นาย noon ทันที 1 ก้อนเพื่อนำไปใช้เป็นค่ารักษาต่อไปหวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจประกันสุขภาพกันมากขึ้นแล้ว แต่เอ๊ะ! แบบของของประกันสุขภาพมีมากมายเหลือคณานับ แล้วแบบไหนล่ะที่เหมาะ และตอบโจทย์จริงๆ  ซึ่งวันนี้โอกาสทองมาถึงแล้ว เพราะเราได้อัญเชิญเทพ เทวดาทั้ง 8 ทิศมาช่วยปลุกเสกคาถาเลือกซื้อประกันสุขภาพอย่างไรให้ปัง รับรองท่องแล้วมีแต่คุ้มกับคุ้มท่องให้ขึ้นใจ‼ คาถามหาอุตม์เลือกซื้อประกันสุขภาพสุดปังL = (Lifestyle) รูปแบบการดำเนินชีวิตการดำเนินชีวิตของคนเราทุกคนมีความแตกต่างกัน แต่ที่แน่ๆ คือทุกคนมีความเสี่ยง ขึ้นอยู่ว่าจะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยแค่ไหนก็แค่นั้นเอง ความเสี่ยงของดำเนินชีวิตของเราเนี่ยแหละจะเป็นตัวแปรสำคัญที่นำมาใช้วิเคราะห์ว่าประกันตัวไหนที่เหมาะสมกับเรา และสามารถตอบสนองกับความเสี่ยงของเราได้ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์สายปิ้งย่างทั้งหลายที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร เนื่องจากว่าการปิ้ง ย่าง หรือทอดเนื้อสัตว์ที่ใช้ความร้อนสูงจะก่อให้เกิดสารอะคริลาไมด์ (Acrylamide) ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งแน่ๆ ล่ะโรคนี้ค่าใช้จ่ายสูงในการรักษาสูงแน่นอนดังนั้นการทำประกันชีวิตโรคร้ายแรงก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยเราแบ่งเบาภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาโรคร้าย อย่างเช่นมะเร็งได้ O = (Observe) สังเกต ก่อนที่จะทำประกันสุขภาพสักตัว เราควรสังเกต และสำรวจเสียก่อนว่าค่ารักษา ค่าหมอ หรือค่าบริการอื่นๆ ของโรงพยาบาลที่เราอยากจะเข้าไปใช้บริการอยู่ในเกณฑ์ไหน ซึ่งเกณฑ์ตรงนี้นี่แหละจะเป็นตัวชี้วัดว่าเราควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบใด ซึ่งจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลนั้นๆ เพื่อเป็นการป้องกันตัวเราเองไม่ให้จ่ายค่าเบี้ยประกันที่สูงเกินกว่าความจำเป็น ก็เหมือนกับสุภาษิตที่ว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง V = (Veracious) เชื่อถือได้ ความน่าเชื่อถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกซื้ออะไรสักอย่าง ซึ่งการทำประกันสุขภาพเองก็เช่นกัน นอกเหนือจากความคุ้มครองที่จะได้รับแล้ว ความน่าเชื่อถือของตัวบริษัทประกัน หรือตัวแทนก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันเลย หากเราได้บริษัทประกันที่มีความมั่นคง ไม่บิดพลิ้วใส่บวกกับการได้ทำประกันกับตัวแทนที่ดูแลดี ส่งเรื่องเคลมไวก็จะส่งผลดีต่อเราเอง ซึ่งการหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทประกัน หรือตัวแทนว่าเจ้าไหนเด็ด แนะนำให้ไปสอบถามกับคนที่เคยทำประกันสุขภาพมาก่อน หรือจะเข้ามาซื้อประกันสุขภาพผ่าน noon.in.th ก็ได้นะ เพราะตัวแทนที่เราคัดสรรมานั้นผ่านการคัดเลือกมาแล้วอย่างดี รับรองว่าสบายใจหายห่วง E = (Elect) เลือกหลักจากที่เรารู้แล้วว่าอยากจะทำประกันสุขภาพแบบไหนแล้ว ให้ลองหาข้อมูลดูดีๆ ว่ามีบริษัทไหนบ้างที่มีประกันสุขภาพในลักษณะเดียวกับที่เราอยากทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้บริษัทประกันมีเยอะแยะมากมาย บางที่ก็ออกกรมธรรม์มาคล้ายๆกัน แต่อาจมีความแตกต่างในเรื่องของเบี้ยประกัน หรือวงเงินคุ้มครอง ซึ่งเราสามารถเอาข้อมูลตรงนี้มาชนกันไปเลยว่ากรมธรรม์ไหนดีที่สุด บางที่อาจคุ้มครองเท่ากันแต่กลับต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงกว่าอีกอันนึง ดังนั้นต้องเลือกสรร และคัดสรรกันให้ดี ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เหอะการจ่ายเบี้ยประก็ต้องขึ้นกับสามารถของเราด้วยนะว่าสู้ได้แค่ไหน ทางที่ดีไม่ควรเกิน 10%-15% ของรายได้รวมต่อปีหลักจากที่เรารู้แล้วว่าอยากจะทำประกันสุขภาพแบบไหนแล้ว ให้ลองหาข้อมูลดูดีๆ ว่ามีบริษัทไหนบ้างที่มีประกันสุขภาพในลักษณะเดียวกับที่เราอยากทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้บริษัทประกันมีเยอะแยะมากมาย บางที่ก็ออกกรมธรรม์มาคล้ายๆ กัน แต่อาจมีความแตกต่างในเรื่องของเบี้ยประกัน หรือวงเงินคุ้มครอง ซึ่งเราสามารถเอาข้อมูลตรงนี้มาชนกันไปเลยว่ากรมธรรม์ไหนดีที่สุด บางที่อาจคุ้มครองเท่ากันแต่กลับต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงกว่าอีกกรมธรรม์หนึ่ง หรือจะใช้เครื่องมือที่มีฟังก์ชันช่วยเปรียบเทียบแบบประกันอย่าง noon.in.th เข้ามาช่วยก็ได้ ลดทั้งเวลา และความวุ่นวาย ซื้อประกันที่ตรงใจได้ง่ายๆ เพียงแต่ไม่กี่ขั้นตอน การซื้อประกันสุขภาพเราจำเป็นจะต้องเลือกสรร และคัดสรรกันให้ดี และที่สำคัญคือเบี้ยประกันก็ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เราสามารถจ่ายไหวด้วยเช่นกัน ทางที่ดีไม่ควรเกิน 10%-15% ของรายได้รวมต่อปีเห็นไหมล่ะว่าการเลือกซื้อประกันสุขภาพไม่ยากอย่างที่คิด ขอแค่ทำตามคาถานี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลแล้ว แต่ถ้าอยากให้ชีวิตง่ายขึ้นไปอีกสเต็ปลองมาซื้อประกันสุขภาพผ่าน noon ดูซิ แล้วจะรู้ว่าประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์หาไม่ยากอย่างที่คิด คลิกเลยที่ noon.in.thขอบคุณแหล่งข้อมูล :oic.or.th ,philliplife.com , oic.or.th, oic.or.th, honestdocs.comแหล่งที่มาข่าว noonhttps://www.noon.in.th/blog/how-to-buy-health-insurance-and-what-type-insurance/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X