คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ภาษี

ลงทุนตราสารหนี้ต้องจ่ายภาษีไหม ?

30/04/2024

โดย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ลงทุนตราสารหนี้ต้องจ่ายภาษีไหม สำหรับผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาเมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้ต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะลงทุนเองโดยตรงในตลาดแรกหรือซื้อต่อจากผู้ลงทุนอื่นในตลาดรอง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ ผลตอบแทนรูปแบบใดต้องเสียภาษีและอัตราเท่าไหร่ สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ ผู้ลงทุนธรรดาลงทุนเองโดยตรง ดอกเบี้ย กรณีตราสารหนี้จ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flxed-rate bond) ส่วนลดจากราคาหน้าตั๋วกรณีตราสารหนี้ไม่จ่ายดอกเบี้ย (Zero coupon bond) ● หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เฉพาะผู้ทรงคนแรก ● สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำไรจากการขาย ● หักภาษี ณที่จ่าย 15% ● สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ เงินปันผล ● หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ● ยกเว้นกองทุนรวมตราสารหนี้100% ● สามารถเลือกไม่นำรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำไรจากการขายหน่วยลงทุน ● ได้รับการยกเว้น หมายเหตุ : นักลงทุนที่มีฐานภาษีไม่ถึง 15% สามารถขอคืนภาษีได้ โดยจะต้องนำรายได้ดอกเบี้ยทุกประเภทที่ได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ยงินฝาก และดอกเบี้หุ้นกู้ มารวมคำนวนในการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ในขณะที่หากลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ นักลงทุนจะไม่สามารถขอคืนภาษีได้แม้ว่าจะมีฐานภาษีไม่ถึง 15% เพราะผู้เสียภาษีคือกองทุนรวม ไม่ใช่นักลงทุน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1234184

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

แบงก์สหรัฐล้ม! ​ "กูรูนักคณิตศาสตร์ประกันภัยไขปม" ทำไมถึงล้มได้จากการลงทุนในบอนด์รัฐบาล

30/04/2024

“อาจารย์พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (อาจารย์ทอมมี่)” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคชัวเรียล บิสซิเนส โซลูชั่น (ABS) และในฐานะอดีตนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยฯที่คร่ำหวอดในวงการคณิตศาสตร์ประกันภัยมายาวนาน​ ได้โพสต์บนเพจเฟสบุ๊คความว่า​ ทำไมธนาคาร SVB ในอเมริกาถึงล้มได้จากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอยากลองเขียนอีกมุมของการบริหารงบการเงินในมุม ALM (Asset Liability Management) ของธนาคารไว้บ้างเพื่อแชร์ประสบการณ์ในสมัยที่ผมทำงานอยู่ในฮ่องกงและเคยอยู่บริษัทที่เป็นเครือของ AIG ในสมัยนั้น ทำให้เห็นภาพติดตาของสถาบันการเงินที่มีสัญญาณค่อยๆ ล้มหายไปตั้งแต่วันแรกจนเป็นโดมิโน่ทั้งกระดานตามมาในสมัยนั้นปกติธนาคารจะได้รับเงินเข้ามาก็ต่อเมื่อมีคนฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารก็จะมีตั้งแต่เงินฝากออมทรัพย์ซึ่งถอนได้ทุกเมื่อ กับอีกลักษณะที่เป็นเงินฝากประจำซึ่งมีระยะเวลายาวขึ้นมาและถ้าถอนก่อนกำหนดก็อาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ยเต็มจำนวนเพื่อป้องกันการแห่กันถอนเงินเงินฝากของลูกค้าที่ธนาคารได้รับมานั้น จะถือว่าเป็นเจ้าหนี้ของธนาคาร ซึ่งธนาคารต้องตั้งเป็นหนี้สินเอาไว้ เพราะมีภาระที่ต้องจ่ายคืนเงินให้ลูกค้าในอนาคต และแน่นอนว่า หน้าที่ของธนาคารไม่ใช่มีแค่จะต้องสำรองเงินไว้จ่ายในยามฉุกเฉินคืนให้ลูกค้าเท่านั้น แต่จะต้องนำเงินที่ได้มานั้นไปลงทุนให้เกิดดอกผลขึ้นมา เพื่อหล่อเลี้ยงธนาคารนั้นให้อยู่รอดไปได้ในการลงทุนของธนาคารนั้น ธนาคารสามารถทำได้หลายแบบซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการปล่อยกู้สินเชื่อ โดยระยะเวลาการปล่อยกู้สินเชื่อก็มีระยะเวลาแตกต่างกันไป ขึ้นกับประเภทของการปล่อยกู้ หรือถ้าธุรกิจของธนาคารนั้นไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อปล่อยสินเชื่อ ธนาคารอาจจะเลือกในเงินที่ได้มานั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินอื่นด้วยก็ได้ ซึ่งพันบัตรรัฐาลก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยที่สุด (แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีความเสี่ยงแฝงอยู่อีกหลายอย่าง สามารถตามอ่านบทความที่ผ่านมาเกี่ยวกับความเสี่ยงของตราสารหนี้ทั้งหมด 12 แบบ ที่ผมเคยเขียนขึ้นได้ครับ) แต่ธนาคารก็มีสิทธิ์เลือกลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงอื่นได้เช่นกันแต่จุดที่สำคัญที่เห็นในธุรกิจธนาคารก็คือ "สินทรัพย์ที่ธนาคารสามารถเลือกลงทุนได้นั้น (ปล่อยกู้สินเชื่อ หรือ ลงทุนในตราสารหนี้) จะมีธรรมชาติที่มีระยะเวลาของสัญญาที่ยาวกว่าฝั่งหนี้สิน (เงินฝากจากลูกค้าธนาคาร)" ซึ่งในสถานการณ์ปกตินั้นก็ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรซึ่งในเรื่องการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินนั้น ปกติแล้วจะเอาปัจจัยดอกเบี้ยมาคำนวณเป็นปัจจัยหลักด้วย ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงก็แปลว่าเงินที่เราจะได้ในอนาคตมันก็จะถูกด้อยค่าลง (เพราะเงินตอนนี้ จะดูมีความสำคัญกว่าเงินในอนาคต) ทำให้เวลาดอกเบี้ยสูงขึ้น จะมีผลลัพธ์ในการประเมินมูลค่าที่ได้ค่าที่ลดลงอยู่เสมอ และยิ่งเวลาเราประเมินอะไรที่มีระยะยาวมากๆ ตัวปัจจัยของอัตราดอกเบี้ย (ภาษาการเงินเรียกว่า อัตราคิดลด หรือ discount rate) นั้นก็จะยิ่งมีผลทวีคูณเข้าไปอีกนั่นแปลว่า ถ้าเราถือสินทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้ระยะเวลา 10 ปี แล้วเวลาอัตราดอกเบี้ยยิ่งสูงเท่าไร มูลค่าของตราสารหนี้ก็จะมีค่าลดลงทวีคูณเท่านั้นและถ้า เปรียบเทียบ ตราสารหนี้ระยะเวลา 10 ปี กับ ตราสารหนี้ระยะเวลา 5 ปี แล้วเราจะเข้าใจได้ว่า ตราสารหนี้ระยะเวลา 10 ปีนั้น จะผันผวนและมีผลกระทบมากกว่า จากปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ย (ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ตราสารหนี้ระยะเวลา 10 ปี จะมีมูลค่าลดลงและมีผลกระทบมากกว่า ตราสารหนี้ระยะเวลา 5 ปี)การที่อัตราดอกเบี้ยถูกปรับตัวขึ้นมาสูงนั้น ทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ถูกประเมินมูลค่าใหม่ให้มีค่าลดลงด้วยความรวดเร็ว (เนื่องจากมีระยะเวลาของสัญญาที่ยาวกว่า) การที่อัตราดอกเบี้ยถูกปรับตัวขึ้นมาสูงนั้น ทำให้มูลค่าของหนี้สินถูกประเมินมูลค่าใหม่ให้มีค่าลดลงเช่นกัน (แต่เนื่องจากเงินฝากนั้นมีระยะเวลาที่สั้นกว่า ผลกระทบทางฝั่งหนี้สินจึงไม่มากนัก) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ตัวของธนาคารก็จะมีผลกระทบที่จะทำให้กำไรสะสมนั้นลดลงมา ซึ่งในทางบัญชีนั้น ถ้าตราสารหนี้มีความตั้งใจจะถือในระยะยาว เพื่อนำไปใช้จ่ายหนี้สิน (เงินฝากที่ลูกค้ามาถอน) ในสถานการณ์ปกติแล้ว เวลามูลค่าของตราสารหนี้แกว่งตัวไปมานั้น จะยังไม่ได้ถือว่าเป็นกำไรหรือขาดทุนในตอนนั้น ยกเว้นแต่จะมีการขายออกมาจริง (ไม่สามารถทำตามวัตถุประสงค์ในตอนแรก ที่ต้องการจะถือในระยะยาวจนครบกำหนดสัญญา) ถึงจะนำส่วนต่างของการแกว่งจากการผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยมาถือว่าเป็นการขาดทุนในตอนนั้นถ้าเราทำความเข้าใจถึงหลักการทั้งหมดดังกล่าวแล้ว ก็นำมาเข้าสู่กรณีศึกษาของธนาคาร SVB ในอเมริกาที่เพิ่งล้มไปนั้น โดยผมสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้1. วัตถุประสงค์ของ SVB ที่แตกต่างจากธนาคารอื่น คือ ตั้งขึ้นมาเพื่อระดมทุนจากลูกค้าที่มีลักษณะธุรกิจประเภท Start Up โดยตอนแรกมีความตั้งใจจัดตั้งขึ้นมาเพื่อกระจายความเสี่ยงของธุรกิจ Start Up ด้วยกันเอง ทั้งการรับฝากเงินและการปล่อยสินเชื่อจึงอยู่ในกลุ่ม Start Up ด้วยกันเอง2. SVB ไม่ได้ตั้งใจจะเป็นธนาคารเพื่อดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้คนทั่วไป ดังนั้นเงินที่เหลือจากการปล่อยกู้ให้ Start Up ก็จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยที่สุด แต่ก็ยังเกิดดอกผล นั่นก็คือ พันธบัตรรัฐบาล 3. ลูกค้าของ SVB ระดมทุนได้ยากและมีต้นทุนสูงขึ้น และผลที่ตามมา จึงมีความต้องการไปถอนเงินฝากที่ SVB เพื่อใช้ดำเนินการในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ SVB จำเป็นต้องขายตราสารหนี้ในราคาประเมินใหม่ (ที่มีมูลค่าต่ำ เนื่องจากการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น)4. พอคนเริ่มตกใจกับข่าว ก็มีคนแห่ไปถอนเงินกันมากขึ้น (ภาษาการเงินเรียกว่า Bank Run) ทางธนาคารก็จะต้องถูกบังคับขายตราสารหนี้ในขณะนั้น เพื่อนำเงินสดมาจ่ายให้กับคนที่ถอนเงิน และยิ่งทำให้ราคาของตราสารหนี้ที่ขายได้ตกหนักไปอีก และก็ต้องรับรู้ผลขาดทุนกันในตอนนั้นด้วย (ไม่สามารถทำตามวัตถุประสงค์ในตอนแรก ที่ต้องการจะถือในระยะยาวจนครบกำหนดสัญญา) 5. เมื่อเกิดภาวะ Bank Run ไม่ว่าจะธนาคารไหน ก็จะล้มไม่เป็นท่า ซึ่งในกรณีนี้ SVB ก็ไม่มีข้อยกเว้นจริงๆ แล้ววิธีป้องกันเรื่องเหล่านี้ ก็มีในวิชาบริหารความเสี่ยงอยู่ทั้งหมดแล้วครับ สามารถตามหาอ่านบทความเกี่ยวกับ Asset Liability Management (ALM) ที่ผมเคยเขียนลงไว้ได้ (เดี๋ยวแปะ โพสต์ลงใต้คอมเม้นต์) เพียงแต่หลายคนอาจมองข้ามไป นานๆ เกิดขึ้นที ก็กลับมาให้ความสนใจเรื่อง ALM กัน แต่ในจุดนี้ ผมมองว่ายังไม่ถึงขั้นวัวหายล้อมคอกครับ ทุกกิจการสามารถกลับมาให้ความสนใจเรื่อง ALM เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นมาอีกได้โดยไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความเข้าใจและประสบการณ์เรื่อง ALM ของสถาบันการเงินให้ดีปล. Silicon Valley Bank (SVB) เป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของอเมริกา ธนาคารแห่งนี้เน้นให้เงินกู้แก่ Tech Start Up และกองทุน Venture Capital โดยธนาคาร SVB มีเงินฝากถึง $190 billion หรือ มีค่าเท่ากับสินทรัพย์ประมาณ 2 เท่าของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยรวมกันCredit : #อาจารย์ทอมมี่ #พิเชฐเจียรมณีทวีสิน #ABS #Actuarialbizแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับสยามรัฐออนไลน์https://siamrath.co.th/n/430687

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

เปิด 4 วิธีตรวจสุขภาพทางการเงิน เพื่ออนาคตที่มั่งคั่งและยั่งยืน

30/04/2024

คนส่วนใหญ่อาจจะคุ้นเคยกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคที่อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยรุนแรงในอนาคต ทำให้สามารถวางแผนการดูแลรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นได้ทันการ เป็นการป้องกันก่อนที่โรคจะลุกลามไปไกลเกินที่จะเยียวยา อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ในทางการเงินก็เช่นเดียวกัน การตรวจสุขภาพทางการเงินเป็นการดูแลสถานะทางการเงินในด้านต่าง ๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ของสุขภาพการเงินที่ดี ก่อนที่ความผิดปกติทางการเงินจะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ ทั้งนี้การตรวจสอบสุขภาพทางการเงินสามารถกระทำด้วยตนเองจากหลักใหญ่ ๆ 4 ด้านดังนี้ ด้านสภาพคล่อง เป็นความสามารถในการใช้จ่ายเงินสดในชีวิตประจำวัน หรือเปลี่ยนสิ่งของหรือทรัพย์สินให้เป็นเงินสด เพื่อนำไปใช้จ่ายหรือใช้หนี้สินระยะสั้นได้ รวมทั้งการสำรองไว้เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน การมีสภาพคล่องที่สูงจะแสดงให้เห็นถึงการมีสุขภาพการเงินที่ดี ตัวอย่างแหล่งเก็บเงินเพื่อสภาพคล่อง เช่น เงินฝากธนาคารทั้งแบบออมทรัพย์และแบบประจำ หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นต้น วิธีตรวจสุขภาพทางการเงินด้านสภาพคล่องโดยนำผลรวมสินทรัพย์สภาพคล่องจากแหล่งต่าง ๆ ข้างต้น หารด้วยยอดหนี้สินรวมระยะสั้นที่ต้องชำระภายใน 1 ปี ค่าที่คำนวณได้จะต้องมากกว่า 1 แต่ไม่ควรสูงจนเกินไป เพราะหากมีสภาพคล่องที่สูงมาก อาจทำให้มีการออมหรือใช้จ่ายเงินมากกว่าที่ควรจะเป็น และมีการลงทุนที่น้อยเกินไป สุขภาพการเงินด้านสภาพคล่อง = สินทรัพย์สภาพคล่อง/หนี้สินรวมระยะสั้น ด้านภาระหนี้สิน เป็นหนี้สินที่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามข้อตกลงตามสัญญาที่กำหนดไว้ โดยนำยอดหนี้สินรวมหารด้วยสินทรัพย์รวม ตัวอย่างยอดหนี้สินรวม เช่น บ้าน รถ ยอดผ่อนอื่น ๆ เป็นต้น ส่วนตัวอย่างสินทรัพย์รวม เช่น บ้าน รถ ทอง กองทุน หุ้น เงินฝากในสถาบันการเงินต่าง ๆ เป็นต้น ปกติอัตราส่วนนี้จะมีค่าน้อยกว่า 1 ค่าที่คำนวณได้มีค่ายิ่งน้อยก็จะยิ่งดี เพราะแสดงว่าไม่ได้ก่อภาระหนี้สินไว้มาก สุขภาพทางการเงินด้านภาระหนี้สิน = หนี้สินรวม/สินทรัพย์รวม ด้านการออม เป็นการแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเก็บสะสมไว้ใช้ในอนาคตหรือใช้เวลาฉุกเฉิน โดยอัตราส่วนของการออมที่สูงมากแสดงถึงสุขภาพทางการเงินที่ดีมาก และมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้สูงได้อีก โดยคำนวณจากเงินออมต่อปีหารด้วยรายรับรวมต่อปี สำหรับคนที่เริ่มต้นการออม อาจเริ่มต้นการออม 10% ของรายได้ และเพิ่มขึ้นเมื่อมีรายได้มากขึ้น นอกจากนี้อัตราส่วนการออมที่เพิ่มขึ้นยังแสดงถึงความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีด้วย สุขภาพทางการเงินด้านการออม = เงินออมต่อปี/รายรับรวมต่อปี ด้านการลงทุน เป็นการนำเงินที่เก็บสะสมไว้ไปต่อยอดสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าการออม โดยคำนวณจากสินทรัพย์ลงทุนหารด้วยสินทรัพย์รวม ค่าที่คำนวณได้ยิ่งมากก็จะยิ่งดี แสดงว่าสินทรัพย์จากการลงทุนที่ก่อให้เกิดรายได้มีมากกว่าสินทรัพย์ที่ไม่ก่อรายได้ ซึ่งหมายถึงการลงทุนทำให้เกิดรายได้หรือได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากทรัพย์สินเดิมที่มี สุขภาพทางการเงินด้านการลงทุน = สินทรัพย์ลงทุน/สินทรัพย์รวม จากการคำนวณอย่างง่าย ๆ ข้างต้น เป็นการตรวจสุขภาพทางการเงินได้ด้วยตนเอง และสามารถสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีได้ ผู้ตรวจสุขภาพทางการเงินสามารถรู้จุดที่ควรปรับปรุงได้ด้วยตัวเอง มีการปรับเปลี่ยนที่ส่งผลให้การตรวจสุขภาพทางการเงินในครั้งถัดไปให้ดียิ่งขึ้นได้ ส่งผลให้การดำเนินชีวิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คล้ายกับการตรวจสุขภาพประจำปีแล้วกลับมาดูแลตัวเองให้แข็งแรงมีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้การตรวจสุขภาพทางการเงิน ยังสามารถช่วยต่อยอดในการวางแผนการเงินด้านอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายเพื่อการเกษียณ การศึกษาลูกหลาน หรือเป้าหมายด้านอื่น ๆ ตามที่ต้องการ ดังนั้นการตรวจสุขภาพทางการเงินประจำปีจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรู้ และควรลงมือทำอย่างจริงจังหมั่นตรวจสุขภาพการเงินกันทุกปี เพื่อสุขภาพการเงินที่แข็งแรงสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน มีฐานะการเงินที่มีสภาพคล่องดี หมดปัญหาหนี้สิน มีเงินเก็บเงินออม และมีเงินลงทุน บทความโดย บุณยนุช ยุทธ์ประทุม นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1225375

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

ทำไม จึงไม่พบเหตุการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิต

30/04/2024

นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการประกันและอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (APFinSA) ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ค​"บรรยง​ วิทยวีรศักดิ์"ความว่า​ทำไม จึงไม่พบเหตุการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิตBank Run คือ ปรากฏการณ์ที่ลูกค้าจำนวนมาก แห่กันมาถอนเงินออกจากธนาคารพร้อมๆกัน ด้วยความกังวลว่าธนาคารกำลังขาดสภาพคล่อง หรือมีเงินไม่พอจ่าย  แต่ผมไปหาคำว่า Insurance Run ในพจนานุกรมทางการเงิน หรือใน Google ไม่พบคำนี้ ครั้นไปค้นหาคำว่า Bank run ในธุรกิจประกันชีวิตก็ไม่พบ แสดงว่ามีปรากฏการณ์คนแห่ถอนเงินจากบริษัทประกันชีวิตพร้อมๆกันมีน้อย หรือแทบไม่มีเลย เป็นเพราะอะไร วันนี้มีคำตอบมาเฉลยครับไม่เกิน 25% และในสินทรัพย์เสี่ยงนี้ ก็ยังมีกำหนดลึกลงไปอีกว่า การลงทุนในหุ้นก็ต้องกระจายไม่เกินบริษัทละกี่เปอร์เซ็นต์ ปล่อยกู้ได้ไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ เงินส่วนใหญ่ให้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ที่มีหลักประกันใช่ครับ ลงทุนก้อนใหญ่ที่สุดของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ในพันธบัตรระยะยาวถึง 50%  พวกเราอาจจะกลัวว่า ในภาวะที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ตราสารหนี้ระยะยาวพวกพันธบัตรและหุ้นกู้จะมีราคาลดลง และไปกระทบต่อสถานะของบริษัทประกันชีวิตหรือเปล่า คำตอบคือไม่กระทบ เพราะบริษัทประกันชีวิตมักจะถือตราสารหนี้เหล่านั้นไว้จนครบสัญญา และดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้ลูกค้าเสมอ (cover liabilities) จึงสามารถครอบคลุมภาระผูกพันธ์ที่มีต่อลูกค้าตลอดสัญญาแน่นอนอาจจะมีคนถามว่า แล้วถ้าหากลูกค้ามาถอนพร้อมๆกัน ทำให้บริษัทต้องขายตราสารหนี้ส่วนนี้ออกมาในราคาขาดทุน จะกระทบต่อบริษัทเหมือนกับที่เกิดกับธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ไหม คำตอบคือกระทบน้อย เพราะถ้าลูกค้าถอนก่อนกำหนด ลูกค้าก็จะได้รับเงินเวนคืนค่อนข้างน้อย เช่น ถ้าถอนใน 10 ปีแรกของสัญญากรมธรรม์แบบ 20 ปี ก็อาจจะขาดทุนถึง 20% ของเงินต้นทำให้บริษัทประกันชีวิตที่ขายตราสารหนี้ออกมาถึงแม้ขาดทุน แต่ก็ขาดทุนน้อยกว่าที่จ่ายให้ลูกค้า ซึ่งเรื่องเหล่านี้บริษัทประกันชีวิตได้คิดไว้ล่วงหน้า และตกลงกับลูกค้าแล้วว่า เงินนี้เป็นการลงทุนระยะยาว หากลูกค้าผิดสัญญาก็จะมีข้อกำหนดลงโทษ ให้ได้เงินน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ (หากถือจนครบสัญญา) 6. มีกองทุนประกันชีวิตรับประกันในวงเงินหนึ่งล้านบาท ธุรกิจประกันชีวิตก็มีกองทุนประกันชีวิต ที่ทำหน้าที่เหมือนสถาบันประกันเงินฝาก กล่าวคือในกรณีที่มีบริษัทประกันชีวิตล้มหายตายจากไป กองทุนประกันชีวิตจะทำหน้าที่ เข้ามาดูแล โดยจะชดเชยให้ผู้ถือกรมธรรม์ทุกคนในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท ตามมูลค่าเงินสดที่เรามีสะสมอยู่กับบริษัทประกันชีวิตนั้นๆ ซึ่งตั้งแต่ตั้งกองทุนนี้มา ผมก็ยังไม่เคยได้ยินว่าต้องไปชดเชยเงินให้กับลูกค้าของบริษัทไหน เพราะธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่มีกำไรค่อนข้างแน่นอน หากจะขาดทุนก็เกิดจากการที่มียอดขายน้อยเกินไป ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย แต่ไม่ได้เกิดจากการที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้มีนักธุรกิจที่พร้อมจะเข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทประกันชีวิตอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ไปกระทบจนต้องไปขอความคุ้มครองจากกองทุนประกันชีวิต  โดยลูกค้าส่วนใหญ่ในประเทศไทย กว่า 90% มีเงินออมในบริษัทประกันชีวิตไม่เกินหนึ่งล้านบาท คนส่วนใหญ่จึงมั่นใจได้ว่าได้รับการคุ้มครองโดยกองทุนประกันชีวิตอยู่แล้ว หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้น เราจึงไม่พบเห็นปรากฏการณ์ Bank Run ในธุรกิจประกันชีวิต แม้แต่ตอนที่บริษัท AIG มีปัญหานั้น อาจจะมีคนบางส่วนแห่กันมาถอนเงินที่บริษัท AIA โดยเข้าใจว่าบริษัท AIG จะสามารถดึงเงินจากบริษัท AIA ไปทั้งหมดได้ แต่ตามกฎหมาย ผู้ถือหุ้นต้องดำรงเงินกองทุนให้เพียงพออยู่เสมอ ไม่สามารถถอนเงินลงทุนตามกฎหมายของตนออกไปได้ นี่ไม่ต้องพูดถึงเงินเบี้ยประกันส่วนของลูกค้าที่คปภ.ควบคุมใกล้ชิด โดยระบุว่าต้องนำไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร แล้วต้องนำตราสารที่ลงทุนไปฝากไว้ที่คัสโตเดียนหรือผู้รักษาหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อีกแห่ง ที่เป็นคนกลางคอยดูแลความมีอยู่จริงของสินทรัพย์ เช่น ซิตี้แบงค์หรือธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น จึงมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันตลอดเวลา ผู้เอาประกันภัยจึงมั่นใจได้ว่าได้รับการคุ้มครองดูแลจากคปภ.เป็นอย่างดีหวังว่าบทความนี้ จะทำให้ผู้เอาประกันชีวิตสบายใจได้ว่า เงินของท่านที่เก็บออมไว้ในบริษัทประกันชีวิต เพื่อหวังไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต หรือจะส่งต่อไปให้ลูกหลานนั้น ได้รับการปกป้องอย่างดี มีความมั่นคงสูง ไม่เกิดเหตุการณ์ Bank Run อย่างที่ปรากฏในสหรัฐแน่นอนครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับสยามรัฐออนไลน์https://siamrath.co.th/n/430406

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

Silicon Valley Bank ล้ม จะลามเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ได้หรือไม่

30/04/2024

● SVB หรือ Silicon Valley Bank คือธนาคารอะไร ทำไมถึงได้ล้ม  ● SVB ล้มจะทำให้ตลาดเงินตลาดทุนผันผวนอย่างไร ● เฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยรอบเดือนมีนาคมหรือไม่ และจะจบรอบเร็วขึ้นได้ไหม 1. SVB คือใคร : Silicon Valley Bank หรือ SVB เป็นแบงก์ใหญ่เป็นอันดับ 16 ในสหรัฐฯ ด้วยสินทรัพย์ 2.09 แสนล้านดอลลาร์ โดยมาทำธุรกิจกับกลุ่ม Start up หรือกลุ่มเทค ล่าสุดในวันศุกร์ที่ผ่านมาถูกสั่งปิดโดย FDIC หรือ Federal Deposit Insurance Corp. คล้ายๆ หน่วยงานคุ้มครองเงินฝาก (แต่คุ้มครองเพียง 250,000 ดอลลาร์ ซึ่งมีเพียง 3% ของบัญชีในแบงก์นี้ (อีกราว 97% มีเงินมากกว่าและยังไม่จ่ายส่วนที่เหลือคืนจนกว่าจะขายทรัพย์สินได้ ลองนึกภาพธุรกิจจะจ่ายคู่ค้าหรือพนักงานยังไง) 2. ทำไมล้ม : ปัญหาของแบงก์นี้คือเกิดจากความน่าเชื่อถือ เกิด bank run หรือคนไม่มั่นใจแห่ถอนเงินจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มาจาก partners ที่เป็น Private Equity, Venture Capital, Tech, Health tech แค่วันพฤหัสบดีวันเดียวมีคนถอนเงินฝากไปราว 1 ใน 4 ของเงินฝากทั้งหมด แบงก์ขาดกระแสเงินหมุนเวียน เจอปัญหาสภาพคล่องจนลามเป็นปัญหาล้มละลาย FDIC จึงต้องมาระงับกิจการ โอนเงินฝากให้แบงก์ที่จะจัดตั้งใหม่ ขอย้ำว่าวิกฤตินี้ไม่เหมือนปี 2008 ตอนเลห์แมนล้ม ตอนนั้นคือปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตจากการลงทุนในอนุพันธ์ด้านอสังหาฯ ตอนนี้คือความเสี่ยงด้านตลาดหรือสภาพคล่อง จากดอกเบี้ยขาขึ้นและขาดการบริหารที่ดีด้านระยะเวลาเงินฝากและสินเชื่อ 3. ทำไมคนไม่ไว้ใจ : อยู่ๆ ราคาหุ้นร่วงลง 60% ในวันเดียวจากความกังวลว่าจะเกิดการเพิ่มทุนจำนวนมาก เพื่อชดเชยการขาดทุนมหาศาลจากการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จริงๆ ถ้าไม่ขายก็ไม่ขาดทุน (แต่ต้องรับรู้ Fair Value ผ่าน Balance sheet) เรียกว่า unrealized loss คือ ราคาพันธบัตรลดลงต่ำว่าหน้าตั๋ว เพราะเมื่อดอกเบี้ยขึ้นแรง ราคาพันธบัตรที่สวนทางกับดอกเบี้ยที่ขึ้นจะลดลง เมื่อ SVB ต้องการเงินก็จำเป็นต้องขายขาดทุน พอขาดทุนก็ต้องการเงิน ไปขอเพิ่มทุน คนก็กลัวเทขายหุ้น คนฝากก็ panic ตกใจถอนเงิน จนเป็นภาวะปิดตัวเช่นนี้ และอีกประเด็นที่ทำไมขาดเงินก็เพราะธุรกิจเทคในสหรัฐฯ โดยเฉพาะเทคตัวเล็กขาดทุนอยู่มาก ยังไม่มีกำไรหรือกระแสเงินสดดี พอดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่องยิ่งมีปัญหา กระทบแบงก์นี้ไปด้วยที่เน้นธุรกิจกลุ่มนี้ 4. จะลามไหม : ในช่วงวันพุธถึงวันพฤหัสบดีเราเห็นราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับย่อลงเพราะความกังวลว่าจะมีแบงก์อื่นล้มด้วยไหม แต่ปัญหานี้น่าอยู่ในแบงก์ขนาดเล็กที่เน้นกลุ่มเทคหรือ start up เป็นหลัก ซึ่งต่างกับแบงก์ใหญ่ ในวันศุกร์แล้วหุ้นแบงก์ใหญ่ฟื้น แต่แบงก์เล็กลงต่อ โดยรวมไม่น่าลาม โดยธนาคารที่มีการถือตราสารที่ดี ยังสามารถเข้าถึงสภาพคล่องจากเฟดได้ แต่อาจมีแบงก์ที่มีปัญหาเพิ่ม ในกลุ่มที่ขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ขึ้นแรงในสหรัฐฯ จนราคาพันธบัตรลดลง (จริงๆ ถ้าถือจนครบอายุสัญญาจะไม่ขาดทุน) ต้องดูว่าใครร้อนเงินอีก หรือมีใครโดนแห่ถอนเงินจากวิกฤติศรัทธาบ้าง (หลักๆ คงจะเป็นธนาคารที่ทำธุรกรรมเกี่ยวกับกลุ่มเทค ที่ลงทุนใน Crypto ในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ) 5. ตลาดเงินตลาดทุนจะผันผวนอย่างไร : ตลาดหุ้นน่าจะยังผันผวนจากความกังวลว่าจะมีแบงก์ไหนเป็นรายต่อไปที่ล้ม หรืออย่างน้อยก็ห่วงการลงทุนในกลุ่มการเงินไว้ก่อน รวมทั้งกลุ่มเทคขนาดเล็กที่คนอาจกังวลปัญหาขาดเงินทุน โดยเฉพาะช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นนี้ 6. จะเกิดการว่างงานรุนแรงหรือไม่ : ปัญหาการว่างงานในสหรัฐฯ หากจะเพิ่มขึ้น ก็น่ากระจุกในกลุ่มเทคที่จะมีการเลิกจ้างเพิ่มเติม แต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำต้นทุนสูงตาม รายได้โตไม่ทัน ต้องหาทางลดรายจ่าย ลดคน แต่ไม่น่ารุนแรงไปกระทบภาคอื่นมาก สหรัฐฯ ยังมีอัตราการว่างงานต่ำ แม้ขยับเป็น 3.6% แต่ก็นับว่าต่ำมาก โดยเฉพาะยังมีการเติบโตของค่าจ้างในกลุ่มภาคบริการมาก หาคนทำงานยาก ปัญหานี้ยังลากยาว ไม่น่าส่งผลให้คนว่างงานมากขึ้นจากกรณี SVB ล้ม 7. เงินเฟ้อมีโอกาสลดลงหรือไม่หากเศรษฐกิจมีปัญหา : อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ มีโอกาสลดลงจากปีก่อนที่เฉลี่ย 8% ปีนี้น่าอยู่ที่ราว 4% แต่หากจะลดลงแบบเดือนต่อเดือน คงยาก เพราะอัตราค่าจ้างยังสูงขึ้น บริษัทยังต้องขยับราคาสินค้าเพิ่ม และการคาดการณ์ราคาสินค้ายังสูง แต่หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีปัญหา ชะลอลงแรงจริง อัตราเงินเฟ้อก็อาจลดลงได้บ้าง แต่ไม่น่าลงได้เร็วเหมือนในอดีต เพราะมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ห่วงโซ่อุปทานยังมีปัญหา 8. เฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยรอบเดือนมีนาคมหรือไม่และจะจบรอบเร็วขึ้นได้ไหม : หากเฟดจะลดความร้อนแรงของการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม ไม่ขึ้น 0.50% แต่ขึ้นเพียง 0.25% และระดับดอกเบี้ยสูงสุดอาจอยู่ที่ระดับ 5.75% ไม่ใช่ไปแตะระดับ 6.00% และใกล้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งความไม่แน่นอนจากตัวเลขอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มของค่าจ้างไม่ร้อนแรง การขึ้นดอกเบี้ยอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังจำเป็นอยู่ เพราะเงินเฟ้อยังสูง กรณี SVB อาจไม่มีน้ำหนักมากหากไม่ลามและรุนแรง 9. ผลกระทบต่อไทยหลังปัญหาสภาพคล่องในสหรัฐฯ : โดยมากผลกระทบต่อไทยในระยะสั้นจะผ่านตลาดเงินและตลาดทุน ที่ยังมีแนวโน้มผันผวนในสัปดาห์หน้า อาจมีแรงเทขายในสินทรัพย์เสี่ยงบ้างในระยะสั้น แต่ตลาดน่าให้น้ำหนักการชะลอตัวของค่าจ้างแรงงานและอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ แต่อาจรอตัวเลขเงินเฟ้อ ยอดค้าปลีก และอื่นๆ เพื่อดูสัญญาณว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อแรงหรือไม่ กรณี SVB อาจมีน้ำหนักด้านเสถียรภาพตลาดการเงิน ทำให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เงินน่ากลับมาตลาดเกิดใหม่ เงินบาทน่าขยับแบบ sideway 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ ส่วนหาก SVB มีปัญหาลามต่อหรือมีความไม่แน่นอนต่อ ก็อาจกระทบภาคการส่งออกของไทยซึ่งก็ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ให้ชะลอต่อได้ ส่วนราคาน้ำมันในตลาดโลกน่าย่อลงตามอุปสงค์ที่อ่อนแอลง ทำให้การนำเข้าไทยลดลงตาม ไม่น่ามีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเหมือนก่อนหน้า ส่วนภาคการท่องเที่ยวของไทยไม่น่ากระทบ โดยรวมปัญหานี้น่ากระจุกในสหรัฐฯ ไม่น่ากระทบเอเชียแปซิฟิกมากนัก โดยเฉพาะจีนที่ยังเติบโตได้ดี แต่แน่นอนว่าการส่งออกไม่สดใส สำหรับธนาคารไทย คงไม่น่าจะมีปัญหา เนื่องจากทาง BOT ไม่ได้อนุญาตให้ธนาคารลงทุนใน Crypto โดยตรง ขณะที่กลุ่มการเงินก็ยังคงถูกกำกับอย่างเข้มงวดจาก Regulators ของไทย 10. คำแนะนำการลงทุนในช่วงนี้ : เราเชื่อว่าปัญหาภาคธนาคารของสหรัฐฯ กระจุกในธนาคารขนาดเล็กที่เชื่อมโยงกลุ่มเทคหรือกลุ่ม start up รวมทั้งมีการขาดทุนทางตัวเลขที่ไม่รับรู้ (unrealized loss) สำหรับธนาคารที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ แต่ด้วยความน่าเชื่อถือที่ยังดี และหากธนาคารถือพันธบัตรจนครบอายุสัญญา ก็ไม่เสี่ยงขาดทุน (ผลกระทบน่าจะอยู่ในระดับจำกัด) ทั้งนี้ เราจึงมองว่าเป็นความผันผวนระยะสั้น ไม่ลามจนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ พื้นฐานดี กระจายการลงทุนทั่วโลกยังน่าทำได้ นอกจากนี้ ที่ลุ้นคือเงินเฟ้อสหรัฐฯ แม้ยังอยู่ในระดับสูง แต่มีท่าทีชะลอลง ซึ่งนักลงทุนน่าหาจังหวะเข้าสะสมพันธบัตรหรือตราสารหนี้ ที่ใกล้ถึงจุดสูงสุด ส่วนภาคเอเชียแปซิฟิกโดยเฉพาะจีนยังน่าสนใจ เราอาจให้น้ำหนัก A-share หรือหุ้นในจีน มากกว่า H-share ที่มีกลุ่มเทคในฮ่องกง โดยรวมน่าเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในจีนและจีนน่าหาทางลดความผันผวนในตลาดทุนเทียบสหรัฐฯ ได้ Lesson learned ข้อคิดที่ได้จากกรณี SVB 1. อย่าใส่ไข่ทุกใบในตะกร้าใบเดียว ควรกระจายการลงทุน อย่าเป็นเหมือนคนฝากเงินใน SVB ที่พึ่งแบงก์เดียว รวมทั้งนักลงทุนไม่ลงทุนในสินทรัพย์ใดประเภทเดียว 2. วิกฤติเปลี่ยนรูปแบบเสมอ จากด้านเครดิตปี 08 เป็น mismatch และสภาพคล่องปี 23 หรืออาจมีรูปแบบใหม่ๆ เข้ามา แต่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นในระดับสูงเช่นนี้ อาจเห็นธุรกิจอื่นที่มีปัญหาซ่อนไว้รอประทุขึ้นได้ 3. แม้ตลาดจะฟื้น แต่นักลงทุนยังควรระมัดระวังความผันผวนต่อไปจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าแบ่งเงินลงทุนเป็นหลายๆ ไม้ ค่อยๆ ลงทุนทีละน้อยจนครบเป้าหมาย ไม่แนะนำลงทุนทีเดียวครบ เพราะเราไม่มีทางรู้ทิศทางตลาดและไม่จำเป็นต้องได้ราคาต่ำสุดเสมอไป แต่น่าได้ความสบายใจไปด้วย โดยสรุป กรณี SVB น่าจะเป็นปัญหาเฉพาะกลุ่มจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่กระทบราคาพันธบัตรและมีผลให้กลุ่มเทคและกลุ่ม Start up มีปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง จนกระทบธนาคารที่เชื่อมโยงกับกลุ่มนี้ รวมทั้งผู้ฝากเงินขาดความเชื่อมั่นจนแห่ถอนเงิน และปัญหาเช่น SVB นี้ไม่น่าลามจนเกิดวิกฤติการเงินเหมือนในปี 2008 เพราะการเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจจริงอื่นๆ มีน้อยและขนาดของธนาคารที่มีปัญหาไม่ได้ใหญ่จนมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวร้าย หรือยังมีอีกหลายธุรกิจที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูง ผลประกอบการจะถูกปรับลดลง บางธุรกิจขาดทุนจนต้องปิดตัว เกิดการเลิกจ้างงานจำนวนมาก เกิดเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เงินเฟ้อกลับไม่ลดลงเพราะมีปัญหาเชิงโครงสร้างและปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ภาพแบบนี้เป็นภาวะ Stagflation ที่น่ากลัว และยากในการแก้ไขด้วยนโยบายการเงิน จนเหตุการณ์อาจเลวร้ายหนักกว่ารอบก่อนๆ ก็ได้หากว่า SVB ที่เราเห็นเป็นแค่หนังตัวอย่าง และของจริงกำลังจะตามมา ซึ่งผมยังไม่ได้มองภาพเลวร้ายเช่นนั้น และเชื่อว่าเฟดมีความยืดหยุ่นพอที่จะดูแลปัญหาในลักษณะนี้ บทความโดย ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้บริหารสำนักวิจัยและที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/business/feature/2652230

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

5 อคติ สาเหตุที่ทำให้ 'ขาดทุน'

30/04/2024

เคยสงสัยไหมว่า ในการตัดสินใจลงทุนแต่ละครั้งก็ทำการบ้านมาอย่างดี หาความรู้มากมายจากหลายแหล่ง แต่ทำไมยังขาดทุนอยู่? นั่นอาจเป็นเพราะ “อคติ” ที่ทำให้การวิเคราะห์ หรือการตัดสินใจของเราไขว้เขว วันนี้แอดมินจึงขอนำเสนอ “5 อคติ สาเหตุที่ทำให้ขาดทุน” ไปดูกันเลยว่า ที่เราขาดทุนเป็นเพราะอคติเหล่านี้หรือเปล่า? 1. Herding Bias (อคติจากการทำตามคนหมู่มาก) อคติจากการทำตามคนหมู่มาก เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยที่สุดในโลกการลงทุน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ซื้อหุ้นตามเซียน เทรดตามกูรูใน Facebook หรือซื้อสินทรัพย์ตามบทวิเคราะห์บน YouTube นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาการ “กลัวตกรถ” จึงรีบซื้อ และ “กลัวติดดอย” จึงรีบขาย 2. Anchoring Bias (อคติจากการยึดติด) แปลตรงตัวว่า “การทอดสมอ” โดยเป็นพฤติกรรมที่เราจะพึ่งพาข้อมูลชิ้นใดชิ้นหนึ่งมากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ดีเท่าที่ควร และยังรวมไปถึงการมีความเชื่อว่าสิ่งที่กำลังลงทุนอยู่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด และจะดีต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่คำนึงว่าพื้นฐานของสินทรัพย์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 3. Overconfidence Bias (อคติจากความมั่นใจเกินไป) อคติประเภทนี้ คือ ผู้ลงทุนมีความมั่นใจมากเกินไป ก่อให้เกิดความประมาทในการประเมินความเสี่ยง และมีการตั้งความหวังต่ออัตราผลตอบแทนที่สูงเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การลงทุนแบบ “เทหมดหน้าตัก” หรือ All-in โดยไม่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีพอ 4. Confirmation Bias (อคติจากการยืนยันสิ่งที่เราเชื่อ) หนึ่งในอคติที่เป็นกับดักตัวร้ายที่สุดของนักลงทุน โดยอคติประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราทำการค้นหาข้อมูล เพื่อยืนยันความเชื่อ หรือความคิดเดิมที่มีอยู่ และคิดว่าความเชื่อที่ตนเองยึดถืออยู่นั้นถูกต้องแล้ว เพราะมีข้อมูลเพิ่มเติมมาช่วยยืนยัน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเลือกที่จะรับแต่ข้อมูลที่ยืนยันความเชื่อเรา 5. Blind Spot Bias (อคติว่าเราไม่มีจุดบอด) คือการคิดเข้าข้างตัวเอง โดยจะมองไม่เห็นจุดบอดหรือจุดบกพร่องของตัวเราเอง แถมยังไปคิดว่าเราไม่ได้มีจุดบอดหรือมีข้อบกพร่องอะไร คนอื่นต่างหากที่บกพร่อง! อคติประเภทนี้จะทำให้เรามีความเชื่อว่าแนวทางหรือทฤษฎีการลงทุนของเราเป็นวิธีที่ดีที่สุด ไม่มีจุดบอดหรือข้อบกพร่องใด ๆ ที่จะนำไปสู่การขาดทุน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythai https://www.wealthythai.com/en/updates/digital-asset/15265

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หุ้น

นิสัย VI ผู้มุ่งมั่น

30/04/2024

นักลงทุนที่เป็น Value Investor หรือ VI นั้น มีหลาย “ระดับ” ของการเป็น “VI” ซึ่งมีนิยามอย่างสั้นที่สุดก็คือ “การลงทุนซื้อหุ้นจะซื้อเฉพาะหุ้นที่มี Intrinsic Value หรือมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาดของหุ้นมากพอที่จะทำให้มี Margin of Safety หรือส่วนเผื่อของความปลอดภัยในการลงทุน และขายหุ้นเมื่อราคาสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง” ส่วนรายละเอียดว่าอะไรคือมูลค่าที่แท้จริง ประเมินอย่างไรและมีความแน่ใจแค่ไหน และมาร์จินออฟเซฟตี้ควรจะประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกันและแต่ละคนก็จะคิดไม่เหมือนกัน นอกจากนั้น กลยุทธ์การถือหรือซื้อขายหุ้น เช่นถือหุ้นจำนวนมากน้อยแค่ไหนหรือจะถือยาวแค่ไหน เช่นเดียวกับวิธีการค้นหาข้อมูลและประเมินศักยภาพของกิจการและผู้บริหาร ก็เป็นเรื่องที่มีความแตกต่างกันมากในหมู่ของนักลงทุนที่เรียกตัวเองว่าเป็น “VI” จากการเป็น VI มายาวนานในตลาดหุ้นไทย และการศึกษา VI ที่ประสบความสำเร็จในระยะยาวที่มีชื่อเสียงระดับโลกรวมถึงวอเร็น บัฟเฟตต์ ผมเองรู้สึกว่า “VI ผู้มุ่งมั่น” หรือ VI ที่มีความทุ่มเทหรือยึดถือหลักการทาง VI “อย่างเคร่งครัด” นั้น มักจะตีตัวออกห่างจากสถานการณ์ของตลาดหลักทรัพย์ เช่นไม่รู้สึกตื่นเต้นกับราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไปแบบ “ไร้เหตุผล” หรือ “บ้าคลั่ง” เช่นเดียวกับการที่ไม่ตกใจหรือไม่กลัวเวลาหุ้นตกลงไปอย่างแรง ไม่ว่าจะเป็นหุ้นรายตัวหรือดัชนีตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนั้น พวกเขาก็ยังไม่ตื่นเต้นกับเรื่องราวหรือสตอรี่หรือ “ราคาคุย” ของผู้บริหาร รวมถึงนักวิเคราะห์และ “เซียน” หรือ “นักลงทุนรายใหญ่” ทั้งหลายที่อยู่ในตลาดหากมองและประเมินแล้วว่าไม่ได้มีตรรกะหรือเหตุผลที่เพียงพอ โดยปกติแล้ว “ความเป็น VI” ของนักลงทุนนั้น ก็คงคล้ายกับเรื่องอื่น ๆ ที่ว่า ต้องอาศัยการปฏิบัติและเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะมีความเชี่ยวชาญ มีวินัย มีศรัทธาที่จะลงทุนในแบบหรือกลยุทธ์แบบ “VI ที่แท้จริง” มากขึ้นเรื่อย ๆ และมี “ข้อยกเว้น” น้อยลงเรื่อย ๆ และต่อไปนี้ก็เป็นนิสัยหรือความคิดและการกระทำของผมที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาของการเป็น VI เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ต้องขอบอกก่อนว่า ไม่ได้หมายความว่าผมจะลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนมาเป็น VI ที่มุ่งมั่นมากขึ้น บางทีอาจจะได้ผลตอบแทนน้อยลงด้วยซ้ำแต่ความเสี่ยงอาจจะลดลง หรือ “ชีวิตโดยรวม” ซึ่งไม่ได้คิดแต่เรื่องการลงทุนเพียงอย่างเดียวอาจจะดีขึ้น อะไรทำนองนี้ เรื่องแรกที่ผมเปลี่ยนไปจากในช่วงแรกที่เป็น VI ก็คือ เรื่องที่กำลังร้อนแรงมากในช่วงเร็ว ๆ นี้นั่นก็คือ การเล่นหรือจองซื้อหุ้น IPO ซึ่งดูเหมือนจะเป็น “ที่รัก” ของนักลงทุนในตลาดหุ้นทุกคน เพราะจากสถิติก็คือ กำไรจากหุ้น IPO ในวันแรกของการเทรดนั้นน่าจะสูงกว่าการขาดทุนมาก-ตลอดกาล ว่าที่จริง ผมเองเริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยการจองซื้อหุ้น IPO ที่ได้รับการจัดสรรจากบริษัทที่เอาหุ้นเข้าตลาดเมื่อหลายสิบปีก่อน ดูเหมือนว่าน้อยครั้งที่คนจะปฏิเสธการจองหุ้น IPO มีแต่อยากจะได้มากที่สุด แต่ผมเองกลับเลิกจองหุ้น IPO มานานหลายปีแล้ว ทั้ง ๆ ที่บ่อยครั้งก็รู้สึกว่ากำไรมากแน่นอน เพราะดูจากอุตสาหกรรมที่กำลังร้อนแรง ตัวบริษัทที่เป็นผู้นำและมีขนาดของบริษัทที่เล็กมาก หุ้นมี Free Float ต่ำ ภาวะตลาดหลักทรัพย์มีการเก็งกำไรสูงมาก หุ้นมีโอกาสถูก “Corner” ตั้งแต่เทรดวันแรก แต่ผมก็ไม่จอง ผมคิดว่า IPO น่าจะเกือบทุกตัวนั้นมักมีราคาที่ตั้งไว้สูงกว่าพื้นฐานของหุ้น หรือที่เขาพูดกันว่า “It Probably Overpriced” และ “VI พันธุ์แท้” ไม่ควรซื้อหุ้นที่ราคาสูงกว่าพื้นฐานที่แท้จริง และก็ไม่ควรซื้อแม้ว่าในระยะเวลาอันสั้นราคาอาจจะสูงกว่าพื้นฐานมากขึ้นไปอีกมากซึ่งจะทำให้เราขายได้กำไรอย่างงดงาม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าถึงได้กำไร มันก็ไม่เปลี่ยนแปลงสถานะของพอร์ตหุ้นเราเลย เราอาจจะได้เงิน แต่เราก็อาจจะเสียศรัทธาและความเชื่อของเราต่อหลักการแบบ VI ที่เราสร้างมานาน ช่วงการเป็น VI ใหม่ ๆ อาจจะเป็นกว่า 10 ปี เมื่อมองย้อนหลังกลับไป ผมน่าจะเป็นนักลงทุนที่เรียกว่า “Value Speculator” หรือนักเก็งกำไรโดยอาศัยหลักการเลือกและเล่นหุ้นที่เป็น “Value Stock” คือหุ้นที่มีราคาถูกกว่าพื้นฐานของกิจการ แต่จะเป็นการมองระยะสั้นและเน้นที่กำไรของบริษัทในระยะสั้น หุ้นเหล่านี้มักจะไม่ได้มีความเข้มแข็งมากนักแต่กำไรอาจจะกำลังเติบโตดี หุ้นมีขนาดเล็กที่ราคาอาจจะขึ้นไปได้เร็วเมื่อมีคนเข้ามาเล่น บางตัวก็ถูก Corner โดยนักลงทุนรายใหญ่ซึ่งทำให้ราคาวิ่งขึ้นไปมากมาย อย่างไรก็ตาม เวลาที่กำไรของบริษัทไม่เป็นไปตามคาดหรือเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ราคาก็ลงแรงพอกัน ในระยะหลัง ๆ โดยเฉพาะที่พอร์ตมีขนาดใหญ่ขึ้น ผมก็เปลี่ยนเป็นการลงทุนแบบ VI ระยะยาวขึ้นและยาวขึ้น ลงทุนในหุ้นของกิจการที่จะอยู่อย่างมั่นคงปลอดภัยและเติบโตเร็วหรืออย่างน้อยก็เติบโตบ้างแบบช้า ๆ โดยไม่ค่อยสนใจว่างวดนี้หรืองวดหน้าหรือปีนี้หรือปีหน้ากำไรบริษัทจะโตพรวดหรือเปล่า เป็นการลงทุนที่ซื้อแล้วไม่มีเวลาที่คิดจะขาย แต่จะขายต่อเมื่อสิ่งที่เราคิดไว้ทีแรกเปลี่ยนไปแล้ว เช่น ธุรกิจหมดความสามารถในการแข่งขันหรือถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีหรือรูปแบบการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไป เป็นต้น การหาข้อมูลแบบ VI คือดูกิจการหรือเข้าไป Visit Company คุยกับผู้บริหารโดยตรงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เปลี่ยนไป ในอดีต บ่อยครั้ง ก่อนที่จะซื้อหุ้นผมมักจะอยากจะรู้จักหรือพูดคุยกับผู้บริหารรวมถึงการเข้าไปชมโรงงานหรือกิจการว่าเป็นอย่างไร ดูดีหรือไม่ นอกจากนั้น ถ้าบริษัทขายสินค้าให้กับผู้บริโภค ผมก็จะต้องวนเวียนคอยสังเกตดูว่ามีลูกค้าเข้าชมหรือซื้อสินค้าของบริษัทมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็มักจะได้ผลดี ซื้อแล้วหุ้นก็มักจะขึ้น ส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะมี VI คนอื่นก็เข้าไปพบบริษัทและผู้บริหารและก็ซื้อหุ้นด้วยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ต่อมาผมพบว่า เวลาเข้าไปพบบริษัท ข่าวก็คงออกมาและทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปก่อนที่เราจะซื้อ ทำให้ผมไม่อยากไป สุดท้าย ผมก็เลิกไปเลยเพราะดูแล้ว การเข้าไปเยี่ยมชมและฟังผู้บริหารก็อาจจะได้ข้อมูลที่ “ลำเอียง” ตอนหลังผมก็เลยดูจาก “ภายนอก” ดูจากข้อมูลทางตัวเลขและการวิเคราะห์ธุรกิจและอุตสาหกรรมซึ่ง “หลอกไม่ได้” การวิเคราะห์ “ผู้บริหาร” นั้น ในอดีตผมจะเน้นในเรื่องความซื่อสัตย์มีจรรยาบรรณเป็นประเด็นสำคัญ อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของฝีมือหรือความสามารถทางการบริหาร ซึ่งผมก็มักจะดูจากการตัดสินใจต่าง ๆ เช่น การลงทุนและการจัดสรรเงินที่ได้จากธุรกิจว่ามีความเหมาะสมแค่ไหน โดยเฉพาะการจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในส่วนของฝีมือในการบริหารนั้น บ่อยครั้งผมก็มักจะดูจากการพูดอธิบายกลยุทธ์ทางธุรกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายงานและการแข่งขันกับคู่แข่ง บ่อยครั้งผมมักจะประทับใจกับผู้บริหารที่มีโครงการและแผนงานเต็มไปหมดพร้อม ๆ กับการคาดการณ์ผลประกอบการที่น่าประทับใจ พูดง่าย ๆ ชอบผู้บริหารที่ “ขี้คุย” แต่ในระยะหลัง ๆ ความคิดผมก็เปลี่ยนไป ผมคิดว่าผู้บริหารที่ “โอ้อวดเกินความจริง” นั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เพื่อกระตุ้นให้คนซื้อหุ้นมากกว่าความเป็นไปได้ของการเติบโตของธุรกิจ ดังนั้น ผมมักจะหลีกเลี่ยงหุ้นที่ผู้บริหารคุยโม้มากเกินไป กลยุทธ์การลงทุนของผมในอดีตนั้น เป็นแบบ “Bottom Up” หรือเน้นแต่การดูตัวบริษัทเป็นหลัก โดยที่ไม่ให้ความสนใจกับภาพใหญ่ทางธุรกิจเช่น ภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเลย นั่นอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลดีโดยเฉพาะในประเทศที่กำลังเติบโตระยะยาวไปเรื่อย ๆ อย่างในตลาดหุ้นสหรัฐหรือไทยในช่วงก่อนหน้านี้หลายปี อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง ผมก็เริ่มเปลี่ยน ผมคิดว่าหลักการแบบ VI ที่มีกำเนิดจากอเมริกาและประวัติศาสตร์การลงทุนที่เราเรียนรู้จากอเมริกานั้น ถึงปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้กับตลาดหุ้นไทยที่เศรษฐกิจอาจจะเติบโตช้าลงมาก และถ้าเรายังคิดและวิเคราะห์เฉพาะตัวกิจการ เราอาจจะพลาดและติดหล่มอยู่ใน “หลุมทรายดูด” ได้ เพราะตัวบริษัทอาจจะไม่อยู่ในสภาวะที่จะเติบโตได้ดีแม้ว่าจะเก่งที่สุดแล้ว แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับstock2morrow https://stock2morrow.com/article/5230

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

เปิด 4 เทคนิคปิดหนี้ให้สำเร็จ เพราะการไม่มีหนี้…เป็นลาภอันประเสริฐ

30/04/2024

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือ DPA เปิด 4 เทคนิคปิดหนี้ให้สำเร็จ ระบุ ต้องเริ่มวางแผนการชำระหนี้-คุมค่าใช้จ่าย-เจรจาต่อรองเจ้าหนี้-ไม่ก่อหนี้เพิ่ม แนะควรออมเงินหลังมีเงินเหลือจากใช้หนี้ วันที่ 5 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือ DPA เผยว่า การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ แต่ในสภาวะปัจจุบันด้วยเศรษฐกิจแบบนี้ ทำให้เราต้องมาเจอกับปัญหาต่าง ๆ มากมายอาจสร้างปัญหาในการบริหารจัดการเงิน กลายเป็นว่าเราต้องกู้ยืม เป็นหนี้แบบไม่ทันตั้งตัว แต่เมื่อเป็นหนี้แล้ว สิ่งที่ควรทำให้เร็วที่สุดคือต้องวางแผนจัดการปลดหนี้อย่างจริงจัง แต่จะทำอย่างไรนั้น มีเทคนิค “การปิดหนี้ให้สำเร็จ” มาแนะนำ 4 วิธีด้วยกัน ดังนี้ 1. โดยเริ่มวางแผนชำระหนี้ ควบคุมค่าใช้จ่าย และรีบจัดการปลดหนี้ให้เร็วที่สุด โดยจ่ายหนี้ที่มีดอกเบี้ยแพงสุดก่อน เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือจะเลือกจ่ายหนี้ที่ยอดค้างเหลือน้อยก่อนก็ได้ เพื่อลดจำนวนเจ้าหนี้ให้น้อยลง และพยายามหาเงินเพิ่ม อาจจะด้วยการหาอาชีพเสริมหรือขายทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่จำเป็น มาช่วยจ่ายหนี้ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดจำนวนดอกเบี้ยซึ่งอาจจะโป๊ะทีเดียวหมดเลยก็ได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ไม่สามารถขายทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ ก็สามารถรีไฟแนนซ์ โดยขอกู้จากสถาบันการเงินอีกแห่งหนึ่งเพื่อมาปลดหนี้เก่า ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเดิม ลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยทำให้เราสามารถเพิ่มการจ่ายเงินต้นในแต่ละงวดได้ 2. หาที่ปรึกษา พูดคุยกับคนในครอบครัวและปรึกษาผู้มีประสบการณ์ทางด้านกฎหมาย เข้ารับการช่วยเหลือเพื่อหาทางรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น จะได้แก้ไขได้อย่างถูกวิธี 3. เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ เพื่อขอลดจำนวนเงินผ่อนต่อเดือน เช่น ขอลดยอดหนี้, ขอขยายเวลาการชำระหนี้ เป็นต้น 4. ไม่ก่อหนี้เพิ่ม ท้ายที่สุดหากเราสามารถปลดหนี้ หรือสามารถควบคุมบริหารจัดการกับเงินของเราให้อยู่ตัวได้แล้ว ก็ไม่ควรสร้างหนี้เพิ่มโดยไม่จำเป็น ทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการชำระหนี้แบบง่าย ๆ ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ ถ้าตั้งใจอย่างจริงจัง และถ้าปิดหนี้หมดแล้ว อย่าลืมเปลี่ยนเงินที่ต้องใช้หนี้มาเป็นเงินเก็บ หรือศึกษาหาข้อมูลการลงทุนตามความเสี่ยงที่เหมาะสม หรือถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ก็สามารถฝากเงินไว้กับธนาคารที่ได้รับการคุ้มครองจาก DPA ก็ได้ เพราะถือเป็นที่พักเงินที่ปลอดภัย ได้รับความคุ้มครอง แถมยังได้ดอกเบี้ยอีกด้วย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1220562

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

เกษียณสุขสันต์จากประกันบำนาญ

30/04/2024

จากกระแสสภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความผันผวนสูง ทำให้การลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ อาจได้รับผลกระทบไปด้วยไม่มากก็น้อย หลาย ๆ ท่านอาจหวั่นใจว่าการเงินช่วงเกษียณในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ควรมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบไหนที่จะช่วยในการวางแผนการเงินที่สามารถลดความกังวลใจนี้ลงได้ ในบรรดาผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมด ประกันบำนาญเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยตอบโจทย์การมีรายรับหลังเกษียณที่ดีมากและมั่นคง ซึ่งผู้ทำประกันบำนาญจะได้รับผลประโยชน์ที่ทำให้มีความสุขหลังเกษียณหลายอย่าง ดังนี้ 1. มีรายได้หลังเกษียณที่แน่นอน โดยไม่ต้องกังวลกับสภาวะเศรษฐกิจว่าจะดีหรือไม่ดี การวางแผนการเงินทั้งในปัจจุบันและอนาคตมีหลักสำคัญ คือต้องมีกระแสเงินสดที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐาน และมีการลงทุนเพิ่มเติมที่สามารถตอบโจทย์ชีวิตในด้านอื่น ๆ ด้วย 2. สิทธิลดหย่อนภาษี นอกจากผลประโยชน์ที่ผู้ทำประกันบำนาญได้รับจากการได้รายได้ที่แน่นอนหลังเกษียณแล้ว ผู้มีเงินได้ยังสามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีภายใต้เงื่อนไขของเบี้ยที่นำไปลดหย่อนภาษีต้องไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กบข./ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ/หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี การเลือกบริษัทที่รับประกันบำนาญจะต้องมีความมั่นคงสูง และมีความสามารถในการจ่ายคืนผลประโยชน์ตามสัญญาได้ 3. สร้างวินัยในการออมระหว่างวัยทำงาน หนึ่งในความเข้าใจผิดสำหรับผู้เริ่มต้นการวางแผนการเงินคือ คิดว่าจะเริ่มทำประกันเมื่อมีเงินมากหรือเหลือใช้ หรือเริ่มทำเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ตัวแปรที่สำคัญ คือ เวลา วินัย และความสม่ำเสมอในการออม ดังนั้น จึงต้องมีการเริ่มออมเพื่อการเกษียณ ซึ่งประกันบำนาญเป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยสร้างวินัยการออมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การออมเมื่ออายุที่เริ่มต้นต่างกัน เงินตอบแทนที่จะได้รับก็ย่อมแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ยิ่งเริ่มทำประกันบำนาญเร็วเท่าไหร่ ผลประโยชน์และความมั่นคงที่ได้รับก็จะมากขึ้นเท่านั้น 4. ลดความเสี่ยง ลดความเครียด เมื่อรวมประกันบำนาญกับพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษียณ ในมุมมองของบางท่าน เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของประกันบำนาญเพียงอย่างเดียวกับการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงในช่วงสภาวะเศรษฐกิจดี อาจจะคิดว่าได้ผลตอบแทนต่ำ แต่จุดสำคัญคือ ผู้ทำประกันที่มองหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะมาตอบโจทย์เรื่องการันตีรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐานหลังเกษียณเป็นหลัก ได้รับเงินทุกปีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะไปทิศทางไหน และหากผู้ทำประกันมีการวางแผนประกันบำนาญร่วมกับการลงทุนเพื่อการเกษียณด้วย ก็จะทำให้ความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษียณลดลง และมีความมั่นใจในแผนการเกษียณมากขึ้น 5.มีทุนประกันชีวิตระหว่างการชำระเบี้ย หากผู้ทำประกันเสียชีวิตระหว่างการชำระเบี้ย ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินตอบแทนมากกว่าเบี้ยที่ผู้ทำประกันชำระ คือได้รับเงินต้นที่ชำระไปบวกกับรับเงินทุนประกันชีวิตที่ผู้รับผลประโยชน์จะต้องได้ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการจัดตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งใช้เวลาในการรับเงินที่นานกว่า และอาจมีค่าใช้จ่ายด้วย ดังนั้น จากผลประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการวางแผนเกษียณที่รวมกับประกันบำนาญมีประโยชน์อย่างมาก จึงนับว่าเป็นสินค้าทางการเงินหลักที่ตอบโจทย์ทั้งตัวผู้วางแผนเกษียณและครอบครัวให้ได้รับความสุขหลังเกษียณได้เป็นอย่างดี ขอให้ท่านที่สนใจการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ มาเติมเต็มเพื่อเพิ่มความมั่นใจในเกษียณสุขสันต์ อย่างมั่นคงด้วยประกันบำนาญกันนะคะ บทความโดย “บุณยนุช ยุทธ์ประทุม” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1202175

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ทำการลงทุนให้เป็นธรรมชาติ

30/04/2024

จะมีการลงทุนบางแบบและบางหุ้น  ที่มีความเสี่ยงสูง พิเศษแบบใส่ไข่ เพิ่มเส้น  ที่เราสามารถเรียกได้ว่า "ลุกช้าจ่ายรอบวง" คือราคาดี(มาก)อยู่ช่วงนึง ขาขึ้น Higher High ราคาสูงขึ้นๆ อาจกินเวลาเป็นเดือน เป็นไตรมาส หรือเป็นปี หลายคนรู้ว่ามัน too good  หลายคนรู้ว่าวันนึงป้อมค่ายจักต้องแตกพ่าย ....แต่ก็ทำใจลงจากรถไม่ได้ เสียดายกำไร เพราะเมื่อเราพิจารณาเนื้อหาในพื้นฐานและเรื่องราวต่างๆอย่างละเอียด จะพบว่ามีข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผลมากมายเต็มไปหมด  ด้วยอายุและประสบการณ์เคยเจ็บ เคยโดนหลอกมาหลายครั้ง นักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐานที่มีปสก.ในตลาดนานจะขี้ระแวง  ถือคติ "รวยช้าไม่ว่า แต่เงินข้าห้ามหาย" . . ในอดีตเราจะเห็นแพทเทิร์นเดิมๆ เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก หุ้นขยันออกข่าว ราคาขึ้นสวนกับงบ หรือบางตัวงบดี แต่หน้างานเรางงใจว่าใครมาซื้อ ใครมาใช้ ย้อนแย้งสุดประมาณ เครื่องสำอางค์ ไฟแนนซ์ โรงไฟฟ้า อสังหาฯ ฯลฯ บางตัวหายไปจากตลาดแล้ว บางตัวไร้วอลุ่ม บางตัวราคานอนก้น คนถือแทบนอนวัด . . ผมคิดว่าถ้าเราไม่มั่นใจในหุ้นตัวไหน  เราเลือกเอาตัวอื่นๆก็ได้  ตลาดหุ้นไทยมีให้ตั้ง 800 กว่าตัว การเลือกหุ้นที่จะได้โฮมรันปีละ 100%up นี่ มันไม่ง่ายเลยนะ เหมือนจะตีโฮลอินวันนั่นแหละ แต่การเลือกหุ้นกระจาย 5-7 ตัว เอาให้รวมๆได้ปีละ 10-15% ต่อปี มันง่ายกว่ามาก เหมือนตีหลุมพาร์สามให้ใกล้หลุมระยะ 1-2 คันธง มันจะมีบางปี บางหลุม ที่เราเราตีดีมาก ได้เกิน 30% โดยความเสี่ยงเท่าๆเดิม หุ้นชุดเดิมๆ แต่มันลงไปเปิดแกปปีนั้นให้มากๆ มันเป็นไปได้ครับ ตีไปเรื่อยๆ ไม่ไปต้องเครียด ไม่ต้องท้าเดิมพันเพื่อนเล่นแบบหมดตัว ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้มาร์จิ้น บางหลุมเราตีดี บางหลุมเราตีไม่ดี ไม่ต้องดราม่า ตีกอล์ฟให้สนุก เอาเซฟๆ ชมนกชมไม้  ทำการลงทุนให้เป็นธรรมชาติ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับstock2morrow https://stock2morrow.com/article/5277

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X