คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ประกันสุขภาพ

3 เรื่องการเงิน ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด รู้ไว้เพื่อ “สุขภาพการเงินดี ชีวิตดี”

30/04/2024

บทความโดย "สิรภัทร เกาฏีระ"นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ในปัจจุบันความรู้ทางการเงิน มีความจำเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิต เนื่องจากเราทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงิน ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยเกษียณ ไม่ว่าจะเป็น การเก็บออมเงิน การซื้อประกัน การจ่ายภาษี หรือ การวางแผนเกษียณ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละคน จะมีความรู้และทัศนคติในเรื่องการเงินที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะใน 3 เรื่องการเงิน ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดเรื่องที่ 1 : จะออมทั้งที ต้องเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง ๆ ถึงจะดีในความเป็นจริง การออมเงินไม่จำเป็นต้องเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงเสมอไป โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์การเงินให้สอดคล้องกับ “เป้าหมายการออม” และ “ระยะเวลาการออม” ที่เหมาะสม เช่น– จะเก็บออมเงินระยะสั้น ควรใช้ผลิตภัณฑ์ออมเงินระยะสั้น เช่น เงินฝากธนาคาร หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ เพราะมีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง– จะเก็บออมเงินระยะยาว ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ออมเงินแบบระยะยาว เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น หรือ ประกันบำนาญ เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์การเงินชนิดอื่น ๆยกตัวอย่าง หากเรามีเป้าหมายเก็บออมระยะสั้น (1 ปี) แต่ไปเลือกใช้ผลิตภัณฑ์การเงินระยะยาว คือ กองทุนรวมหุ้น โดยคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี อาจจะทำให้เงินออมของเราขาดทุน และทำให้พลาดเป้าหมายการออมนี้ไปความเข้าใจที่ถูกต้องคือ การออมเงินไม่ควรมองเฉพาะเรื่องผลตอบแทนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ออมเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายและระยะเวลาการออมเรื่องที่ 2 : วางแผนเกษียณ เป็นเรื่องของคนแก่หนุ่มสาวที่อยู่ในช่วงเริ่มทำงานมักมองว่า เรื่องวางแผนเกษียณ เป็นเรื่องที่ไกลตัว ยังไม่จำเป็นต้องรีบวางแผนเก็บเงิน เพราะยังมีเวลาอีกเยอะ แต่ในความเป็นจริง คนทำงานทุกคนต้องมีวันที่เกษียณจากการทำงาน การเริ่มเก็บเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้สามารถวางแผนเก็บเงินได้เพียงพอ สำหรับค่าใช้จ่ายตลอดช่วงเกษียณอายุ ในทางกลับกัน หากเริ่มวางแผนเก็บเงินเกษียณช้า ก็จะทำให้มีโอกาสเก็บเงินไม่เพียงพอ ตลอดการใช้ชีวิตหลังเกษียณยกตัวอย่าง หากเราเริ่มวางแผนเก็บเงินเกษียณตอนอายุ 50 ปี ตั้งใจว่าจะเกษียณอายุจากการทำงานตอนอายุ 60 ปี ซึ่งวางแผนใช้ชีวิตช่วงหลังเกษียณอายุ 61-80ปี จะสังเกตว่ากรณีนี้เรามีระยะเวลาเก็บเงินเหลืออีกประมาณ 10 ปี เพื่อให้มีเงินพอใช้ต่อไปอีก 20 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และอาจจะเก็บเงินไม่พอสำหรับการใช้จ่ายช่วงหลังเกษียณความเข้าใจที่ถูกต้องคือ วางแผนเกษียณ เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ควรเริ่มวางแผนตั้งแต่ช่วงที่เริ่มทำงานเรื่องที่ 3 : การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ คือ การจ่ายเบี้ยทิ้งหลายคนมักมองว่าการซื้อประกันสุขภาพ เป็นการจ่ายเบี้ยทิ้ง ถ้าหากเราไม่ป่วยจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป แต่ในความเป็นจริง การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพคือ การซื้อคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตยกตัวอย่าง ในวันที่ใกล้เกษียณอายุจากการทำงาน หากว่าเราเก็บเงินก้อน เพื่อเกษียณได้ตามเป้าหมายสำเร็จแล้ว แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น คือ เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก และต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องถอนเงินก้อนที่เราเตรียมไว้ใช้สำหรับเกษียณ มาจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ทำให้เราแผนที่เราเตรียมเงินไว้ใช้ ช่วงหลังเกษียณอายุผิดพลาดไปความเข้าใจที่ถูกต้องคือ ประกันสุขภาพ คือการวางแผนความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เป็นการใช้ “เงินก้อนเล็ก เพื่อปกป้องเงินก้อนใหญ่”จะเห็นได้ว่า 3 เรื่องการเงินนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คนมักเข้าใจผิดกัน อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเงินอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เรามีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น ดั่งคำว่า “สุขภาพการเงินดี ชีวิตดี”แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1314818

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ลงทุนช่วงนี้ยาก แต่ก็ต้องผ่านมันไปให้ได้

30/04/2024

นักลงทุนแต่ละคน ก็คงมีเป้าหมายใหญ่ๆ  ในแง่ความมั่งมี ซึ่งอาจจะวัดจากขนาดของพอร์ตหุ้น กองทุน อสังหาฯ ที่ดิน พระเครื่อง ฯลฯ ที่เรียกรวมๆมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ เป้าหมายจะกี่ล้านก็ตามแต่ ... ที่แน่ๆใช้เวลานาน กว่าจะไปถึงต้องใช้เวลา 10 - 20 - 30 ปี ซึ่งระหว่างทางก็ต้องลงแรง ลงสมอง ลงใจ และใช้ความอึด อดทน พยายาม กล้าตัดสินใจร่วมกันไปด้วย ด้วยระยะเวลาสร้าง Wealth ที่ยาวนาน ก็จะเจอกับวิกฤตการณ์สารพัด แบบเล็กๆมาทุก 3 ปี แบบใหญ่ๆมาทุก 10 ปี ต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ ปิดถนน กีฬาสี น้ำมันโลก สงครามการค้า โควิด การเมือง ฯลฯ ความผันผวนมันมีมาตลอด ไม่หยุดหย่อน เราจึงต้องเรียนรู้ ที่จะหาความสุขในแต่ละวันไปด้วย  จั่วผิด ติดดอย ขายหมู คัทแล้วเด้งใส่หน้า ไม่คัทแล้วดิ่งShipหาย .... อะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของเกม ผิดไปแล้วก็ช่างมัน อย่าไปซึม  เชิดหน้าแล้วเดินหน้าต่อไป เป็นกำลังใจให้นักลงทุนที่รู้สึกว่าหุ้นช่วงนี้เล่นยากมากกก ตัดสินใจผิดซ้ำซาก คร่อมจังหวะไปหมด  ตอนนี้หุ้นถูกๆมีไม่น้อย ถ้ามั่นใจซื้อแล้ว ก็ลองขยาย time frame ระยะเวลาหวังผล จากรายวัน รายสัปดาห์ เป็นงบไตรมาส 3 ออกเจอกัน หรือ  สิ้นปีเจอกัน บางทีอาจจะให้ผลที่ดีกว่าก็ได้  หุ้นที่งบ Q3 จะดีกว่า Q2 แล้ว Q4 จะดีกว่า Q3  รายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม ปันผลเพิ่ม แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับstock2morrow https://stock2morrow.com/article/5462

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสังคม

อัพเดตสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ประจำปี 2566 ใช้อะไรฟรีบ้าง

30/04/2024

อัพเดตสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ประจำปี 2566 สิทธิประกันสังคมเป็นหนึ่งในสวัสดิการของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลผู้มีรายได้ คล้ายกับการทำประกัน โดยผู้เอาประกันถูกเรียกว่าผู้ประกันตน จะต้องจ่ายเบี้ยประกันซึ่งในที่นี้เรียกว่าเงินสมทบ ให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือน และจะได้รับความคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ แล้วแต่มาตราประเภทผู้ประกันตน ม.33-39-40ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างอายุ 15-60 ปี หรือผู้ที่เกิน 60 ปีแต่นายจ้างยังคงจ้างต่อ และเป็นผู้ที่ทำงานประจำหรือไม่ได้ทำงานประจำก็ได้ เช่น ฟรีแลนซ์ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฯลฯ ด้วยช่วงอายุที่กว้าง ความแตกต่างและความต้องการที่หลากหลายของผู้ประกันตน ประกันสังคมจึงมีแผนรองรับหลายแบบ ทั้งคนทำงานที่อยู่ในระบบและไม่อยู่ในระบบ แบ่งออกเป็น 3 มาตรา ดังนี้ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จ่ายเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีคลอดบุตร– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิต– กรณีสงเคราะห์บุตร– กรณีชราภาพ– กรณีว่างงานมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม จ่ายเงินสมทบ 432 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีคลอดบุตร– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิต– กรณีสงเคราะห์บุตร– กรณีชราภาพมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถเลือกสมัครได้ 3 ทางเลือก ดังนี้ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 3 กรณี– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิตทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิต– กรณีชราภาพทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 5 กรณี– กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย– กรณีทุพพลภาพ– กรณีเสียชีวิต– กรณีชราภาพ– กรณีสงเคราะห์บุตร11 สิทธิประโยชน์ที่หลายคนไม่รู้1. สิทธิประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฟรีผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39 และ 40) รักษาพยาบาลฟรีตามโรงพยาบาลที่เลือกไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากอาการเจ็ป-ป่วยฉุกเฉินและจำเป็นจ้องไปรักษาที่โรงพยาบาลนอกเหนือจากที่เลือกไว้ ต้องสำรองจ่ายก่อน และทำเบิกทีหลังกรณีรักษาโรงพยาบาลรัฐบาล ที่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่เลือกไว้ ผู้ป่วยในเบิกได้ตามที่จ่ายจริง แต่สำหรับค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาทกรณีรักษาโรงพยาบาลเอกชน ต้องสำรองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมง รวมทั้งเบิกค่ารักษาได้ตามที่จ่ายจริง แต่จำกัดวงเงินต่างกันไปตามการรักษา ที่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่เลือกไว้ เบิกค่าห้องและค่าอาหารได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท (ICU 4,500)นอกจากนี้หากแพทย์ให้หยุดงานเพื่อรักษาตัว ยังได้รับเงินชดเชย จากการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วันโรคที่ไม่มีสิทธิใช้ประกันสังคม ได้แก่    •  โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด    •  การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไต ด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนด    •  การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์    •  การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง    •  การรักษาภาวะมีบุตรยาก    •  การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ    •  การตรวจใด ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น    •  การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ    •  การเปลี่ยนเพศ    •  การผสมเทียม    •  การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น    •  แว่นตาทั้งนี้ ประกันสังคมได้เพิ่มสิทธิการเข้าถึงสิทธิการรักษา 5 โรค โดยผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับบริการ เฉพาะโรงพยาบาลที่กำหนดเท่านั้น คือ1. โรคมะเร็งเต้านม2. ก้อนเนื้อที่มดลูก3. โรคนิ่วในไต หรือถุงน้ำดี4. โรคหลอดเลือดสมอง5. โรคหัวใจและหลอดเลือด2. สิทธิทันตกรรมฟรีสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันรักษาสามารถใช้สิทธิด้านทันตกรรมข้างล่างนี้รวมกันไม่เกิน 900 บาท/ปี    •  รักษาโรคฟัน    •  ขูดหินปูน    •  ถอนฟัน    •  อุดฟัน    •  ใส่ฟันเทียมหรือฟันปลอม (สูงสุดไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม3. ตรวจสุขภาพฟรีสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 รับสิทธิตรวจสุขภาพฟรี 14 รายการต่อปี จากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจร่างกายตามระบบ    •  การคัดกรองการได้ยิน FInger Rub Test อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี    •  การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ อายุ 40-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง, อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี    •  การตรวจสายตาด้วย Snellen Eye Chart อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปีตรวจทางห้องปฏิบัติการ-เลือด    •  ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC อายุ 18-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง และอายุ 55-70 ปี ตรวจ 1 ครั้งต่อปี    •  น้ำตาลในเลือด FBS อายุ 35-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี และอายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจ 1 ครั้งต่อปี    •  ไขมันในเส้นเลือดชนิด Total Cholesterol & HDL อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ปี    •  การทำงานของไต Cr อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปีตรวจทางห้องปฏิบัติการ-ปัสสาวะ    •  ปัสสาวะ UA อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปีการตรวจอื่น ๆ    •  เชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg สำหรับผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ. 2535 ตรวจ 1 ครั้ง    •  เลือดในอุจจาระ FOBT อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี    •  Chest X-ray อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งเพศหญิงตรวจเพิ่มฟรี 2 รายการ    •  มะเร็งเต้านม อายุ 30-39 ปี ตรวจทุก 3 ปี, อายุ 40-54 ปี ตรวจทุกปี, อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง    •  ปากมดลูกตรวจมะเร็งปากมดลูก มี 2 วิธีดังนี้ 1. Pap Smear ตรวจเซลล์บริเวณปากมดลูกมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติหรือไม่ อายุ 35-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี และอายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง 2. VIA ตรวจการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูกที่รู้ผลรวดเร็ว อายุ 35-54 ปี ตรวจทุก 5 ปี และอายุ 55 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจ Pap Smear4. ฉีดวัคซีนฟรีวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรช่วงอายุที่มีความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรง สำนักงานประกันสังคมได้จัดให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้ประกันตน กำหนดปีละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ซึ่งในปี 2566 จะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม-31 สิงหาคม 2566วัคซีนรักษาไวรัสพิษสุนัขบ้าสิทธิประกันสังคมให้ความคุ้มครองสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนรักษาหลังจากได้รับไวรัสพิษสุนัขบ้าโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (แต่หากเป็นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค จะไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้)เข็มแรก : กรณีฉุกเฉิน (หลังสัมผัสโรค) หากไม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมอยู่ได้ ก็สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสถานพยาบาลอื่น ๆ ได้โดยให้ผู้ประกันตนสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินพร้อมกับใบรับรองแพทย์ไปยื่นเรื่องเบิกเงินคืนจากสำนักงานประกันสังคม ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาทเข็มต่อไป : เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากผู้ประกันตนไม่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองและเบิกไม่ได้5. ค่าคลอดบุตรสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร จะได้รับเงินสมทบค่าทำคลอดบุตรให้ครั้งละ 15,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งรวมทั้งได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ในช่วงระหว่างลาคลอด โดยไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี (สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงาน) ทั้งนี้ต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงิน)6. สงเคราะห์บุตรสำหรับผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39 และ 40) ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน จะได้รับเงินสมทบสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน แต่ต้องไม่เกินครั้งละ 3 คน โดยจะหมดสิทธิรับเงินนี้เมื่อบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ต้องเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น)7. ทุพพลภาพสำหรับผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39 และ 40) กรณีทุพพลภาพร้ายแรงจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต รวมทั้งได้รับสิทธิจ่ายตามจริงเมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ หากรักษาที่เอกชน กองทุนจะจ่ายให้เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท สำหรับผู้ป่วยนอก ส่วนผู้ป่วยในได้เดือนละไม่เกิน 4,000 บาท ทั้งนี้เมื่อชราภาพแล้วผู้ทุพพลภาพยังคงได้รับสิทธิบำเหน็จเหมือนคนทั่วไป8. เงินชราภาพสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 (มาตรา 40 เฉพาะแผน 2 และ 3)เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เลือกรับเงินสมทบชราภาพได้ 2 รูปแบบบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต กรณีจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครบ 180 เดือน/15 ปี ได้ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากผู้ประกันตนจ่ายสมทบมากกว่า 180 เดือน/15 ปี จะได้ค่าสมทบรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือนบำเหน็จชราภาพ รับเงินก้อนครั้งเดียว กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน เงินบำเหน็จจะจ่ายตามจริงตรงกับจำนวนเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเท่านั้น ส่วนผู้ที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป บำเหน็จจะได้ทั้งในส่วนเงินของตัวเองและที่นายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมผลตอบแทนอื่น ๆ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด9. ค่าทำศพสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 หากเสียชีวิตผู้ประกันตนจะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท บวกกับเงินสมทบ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36-120 เดือน ส่วนผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 120 เดือน จะได้รับเงินสมทบ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือนสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 เฉพาะแผน 1 และ 2 จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท พร้อมรับเงินเพิ่มอีก 8,000 บาท กรณีจ่ายสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต สำหรับแผน 3 จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท10. เงินว่างงานสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน, มีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป และต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อตกงานทั้งเกิดจากการถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะได้รับเงินชดเชย ดังนี้    •  ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 180 วัน คำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท)    •  ในกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน ได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 90 วันคำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท)11.ลดหย่อนภาษีเงินได้เงินที่จ่ายสบทบเข้ากองทุนประกันสังคม สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีได้ตามการจ่ายจริง เช่น หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทครบ 12 เดือน จะขอลดหย่อนภาษีได้ 9,000 บาทแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/csr-hr/news-1313134

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

จะวางแผนมรดกเริ่มต้นอย่างไรดี เพื่อปกป้องทรัพย์สินเมื่อใครต้องจากไป

30/04/2024

บทความโดย "ณัฐลักษณ์ กาญจนวิโรจน์"  นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย หลายคนเมื่อพูดถึงการวางแผนมรดกจะจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่แน่ใจว่าอะไรคือการวางแผนมรดก เราจำเป็นต้องวางแผนหรือไม่ และต้องวางแผนในส่วนไหนบ้าง เลยอยากจะชวนเริ่มต้นโดยการลองคิดก่อนว่าหากเราตายไปโดยไม่มีการวางแผนมรดกอะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าในส่วนไหนที่เราสามารถเตรียมไว้ก่อนได้ และจะเป็นประโยชน์กว่าปล่อยให้คนอื่นมาทำแทนเรา สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อใครคนหนึ่งจากไปและไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า 1. บุคคลที่จากไปจะกลายเป็นเจ้ามรดก 2. ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดก 3. ผู้จัดการมรดกจะทำหน้าที่รวบรวมสินทรัพย์และชำระหนี้สินทั้งหมดของผู้ตาย เพื่อนำส่วนที่เหลือไปแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม 4. ทายาทที่ได้รับมรดกเกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีมรดกตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จากกระบวนการข้างบนนี้ เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เราต้องเตรียมและวางแผนทั้งหมดจะมีดังนี้ 1. รวบรวมสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดที่เป็นของเรา 2. จัดทำพินัยกรรม กำหนดผู้รับพินัยกรรม 3. กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดก 4. วางแผนเรื่องภาษีมรดก ในบางครอบครัวที่ไม่ซับซ้อนมีเพียงพ่อแม่ลูก ทรัพย์สินก็ไม่เยอะ ญาตพี่น้องก็ไม่ค่อยมี อาจจะมองว่าไม่จำเป็นต้องวางแผนมรดก เพราะถ้าพ่อหรือแม่ตายก็ให้คนที่เหลือในครอบครัวเป็นผู้จัดการมรดก และทรัพย์สินหนี้สินก็ไม่ได้เยอะจนต้องรวบรวมอะไรมาก นอกไปจากนั้นการปล่อยให้ผู้รับมรดกเป็นทายาทโดยธรรมไปเลยก็ไม่ได้ติดขัดแต่อย่างใด ภาษีมรดกก็คงไม่มีใครต้องเสีย แต่ในความเป็นจริง เราก็ไม่อาจทราบได้ว่าใครจะตายก่อนใคร ลำดับการตายก่อนหลังแน่นอนว่าย่อมมีผลต่อการจัดลำดับของทายาทโดยธรรม ดังนั้นจะดีจริง ๆ หรือที่เราจะปล่อยให้กฎหมายมาเป็นคนกำหนดว่าใครจะเป็นผู้รับมรดก สู้เรากำหนดผู้รับมรดกเอง รวบรวมทรัพย์สินหนี้สินของตัวเราเองไว้ กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของเราไว้ล่วงหน้าก็จะทำให้กระบวนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และการจัดแบ่งกองมรดกเป็นไปอย่างราบรื่นและตรงวัตถุประสงค์ของเราที่สุด แนวทางการวางแผนมรดกแบบเป็นขั้นตอน 1. จัดทำบัญชีทรัพย์สินทั้งหมดที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สิน รวมถึงระบุด้วยว่าปัจจุบันอยู่ในชื่อของใคร ได้มาก่อนแต่งหรือหลังแต่ง ถือเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว เพื่อที่จะได้นำมาคำนวณได้ถูกว่าในส่วนที่เป็นของเราจริง ๆ นั้นมีมูลค่ารวมอยู่ที่เท่าไหร่ 2. เลือกแบบของพินัยกรรมที่ต้องการจะทำ โดยพินัยกรรมมีทั้งหมด 5 แบบดังนี้     •  แบบเขียนเองทั้งฉบับ     • แบบธรรมดา     • แบบเอกสารฝ่ายเมือง     • แบบเอกสารลับ     • แบบด้วยวาจา ซึ่งแบบที่ได้รับความนิยมจะเป็นแบบเขียนเองทั้งฉบับและแบบธรรมดา เพราะสะดวกและไม่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น แต่อย่างไรก็ดี การเขียนพินัยกรรมเอง ผู้เขียนจำเป็นต้องศึกษาวิธีการเขียนในแต่ละแบบให้ถูกต้อง เช่น แบบเขียนเองทั้งฉบับต้องเขียนด้วยลายมือ ห้ามพิมพ์ หรือแบบธรรมดาต้องมีพยานที่ไม่มีส่วนได้เสียอย่างน้อย 2 คน หากพินัยกรรมฉบับใดไม่ทำให้ถูกต้องตามแบบ พินัยกรรมฉบับนั้นจะตกเป็นโมฆะและทำให้ไม่สามารถใช้บังคับตามกฎหมายได้ 3. กำหนดผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดก ระบุผู้รับพินัยกรรมในแต่ละทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เหลือจากการชำระหนี้แล้ว 4. คำนวณภาษีมรดกที่ผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนจะได้รับ โดยตามกฎหมายภาษีมรดก ผู้ที่ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิเกิน 100 ล้านบาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก โดยในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีตามเงื่อนไขที่สรรพากรวางไว้ อย่างไรก็ดี หากเรามีความรู้เกี่ยวกับมรดกที่ต้องเสียภาษี เราอาจจะวางแผนการเสียภาษีมรดกไว้ล่วงหน้าได้ โดยอาจจะ     • จัดสรรเงินสดเพื่อเตรียมจ่ายภาษีให้กับทายาทที่ต้องเสียภาษีมรดก     • เลือกเก็บสินทรัพย์ในรูปแบบที่ไม่ต้องเสียภาษีมรดก อาทิ ประกันชีวิต เครื่องประดับ ทองคำ จะเห็นได้ว่าหากมีความเข้าใจในกระบวนการที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่คนคนหนึ่งได้จากไปแล้ว การวางแผนมรดกก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป และก็ทำให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการที่มีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่จากไป รวมถึงลดภาระให้กับผู้รับมรดกและช่วยปกป้องมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะหายไปจากภาษีมรดกอีกด้วย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1307905

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

ข้อแตกต่าง “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย” และ “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์”

30/04/2024

ธปท.เปิดข้อแตกต่าง “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย” และ “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์” แนะผู้บริโภคศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจวันที่ 3 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อธิบายความแตกต่างระหว่าง “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย” และ “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์”ทั้งนี้ ถึงจะมีคำว่า “ทรัพย์” เหมือนกันแต่มีข้อดีต่างกันอย่าให้คำว่า “ทรัพย์” ทำให้สับสนควรศึกษาเงื่อนไขผลิตภัณฑ์การเงินทั้ง 2 ประเภทให้ดีก่อนตัดสินใจ– ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ความคุ้มครอง : มีความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต (ผู้รับผลประโยชน์ได้รับเงิน)สภาพคล่อง : มีเงื่อนไข ถ้ายกเลิกกรมธรรม์ก่อนกำหนดจะได้รับเงินน้อยกว่าที่จ่ายไปแล้วผลตอบแทน : เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ หากผู้เอาประกันภัยไม่ยกเลิกกรมธรรณ์ก่อนกำหนด จะได้รับเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยส่วนใหญ่จะได้รับอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 2% ต่อปี– บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ความคุ้มครอง : ไม่มีความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตสภาพคล่อง : ฝาก-ถอนเงินได้ตลอดผลตอบแทน : อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 0.1-2% ต่อปีแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1311365

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

หุ้นกู้ : ทำอย่างไรถ้าซื้อไว้แล้ว ผิดนัดชำระหนี้ ?

30/04/2024

สำนักงาน ก.ล.ต.เผย จะทำอย่างไรถ้า “หุ้นกู้” ซื้อไว้ ผิดนัดชำระหนี้ วันที่ 2 มิถุนายน 2566 นายทยากร จิตรกุลเดชา ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารหนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า หนึ่งในความเสี่ยงสำคัญของการลงทุนหุ้นกู้ คือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยได้ตามกำหนด รวมทั้งกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้จากการถูกเรียกให้ชำระหนี้โดยพลัน (call default) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้ ผู้ถือหุ้นกู้จะมี “ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้” เป็นเหมือนตัวแทนของผู้ถือหุ้นกู้ในแต่ละรุ่นมีหน้าที่เรียกร้องให้ชำระหนี้ บังคับหลักประกัน และเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลต่าง ๆ กับผู้ลงทุนด้วย โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อาจจำเป็นจะต้องมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อขออนุมัติในการดำเนินการต่าง ๆเช่น ขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ หรือบังคับหลักประกัน ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกู้ควรติดตามข่าวสารจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และต้องใช้สิทธิเข้าร่วมประชุมเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองด้วย รวมถึงควรศึกษาเอกสารการประชุมอย่างละเอียด และเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองเพื่อซักถามผู้ออกหุ้นกู้ และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบก่อนการตัดสินใจลงมติเสมอ เพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเองอย่างดีที่สุด 1. จะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นกู้รุ่นไหน ใครเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้สามารถดูข้อมูลของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จากสรุปข้อมูลสำคัญของตราสาร (factsheet) ในส่วนลักษณะตราสาร หรือหน้าปกแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (filing) ทั้งนี้ ผู้ลงทุนค้นหา factsheet และ filing ของหุ้นกู้รุ่นที่ลงทุน ได้จากทางแอปพลิเคชั่น SEC Bond Check หรือเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. http://https//market.sec.or.th/public/idisc/th/Product/Filing 2. เมื่อต้องมีการบังคับชำระหนี้ ผู้ลงทุนควรต้องเตรียมการอย่างไร เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้มีมติ หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ใช้ดุลพินิจตัดสินใจที่จะดำเนินการบังคับชำระหนี้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะเป็นบุคคลที่ช่วยดำเนินการในการฟ้องร้องบังคับหลักประกัน (กรณีหุ้นกู้มีประกัน) หรือบังคับชำระหนี้ให้แทนผู้ถือหุ้นกู้ทุกราย และจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ออกหุ้นกู้ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ โดยชื่อของผู้ถือหุ้นกู้ทุกรายจะปรากฏในทะเบียนรายชื่อล่าสุด และผู้ถือหุ้นกู้ควรจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการถือครองหุ้นกู้ไว้ให้พร้อม หากมีความจำเป็นจะต้องมีการยืนยันสถานะการเป็นผู้ถือหุ้นกู้ 3. หุ้นกู้มีประกันและหุ้นกู้ไม่มีประกันจะมีการดำเนินการที่แตกต่างกันไปหรือไม่ หากเป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่มีหลักประกันจะมีสิทธิเรียกร้องในการได้รับชำระหนี้จากสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกัน โดยจะมีกระบวนการบังคับหลักประกัน เช่น การขายทอดตลาด และสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ที่ไม่มีประกัน โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นกู้ในกลุ่มนี้จะมีสิทธิเทียบเท่าเจ้าหนี้ทั่วไปของบริษัท ซึ่งจะมีกระบวนการในการฟ้องบังคับชำระหนี้ ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้กลุ่มนี้จะมีสิทธิเรียกร้องในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ปลอดภาระของบริษัท โดยต้องแบ่งสินทรัพย์กับเจ้าหนี้รายอื่นตามสิทธิและสัดส่วนของหนี้ ทั้งนี้ ในด้านการดำเนินการบังคับหลักประกันหรือบังคับชำระหนี้ของผู้ถือหุ้นกู้ ไม่ว่าหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ทั่วไป ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะเป็นผู้ดำเนินการให้กับผู้ถือหุ้นกู้ 4. ผู้ถือหุ้นกู้แต่ละประเภทจะได้รับชำระหนี้ในลำดับไหน ผู้ลงทุนในหุ้นกู้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัท มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญที่มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นอันดับสุดท้าย สำหรับผู้ถือหุ้นกู้มีประกัน จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ และหุ้นกู้ไม่มีประกัน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบลำดับการชำระหนี้ของหุ้นกู้รุ่นที่ตนถือครองได้จากสรุปข้อมูลสำคัญของตราสาร (factsheet) ของหุ้นกู้รุ่นนั้น ๆ 5. ผู้ลงทุนจะติดตามความคืบหน้าการบังคับหลักประกันหรือบังคับชำระหนี้ได้อย่างไร ผู้ถือหุ้นกู้สามารถติดตามความคืบหน้าของผลการบังคับชำระหนี้จาก “ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้” ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลต่าง ๆ กับผู้ลงทุน แม้ว่าการลงทุนหุ้นกู้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นทุน และนอกจากมีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้แล้ว ยังมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความเสี่ยงด้านราคาอีกด้วย ก.ล.ต.จึงขอให้ผู้ลงทุนหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลเพื่อพิจารณาทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและผลตอบแทน และจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่สามารถรับได้ หมายเหตุ : ข้อคิดเห็นที่ปรากฏเป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสำนักงาน ก.ล.ต. แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์http://https//www.prachachat.net/finance/news-1310364

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพกับมนุษย์เงินเดือน ไขข้อข้องใจทำไมต้องซื้อ?

30/04/2024

บทความโดย "ดร.กลางใจ แสงวิจิตร" ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทยคุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า ถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน แล้วคุณจะซื้อประกันสุขภาพไปทำไม การเป็นมนุษย์เงินเดือนทำให้คุณมีรายได้เป็นประจำทุกเดือน และคุณก็ยังมีประกันสังคมที่คุ้มครองคุณเมื่อคุณเจ็บป่วย อีกทั้งหลายบริษัทยังช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมให้คุณอีกหรือหากคุณรับข้าราชการ คุณจะมีสวัสดิการการรักษาพยาบาลจากกรมบัญชีกลางให้ความคุ้มครองคุณอยู่แล้ว ทำไมคุณจะต้องมานั่งจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันสุขภาพแสนแพงทุกปี ๆ ด้วย ทั้ง ๆ ที่สุขภาพก็แข็งแรงถ้าคุณถามตัวเองแบบนี้อยู่ในใจละก็ บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้คุณได้ ประกันสุขภาพมีความสำคัญกับมนุษย์เงินเดือนอย่างคุณอย่างไร1. คุณเคยคิดหรือไม่ว่า สวัสดิการของคุณมีการกำหนดวงเงินคงที่ ในขณะที่ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยเฉลี่ยของโรคมะเร็ง คือ 300,000-2,000,000 บาท โรคทางสมอง 100,000-800,000 บาท โรคหัวใจ 200,000-700,000 บาท เป็นต้น2. หากคุณอยู่ในองค์กรของรัฐ คุณจะมีสวัสดิการรักษาพยาบาลตลอดชีวิตของคุณ และญาติสายตรงของคุณ (คู่สมรส บิดา มารดา บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ก็จะได้รับความคุ้มครองตามอายุของคุณด้วย แต่ถ้าคุณทำงานในหน่วยงานเอกชนแล้ว สวัสดิการต่าง ๆ จะสิ้นสุดลงพร้อมกับสภาพการเป็นพนักงานของคุณ ซึ่งหมายถึงเมื่อเกษียณอายุหรือลาออกจากงาน3. สุขภาพคนเราเสื่อมลงตามวัย ไม่ว่าจะเป็นเพราะโรคที่เกิดขึ้นตามกรรมพันธุ์ หรือความเจ็บป่วยเพราะปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภค ความเครียด การออกกำลังกาย เป็นต้น4. การทำประกันสุขภาพ คือหนึ่งในวิธีที่ช่วยปกป้องความมั่งคั่ง หรือ wealth protection เนื่องจากเรื่องไม่คาดฝันเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน แต่หากคุณมีปัญหาสุขภาพแล้วประกันสุขภาพจะช่วยโอนความเสี่ยงโดยการชำระค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินจากสวัสดิการของคุณ ซึ่งจะทำให้คุณไม่ต้องจ่ายเงินโดยที่คุณไม่ได้วางแผนไว้เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้ คุณอาจจะกำลังคิดว่าไว้เกษียณค่อยซื้อประกันสุขภาพก็ได้ เป็นจริงอย่างที่คุณคิด ตอนนี้คุณยังมีสวัสดิการต่าง ๆ คุ้มครองอยู่ รอไว้เกษียณเมื่อมีอายุ 60 ปีก็ยังซื้อทัน แต่คุณต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงโรคภัยที่คุณอาจจะมีก่อนที่คุณมีอายุ 60 ปีด้วยเพราะถ้าคุณซื้อประกันตอนนี้มีโรคบางอย่างมาแล้ว ประกันสุขภาพที่คุณซื้อ นอกจากจะมีเบี้ยประกันภัยสูงตามอายุของคุณแล้ว ความคุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนและความเจ็บป่วยเกี่ยวเนื่อง ก็จะถูกยกเว้นไปด้วย นั่นหมายถึงประกันจะไม่คุ้มครองนั่นเอง เช่น หากวันนี้นางสาวกอไก่มีอายุ 35 ปี มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีประกันสุขภาพ อยู่มาวันหนึ่งเธอตรวจพบถุงน้ำในรังไข่และได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดด้วยสวัสดิการที่เธอมีอยู่ปัจจุบัน หมายความว่าเธอต้องรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง (กรณีนัดผ่าตัดล่วงหน้า) หรือโรงพยาบาลที่เธอมีสิทธิในการประกันตนอยู่หากเธอใช้สิทธิประกันสังคม เธอจะมีค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ในขณะเดียวกัน หากเธอเป็นข้าราชการ เธอจะมีสิทธิเบิกค่าห้องพิเศษได้วันละ 1,000 บาท แต่ค่าห้องพิเศษในปัจจุบันมีราคาเริ่มต้นประมาณ 1,500 บาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เธออาศัยอยู่ และขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่เธอเลือกเข้าไปรักษา ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่รวมถึงค่าหัตถการ ค่ายา ค่าอุปกรณ์ ค่าหมอ และอื่น ๆ ที่จำเป็น ท้ายที่สุดแล้วเธออาจจะต้องชำระเงินส่วนเกินบางส่วนก็ได้อย่างไรก็ตาม เมื่อเธอมีประวัติการเข้ารักษาพยาบาลแล้ว เธอตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพหลังจากเกษียณอายุ บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองเธอ อย่างมีเงื่อนไข ในกรณีตัวอย่างนี้ นางสาวกอไก่จะมีประกันสุขภาพที่มีเงื่อนไขว่าไม่ความคุ้มครองอาการและภาวะแทรกซ้อนจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ทันทีจากตัวอย่างนี้ยังไม่รวมถึงโรคที่อาจจะเป็นก่อนเกษียณอายุของนางสาวกอไก่ เมื่อเธอมีอายุเพิ่มขึ้น อันได้แก่ ความดันโลหิต ไขมันในเลือด โรคไต เป็นต้น นอกจากนี้ หากนางสาวกอไก่ซื้อประกันสุขภาพในวันนี้ตอนที่เธอมีอายุ 35 ปี จะทำให้เบี้ยประกันที่เธอต้องจ่ายอาจจะเริ่มต้นเพียงหมื่นต้น ๆ แต่หากเธอตั้งใจซื้อประกันสุขภาพเมื่อเกษียณอายุนั้น เธออาจจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเริ่มต้นที่หลักแสนบาทเลยก็เป็นได้จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการรอซื้อประกันสุขภาพเมื่อเกษียณอายุจะทำให้คุณเสียประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อยกเว้นความคุ้มครองของโรคที่เป็นมาก่อนหน้า เบี้ยประกันเริ่มต้นที่สูงขึ้น รวมถึงสิทธิการลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพที่มีสิทธิลดหย่อนถึง 25,000 บาทต่อปีอีกด้วยการเลือกซื้อประกันสุขภาพสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีสวัสดิการด้านสุขภาพอยู่แล้ว ควรเริ่มจากการพิจารณาโอกาสที่จะเกิดโรคที่มีทางพันธุกรรมของตัวคุณเอง ต่อจากนั้นคือการตรวจสอบงบประมาณที่คุณมีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันได้ต่อปี แล้วนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณารูปแบบความคุ้มครองเบื้องต้นได้ 2 รูปแบบ ได้แก่1. ประกันแบบเหมาจ่ายตามจริง คือประกันที่เราสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามค่ารักษาพยาบาลจริง โดยมีการกำหนดวงเงินความคุ้มครองต่อปีไว้ และ 2. ประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา คือประกันที่บริษัทประกันระบุรายการค่ารักษาพยาบาลและกำหนดวงเงินคุ้มครองสูงสุดไว้เป็นหมวดหมู่ทั้งนี้ คุณอาจจะแล้วมองหาประกันที่มีค่าใช้จ่ายที่คุณต้องรับผิดชอบส่วนแรก (deduct) โดยสามารถตัดความรับผิดชอบส่วนแรกของการรักษาพยาบาลแต่ละครั้งกับสวัสดิการที่คุณมีในปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีประกันสุขภาพที่คุณสามารถเลือกปรับความคุ้มครองได้ตามสวัสดิการที่คุณมีให้เลือกมากมาย เช่น เลือกแบบต้องรับผิดชอบส่วนแรกในปัจจุบันเมื่อยังมีสวัสดิการอยู่ แล้วเปลี่ยนเป็นแบบไม่ต้องรับผิดชอบส่วนแรกเมื่อคุณเกษียณอายุก็ได้ การเลือกประกันสุขภาพที่มี deduct นั้น จะทำให้คุณประหยัดเบี้ยประกันภัยต่อปีได้นั่นเองแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1303486

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ความเสี่ยงสูญเสียเงินเก็บสะสมทั้งชีวิต...กับหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง

30/04/2024

ทุกๆปีจะมีช่วงเวลา ที่ผมจะได้ยินข่าวว่า “มีคนหมดเงินเก็บสะสมทั้งชีวิต ไปกับ … ” อย่างปีล่าสุด 2565 อาจจะเป็นคริปโตสินทรัพย์ดิจิตอลสารพัดเหรียญ อาจจะเป็นหุ้นเทคโนโลยีบางตัว อาจจะเป็นหุ้นจีนบางตัว หรือ อาจจะป็นหุ้นแบงค์ในต่างประเทศบางตัว ที่ราคาลดลงอย่างน่ากลัวช่วงที่ผ่านมา กรณีตลาดหุ้นไทย ก็ใช่ว่าจะไม่มี ในปี 2566 ที่เพิ่งผ่านมา 4 เดือนนี้ ก็มีหุ้นไทยพิมพ์นิยม (เคยเป็นที่นิยมเล่นกันมาก) ราคาปรับตัวลงอย่างน่ากลัวเช่นกัน ตัวอย่างขอเป็นชื่อย่อนะครับ เช่น หุ้น J1 -52%, หุ้น J2 -41% , หุ้น S1 -50%, หุ้น S2 -47%, หุ้น B -32% ฯลฯ นี่คือการปรับลดลงในรอบ 4 เดือน ในช่วงเวลาเดียวกัน SET ปรับตัวลดลง -7% ปัญหาใหญ่ประการหนึ่งในการลงทุนหุ้น ที่ทำให้คนๆหนึ่งสามารถหมดเงินเก็บสะสมทั้งชีวิต คือ การยึดติดกับตัวหุ้นและราคาเป้าหมายมากเกินไป ว่าหุ้นตัวที่ฉันถืออยู่นี้ ต้องไปที่ราคาเป้าหมายเท่านั้นเท่านี้แน่ๆ ซึ่งราคาเป้าหมายนี้บางครั้ง ก็มาจากวงใน มาจากเพื่อน มาจากแหล่งหุ้นเด็ด ที่สุดท้ายเด็ดวิญญาณได้ทั้งสิ้น อันนี้ต้องระวัง อีกปัญหาหนึ่ง ที่ทำให้ถลำลึกเข้าสู่ปัญหาได้อีก คือการซื้อถัวเฉลี่ยขาลง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะยึดติดว่าหุ้นตัวนี้ดี แถมราคาลงมาแล้วเยอะมาก เช่น -50% ภายในปีเดียว  ก็ขอย้ำอีกครั้งว่า ***หุ้นที่ลงมาแล้ว -50% “…ไม่ใช่หุ้นที่ลงทุนได้ทุกตัว*** เราจะท่องคาถา "จงกล้า เวลาคนอื่นกลัว" แบบซี้ซั้ว ไม่ได้ !!! สมมติว่ามีหุ้นบางตัว งบการเงินปี 65 ไม่ส่ง ผู้บริหารลาออก เปลี่ยนตัวกรรมการเกือบยกชุด แม้ว่างบการเงินที่ผ่านมาจะดูดีแค่ไหน แต่เราไม่มีความจำเป็นต้องไปดูงบการเงินย้อนหลังให้เสียเวลาแล้ว เพราะถ้าผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงิน ไม่ส่งงบการเงินปีล่าสุด เราก็ไม่ต้องอ่านย้อนหลังเลยครับ ในเมื่อหุ้นดีๆ แถมยังถูก ในตลาดหุ้นไทยยังมีเยอะ เราควรจัดสรรพลังงานและเวลาไปที่กลุ่มหุ้นเหล่านั้นดีกว่า ตัวอย่างในอดีต การถัวหุ้นขาลง ที่สุดท้ายราคาแทบกลายเป็นฝุ่น มีเยอะ หุ้นแบบนี้ ยิ่งถัว ยิ่งเข้าสู่หลุมดำ - หุ้นลิสซิ่งที่งบดีมาก รายได้จากต่างประเทศดีเกินจริง ถูกสงสัยว่าไม่จริง - หุ้นเครื่องสำอางค์เน้นขยายสาขา งบสวยดี แต่หน้างานลูกค้าอยู่ไหน แทบไม่เคยเห็น - หุ้นอสังหาฯเพิ่มทุนแบบถี่ๆทั้งPP และRO สุดท้ายมีหนี้มาจากไหนไม่รู้ หุ้นหมดค่า   หุ้นเหล่านี้ราคาปัจจุบันแทบไม่เหลือค่า บ้างก็ถูกห้ามซื้อขายไปแล้ว ไม่เคยมีตัวไหนกลับมาได้อีกเลย   เราเลือกหุ้นดี ที่ราคาโซนล่าง ยังไงก็ได้เปรียบกว่า เราเน้นดูพื้นฐาน และทำตามสเต็ปว่า 1. Money Making Machine เครื่องจักรพิมพ์เงินสดของกิจการนั้น คืออะไร มีคุณภาพดีแค่ไหน มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันแค่ไหน ผูกขาดหรือกินขาดหรือไม่ ลูกค้าภักดีแค่ไหน มีแนวโน้มขยายกิจการหรือไม่ ฯลฯ  2. Undervalue ราคาหุ้นต้องต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ถ้ายังสูงเกินมูลค่าที่แท้จริงอยู่ เราต้องไม่ซื้อ 3. Portfolio Diversification กระจายการลงทุนลงในหุ้น 7-10 ตัว โดยลงทุนในหุ้นคุณภาพสูงเท่านั้น เพราะการทำธุรกิจเป็นการดีลกับความไม่แน่นอน หุ้นก็เช่นกัน การกระจายไปสู่หุ้นคุณภาพสูงที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง 7-10 ตัว ต่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับหุ้น 1 ตัวที่ราคาลดลงครึ่งหนึ่ง ก็จะกระทบพอร์ตการลงทุนของเราไม่มาก ถ้าทำทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ผมมั่นใจว่า จะไม่เกิดเหตุการณ์สูญเสียเงินเก็บสะสมทั้งชีวิตกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ขอสรุปอีกครั้งว่า อย่ายึดติดกับตัวหุ้นและราคาเป้าหมายมากเกินไป และห้ามซื้อถัวเฉลี่ยขาลง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เด็ดขาดครับ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับstock2morrowhttps://stock2morrow.com/article/5453

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

แกะรอย 20 ปีเพดานหนี้สหรัฐฯ สู่บทเรียน ‘วินัยทางการเงินส่วนบุคคล’

30/04/2024

บทความโดยตราวุทธิ์ เหลือสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth ช่วงนี้ปัจจัย ‘การเมือง’ เข้ามารับบทเด่นและส่งผลต่อ Sentiment การลงทุนในบ้านเราเป็นอย่างมาก แม้เรายังลุ้นกับโฉมหน้ารัฐมนตรีใหม่ และนโยบายใหม่ๆ แต่ตลาดการลงทุนก็ตอบสนองกับหลายๆ นโยบายหาเสียงของว่าที่รัฐบาลใหม่กันไปพอสมควรแล้ว ขณะเดียวกัน ‘Policy Maker’ จากหลากหลายองค์กรในประเทศ ก็ออกมากำชับว่าที่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับ ‘วินัยทางการเงินการคลัง’ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้นโยบายอย่างเป็นทางการ ข้ามไปอีกฟากฝั่งของซีกโลก ประเด็น ‘เพดานหนี้สหรัฐฯ’​ ก็กลับมาร้อนระอุกันอีกครั้ง เมื่อกำหนดเส้นตายของการขยายเพดานหนี้งวดเข้ามาทุกวัน ในบางครั้ง หลายปัญหาทางการเงินไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับองค์กร ไปจนถึงระดับประเทศหรือระดับโลก ก็อาจสั่งสมมาทีละเล็กละน้อย บางอย่างเราอาจมองข้าม ละเลย หรือไม่ได้เคร่งครัดจัดการ รู้ตัวอีกทีปัญหาก็อาจมาจ่ออยู่ที่ปลายจมูกแล้ว ประวัติศาสตร์หนี้สหรัฐฯ วันนี้ตั้งใจจะมาชวนคุยเรื่องเบาๆ เกี่ยวกับการสร้าง ‘วินัยทางการเงินส่วนบุคคล’ แต่เริ่มเรื่องด้วยปัญหาหนักๆ อย่างเพดานหนี้สหรัฐฯ เพราะเชื่อว่าสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวินัยทางการเงินการคลังได้ดีทีเดียวเลยครับ ภายใต้กฎหมาย Public Debt Acts ของสหรัฐฯ ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2005 เปิดทางให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง สามารถกู้ยืมเพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายด้านต่างๆ ซึ่งช่องทางหลักในการกู้คือการออกพันธบัตรรัฐบาลนั่นเอง แต่กฎหมายก็ได้กำหนดเพดานหนี้ที่ภาครัฐสามารถก่อได้ เพื่อเป็นการควบคุมวินัยการคลัง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลสหรัฐฯ ในแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ได้ขอขยายเพดานหนี้มาโดยตลอด ดังนั้น ประเด็นเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่กลับมาร้อนแรงอีกครั้งในช่วงเดือนนี้ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และสามารถพูดได้เลยครับว่า เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์การคลังของประเทศมาอย่างยาวนาน แต่ระดับความกดดันหรือความเสี่ยงก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วง และดูเหมือนว่าในรอบนี้จะมีความกังวลมากเป็นพิเศษ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะอ่อนแอ แถมยังถูกซ้ำเติมด้วยความเปราะบางของภาคการเงินอีกด้วย ภาระหนี้สหรัฐฯ ซึ่งในที่นี้หมายถึงหนี้ภาครัฐหรือหนี้สาธารณะ เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในทศวรรษ 80 หลังประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ลดภาษีครั้งใหญ่ เมื่อไม่มีรายได้จากภาษีมากพอ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเสริมสภาพคล่องด้วยการกู้ยืม ต่อมาในทศวรรษ 90 เมื่อสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตสิ้นสุดลง ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลดงบประมาณด้านกลาโหมลงได้จำนวนมาก ขณะที่เศรษฐกิจก็เติบโตและมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างร้อนแรง ทำให้สหรัฐฯ ต้องเจอกับปัญหาฟองสบู่เทคโนโลยี หรือที่เรียกกันว่า ‘วิกฤตดอทคอม’ ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 จนเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จึงประกาศลดภาษีถึง 2 ครั้งในปี 2001 และ 2003 และสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจประเทศไว้ได้ แต่หลังจากนั้นสหรัฐฯ เข้าไปทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน ทำให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกือบ 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐตลอดช่วงสงคราม จนกระทั่งมาถึงวิกฤตการเงินในปี 2008 หรือ ‘วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์’ รัฐบาลใช้เงินมหาศาลอุ้มธุรกิจธนาคาร รวมถึงเพิ่มงบประมาณด้านการบริการทางสังคม เพราะอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นกว่า 10% หลังจากนั้นเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงและอัตราการว่างงานกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ในปี 2017 ภายใต้การนำและนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศลดภาษีครั้งใหญ่ ทำให้หนี้สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 7.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดในปี 2019 ที่โลกต้องเผชิญกับ ‘วิกฤต Covid-19’ ทำให้รัฐบาลแทบทุกประเทศต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการรับมือกับโรคระบาด และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ รวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ออกมาตรการกระตุ้นมาหลายระลอกรวมเป็นเงินกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อย้อนรอยดูประวัติศาสตร์การก่อหนี้สหรัฐฯ​ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็พอจะเห็นภาพกันนะครับว่ารัฐบาลนำเงินไปใช้เพื่อการใดกันบ้าง และหลายต่อหลายครั้งที่รัฐต้องการใช้เงินเพิ่ม ก็จะขอขยายเพดานหนี้เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดดุลงบประมาณมาโดยตลอด จนเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา หนี้ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาชนเพดานที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังไม่มีข้อสรุปว่าสภา Congress ว่าจะขยายเพดานหนี้ออกไปอีกหรือไม่ เพดานหนี้-ดราม่าการเมือง หลายคนมองว่า ปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ คือประเด็นดราม่าทางการเมือง เพราะเป็นเกมระหว่าง 2 ขั้วอำนาจในสภา ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ ที่เป็นแบบ Split Congress ซึ่งประกอบด้วยสภาสูงหรือวุฒิสภา โดยปัจจุบันพรรคฝ่ายค้านคือรีพับลิกันครองเสียงข้างมาก และสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งพรรครัฐบาลเดโมแครตของประธานาธิบดีโจ ไบเดนคุมเสียงข้างมากอยู่ ดังนั้น การให้ความเห็นชอบในนโยบายใดๆ ของอีกฝ่ายจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และมักเกิดการงัดข้อทางการเมืองกันอยู่เสมอ เช่นเดียวกับประเด็นเพดานหนี้ ที่รัฐบาลเป็นฝ่ายเสนอแต่ยังไม่ผ่านสภา โดยพรรครีพับลิกันกังวลว่าการขยายเพดานหนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นการเอาเงินไปใช้เพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาลเดโมแครตโดยเฉพาะ รวมทั้งจะเพิ่มภาษีคนมีรายได้สูงทั้งที่ไม่ได้เป็นเรื่องจำเป็น จึงอยากให้ปรับลดงบประมาณลง และเพิ่มความเข้มงวดกับการใช้งบประมาณในโครงการสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังหาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้ ซึ่งตามไทม์ไลน์รัฐบาลต้องสรุปประเด็นดังกล่าวให้ได้ภายในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ ‘การผิดนัดชำระหนี้’ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ หากมีการผิดนัดชำระ หรือ Default ขึ้นจริง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นสามารถจินตนาการได้แบบไม่รู้จบเลยล่ะครับ เริ่มจากหุ้นตก ตลาดการเงินผันผวนหนัก รัฐบาลเสียเครดิต ประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง สั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชน นักธุรกิจ นักลงทุน นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราว่างงานพุ่งพรวดและอื่นๆ สุดแท้แต่จะประเมินกันแม้ประเด็นเพดานหนี้จะเป็นปัญหากับรัฐบาลสหรัฐฯ มาตลอดช่วง 20 ปี แต่ข่าวดีก็คือ สหรัฐฯ ก็ยังไม่เคยเดินไปถึงทางตันขั้นที่ต้องผิดนัดชำระหนี้แม้แต่ครั้งเดียว โดยสถานการณ์เลวร้ายสุดที่เกิดขึ้นคือ สหรัฐฯ ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศลง ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2011 สมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา โดยขณะนั้นปัญหาเกิดจากนโยบาย ‘โอบามาแคร์’​ ที่เกิดการคัดค้านและเตะถ่วงร่างกฎหมาย Affordable Care Act จากฝั่งตรงข้าม ทำให้เหตุการณ์บานปลายไปถึงขั้น Government shutdown คือการหยุดดำเนินงานของภาครัฐชั่วคราว จนเกิดการว่างงานประมาณ 80,000-200,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ ลงจาก AAA Outstanding เหลือ AA+ Excellent ปัญหาภาคธนาคารกับวินัยการเงิน เมื่อการขยายเพดานหนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียง เรื่องวินัยทางการเงินการคลังก็จะเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ตามมาด้วยทุกครั้ง แต่ดูเหมือนปัญหาจะยังคงวนลูปกลับไปที่เดิม และเมื่อ 3 ธนาคารในสหรัฐฯ คือ Silicon Valley Bank, Signature Bank และ First Republic Bank เกิดปัญหาสภาพคล่องตามกันมาเป็นโดมิโน รวมถึงความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ของ Credit Suisse ธนาคารชั้นนำในยุโรป ยิ่งสะท้อนวินัยทางการเงินได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ก็ต้องยอมรับนะครับว่า การขึ้นดอกเบี้ยอย่างร้อนแรงของธนาคารสหรัฐฯ และยุโรปตลอดปีที่ผ่านมา ก็ส่งผลข้างเคียงต่อสภาพคล่องในภาคการเงินเช่นกัน ซึ่งในการประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ประจำปี 2023 ที่ผ่านมานั้น ก็ได้หยิบยกประเด็นเพดานหนี้ และปัญหาภาคธนาคารมาพูดคุยกันด้วย โดย 2 ศาสดาการลงทุนสาย VI อย่างคุณปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ และคุณปู่ชาร์ลี มังเกอร์ ก็ได้ให้มุมมองถึงความสำคัญของการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง การบริหารสภาพคล่องที่เหมาะสมและการบริหารความเสี่ยงที่ดีของภาคธนาคาร รวมถึงการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจากภาครัฐ เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม ปัญหาสภาพคล่องของธนาคารในสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงอย่างหนักมากว่า  90% จนนักงทุนพากันเบือนหน้าหนีหุ้นกลุ่มนี้กันหมด แต่นักลงทุนสาย VI อย่างคุณปู่วอร์เรนกลับมองเห็นเป็นโอกาสที่จะเข้าซื้อหุ้นดีช่วงราคาเซลล์ แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าราคาก็คือ การหาหุ้นพื้นฐานดีให้เจอด้วยการศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอPhoto : Shutterstockเมื่อพูดถึงหุ้นกลุ่มธนาคาร ก็มีประสบการณ์การลงทุนดีๆ จากคุณปู่วอร์เรนมาเล่าสู่กันฟังนะครับ ในวัยหนุ่มคุณปู่สนใจติดตามหุ้น American Express ธุรกิจบัตรเครดิตระดับโลกมาโดยตลอด แต่ยังไม่ได้เข้าลงทุนเพราะราคายังสูงตามปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ ต่อมาในปี 1963 เกิดกรณีดราม่า Salad Oil Scandal กับ American Express จนราคาร่วงถึง 50% แต่คุณปู่ก็ไม่ได้กระโดดเข้าซื้อทันทีนะครับ สิ่งที่คุณปู่ทำก็คือ เดินสำรวจตลาดการใช้บัตร American Express ตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าต่างๆ เมื่อพบว่ากระแสข่าวอื้อฉาวที่เกิดขึ้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้บัตรแต่อย่างใด คุณปู่จึงค่อยตัดสินใจซื้อหุ้นสวนทางกับการเทขายของนักลงทุนอื่นๆ เพราะมองว่ายิ่งหุ้นราคาตก ยิ่งมี margin of safety ในการลงทุนเพิ่มขึ้น ตัดภาพมาตอนนี้ หุ้น American Express ถือว่ามีสัดส่วนการลงทุนสูงสุดตัวหนึ่งในพอร์ต Berkshire Hathaway ของคุณปู่ และสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าประทับใจ ตามคำพูดที่คุณปู่กล่าวไว้เสมอว่า “จงโลภเวลาที่คนอื่นกลัว” เหนือสิ่งอื่นใด ต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีวินัยทางการเงินสูง วินัยทางการเงินสร้างได้ตั้งแต่วันนี้ เรื่องการเงินเป็นเรื่องของทุกคนนะครับ ไม่ใช่เรื่องขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ การวางแผนทางการเงินและการสร้างวินัยทางการเงินก็เช่นกัน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสมดุลและความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเราเอง และเป็นโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้กับเราได้ในระยะยาว ที่สำคัญจะเป็นเกราะป้องกันให้เรารอดพ้นจากกับดักหนี้ได้อีกด้วย ผมมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเป็นไอเดียในการบริหารเงินของแต่ละคนได้ เริ่มจากการวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายรับ โดยพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นว่ามีอะไรบ้าง เพื่อกันไว้สำหรับส่วนนี้ แล้วกันส่วนที่เหลือไว้เป็นเงินออม หากพบว่ารายรับไม่เพียงพอก็ควรหาทางลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้Photo : Shutterstockต่อมา ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ควรมีเงินออมเผื่อไว้กรณีฉุกเฉิน 3-6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระหนี้ในแต่ละเดือน เห็นตัวเลขแล้วบางคนอาจร้องโอ้โห! เยอะไปมั๊ย!! แต่หากทำได้ คุณจะต้องขอบคุณตัวเองแน่ๆ ในวันที่ปัญหาเดินทางมาถึง นอกจากนี้ ควรหมั่นตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ ว่าครอบคลุมแค่ไหน หากไม่เพียงพอและสามารถทำได้เพิ่มเติม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่ม buffer ทางการเงินให้กับตัวคุณเอง กรณีที่ต้องกู้ยืม ควรพิจารณาถึงความพร้อมของรายได้ในปัจจุบัน และความไม่นอนที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเอง อาจหาแหล่งรายได้เสริมเพิ่มเติมเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะหลังจากที่เราผ่านเหตุการณ์ไม่คาดคิดระดับโลกอย่าง Covid-19 มาแล้ว วลีที่ว่า ‘ทุกวันนี้มีอาชีพเดียวคงไม่พอ’ คือ เรื่องจริงมากๆ หรืออีกแนวทางในการสร้างรายได้เสริมก็คือการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย หรือนำเงินออกมาลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนต่างๆ วางแผนการใช้จ่าย หากรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมาก ควรวางแผนเก็บเงินเตรียมไว้แต่เนิ่นๆ บริหารเงินออมให้งอกเงย เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวม หรือสินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ โดยต้องศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบการออม ความเสี่ยง รวมทั้งติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนตามสภาวะตลาดที่เหมาะสม และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หากใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ควรใช้อย่างมีวินัย จัดเก็บใบเสร็จเพื่อตรวจสอบและจ่ายเงินให้ตรงตามกำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น ในความจริงแล้ว การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวนะครับ แต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี และเลือกก่อหนี้ที่มีประโยชน์หรือมีความจำเป็นจริงๆ เช่น การกู้ซื้อบ้าน กู้เพื่อประกอบอาชีพ หรือหาอาชีพเสริม ที่สำคัญต้องประเมินความสามารถในการชำระคืนด้วย ซึ่งตามหลักทฤษฎีมีการแนะนำไว้ว่า เราไม่ควรมีหนี้เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน หากมีหนี้สินเกินตัว ก็ต้องพยายามปลดหนี้ด้วยการประหยัด ทยอยผ่อนชำระ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบและหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง ที่สำคัญไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม หากไม่สามารถชำระคืนได้ ก็ควรหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆ ก็มีแพ็กเกจการชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เลือกหลายหลายรูปแบบ สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระคืนของลูกหนี้แต่ละคน อย่างที่บอกนะครับ การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่จะผิดมากถ้าไม่มีวินัย และปล่อยให้ภาระหนี้กลายเป็นกับดักที่กัดกินตัวเราเอง จนไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระทางการเงินได้ อย่าลืมนะครับ เราเป็นเพียงคนตัวเล็กๆ ที่ต้องดูแลฐานะทางการเงินของตัวเองและคงไม่สามารถขอผ่อนผันเจ้าหนี้หรือขยายเพดานหนี้ไปได้เรื่อยๆ เหมือนรัฐบาลสหรัฐฯ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับpositioningmaghttps://positioningmag.com/1432235

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวทั่วไป

เปิดลิสต์อาชีพไหนร่วง อาชีพไหนรุ่ง ภายในปี 2570

30/04/2024

เปิด “5 อาชีพ” สุดรุ่ง กับ สุดเสี่ยง ทั้งกลุ่มที่ตลาดงานต้องการ รวมถึงอาชีพที่เตรียมถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีก่อนเพื่อน ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์เราในทุกด้านของชีวิต ไม่เว้นแม้แต่การทำงาน เพื่อให้เราสะดวกสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระและทุ่นแรงมนุษย์ได้มาก จนกลายเป็นตัวช่วยที่เราไม่สามารถขาดไปได้ แต่ด้วยเทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ “เอไอ” (AI) มีศักยภาพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้ในเสี้ยววินาที และความผิดพลาดก็น้อยมาก อีกทั้งยังไม่มีอคติต่อสิ่งใด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เหล่า “แรงงาน” ต่างกลัวว่าเอไอจะเข้ามาแย่งงานของตนเอง   •  83 ล้านตำแหน่ง เตรียมตกงาน จากรายงาน The Future of Jobs Report 2023 จัดทำโดย World Economic Forum หรือ WEF ทำการสำรวจทิศทางอาชีพในอนาคต (Future of Jobs Survey) โดยรวบรวมมุมมองจาก 803 บริษัท ซึ่งรวมการจ้างงานมากกว่า 11.3 ล้านคน จาก 27 กลุ่มอุตสาหกรรม ใน 45 ประเทศจากทุกภูมิภาคทั่วโลก ระบุว่า ภายในปี 2570 จะมีตำแหน่งงานที่เกิดขึ้นใหม่ราว 70 ล้านตำแหน่งทั่วโลก แต่ขณะเดียวกันจะมีงานจำนวน 83 ล้านตำแหน่งจะถูกเลิกจ้าง นั่นหมายความว่ามีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่จะต้องออกจาก “ตลาดงาน”  สำหรับ กลุ่มอาชีพที่ WEF คาดว่าจะถูกลดบทบาทลงอย่างรวดเร็ว จากการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการเปลี่ยนถ่ายงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลแทนการใช้แรงงานคน 5 อันดับแรก ได้แก่  1. พนักงานธนาคารและตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง (Bank Tellers and Related Clerks) 2. พนักงานให้บริการไปรษณีย์ (Postal Service Clerks) 3. พนักงานเก็บเงินและพนักงานขายตั๋ว (Cashiers and ticket Clerks) 4. พนักงานบันทึกข้อมูล (Data Entry Clerks) 5. เลขานุการฝ่ายบริหาร (Administrative and Executive Secretaries)   •  5 อาชีพที่ตลาดงานต้องการมากที่สุด ขณะที่ อาชีพที่มีความต้องการสูงในอนาคตเป็นอาชีพที่มีเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysts) ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลมหัต (Big Data Specialists) ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Machine Learning Specialists) และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Professionals) ซึ่งคาดว่าจะเติบโตโดยเฉลี่ยประมาณ 30% ภายในปี 2570 นอกจากนี้ คาดว่างานทางด้านพาณิชย์ดิจิทัล (Digital Commerce) จะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 ล้านตำแหน่ง เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Specialists) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation Specialists) และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลและกลยุทธ์ (Digital Marketing and Strategy Specialists) 5 อาชีพที่ WEF ระบุว่าเป็นอาชีพต้องการในตลาดงานมากที่สุดคือ 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Machine Learning Specialists)  2. ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน (Sustainability Specialists) 3. นักวิเคราะห์ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Analysts) 4. นักวิเคราะห์ความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Analysts) 5. วิศวกรฟินเทค (Fintech Engineers) นอกจากนี้ ในรายงานของ WEF ยังพบ การเพิ่มขึ้นของงานที่เกี่ยวกับความยั่งยืน การศึกษาและการเกษตร ภายในช่วงปี 2566–2570 โดยงานด้านความยั่งยืน คาดว่าจะเติบโต 33% นำไปสู่งานเพิ่มขึ้น 1 ล้านตำแหน่ง ขณะที่งานด้านการศึกษา คาดว่าจะเติบโต 10% นำไปสู่งานเพิ่มขึ้น 3 ล้านตำแหน่ง ส่วนงานด้านการเกษตร คาดว่าจะเติบโต 1115 – 30% นำไปสู่งานเพิ่มขึ้นถึง 4 ล้านตำแหน่ง ทั้งนี้อาชีพที่เกี่ยวกับความยั่งยืนในเชิงธุรกิจ เป็นการสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืน ไม่ใช่การรักษ์โลกแบบฉาบฉวย แต่ต้องทำให้องค์กรเติบโต ไม่หวังกำไรระยะสั้น แต่จะต้องทำให้เกิดความยั่งยืนระยะยาว โดยต้องมองให้ออกถึงผลที่เกิดขึ้นกับกระทบสังคมและประเทศชาติ  อย่างไรก็ตาม แรงงานจำเป็นต้องพัฒนาสกิลของตนเองและเรียนรู้ทักษะใหม่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน กราฟิก: จิรภิญญาน์ พิษถาแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/health/labour/1069904

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X