คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ประกันชีวิต

ธุรกิจประกันเร่งถกสรรพากร เคลียร์ปม “จ่ายภาษี” ตามมาตรฐานใหม่

30/04/2024

สมาคมประกันชีวิตไทย ห่วงเกิดผลกระทบ 4 ข้อ กรณีบังคับใช้งบการเงินตาม TFRS17 ดีเดย์ 1 ม.ค. 68 เร่งถกสรรพากรเคลียร์ปมจ่ายภาษี-เอฟเฟ็กต์รับรู้กำไร หวั่นช่วงเปลี่ยนผ่านกระทบส่วนของผู้ถือหุ้นนางสาวจารุวรรณ ลิ้มคุณธรรมโน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต (BLA) ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและภาษี สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่องสัญญาประกันภัย (TFRS17) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 จะมีผลกระทบที่มีนัยสำคัญกับธุรกิจประกันชีวิต 4 ประเด็นหลักคือ1. ไม่มีเบี้ยประกันภัยรับและสำรองประกันชีวิตในงบการเงิน แต่มีค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการรับประกันภัยแทน ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในปัจจุบัน ฉะนั้น เรื่องนี้จำเป็นต้องมีการหาข้อสรุปเรื่องการปฏิบัติทางภาษีกับกรมสรรพากรโดยปัจจุบันกรมสรรพากรได้ตั้งคณะทำงานอย่างเป็นทางการแล้วมีทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)สภาวิชาชีพบัญชี สมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อประชุม พูดคุย หารือเรื่องนี้กันทุกเดือนตอนนี้อยู่ระหว่างลงรายละเอียดว่ามีวิธีการปรับเปลี่ยนไปอย่างไร หรือมีแนวทางไหนได้บ้าง หากมีผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก TFRS4 มาเป็น TFRS17 แล้วกระทบกับจำนวนเงินภาษีที่เคยชำระไปแล้วในอดีต“เดิมตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ตีกรอบไว้ว่า การจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ซึ่งกำไรของบริษัทประกันชีวิตตาม TFRS4 คือมีเบี้ยประกันและเงินสำรอง แต่ว่าสำรองที่ถือเป็นรายจ่ายได้ตามเกณฑ์กรมสรรพากรต้องไม่เกิน 65% ของเบี้ยประกันแต่เมื่อเป็น TFRS17 ไม่มีเบี้ยประกันภัยรับและสำรองประกันชีวิตในงบการเงิน จึงไม่แน่ใจว่าจะหยิบเกณฑ์ไหนมาใช้ในการจ่ายภาษี คือถ้าจะใช้เกณฑ์เดิมก็คงกระทบ เพราะเหมือนต้องรื้องบการเงินใหม่หมด”จารุวรรณ ลิ้มคุณธรรมโน2. รูปแบบการรับรู้กำไรที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลต่อกำไรที่รับรู้ในแต่ละปี ยกตัวอย่างงบกำไรขาดทุน กรณีจ่ายเบี้ยครั้งเดียว คุ้มครองยาว 20 ปี ถ้าตาม TFRS4 เมื่อรับเบี้ยปีแรก สมมติ 5,000 บาท จะบันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนปีนั้นทั้งหมดก้อนเดียว แต่ตาม TFRS17 จะให้ทยอยรับรู้รายได้ตลอดระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปีโดยแต่ละปีให้รับรู้ตามสัดส่วนความคุ้มครอง และบันทึกอยู่ในรายได้การประกันภัย แต่กำหนดให้แยกค่าใช้จ่ายทางการเงินจากสัญญาประกันภัยสุทธิออกมาให้เห็น หรือเข้าใจง่าย ๆ คือต้องแยกต้นทุนดอกเบี้ยแฝงมาแสดงด้วยส่วนสำรองประกันชีวิต ซึ่งเปลี่ยนไปเรียกเป็นหนี้สินตามสัญญาประกันภัยแทน ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ รายได้รับล่วงหน้า หมายความว่าเมื่อรับเบี้ยมาแล้วจะบันทึกเป็นหนี้สินไว้ก่อน และหนี้สินตรงนี้จะลดลงเมื่อถูกทยอยรับรู้เป็นรายได้การประกันภัยในแต่ละปี หรือเมื่อมีการจ่ายเคลมจริงไปแล้ว โดยหนี้สินจะหมดต่อเมื่อภาระผูกพันในการให้บริการหรือความคุ้มครองแก่ลูกค้าหมดไปนอกจากนี้ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจมากขึ้น ว่าแหล่งที่มาของกำไรของธุรกิจประกันชีวิตแต่ละบริษัทมาจากไหน TFRS17 จึงให้แสดงกำไรจากการรับประกันภัยกับกำไรทางการเงิน (รายได้จากลงทุนลบต้นทุนดอกเบี้ย) ออกจากกันด้วย แต่อย่างไรก็ตาม แม้รูปแบบการรับรู้กำไรในแต่ละปีจะเปลี่ยนแปลงไป แต่สุดท้ายแล้วกำไรตลอดอายุสัญญายังเท่าเดิม3. เดิมส่วนใหญ่ภาคธุรกิจใช้วิธีการคำนวณเงินสำรองประกันชีวิตแบบเบี้ยประกันภัยสุทธิชำระคงที่ (NPV) ซึ่งใช้สมมติฐานตั้งแต่วันที่ออกกรมธรรม์ในการคำนวณเงินสำรองฯ ต่างจาก TFRS17 ซึ่งปรับสมมติฐานที่ใช้ให้เป็นปัจจุบัน ด้วยวิธีการใหม่นี้ส่งผลให้เกิดความผันผวนของเงินสำรองมากขึ้น 
ดังนั้น การพิจารณาวัดมูลค่าสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับหนี้สิน จึงเป็นเรื่องที่บริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน4. ส่วนของผู้ถือหุ้น อาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากการปฏิบัติมาตรฐานการบัญชีเป็นครั้งแรก เนื่องจากการปรับปรุงกำไรสะสมที่เกิดจากความแตกต่างในการรับรู้กำไรในอดีตตาม TFRS4 กับ TFRS17นางสาวจารุวรรณกล่าวต่อว่า ตอนนี้ภาคธุรกิจเหลือเวลาเตรียมความพร้อมประมาณ 1 ปี 5 เดือน โดยปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว เพื่อให้ TFRS17 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค. 2568 และสำนักงาน คปภ.ได้ประกาศแบบงบการเงินใหม่ตามข้อกำหนดของ TFRS17 และ TFRS9 เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดีธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจเดียวในโลกที่ได้รับการยกเว้นการบังคับใช้ TFRS9 จนกว่า TFRS17 จะมีผลบังคับใช้“ภาคธุรกิจต้องมีการซ้อมจัดทำงบการเงินรายไตรมาสในปี 2567 เพราะต้องเอามาเปรียบเทียบกำไรขาดทุนของปี 2568 เพื่อส่งให้สำนักงาน คปภ. รวมถึงการจัดอบรมความรู้ให้กับบุคลากรในภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง”สำหรับงบแสดงฐานะการเงินของบริษัทประกันชีวิตในฝั่งสินทรัพย์ (หนี้สิน+ทุน) ซึ่งกว่า 90% เป็นสินทรัพย์ลงทุน เช่น พันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้, หุ้น, กองทุนรวม, เงินให้กู้ยืม และแทบจะทุกบริษัทพอร์ตหลักคือตราสารหนี้เพราะมีความเสี่ยงต่ำ ส่วนหนี้สินสัดส่วนกว่า 90% เป็นหนี้สินตามสัญญาประกันภัย ที่เหลืออีก 10% เป็นหนี้สินอื่น ๆ เช่น ค่าไฟและค่าน้ำค้างจ่าย เป็นต้นทั้งนี้ ฝั่งสินทรัพย์ตาม TFRS4 ธุรกิจประกันชีวิตจะใช้แนวปฏิบัติทางการบัญชี เรื่องเครื่องมือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับธุรกิจประกันชีวิต (FI-Guidance) แต่เมื่อบังคับใช้ TFRS17 จะถูกบังคับใช้มาตรฐาน TFRS9 และฉบับที่ 7 เรื่องการเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน (TFRS7)ซึ่งเป็นหลักที่บังคับใช้ทั่วโลก แต่ปัจจุบันธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจเดียว ที่ยังได้รับการยกเว้นการบังคับใช้ TFRS9 จนกว่า TRFS17 จะมีผลบังคับใช้แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1327112

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ทะลุ 18,000 ต่อเดือน!! ไม่ใช่ค่าแรง แต่เป็นค่าใช้จ่ายขั้นต่ำของไทย?

30/04/2024

สถิติบอกชัด รายจ่ายต่อเดือนของ “คนไทย” พุ่งสูงถึง 18,000 บาทต่อเดือน สวนทาง ”รายได้” ที่น่าตกใจคือ “ชนชั้นกลาง” เสี่ยงต่อการกลายมาเป็น “คนจน” ด้วยเหตุผลเบื้องหลังที่ชวนคิดวิเคราะห์ รายจ่ายสูง รายได้ไม่โต เงินเดือนเท่าไรถึงจะอยู่ได้ เมื่อ “สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)” ออกมาบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ ที่ทำให้ “ค่าใช้จ่ายต่อเดือนโดยเฉลี่ยของคนไทย” มีถึง 18,023 บาท/เดือน ณ ตอนนี้ค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยของบ้านเราอยู่ที่ 337 บาท/วัน ถ้าสมมติทำงานเต็มเดือน 30 วัน จะได้เดือนละ 10,110 บาท ส่วนเด็กจบใหม่ปริญญาตรี เริ่มต้นที่ประมาณ 12,000-15,000 บาท/เดือน จากข้อมูลของ สนค.บอกว่า ใน 18,023 บาท นี้ ค่าใช้จ่าย “อันดับ1” คือ ค่าโดยสารสารสาธารณะ ค่าซื้อรถส่วนตัว ค่าน้ำมัน และค่าบริการโทรศัพท์เฉลี่ยอยู่ที่ 4,170 บาท คิดเป็น 23.14% ตามมาด้วย “อันดับ2” ค่าเช่าบ้าน ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม อยู่ที่ 3,922 บาทคิดเป็น 21.76% ส่วน “อันดับ3” คือ ค่าเนื้อสด ที่ใช้ในการทำอาหาร อยู่ที่ 1,704 บาท เป็น 9.46% จากทั้งหมด ส่วนเหล้ากับบุหรี่ มาเป็น อันดับสุดท้าย หรือ “อันดับ4” เลย คือ 241 บาท เป็นเพียง 1.34% ของรายจ่ายต่อเดือนจั๊ก-รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทาง รัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์ ช่วยวิเคราะห์ตามคำขอของทีมข่าว ถึงปัญหาตอนนี้ที่ค่าแรงโตไม่ทันรายจ่าย “ผมคิดว่าประเด็นแรกที่ต้องย้ำนะครับ คือว่าค่าจ้างของเรา ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างขึ้นต่ำ หรือว่าค่าจ้างโดยเฉลี่ย มันเติบโตไม่สอดคล้องกัน ทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งก็จะรวมถึงดัชนีผู้บริโภค อัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ” ตอนนี้ productivity (ประสิทธิภาพของการผลิต การทำงาน) เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจาก ทักษะแรงงาน หรือเทคโนโลยี แต่ค่าจ้างโดยเฉลี่ยกลับไม่ได้เพิ่มตาม โดยรายได้ 80% ของคนส่วนใหญ่ ไม่สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ “ค่าครองชีพพื้นฐาน” หรือให้เรียกว่า “ค่าจ้างที่เราจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ไม่ใช่แค่การมีเงินเพื่อเลี้ยงชีพไปวันๆ แต่หมายถึงโอกาสที่จะสามารถหาความบันเทิงให้กับชีวิตได้ด้วย“ค่าเดินทาง” แพงแซงทุกอย่าง น่าสนใจที่จากข้อมูล สนค.บอกว่า รายจ่ายส่วนใหญ่ไปกองอยู่ “ขนส่งสาธารณะ ค่าซื้อรถ ค่าน้ำมัน” เมื่อถามจั๊กว่าขนส่งเราแพงเกินไปหรือไม่ ดีหรือเปล่า? จนคนหันไปซื้อรถใช้เอง และยอมแบกภาระนี้ “ใช่ คำว่าไม่ค่อยดีมันก็หลายอย่างนะครับ อย่างคุณภาพในเชิงกายภาพ ที่เราเห็นอันนั้นก็ส่วนหนึ่ง อีกด้านหนึ่งมันเข้าไปไม่ถึง เส้นเลือดฝอยในชีวิตของคนเมือง“ อาจารย์ยังบอกอีกว่า ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯ ในต่างจังหวัดเอง ขนส่งสาธารณะก็ไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ตอบโจทย์คนทำงาน “อาจจะใช้ได้ในผู้สูงอายุ ไปจ่ายตลาดหรือไปหาหมอในบางครั้ง”[รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี]“สมมติเราต้องนั่งมอเตอร์ไซค์มาปากซอยหน้าบ้าน แล้วเราต้องต่อรถเมล์ เพื่อที่จะไปรถไฟฟ้าอีก มันก็กลายเป็นว่าค่าใช้จ่ายอะไรต่างๆ มันก็สูงมาก คนที่พอมีกำลังส่วนใหญ่ ต้องซื้อรถมอเตอร์ไซค์ หรือไม่ก็รถยนต์ส่วนตัว” ถ้าลองคำนวณการผ่อนรถแบบถูกสุด ตกเดือนละ 5,000 บาท ค่าน้ำมันอีก 1,000-2,000 รวมแล้วคนที่มีรถส่วนตัวต้องจ่าย 6,000-7,000 บาท/เดือน ส่วนคนที่ใช้ขนส่งสาธารณะ เดือนหนึ่งก็ไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 บาท นั้น ก็เป็น 20-30% ของรายได้ต่อเดือนแล้ว “ถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แล้วนึกถึงขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมทั้งหมดเลย มันก็อาจจะประมาณ 4-5% ของค่าจ้างที่เขาได้รับต่อเดือนเท่านั้นเองนะครับ”รายได้ต่ำ แต่ “ค่ากิน” พุ่งจนน่าห่วง!! จากข้อมูลของ สนค.บอกว่ารายจ่ายทั้งหมดนี้ เป็น “ค่าอาหาร” ถึง 41.97% ทีมข่าวจึงชวนจั๊กคุยว่า ข้อมูลที่เห็นมันสะท้อนถึงอะไร? “คือจริงๆ ค่าอุปโภคบริโภค มันเกี่ยวกับฐานะของคนนะครับ คือถ้าเราเทียบกัน กลุ่มคนที่รวยที่สุดกับกลุ่มคนที่จนที่สุด ค่าใช้จ่ายเรื่องอุปโภคบริโภคก็จะมีสัดส่วนที่ต่างกัน” กลุ่มคนที่มีสตางค์ 5% บนสุด อาจจะหมดเงินไปกับ การลงทุน ค่าเดินไปเที่ยวหรือทำธุรกิจ แต่ในกลุ่มคนที่รายได้ต่ำ มักจะหมดไปกับ ค่าอาหารการกิน ถึง 70% ของรายได้เลยด้วยซ้ำ “สิ่งหนึ่งที่เราเห็นภาพตรงนี้เนี่ย การที่ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคพื้นฐานของค มันสูงมากขึ้น มันสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มคนไทยชนชั้นกลางกำลังจะหายไป แล้วก็จะมาป่องอยู่ข้างล่าง” ยกตัวอย่างเด็กๆ จบใหม่ ทำงานอย่างหนัก แต่คุณภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกับผู้ใช้แรงงานในโรงงานเมื่อ 30 ปีก่อนเลย ที่ต้องทำหลายงาน ทำงานล่วงเวลา เพื่อคุณภาพชีวิตที่แค่ส่งบ้านส่งรถ เลี้ยงดูพ่อแม่เท่านั้น ซึ่งมันไม่ได้เป็นคุณภาพชีวิตชนชั้นกลางแต่อย่างใด “อันนี้เป็นสัญญานที่น่ากลัวเหมือนกันว่า ชนชั้นกลางของเรากำลังจะหายไป ที่ไปป่องข้างล่างมากขึ้น เพราะทุกคนกำลังกลายเป็นคนจน ต้องเป็นคนปากกัดตีนถีบกันหมด”หรือเพราะทุนที่ผูกขาด? อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เคยออกมาเขียนบทความ “เกาให้ถูกที่คัน ค่าแรงขั้นต่ำ คือ คำตอบของการแก้ปัญหาค่าครองชีพของแรงงาน จริงหรือ” ว่าด้วยค่าครองชีพที่สูงเหตุมาจาก 1) กลไกผูกขาด ภาครัฐถูกครอบงำโดยทุนใหญ่ 2) การทุจริตคอร์รัปชัน ต้องแก้ปัญหา 2 อย่างนี้และผลักดัน นโยบายสวัสดิการ ถึงจะแก้ได้ สอดคล้องกับความเห็นของ ผอ.ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง รัฐสวัสดิการฯ ที่มองว่า กลุ่มทุนที่ผูกขาด เกี่ยวข้องกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น และปัญหาค่าแรงที่ต่ำของบ้านเรา “พอกลุ่มทุนผูกขาดที่ เขาได้รับสัมปทานหรือได้รับสิทธิอะไรบางอย่างจากรัฐ มันทำให้เขาไม่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่อง ชีวิตพื้นฐานของประชาชน” ดร.ได้อธิบายต่อว่า ในธุรกิจบางอย่างไม่จำเป็นต้องหากำไรขนาดนั้น แต่กลับมีกลุ่มทุนหลายกลุ่มเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น พลังงาน อาหาร การคมนาคม หรือการรักษาพยาบาล และการศึกษา ที่ตอนนี้เริ่มมีกลุ่มทุนขนาดใหญ่เข้ามามากขึ้น ในด้านหนึ่งกลุ่มทุนเหล่านี้อาจมีความสามารถและเทคโนโลยี จนให้เติบโต แต่ไม่ได้จากการแข็งขันกันอย่างเสรี ส่วนหนึ่งมาจากการเอื้อประโยชน์จากรัฐ ได้สัมปทานหรือการอนุมัติอะไรบางอย่าง “แต่ว่าเขากลับมีส่วนที่ทำให้ สองอย่างนี้คือ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราสูงมากขึ้น และในขณะเดียวกันก็ พวกเขากมีส่วนสำคัญที่ทำให้ค่าแรงไม่ได้มีการปรับขึ้นเท่าที่ควร เพราะว่ากลุ่มทุนผูกขาดมีอำนาจมาก”เมื่อถาม ดร.จั๊กว่า ปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้ด้วยการ “เพิ่มค่าแรง” จริงหรือเปล่า? หรือต้องทำควบคู่กับไปด้วย? อาจารย์ตอบว่า ยังไงก็ต้องปรับขึ้น เพราะตอนนี้คนอยู่กันไม่ได้แล้ว ส่งผลให้ปัญหาอื่นๆ ตามมา “การปรับค่าแรงขั้นต่ำมันไม่ได้ทำให้ข้าวของแพงขึ้น อันนี้มันเป็นผีที่ถูกข่มขู่มาทุกยุคทุกสมัย จริงๆต้นทุนค้าแรงมันเป็นเพียง 10% เท่าเองของต้นทุนโดยเฉลี่ยเท่านั้น” การขึ้นค่าแรงจะช่วยลดความเลื่อมล้ำได้ แต่จะได้ไม่เต็มที่ ถ้าไม่มีการปรับเรื่องสวัสดิการพื้นฐาน เพื่อให้ค่าแรงที่ได้มาเอาไป ต่อยอดในชีวิตได้จริง ไม่ได้หมายความแค่การลุงทุน แต่รวมถึง การพักผ่อน วางแผนใช้จ่ายและการออมได้ดีขึ้น เพราะค่าแรงสูงขึ้น แต่คุณจะสิ่งเหล่าได้ไม่เต็มที่ ยังต้องห่วงเรื่อง การเลี้ยงลูก ดูแลคนแก่ รักษาพยาบาลหรือเรื่องค่าขนส่งสาธารณ สิ่งเหล่านี้ต้องมีการปรับ อีกอย่างคือนโยบายเศรษฐกิจระยะสั้น การท่องเที่ยว กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ฝึกทักษะแรงงานรุ่นใหม่ “3 ตัวนี้ต้องทำ เรื่องสวัสดิการและเศรษฐกิจระยะสั้นต้องทำคู่กัน เพื่อให้มันประสิทธิภาพดีที่สุดครับ” แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์https://mgronline.com/live/detail/9660000054093

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

5 เทคนิคเลือก “ประกันอัคคีภัย”...สำหรับ ‘ที่อยู่อาศัย’ !!!

30/04/2024

จากข่าวตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเกิดเหตุจากไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือภัยอื่นๆ อาจสร้างความกังวลใจให้กับเจ้าของที่อยู่อาศัยหลายท่าน เนื่องจากที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ทำให้ผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินหลักแสนจนถึงหลักล้านบาทที่ต้องนำมาใช้ในการซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมหรือสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ดังนั้น เพื่อความอุ่นใจและบรรเทาความสูญเสียจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้น “การทำประกันอัคคีภัย”สำหรับที่อยู่อาศัยจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้น ด้วยการโอนความเสี่ยงจากค่าความเสียหายของเจ้าของที่อยู่อาศัยไปยังบริษัทประกันภัย แทนการรับความเสี่ยงด้านค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเต็มๆ 100% เพียงคนเดียว แต่ก่อนตัดสินใจเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ควรคำนึงถึงประเด็นเบื้องต้น ดังนี้1. ความคุ้มครองที่เจ้าของที่อยู่อาศัยต้องการโดยทั่วไป การทำประกันอัคคีภัยมักจะรวม 6 ภัยหลักๆ ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด ภัยจากยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะ (ช้าง ม้า วัว ควาย) ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน และภัยอันเนื่องจากน้ำ นอกจากนี้ยังมีภัยอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากสถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม แม้ว่าโอกาสการเกิดภัยอาจไม่บ่อยหรือน้อยมาก แต่หากเกิดขึ้นค่าความเสียหายก็สูง เจ้าของที่อยู่อาศัยก็ควรเพิ่มความคุ้มครองในกรณีต่างๆ ด้วย เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว ภัยโจรกรรม เป็นต้น2. ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันอัคคีภัยได้ได้แก่ บ้าน ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด ตึกแถวสำหรับที่อยู่อาศัย โรงรถ และอาคารย่อย เช่น เรือนคนรับใช้ เรือนครัว รวมทั้งกำแพง รั้ว ประตู ส่วนที่ปรับปรุงหรือต่อเติม เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัย ส่วนทรัพย์สินที่ไม่ได้รวมอยู่ในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ยกเว้นว่าจะระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น รากฐานของสิ่งปลูกสร้าง ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ อัญมณี เอกสารสำคัญต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานพาหนะ ต้นไม้ การจัดสวน สนามหญ้า เป็นต้น3. การคำนวณเงินทุนประกันอัคคีภัยที่เหมาะสมเจ้าของที่อยู่อาศัยจะต้องแยกราคาที่ดิน ราคาสิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินภายในที่อยู่อาศัย เช่น ราคาที่ดิน 1,000,000 บาท ราคาสิ่งปลูกสร้างหรือตัวอาคาร 1,500,000 บาท (ไม่รวมฐานราก) และราคาทรัพย์สินภายในอาคารตกแต่งเพื่อการอยู่อาศัย 1,500,000 บาท ทุนประกันอัคคีภัยที่เหมาะสม คือ 3,000,000 บาท (1,500,000 บาท + 1,500,000 บาท)“ถ้าเจ้าของที่อยู่อาศัยต้องการเพิ่มความคุ้มครองพิเศษในรายการอื่น ๆ ที่มีราคาสูงนอกเหนือจากทรัพย์สินภายในอาคารข้างต้น ก็ควรเก็บใบเสร็จหรือใบราคานั้นๆ เพื่อความสะดวกในการกำหนดวงเงินประกันและเคลม เช่น ตู้เย็น ทีวี อุปกรณ์กอล์ฟ จักรยานที่มีราคาสูง เป็นต้น”4. “การเคลมประกันอัคคีภัย” บริษัทอาจจ่ายค่าสินไหมน้อยกว่า100% ของมูลค่าความเสียหายเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เจ้าของที่อยู่อาศัยควรทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยที่ทุนประกัน “ไม่ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน” เช่น มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด 3,000,000 บาท ทุนประกันที่ 70 - 100% ของมูลค่าทรัพย์สิน คือ 2,100,000 – 3,000,000 บาท หากเกิดอัคคีภัยที่มีความเสียหายทั้งหมด บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็ม 100% ของจำนวนทุนที่ทำไว้แต่ถ้าทำทุนประกันภัยต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน เช่น ทุนประกันภัยที่ 60% ของมูลค่าทรัพย์สิน 3,000,000 บาท เมื่อเกิดอัคคีภัยและมีความเสียหายทั้งหมด เจ้าของที่อยู่อาศัยจะต้องรับค่าความเสียหายส่วนแรกเอง 1,200,000 บาท (40% x 3,000,000 = 1,200,000) และบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหม 60% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ทำประกัน คือ 1,800,000 บาท (60% x 3,000,000 = 1,800,000) ดังนั้น จะได้รับค่าสินไหมเท่ากับ 1,080,000 บาท (60% x 1,800,000 = 1,080,000)“นอกจากการทำทุนประกันภัยที่ควรทำมากกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สินแล้ว เจ้าของที่อยู่อาศัยต้องทำความเข้าใจเรื่องค่าความรับผิดส่วนแรกของการเคลมประกันอัคคีภัยในแต่ละกรณีด้วย เช่น เจ้าของที่อยู่อาศัยมีทุนประกันภัยอันเนื่องมาจากน้ำ 200,000 บาท บริษัทประกันได้กำหนดค่าความรับผิดส่วนแรกในการเคลม 2,000 บาท ต่อเหตุการณ์ ถ้าที่อยู่อาศัยมีน้ำรั่วซึม มีการประเมินความเสียหายประมาณ 100,000 บาท เจ้าของบ้านสามารถเคลมได้สูงสุด 98,000 บาท (100,000 บาท – 2,000 บาท)”5. การเลือกชำระเบี้ยตามจำนวนปีที่เพิ่มขึ้น เบี้ยประกันเฉลี่ยต่อปีลดลงเจ้าของที่อยู่อาศัยประหยัดเบี้ยประกันได้มากขึ้นกล่าวคือ การเลือกทำประกันภัย 2 ปี บริษัทจะคิดเบี้ยประกันภัย เท่ากับ 175% ของเบี้ยประกันภัย 1 ปี ถ้าเบี้ยประกันภัย 1 ปี 1,000 บาท เบี้ยประกันภัย 2 ปีจะอยู่ที่ 1,750 บาท เบี้ยเฉลี่ยต่อปี 875 บาท ทำให้ประหยัดเงินได้ 250 บาท ถ้าหากเลือกทำประกันภัย 3 ปี บริษัทจะคิดเบี้ยประกันภัย เท่ากับ 250% ของเบี้ยประกันภัย 1 ปี เบี้ยประกันภัย 3 ปีจะอยู่ที่ 2,500 บาท เบี้ยเฉลี่ยต่อปี 833.33 บาท ทำให้ประหยัดเงินได้ 500 บาท ที่ความคุ้มครองเท่าเดิม ทั้งนี้เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี มูลค่าทรัพย์สินอาจเปลี่ยนไปมีค่ามากขึ้น เจ้าของที่อยู่อาศัยจึงควรสำรวจทุนประกันภัยให้เหมาะสมกับมูลค่าทรัพย์สินด้วย“ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ‘การทำประกันอัคคีภัย’ ที่อยู่อาศัยมีความสำคัญไม่น้อย เพราะหากเกิดอัคคีภัยขึ้นจะทำให้มีค่าความเสียหายและค่าใช้จ่ายสูง จากเทคนิคข้างต้นจะช่วยเป็นแนวทางให้เจ้าของที่อยู่อาศัยเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยในเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง โดยเลือกทำประกันอัคคีภัยหลักที่ตอบโจทย์เรื่องความเสียหายจากไฟไหม้ และเมื่อมีกำลังทรัพย์มากขึ้น มีห่วงภัยด้านต่างๆ มากขึ้น ก็สามารถขยายความคุ้มครองในปีถัดๆ ไปได้ เพื่อจะได้ชำระเบี้ยประกันที่ไม่สูงจนเกินไป แต่ยังคงบรรเทาความเสียหายได้มาก”ทั้งนี้ ไม่ว่าเจ้าของที่อยู่อาศัยจะมีที่อยู่อาศัยแห่งเดียวหรือหลายแห่ง ก็จะสามารถประมาณ “ทุนประกันอัคคีภัย” ของที่อยู่อาศัยแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม โดยเทียบราคาเบี้ยประกัน รายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละบริษัท เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์จากความคุ้มครองอย่างสูงสุดที่มา: www.setinvestnow.com, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythaihttps://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/wealth-ez/12699

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ผู้จัดการมรดก ทำหน้าที่อะไรบ้าง กสิกรไทยชี้คีย์แมนสำคัญบริหารทรัพย์สินครอบครัว

30/04/2024

KBank Private Banking ชี้ “ผู้จัดการมรดก” คีย์แมนคนสำคัญต่อการบริหารทรัพย์สินครอบครัว เมื่อเกิดการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว แจง “ทายาท-ผู้รับมรดก” จำเป็นต้องรู้บทบาท-หน้าที่ของผู้จัดการมรดก วันที่ 15 มิถุนายน 2566 นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เมื่อเกิดการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว หลังจากที่สมาชิกในครอบครัวต้องแจ้งการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงต่อสำนักเขต หรือที่ว่าการอำเภอเพื่อออกใบมรณบัตรแล้ว อีกสิ่งที่จำเป็นต้องทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีทรัพย์สินมาก คือการตั้ง “ผู้จัดการมรดก” เพื่อดำเนินการ 4 เรื่องสำคัญต่อทรัพย์มรดกของผู้เสียชีวิต ได้แก่ 1) รวบรวมทรัพย์สินและหนี้สิน : อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางการเงิน เช่น บัญชีเงินฝาก ยานพาหนะ และทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ เช่น ทองคำ เครื่องประดับ 2) จัดการทรัพย์มรดก : ดูแล รักษา หรือจัดการทรัพย์มรดกตามที่จำเป็น หรือที่ระบุไว้ในพินัยกรรม 3) จัดแบ่งทรัพย์มรดก : แบ่งสินสมรส (ถ้ามี) และแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท/ผู้รับพินัยกรรม 4) ยื่นภาษีเงินได้ : ในปีแรกที่เสียชีวิต ให้ยื่นภาษีเงินได้ในนามผู้ตาย และในปีถัดจากปีที่เสียชีวิต หากยังไม่ดำเนินการแบ่งทรัพย์สินให้ทายาท ให้ยื่นภาษีเงินได้ในนามกองมรดก (ต้องขอเลขผู้เสียภาษีต่างหาก) ขั้นตอนในการตั้งผู้จัดการมรดก ให้ทายาท หรือผู้ร้อง (อาจเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าหนี้) ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ดำเนินการตั้งผู้จัดการมรดกโดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ 1. กรณีที่ไม่มีพินัยกรรม อาจขอให้ตั้งทายาท/คู่สมรส คนใดคนหนึ่ง หรือร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลอื่นที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย 2. กรณีที่มีพินัยกรรมและมีการระบุผู้จัดการมรดกไว้แล้ว ให้ตั้งบุคคลที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นผู้จัดการมรดก หลังจากศาลได้ประกาศเพื่อให้ทายาทคัดค้าน และไต่สวนคุณสมบัติผู้ร้อง หากไม่มีการคัดค้าน ศาลจะมีคำสั่งให้ตั้งผู้จัดการมรดก ภายในระยะเวลา 2-3 เดือน จากนั้นผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน และต้องเสร็จภายใน 1 เดือน หรือตามระยะเวลาที่ศาลขยายให้ รวมทั้งจะต้องดำเนินการทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกภายใน 1 ปี หรือตามระยะเวลาที่ทายาท/ศาล กำหนดไว้ด้วย หากผู้จัดการมรดกไม่ทำตามหน้าที่/ทุจริต ทายาท ผู้รับพินัยกรรม หรือผู้มีส่วนได้เสียในมรดก สามารถดำเนินการกับผู้จัดการมรดกได้ เช่น ถอนผู้จัดการมรดก ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกสามารถยื่นร้องต่อศาลขอให้ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิม และตั้งคนใหม่ได้ หากผู้จัดการมรดกไม่ทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ไม่เริ่มทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน หรือไม่แบ่งทรัพย์สินให้ทายาทให้เสร็จสิ้น และไม่ทำรายงานบัญชีแบ่งทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลภายใน 1 เดือน ตามที่กฎหมายกำหนด ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดก มักเกิดขึ้นในกรณีที่ทายาทขอให้ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท แต่ผู้จัดการมรดกไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาทตามที่กฎหมายกำหนด เช่น อ้างว่าเป็นทรัพย์กงสีห้ามแบ่ง หรือผัดผ่อนการแบ่งไปเรื่อย ๆ หรือปฏิเสธไม่แบ่งด้วยเหตุผลอื่น ทายาทสามารถฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ ฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกไม่เป็นไปตามราคาท้องตลาด ขายทรัพย์มรดกโดยไม่นำเงินมาแบ่งทายาท โอนทรัพย์มรดกให้บุคคลอื่นโดยไม่มีค่าตอบแทน รับโอนทรัพย์มรดกมาเป็นของตนเองคนเดียวไม่แบ่งทายาทคนอื่น ดำเนินคดีอาญาความผิดฐานยักยอก ในกรณีที่ผู้จัดการมรดก โอนทรัพย์มรดกให้ตนเองคนเดียว ไม่แบ่งทายาทอื่น หรือแสดงเจตนาว่าจะเอาทรัพย์มรดกไว้คนเดียว ไม่แบ่งทายาทอื่น โอนทรัพย์มรดกให้ทายาทคนหนึ่ง แต่ไม่แบ่งให้คนอื่น ทั้งที่มีทายาทหลายคน จงใจขายทรัพย์มรดกในราคาที่ต่ำเกินสมควร ในลักษณะสมรู้ร่วมคิดกับผู้ซื้อ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ ในกรณีนี้ต้องชัดเจนว่าผู้จัดการมรดกกระทำการโดยไม่สุจริต ยักย้ายถ่ายเทหรือโอนทรัพย์มรดก ทำให้เกิความเสียหายแก่ทายาท ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องการกระทำความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด “จะเห็นได้ว่าผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ในการจัดการมรดกโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น การรวบรวมทรัพย์มรดก เพื่อแบ่งให้ทายาท ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีทรัพย์มรดกและรายการแสดงบัญชีการจัดการ ซึ่งหากผู้จัดการมรดกไม่ใช่ทายาท หรือผู้รับพินัยกรรมของเจ้าของมรดก ผู้จัดการมรดกก็จะไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก จึงถือว่าไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก” นายพีระพัฒน์กล่าว นอกจากนี้ หากผู้จัดการมรดกไม่ดำเนินการตามหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือทำการทุจริตต่อทรัพย์มรดก อาจถูกดำเนินการทางกฎหมายด้วย ผู้จัดการมรดกจึงถือเป็นคีย์แมน หรือบุคคลสำคัญในการบริหารจัดการและดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับมรดก ทั้งทรัพย์สินที่ต้องส่งต่อแก่ทายาท หรือการจัดการเรื่องหนี้สิน โดยหากเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้จัดการมรดกก็สามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น แต่หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ต้องดำเนินการต่าง ๆ ตามขั้นตอน “ดังนั้น การทำพินัยกรรมกำหนดผู้จัดการมรดกที่มีความเป็นกลางหรือที่ทายาททุกคนยอมรับไว้ตั้งแต่ต้น อาจไม่ใช่บุคคลที่เป็นทายาทก็ได้ อาจช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้” นายพีระพัฒน์กล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1322175

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

พายุเข้าไม่มีหวั่น เพราะประกันภัยบ้านช่วยคุณได้

30/04/2024

ที่อยู่อาศัย หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า “บ้าน” เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใฝ่ฝัน หรือฝ่าฟันอยากจะมี ซึ่งการดูแลรักษาทรัพย์สินเหล่านี้นั้นไม่ง่ายเลย เพราะว่าต้องต่อสู้กับภัยต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติ อย่างเช่น น้ำท่วม หรือภัยที่มาจากฝีมือมนุษย์ด้วยกันเอง ภัยเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่อยู่อาศัย ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียเงินทองจำนวนมหาศาลในการซ่อมแซม แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ และทางออกของสถานการณ์นี้ก็คือ “การทำประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน”“ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน” มีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าของอาคาร ประเภทที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว สำนักงานในบ้าน หรือคอนโดมิเนียม โดยสามารถแบ่งความคุ้มครองได้ 5 หมวดหมวดที่ 1 ความคุ้มครองต่ออาคารบริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหาย (ค่าสินไหมทดแทน) ให้ในกรณีที่อาคารได้รับความเสียหายจากภัยเหล่านี้    •  อัคคีภัย แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า น้ำท่วม การไหลล้นหรือการระเบิดของแท้งค์น้ำ พายุเฮอริเคน พายุไซโคลน พายุใต้ฝุ่น หรือลมพายุ    •  การระเบิด    •  อุปกรณ์ส่วนควบของแท้งค์น้ำหรือท่อน้ำ    •  อากาศยาน หรือสิ่งของจากอากาศยาน หล่นใส่อาคาร    •  การถูกชนจากพาหนะทางบก เช่น รถยนต์ ม้า หรือปศุสัตว์ต่างๆ ซึ่งผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ด้วยกัน ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือดูแลอยู่    •  การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ หรือความพยายามการลักทรัพย์โดยใช้กำลังรุนแรงเพื่อเข้าไป หรือออกจากอาคารหมวดที่ 2 ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินในอาคารบริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหาย (ค่าสินไหมทดแทน) ให้ในกรณีที่ทรัพย์สินภายในอาคารของเราได้รับความเสียหายจากภัยเหล่านี้    •  อัคคีภัย แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า น้ำท่วม การไหลล้นหรือการระเบิดของแท้งค์น้ำ พายุเฮอริเคน พายุไซโคลน พายุใต้ฝุ่น หรือลมพายุ    •  การระเบิด    •  อุปกรณ์ส่วนควบของแท้งค์น้ำหรือท่อน้ำ    •  อากาศยาน หรือสิ่งของจากอากาศยาน หล่นใส่อาคาร    •  การถูกชนจากพาหนะทางบก เช่น รถยนต์ ม้า หรือปศุสัตว์ต่างๆ ซึ่งผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ด้วยกัน ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือดูแลอยู่    •  การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ หรือความพยายามการลักทรัพย์โดยใช้กำลังรุนแรงเพื่อเข้าไป หรือออกจากอาคารหมวดที่ 3 ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวและการสูญเสียค่าเช่าหากอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายจากภัยที่ได้กล่าวมาข้างต้น จนไม่สามารถพักอาศัยได้ ทางบริษัทประกันจะดำเนินการหาที่พักชั่วคราว หรือจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปเช่าที่พักอาศัยอยู่จนกว่าอาคารนั้นจะซ่อมเสร็จหมวดที่ 4 คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกหากที่อยู่อาศัยของเราสร้างความเสียหายให้แก่บุคคลภายนอก บริษัทประกันจะชดเชยค่าสินไหมแทนเรา (ผู้เอาประกันภัย) โดยแบ่งความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกได้ 2 กรณี ดังนี้    •  ความรับผิดต่อร่างกายของบุคคลภายนอก เช่น การเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ความบาดเจ็บต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น นายเอเดินชนเสาบ้าน(เรา) จนถึงแก่ชีวิต บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวของนายเอแทนเรา    •  ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอาคาร หรือเกี่ยวข้องกับอาคารตัวอย่างเช่น รถยนต์ของนายเอโดนเสาบ้าน(เรา) หล่นใส่จนต้องนำไปซ่อม บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายเอเพื่อนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการซ่อมแซมรถหมวดที่ 5 ความคุ้มครองสำหรับเงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยหากเรา(ผู้เอาประกันภัย) ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตทันที หรือได้รับบาดเจ็บจากจากภัยซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ประกันคุ้มครอง ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุขณะที่อยู่ภายในอาคารที่ทำประกันภัยไว้ บริษัทประกันจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ ตัวอย่างเช่น เกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลัน เราไม่สามารถหนีออกจากบ้านที่ทำประกันไว้ได้ทันทำให้จมน้ำเสียชีวิตทันที ทางบริษัทก็จะจ่ายเงินสินไหมชดเชยให้แก่ผู้รับผลโยชน์ที่เราระบุไว้ในกรมธรรม์ขอบคุณแหล่งที่มาสำนักงานคณะกรรมกากำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับแหล่งที่มาข่าว noonhttps://www.noon.in.th/blog/good-point-of-house-insurance/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

เมื่อวันเกษียณมาถึง เราจะบริหารจัดการเงินอย่างไร?

30/04/2024

บทความโดย “วิไล รักต้นตระกูล” นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ​ วันที่ 12 มิถุนายน 2566 สมสมร คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว สาวใหญ่วัย 53 ปี ผู้ซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนมาตลอด 30 ปี ตั้งแต่เรียนจบ สมสมรก็ได้เข้าทำงานในองค์กรใหญ่ และก้าวหน้าในอาชีพการงาน เป็นเสาหลักของครอบครัว เป็นคนมีระเบียบวินัยในการใช้เงิน มีเงินเก็บเงินออมไว้ให้ตัวเองสำหรับปั้นปลายชีวิตอยู่หนึ่งก้อนใหญ่ แต่ยิ่งใกล้วันที่จะต้องเกษียณอายุเข้ามาจริง ๆ สมสมรก็มีความกังวลใจว่าเงินก้อนที่สะสมมานั้นจะเพียงพอใช้จ่ายไปจนถึงบั้นปลายชีวิตจริง ๆ ไหม เพราะค่าครองชีพก็สูงมากขึ้นทุกวัน ๆ ข้าวของแพงขึ้นในทุก ๆ ปี เพื่อคลายความกังวลใจ สมสมรจึงศึกษาหาความรู้ในเรื่องการบริหารการจัดการเงินเพื่อการเกษียณและได้พบกับ “อิสระ” นักวางแผนการเงิน ผู้มีสโลแกนประจำตัวว่าเป็น “นักสร้างอิสรภาพทางการเงินมืออาชีพ” ที่บูทของสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ในงาน SET IN THE CITY เธอจึงนัดเพื่อขอรับคำปรึกษาในทันที ข้อมูลทางการเงินเบื้องต้นของสมสมร ปัจจุบันสมสมรมีเงินก้อนเตรียมไว้ 15 ล้านบาท สำหรับเกษียณ มีแผนจะเกษียณเมื่ออายุ 55 ปี ไม่มีหนี้สิน ไม่มีภาระใด ๆ มีลูกชาย 1 คน ซึ่งจะเรียนจบปริญญาตรีในปีที่สมสมรเกษียณอายุพอดี สมสมรมีแผนการใช้จ่ายเมื่อเกษียณอายุ ดังนี้ 1. กินอยู่ใช้จ่ายเดือนละ 30,000 บาท ไปจนถึงอายุ 99 ปี 2. ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล สมสมรกลัวค่าใช้จ่ายในเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่แพงหูฉี่ จากประสบการณ์ที่เห็นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของเพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันที่เวียนเข้าโรงพยาบาล ตกครั้งละเป็นหลักแสนเลยทีเดียว จึงได้เตรียมทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณ ประกันเล่มนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทั้งสิ้นประมาณ 2 ล้านบาท ซึ่งเธอได้เตรียมเงินอีกก้อนไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มา อิสระคำนวณเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณออกมาได้เป็นจำนวนเงินที่ต้องเตรียมคือ 13,757,893 บาท โดยตั้งสมมติฐานการลงทุนหลังเกษียณที่ผลตอบแทน 4% ต่อปี เงินเฟ้อ 3% ต่อปี และเบิกใช้เดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลา 44 ปี จนถึงอายุ 99 ปี  ดังนั้น จากการคำนวณเบื้องต้นสินทรัพย์ของสมสมร 15 ล้านบาทนั้น ก็มีเพียงพอในการดำรงชีวิตหลังเกษียณด้วยการนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนปีละ 4% แต่สมสมรเองนั้นก็ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนเลย ที่เคยลงทุนก็คือการซื้อกองทุนไว้เพื่อลดหย่อนภาษีเท่านั้น ดังนั้น เธอจึงมีความกังวลในเรื่องของการที่จะจัดสรรเงินลงทุน เพราะเงินก้อนนี้เป็นเงินก้อนสุดท้ายที่สำคัญในชีวิต ซึ่งเธอไม่สามารถรับภาวะขาดทุนหนัก ๆ จากการลงทุนได้ อิสระเข้าใจจึงได้อธิบายหลักการวางแผนการลงทุน และการบริหารเงินหลังเกษียณเพื่อลดความเสี่ยงของการขาดทุนจากการลงทุน เพื่อคลายความกังวลของสมสมร แนะนำให้แบ่งเงินก้อนใหญ่ออกมาเป็น 3 ส่วน หรือกลยุทธ์ที่เรียกว่า 3 Buckets ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่นิยมในการบริหารเงินวัยเกษียณดังนี้ ซึ่งการลงทุนด้วยกลยุทธ์ 3 Buckets นี้มีหลักการสำคัญคือ การ “รินกำไรใส่ถังล่าง” เมื่อ Bucket ที่ 2 มีกระแสเงินสด ก็ให้นำมาใส่ Bucket ที่ 1 และเมื่อ Bucket ที่ 3 มีกำไรจากการลงทุนก็ให้ขายกำไรออกเพื่อมาใส่ใน Bucket ที่ 2 เพื่อเก็บกำไรไว้สม่ำเสมอ โดยตั้งเป้าหมายเมื่อ Bucket ที่ 3 มีกำไรในระดับ 20% ก็จะขายส่วนกำไรมาเข้าใน Bucket ที่ 2 และจะย้ายเงินจาก Bucket ที่ 2 มาอยู่ Bucket ที่ 1 ทุกต้นปีตามจำนวนของค่าใช้จ่ายในปีนั้น ๆ กลยุทธ์ 3 Buckets นี้มีข้อดีคือ ความอุ่นใจ ว่าจะไม่ขาดทุนหนัก เนื่องจากเงินส่วนใหญ่ประมาณ 80% จะอยู่ในสินทรัพย์ปลอดภัย และแบ่งเงินส่วนน้อย ประมาณ 20% ลงทุนในพอร์ตเสี่ยงสูง เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เงินเติบโตเพียงพอใช้จ่าย และรักษาเงินต้นไม่ให้หายไปในวันที่ตลาดหุ้นตกหนัก ๆ เพราะเป็นกลยุทธ์การลงทุนแบบระยะยาวที่สามารถมีเวลารอจนตลาดฟื้นตัวขึ้นมาได้ในที่สุดสมสมรได้ฟังกลยุทธ์ 3 Buckets แล้วก็เข้าใจและคลายกังวล และอยากจะเริ่มเปิดพอร์ตตามหลักการ 3 Backets ในทันที ภาพการบริหารเงินให้เกษียณอย่างเกษมของสมสมร ก็แจ่มชัดขึ้นสดใส ขอบคุณน้องอิสระ “นักสร้างอิสรภาพทางการเงินมืออาชีพ” ที่มาช่วยวางแผนบริหารเงินยามเกษียณให้พี่สมสมรนะคะ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1318347

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

แบงก์ชาติ เปิด 4 จุดสังเกตก่อนกู้ออนไลน์ ต้องรู้ทันโจร

30/04/2024

ธนาคารแห่งประเทศ แนะ 4 ข้อสังเกตก่อนกู้เงินออนไลน์ ก่อนตกเป็นเหยื่อ หวั่นมิจฉาชีพ-กู้นอกระบบคิดดอกเบี้ย/ตามหนี้โหด หวังปิดช่องโหว่เพื่อป้องกันภัยการเงิน วันที่ 11 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การกู้เงินในยุคปัจจุบันทำได้ง่ายและรวดเร็วผ่านมือถือโดยไม่ต้องออกจากบ้านให้ยุ่งยาก แต่สิ่งที่ยากสำหรับผู้กู้คือ จะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือผู้ให้กู้ที่ไม่คิดดอกเบี้ยหรือทวงถามหนี้โหด หรือไม่ใช่มิจฉาชีพที่จะมาหลอกเอาเงินเราไป และยิ่งหากได้รับ “SMS” หรือมีคน “โทรศัพท์” หรือ “แอดไลน์” (add Line) มาแล้วอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทที่จะให้เงินกู้หรือให้เงินช่วยเหลือ อย่ารีบกดลิงก์หรือกรอกข้อมูล ควรเช็กให้ชัวร์ก่อน จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวง โดยมีวิธีสังเกต ดังนี้ 1. แยกแยะผู้ให้เงินกู้ ลองมาดูว่าผู้ให้บริการ 3 แห่งด้านล่างนี้ ใครคือผู้ให้กู้ในระบบ ผู้ให้กู้นอกระบบ และมิจฉาชีพ     •  ผู้ให้กู้ในระบบหรือผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต (แอป A) จะให้เงินกู้เราเต็มจำนวน และอัตราดอกเบี้ยไม่เกินที่ทางการกำหนด     •  ผู้ให้กู้นอกระบบ (แอป B) มักให้เงินกู้ไม่เต็มจำนวน ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน แต่เมื่อคืนเงินกู้ต้องจ่ายเต็มจำนวนบวกกับดอกเบี้ยหรือค่าปรับที่สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด หากจ่ายช้าจะถูกข่มขู่ หรือไปทวงกับบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในโทรศัพท์ของผู้กู้ ทำให้อับอาย เพราะผู้ให้กู้นอกระบบบางรายจะให้ผู้กู้ดาวน์โหลดแอปซึ่งให้คลิกอนุญาตเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ     •  แอปเงินกู้ปลอม ที่ไม่ได้ให้เงินกู้ (แอป C) โดยจะใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น โฆษณาบนเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ส่ง SMS หรือแม้แต่โทร.หาโดยตรง หากผู้ที่ได้รับการติดต่อสนใจ มิจฉาชีพก็จะส่ง SMS มาให้คลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดแอป หรือให้แอดไลน์คุยกัน จากนั้นจะสอบถามข้อมูลส่วนตัว ให้ทำสัญญาเงินกู้ และขอเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชีเงินฝาก คล้ายกับการขอกู้ที่ธนาคาร ทำให้เหยื่อเริ่มเชื่อใจ จากนั้นจะโน้มน้าวให้โอนเงินเป็นค่าค้ำประกัน โดยบอกว่าจะคืนให้พร้อมกับเงินกู้ หากหลงกลก็จะหลอกล่อให้โอนเพิ่มอีกเรื่อย ๆ เช่น อ้างว่าโอนเงินไม่ได้เพราะเหยื่อกรอกเลขที่บัญชีผิด มีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขเอกสารเพื่อปลดล็อก หรือต้องจ่ายค่าลัดคิวจึงจะได้เงินเร็วขึ้น หากเหยื่อเริ่มรู้ทันก็จะถูกบล็อก ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้อีก 2. ไม่แน่ใจ อย่าเพิ่งคลิก หากลองแยกแยะแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะใช่ผู้ให้กู้ในระบบหรือเปล่า ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนใช้บริการ ดังนี้     •  ตรวจสอบรายชื่อแอปและชื่อผู้ให้บริการ นำข้อมูลชื่อแอปและชื่อผู้ให้บริการไปเทียบกับรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต โดยสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “เช็กแอปเงินกู้” ที่รวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตในส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแล และยังมีลิงก์ไปยังเว็บไซต์กระทรวงการคลัง ซึ่งรวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ไว้ในที่เดียว     •  ติดต่อสอบถามตามที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ที่ได้จากข้อ 1) เพราะบางครั้งมิจฉาชีพหรือแอปเงินกู้นอกระบบจะตั้งชื่อแอปคล้ายคลึงกับผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต หรือสวมรอยเป็นผู้ได้รับอนุญาต เราจึงควรสอบถามหรือหาข้อมูลด้วยตัวเองจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ว่าเป็นแอปของผู้ให้บริการจริงหรือไม่ 3. เลือกแหล่งดาวน์โหลดแอปที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือที่ถูก jail break ในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อป้องกันภัยจากมัลแวร์ 4. อย่าลืมอ่านเงื่อนไขก่อนกู้ ไม่รีบกู้จนลืมดูรายละเอียดที่จำเป็น เช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระของเราโดยควรกู้เท่าที่จำเป็น และรวมภาระผ่อนชำระหนี้ทุกก้อนของเราต่อเดือนไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน เพื่อไม่เกินกว่าที่เราจ่ายคืนได้ การปราบปรามและควบคุมดูแลเงินกู้นอกระบบและมิจฉาชีพเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการปิดช่องโหว่เพื่อป้องกันภัยการเงิน ขณะเดียวกันการป้องกันตนเองที่ดีที่สุดคือการติดตามข่าวสารการเตือนภัยสม่ำเสมอเพื่อให้รู้เท่าทัน เช่น เพจเตือนภัยออนไลน์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่สำคัญต้องไตร่ตรองด้วยเหตุและผล หากไม่แน่ใจให้สอบถามข้อมูลจากหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องก่อน ก็จะช่วยให้เราใช้บริการออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย หากโอนเงินไปให้มิจฉาชีพแล้ว ให้รีบไปแจ้งความที่สถานีตำรวจหรือแจ้งความออนไลน์ได้ที่ www.thaipoliceonline.comแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1318187

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

นโยบายการคลัง กับธุรกิจประกันภัยในอนาคต

30/04/2024

คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงินผู้เขียน : พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่ แอคชัวรี)จากที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ของคุณศิริกัญญา ตันสกุล หรือคุณไหม ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากรายการลงทุนแมน การให้สัมภาษณ์ในช่วงแรกพูดถึงนโยบายของพรรคที่พวกเรารู้กันอยู่แล้ว แต่ช่วงหลังเป็นการถาม-ตอบประเด็นต่าง ๆ ที่หลายคนสงสัย ว่าถ้านำนโยบายเหล่านี้มาใช้จริง ธุรกิจประกันภัยจะมีผลกระทบในทิศทางไหนบ้างอย่างแรก ถ้าสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ ก็มีแนวโน้มที่คนจะสนใจซื้อประกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันวินาศภัย เพราะก่อนที่คนจะตัดสินใจซื้อประกัน จะต้องจัดการเรื่องปากท้อง ชีวิตความเป็นอยู่ ณ เวลานั้นให้ดีเสียก่อน ถึงจะให้ความสนใจเรื่องความมั่นคงในระยะยาวให้กับคนรอบข้าง ซึ่งส่วนนี้ผมมองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยบริหารความเสี่ยง และลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในครอบครัวได้อย่างยั่งยืนอย่างที่สอง เนื่องจากธุรกิจประกันภัย เป็นอุตสาหกรรมภาคบริการ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ผมมองว่ามันไม่ได้มีผลกระทบกับธุรกิจประกันภัยโดยตรง แต่อาจจะมีผลกระทบในทางอ้อม ที่เกิดจากอัตราเงินเฟ้อ (ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ยิ่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อัตราเงินเฟ้อจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น)มีผลให้ทุนประกันที่มีอยู่ไม่เพียงพอ เนื่องจากทุนประกันของกรมธรรม์เดิมมีอัตราคงที่ จำเป็นต้องซื้อทุนประกันเพิ่มเพื่อชดเชยเรื่องเงินเฟ้อ จึงจำเป็นต้องซื้อประกันที่มีความคุ้มครองเพิ่มมากขึ้นอย่างที่สาม ในกรณีที่อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวสูงขึ้น ส่งผลให้เป้าหมายเงินเก็บสะสมยามเกษียณ เริ่มห่างไกลออกไปอีก โดยเฉพาะกรมธรรม์สะสมทรัพย์ที่ให้เงินก้อนตอนอายุ 60 ปี หรือครบกำหนดสัญญา หรือประกันบำนาญ ที่มีการจ่ายเงินก้อนอัตราคงที่ในแต่ละงวด ก็จะสู้สภาวะเงินเฟ้อไม่ไหว หรือไม่ก็ต้องขายประกันตัวใหม่ที่คุ้มครองเรื่องอัตราเงินเฟ้อไปด้วยอย่างที่สี่ การเก็บภาษีจากกำไรเงินลงทุน Capital Gains Tax (CGT) ได้มีการพูดคุยกันหลายครั้ง ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะทำให้ตลาดทุนที่เป็นตลาดหุ้นเกิดผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ธุรกิจประกันที่อยู่ภายใต้กฎหมายธุรกิจเฉพาะ Specific Business Tax (SBT) ซึ่งต้องตามกันต่อว่าจะมีผลกระทบหรือไม่แต่ในความคิดส่วนตัวของผม ผมมองว่าไม่มีผลกระทบ ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบของบริษัทประกันในการลงทุนมากขึ้น และในอีกมุมหนึ่งก็อาจจะทำให้เม็ดเงินที่หนีจากตลาดหุ้น จะมาอยู่ที่ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และประกันบำนาญเพิ่มมากขึ้นและอย่างสุดท้าย ภาษีความมั่งคั่ง Wealth Tax จากผู้ที่มีสินทรัพย์ (รวมถึงหุ้นที่ถือด้วย) หักลบกับหนี้สิน หากเกิน 300 ล้านบาท จะต้องถูกเก็บภาษีที่อัตรา 0.5% แต่ต้องเข้าใจกันก่อนว่า สินทรัพย์ในที่นี้ รวมถึงมูลค่าของประกันชีวิตหรือประกันบำนาญด้วยหรือไม่ ซึ่งจะต้องให้บริษัทประกันคุยกันแต่ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าไม่ควรรวมเข้าไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับภาษีมรดก ในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยจะไม่ถูกนับรวมส่วนเรื่องอื่น ๆ เช่น เรื่องทลายนายทุนผูกขาด โดยเฉพาะธุรกิจน้ำเมา ส่วนนี้ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรง ซึ่งถ้านโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุรา แล้วโปรโมตเรื่องเมาแล้วไม่ขับให้มากขึ้น ตรงนี้ก็จะไม่มีผลกระทบกับประกันอุบัติเหตุแต่อย่างใดครับแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1316401

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวทั่วไป

คนเก่ง กับ การวัดผลงาน | วิฑูรย์ สิมะโชคดี

30/04/2024

ทุกวันนี้ เราทุกคน (โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง) ต่างรู้ดีว่า “คน” คือ “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” ที่สำคัญที่สุดขององค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของต้นทุนสูง  รายได้ต่ำ ของเสียมาก ผลผลิตไม่ได้ตามเป้า และอื่นๆ อีกมากมายที่มีผลกระทบต่อองค์กร จนกลายเป็น “ปัญหาซ้ำซาก” ในการบริหารจัดการตลอดมา  ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อ “กำไรขาดทุน” ของกิจการ โลกของธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงมากในวันนี้  จึงเป็นโลกของการแย่งชิง “บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่น” หรือ “คนเก่ง” (Talent People) พูดง่ายๆ ว่า  ทุกองค์กรต่างแย่ง “คนเก่ง” กันเพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตขององค์กร ทั้งที่มีปัจจัยต่างๆ มากมายที่แต่ละองค์กรจะสามารถดึงรั้งและสงวนรักษาไว้ซึ่งคนเก่งที่มีอยู่แล้วให้อยู่กับองค์กรนานๆ สิ่งที่นิยมทำกันในปัจจุบัน ก็คือ “การซื้อตัว” คนเก่งจากองค์กรอื่นๆ ทั้งๆ ที่เราก็สามารถบ่มเพาะและสร้างคนเก่งจากภายในองค์กรของเราเองก็ได้  แต่เห็นว่าการซื้อตัวเป็นการลงทุนน้อยกว่าและใช้เวลาไม่มาก เรื่องนี้จึงอยู่ที่ “ผู้บริหารระดับสูง” หรือ CEO ของแต่ละองค์กรโดยแท้ “ผู้บริหารระดับสูง” ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่ง เพราะทุกกิจการจะอยู่รอด เจริญรุ่งเรือง หรือ จะล่มสลายต้องปิดกิจการ ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้บริหารในความเป็นผู้นำองค์กร การกำหนดวิสัยทัศน์ วิธีการบริหารจัดการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมตลอดถึงเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรม ผู้บริหารจะเป็นผู้กำหนดทิศทาง และตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การตลาด การผลิต การบุคคล การขยายกิจการ ตลอดจนเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ว่าไปแล้ว หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ “ผู้บริหารมืออาชีพ” ก็คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (ทั้งที่มีอยู่และที่จะแสวงหาเพิ่มเติม) ด้วยการบริหารจัดการ เพื่อให้การปฏิบัติการต่างๆสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดตรงประเด็น ซึ่งหนีไม่พ้น “การบริหารคน” เป็นสำคัญ การประเมินผลการปฏิบัติงาน หรือ “การวัดผลงาน” (Performance Management) ของบุคลากรในองค์กร จึงมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของทุกองค์กร การสงวนรักษาไว้ซึ่ง “คนเก่ง” จึงต้องอาศัย “การวัดผลงาน” ที่ชัดเจน เป็นธรรม และรวดเร็วทันการ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานและสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง ที่จริงแล้ว คำว่า “Performance” เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดในศตวรรษที่สิบห้า อันหมายถึง การละคร และการมหรสพต่างๆ  ซึ่งเรียกผู้เล่นละครว่า Performer  แต่ในปัจจุบันคำนี้มีความหมายกว้างขวางมากขึ้นอีก คือไม่เพียงแต่ความหมายทางวัฒนธรรมดังกล่าว ยังครอบคลุมถึงการแสดงคอนเสิร์ต และการแข่งขันกีฬาด้วย ในการแข่งขันกีฬานั้น นอกจากจะรู้ว่าใครชนะใครแพ้ (ทีมชนะ และทีมแพ้) ในทันทีที่จบเกมส์การแข่งขันแล้ว การวัดผลการแข่งขัน ยังแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่อยู่เบื้องหลังการแข่งขันกีฬาด้วย เช่น สุขภาพและความแข็งแรงของนักกีฬา กฎกติกามารยาท เป็นต้น ดังนั้น การแข่งขันกีฬาใดๆ ไม่ว่านักกีฬาจะวิ่งแข่ง ยกน้ำหนัก ว่ายน้ำ ตีเทนนิส เล่นฟุตบอล หรือการแข่งขันใดๆ ก็จะต้องมีการวัดผลงาน  เพื่อหานักกีฬาหรือทีมที่เก่งกว่า ดีกว่า โดยวัดด้วยการจับเวลา ระยะทาง ประตูที่ยิงได้ แต้ม คะแนน หรือตัวแสดงผลอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าการวัดผลงาน นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหลัก (แพ้ชนะ) ยังแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่อยู่เบื้องหลัง (สุขภาพ) ควบคู่กันไปด้วย การแข่งขันกีฬาสามารถให้ผลลัพธ์เป็นคะแนนตอบสนองกลับมาอย่างชัดเจนได้ทันทีว่า ใครแพ้ใครชนะ ใครเก่งกว่าใครแค่ไหนเพียงใด และอย่างไรบ้าง  รวมตลอดถึงการแสดงให้เห็นว่า  ใครมีร่างกายที่แข็งแรง  ใครเหมาะสมกว่า  ความมีน้ำใจนักกีฬา  และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนอื่นๆ แต่ในการทำงานนั้น  เรามักจะไม่ได้รับรู้ผลลัพธ์ของ “การวัดผลงาน” ที่ตอบกลับมาอย่างรวดเร็ว และตรงเป้าตรงประเด็นว่า เราทำงานได้ดีมากน้อยเพียงใดตามเป้าหมาย และไม่ได้บอกชัดเจนว่า เราเหมาะสมกับงานที่ทำหรือไม่ อย่างไรบ้าง เรามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไรในงานที่ทำ เราจะต้องปรับปรุงตัวเองในเรื่องใดอย่างไรบ้างจึงจะทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย เป็นต้น ซึ่งควรรวมอยู่ในวิธีการประเมินหรือวัดผลงานอย่างครอบคลุมทั้งเป้าหมายหลักและเป้าหมายเบื้องหลังเช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬาที่กล่าวข้างต้น ทั้งหมดทั้งปวงนี้  เพียงต้องการเน้นย้ำว่า การวัดผลงานที่ดี จะต้องชัดเจน เป็นธรรม และรวดเร็ว เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ความพึงพอใจ  และสร้างความฮึกเฮิมที่จะทำงานบรรลุเป้าหมายต่อไปได้ (เช่นเดียวกับการรู้ผลของการแข่งขันกีฬาในทันทีที่จบเกมส์) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการวัดผลงานของคนเก่ง ที่ต้องการรู้ว่าเขาเก่งแค่ไหน และเขาเหมาะที่จะอยู่กับองกรค์ต่อไปหรือไม่ ทุกวันนี้ เราต่างรู้ดีว่า “คน” มีความสำคัญยิ่งยวดต่อองค์กร  แล้วเราได้ทำการพัฒนาคนตามที่บอกว่าสำคัญ จริงหรือไม่และมากน้อยเพียงใด ครับผม ! แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ https://www.bangkokbiznews.com/health/labour/1071751

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

“งบการเงินที่ดี”...จึงจะเป็นประโยชน์กับ “ผู้ใช้” !!!

30/04/2024

Where2put Ur Money: เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในแนวทางการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งเป็นตัวเลขจากงบการเงินเพื่อนำมาช่วยในการตัดสินใจลงทุนค้นหาหุ้นที่ดีในราคาที่เหมาะสม (Good Stock at Good Price) ก็คือ “การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)” แต่ก่อนที่จะลงมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากงบการเงิน พอจะทราบกันไหมครับว่า ลักษณะของ “งบการเงินที่ดี” ตามแม่บทบัญชีเป็นอย่างไรบ้าง เชื่อว่า หลายๆ คนคงยังไม่ทราบกัน โดยลักษณะของงบการเงินที่ดีควรเป็นดังนี้ครับ      •  ความเข้าใจได้ (Understandability) โดยอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามสมควรในเรื่องบัญชี และกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ ดังนั้น เมื่อมีการใช้ข้อมูลในงบการเงินดังกล่าว จึงสามารถทำความเข้าใจในข้อมูลได้ในทันที     •  ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ข้อมูลในงบการเงินต้องมีประโยชน์ สามารถช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินประเมินสถานการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยัน หรือชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงิน เพื่อที่จะได้นำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่เกิดให้ดีขึ้น     •  ความมีนัยสำคัญ (Materiality) ข้อมูลในงบการเงินต้องมีความเกี่ยวข้อง และมีประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน     •  ความเชื่อถือได้ (Reliability) ข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นข้อเท็จจริง มีแหล่งที่มาชัดเจน มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในสาระสำคัญอันจะไม่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดได้ และถ้าเป็นการคาดการณ์ก็ต้องสมเหตุสมผล สอดคล้องกับความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น     •  การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Faithful Presentation) ข้อมูลในงบการเงินต้องทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเชื่อได้ว่า ข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการที่ต้องการให้แสดง และปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ    •  ความเป็นกลาง (Neutrality) เนื่องจากงบการเงินถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับกลุ่มคนหลายฝ่าย ดังนั้นข้อมูลในงบการเงินต้องถูกนำเสนอด้วยความเป็นกลาง และปราศจากซึ่งความลำเอียง     •  เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance Over Form) ข้อมูลในงบการเงินต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียงแค่จัดทำตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว     •  ความระมัดระวัง (Prudence) เนื่องจากการจัดทำงบการเงินดำเนินการภายใต้ความไม่แน่นอน จึงต้องมีการใช้ดุลพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบในการประมาณการเพื่อไม่ให้รายการบางรายการสูง หรือต่ำเกินไป จนทำให้ขาดความเป็นกลาง และไม่น่าเชื่อถือ     •  ความครบถ้วน (Completeness) หากข้อมูลในงบการเงินไม่ครบถ้วน ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน และนำไปสู่ความผิดพลาดได้     •  การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) ผู้ใช้งบการเงินไม่เพียงแต่ต้องสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงินระหว่างกิจการได้ หากยังต้องสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาที่ต่างกันได้ด้วย เพื่อที่จะประเมินการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการที่เกิดขึ้น     •  ทันต่อเวลา (Timelines) ต้องมีการปิดงบการเงินให้ทันเวลาก่อนที่จะมีการตัดสินใจใดๆ เนื่องจากการรายงานข้อมูลที่ล่าช้าอาจส่งผลให้การตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินผิดพลาดได้     •  ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป (Balance Between Benefit and Cost) โดยทั่วไป ประโยชน์ที่ได้รับจากข้อมูลในงบการเงินควรมากกว่าต้นทุนในการจัดหาข้อมูลนั้นๆ     •  การแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร (Appropriate Display of Information) เพียงพอ และมีสาระสำคัญทั้งในด้านฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงาน แน่นอนว่า “งบการเงิน” จะให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งบการเงิน ก็ต่อเมื่องบการเงินนั้นมี “ลักษณะที่ดี” ตามแม่บทบัญชีที่ได้กำหนดไว้ข้างต้นนั่นเองครับ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythai https://www.wealthythai.com/en/updates/wealth-management/where-to-put-your-money/18247

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X