คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ประกันภัย

คลัง ลดเงินสมทบบริษัทกลาง 3 ปี บรรเทาธุรกิจประกันภัย หลังอ่วมโควิด

30/04/2024

คปภ. ยกร่างประกาศกระทรวงการคลัง ลดเงินสมทบบริษัทกลาง 3 ปี จากระดับ 12.25% เหลือแค่ 6% ของเบี้ย พ.ร.บ.ที่ได้รับแต่ละไตรมาส ตั้งแต่เดือน ต.ค. 66-ก.ย. 69 เพื่อช่วยบรรเทาธุรกิจประกัน หลังอ่วมจ่ายเคลมโควิดวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2566 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เผยแพร่ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (ฉบับที่…) พ.ศ. …ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ลงวันที่ 26 เมษายน 2553 ซึ่งกำหนดอัตราเงินสมทบไว้เป็นอัตรา 12.25% เพื่อให้ภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทประกันวินาศภัยลดลง อันเป็นการช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพของบริษัทประกันวินาศภัย ประกอบกับประมาณการฐานะการเงินของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ยังคงมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนในระดับที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอต่อการดำเนินการตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 10 ทวิ วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 ประกอบมาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้แก้ไขเพิ่มเติม– ให้บริษัทประกันภัยจ่ายเงินสมทบให้แก่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นรอบ 3 เดือน ในอัตราดังต่อไปนี้– สำหรับการจ่ายเงินสมทบรอบเดือน ต.ค. 2566 ถึงรอบเดือน ก.ย. 2569 ให้นำส่งในอัตรา 6% ของเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535– สำหรับการจ่ายเงินสมทบรอบเดือน ต.ค. 2569 เป็นต้นไป ให้นำส่งในอัตรา 12.25% ของเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535“การคำนวณเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำเบี้ยประกันภัยที่เกิดขึ้นในรอบ 3 เดือนใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบ 3 เดือนนั้นมารวมคำนวณเป็นเบี้ยประกันภัยของรอบ 3 เดือนนั้น”แหล่งที่ที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1344610#google_vignette

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

“ALive Powered by AIA” ฉลองความสำเร็จผู้ใช้งาน 1 ล้านคน

30/04/2024

กรุงเทพฯ 7 กรกฎาคม 2566 - ALive Powered by AIA (เอ ไลฟ์ พาวเวอร์ บาย เอไอเอ) แอปพลิเคชันครบวงจรด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ฉลองความสำเร็จก้าวสำคัญหลังมีผู้ใช้งานเกิน 1 ล้านคนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ตอกย้ำความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า โดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้ผู้ใช้งานทุกคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา 'Healthier, Longer, Better Lives' ALive ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยความมุ่งมั่นอย่างตั้งใจของ เอไอเอ เวลเนส  เพื่อเติมเต็มชีวิตของผู้ใช้งานในด้านต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องสุขภาพ ความมั่นคงทางการเงิน และครอบครัว เจตนารมณ์นี้สอดคล้องกับพันธกิจ “AIA One Billion” ที่มุ่งสนับสนุนให้ผู้คนกว่าพันล้านคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นภายในปี พ.ศ. 2573 โดยกลุ่มบริษัทเอไอเอได้ริเริ่มภารกิจเพื่อส่งเสริมให้เราสามารถไปถึงจุดมุ่งหมายในการเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน เพื่อมีส่วนช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกชีวิตในสังคมของเรา นับตั้งแต่เริ่มให้บริการ ALive ได้พัฒนาและผสานเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันเพื่อขับเคลื่อนชีวิตของผู้คนในด้านต่างๆ ผ่านการออกแบบหน้าจอแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย มีเนื้อหาที่หลากหลายตรงกับความสนใจของผู้ใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านการบริหารและจัดการอารมณ์ สุขภาพร่างกาย จิตใจ ความมั่นคงทางการเงิน การงานและอาชีพ  การวางแผนทางการเงิน ไลฟ์สไตล์ การพัฒนาตนเอง และการดูแลความสัมพันธ์นายจุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนา ดิจิทัล โซลูชันส์ แอนด์ ดีไซน์ เอไอเอ เวลเนส กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่แอปพลิเคชัน ALive Powered by AIA ได้บรรลุอีกก้าวสำคัญโดยมีผู้ใช้งานถึงหนึ่งล้านคน ความสำเร็จครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการยกระดับชีวิตของผู้คนทั่วประเทศไทย เราขอขอบคุณผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน ALive จากใจ ที่ให้ความไว้วางใจและสนับสนุนเป็นอย่างดี ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทของทีมงานเบื้องหลังทุกคน ซึ่งอนาคตต่อไปจากนี้เราพร้อมที่จะเดินหน้าขยายการให้บริการและปรับปรุงพัฒนาแอปพลิเคชันด้านโซลูชันเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีครอบคลุมรอบด้านเพื่อผู้ใช้งานทุกคน ตลอดจนเดินหน้าส่งเสริมให้คนไทยทั่วประเทศบรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีชีวิตที่ดีขึ้น” ALive คือแอปพลิเคชันครบวงจรสำหรับทุกคนในสังคม ตั้งแต่กลุ่มที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วัยทำงานไปจนถึงวัยสร้างครอบครัว ภายในแอปพลิเคชันมีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์มากมายอย่าง ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (Telemed) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์แบบออนไลน์โดยไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล คำนวณแคลอรี่ (Calories Tracker)* ช่วยตรวจสอบปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับในแต่ละวันพร้อมรับคำแนะนำในการทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี กิจกรรมไลฟ์ (ALive Show) อัปเดตข้อมูลล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพใจผ่านรูปแบบวิดีโอ พร้อมกับฟีเจอร์ สกู๊ป (Scoop) ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในรูปแบบคลิปวิดีโอที่ผู้ใช้งานสามารถดูและแชร์ต่อได้  คอมมิวนิตี (Community) สร้างแพลตฟอร์มให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการสนทนาเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว, สุขภาพ, ความรัก, อาชีพ และการเงิน และยังมีฟีเจอร์ สิทธิพิเศษ (Rewards) ที่มอบสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน นอกจากนี้ ความสำเร็จของ ALive ยังพิสูจน์ได้จากรางวัลมากมายที่ได้รับ อาทิ รางวัลชนะเลิศในสาขา Connected Ecosystems & Marketplace ในงานประกาศรางวัล EFMA-Accenture Innovation in Insurance Awards เมื่อปี 2565 รางวัลสุดยอดการสร้างประสบการณ์แก่ลูกค้าแห่งโลกอนาคต “Best in Future of Customer Experience” จากเวที IDC DX Summit & Future Enterprise Awards ในปี 2565 ระดับภูมิภาคอาเซียน และรางวัล Parent's Choice หรือสุดยอดผลิตภัณฑ์ในดวงใจของคุณพ่อคุณแม่ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Health App for Family ในงาน theAsianparent Awards สองปีซ้อน (2564-2565) และเมื่อไม่นานมานี้ ALive เพิ่งคว้ารางวัล Model Insurer Awards อันทรงเกียรติจาก Celent ในสาขา “Customer Experience Transformation” ประจำปี 2566 แอปพลิเคชัน ALive Powered by AIA พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้วบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android สำหรับลูกค้าทั่วไปสามารถสมัครใช้บริการและสนุกไปกับฟีเจอร์ต่างๆ ได้เช่นกัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ALive Powered by AIA

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวทั่วไป

อุปนิสัยที่ควรแก้ไขเร่งด่วน ถ้าอยากประสบความสำเร็จ

30/04/2024

การพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จ คุณต้องปรับปรุงอุปนิสัยที่เป็นปัญหาในการพัฒนาตนเองก่อนทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการกระทำของตัวเราเองทั้งสิ้น เลิกคิดลบ ความคิดบวกและความคิดลบสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเวลา แต่ความคิดลบมักเกิดได้เร็วกว่า ดังนั้น จงรักษาทัศนคติให้มีแต่ความคิดบวกไว้มาก ๆ หยุดนึกถึงอดีตที่ล้มเหลว ความล้มเหลวเป็นตัวชี้ข้อผิดพลาดที่คุณเคยทำผ่านมา คือทางผ่านเป็นเรื่องของขบวนการ ไม่ได้เป็นจุดจบของทั้งชีวิต อย่าตีความว่านั้นต้องเป็นเครื่องแสดงความอัปยศไปตลอดชีวิต อย่าทิ้งบทเรียนที่ได้มา หรือความตั้งใจแรกในการทำสิ่งนั้น หยุดผัดวันประกันพรุ่ง การปล่อยปละละเลยหน้าที่การงานในส่วนที่เราไม่ชอบไม่เกิดผลดีใด ๆ และก็ทำให้คุณดูไม่เป็นมืออาชีพ การเพิ่มระดับความใส่ใจในชิ้นงานแทนการผัดวันประกันพรุ่ง นอกจากคุณภาพงานจะทำออกมาดีแล้ว ยังช่วยลดความเครียดในการทำงานด้วย เลิกเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น เมื่อไรที่คุณเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น คุณจะสูญเสียความเป็นตัวตน เป้าหมายและสติได้ง่ายมาก ตามมาด้วยอารมณ์อิจฉา ,เศร้าหมอง และเกิดเป็นปมด้อย จงทำตัวให้เด่นเป็นทีม อย่าเด่นเพียงตัวคนเดียว ลองกล่าวชื่นชมคนอื่นด้วยความยินดี สร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคมการทำงานของคุณ เลิกตั้งเป้าหมายเพ้อฝัน สิ่งที่สำคัญในการตั้งเป้าหมาย คือ เป้าหมายต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง อย่าตั้งเป้าหมายที่ชี้วัดไม่ได้ อย่าตั้งเป้าหมายที่สูงเกินตัว อย่าตั้งเป้าหมายระยะสั้นเกินไป แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับsmartsmehttps://www.smartsme.co.th/content/250485#!

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย นำทีมพลังตัวแทนและเพื่อนพนักงาน ร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22

06/07/2023

กรุงเทพฯ 6 กรกฎาคม 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นางสาวอรรัตน์ ชุติมิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ และนายสุวิรัช พงศ์เสาวภาคย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภายนอก นำทีมพลังตัวแทนและเพื่อนพนักงานเอไอเอกว่า 100 ท่าน ร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ณ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ ซึ่งกิจกรรมนี้ตอกย้ำถึงความตั้งใจของเอไอเอในการมุ่งทำความดี แบ่งปันน้ำใจให้ผู้คนในสังคม เพื่อร่วมกันส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthiest, Longer, Better Lives’

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

คนรวยชอบมองไกล คนทั่วไปมองสั้นๆ

30/04/2024

อะไรที่เป็นเคล็ดลับที่อยู่หลังคำพูดนี้ มาดูกัน  ทำไมคนรวย คิดเหมือนกัน ? ทำไม นักลงทุนชั้นนำ คิดเหมือนกัน / คนที่เป็นผู้นำ คิดคล้ายๆ กัน / ทำไม ? คำถามนี้ชวนให้คิดว่า คนรวยทั่วโลก เขาแทบไม่ได้รู้จักกัน แต่ทำไมคนเหล่านี้ คิดเหมือนกัน แน่นอน ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ความบังเอิญ ก็เพราะ ผลลัพธ์ของชีวิต มาจากความคิดของเรานั่นเอง  ถ้าพูดให้ชัดเข้าไปอีกก็คือ ถ้าเราอยากจะเป็นผู้นำ หรือ เก่งในเรื่องใด ให้เอาคนเก่งในเรื่องนั้นๆ มาแกะวิธีคิด มีคนถามผมว่า อะไรคือแรงบันดาลใจของผมในการเขียนหนังสือครั้งแรก ตอบง่ายๆ เลย คือ ในเวลานั้น ผมอยากเป็นนักลงทุนที่เก่ง ก็เลยพยายามแกะวิธีคิดของ Warren Buffett โดยเริ่มจากค้นคว้า จากหนังสือหลายๆ เล่ม ที่เขียนเกี่ยวกับเขา ค้นคว้าจาก Internet อ่านบทความจำนวนมากมาย เกี่ยวกับ Buffett แต่สิ่งที่ผมทำเพิ่มนอกจากแค่อ่านเฉยๆ คือ ผมพยายาม แกะความคิดเขา การแกะความคิด คือ การแปลความหมาย จากสิ่งที่เราเห็นจริง 1. มองสิ่งที่เขาทำ มากกว่าสิ่งที่เขาพูด  อย่าง Buffett เขาแทบไม่เคยตามกระแสหรือตามเทรนด์เลย จะพูดว่าเขา สวนกระแสก็น่าจะได้  ผมแปลว่า แก่นของการลงทุนของเขา จะทำตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ หรือ สวนกระแสหลักเสมอ คนทั่วไปตามเทรนด์ คนรวยทวนกระแส 2. ดูการใช้ชีวิต  อย่าง Buffett เขาไม่ใช่ชีวิตหรูหราเลย ผมแปลว่า ความสนุกในชีวิตของเขาคือ เรื่องงาน ไม่ใช่การพักผ่อน(หรือเที่ยวใช้เงิน) เหมือนคนส่วนใหญ่ คนสนุกกับการหาเงิน มันรวยอยู่แล้ว จริงไหม ? 3. ดูการบริหารเวลา  อย่าง Buffett ไม่ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่เฝ้าหน้าจอ ซื้อขาย แต่กลับใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านหนังสือ  ผมแปลว่า การลงทุนยิ่งซื้อขาย ให้น้อย จะยิ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า คนทั่วไปมัวแต่มองผลลัพธ์สั้นๆ จนลืมเป้าหมายจริงๆ 4. ดูการบริหารคน อย่าง Buffett เขาเป็นเจ้าของธุรกิจมากมาย แต่เขาไม่จับเรื่องการบริหารคนเลย (เรื่องคนปวดหัวที่สุด) เขาคุมแต่การบริหารเงิน  ผมแปลว่า ผู้บริหารที่เก่ง เขาบริหารตัวเองและลูกน้อง รวมทั้งมองโอกาสธุรกิจได้  ดังนั้น คุมที่การจัดสรรเงินให้ดี ก็พอแล้ว เจ้าของคุมเงิน ผู้บริหารคุมคน 5. ดูการบริหารเงิน  อย่าง Buffett เขาแทบไม่สนใจผลตอบแทนระยะสั้นเลย ซึ่งต่างกับคน 90% ที่สนใจหุ้นแค่ผลตอบแทนระยะสั้น  ผมแปลว่า สิ่งที่ Buffett สนใจไม่ใช่การเก็งกำไร แต่เป็นการมองหาที่ให้เงินทำงาน และหลักๆ เขาก็ Focus มุ่งวางเงินให้ทำงานเป็นหลัก จนเชี่ยวชาญที่สุดในสิ่งที่เขาถนัด คนทั่วไปวุ่นแต่หาเงิน คนรวยหาไปด้วย วางให้เงินทำงานด้วย ข้อต่อไป ลองช่วยกันแกะต่อซิครับ  เชื่อไหม คนรวยคิดไม่ต่างกัน - ปรับวิธีคิด เดี๋ยวชีวิตก็ดีเอง แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับstock2morrowhttps://stock2morrow.com/article/5515

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประกาศรายชื่อโรงเรียนผู้ชนะระดับภูมิภาคในโครงการการแข่งขัน “สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี – AIA Healthiest Schools”

30/04/2024

ฮ่องกง, 5 กรกฎาคม 2566 – กลุ่มบริษัทเอไอเอ (“เอไอเอ” หรือ “บริษัท” รหัสหลักทรัพย์: 1299) ยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศรายชื่อโรงเรียนผู้ชนะระดับภูมิภาคในโครงการการแข่งขัน “สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี – AIA Healthiest Schools” ปีที่ 1 ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นความคิดริเริ่มเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง การมีสุขภาพใจที่ดี และพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในภูมิภาคเอเชีย โครงการนี้เป็นการแข่งขันเพื่อกระตุ้นให้โรงเรียนส่งผลงานหรือโครงการที่สร้างผลกระทบเชิงบวก รวมทั้งนำเสนอผลสำเร็จในการขับเคลื่อนผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นในหมู่นักเรียน การแข่งขันนี้จึงนับเป็นเวทีสำหรับโรงเรียนในการสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปัน ทั้งการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะภายในโรงเรียน ทั้งนี้ มีโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ระหว่างปีการศึกษา 2565/2566 จำนวนมากถึง 744 โรงเรียนทั้งระดับประถมและมัธยมศึกษาจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ไทย และเวียดนาม  นายสจ๊วต เอ สเปนเซอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด กลุ่มบริษัทเอไอเอ กล่าวว่า “ในฐานะที่เอไอเอเป็นผู้นำบริษัทประกันชีวิตและสุขภาพของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับเรา โครงการสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี – AIA Healthiest Schools จึงนับเป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมด้านสุขภาพและอนาคตที่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นที่การส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งเราภูมิใจกับความสำเร็จของโครงการในปีแรกนี้ และจะยังคงเดินหน้าโครงการตามวิสัยทัศน์ของเราต่อไป เพื่อขยายชุมชนสุขภาพดีภายในโรงเรียน ครอบครัว รวมถึงเด็กนักเรียนในวงกว้างมากขึ้น โดยถือเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนในภูมิภาค ซึ่งโครงการการแข่งขันสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดีถือเป็นการต่อยอดความมุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างความสัมพันธ์ การส่งมอบองค์ความรู้ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนนับล้าน เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นภายในปี 2030” สำหรับพิธีมอบรางวัลสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดีระดับภูมิภาค ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประเทศมาเลเซีย พร้อมด้วยพันธมิตรด้านการศึกษาเข้าร่วมงาน โดยโรงเรียนผู้ชนะได้รับการตัดสินจากขอบเขตของผลงานที่ส่งเข้าประกวด รวมไปจนถึงระดับการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรและนักเรียน ผลกระทบเชิงบวก ตลอดจนแผนในอนาคต “เรายินดีที่จะประกาศรายชื่อโรงเรียนผู้ชนะในโครงการสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี – AIA Healthiest Schools ปีที่ 1 โดยหลังจากที่คณะกรรมการได้ประเมินผลงานอย่างถี่ถ้วน เราได้ผู้ชนะมาแล้ว ซึ่งได้แก่ โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) จากประเทศไทย และโรงเรียนอัลฟ่า จากประเทศเวียดนาม ในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตามลำดับ” นายสจ๊วต กล่าวทิ้งท้ายโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ประเทศไทย – ชนะเลิศการแข่งขันโครงการสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดีระดับภูมิภาค ในระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) โดดเด่นในด้านกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ ซึ่งโรงเรียนผลักดันให้นักเรียนได้เข้าถึงแนวทางการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวม ผ่านด้านโภชนาการ การดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพใจที่ดี รวมถึงมุ่งเน้นความยั่งยืน โดยนักเรียนได้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น โรงเรียนอัลฟ่า ประเทศเวียดนาม - ชนะเลิศการแข่งขันโครงการสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดีระดับภูมิภาค ในระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนอัลฟ่า ได้รับการยอมรับจากความคิดสร้างสรรค์ที่โรงเรียนมุ่งเน้นไปที่สุขภาพใจที่ดีของนักเรียนผ่านเวิร์กช็อปเพื่อสัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง ซึ่งทางโรงเรียนยังได้มีการจัดนิทรรศการ “School of Wellbeing” ที่แสดงถึงปัญหาสุขภาพที่เด็ก ๆ ต้องเผชิญด้วยวิธีการจัดการที่สร้างสรรค์และส่งผลกระทบเชิงบวก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงเรียนผู้ชนะในโครงการ และสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการสุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี – AIA Healthiest Schools ปีที่ 2 สามารถคลิกได้ที่เว็บไซต์ ahs.aia.com

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

หนี้สิน ไม่ได้สร้างภาระเพียงอย่างเดียว ก่อหนี้อย่างไร ? ให้เกิดความมั่งคั่ง

30/04/2024

บทความโดย "ณัฐศรันย์ ธนกฤตภิรมย์"  นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 “หนี้” (Obligation) เป็นความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “เจ้าหนี้” มีสิทธิบังคับให้อีกฝ่ายซึ่งเรียก “ลูกหนี้” ทำหรือไม่ทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ได้ “หนี้สิน” (Debt) คือ เงินที่ผู้หนึ่งเรียกว่า “ลูกหนี้”  ติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่งเรียกว่า “เจ้าหนี้”  เรียกสั้น ๆ ว่า หนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หมายถึง การซื้อสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ส่วนตัวในการอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ซึ่งหนี้สินกลุ่มนี้จะมีกระแสเงินสดจ่ายเพียงอย่างเดียวในแต่ละเดือน มีสมการ ดังนี้ กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ รายได้ประจำ-ค่าใช้จ่ายประจำ-กระแสเงินสดจ่ายจากหนี้สิน 2. หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ หมายถึง การซื้อสินทรัพย์เพื่อลงทุน โดยการขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ซึ่งหนี้สินกลุ่มนี้จะมีกระแสเงินสดจ่าย และรับในแต่ละเดือน มีสมการ ดังนี้ กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ รายได้ประจำ-ค่าใช้จ่ายประจำ-กระแสเงินสดจ่ายจากหนี้สิน + กระแสเงินสดรับจากสินทรัพย์ คำถาม คือ หนี้สองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ตัวอย่าง ลูกหนี้มีความสามารถในการกู้ยืมเป็นจำนวน 6,000,000 บาท โดยมีการจัดสรรเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (50%) และเพื่อใช้ส่วนตัว (50%) รายการละ 3,000,000 บาท ซึ่งมีระยะเวลาผ่อน 360 เดือน ผ่อนเดือนละ 20,000 บาท (กรณี ปล่อยเช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท) และมีข้อมูลเพิ่มเติม คือ ผู้กู้มีรายได้หลัก 50,000 ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายประจำ 25,000 บาท (ข้อมูลทางการเงินไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 360 เดือน) มูลค่าโดยระบุไปตามหนี้สิน 2 กลุ่ม ดังนี้ 1. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ = รายได้ประจำ-ค่าใช้จ่ายประจำ-กระแสเงินสดจ่ายจากหนี้สิน กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ = 50,000-25,000-20,000 = 5,000 ต่อเดือน 2. หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ = รายได้ประจำ-ค่าใช้จ่ายประจำ-กระแสเงินสดจ่าย + กระแสเงินสดรับ = 50,000-25,000-20,000 + 10,000 = 15,000 ต่อเดือน จะเห็นว่ากระแสเงินสดรับต่อเดือนที่แตกต่างกันนั้น ส่งผลต่อการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว โดยเมื่อนำมูลค่าทรัพย์สิน ณ วันสิ้นงวด มารวมด้วย โดยหาจากสมการ ดังนี้ มูลค่าทรัพย์สิน ณ วัน สิ้นงวด = (กระแสเงินรับต่อเดือน * ระยะเวลา) + มูลค่าทรัพย์สิน ณ วันสิ้นงวด กรณีที่ 1 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ = (5,000 * 360) + 6,000,000 = 1,800,000 + 6,000,000 = 7,800,000 บาท กรณีที่ 2 หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ = (15,000 * 360) + 6,000,000 = 5,400,000 + 6,000,000 = 11,400,000 บาท ส่วนต่าง ของ กรณีที่ 2-กรณีที่ 1 = 11,400,000-7,800,000 = 3,600,000 บาท จากข้อมูลดังกล่าว หากเลือกบริหารจัดการหนี้ได้อย่างเหมาะสม หนี้สินนั้นจะทำให้คุณมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอีก 3,600,000 บาท ณ วันสิ้นงวดบัญชีของการผ่อนชำระสรุปได้ว่า “หนี้สิน” ไม่ได้เป็นการสร้างภาระเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีแฝงอยู่ข้างใน เพียงแค่ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะสร้างหนี้เพื่ออะไร และจะบริหารจัดการกระแสเงินสดต่อเดือนอย่างไร เพียงเท่านี้ “หนี้” ก็จะสามารถสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้อย่างแน่นอน แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1337945

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

4 ข้อที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “การลงทุนอย่างยั่งยืน”

30/04/2024

ผู้เขียน : สิรีฒร ศิวิลัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายผู้ประกอบธุรกิจ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คุณผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ การลงทุนอย่างยั่งยืน หรือ sustainable investing รวมทั้งกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund  หรือ SRI Fund ) ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนในกิจการที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมาบ้างแล้ว รวมทั้งคงเคยได้ยินคำบอกเล่าเกี่ยวกับการลงทุนลักษณะดังกล่าวนี้ แต่อาจไม่แน่ใจว่ามีสถานะและมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร วันนี้ผู้เขียนจึงขอชวนผู้อ่านมาทำความรู้จักกับการลงทุนอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก่อนการตัดสินใจลงทุนสักนิดค่ะ โดยขอหยิบยก 4 ประเด็นสำคัญ ที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “การลงทุนอย่างยั่งยืน” มาขยายความเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ ข้อแรก “การลงทุนอย่างยั่งยืนทำให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมลดลง” ผลการศึกษาจากสถาบันชั้นนำหลายแห่งชี้ให้เห็นว่า ผู้จัดการกองทุนที่ผนวกปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือ “ESG” ในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน จะช่วยให้เห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกองทุนรวมได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กรณีรถยนต์ไฟฟ้า (electric vehicle : EV) ที่ปัจจุบันผู้บริโภคไทยมีความต้องการใช้งาน EV เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์สันดาป จะทำให้เกิดโอกาสเชิงธุรกิจที่จะไปช่วยเพิ่มผลประกอบการให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและผู้ผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้า หรือกรณีสินค้าเกษตร (เช่น ข้าว) ที่ภาวะฝนแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ทำให้ผลผลิตในประเทศมีปริมาณลดลง การดำเนินธุรกิจและผลกำไรของบริษัทที่ผลิตและแปรรูปจากข้าวอาจได้รับผลกระทบได้ หากไม่มีแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ดี ดังนั้น ผู้จัดการกองทุนที่ผนวกปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนจะช่วยให้สามารถประเมินโอกาสทางการลงทุน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อกิจการที่ออกหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมจะตัดสินใจลงทุน และพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งช่วยสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีในระยะยาวได้ต่อไป อย่างไรก็ดี ผลตอบแทนของกองทุนรวมมีโอกาสปรับลดลงได้เช่นกันหลังจากที่ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนแล้ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัญหาเงินเฟ้อและการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) ที่บริษัทที่กองทุนรวมลงทุนไม่อาจควบคุมหรือขจัดได้ และทุกบริษัทได้รับผลกระทบเหมือนกัน ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ลงทุนในบริษัทต่าง ๆ อาจได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ข้อที่ 2 “การลงทุนอย่างยั่งยืนเป็นการลงทุนที่มุ่งเน้นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น” แม้ว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น จะเป็นประเด็นสำคัญ แต่การลงทุนอย่างยั่งยืนไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว หากเราย้อนไปพิจารณาหลักคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งมีที่มาจากรายงาน ที่เรียกว่า ‘Our Common Future’ ที่จัดทำโดย Brundtland Commission ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) เมื่อปี ค.ศ. 1987 การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรของโลกที่มีจำกัดให้สามารถสืบทอดไปสู่คนรุ่นหลังได้ หากจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic profitability) ความครอบคลุมทางสังคม (social equity) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (environmental protection) นอกจากนี้ UN ได้จัดทำ “2030 Agenda for Sustainable Development” ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDGs) 17 เป้าหมาย เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดำเนินการร่วมกัน ซึ่งประเทศไทยและสมาชิก UN รวม 193 ประเทศ ได้ร่วมลงนามรับรองวาระที่สำคัญดังกล่าวของโลกด้วย ด้วยเหตุนี้ กองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืนไม่ได้หมายความว่าต้องสนับสนุนกิจการที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) สามารถจัดตั้งและบริหารจัดการกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนที่มุ่งเน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่น ๆ ตามกรอบ UN SDGs ได้ เช่น การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต การศึกษา การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรศึกษานโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุประสงค์การลงทุนด้านความยั่งยืนของกองทุนรวมนั้น ๆ สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนของตนเอง ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ลงทุนมีข้อมูลเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ก.ล.ต. ได้กำหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอย่างยั่งยืนของ SRI Fund ซึ่งทุก บลจ. ที่บริหารจัดการกองทุนรวมดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตาม โดยผู้ลงทุนสามารถสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์ ‘SRI Fund’ ที่ปรากฏบนหน้าปกของหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมของ SRI Fund ข้อที่ 3 “การลงทุนอย่างยั่งยืน คือ การไม่ลงทุนในกิจการที่ดำเนินธุรกิจขัดต่อเป้าหมายด้านความยั่งยืนเท่านั้น”  การคัดกรองเชิงลบ (negative screening) เป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่ผู้จัดการกองทุนสามารถเลือกใช้ในการบริหารจัดการกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืน โดย negative screening มีจุดเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1758 เมื่อกลุ่มเควกเกอร์ (Quakers) ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งของโปรเตสแตนต์ได้ออกมาเคลื่อนไหวและต่อต้านการซื้อขายทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลทางจริยธรรม ตั้งแต่นั้นมา negative screening จะถูกอ้างอิงถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้จัดการกองทุนคัดกรองกิจการบางประเภทที่อาจขัดต่อหลักจริยธรรมออกจากขอบเขตการลงทุน เช่น กิจการที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ การพนัน การค้าอาวุธ เป็นต้น อย่างไรก็ดีในการบริหารจัดการกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนอย่างยั่งยืน ผู้จัดการกองทุนอาจเลือกใช้กลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายนอกเหนือไปจาก negative screening ได้ อาทิ     •  การคัดกรอกเชิงบวก (positive screening หรือ best-in-class screening) คือ การคัดเลือกหลักทรัพย์ของกิจการที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน     •  การผนวกปัจจัยด้าน ESG ในกระบวนการลงทุน (ESG integration) คือ การนำข้อมูลทั้งด้านการเงินและด้านความยั่งยืนของกิจการมาใช้วิเคราะห์ คัดเลือกหลักทรัพย์อย่างเป็นระบบ     •  การลงทุนตามธีมความยั่งยืน (thematic investing) คือ การลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องตามธีมหรือวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนที่กองทุนรวมต้องการส่งเสริมเป็นการเฉพาะ เช่น การเปลี่ยนผ่านพลังงานดั้งเดิมไปสู่พลังงานสะอาด สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป็นต้น     •  การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก (impact investing) คือ การที่ผู้จัดการกองทุนมีเป้าหมายการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน โดยจะต้องวัดผลกระทบดังกล่าวได้ เพื่อความโปร่งใสและป้องกันการฟอกเขียว (greenwashing) ด้วย นอกจากนี้ ผู้จัดการกองทุนจะปฏิบัติหน้าที่ผู้ลงทุนที่มีความรับผิดชอบ (stewardship activities) ด้วยการ เข้าไปมีส่วนร่วมกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ (engagement) เพื่อให้บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยผู้จัดการกองทุนจะหารือร่วมกับบริษัทในประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าเงินลงทุน เพื่อส่งเสริมให้บริษัทมีการปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยหากบริษัทไม่มีการพัฒนาหรือดำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลาที่ตกลงกัน ผู้จัดการกองทุนก็อาจพิจารณาลดสัดส่วนหรือ ไถ่ถอนการลงทุนออกจากบริษัทดังกล่าวได้ต่อไป คำถามต่อมาที่หลายท่านอาจสงสัย คือ ผู้จัดการกองทุนมีแนวทางการพิจารณาใช้กลยุทธ์การลงทุนอย่างไร ขอตอบว่า โดยทั่วไปผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาใช้กลยุทธ์การลงทุนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุนอย่างยั่งยืนของแต่ละกองทุนรวม เพื่อให้การบริหารจัดการลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่กำหนดไว้ เช่น หากกองทุนรวมมีวัตถุประสงค์การลงทุนเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาเลือกใช้กลยุทธ์ impact investing และ engagement ไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น โดยผู้จัดการกองทุนจะทำการวัดผลและรายงานผลกระทบเชิงบวกจากการบริหารจัดการกองทุนรวม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการบรรลุเจตนารมณ์และเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่กองทุนรวมกำหนดไว้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของการมีส่วนร่วมกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ของผู้จัดการกองทุนด้วย ทั้งนี้ สำหรับ SRI Fund ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ บลจ. ที่บริหารจัดการกองทุนรวมดังกล่าวเปิดเผยกลยุทธ์     การลงทุนของ SRI Fund ไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน และเพื่อให้ ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบการบริหารจัดการลงทุนของ บลจ. ได้ในภายหลังด้วย ข้อสุดท้าย “การลงทุนอย่างยั่งยืน คือ กระแสการลงทุนของคนกลุ่มมิลเลนเนียลเท่านั้น” แม้ว่าคนกลุ่มมิลเลนเนียล (millennials) หรือกลุ่มคนเจนวาย (Gen Y) ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2527 – 2539 จะเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก แต่ผลการศึกษากลุ่มผู้ลงทุนในหลายประเทศพบว่า ความสนใจเกี่ยวกับการลงทุนอย่างยั่งยืนครอบคลุมกลุ่มคนหลายรุ่น ไม่ใช่แค่กลุ่มมิลเลนเนียลเพียงอย่างเดียว โดยความแตกต่างที่สำคัญคือ กลุ่มมิลเลนเนียล ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ขณะที่กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (baby boomer) ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2489 – 2507 ซึ่งเป็นคนกลุ่มที่เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว จะให้ความสำคัญด้านความครอบคลุมทางสังคมและศาสนา รวมทั้งมีวัฏจักรการลงทุนที่แตกต่างจากกลุ่มมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นกลุ่มที่เพิ่งจะเริ่มเส้นทางการลงทุนและสามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากกว่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ปัจจุบัน SRI Fund ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. มีนโยบายการลงทุนในกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ผ่านการวิเคราะห์เชิงลึกจากผู้จัดการกองทุนแล้วว่า มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งบางกองทุนก็สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ โดยเริ่มต้นการลงทุนด้วยเงินหลักร้อยบาท ดังนั้น SRI Fund จึงเหมาะกับผู้ลงทุนทุกช่วงวัย (ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มคนในรุ่นใดรุ่นหนึ่ง) ที่ต้องการลงทุนอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กับการกระจายการลงทุนและออมเงิน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาวเอาไว้ใช้ในยามเกษียณด้วย โดยท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อ SRI Fund และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง SRI Fund ได้ที่ SustainableFinance (sec.or.th) สุดท้ายนี้ ดิฉันหวังว่าบทความฉบับนี้จะช่วยไขข้อข้องใจคุณผู้อ่านหลายท่านเกี่ยวกับ ‘การลงทุนอย่างยั่งยืน’ พร้อมไปกับทำให้ท่านรู้จัก SRI Fund มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ลงทุนทุกท่านสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีคุณภาพ โดยที่ผลของการลงทุนนั้นจะเป็นประโยชน์ระยะยาวต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของคนรุ่นต่อไปค่ะ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1338581#google_vignette

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. เตือนประชาชนระวังภัยจากประกันภัยออนไลน์เถื่อน เช็คได้ที่เว็บไซต์ “กูรูประกันภัย” หรือสายด่วน คปภ. 1186

30/04/2024

2 กรกฎาคม 2566 : จากกรณีที่มีการแชร์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคมออนไลน์ว่า มีบริษัทผู้ให้บริการด้านการตลาดแห่งหนึ่ง กระทำการในลักษณะเป็นตัวกลางในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านทางเว็บไซต์ หรือออนไลน์ รวมถึงให้บริการประชาชนผู้เอาประกันภัยในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยมีประชาชนจำนวนมากซื้อประกันภัยนั้น ซึ่งมีประเด็นว่าบริษัทดังกล่าวมีใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่าได้สั่งการให้สายกฎหมายและคดี สายตรวจสอบคนกลางประกันภัย สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ติดตามสถานการณ์และบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ และดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยแก่ประชาชนทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบว่า บริษัทฯ ดังกล่าวมีใบอนุญาตเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัย  จึงได้สั่งการให้สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ. ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง และดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. อย่างเด็ดขาด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการซื้อประกันภัย Online มีความมั่นคงปลอดภัยและทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์โดยสำนักงาน คปภ. กำหนดให้บริษัทประกันภัย นายหน้าประกันภัยและธนาคารพาณิชย์ ที่ทำการเสนอขายประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ต้องขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่ขายกรมธรรม์ทางอิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์ “กูรูประกันภัย” https://guruprakanphai.oic.or.th และสามารถเข้าไปตรวจสอบผ่านทางเว็บไซต์ https://www.oic.or.th/th/consumerโดยกด link เข้าไปใน banner กูรูประกันภัยได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการซื้อประกันภัยผ่านทางเว็บไซต์ หรือออนไลน์ ควรตรวจสอบใบอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คปภ. ทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อประกันภัย และบุคคลใดก็ตามกระทำการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยต้องได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยจากนายทะเบียน หรือสำนักงาน คปภ. หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ“สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด และเพื่อป้องกันมิให้ถูกหลอกลวงจากผู้ขายประกันเถื่อน พี่น้องประชาชนที่ประสงค์จะซื้อประกันภัยออนไลน์ ควรจะตรวจสอบว่าผู้เสนอขายประกันภัยได้ขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักงาน คปภ. แล้วหรือไม่ โดยสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์กูรูประกันภัย และศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านระบบ Online หรือสามารถสอบถามข้อมูลจากสายด่วน คปภ. 1186ทั้งนี้ หากพบเห็นพฤติกรรมการหลอกลวงด้านประกันภัยกรุณารีบแจ้งข้อมูลที่สำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ หรือที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้ายแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับซีเคว้ล ออนไลน์https://www.sequelonline.com/?p=148337

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

เปิด 5 ขั้นตอนเอาชนะ “หนี้” กับ 3 วิธีสร้างนิสัยดีๆ ทางการเงิน

30/04/2024

“หนี้” เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากมีแน่นอน แต่ในปัจจุบันเองภาวะเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เงินเฟ้อ น้ำมันแพง อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น ทำให้ต้องใช้เงินมากขึ้น รวมไปถึงบางคนอาจเผลอใช้จ่ายเกินตัวจนหมุนเงินไม่ทันทำให้ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายรู้ตัวอีกทีก็มีหนี้เยอะแล้ว ดังนั้นสำหรับใครที่กังวลใจและหาทางออกในเรื่องหนี้ไม่ได้ “การเงินธนาคาร” ได้รวบรวมวิธีแก้หนี้ให้จบไว ไว้ให้แล้ว 5 ขั้นตอน แก้หนี้ให้จบไว หากมีปัญหาเรื่องนี้แล้วต้องรู้จักวางแผนบริหารเงิน จัดการแก้หนี้ พร้อมทั้งปรับวินัยทางการเงินกันใหม่โดยมีขั้นตอนดังนี้     •  ขั้นตอนที่ 1 สำรวจตัวเอง สำรวจตัวเองก่อนว่าเรามีหนี้สินอะไร กับใคร และเท่าไหร่บ้าง แล้วลองนำมารวมกันเพื่อให้รู้ยอดหนี้สินที่แท้จริงว่าทั้งหมดเท่าไร     •  ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการปลดหนี้ โดยแก้หนี้เจ้าปัญหาจากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดไปยังเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำที่สุดเมื่อได้แล้ว ก็นำทั้งหมดนี้มาหาทางแก้หนี้โดยการรวมหนี้ และขอสินเชื่อใหม่จากสถาบันการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งหมด ซึ่งถ้าหากรวมหนี้แล้วยังไม่สามารถผ่อนไหวตามจำนวนเงินที่สถาบันการเงินให้ชำระ จำเป็นจะต้องแจ้งรายละเอียดเพื่อให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือหาทางแก้หนี้มาให้อีกทาง อย่างไรก็ตามวิธีการแก้หนี้โดยเลือกที่จะรวมหนี้ อาจไม่ได้ทำกันง่าย ๆ ดังนั้นควรมีแผนสำรอง โดยอาจจะเริ่มปลดจากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยเยอะที่สุดก่อน เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และหลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ปลดหนี้ที่ดอกเบี้ยรองลงมาจนหมดหนี้นั่นเอง     •  ขั้นตอนที่ 3 ลงมือทำตามแผนที่วางไว้ ลงมือทำตามแผนแก้หนี้ให้สำเร็จ โดยเริ่มระบุระยะเวลาในการปลดหนี้ไปพร้อม ๆ กับดำเนินการติดต่อธนาคารตามแผน อีกทั้งหากมีช่วงเวลาที่ว่างอาจจะมองหาทางเลือกเสริมที่ทำให้หนี้หมดไว ๆ ควบคู่กันไปด้วย     •  ขั้นตอนที่ 4 เพิ่มตัวช่วยการปลดหนี้ ตัวช่วยแก้หนี้ที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของรายได้เสริม โดยอาจจะเริ่มมองหารายได้ที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนหนัก และไม่กระทบกับการงานหลักด้วยเช่นกัน อย่างการขายของออนไลน์ รับงานฟรีแลนซ์     •  ขั้นตอนที่ 5 ใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวัง ส่วนใหญ่แล้วหนี้ที่เกิดขึ้นมักมาจากหนี้บัตรเครดิต ดังนั้นต้องรู้วิธีการใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้อง และใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สร้างวินัยทางการเงินใหม่ด้วย 3 ขั้นตอน หลังจากเคลียร์ปัญหาหนี้สินได้แล้ว ก็ควรสร้างวินัยทางการเงินใหม่ เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นหนี้ที่จัดการไม่ไหวอีกครั้ง โดยมีขั้นตอนดังนี้     •  ขั้นตอนที่ 1 มีเป้าหมายทางการเงิน สร้างเป้าหมายทางการเงินของเราให้ชัดเจน และไม่ไกลตัวจนเกินไป เช่น ปลดหนี้หมดแล้วต้องการที่จะมีบ้านก็วางเป้าหมายทางการเงินให้อยู่ในระดับที่มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ และสามารถทำให้ฝันอยากมีบ้านเป็นจริงได้     •  ขั้นตอนที่ 2 บันทึกค่าใช้จ่าย การบันทึกค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะอาจใช้จ่ายจนลืมตัวไป ดังนั้นต้องบันทึกค่าใช้จ่ายตลอด เพื่อไม่ให้ก่อหนี้โดยไม่รู้ตัวอีกครั้ง     •  ขั้นตอนที่ 3 แบ่งเงินการใช้จ่ายให้เป็นสัดส่วนชัดเจน โดยอาจลองแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นหมวดๆ เช่น หมวดชีวิตประจำวัน ที่เราสามารถจ่ายค่าอาหารได้แต่ละมื้อ หมวดค่าใช้จ่ายประจำเดือนที่จำเป็น เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราเองมีเงินเท่าไร เหลือเก็บเท่าไหร่ และมีเงินพอที่จะนำไปลงทุนต่อยอดให้รายรับมากกว่าเดิมได้ไหม เป็นหนี้เสีย แก้ไขได้ รู้หรือไม่ว่าหากมีหนี้เยอะจนไม่สามารถจัดการได้และเริ่มเป็นหนี้เสียแล้ว ยังสามารถแก้ไขได้ โดยการเข้าร่วมโครงการ คลิกนิกแก้หนี้ by SAM ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด โดยเป็นการรวมหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันหลายสถาบันการเงิน แก้ไขหนี้เสียสารพัดบัตรให้สามารถกลับมาชำระได้ตามเดิม สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการมีดังนี้ (1) เป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี (2) เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ (3) เป็นหนี้เสีย (NPL) ค้างชำระมากกว่า 120 วัน (4) หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท และ (5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ที่มา: Krungsri The COACH, คลินิกแก้หนี้ by SAM แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับการเงินธนาคารhttps://moneyandbanking.co.th/2023/42889/

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X